จักรวรรดิฝรั่งเศสที่หนึ่ง

(เปลี่ยนทางจาก จักรวรรดิฝรั่งเศสที่ 1)
สำหรับจักรวรรดิของจักรพรรดินโปเลียนที่ 3 ระหว่าง ค.ศ. 1852–1870 ดูที่ จักรวรรดิฝรั่งเศสที่สอง

จักรวรรดิฝรั่งเศสที่หนึ่ง (ฝรั่งเศส: Premier Empire) มีชื่อเรียกอย่างเป็นทางการว่า จักรวรรดิฝรั่งเศส[b] หรือที่รู้จักกันในนาม ฝรั่งเศสสมัยนโปเลียน เป็นจักรวรรดิที่ถูกปกครองโดยจักรพรรดินโปเลียนที่ 1 ผู้ซึ่งสถาปนาอำนาจของฝรั่งเศสเหนือยุโรปภาคพื้นทวีป เมื่อตอนต้นคริสต์ศตวรรษที่ 19 จักรวรรดิฝรั่งเศสดำรงอยู่ตั้งแต่ 18 พฤษภาคม ค.ศ. 1804 ถึง 11 เมษายน ค.ศ. 1814 และดำรงอยู่อีกครั้งในช่วงเวลาสั้น ๆ ตั้งแต่วันที่ 20 มีนาคม ค.ศ. 1815 ถึง 7 กรกฎาคม ค.ศ. 1815[9] (ฝรั่งเศส: Empire français; ละติน: Imperium Francicum)

สาธารณรัฐฝรั่งเศส[1]
(ค.ศ. 1804-1809)
République Française

จักรวรรดิฝรั่งเศส
(ค.ศ. 1809–1815)
Empire Français

ค.ศ. 1804–1814, ค.ศ. 1815
คำขวัญLiberté, Ordre Public[2]
("เสรีภาพ, ความสงบเรียบร้อยของประชาชน")
เพลงชาติช็องดูว์เดปาร์
("Song of the Departure") (ทางการ)

แวยงโอซาลูว์เดอล็องปีร์
("Let's ensure the salvation of the Empire") (ไม่เป็นทางการ)
French Empire (1812).svg
จักรวรรดิฝรั่งเศส ณ จุดที่ยิ่งใหญ่ที่สุดใน ค.ศ. 1812:
French Empire on World 1812.png

จักรวรรดิฝรั่งเศสพร้อมกับสิทธิ์ในการครอบครองอาณานิคมของตนใน ค.ศ. 1812:
 จักรวรรดิฝรั่งเศสและอาณานิคมของตน
 รัฐบริวารและดินแดนที่ถูกยึดครองใน ค.ศ. 1812
เมืองหลวงปารีส
ภาษาทั่วไปฝรั่งเศส (ราชการ)
ละติน (ภาษาทางพิธีการ)
ศาสนา
โรมันคาทอลิก (ประจำชาติ)
ลูเทอแรน
คาลวิน
ยูดาห์ (ศาสนาชนกลุ่มน้อย)
การปกครองสมบูรณาญาสิทธิราชย์แบบรัฐเดี่ยวในลัทธิโบนาปาร์ต ภายใต้เผด็จการทหาร (ค.ศ. 1804–1815)
จักรพรรดิ 
• ค.ศ. 1804–1814/1815
จักรพรรดินโปเลียนที่ 1
• ค.ศ. 1815
จักรพรรดินโปเลียนที่ 2 (ยังอยู่ในการโต้แย้ง) [a]
สภานิติบัญญัติรัฐสภา
เซนัตกงเซวาเตอ
(จนถึง ค.ศ. 1814)
สภาขุนนาง
(ตั้งแต่ 22 เมษายน ค.ศ. 1815 เป็นต้นมา)
โกร์ปเลอกิสลาติฟ
(จนถึง 4 มิถุนายน ค.ศ 1814)
สภาผู้แทนราษฎร
(ตั้งแต่ 22 เมษายน ค.ศ. 1815 เป็นต้นมา)
ยุคประวัติศาสตร์สงครามปฏิวัติฝรั่งเศส
สงครามนโปเลียน
18 พฤษภาคม ค.ศ. 1804
• พิธีปราบดาภิเษกของจักรพรรดินโปเลียนที่ 1
2 ธันวาคม ค.ศ. 1804
7 กรกฎาคม ค.ศ. 1807
24 มิถุนายน ค.ศ. 1812
11 เมษายน ค.ศ. 1814
20 มีนาคม – 7 กรกฎาคม ค.ศ. 1815
พื้นที่
1812[4]2,100,000 ตารางกิโลเมตร (810,000 ตารางไมล์)
ประชากร
• 1812
96,472,000[5]
สกุลเงินฟรังก์ฝรั่งเศส
ก่อนหน้า
ถัดไป
สาธารณรัฐฝรั่งเศสที่ 1
ราชอาณาจักรฮอลแลนด์
สาธารณรัฐลีกูเรีย
อันดอร์รา
ราชอาณาจักรฝรั่งเศส
ราชรัฐอธิปไตย
สหเนเธอร์แลนด์
สหราชอาณาจักรเนเธอร์แลนด์
มอเรส์เนต
ลักเซมเบิร์ก
แกรนด์ดัชชีตอสคานา
อันดอร์รา
ราชรัฐโมนาโก
ราชรัฐเอลบา

ถึงแม้ว่าฝรั่งเศสจะก่อตั้งจักรวรรดิอาณานิคมโพ้นทะเลมาตั้งแต่ตอนต้นคริสต์ศตวรรษที่ 17 แต่รัฐฝรั่งเศสยังคงเป็นราชอาณาจักรที่ถูกปกครองโดยราชวงศ์บูร์บง และเป็นสาธารณรัฐหลังการปฏิวัติฝรั่งเศส นักประวัติศาสตร์ได้กล่าวถึงระบอบของจักรพรรดินโปเลียนที่ 1 ว่าเป็น จักรวรรดิที่หนึ่ง เพื่อแยกความแตกต่างออกจาก จักรวรรดิที่สอง ของนักฟื้นฟูที่ถูกปกครองโดยจักรพรรดินโปเลียนที่ 3 ซึ่งเป็นพระราชนัดดาของจักรพรรดินโปเลียนที่ 1

ประวัติศาสตร์แก้ไข

ในปี ค.ศ. 1804 นโปเลียน โบนาปาร์ต หนึ่งในสามผู้นำของคณะกงสุลฝรั่งเศส ได้ปราบดาภิเษกตนเองเป็นจักรพรรดิและเริ่มต้นจักรวรรดิฝรั่งเศสที่หนึ่ง จักรพรรดินโปเลียนทรงปรับปรุงกองทัพฝรั่งเศสเป็น "กองทัพใหญ่" (Grand Armée) ในปี ค.ศ. 1805 การประกาศฝรั่งเศสเป็นจักรวรรดิทำให้ชาติต่างๆ รวมตัวกันอีกครั้งเป็นสัมพันธมิตรครั้งที่สาม จักรพรรดินโปเลียนที่ 1ทรงนำทัพบุกเยอรมนี ชนะกองทัพออสเตรียที่อุล์ม แต่ทางทะเลต้องพ่ายแพ้อังกฤษที่แหลมทราฟัลการ์ในยุทธนาวีที่ทราฟัลการ์ ชัยชนะที่อุล์มทำให้จักรพรรดินโปเลียนทรงรุกคืบเข้าไปในออสเตรีย และชนะออสเตรียกับรัสเซียที่เอาสเทอร์ลิทซ์ เป็นชัยชนะที่ยิ่งใหญ่ที่สุดของจักรพรรดินโปเลียน ทำให้สัมพันธมิตรครั้งที่สาม สลายตัวด้วยสนธิสัญญาเพร็สบวร์ค (Treaty of Pressburg) ผลของสนธิสัญญาคือจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ต้องล่มสลายไป พระเจ้านโปเลียนตั้งสมาพันธรัฐแห่งแม่น้ำไรน์ (Confederation of the Rhine) ขึ้นมาแทนที่ ยังผลให้จักรพรรดิแห่งโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ต้องเปลี่ยนพระอิสริยยศเป็นจักรพรรดิแห่งออสเตรีย ซึ่งในช่วงต้นของสงครามกับนานาประเทศ ฝรั่งเศสบุกชนะในหลายประเทศอาทิเช่น ออสเตรีย ปรัสเซีย โปรตุเกส และชาติพันธมิตรชาติอื่น ๆ อีกทั้งยังยึดครองดินแดนในทวีปยุโรปไว้ได้มากมาย

ความสำเร็จของนโปเลียนในเยอรมนี ทำให้ปรัสเซียร่วมกับอังกฤษและรัสเซียตั้งสัมพันธมิตรครั้งที่สี่ แต่คราวนี้ฝรั่งเศสมีรัฐบริวารมากมายให้การสนับสนุน จักรพรรดินโปเลียนจึงนำทัพบุกปรัสเซียชนะที่เยนา-เอาเออร์ชเตดท์ และชนะรัสเซียที่ฟรีดแลนด์ ทำให้เกิดสนธิสัญญาทิลซิท (Treaty of Tilsit) ที่ยุติสองปีแห่งการนองเลือดของทวีปยุโรปลงในปี ค.ศ. 1807 จากสนธิสัญญานี้ทำให้ปรัสเซียสูญเสียดินแดนขนาดใหญ่ กลายเป็นแกรนด์ดัชชีวอร์ซอ (Grand Duchy of Warsaw) และซาร์อเล็กซานเดอร์ที่ 1 ร่วมเป็นพันธมิตรกับฝรั่งเศสและเข้าระบบภาคพื้นทวีป (Continental system) เพื่อตัดขาดอังกฤษทางการค้าจากผืนทวีปยุโรป แต่สองประเทศ คือสวีเดนและโปรตุเกส เป็นกลางและไม่ยอมเข้าร่วมระบบภาคพื้นทวีป จักรพรรดินโปเลียนบุกโปรตุเกสในปี ค.ศ. 1807 และก็ทรงฉวยโอกาสยึดสเปนมาจากพระเจ้าชาร์ลส์ที่ 4 (ราชวงศ์บูร์บง) มาให้พระอนุชาคือ โฌแซ็ฟ โบนาปาร์ต เป็นกษัตริย์แห่งสเปน โปรตุเกสตกเป็นอาณัติของฝรั่งเศส แต่ชาวสเปนและชาวโปรตุเกสไม่ยินยอม จึงทำสงครามคาบสมุทร ต่อต้านจักรพรรดินโปเลียน โดยใช้การสงครามกองโจร ทางสหราชอาณาจักรส่งดยุกแห่งเวลลิงตัน มาช่วยสเปนและโปรตุเกส ในปี ค.ศ. 1809 ออสเตรียก็ตัดสินใจทำสงครามอีกครั้ง เป็นสัมพันธมิตรครั้งที่ห้า นโปเลียนนำทัพบุกทันที ชนะออสเตรียที่แอสเปิร์น-เอสลิง และวากราม จนทำเกิดสนธิสัญญาเชินบรุนน์ (Treaty of Schönbrunn) ทำให้ออสเตรียเสียดินแดนเพิ่มเติมให้แก่ฝรั่งเศส และจักรพรรดินโปเลียนอภิเษกกับอาร์คดัชเชสมารี หลุยส์แห่งออสเตรีย

ต่อมาจักรพรรดิอะเลคซันดร์ที่ 1 แห่งรัสเซีย ทรงทำสงครามกับจักรพรรดินโปเลียนอีกครั้ง ในปี ค.ศ. 1812 นโปเลียนจึงได้นำกองทัพฝรั่งเศสเข้าทำสงครามอีกครั้งโดยครั้งนี้พระองค์ต้องการจะบุกไปรุกรานจักรวรรดิรัสเซีย ที่หลอกล่อให้กองทัพฝรั่งเศสเข้าไปอดอาหารและหนาวตายในรัสเซีย ซึ่งมีระยะทางยาวไกลจากกรุงปารีสมาก โดยใช้เวลานานหลายเดือนกว่าจะบุกตีหัวเมืองต่าง ๆ ของรัสเซียไปจนถึงกรุงมอสโก แต่เมื่อไปถึงยังกรุงมอสโกก็ต้องพบกลับความว่างเปล่าของเมืองที่ชาวเมืองพร้อมใจกันเผาเมืองเพื่อมิให้เสบียงตกถึงมือกองทัพฝรั่งเศสและอพยพถอยร่นไปทางตะวันออก ทำให้การบุกรัสเซียเป็นความพ่ายแพ้ที่ยิ่งใหญ่ที่สุดของจักรพรรดินโปเลียน ชัยชนะของรัสเซียปลุกระดมชาติต่างๆให้รวมตัวกันเป็นสัมพันธมิตรครั้งที่หก เอาชนะนโปเลียนในยุทธการที่ไลพ์ซิก (Battle of Leipzig) ทำให้ในปี ค.ศ. 1813 นโปเลียนจำใจต้องยกทัพกลับฝรั่งเศสแม้เสบียงจะเหลือไม่มากแล้ว กองทัพเองก็เหนื่อยล้าจากการเดินทางอันยาวไกล นอกจากนี้ฤดูหนาวอันโหดร้ายของรัสเซียก็คืบคลานเข้ามาทุกขณะ โดยในระหว่างทางถอยทัพกลับฝรั่งเศสก็ยังถูกกองทัพของรัสเซียและชาติสัมพันธมิตรซุ่มโจมตีในลักษณะกองโจร ซึ่งเมื่อถอยทัพกลับถึงกรุงปารีสก็เหลือพลทหารไม่กี่พันคนจากที่ยกทัพไปมากกว่า 600,000 คน ทั้งนี้เป็นผลมากจากฤดูหนาวที่โหดร้ายทารุณทำให้ทหารแข็งตาย การขาดแคลนอาหาร การที่เหนื่อยล้าจากการเดินทัพและการซุ่มโจมตีของรัสเซีย ฝรั่งเศสจึงพ่ายแพ้ยับเยิน ทำให้นโปเลียนต้องสละราชสมบัติเพราะได้รับการต่อต้านจากชาวฝรั่งเศส ในปี ค.ศ. 1814 และสัมพันธมิตรเข้าบุกยึดกรุงปารีส ทำสนธิสัญญาฟองแตงโบล (Treaty of Fontainebleau) ทำให้จักรวรรดิฝรั่งเศสที่หนึ่งสิ้นสุดลง ต่อมาจักรพรรดินโปเลียนทรงหวนคืนสู่ราชบัลลังก์และปกครองอยู่นานหนึ่งร้อยวัน แต่ในท้ายที่สุดก็ต้องสละราชสมบัติอีกครั้งจากการที่พ่ายแพ้ในยุทธภูมิวอร์เตอร์ลู (Battle of Waterloo) และทรงถูกเนรเทศออกนอกฝรั่งเศสไปยังเกาะเอลบาในอิตาลี ต่อมาจึงมีการฟื้นฟูราชวงศ์บูร์บงและเข้าสู่ยุคราชวงศ์บูร์บงฟื้นฟู

ดูเพิ่มแก้ไข

หมายเหตุแก้ไข

  1. According to his father's will only. Between 23 June and 7 July France was held by a Commission of Government of five members, which never summoned Napoleon II as emperor in any official act, and no regent was ever appointed while waiting the return of the king.[3]
  2. ภายในจักรวรรดิเอง ชื่อของจักรวรรดิถูกขนานนามว่า สาธารณรัฐฝรั่งเศส จนถึง ค.ศ. 1808: เมื่อเปรียบเทียบกับเงินฟรังก์ฝรั่งเศสที่ถูกผลิตขึ้นใน ค.ศ. 1808[6] และใน ค.ศ. 1809[7] เช่นเดียวกับในมาตรา 1 ของรัฐธรรมนูญแห่งปีที่ 12[8] ซึ่งสามารถอ่านเป็นภาษาอังกฤษได้ว่า รัฐบาลของสาธารณรัฐ ได้ตกเป็นของจักรพรรดิ ผู้ซึ่งได้รับฐานันดรศักดิ์จักรพรรดิแห่งชาวฝรั่งเศส

อ้างอิงแก้ไข

  1. "Decree upon the Term, French Republic".
  2. "National Motto of France". French Moments. 7 May 2015.
  3. texte, France Auteur du (23 April 1815). "Bulletin des lois de la République française". Gallica.
  4. Rein Taagepera (September 1997). "Expansion and Contraction Patterns of Large Polities: Context for Russia". International Studies Quarterly. 41 (3): 501. doi:10.1111/0020-8833.00053. JSTOR 2600793. สืบค้นเมื่อ 2021-08-20.
  5. "Western colonialism – European expansion since 1763". Encyclopedia Britannica. สืบค้นเมื่อ 2021-08-20.
  6. http://www.lesfrancs.com/francais/1f1808rh.jpg แม่แบบ:Bare URL image
  7. http://www.lesfrancs.com/francais/1f1809rh.jpg แม่แบบ:Bare URL image
  8. "Constitution de l'An XII – Empire – 28 floréal An XII". Conseil constitutionnel.
  9. texte, France Auteur du (23 January 1804). "Bulletin des lois de la République française". Gallica.

ดูเพิ่มแก้ไข

ข้อมูลปฐมภูมิแก้ไข

การสำรวจแก้ไข

นโปเลียนแก้ไข

การทหารแก้ไข

  • Bell, David A (2008). The First Total War: Napoleon's Europe and the Birth of Warfare as We Know It.
  • Broers, Michael, et al. eds (2012). The Napoleonic Empire and the New European Political Culture. ISBN 978-0230241312. {{cite book}}: |first= มีชื่อเรียกทั่วไป (help)
  • Chandler, David G (1995). The Campaigns of Napoleon. New York: Simon & Schuster. ISBN 0-02-523660-1.
  • Elting, John R (1988). Swords Around a Throne: Napoleon's Grande Armée. New York: Da Capo Press Inc. ISBN 0-306-80757-2.
  • Gates, David (2011). The Napoleonic Wars 1803–1815. New York: Random House.
  • Haythornthwaite, Philip J. (1995). Napoleon's Military Machine. ISBN 1885119186.
  • Uffindell, Andrew (2003). Great Generals of the Napoleonic Wars. Kent: Spellmount. ISBN 1-86227-177-1.
  • Rothenberg, E. Gunther (1977). The Art of Warfare in the Age of Napoleon.
  • Smith, Digby George (1998). The Greenhill Napoleonic Wars Data Book: Actions and Losses in Personnel, Colours, Standards and Artillery.

แหล่งข้อมูลอื่นแก้ไข

พิกัดภูมิศาสตร์: 48°49′N 2°29′E / 48.817°N 2.483°E / 48.817; 2.483