นายกรัฐมนตรีสหราชอาณาจักร
ลิงก์ข้ามภาษาในบทความนี้ มีไว้ให้ผู้อ่านและผู้ร่วมแก้ไขบทความศึกษาเพิ่มเติมโดยสะดวก เนื่องจากวิกิพีเดียภาษาไทยยังไม่มีบทความดังกล่าว กระนั้น ควรรีบสร้างเป็นบทความโดยเร็วที่สุด |
นายกรัฐมนตรีสหราชอาณาจักร (อังกฤษ: Prime Minister of the United Kingdom) หรือเรียกอย่างเป็นทางการว่า นายกรัฐมนตรีแห่งสหราชอาณาจักรบริเตนใหญ่และไอร์แลนด์เหนือ เป็นตำแหน่งหัวหน้ารัฐบาลในสมเด็จพระเจ้าแผ่นดินแห่งสหราชอาณาจักร การกำหนดนโยบายและการบริหารราชการแผ่นดินต่าง ๆ ถือเป็นความรับผิดชอบของนายกรัฐมนตรีและคณะรัฐมนตรีต่อพระมหากษัตริย์ รัฐสภา พรรคการเมือง และโดยเฉพาะอย่างยิ่งต่อผู้มีสิทธิเลือกตั้ง ตำแหน่งนายกรัฐมนตรีถือเป็นหนึ่งในสี่อำมาตย์นายก ซึ่งหมายถึงผู้บริหารสูงสุดทั้งสี่ของรัฐบาล นายกรัฐมนตรีคนปัจจุบัน คือริชี ซูแน็ก หัวหน้าพรรคอนุรักษนิยม เนื่องจาก ลิซ ทรัสส์ได้ประกาศลาออกจากตำแหน่งหัวหน้าพรรคอนุรักษ์นิยมซึ่งเป็นพรรคการเมืองที่ครองเสียงข้างมากในสภาสามัญชน เมื่อวันที่ 20 ตุลาคม ค.ศ. 2022 ซึ่งส่งผลให้ทรัสส์ต้องยุติการดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี
นายกรัฐมนตรี แห่งสหราชอาณาจักรบริเตนใหญ่ และไอร์แลนด์เหนือ | |
---|---|
![]() | |
![]() | |
รัฐบาลสหราชอาณาจักร สำนักนายกรัฐมนตรี สำนักคณะรัฐมนตรี | |
การเรียกขาน |
|
สมาชิกของ | |
รายงานต่อ | |
จวน |
|
ผู้แต่งตั้ง | พระมหากษัตริย์ |
วาระ | ตามพระราชอัธยาศัย |
ผู้ประเดิมตำแหน่ง | เซอร์ รอเบิร์ต วอลโพล |
สถาปนา | 3 เมษายน 1721 |
รอง | ไม่มีตำแหน่งถาวร บางครั้งถือครองโดย: |
เงินตอบแทน | 159,584 ปอนด์ต่อปี (2022)[2] (รวมเงินเดือน สส. 84,144 ปอนด์)[3] |
เว็บไซต์ | 10 Downing Street |
คณะรัฐบาลสหราชอาณาจักรไม่ได้ดำรงอยู่ด้วยบทบัญญัติตามรัฐธรรมนูญหรือกฎหมายใด ๆ แต่ดำรงอยู่ด้วยธรรมเนียมประเพณีการปกครองที่มีมาช้านาน โดยกำหนดให้พระมหากษัตริย์จะต้องแต่งตั้งนายกรัฐมนตรีซึ่งเป็นบุคคลผู้สามารถทำให้สภาสามัญชนไว้วางใจในตัวเขาได้ บุคคลนั้นมักจะเป็นผู้นำพรรคหรือกลุ่มทางการเมืองซึ่งเป็นฝ่ายที่ครองเสียงจำนวนมากที่สุดในที่ประชุม ตำแหน่งนายกรัฐมนตรีเองก็ไม่ได้ถูกตั้งขึ้นมาโดยทันทีแต่เกิดจากพัฒนาการในอดีตที่ค่อย ๆ สะสมทีละเล็กน้อยในช่วงเวลาสามร้อยปี ไม่ว่าจะเป็นพัฒนาการทางกฎหมายที่สภาได้ตราขึ้นมากมายก็ดี พัฒนาการทางการเมืองก็ดี หรือตลอดจนเหตุร้ายต่าง ๆ ก็ดี โดยตำแหน่งนี้มีต้นกำเนิดครั้งแรกในช่วงข้อตกลงการปฏิวัติ (ค.ศ. 1688–1720) ซึ่งทำให้อำนาจสูงสุดถูกย้ายจากพระมหากษัตริย์มาที่สภา[4] แม้ว่าในทางพฤตินัย พระมหากษัตริย์ยังทรงไว้ซึ่งอิทธิพลซึ่งฝังรากรึกอยู่กับกลุ่มอำนาจทางการเมือง แต่ในทางนิตินัยแล้ว นายกรัฐมนตรีคือหัวหน้ารัฐบาลตามกฎหมาย ฉะนั้นการที่พระมหากษัตริย์จะยังคงปกครองประเทศทางอ้อมได้ จึงต้องอาศัยการปกครองผ่านนายกรัฐมนตรีซึ่งสามารถชักจูงเสียงข้างมากในสภาได้
โดยตำแหน่งแล้ว นายกรัฐมนตรียังดำรงตำแหน่งอื่น ๆ ควบคู่กันอีก อาทิ ขุนคลังเอก, รัฐมนตรีกิจการพลเรือน และได้รับสิทธิพิเศษให้พำนักอยู่ในบ้านเลขที่ 10 ถนนดาวนิง ตลอดที่ดำรงตำแหน่ง นายกรัฐมนตรีไม่มีวาระการดำรงตำแหน่ง นายกรัฐมนตรีอาจเสนอชื่อสมาชิกสภาสามัญชนคนใดคนหนึ่งขึ้นเป็นนายกรัฐมนตรีคนใหม่แทนเมื่อใดก็ได้
อดีตนายกรัฐมนตรีที่มีชีวิตอยู่ แก้
ปัจจุบันมีอดีตนายกรัฐมนตรีสหราชอาณาจักรที่ยังมีชีวิตอยู่ ทั้งสิ้น 7 คน ดังรายนามด้านล่าง
- อดีตนายกรัฐมนตรีสหราชอาณาจักรที่มีชีวิตอยู่
-
เซอร์ จอห์น เมเจอร์
ดำรงตำแหน่ง ค.ศ. 1990–97
(อายุ 80 ปี) -
เซอร์ โทนี แบลร์
ดำรงตำแหน่ง ค.ศ. 1997–2007
(อายุ 70 ปี) -
กอร์ดอน บราวน์
ดำรงตำแหน่ง ค.ศ. 2007–10
(อายุ 72 ปี) -
เดวิด แคเมอรอน
ดำรงตำแหน่ง ค.ศ. 2010–16
(อายุ 57 ปี) -
เทรีซา เมย์
ดำรงตำแหน่ง ค.ศ. 2016–19
(อายุ 67 ปี) -
บอริส จอห์นสัน
ดำรงตำแหน่ง ค.ศ. 2019–22
(อายุ 59 ปี) -
ลิซ ทรัสส์
ดำรงตำแหน่ง ค.ศ. 2022
(อายุ 48 ปี)
ดูเพิ่ม แก้
อ้างอิง แก้
- ↑ "ราชบัณฑิตยสภาสะกดชื่อนายกฯผู้ดีคนใหม่ 'ริชี ซูแน็ก'". มติชนออนไลน์. 26 October 2022. สืบค้นเมื่อ 26 October 2022.
- ↑ "Salaries of Members of His Majesty's Government – Financial Year 2022–23" (PDF). 15 December 2022.
- ↑ "Pay and expenses for MPs". parliament.uk. สืบค้นเมื่อ 15 December 2022.
- ↑ "George I". สืบค้นเมื่อ 4 April 2014.