ฟูมิโอะ คิชิดะ

นายกรัฐมนตรีญี่ปุ่น

ฟูมิโอะ คิชิดะ (ญี่ปุ่น: 岸田 文雄โรมาจิKishida Fumio; เกิด 29 กรกฎาคม พ.ศ. 2500) เป็นนักการเมืองชาวญี่ปุ่น นายกรัฐมนตรีญี่ปุ่น และหัวหน้าพรรคพรรคเสรีประชาธิปไตย (แอลดีพี) คนปัจจุบัน

ฟูมิโอะ คิชิดะ
岸田 文雄
ภาพถ่ายอย่างเป็นทางการ ใน พ.ศ. 2564
นายกรัฐมนตรีญี่ปุ่น
เริ่มดำรงตำแหน่ง
4 ตุลาคม พ.ศ. 2564
กษัตริย์จักรพรรดินารูฮิโตะ
ก่อนหน้าโยชิฮิเดะ ซูงะ
หัวหน้าพรรคเสรีประชาธิปไตย
เริ่มดำรงตำแหน่ง
29 กันยายน พ.ศ. 2564
ก่อนหน้าโยชิฮิเดะ ซูงะ
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศญี่ปุ่น
ดำรงตำแหน่ง
26 ธันวาคม พ.ศ. 2555 – 3 สิงหาคม พ.ศ. 2560
นายกรัฐมนตรีชินโซ อาเบะ
ก่อนหน้าโคอิชิโร เกมบะ
ถัดไปทาโร โคโนะ
สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร
เริ่มดำรงตำแหน่ง
18 กรกฎาคม พ.ศ. 2536
เขตเลือกตั้งจังหวัดฮิโรชิมะ เขต 1
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด29 กรกฎาคม พ.ศ. 2500 (66 ปี)
เขตชิบูยะ โตเกียว ประเทศญี่ปุ่น
พรรคการเมืองพรรคเสรีประชาธิปไตย
คู่สมรสยูโกะ คิชิดะ
บุตร3 คน
ศิษย์เก่ามหาวิทยาลัยวาเซดะ

ก่อนเข้าดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี คิชิดะเคยดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศและรักษาการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงป้องกันประเทศภายใต้นายกรัฐมนตรีอาเบะ เขาเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจากจังหวัดฮิโรชิมะ เขต 1 ในสภาผู้แทนราษฎร ตั้งแต่ พ.ศ. 2536

คิชิดะชนะการเลือกตั้งหัวหน้าพรรคเสรีประชาธิปไตยด้วยคะแนนร้อยละ 60.2[1] พร้อมสืบทอดตำแหน่งหัวหน้าพรรคและนายกรัฐมนตรีต่อจากโยชิฮิเดะ ซูงะเมื่อวันที่ 4 ตุลาคม พ.ศ. 2564[2]

คิชิดะเกิดในครอบครัวนักการเมือง ในวัยเด็กเขาเข้าเรียนที่โรงเรียนประถมในนครนิวยอร์ก สหรัฐอเมริกา หลังจากเริ่มต้นอาชีพทางการเงิน คิชิดะเข้าสู่การเมืองและได้รับเลือกให้เป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรในปี พ.ศ. 2536 ในฐานะสมาชิกพรรคแอลดีพี คิชิดะได้รับการแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งต่าง ๆ ในคณะรัฐมนตรีของชินโซ อาเบะและยาซูโอะ ฟูกูดะระหว่าง พ.ศ. 2550 ถึง 2551 ต่อมาเขาได้รับแต่งตั้งเป็นรัฐมนตรีกระทรวงการต่างประเทศใน พ.ศ. 2555 หลังจากที่นายกรัฐมนตรีชินโซ อาเบะได้รับเลือกเป็นนายกรัฐมนตรีอีกครั้ง คิชิดะดำรงตำแหน่งเป็นเวลาห้าปีถือเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศที่ดำรงตำแหน่งยาวนานที่สุดในประวัติศาสตร์ของญี่ปุ่น คิชิดะลาออกจากคณะรัฐมนตรีอาเบะใน พ.ศ. 2560 เพื่อเป็นหัวหน้าสภาวิจัยนโยบายของพรรคเสรีประชาธิปไตย (ญี่ปุ่น)

คิชิดะได้รับการพิจารณาว่าอาจจะสามารถเป็นนายกรัฐมนตรีในอนาคตมาอย่างยาวนาน แต่อย่างไรก็ตามในการสมัครรับเลือกตั้งผู้นำพรรค LDP ใน พ.ศ. 2563 คิชิดะพ่ายแพ้ให้กับ โยชิฮิเดะ ซูงะ แต่เขาก็ได้ลงสมัครชิงตำแหน่งหัวหน้าพรรคอีกครั้งใน พ.ศ. 2564 คราวนี้เขาชนะในรอบที่สองซึ่งมีคู่แข่งคือทาโร โคโนะ จากนั้นในวันที่ 4 ตุลาคม พ.ศ. 2564 คิชิดะได้รับการยืนยันให้เป็นนายกรัฐมนตรีโดยสภาแห่งชาติ และนำพรรค LDP ไปสู่ชัยชนะในการเลือกตั้งทั่วไป พ.ศ. 2564 ในเดือนเดียวกันนั้น

คิชิดะได้รับการวิเคราห์ว่าเขาเป็นคนหัวอนุรักษ์นิยมปานกลาง และระบุว่านโยบายของเขามุ่งเน้นไปที่ "โมเดลใหม่ของระบบทุนนิยม" โดยพยายามที่จะใช้นโยบายการกระจายความมั่งคั่งเพื่อขยายชนชั้นกลางในญี่ปุ่น ในด้านนโยบายต่างประเทศเขาได้เสริมสร้างความแข็งแกร่งให้กับการสนทนาจตุรภาคีว่าด้วยความมั่นคงอย่างต่อเนื่อง เพื่อบรรลุยุทธศาสตร์อินโด-แปซิฟิก ในปี พ.ศ. 2565 เขาได้มีคำสั่งให้คณะรัฐมนตรีเพิ่มงบประมาณทางทหารของญี่ปุ่นเป็นสองเท่าขึ้นเป็น 2% ของ GDP

การศึกษาและชีวิตในวัยเด็ก แก้

คิชิดะเกิดเมื่อวันที่ 29 กรกฎาคม พ.ศ. 2500 ในครอบครัวการเมือง ในเขตชิบูยะ โตเกียว [3][4][5] มีบิดาชื่อว่าฟูมิตาเกะ คิชิดะ ซึ่งเป็นข้าราชการในกระทรวงเศรษฐกิจ การค้า และอุตสาหกรรมของญี่ปุ่นและเป็นผู้อำนวยการของ The Small รวมถึงหน่วยงานวิสาหกิจขนาดกลาง เนื่องจากครอบครัวของคิชิดะมาจากฮิโรชิมะเขาและครอบครัวจึงกลับไปเยือนที่นั่นทุกฤดูร้อน สมาชิกในครอบครัวหลายคนของคิชิดะเสียชีวิตจากการทิ้งระเบิดปรมาณูที่ฮิโรชิมะ เมื่อคิชิดะเติบโตมาด้วยการได้ยินเรื่องราวจากผู้รอดชีวิตจากระเบิดปรมาณู[6] ทั้งพ่อของเขาและปู่ของเขาล้วนเป็นอดีตนักการเมืองที่เป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรทั้งสิ้น [5] และโยอิจิ มิยาซาวะซึ่งเป็นอดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเศรษฐกิจ การค้า และอุตสาหกรรมของญี่ปุ่นก็ยังเป็นลูกพี่ลูกน้องของคิชิดะด้วย [7][8] คิชิดะยังมีอดีตนายกรัฐมนตรีคิอิจิ มิยาซาวะเป็นญาติคนห่าง ๆ [5]

ในวัยประถมเขาเข้าเรียนที่โรงเรียนประถม New York City Department of Education ในย่านเอล์มเฮิรสต์ เทศมณฑลควีนส์ รัฐนิวยอร์ก เขาได้เรียนที่นี่ก็เนื่องจากพ่อของเขาได้รับตำแหน่งงานในสหรัฐอเมริกาในขณะนั้น.[9] ต่อมาเขาได้เข้าเรียนที่โรงเรียนประถมโคจิมาจิและโรงเรียนมัธยมต้นโคจิมาจิ คิชิดะจบการศึกษาจากโรงเรียนไคเซอะคาเดมีเป็นที่ซึ่งเขาได้เคยเล่นในทีมเบสบอล[10]

หลังจากคิชิดะผิดหวังจากการถูกมหาวิทยาลัยโตเกียวปฏิเสธหลายครั้ง เขาได้เริ่มศึกษากฎหมายที่มหาวิทยาลัยวาเซดะ และจบการศึกษาจากมหาวิทยาลัยวาเซดะในปี พ.ศ. 2525 [4][10] และเขาก็เป็นเพื่อนกับทาเคชิ อิวายะต่อมากลายเป็นนักการเมืองในอนาคต[11][12]

อาชีพทางการเมือง แก้

หลังจากที่คิชิดะทำงานที่ธนาคารเครดิตระยะยาวแห่งประเทศญี่ปุ่นซึ่งปัจจุบันยุติการให้บริการแล้ว เขาได้ทำงานต่อในฐานะเลขานุการของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร คิชิดะได้รับเลือกเข้าสู่สภาผู้แทนราษฎรในการเลือกตั้งทั่วไป พ.ศ. 2536โดยเป็นตัวแทนเขตที่ 1 จังหวัดฮิโรชิมะ[13]

เขาดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีกระทรวงกิจการโอกินาวะตั้งแต่ พ.ศ. 2550 ถึง 2551 เป็นครั้งแรกในสมัยรัฐมนตรีอาเบะ ต่อมาในสมัยยาซูโอะ ฟูกูดะเขาได้รับแต่งตั้งให้เป็นรัฐมนตรีรับผิดชอบกิจการผู้บริโภคและความปลอดภัยของอาหาร ต่อมา พ.ศ. 2551 คิชิดะได้เป็นรัฐมนตรีรับผิดชอบด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีในคณะรัฐมนตรีฟูกูดะ [14]

คิชิดะมีความใกล้ชิดกับมาโกโตะ โคงะซึ่งเป็นผู้นำกลุ่มโคจิไคซึ่งเป็นหนึ่งในกลุ่มที่เก่าแก่ที่สุดในพรรคเสรีประชาธิปไตย และเขาก็ได้เป็นหัวหน้ากลุ่มดังกล่าวในเดือนตุลาคม พ.ศ. 2555 หลังจากที่มาโกโตะ โคงะประกาศวางมือทางการเมือง[15]

ในสมัยรัฐบาลอาเบะ แก้

เมื่อวันที่ 26 ธันวาคม พ.ศ. 2555 หลังจากพรรคพรรคเสรีประชาธิปไตยได้รับชัยชนะในการเลือกตั้งทั่วไป พ.ศ. 2555 คิชิดะได้รับเลือกให้เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศในคณะรัฐมนตรีของนายกรัฐมนตรีชินโซ อาเบะ [16][17]

เขากลายเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศที่ดำรงตำแหน่งยาวนานที่สุดของญี่ปุ่นหลังสงคราม แซงหน้าชินทาโระ อาเบะซึ่งเป็นบิดาของนายกรัฐมนตรีชินโซ อาเบะ เขามีส่วนสำคัญในการจัดการ การเยือนฮิโรชิมะครั้งประวัติศาสตร์ของบารัก โอบามาในเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2559 ต่อมาเขาได้รับความสนใจอีกครั้งจากการปรากฏตัวร่วมกับนักแสดงตลกคาซึฮิโตะ โคซากะเพื่อโปรโมตโครงการของสหประชาชาติ [11]

คิชิดะพิจารณาลงสมัครรับเลือกตั้งหัวหน้าพรรคเสรีประชาธิปไตย ปี พ.ศ. 2562 แต่เขาถูกอาเบะชักชวนไม่ให้ลงสมัคร โดยมีข้อเสนอแนะว่าอาเบะจะสนับสนุนคิชิดะเป็นผู้สืบทอดตำแหน่งในภายหลัง[18] ภายในกลางปี พ.ศ. 2563 สมาชิกสภานิติบัญญัติอาวุโสของพรรคเสรีประชาธิปไตย LDP หลายคนได้เปลี่ยนการสนับสนุนจากคิชิดะไปเป็นหัวหน้าเลขาธิการคณะรัฐมนตรี โยชิฮิเดะ ซูงะ รองนายกรัฐมนตรีของอดีตนายกรัฐมนตรีทาโร อาโซก็ได้รับความนิยมจากนโยบายการส่งเงินกระตุ้นเศรษฐกิจให้กับภาคครัวเรือนในช่วงการระบาดทั่วของโควิด-19 ในประเทศญี่ปุ่น[19] อย่างไรก็ตามคิชิดะได้ลงสมัครเลือกตั้งหัวหน้าพรรคเสรีประชาธิปไตย ปี พ.ศ. 2563 แต่พ่ายแพ้ให้กับโยชิฮิเดะ ซูงะซึ่งขึ้นเป็นนายกรัฐมนตรี[20]

นายกรัฐมนตรีญี่ปุ่น (พ.ศ. 2564 – ปัจจุบัน) แก้

 
คิชิดะได้รับเลือกโดยสภานิติบัญญัติแห่งชาติ, 4 ตุลาคม พ.ศ. 2564

หลังจากโยชิฮิเดะ ซูงะ ประกาศเมื่อวันที่ 3 กันยายน พ.ศ. 2564 ว่าเขาจะลาออกจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรี ตามคะแนนความนิยมที่ตกต่ำ (ณ จุดหนึ่งต่ำกว่า 30%) และการติดเชื้อไวรัสโควิด-19 ระลอกใหม่ คิชิดะและทาโระ โคโนะแห่งพรรคเสรีประชาธิปไตย (ฝ่ายชิโกไก) เป็นผู้นำในการเข้ามาแทนที่เขา[21] การตัดสินใจของโยชิฮิเดะ ซูงะ ที่จะไม่ขอการเลือกตั้งใหม่ในฐานะหัวหน้าพรรค LDP ทำให้เกิดการเลือกตั้งผู้นำพรรคเสรีประชาธิปไตยอีกครั้งในเดือนกันยายน เพียงมากกว่าหนึ่งปีเล็กน้อยหลังจากการเลือกตั้งครั้งก่อนในการเลือกตั้งผู้นำพรรคเสรีประชาธิปไตย ปี พ.ศ. 2563 ตลอดการแข่งขันโคโนะได้รับการสนับสนุนอย่างมากให้ชนะคิชิดะ โดยมีการจัดอันดับให้โคโนะอยู่ในอันดับหนึ่งในบรรดาโพล LDP ต่างๆ และอีกทั้งเขาได้รับการรับรองจากซูงะและคนอื่นๆอีกด้วย[22]

เมื่อวันที่ 29 กันยายน พ.ศ. 2564 คิชิดะสามารถเอาชนะทาโระ โคโนะในการเลือกตั้งหัวหน้าพรรคเสรีประชาธิปไตย ปี พ.ศ. 2564 ที่พรรคเสรีนิยมประชาธิปไตยที่เป็นรัฐบาลอยู่และเข้ามาแทนที่หัวหน้าพรรคโยชิฮิเดะ ซูงะ เขาได้รับคะแนนเสียงทั้งหมด 257 เสียง (60.19%) จากสมาชิกรัฐสภา 249 คน และสมาชิกระดับยศอีก 8 คน ทำให้คิชิดะขึ้นดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีคนต่อไปของญี่ปุ่นในที่สุด[23]

เกียรติยศ แก้

อ้างอิง แก้

  1. "Fumio Kishida enters LDP leadership race as party sets voting plan". The Japan Times. สืบค้นเมื่อ 26 August 2021.
  2. "Fumio Kishida: Japan's new prime minister takes office". BBC News (ภาษาอังกฤษแบบบริติช). 4 October 2021.
  3. Akimoto, Daisuke (7 September 2021). "The Arrival of Kishida Diplomacy?". The Diplomat (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 28 September 2021. สืบค้นเมื่อ 29 September 2021.
  4. 4.0 4.1 "Fumio Kishida". Kantei. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 28 September 2021. สืบค้นเมื่อ 30 September 2021.
  5. 5.0 5.1 5.2 "Abe Cabinet (Formed December 26, 2012)". The Japan Times. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 30 September 2021. สืบค้นเมื่อ 30 September 2021.
  6. Kishida, Fumio (2020). "第一章 故郷・広島への想い [Chapter 1 Thoughts on my hometown, Hiroshima]". 『核兵器のない世界へ 勇気ある平和国家の志』 [Towards a World Without Nuclear Weapons: Ambition of a Courageous Peaceful Nation]. 日経BP. ISBN 978-4296106974.
  7. "[自民党総裁選]岸田さんこんな人…「勝つまで戦う」酒豪 : トピックス : ニュース". 読売新聞オンライン (ภาษาญี่ปุ่น). 2020-09-09. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 4 October 2021. สืบค้นเมื่อ 2020-09-19.
  8. "Japan minister support staff 'put sex club on expenses'". BBC. 23 October 2014. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 24 October 2014. สืบค้นเมื่อ 24 October 2014.
  9. Landers, Peter (3 September 2021). "Japan's Next Prime Minister: Who Are the Candidates to Succeed Yoshihide Suga?". Wall Street Journal (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 28 September 2021. สืบค้นเมื่อ 28 September 2021.
  10. 10.0 10.1 Sin, Walter (2 October 2021). "Fumio Kishida: Japan's ronin turned prime minister-designate". The Straits Times. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 3 October 2021. สืบค้นเมื่อ 4 October 2021.
  11. 11.0 11.1 Reynolds, Isabel; Hirokawa, Takashi (20 July 2017). "Abe's Low-Key Foreign Minister Watched as Potential Rival". Bloomberg.com (ภาษาอังกฤษ). เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 29 September 2021. สืบค้นเมื่อ 29 August 2020.
  12. "Fumio Kishida: calm centrist picked as Japan's next prime minister". INQUIRER.net (ภาษาอังกฤษ). Agence France-Presse. 29 September 2021. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 8 October 2021. สืบค้นเมื่อ 8 October 2021.
  13. "Profiles of key ministers in Abe's new Cabinet - AJW by The Asahi Shimbun". web.archive.org. 5 July 2013. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-07-05. สืบค้นเมื่อ 14 July 2023.{{cite web}}: CS1 maint: bot: original URL status unknown (ลิงก์)
  14. "PROFILE: Foreign Minister Kishida boasts background in Okinawa affairs | House of Japan - Japan News Technology Autos Culture Life Style". web.archive.org. 2 December 2013. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-12-02. สืบค้นเมื่อ 14 July 2023.
  15. Ohmura, Yukiko (26 December 2012). "Cabinet Profiles". The Japan Times. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-09-30. สืบค้นเมื่อ 14 July 2023.
  16. อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ asahi
  17. "Abe elected premier, launches Cabinet". Daily Yomuiru Online. 26 December 2012. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 30 December 2012. สืบค้นเมื่อ 3 January 2013.
  18. Yoshida, Reiji (24 July 2018). "LDP policy chief Fumio Kishida says he won't run in party leadership election, leaving two-way race between Abe and Ishiba". The Japan Times (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 4 October 2021. สืบค้นเมื่อ 4 October 2021.
  19. Sakaguchi, Yukihiro (26 June 2020). "Race to replace Abe threatens stability of Japanese politics". Nikkei Asian Review. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 28 August 2020. สืบค้นเมื่อ 29 August 2020.
  20. "Leading by listening: Kishida offers Japan a traditional style of politics". เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 31 October 2021. สืบค้นเมื่อ 31 October 2021.
  21. "Taro Kono tops Kyodo poll of LDP members as most fit to be Japan PM". Kyodo News+. สืบค้นเมื่อ 2023-02-18.
  22. Auto, Hermes (2021-09-04). "Suga backs Kono, Abe picks Takaichi: Battle lines drawn in fight for Japan's top job". The Straits Times (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2023-02-18.
  23. Ogura, Junko; Wang, Selina; Regan, Helen (29 September 2021). "Fumio Kishida expected to become Japan's next Prime Minister after ruling party vote". CNN. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 29 September 2021. สืบค้นเมื่อ 29 September 2021.
  24. Decoraties Staatsbezoeken Japan en Republiek Korea เก็บถาวร 4 พฤศจิกายน 2014 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน - website of the Dutch Royal House