หัวหน้ารัฐบาล (อังกฤษ: Head of government) หมายถึงเจ้าหน้าที่ของรัฐผู้มีตำแหน่งอาวุโสสูงสุดหรือรองอาวุโสสูงสุดในฝ่ายบริหารของรัฐเอกราช รัฐสหพันธ์ หรืออาณานิคมปกครองตนเองหนึ่ง ผู้ซึ่งมักเป็นประธานคณะรัฐมนตรี คำว่า "หัวหน้ารัฐบาล" มักใช้แยกกับคำว่า "ประมุขแห่งรัฐ" เช่น ในอนุสัญญากรุงเวียนนาว่าด้วยกฎหมายสนธิสัญญา ข้อ 7 และอนุสัญญาว่าด้วยการป้องกันและลงโทษอาชญากรรมที่กระทำต่อบุคคลที่ได้รับความคุ้มครองระหว่างประเทศ รวมทั้งตัวแทนทางทูต ข้อ 1 และรายการพิธีสารสหประชาชาติ อำนาจของหัวหน้ารัฐบาล และความสัมพันธ์ระหว่างตำแหน่งนั้นกับสถาบันอื่นของรัฐ (เช่น ประมุขแห่งรัฐและสภานิติบัญญัติ) แตกต่างกันได้มากตามแต่ละรัฐ ส่วนใหญ่ขึ้นอยู่กับตัวแบบรัฐธรรมนูญเฉพาะที่เลือก

หัวหน้ารัฐบาลแบบต่าง ๆ

แก้
  • อัครเสนาบดี (Chancellor) - ใช้ในเยอรมนี ออสเตรีย และ สวิตเซอร์แลนด์
  • ประธานคณะมนตรีบริหาร (Chairman of the Executive Council)
  • มุขมนตรี (Chief Minister, First Minister, Minister-President)
  • หัวหน้าฝ่ายบริหาร (Chief Executive)
  • พรีเมียร์ (Premier) - ใช้ในประเทศจีน ไต้หวัน เกาหลีเหนือ และ สหภาพโซเวียต
  • นายกรัฐมนตรี (Prime Minister)
  • ประธานคณะรัฐมนตรี (President of the Cabinet)
  • ประธานสภารัฐมนตรี (President of the Council of Ministers) - ใช้ในประเทศคิวบา
  • ประธานคณะมนตรีแห่งรัฐ (President of the Council of State)
  • ประธานคณะมนตรีบริหาร (President of the Executive Council)
  • ประธานรัฐบาล (President of the Government)
  • ที่ปรึกษาแห่งรัฐ (State Counselor) - ใช้ในประเทศพม่า
  • ประธานาธิบดีรัฐ (State President) - ใช้ในประเทศแอฟริกาใต้ (เป็นทั้งประมุขแห่งรัฐและหัวหน้ารัฐบาล)
  • ประธานสภาคอมมิสซาร์ประชาชน (Chairman of Council of People's Commissars) - ใช้ในสหภาพโซเวียต (1922-1946)
  • ประธานคณะกรรมาธิการเศรษฐกิจระหว่างรัฐ - ประธานรัฐมนตรีแห่งเครือรัฐเศรษฐกิจ (Chairman of the Interstate Economic Committee – Prime Minister of the Economic Commonwealth) - ใช้ในสหภาพโซเวียต (ปี 1991)

ที่พำนักประจำตำแหน่ง

แก้

ดูเพิ่ม

แก้

อ้างอิง

แก้