เจ้าชายแห่งเวลส์
เจ้าชายแห่งเวลส์ (อังกฤษ: Prince of Wales; เวลส์: Tywysog Cymru) เป็นพระอิสริยยศขององค์รัชทายาทแห่งพระมหากษัตริย์แห่งอังกฤษหรือสหราชอาณาจักรในขณะนั้น ราชประเพณีที่มกุฏราชกุมารของราชบัลลังก์อังกฤษจะได้รับพระอิสริยยศเป็นเจ้าชายแห่งเวลส์มีมาตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 14 อย่างไรก็ดีการไม่ได้รับแต่งตั้งให้ดำรงอิสริยยศนี้ไม่มีผลใดๆต่อสิทธิของผู้ที่จะสืบทอดราชบัลลังก์ บุคคลแรกที่ดำรงพระอิสริยยศเป็นเจ้าชายแห่งเวลส์คือ เจ้าชายละเวลินผู้ยิ่งใหญ่ (Llywelyn the Great)
เจ้าชายแห่งเวลส์ | |
---|---|
ตราประจำพระอิสริยยศ | |
เจ้าชายวิลเลียม เจ้าชายแห่งเวลส์พระองค์ล่าสุด | |
สถาปนา | 7 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1301 |
องค์แรก | เอ็ดเวิร์ดแห่งแคร์นาร์ฟอน |
องค์ปัจจุบัน | เจ้าชายวิลเลียม |
คู่สมรส | แคเธอริน มิดเดิลตัน |
บทบาทและพระราชกิจ
แก้โดยแท้ที่จริงแล้วเจ้าชายแห่งเวลส์ก็เหมือนพระราชวงศ์องค์อื่น ๆ คือไม่มีพระราชอำนาจอะไร อย่างไรก็ตามครั้นที่สมเด็จพระเจ้าชาลส์ที่ 3 ดำรงพระอิสริยยศเป็นเจ้าชายแห่งเวลส์ ทรงตั้งพระราชปณิธาน 3 ข้อ:[1]
- ปฏิบัติภารกิจและหน้าที่ที่สนับสนุนพระมหากษัตริย์
- ปฏิบัติภารกิจในฐานะองค์การกุศล
- เผยแพร่และป้องกันชาติ, คุณธรรม และความเป็นเลิศ
เจ้าชายแห่งเวลส์ในฐานะรัชทายาท
แก้ในฐานะพระรัชทายาทโดยนิตินัยของพระราชบิดา/พระราชมารดาผู้เป็นพระมหากษัตริย์ในขณะนั้น เจ้าชายผู้นั้นดำรงยศเป็น เจ้าชายแห่งเวลส์ มีตราประจำพระองค์ที่ใช้ในเวลส์ และมีพระราชพิธีสถาปนาโดยกษัตริย์ทรงสวมมงกุฎยุพราชพระราชทานให้
นอกจากในเวลส์แล้ว ในฐานะดยุกแห่งโรธเซย์เจ้าชายแห่งเวลส์ก็ยังคงทรงมีตราประจำพระองค์เพื่อใช้ต่างหากในสก็อตแลนด์ และในอังกฤษก็มีตราประจำดยุกแห่งคอร์นวอลล์ด้วย (ไม่ได้ใช้บ่อยนัก เพราะมักได้รับพระราชทานยศเป็นเจ้าชายแห่งเวลส์แล้ว)
พระอิสริยยศ
แก้นอกจากตำแหน่ง เจ้าชายแห่งเวลส์ และเอิร์ลแห่งเชสเตอร์แล้ว ในฐานะพระราชโอรสพระองค์โต ยังคงทรงดำรงพระยศ ดยุกแห่งคอร์นวอลล์[2] ด้วย ผู้ที่ดำรงพระอิสริยยศเป็นเจ้าชายแห่งเวลส์ จะดำรงพระยศต่อไปนี้ทั้งหมด
- เจ้าชายแห่งเวลส์ (Prince of Wales)
- ดยุกแห่งคอร์นวอลล์ (Duke of Cornwall)
- ดยุกแห่งโรธเซย์ (Duke of Rothesay)
- เอิร์ลแห่งแคร์ริค (Earl of Carrick)
- เอิร์ลแห่งเชสเตอร์ (Earl of Chester)
- บารอนแห่งเรนเฟรว (Baron of Renfrew)
- ลอร์ดแห่งไอเซิล (Lord of the Isles)
- เจ้าชายและจอมทัพแห่งสกอตแลนด์ (Prince and Great Steward of Scotland)
รัชทายาทโดยนิตินัยกับโดยพฤตินัย
แก้ข้อควรทราบคือตำแหน่งเจ้าชายแห่งเวลส์นั้นจะพระราชทานให้กับ “รัชทายาท” เท่านั้น รัชทายาทโดยนิตินัยนั้นคือรัชทายาทผู้ที่จะไม่ถูกผู้อื่นแทรกขึ้นไปได้ในลำดับแห่งการสืบสันตติวงศ์ (คือมีพระราชสิทธิ์สูงที่สุด) ซึ่งตามปกติก็จะเป็นพระราชโอรสพระองค์โตที่สุดที่ยังมีชนมชีพอยู่ในพระมหากษัตริย์ หรือไม่เช่นนั้นก็เป็นพระราชนัดดา (หลานที่เป็นผู้ชาย) ที่เป็นพระโอรสองค์ใหญ่ในพระราชโอรสองค์ที่มีสิทธิ และพระโอรสองค์ใหญ่ของผู้มีสิทธิต่อๆ ไปตามกฎมณเทียรบาล พระราชธิดารวมทั้งบรรดาพี่น้อง (พระราชอนุชา พระเชษฐภคินีและพระกนิษฐา) ของกษัตริย์นั้นอาจจะถูกแทนที่โดยชายที่มีสิทธิ์ในราชบัลลังก์มากกว่า ดังนั้นพระองค์ท่านเหล่านั้นจึงเป็นแต่เพียง “ทายาทโดยสันนิษฐาน” (the Heir Presumptive) เท่านั้น เช่นในกรณีของสมเด็จพระราชินีนาถอลิซาเบธที่ 2 ในปัจจุบันผู้ไม่เคยได้การแต่งตั้งให้เป็นรัชทายาทโดยนิตินัย และไม่ทรงได้รับแต่งตั้งให้เป็นเจ้าหญิงแห่งเวลส์ เพราะตำแหน่งนั้นเป็นบรรดาศักดิ์สำหรับพระชายาของเจ้าชายแห่งเวลส์ และเป็นตำแหน่งสำหรับผู้เป็นเจ้าชายเท่านั้น
รายพระนามผู้ที่เคยดำรงตำแหน่งเจ้าชายแห่งเวลส์
แก้พระฉายาลักษณ์ | พระนาม | รัชทายาทใน | ประสูติ | เริ่มเป็นรัชทายาทผู้มีสิทธิต่อราชบัลลังก์ | เริ่มเป็นเจ้าชายแห่งเวลส์ | สิ้นสุดการเป็นเจ้าชายแห่งเวลส์ | สิ้นพระชนม์ |
---|---|---|---|---|---|---|---|
เจ้าชายเอ็ดเวิร์ด | เอ็ดเวิร์ดที่ 1 | 25 เมษายน 1284 | 19 สิงหาคม 1284 | 7 กุมภาพันธ์ 1301 | 7 กรกฎาคม 1307 เสวยราชสมบัติเป็น เอ็ดเวิร์ดที่ 2 |
21 กันยายน 1327 | |
เจ้าชายเอ็ดเวิร์ด เจ้าชายดำ | เอ็ดเวิร์ดที่ 3 | 15 มิถุนายน 1330 | 12 พฤษภาคม 1343[3] | 8 มิถุนายน 1376 สิ้นพระชนม์ | |||
เจ้าชายริชาร์ดแห่งมอร์ดัว | 6 มกราคม 1367 | 8 มิถุนายน 1376 | 20 พฤศจิกายน 1376[3] | 22 มิถุนายน 1377 เสวยราชสมบัติเป็น ริชาร์ดที่ 2 |
14 กุมภาพันธ์ 1400 | ||
เจ้าชายเฮนรีแห่งมอนมัธ | เฮนรีที่ 4 | 16 กันยายน 1387 | 30 กันยายน 1399 | 15 ตุลาคม 1399[3] | 21 พฤษภาคม 1413 เสวยราชสมบัติเป็น เฮนรีที่ 5 |
31 สิงหาคม 1422 | |
เจ้าชายเอ็ดเวิร์ดแห่งเวสต์มินสเตอร์ | เฮนรีที่ 6 | 13 ตุลาคม 1453 | 15 พฤษภาคม 1454[3] | 11 เมษายน 1471 พระราชบิดาถูกปลดจากราชบัลลังก์ |
4 พฤษภาคม 1471 | ||
เจ้าชายเอ็ดเวิร์ดแห่งยอร์ก | เอ็ดเวิร์ดที่ 4 | 4 พฤศจิกายน 1470 | 11 เมษายน 1471 | 26 มิถุนายน 1471[3] | 9 เมษายน 1483 เสวยราชสมบัติเป็น เอ็ดเวิร์ดที่ 5 |
1483 | |
เจ้าชายเอ็ดเวิร์ดแห่งมิดเดิลแฮม | ริชาร์ดที่ 3 | 1473 | 1483 | 24 สิงหาคม 1483[3] | 31 พฤษภาคมหรือ 9 เมษายน 1484 สิ้นพระชนม์ | ||
เจ้าชายอาเธอร์ ทิวดอร์ | เฮนรีที่ 7 | 20 กันยายน 1486 | 29 พฤศจิกายน 1489 | 2 เมษายน 1502 สิ้นพระชนม์ | |||
เจ้าชายเฮนรี่ ทิวดอร์ | 28 มิถุนายน 1491 | 2 เมษายน 1502 | 18 กุมภาพันธ์ 1504[3] | 21 เมษายน 1509 เสวยราชสมบัติเป็น เฮนรีที่ 8 |
28 มกราคม 1547 | ||
เจ้าชายเอ็ดเวิร์ด ทิวดอร์ | เฮนรีที่ 8 | 12 ตุลาคม 1537 | 18 ตุลาคม 1537[3] | 28 มกราคม 1547 เสวยราชสมบัติเป็น เอ็ดเวิร์ดที่ 6 |
6 กรกฎาคม 1553 | ||
เจ้าชายเฮ็นรี เฟรเดอริก สจวต | เจมส์ที่ 1 | 19 กุมภาพันธ์ 1594 | 24 พฤษภาคม 1603 | 4 มิถุนายน 1610[3] | 6 พฤศจิกายน 1612 สิ้นพระชนม์ | ||
เจ้าชายชาลส์ สจวต | 19 พฤศจิกายน 1600 | 6 พฤศจิกายน 1612 | 4 พฤศจิกายน 1616[3] | 27 พฤษภาคม 1625 เสวยราชสมบัติเป็น ชาลส์ที่ 1 |
30 มกราคม 1649 | ||
เจ้าชายชาลส์ สจวต | ชาลส์ที่ 1 | 29 พฤษภาคม 1630 | ประกาศ c. 1638–1641[3] | 30 มกราคม 1649 พระอิสริยยศยกเลิก; ต่อมา (1660) เสวยราชสมบัติเป็น 'ชาลส์ที่ 2' |
6 กุมภาพันธ์ 1685 | ||
เจ้าชายเจมส์ ฟรานซิส เอ็ดเวิร์ด สจวต | เจมส์ที่ 2 | 10 มิถุนายน 1688 | c. 4 มิถุนายน 1688[3] | 11 ธันวาคม 1688 พระราชบิดาถูกถอดถอนจากราชบัลลังก์ |
1 มกราคม 1766 | ||
เจ้าชายจอร์จ ออกัสตัส | จอร์จที่ 1 | 10 พฤศจิกายน 1683 | 1 สิงหาคม 1714 | 27 กันยายน 1714 | 11 มิถุนายน 1727 เสวยราชสมบัติเป็น จอร์จที่ 2 |
25 ตุลาคม 1760 | |
เจ้าชายเฟรเดอริก หลุยส์ | จอร์จที่ 2 | 1 กุมภาพันธ์ 1707 | 11 มิถุนายน 1727 | 8 มกราคม 1729[3] | 31 พฤษภาคม 1751 สิ้นพระชนม์ | ||
เจ้าชายจอร์จ วิลเลียม เฟรเดอริก | 4 มิถุนายน 1738 | 31 พฤษภาคม 1751 | 20 เมษายน 1751 | 25 ตุลาคม 1760 เสวยราชสมบัติเป็น จอร์จที่ 3 |
29 มกราคม 1820 | ||
เจ้าชายจอร์จ ออกัสตัส เฟรเดอริก | จอร์จที่ 3 | 12 สิงหาคม 1762 | 19 สิงหาคม 1762[3] | 29 มกราคม 1820 เสวยราชสมบัติเป็น จอร์จที่ 4 |
26 มิถุนายน 1830 | ||
เจ้าชายอัลเบิร์ต เอ็ดเวิร์ด | วิกตอเรีย | 9 พฤศจิกายน 1841 | 8 ธันวาคม 1841 | 22 มกราคม 1901 เสวยราชสมบัติเป็น เอ็ดเวิร์ดที่ 7 |
6 พฤษภาคม 1910 | ||
เจ้าชายจอร์จ เฟรเดอริก เออร์เนสต์ อัลเบิร์ต | เอ็ดเวิร์ดที่ 7 | 3 มิถุนายน 1865 | 22 มกราคม 1901 | 9 พฤศจิกายน 1901[4] | 6 พฤษภาคม 1910 เสวยราชสมบัติเป็น จอร์จที่ 5 |
20 มกราคม 1936 | |
เจ้าชายเอ็ดเวิร์ด อัลเบิร์ต คริสเตียน จอร์จ แอนดรูว์ แพทริค เดวิด | จอร์จที่ 5 | 23 มิถุนายน 1894 | 6 พฤษภาคม 1910 | 23 มิถุนายน 1910 สถาปนา 13 กรกฎาคม 1911 |
20 มกราคม 1936 เสวยราชสมบัติเป็น เอ็ดเวิร์ดที่ 8; ต่อมา(1937) ดยุกแห่งวินด์เซอร์ |
28 พฤษภาคม 1972 | |
เจ้าชายชาร์ลส์ ฟิลิป อาเธอร์ จอร์จ | เอลิซาเบธที่ 2 | 14 พฤศจิกายน 1948 | 6 กุมภาพันธ์ 1952 | 26 กรกฎาคม 1958 สถาปนา 1 กรกฎาคม 1969 |
8 กันยายน 2022 เสวยราชสมบัติเป็น ชาร์ลส์ที่ 3 |
- | |
เจ้าชายวิลเลียม อาร์เธอร์ ฟิลิป หลุยส์ | ชาร์ลส์ที่ 3 | 21 มิถุนายน 1982 | 8 กันยายน 2022 | 9 กันยายน 2022 | ยังครองพระยศ |
อ้างอิง
แก้- ↑ "The Website of the Prince of Wales(Roles)". เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2006-02-10. สืบค้นเมื่อ 2006-02-10.
- ↑ แต่ถ้าหากไม่ใช่พระราชโอรสพระองค์โต แม้จะได้รับการสถาปนาเป็นเจ้าชายแห่งเวลส์ ก็ไม่ได้เป็นดยุกแห่งคอร์นวอลล์ และดยุกแห่งโรธเซย์ด้วย เช่นสมเด็จพระเจ้าจอร์จที่ 3 ซึ่งเป็นพระโอรสในเจ้าชายเฟรเดอริก เจ้าชายแห่งเวลส์ ดังนั้นเมื่อเจ้าชายแห่งเวลส์พระองค์ก่อน (พระบิดาของจอร์จที่ 3) สิ้นพระชนม์ลง เจ้าชายจอร์จจึงกลายเป็นรัชทายาทโดยนิตินัย เพราะจะไม่มีทางถูกผู้ใดแซงขึ้นได้ในลำดับแห่งการสืบสันตติวงศ์ ต่อจากพระอัยกา (สมเด็จพระเจ้าจอร์จที่ 2) ผู้ทรงสถาปนาให้พระองค์ขึ้นเป็นเจ้าชายแห่งเวลส์ ส่วนตำแหน่งดยุกแห่งคอร์นวอลล์และดยุกแห่งโรธเซย์นั้นก็ว่างลงไปจนตลอดรัชกาล แต่ในกรณีของพระเจ้าเฮนรีที่ 8 เมื่อพระเชษฐา (เจ้าชายอาเธอร์ เจ้าชายแห่งเวลส์) สิ้นพระชนม์ เจ้าชายอาเธอร์ไม่มีพระโอรสหรือพระธิดา เจ้าชายเฮนรีจึงกลายเป็นรัชทายาทสืบต่อจากพระเชษฐา เพราะเหตุนั้นพระราชบิดาจึงพระราชทานพระอิสริยศให้พระองค์เป็นเจ้าชายแห่งเวลส์ และในฐานะพระราชโอรสพระองค์โตนับแต่นาทีที่เจ้าชายอาเธอร์สิ้นพระชนม์ จึงทรงดำรงพระอิสริยยศเป็นดยุกแห่งคอร์นวอลล์และดยุกแห่งโรธเซย์โดยทันที
- ↑ 3.00 3.01 3.02 3.03 3.04 3.05 3.06 3.07 3.08 3.09 3.10 3.11 3.12 3.13 l Previous Princes. Prince of Wales official website. Retrieved on 15 July 2013.
- ↑ แม่แบบ:LondonGazette