นายกรัฐมนตรีฝรั่งเศส
บทความนี้ยังต้องการเพิ่มแหล่งอ้างอิงเพื่อพิสูจน์ความถูกต้อง |
นายกรัฐมนตรีฝรั่งเศส (ฝรั่งเศส: Premier ministre français) เป็นตำแหน่งหัวหน้ารัฐบาลและคณะรัฐมนตรีของประเทศฝรั่งเศส ส่วนประมุขแห่งรัฐของประเทศฝรั่งเศสคือประธานาธิบดีแห่งสาธารณรัฐฝรั่งเศส
นายกรัฐมนตรี แห่งสาธารณรัฐฝรั่งเศส | |
---|---|
Premier ministre de la République française | |
การเรียกขาน | Mister Prime Minister (ไม่ทางการ) Her Excellency (การทูต) |
สมาชิกของ | |
รายงานต่อ | ประธานาธิบดี |
จวน | ทำเนียบมาตีญง |
ที่ว่าการ | ปารีส ประเทศฝรั่งเศส |
ผู้แต่งตั้ง | ประธานาธิบดี |
วาระ | ไม่จำกัดวาระ |
ตราสารจัดตั้ง | รัฐธรรมนูฐฝรั่งเศส |
ตำแหน่งก่อนหน้า | ตำแหน่งที่ใช้ในอองเซียงเรฌีม |
ผู้ประเดิมตำแหน่ง | มีแชล เดอเบร |
สถาปนา | 4 ตุลาคม 1958 |
เงินตอบแทน | 178,920 ยูโรต่อปี[1] |
เว็บไซต์ | www |
ก่อนหน้าการปฏิวัติฝรั่งเศส หัวหน้ารัฐบาลฝรั่งเศสมีชื่อตำแหน่งว่า มุขมนตรีแห่งรัฐ (Principal ministre d'État) ซึ่งได้รับแต่งตั้งตามพระราชอัธยาศัยของกษัตริย์ ตำแหน่งนี้ถูกเลิกใช้ในปี 1791 กระทั่งสิ้นสุดสงครามนโปเลียน ก็มีการสถาปนาตำแหน่งนายกรัฐมนตรีอย่างเป็นทางการในปี 1814 ผู้ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีคนแรกคือตาแลร็อง-เปรีกอร์ อย่างไรก็ตาม ระหว่างปี 1871 ถึง 1958 หัวหน้ารัฐบาลมีชื่อตำแหน่งอย่างเป็นทางการว่า ประธานสภารัฐมนตรี (Président du Conseil des ministres) และตั้งแต่ปี 1958 เป็นต้นมาก็ใช้ชื่อตำแหน่งว่านายกรัฐมนตรี
การตัดสินใจหรือกฤษฎีกาที่กระทำโดยนายกรัฐมนตรีถือเหมือนกระทำโดยฝ่ายบริหารทั้งคณะ นายกรัฐมนตรีมีหน้าที่สรรหาผู้ดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีต่าง ๆ และเสนอให้ประธานาธิบดีลงนามแต่งตั้ง คณะรัฐมนตรีอยู่ภายใต้การสอดส่องดูแลโดยสภาแห่งรัฐ (Conseil d'État) ซึ่งบางครั้งนายกรัฐมนตรีพึงรับคำปรึกษาก่อนจะประกาศใช้กฤษฎีกา
เป็นที่รู้กันว่ารัฐมนตรีแต่ละท่านต้องการปกป้องนโยบายและโครงการในกระทรวงของตน แต่ก็ยังติดอยู่ที่งบประมาณ ซึ่งนายกรัฐมนตรีนี้เองเป็นคนชี้ขาดในเรื่องเหล่านี้ แม้ว่าบางครั้งประธานาธิบดีจะมีอำนาจและอิทธิพลเหนือกว่าก็ตาม
เนื่องจากนายกรัฐมนตรีเป็นผู้ดูแลนโยบายของรัฐบาล เมื่อเกิดความผิดพลาดและล้มเหลวก็จะกลายเป็นผู้ที่ถูกประณามและตำหนิไปโดยปริยาย ผลที่ตามมาก็คือความนิยมที่มีสูงในช่วงแรกและลดฮวบลงขึ้นอยู่กับสถานการณ์ที่เกิดขึ้น หลายคนคิดว่าตำแหน่งนายกรัฐมนตรีเป็นการส่งเสริมความสำเร็จของประธานาธิบดี และยังเป็นที่โต้เถียงอย่างมากว่าเป็นตำแหน่งที่อันตรายเพราะความเป็นไปได้ของการลดความนิยม
การเสนอชื่อ
แก้นายกรัฐมนตรีเป็นตำแหน่งที่ได้รับการแต่งตั้งโดยประธานาธิบดีแห่งสาธารณรัฐฝรั่งเศส โดยประธานาธิบดีสามารถแต่งตั้งได้ทั้งจากสมาชิกพรรคการเมือง ข้าราชการระดับสูง หรือแม้กระทั่งจากธุรกิจภาคเอกชนที่ประสบความสำเร็จ และเนื่องจากสมาชิกรัฐสภาสามารถลงมติไม่ไว้วางใจได้ ผลที่ตามมาคือการกดดันให้รัฐบาล (นายกรัฐมนตรีลาออก) จึงมักทำให้การเสนอชื่อนายกรัฐมนตรีนั้นจะต้องได้รับการสนับสนุนจากเสียงส่วนมากของรัฐสภาโดยปริยาย
และเมื่อประธานาธิบดี กับเสียงส่วนมากของรัฐสภาอยู่ตรงข้ามกันในทางการเมืองจะเรียกว่า การบริหารร่วมกัน (Cohabitation) เนื่องจากประธานาธิบดีจะต้องเสนอชื่อนายกรัฐมนตรีที่มาจากพรรคการเมืองเสียงข้างมากในสภา ซึ่งหมายความว่าประธานาธิบดีและนายกรัฐมนตรีมีความคิดเห็นทางการเมืองแตกต่างกัน หรือประธานาธิบดีและนายกรัฐมนตรีมาจากต่างพรรคและต่างขั้ว
บทบาทตามรัฐธรรมนูญ
แก้ตามมาตราที่ 21 ของรัฐธรรมนูญแห่งสาธารณรัฐฝรั่งเศส นายกรัฐมนตรีมีหน้าที่กำกับดูแลรัฐบาล นอกเหนือจากนั้น มาตราที่ 20 ยังระบุถึง หน้าที่กำกับงานด้านนโยบายต่าง ๆ ของประเทศ รัฐมนตรีกำกับดูแลกระทรวงต่าง ๆ จะถูกแต่งตั้งโดยประธานาธิบดี โดยผ่านการสรรหาจากนายกรัฐมนตรี ซึ่งโดยหลักการแล้ว นายกรัฐมนตรีจะถือเป็นผู้อยู่ใต้บังคับบัญชาของประธานาธิบดี ยกเว้นที่มีกรณีการบริหารร่วมกัน (Cohabitation) เกิดขึ้น
นายกรัฐมนตรียังมีหน้าที่ต่อสภา ในฐานะฝ่ายบริหาร โดยรวมถึงการร่างกฎหมาย ซึ่งนายกรัฐมนตรีจำเป็นต้องมีเสียงข้างมากในสภาสนับสนุน ซึ่งในกรณีนี้มักจะผ่านกฎหมายได้สำเร็จโดยปริยาย หรือมิฉะนั้นอาจถูกรัฐสภาถอดถอนได้ (มาตราที่ 49) นายกรัฐมนตรีจะต้องเสนอร่างกฎหมายให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยด้วย (มาตราที่ 61)
โดยก่อนที่จะยุบสภา ประธานาธิบดีจะต้องปรึกษากับนายกรัฐมนตรี ประธานรัฐสภา และประธานวุฒิสภา (มาตราที่ 12)
ดูเพิ่ม
แก้อ้างอิง
แก้- ↑ "IG.com Pay Check". IG.