อาร์เธอร์ เวลสลีย์ ดยุกที่ 1 แห่งเวลลิงตัน

(เปลี่ยนทางจาก ดยุกแห่งเวลลิงตัน)

จอมพล อาร์เธอร์ เวลสลีย์ ดยุกที่ 1 แห่งเวลลิงตัน (อังกฤษ: Arthur Wellesley, 1st Duke of Wellington) เป็นทหารและรัฐบุรุษ และเป็นหนึ่งในผู้กำหนดนโยบายทางการทหารและการเมืองของอังกฤษในศตวรรษที่ 19 เขาสามารถมีชัยเหนือนโปเลียนแห่งฝรั่งเศสได้ในยุทธการที่วอเตอร์ลูในปี 1815 ซึ่งทำให้เขากลายเป็นวีรบุรุษที่ยิ่งใหญ่ที่สุดของกองทัพอังกฤษ และมีสมญานามว่า ดยุกเหล็ก ทั้งนี้ ในปี 2002 ชื่อของเขาอยู่ในอันดับ 15 ของชาวอังกฤษผู้ยิ่งใหญ่ที่สุดหนึ่งร้อยลำดับ

ดยุกแห่งเวลลิงตัน
ดยุกแห่งเวลลิงตันในปี 1814
ภาพโดย ทอมัส ลอว์เรนซ์
นายกรัฐมนตรีสหราชอาณาจักร
ดำรงตำแหน่ง
14 พฤศจิกายน 1834 – 10 ธันวาคม 1834
กษัตริย์พระเจ้าวิลเลียมที่ 4
ก่อนหน้าไวเคานต์เมลเบิร์น
ถัดไปรอเบิร์ต พีล
ดำรงตำแหน่ง
22 มกราคม 1828 – 16 พฤศจิกายน 1830
กษัตริย์พระเจ้าจอร์จที่ 4
พระเจ้าวิลเลียมที่ 4
ก่อนหน้าไวเคานต์ก๊อดริช
ถัดไปเอิร์ลเกรย์
ผู้นำสภาขุนนาง
ดำรงตำแหน่ง
3 กันยายน 1841 – 27 มิถุนายน 1846
นายกรัฐมนตรีรอเบิร์ต พีล
ก่อนหน้าไวเคานต์เมลเบิร์น
ถัดไปมาร์ควิสแห่งแลนส์ดาวน์
ดำรงตำแหน่ง
14 พฤศจิกายน 1834 – 18 เมษายน 1835
นายกรัฐมนตรีเซอร์ รอเบิร์ต พีล
ก่อนหน้าไวเคานต์เมลเบิร์น
ถัดไปไวเคานต์เมลเบิร์น
ดำรงตำแหน่ง
22 มกราคม 1828 – 22 พฤศจิกายน 1830
ก่อนหน้าไวเคานต์โกดริช
ถัดไปเอิร์ลเกรย์
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ
ดำรงตำแหน่ง
14 พฤศจิกายน 1834 – 18 เมษายน 1835
นายกรัฐมนตรีเซอร์ รอเบิร์ต พีล
ก่อนหน้าไวเคานต์พาลเมอร์สตัน
ถัดไปไวเคานต์พาลเมอร์สตัน
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย
ดำรงตำแหน่ง
17 พฤศจิกายน 1834 – 15 ธันวาคม 1834
ก่อนหน้าไวเคานน์ดันแคนนอน
ถัดไปเฮนรี กูลบูร์น
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการสงครามและอาณานิคม
ดำรงตำแหน่ง
17 พฤศจิกายน 1834 – 9 ธันวาคม 1834
ก่อนหน้าทอมัส สปริง ไรซ์
ถัดไปเอิร์ลแห่งแอเบอร์ดีน
อธิการบดีมหาวิทยาลัยออกซฟอร์ด
ดำรงตำแหน่ง
1834–1852
ก่อนหน้าบารอนเกรนวิลล์
ถัดไปเอิร์ลแห่งดาร์บีย์
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด
อาร์เธอร์ เวลสลีย์

1 พฤษภาคม 1769
ดับลิน, ราชอาณาจักรไอร์แลนด์ (ปัจจุบันคือประเทศไอร์แลนด์)[1]
เสียชีวิต14 กันยายน ค.ศ. 1852(1852-09-14) (83 ปี)
ปราสาทวัลเมอร์, เคนต์, อังกฤษ, สหราชอาณาจักร
ที่ไว้ศพอาสนวิหารนักบุญเปาโล, ลอนดอน
ศาสนาคริสตจักรแห่งไอร์แลนด์
คู่สมรสแคเธอริน พาเค็นแฮม
บุตรอาเธอร์
ชาลล์
ลายมือชื่อ
ยศที่ได้รับการแต่งตั้ง
รับใช้ สหราชอาณาจักร
สังกัดกองทัพบริเตน
ประจำการ1787–1852
ยศจอมพล
บังคับบัญชาผู้บัญชาการกองทัพบริเตน
ผ่านศึกสงครามสหสัมพันธมิตรครั้งที่หนึ่ง
สงครามอังกฤษ-ไมซอร์ครั้งที่สี่
สงครามอังกฤษ-มราฐาครั้งที่สอง
สงครามนโปเลียน

เกิดที่ดับลินในไอร์แลนด์ เริ่มจากการเป็นร้อยตรีในกองทัพอังกฤษในปี 1787 โดยประจำการในไอร์แลนด์ในฐานะทหารคนสนิทผู้แทนพระองค์ประจำไอร์แลนด์ นอกจากนี้ยังได้รับเลือกให้เป็นสมาชิกสภาสามัญชน (สภาล่าง) ของไอร์แลนด์ และดำรงยศเป็นพันเอกในปี 1796 โดยเข้าร่วมราชการสงครามในเนเธอร์แลนด์ในช่วงสงครามมหาสัมพันธมิตรครั้งที่หนึ่ง และในอินเดียในช่วงสงครามอังกฤษ-ไมซอร์ครั้งที่สี่ และจึงได้รับแต่งตั้งเป็นข้าหลวงประจำศรีรังคปัฏนาและไมซอร์ในปี 1799 และต่อมาจึงได้รับแต่งตั้งเป็นพลตรีภายหลังชัยชนะเหนือจักรวรรดิมราฐาในปี 1803

เวลสลีย์เป็นผู้บัญชาการศึกคาบสมุทรในสงครามนโปเลียน และได้รับการเลื่อนขึ้นขึ้นเป็นจอมพลภายหลังสามารถนำกองทัพพันธมิตรมีชัยเหนือฝรั่งเศสได้ในยุทธการที่วิกตอเรียในปี 1813 ซึ่งตามมาด้วยการเนรเทศนโปเลียนในปีต่อมา เวลสลีย์เข้ารับตำแหน่งเป็นราชทูตประจำฝรั่งเศส และได้รับบรรดาศักดิ์เป็นดยุก ต่อมาระหว่างสมัยร้อยวันในปี 1815 กองทัพพันธมิตรของเขาร่วมกับกองทัพปรัสเซียที่นำโดยพลโทบลือเชอร์ มีชัยเหนือนโปเลียนในยุทธการที่วอเตอร์ลู ชีวิตทหารของเขานั้นเป็นที่น่ายกย่องอย่างยิ่ง จากรายงานราชการสงคราม ตลอดชีวิตทหารของเขาได้ผ่านศึกสงครามมากว่า 60 ครั้ง เขามีชื่อเสียงขึ้นมาจากการปรับตัวและใช้กลยุทธ์ในการตั้งรับข้าศึกจนสามารถมีชัยนับครั้งไม่ถ้วนเหนือข้าศึกที่มีกำลังเหนือกว่า ในขณะที่ตัวเขาเองก็ได้รับบาดเจ็บน้อยมาก เขาจึงได้รับการยกย่องให้เป็นหนึ่งในผู้บัญชาฝ่ายตั้งรับตลอดกาล กลยุทธ์และแผนการรบของเขาจำนวนมากถูกนำไปสอนในวิทยาลัยการทหารชั้นนำของโลก

ภายหลังออกจากราชการทหาร เขาก็กลับคืนสู่งานการเมือง โดยได้ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีสองสมัยโดยสังกัดพรรคทอรี ระหว่างปี 1828 ถึง 1830 และอีกครั้งเป็นช่วงเวลาไม่ถึงเดือนในปี 1834 ต่อมาเขาได้ดำรงตำแหน่งผู้นำในสภาขุนนาง จนกระทั่งเกษียณอายุแต่ยังคงเป็นผู้บัญชาการกองทัพอังกฤษจนกระทั่งถึงแก่อสัญกรรม

ประวัติ

แก้

วัยเยาว์และการศึกษา

แก้
 
ปราสาทแดนแกนของตระกูลเวลสลีย์ในไอร์แลนด์

อาเธอร์เกิดในตระกูลชนชั้นสูงครึ่งอังกฤษ-ไอร์แลนด์ ในราชอาณาจักรไอร์แลนด์ เป็นบุตรชายคนที่สามในบรรดาบุตรชายห้าคนของ เอิร์ลที่ 1 แห่งมอร์นิงตัน กับภริยานามว่าแอนน์ ซึ่งเป็นบุตรีของไวเคานต์แดนแกนนอนที่ 1 ชีวประวัติของเขามักจะอ้างอิงจากหลักฐานหนังสือพิมพ์เก่า ซึ่งระบุไว้ว่าเขาเกิดในวันที่ 1 พฤษภาคม 1769[2] ซึ่งเป็นวันที่เข้ารับศีลล้างบาป[3] แต่ไม่ได้ระบุถึงสถานที่เกิดที่แน่นนอน แต่เชื่อว่าเขาน่าจะเกิดที่ทาวเฮาส์ของครอบครัวในกรุงดับลิน

อาเธอร์ใช้ชีวิตในวัยเด็กส่วนใหญ่ของเขาอยู่ที่บ้านสองหลังของครอบครัว หลังแรกคือบ้านขนาดใหญ่ในดับลิน และอีกหลังคือปราสาทแดนแกนทางตะวันตกเฉียงเหนือของดับลิน[4] บิดาของเขาถึงแก่อสัญกรรมในปี 1781 ซึ่งริชาร์ด ผู้เป็นพี่ชายคนโตของเขาก็เป็นผู้สืบต่อตำแหน่งเอิร์ลแห่งมอร์นิงตัน[5]

เขาเข้าเรียนที่โรงเรียนโบสถ์ขณะอาศัยอยู่ที่แดนแกน และสถาบันมิสเตอร์ไวนต์ขณะอาศัยอยู่ที่ดับลิน และโรงเรียนบราวน์ขณะอาศัยอยู่ในลอนดอน แล้วจึงเข้าเรียนในวิทยาลัยอีตันระหว่างปี 1781 ถึง 1784[5] ความโดดเดี่ยวของเขาทำให้เขาเกลียดที่นี่มาก เขามักจะพูดว่า "ชนะศึกวอเตอร์ลูที่ลานกีฬาของอีตัน" ทั้งๆที่อีตันไม่มีลานกีฬา ในปี 1785 จากการที่เขาไม่ค่อยประสบความสำเร็จในการเรียนที่อีตัน ประกอบกับครอบครัวเริ่มมีปัญหาขัดสนเงินทองภายหลังการอสัญกรรมของบิดา ทำให้เขาและมารดาต้องย้ายไปอาศัยอยู่ที่บรัสเซลส์ในเบลเยียม[6] แม้อายุจะย่างเข้ายี่สิบแล้ว แต่เขาก็แสดงความเด่นประกายออกมาเพียงเล็กน้อยเท่านั้น ในขณะที่มารดาของเขาก็ตระหนักถึงความเกียจคร้านในตัวเขา เธอเคยกว่าวว่า "ชั้นไม่รู้ว่าควรจะทำยังไงกับอาเธอร์เจ้าลูกชายจอมเทอะทะของฉันดี"[6]

ในปีต่อมา อาเธอร์เข้าศึกษาที่ราชวิทยาลัยการทรงตัวในเมืองอ็องเฌของฝรั่งเศส เขาเริ่มแสดงออกถึงความก้าวหน้า และกลายเป็นนักขี่ม้าที่ดี และยังได้เรียนภาษาฝรั่งเศสซึ่งภายหลังได้เป็นประโยชน์ต่อเขาอย่างมาก[7] และจึงกลับไปยังอังกฤษในปลายปี 1786 ซึ่งพัฒนาการของเขาทำให้มารดาของเขาประหลาดใจอย่างมาก[8]

ราชการทหาร

แก้
 
ปีแรกของการเป็นทหาร เวลสลีย์ทำงานในปราสาทดับลิน (ในภาพ) ในฐานะนายทหารคนสนิทของผู้แทนพระองค์ประจำไอร์แลนด์

เนื่องด้วยเงินทองครอบครัวค่อนข้างยังขัดสน ด้วยคำแนะนำของมารดา พี่ชายของเขาได้ไปร้องขอกับสหาย คือ ดยุกแห่งรัทแลนด์ ซึ่งขณะนั้นเป็นผู้แทนพระองค์ประจำไอร์แลนด์ ให้รับเวลสลีย์เข้าประจำการในกองทัพ[8] ไม่นานหลังจากนั้นในวันที่ 7 มีนาคม 1787 เวลสลีย์ได้รับการบรรจุเข้ารับราชการทหารที่ตำแหน่งร้อยตรี ในกองร้อยเดินเท้าที่ 73 [9][10] และในเดินตุลาคม ด้วยความช่วยเหลือจากทางพี่ชาย เวลสลีย์ก็ได้ขึ้นเป็นนายทหารคนสนิท (Aide-de-camp) ของลอร์ดบักกิงแฮม ผู้แทนพระองค์คนใหม่ ด้วยค่าตอบแทน 10 ชิลลิงต่อวัน (หนึ่งเท่าของค่าตอบแทนร้อยตรี)[9] ต่อมาเขาถูกโอนชื่อไปอยู่ในกองร้อยที่ 76 ที่ตั้งขึ้นใหม่ในไอร์แลนด์ และในวันคริสต์มาสของปี 1787 นั้นเองเขาก็ได้เลื่อนยศเป็นร้อยโท[9] ด้วยตำแหน่งนายทหารคนสนิทนี้ งานส่วนใหญ่ของเขาจึงเปรียบเสมือนผู้ช่วยและเลขาของผู้แทนพระองค์ฯ ซึ่งในไอร์แลนด์นี้เองเวลสลีย์ชื่นชอบการพนันมาก และมักจะเป็นหนี้เป็นสินคนอื่นอยู่เสมอ

มกราคม 1788 เขาถูกโอนชื่อไปอยู่ในกองร้อยเดินเท้าที่ 44 และไม่นานต่อมาถูกโอนชื่อไปอยู่ในกองร้อยมังกรที่ 12 ในเจ้าชายแห่งเวลส์[11] หลังจากนี้เป็นช่วงเวลาที่เขาเริ่มเข้าไปมีบทบาททางการเมือง และในปี 1789 ได้รับเลือกเป็นสมาชิกรัฐสภาจากเขตทริมในสภาสามัญชนไอร์แลนด์[12]ในช่วงนี้เขายังคงรับราชการอยู่ในปราสาทดับสินโดยที่มีสิทธิ์ออกเสียงในสภาไอร์แลนด์ เมื่อเขาหมดวาระในสภาในปี 1791 เขาได้เลื่อนยศเป็นร้อยเอก และถูกโอนชื่อไปประจำการในกองร้อยเดินเท้าที่ 56[12][13][14] และในเดือนตุลาคมโอนไปกองร้อยมังกรที่ 18

เกียรติยศ

แก้

ยศทหาร

แก้
  • ร้อยตรี – มีนาคม 1787
  • ร้อยโท – ธันวาคม 1787
  • ร้อยเอก – มิถุนายน 1791
  • พันตรี – เมษายน 1793
  • พันโท – กันยายน 1793
  • พันเอก – พฤษภาคม 1796
  • พลตรี – เมษษยน 1802
  • พลโท – เมษายน 1808
  • จอมพล – มิถุนายน 1813

ยศขุนนาง

แก้
 
ตราอาร์มดยุกแห่งเวลลิงตัน
  • บารอนโดรู บารอนแห่งเวลสลีย์ในเคานตีซัมเมอร์เซต – 26 สิงหาคม 1809
  • ไวเคานต์เวลลิงตัน ไวเคานต์แห่งทาลาเวราและแห่งเวลลิงตันในเคานตีซัมเมอร์เซต – 26 สิงหาคม 1809
  • เอิร์ลแห่งเวลลิงตัน – 28 กุมภาพันธ์ 1812
  • มาควิสแห่งเวลลิงตัน – 18 สิงหาคม 1812
  • มาควิสโดรู – 3 พฤษภาคม 1814
  • ดยุกแห่งเวลลิงตัน – 3 พฤษภาคม 1814

บรรดาศักดิ์ต่างประเทศ

แก้
  • ดยุกแห่งวีโตเรีย ในโปรตุเกส – 1812
  • มาควิสแห่งตอร์เรส เวดราส ในโปรตุเกส – 1812
  • เคานต์แห่งวีเมริโอ ในโปรตุเกส – 1811
  • ดยุกแห่งซีอูดา โรดริโก ในสเปน – 1812
  • เจ้าชายแห่งวอเตอร์ลู ในสวิตเซอร์แลนด์ – 1815

อ้างอิง

แก้
  1. Wellesley (2008). p. 16.
  2. Though 29 April is quoted as most likely by Ernest Marsh Lloyd, writing in the Dictionary of National Biography (ภาษาอังกฤษ). London: Smith, Elder & Co. 1885–1900. {{cite encyclopedia}}: |title= ไม่มีหรือว่างเปล่า (help)
  3. Guedalla (1997). p. 480. His baptismal font was donated to St. Nahi's Church in Dundrum, Dublin, in 1914.
  4. Holmes (2002). pp. 6–7.
  5. 5.0 5.1 Holmes (2002). p. 8.
  6. 6.0 6.1 Holmes (2002). p. 9.
  7. Holmes (2002). pp. 19–20.
  8. 8.0 8.1 Holmes (2002). p. 20.
  9. 9.0 9.1 9.2 Holmes (2002). p. 21.
  10. แม่แบบ:LondonGazette
  11. แม่แบบ:LondonGazette
  12. 12.0 12.1 Holmes (2002). p. 24.
  13. "Regimental Archives". Duke of Wellington's Regiment (West Riding). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-12-27. สืบค้นเมื่อ 10 March 2012.
  14. แม่แบบ:LondonGazette

ดูเพิ่ม

แก้