มหาวิทยาลัยโตเกียว
ลิงก์ข้ามภาษาในบทความนี้ มีไว้ให้ผู้อ่านและผู้ร่วมแก้ไขบทความศึกษาเพิ่มเติมโดยสะดวก เนื่องจากวิกิพีเดียภาษาไทยยังไม่มีบทความดังกล่าว กระนั้น ควรรีบสร้างเป็นบทความโดยเร็วที่สุด |
มหาวิทยาลัยโตเกียว (ญี่ปุ่น: 東京大学/ とうきょう だいがく โรมาจิ: Tōkyō Daigaku ทับศัพท์: โทเกียวไดงะกุ) หรือย่อว่า โทได (ญี่ปุ่น: 東大 โรมาจิ: Tōdai)[6] เป็นมหาวิทยาลัยในประเทศญี่ปุ่นในลักษณะของมหาวิทยาลัยวิจัย ตั้งอยู่ที่โตเกียว มีพื้นที่แยกออกเป็น 5 วิทยาเขต ใน ฮงโง โคมาบะ คาชิวะ ชิโรงาเนะ และนากาโนะ และได้ชื่อว่าเป็นมหาวิทยาลัยชั้นนำที่มีเกียรติมากที่สุดในญี่ปุ่น[7][8] และยังจัดเป็นมหาวิทยาลัยชั้นนำของโลก
東京大学 | |
ใบแปะก๊วย สัญลักษณ์ประจำมหาวิทยาลัยโตเกียว | |
ละติน: Universitas Tociensis | |
ชื่อเดิม | Imperial University (1886–1897) Tokyo Imperial University (1897–1947) |
---|---|
ชื่อย่อ | โทได / 東大, UT |
ประเภท | รัฐ (ระดับชาติ) |
สถาปนา | 12 เมษายน 1877 |
สังกัดวิชาการ | IARU AEARU AGS BESETOHA AALAU Washington University in St. Louis McDonnell International Scholars Academy[1] |
อธิการบดีมหาวิทยาลัย | Teruo Fujii |
อาจารย์ | 3,937 เต็มเวลา (2022)[2] |
ผู้ศึกษา | 28,133 (2022)[3] excluding research students and auditors |
ปริญญาตรี | 13,962 (2022)[4] |
บัณฑิตศึกษา | 14,171 (2022)[5] รวมถึงหลักสูตรระดับมืออาชีพ |
6,123 | |
ที่ตั้ง | , , |
วิทยาเขต | เขตเมือง |
สี | น้ำเงิน |
เว็บไซต์ | u-tokyo.ac.jp |
มหาวิทยาลัยโตเกียวประกอบด้วย 10 คณะซึ่งมีนักศึกษารวมทั้งสิ้นประมาณ 30,000 คน ในจำนวนนี้มีนักศึกษาต่างชาติประมาณ 2,100 คนเป็นนักศึกษาไทยประมาณ 150 คน (ซึ่งเป็นสัดส่วนสูงทีสุดในบรรดามหาวิทยาลัยในญี่ปุ่น) ปัจจุบันมีหลักสูตรครอบคลุมสาขาวิทยาการเกือบทั้งหมด แต่ที่มีชื่อเสียงมากเป็นพิเศษคือ กฎหมาย รัฐศาสตร์ วรรณกรรม เศรษฐศาสตร์ แพทยศาสตร์ และวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยแห่งนี้ผลิตนักการเมืองและข้าราชการระดับสูงของญี่ปุ่นจำนวนมาก นับแต่อดีตจนปัจจุบันแม้ว่าสัดส่วนจะลดลงก็ตาม อัตราส่วนของรัฐมนตรีที่เป็นศิษย์เก่ามหาวิทยาลัยโตเกียวยังคงสูงที่สุดในประเทศญี่ปุ่น โดยแต่ละช่วงคริสต์ศตวรรษจะอยู่ที่ประมาณ 23, 12, 14, 15 และ 16 ในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 1950, 60', 70', 80' และ 90' ตามลำดับ
มหาวิทยาลัยโตเกียวมีการเรียนการสอนที่เป็นที่ยอมรับว่า เป็นหนึ่งในสถาบันการศึกษาชั้นสูงในหลากหลายสาขาวิชา และมีอัตราการแข่งขันในการเข้าศึกษาสูงที่สุดในประเทศญี่ปุ่น มหาวิทยาลัยโตเกียวมีมหาวิทยาลัยคู่แข่งอยู่หกมหาวิทยาลัย เช่น มหาวิทยาลัยเคโอซึ่งก่อตั้งก่อนช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง มหาวิทยาลัยฮิโตะสึบาชิซึ่งเป็นมหาวิทยาลัยที่มีชื่อเสียงมากในหมู่คนญี่ปุ่นและเปิดสอนเฉพาะวิชาด้านสังคมศาสตร์ หรือมหาวิทยาลัยเกียวโตซึ่งผลิตนักวิทยาศาสตร์รางวัลโนเบลเป็นจำนวนมาก หนึ่งในศิษย์เก่าเจ้าของรางวัลโนเบลของมหาวิทยาลัยโตเกียวคืออธิการบดีมหาวิทยาลัยโตเกียวอิมพิเรียลชื่อ ศาสตราจารย์ คิคุจิ ไดโรกุ ในด้านกีฬา ทีมเบสบอลมหาวิทยาลัยโตเกียว ประสบความสำเร็จมากที่สุดทีมหนึ่งในระดับมหาวิทยาลัยของกรุงโตเกียว
ศูนย์ฮงโงะเป็นศูนย์หลักของมหาวิทยาลัยซึ่งเดิมเป็นที่พำนักของตระกูล "มาเอดะ" ช่วงสมัยเอโดะผู้เป็นเจ้าเมืองเคงะ สัญลักษณ์หนึ่งที่เป็นที่รู้จักและอยู่จนปัจจุบันของมหาวิทยาลัยคือ "อะกามง" (ประตูแดง) ส่วนตราสัญลักษณ์ของมหาวิทยาลัยเป็นรูปใบแปะก๊วย ซึ่งปลูกอยู่เรียงรายทั่วทั้งบริเวณของมหาวิทยาลัย
ประวัติ
แก้มหาวิทยาลัยโตเกียวก่อตั้งช่วงยุคสมัยเมจิในปี ค.ศ. 1877 ภายใต้ชื่อปัจจุบันโดยรวมโรงเรียนแพทย์ของรัฐบาลเดิมเข้ากับการเรียนการสอนแบบตะวันตกเข้าด้วยกัน หลังจากนั้นได้ถูกเปลี่ยนชื่อเป็น มหาวิทยาลัยหลวง (帝國大學 เทโคะกุ ไดงะกุ) ในปีค.ศ. 1886 แล้วเปลี่ยนอีกเป็น "มหาวิทยาลัยจักรพรรดิโตเกียว" (東京帝國大學 โทเกียว เทโคะกุ ไดงะกุ) ในปีค.ศ. 1887 เมื่อระบบเครือมหาวิทยาลัยจักรพรรดิเริ่มก่อสร้างตัวขึ้น
มหาวิทยาลัยได้รับอนุญาตจากรัฐบาลเมจิในปี ค.ศ. 1877 ภายใต้ชื่อปัจจุบันด้วยการรวมโรงเรียนรัฐบาลเก่าแก่ด้านการแพทย์ดั้งเดิม และการเรียนรู้สมัยใหม่และได้เปลี่ยนชื่อเป็น มหาวิทยาลัยหลวง (帝國大學 เทโคะกุ ไดงะกุ) ในปี 1886 จากนั้นเป็น "มหาวิทยาลัยจักรพรรดิโตเกียว" (東京帝國大學 โทเกียว เทโคะกุ ไดงะกุ) ในปี 1897 เมื่อระบบมหาวิทยาลัยของจักรพรรดิถูกสร้างขึ้น ในเดือนกันยายน 1923 แผ่นดินไหวและไฟไหม้ทำลายหนังสือประมาณ 700,000 เล่มของห้องสมุดมหาวิทยาลัย หนังสือที่สูญหายรวมถึงห้องสมุดโฮชิโนะ (星野文庫 โฮชิโนะ บุนโกะ) ซึ่งมีหนังสือประมาณ 10,000 เล่ม หนังสือเป็นสมบัติของ โฮชิโนะ ฮิซาชิ ก่อนที่จะเข้าเป็นส่วนหนึ่งของห้องสมุดของมหาวิทยาลัยและส่วนใหญ่เกี่ยวกับปรัชญาและประวัติศาสตร์ของจีน
พอในปี ค.ศ. 1947 หลังจากญี่ปุ่นพ่ายสงครามโลกครั้งที่สอง มหาวิทยาลัยได้กลับมาใช้ชื่อดั้งเดิมอีกครั้ง และเริ่มต้นระบบมหาวิทยาลัยใหม่ในปี ค.ศ. 1949 โทได หรือ โตไดได้ยุบรวมสถาบันการศึกษาขั้นสูงแห่งแรก (ปัจจุบันคือศูนย์โคมาบะ) และสถาบันการศึกษาขั้นสูงแห่งโตเกียวเดิม เข้าเป็นศูนย์ของมหาวิทยาลัย โดยแบ่งแยกการเรียนการสอนปีแรกและปีที่สองของระดับปริญญาบัณฑิตไว้ที่ศูนย์นี้ หลังจากนั้นพอนักศึกษาขึ้นชั้นปีที่สามจึงย้ายเข้าเรียนที่ศูนย์หลักฮงโงะ
แม้ว่ามหาวิทยาลัยจะก่อตั้งขึ้นในช่วงสมัยเมจิ แต่ก็มีรากฐานก่อนหน้านี้ในหน่วยงานดาราศาสตร์ (天文方; 1684), สำนักงานการศึกษาโชเฮอิซากะ (昌平坂学問所; 1797) และสำนักงานแปลหนังสือตะวันตก (蕃書和解御用; 1811) สถาบันเหล่านี้เป็นหน่วยงานของรัฐบาลที่จัดตั้งขึ้นโดยโชกุนโทคุงาวะ (1603–1867) และมีบทบาทสำคัญในการนำเข้าและแปลหนังสือจากยุโรป
คิคุจิ ไดโรกุ บุคคลสำคัญในการศึกษาของญี่ปุ่นทำหน้าที่เป็นประธานของมหาวิทยาลัยหลวงโตเกียว
สำหรับโอลิมปิกฤดูร้อนปี 1964 มหาวิทยาลัยเป็นเจ้าภาพจัดการแข่งขันกีฬาประเภทปัญจกรีฑาสมัยใหม่
มหาวิทยาลัยโตเกียวเข้าร่วมกับกับสมาพันธ์ความร่วมมือมหาวิทยาลัยรัฐบาลแห่งประเทศญี่ปุ่น ภายใต้กฎหมายใหม่ซึ่งใช้กับมหาวิทยาลัยของรัฐทุกมหาวิทยาลัยตั้งแต่ปี ค.ศ. 2004 (ออกนอกระบบ)
แม้ว่าจะสมาพันธ์จะมีความมุ่งหมายเพื่อเป็นอิสระทางการเงินและการบริหาร มหาวิทยาลัยโตเกียวยังคงถูกควบคุมบางส่วนโดยกระทรวงการศึกษา วัฒนธรรม กีฬา วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (มงบุคางะกุโช หรือ มงกะโช)
เมื่อวันที่ 20 มกราคม ค.ศ. 2012 มหาวิทยาลัย ประกาศว่าจะเปลี่ยนจุดเริ่มต้นของปีการศึกษาตั้งแต่เดือนเมษายนถึงเดือนกันยายน เพื่อจัดระเบียบปฏิทินให้สอดคล้องกับมาตรฐานสากล การเปลี่ยนแปลงจะค่อย ๆ เปลี่ยนไปในช่วงห้าปี แต่ประธานคนเดียวได้รับการประกาศอย่างไม่ดีและมหาวิทยาลัยก็ยกเลิกแผนการดังกล่าว
จากนิตยสารเจแปนไทมส์ ระบุว่ามหาวิทยาลัยมีอาจารย์ 1,282 คนในเดือนกุมภาพันธ์ 2012 โดยในจำนวนนั้นมี 58 คนเป็นผู้หญิง
ในฤดูใบไม้ร่วงปี 2012 เป็นครั้งแรกที่มหาวิทยาลัยโตเกียวเริ่มหลักสูตรระดับปริญญาตรีสองหลักสูตร ที่สอนเป็นภาษาอังกฤษทั้งหมดและมุ่งเน้นไปที่นักศึกษาต่างชาติ - หลักสูตรภาษาอังกฤษที่ Komaba (PEAK) - หลักสูตรนานาชาติในสาขาญี่ปุ่นในเอเชียตะวันออก และหลักสูตรนานาชาติ วิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม ในปี 2014 คณะวิชาวิทยาศาสตร์ของมหาวิทยาลัยโตเกียวได้เปิดตัวหลักสูตรการถ่ายโอนระดับปริญญาตรีภาษาอังกฤษทั้งหมด ที่เรียกว่าหลักสูตรวิทยาศาสตร์ทั่วโลก (GSC)
-
หอประชุมยาสุดะ มหาวิทยาลัยโตเกียว
-
โรงเรียนกฎหมาย มหาวิทยาลัยโตเกียว
-
ห้องสมุดโคมาบะ
-
อาคารเรียนหลัก สถาบันฟิสิกส์ของแข็ง มหาวิทยาลัยโตเกียว
-
สวนพฤกษศาสตร์โคอิชิคาวะ
-
ศูนย์วิจัยโคมาบะ
คณะและบัณฑิตวิทยาลัย
แก้คณะ
แก้- นิติศาสตร์
- แพทยศาสตร์
- วิศวกรรมศาสตร์
- มนุษยศาสตร์
- วิทยาศาสตร์
- เกษตรศาสตร์
- เศรษฐศาสตร์
- ศิลปศาสตร์
- ศึกษาศาสตร์
- เภสัชศาสตร์
บัณฑิตวิทยาลัย
แก้- นิติศาสตร์และรัฐศาสตร์
- แพทยศาสตร์
- วิศวกรรมศาสตร์
- มานุษยวิทยาและสังคมศาสตร์
- วิทยาศาสตร์
- เกษตรศาสตร์และชีวศาสตร์
- เศรษฐศาสตร์
- ศิลปศาสตร์และวิทยาการ
- ศึกษาศาสตร์
- เภสัชศาสตร์
- วิทยาการคณิตศาสตร์
- วิทยาการล้ำยุค
- วิทยาการและเทคโนโลยีสารสนเทศ
- ศึกษาสารสนเทศเชิงบูรณาการ
- นโยบายสาธารณะ
สถาบันวิจัย
แก้- สถาบันวิทยาการเวชศาสตร์
- สถาบันวิจัยแผ่นดินไหว
- สถาบันวัฒนธรรมตะวันออก
- สถาบันสังคมศาสตร์
- สถาบันศึกษาสารสนเทศและการสื่อสารสังคม
- สถาบันวิทยาการอุตสาหการ
- สถาบันภูมิประวัติศาสตร์
- สถาบันเวชศาสตร์โมเลกุลและเซลล์
- สถาบันวิจัยรังสีคอสมิก
- สถาบันฟิสิกส์สถานะของแข็ง
- สถาบันวิจัยมหาสมุทร
คณาจารย์ที่มีชื่อเสียง
แก้- บาสิล ฮอล ชามเบอร์เลียน (Basil Hall Chamberlain)
- ชินนิจิ คิตาโอกะ (Shinichi Kitaoka) ผู้แทนญี่ปุ่นในสหประชาชาติ
- ยูจิ อิวาซาวะ (Yuji Iwasawa) ประธานคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งองค์การสหประชาชาติ
- ไดโรกุ คิคุจิ (Dairoku Kikuchi)
- เจ้าชายทากาชิแห่งโคโนเอะ (Prince Konoe Takashi)
ศิษย์เก่าที่มีชื่อเสียง
แก้นายกรัฐมนตรี
แก้- ชิเงรุ โยชิดะ (Shigeru Yoshida) (1946-1947,1948-1954)
- โนบุสุเกะ คิฉิ (Nobusuke Kishi) (1957-1960)
- เออิซากะ ซาโตะ (Eisaku Sato) (1964-1972)
- ทาเคโอะ ฟุกุดะ (Takeo Fukuda) (1976-1978)
- ยาซุฮิโระ นากาโซเนะ (Yasuhiro Nakasone) (1982-1987)
- คิอิจิ มิยาซาวะ (Kiichi Miyazawa) (1991-1993)
นักวิทยาศาสตร์
แก้- ทาดาโตชิ อากิบะ (Tadatoshi Akiba)
- คิโยชิ อิโต (Kiyoshi Itō)
- เคนกิจิ อิวาซาวะ (Kenkichi Iwasawa)
- ยาซุมาซะ คานาดะ (Yasumasa Kanada)
- คุนิฮิโกะ โคไดระ (Kunihiko Kodaira)
- มิคิโอะ ซาโตะ (Mikio Sato)
- โกโระ ชิมูระ (Goro Shimura)
- ยูทากะ ทานิยามะ (Yutaka Taniyama)
- เทจิ ทากางิ (Teiji Takagi)
- โทชิยาซุ ลอเรนส์ คุนิอิ (Tosiyasu L. Kunii)
อื่น ๆ
แก้- โตโยโอะ อิโต สถาปนิก
- ซูซีโล บัมบัง ยูโดโยโน (Susilo Bambang Yudhoyono) ประธานาธิบดีคนที่หกของอินโดนีเซีย
- เลโอ เอซากิ (Leo Esaki) นักฟิสิกส์รางวัลโนเบล
- ยาซุนาริ คาวาบาตะ (Yasunari Kawabata) นักเขียนรางวัลโนเบล
- มาซาโตชิ โคชิบะ (Masatoshi Koshiba) นักฟิสิกส์รางวัลโนเบล
- เคนซาบุโระ โอเอะ (Kenzaburo Oe) นักเขียนรางวัลโนเบล
- สมเด็จพระจักรพรรดินีมาซาโกะ (Empress Masako) แห่งประเทศญี่ปุ่น
- มิโนรุ ฮาราดะ นายกสมาคมโซคา กักไก ท่านที่ 6
คนไทย
แก้- ศาสตราจารย์นายแพทย์ สมอาจ วงษ์ขมทอง (Som-Arch WongKhomtong) - อดีตศาสตราจารย์ประจำของคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยโตเกียว และ อดีตผอ.สถาบันพัฒนาการสาธารณสุขอาเซียน มหาวิทยาลัยมหิดล
- ดร.สามารถ ราชพลสิทธิ์ - รองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ประธานคณะอนุกรรมการสาขาวิศวกรรมจราจรและขนส่งวิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์
- ดร.ก่องกานดา ชยามฤต - ผู้อำนวยการองค์การสวนพฤกษศาสตร์ และ อาจารย์พิเศษ ด้านอนุกรมวิธานของพืช อนุกรมวิธานของพืชมีดอก คณะวนศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
- นาย ปรีชา โชคนำทาง คณะวิศวกรรมศาสตร์
- ดร.สุพรรณิกา โพธิเทพ
- ดร.สุรพงษ์ รัตนกุล ภาควิชาวิศวกรรมสิ่งแวดล้อม คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี[9][10]
- ศ.ดร.สุพจน์ เตชะวรสินสกุล อดีตหัวหน้าภาควิชาวิศวกรรมโยธา และคณบดีคณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
- ดร.ประสงค์ชัย เศรษฐสุรวิชญ์ วิทยาลัยการเมืองการปกครอง มหาวิทยาลัยมหาสารคาม[11]
- ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. นเรฏฐ์ พันธราธร รองอธิการบดีฝ่ายวิชาการ มหาวิทยาลัยรังสิต
สระน้ำซันชิโระ
แก้สระน้ำซันชิโระ ตั้งอยู่ใจกลางมหาวิทยาลัยศูนย์ฮงโงะ ก่อสร้างเมื่อ ค.ศ. 1615 หลังจากการพังทลายของปราสาทโอซากะ ท่านโชกุนในสมัยนั้นจึงพระราชทานสระน้ำและสวนรอบ ๆ ให้กับ "มาเอดะ โทชิตสึเนะ" โดย "มาเอดะ สึนาโนริ" เป็นคนพัฒนาสวนเพิ่มเติมจนกลายเป็นสวนที่สวยงามที่สุดใน เอโดะ (ปัจจุบันคือโตเกียว) ด้วยภูมิสถาปัตย์แบบดั้งเดิมแปดแบบแบ่งเป็นแปดบริเวณ ส่วนที่มีชื่อเสียงคือสระน้ำเทียม เนินเขา และคุ้มต่าง ๆ แต่เดิมรู้จักกันในชื่อว่า "อิคุโตะกุ เอ็น" ซึ่งหมายถึง"สวนแห่งการเผยแผ่พระธรรม" เส้นรอบขอบของสระน้ำจะเป็นรูปหัวใจหรือ "โคโคโระ" หรือ "ชิน" ดังนั้นชื่ออย่างเป็นทางการจะเรียกว่า "อิคุโตะกุ เอ็น ชินจิอิเกะ" อย่างไรก็ตามผู้คนมักเรียกว่า สระน้ำซันชิโระ หลังจากมีการตีพิมพ์นิยายเรื่องซันชิโระของ "นัตสึเมะ โซเซกิ"
เรื่องแต่งเกี่ยวกับมหาวิทยาลัยโตเกียว
แก้- ในการ์ตูนและหนังการ์ตูนเรื่องบ้านพักอลเวง ตัวเอกคือ เคทาโร อุราชิมะ เป็นนักเรียนที่พลาดการสอบเข้ามหาวิทยาลัยโตเกียวหลายหน แต่สอบได้ในท้ายสุด
- การ์ตูนเรื่อง "นายซ่าส์ท้าเด็กแนว (Dragon Zakura)" เป็นเรื่องเกี่ยวกับทนายความยากจน ซึ่งเคยเป็นสมาชิกก้วนมอเตอร์ไซค์ ซึ่งพยายามสอนนักเรียนผลการเรียนแย่ ๆ ให้สามารถสอบเข้ามหาวิทยาลัยโตเกียวได้จนจบการศึกษา
- ตัวเอกในเรื่องซูเปอร์แมนของสำนักพิมพ์การ์ตูนดีซี จะเอ่ยถึงเบื้องหลังบ่อย ๆ ว่าเรียนที่มหาวิทยาลัยโตเกียวตอนเป็นคลาร์ก เคนต์
- ตัวละครที่เป็นครูและนักตามสาว ชื่อ ซุกุรุ เทชิงาวาระจากการ์ตูนและหนังการ์ตูนชื่อดัง "โอนิสึกะยอดครู" เคยเรียนที่มหาวิทยาลัยโตเกียวและชอบโม้เรื่องการศึกษาของตนเองบ่อยครั้ง
- ในอนิเมะเรื่อง Stein;Gate ตัวละคร โอคาเบะ รินทาโร่ กำลังเรียนอยู่ปี1 ด้านวิศวกรรมไฟฟ้าที่มหาลัยแห่งนี้
มหาวิทยาลัยโตเกียวในงานเขียน
แก้- มานาบุ มิยาซากิ (Manabu Miyazaki), ทปปะโมโนะ: นอกกฎ เหยียดผิว เคลือบแคลง ชีวิตของฉันในโลกมืดที่ญี่ปุ่น. (2005, สำนักพิมพ์โคตัน (Kotan Publishing), ISBN 0-9701716-2-5.)
อันดับมหาวิทยาลัย
แก้อันดับมหาวิทยาลัย | |
---|---|
อันดับในประเทศ(อันดับนานาชาติ) | |
สถาบันที่จัด | อันดับ |
QS WORLD (2019) | 1 (23) |
ARWU World | 1 (25) |
THE World | 1 (27) |
ใน ค.ศ. 2005 มหาวิทยาลัยโตเกียวได้รับการจัดให้เป็นอันดับ 1 ในเอเชีย[12] จากการจัดอันดับสถาบันในระดับอุดมศึกษาโดยมหาวิทยาลัยเซี่ยงไฮ้เจียวทง ประเทศจีน
ใน ค.ศ. 2011 มหาวิทยาลัยโตเกียวได้รับการจัดให้เป็นอันดับ 8 ของโลกที่มีชื่อเสียงโด่งดัง[13] จากการจัดอันดับสถาบันในระดับอุดมศึกษาโดยไทมส์ไฮเออร์เอดยูเคชันซัปพลีเมนต์ ประเทศอังกฤษ
ใน ค.ศ. 2011-2012 มหาวิทยาลัยโตเกียวได้รับการจัดให้เป็นอันดับ 1 ในเอเชีย[14] จากการจัดอันดับสถาบันในระดับอุดมศึกษาโดยไทมส์ไฮเออร์เอดยูเคชันซัปพลีเมนต์ ประเทศอังกฤษ
จากการจัดอันดับมหาวิทยาลัยของคอกโครัลลีไซมอนส์ประจำปี 2019 ได้จัดลำดับให้มหาวิทยาลัยโตเกียวอยู่ในอันดับที่ 23 ของโลก อันดับที่ 4 ของทวีปเอเชีย และอันดับที่ 1 ของประเทศญี่ปุ่น[15]
อ้างอิง
แก้- ↑ "MCDNNELL ACADEMY". global.wustl.edu. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-09-30. สืบค้นเมื่อ 2022-10-29.
- ↑ "教職員数(令和4年5月1日現在) - 常勤教員(教授~助手の計)". 東京大学. 1 May 2022.(ในภาษาญี่ปุ่น)
- ↑ Details on the number of students "学生数の詳細について - 在籍者". u-tokyo.ac.jp. สืบค้นเมื่อ 19 August 2022.(ในภาษาญี่ปุ่น)
- ↑ The number of regular students, research students and auditors 令和4年5月1日現在 学部学生・研究生・聴講生数調 - 在籍者(ในภาษาญี่ปุ่น)
- ↑ The number of graduate students, research students and international research students 令和4年5月1日現在 大学院学生・研究生・外国人研究生数調 - 在籍者(ในภาษาญี่ปุ่น)
- ↑ "What is Todai?". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-09-08. สืบค้นเมื่อ 2012-02-06.
- ↑ The School and the University. University of California Press. 1985. p. 156. ISBN 0-520-05423-7.
- ↑ Lincoln, Edward J. (2001). Arthritic Japan: the slow pace of economic reform. Brookings Institution Press. p. 148. ISBN 0815700733.
- ↑ blog, Just a PhD (2016-04-25). "ดร.สุรพงษ์ รัตนกุล :: คอลัมน์แขกรับเชิญ :: คุยเรื่องเรียนด๊อกเตอร์กับด๊อกเตอร์". ก็แค่ปริญญาเอก. สืบค้นเมื่อ 2020-12-31.
- ↑ "About Us". env.kmutt.ac.th (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2020-12-31.
- ↑ "วิทยาลัยการเมืองการปกครอง มหาวิทยาลัยมหาสารคาม : College of Politics and Governance, Mahasarakham University". copag.msu.ac.th.
- ↑ หนึ่งร้อยอันดับแรกมหาวิทยาลัยในเอเชียแปซิฟิก เก็บถาวร 2006-07-06 ที่ เวย์แบ็กแมชชีนโดยมหาวิทยาลัยเซี่ยงไฮ้เจียวทง (ค.ศ. 2005)
- ↑ อันดับมหาวิทยาลัย 2011-2012 มหาวิทยาลัยที่มีชื่อเสียงโด่งดังของโลก โดย Thomson Reuters (ค.ศ. 2012)
- ↑ อันดับมหาวิทยาลัยในเอเชีย 2011-2012 เก็บถาวร 2012-05-24 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน โดย Thomson Reuters (ค.ศ. 2012)
- ↑ http://www.topuniversities.com/university-rankings/world-university-rankings/2019#sorting=rank+region=+country=+faculty=+stars=false+search=
แหล่งข้อมูลอื่น
แก้- วิกิมีเดียคอมมอนส์มีสื่อเกี่ยวกับ มหาวิทยาลัยโตเกียว
- มหาวิทยาลัยโตเกียว
- Kato, Mariko, Todai still beckons nation's best, brightest but goals diversifying ที่ archive.today (เก็บถาวร มิถุนายน 5, 2012), Japan Times, August 11, 2009.