การทัพอุล์ม (ฝรั่งเศส: Campagne d'Ulm) เป็นการเคลื่อนไหวทางทหารและเป็นยุทธการของกองทัพฝรั่งเศสและกองทัพบาวาเรีย เพื่อโอบตีและจับกุมกองทัพออสเตรียในปี 1805 ระหว่างสงครามสหสัมพันธมิตรครั้งที่สาม การทัพครั้งนี้เกิดขึ้นบริเวณชายเขตนครอุล์ม กองทัพใหญ่ของนโปเลียนมีกำลัง 210,000 นายซึ่งจัดแบ่งเป็นเจ็ดกองทัพน้อย คาดหวังจะเข้าตีกองทัพออสเตรียที่แม่น้ำดานูบก่อนที่กำลังเสริมจากกองทัพรัสเซียจะมาถึง[5] กองทัพของนโปเลียนเดินทัพเร็วและสามารถจับกุมกองทัพออสเตรีย 23,000 นายในบัญชาของพลเอกไลเบอริชที่อุล์มในวันที่ 20 ตุลาคม ส่งผลให้ฝรั่งเศสมีจำนวนเชลยชาวออสเตรียในความดูแลเพิ่มขึ้นเป็นหกหมื่นคน การทัพครั้งนี้ได้รับการยอมรับว่าเป็นผลงานชิ้นเอกทางกลยุทธ์ และมีอิทธิพลต่อการคิดร่างแผนชลีเฟินของเยอรมนีในช่วงก่อนสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง[6]

การทัพอุล์ม
ส่วนหนึ่งของ สงครามสหสัมพันธมิตรครั้งที่สาม
วันที่25 กันยายน – 20 ตุลาคม 1805
สถานที่
ผล ฝรั่งเศสชนะ
คู่สงคราม
 ฝรั่งเศส
บาวาเรีย
ออสเตรีย
ผู้บังคับบัญชาและผู้นำ
นโปเลียนที่ 1
ปีแยร์ โอเฌอโร
แบร์นาด็อต
ฌ็อง-บาติสต์ แบซีแยร์
หลุยส์-นีกอลา ดาวู
ฌ็อง ลาน
โอกุสต์ เดอ มาร์มง
เอดัวร์ มอร์ตีเย
ฌออากีม มูว์รา
มีแชล แน
ฌ็อง-เดอ-ดีเยอ ซูลต์
แบร์นฮาร์ด เดรอย
ไลเบอริช  Surrendered
ฟรันโย เยลาชิช
มีชาเอิล คีนไมเออร์
โยฮัน ไรช์ Surrendered
ชวาร์ทเซินแบร์ค
ฟรันทซ์ แวร์เน็ค Surrendered
กำลัง
165,200[1]-235,000[2] 72,000[3]
ความสูญเสีย
6,000[1] 10,000 ตายหรือบาดเจ็บ[1]
60,000 ถูกจับ[1][3][4]

ชัยชนะของฝรั่งเศสในการทัพอุล์มไม่ได้ยุติสงครามเนื่องจากกองทัพรัสเซียขนาดใหญ่ในบัญชาของจอมพลคูตูซอฟ ยังคงตั้งทัพอยู่ใกล้เวียนนา กองทัพรัสเซียร่นถอยสู่ตะวันออกเฉียงเหนือเพื่อรอรับกำลังเสริม และรอสนธิกำลังกับกำลังทหารออสเตรียที่เหลืออยู่ กองทัพฝรั่งเศสตามติดและเข้ายึดเวียนนาในวันที่ 12 พฤศจิกายน และแล้ว ชัยชนะขาดลอยของฝรั่งเศสในยุทธการที่เอาสเทอร์ลิทซ์ ก็ขับไล่ออสเตรียออกจากเวทีสงคราม ในที่สุด สงครามสหสัมพันธมิตรครั้งที่สาม ก็เป็นอันยุติด้วยสนธิสัญญาเพร็สบวร์คซึ่งลงนามในเดือนถัดมา ฝรั่งเศสภายใต้นโปเลียนกลายเป็นชาติมหาอำนาจที่สุดในยุโรปกลาง ก่อนที่จะเกิดสงครามสหสัมพันธมิตรครั้งที่สี่ในปีถัดมา[7]

อ้างอิง แก้

  1. 1.0 1.1 1.2 1.3 Clodfelter 2017, p. 152.
  2. Chandler 2009, p. 384, 34. Plans and Preparations (PART SEVEN. From the Rhine to the Danube).
  3. 3.0 3.1 Fisher & Fremont-Barnes 2004, p. 41.
  4. Nafziger 2002, p. 282, Ulm, Capitulation of. (-U-).
  5. Schneid 2012, p. 35-50, 3. The Campaigns.
  6. Brooks 2000, p. 156"It is a historical cliché to compare the Schlieffen Plan with Hannibal's tactical envelopment at Cannae (216 BC); Schlieffen owed more to Napoleon's strategic maneuver on Ulm (1805)"
  7. Allsbrook, John T. Turin, Dustin (บ.ก.). "Napoleon Bonaparte's Peak of Military Success: Ulm and Austerlitz". Inquiries Journal. Boston, Massachusetts: Inquiries Journal/Student Pulse LLC/Northeastern University. 4 (9): 1–2. ISSN 2153-5760. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 6 October 2016.