สีประจำโรงเรียน
สีประจำโรงเรียน หรือรู้จักกันในชื่อของ สีประจำมหาวิทยาลัย สีประจำคณะ สีประจำวิทยาลัย หรือ สีประจำสถาบันการศึกษา เป็นสีที่โรงเรียนหรือสถาบันการศึกษากำหนดให้เป็นส่วนหนึ่งของอัตลักษณ์ประจำสถาบัน ใช้ประกอบกับป้ายของอาคาร เว็บไซต์ ในเครื่องแต่งกาย เครื่องแบบนักเรียน หรือชุดของทีมกีฬา โดยโรงเรียนสามารถใช้สีประจำสถาบันในการเชื่อมโยงให้นักเรียนมีความรู้สึกร่วมและเป็นส่วนหนึ่งของโรงเรียน ในระดับของ "จิตวิญญาณของโรงเรียน" และช่วยให้สถาบันการศึกษานั้น ๆ มีจุดแตกต่างจากสถาบันการศึกษาอื่น[1]
ประวัติ
แก้สีประจำโรงเรียนนั้นเป็นประเพณีที่เริ่มต้นขึ้นมาในประเทศอังกฤษในช่วงทศวรรษ 1830 โดยมหาวิทยาลัยเคมบริดจ์ใช้สีน้ำเงินเป็นสีประจำมหาวิทยาลัยในการแข่งขันเรือเดอะโบ๊ตเรซกับมหาวิทยาลัยออกซฟอร์ดในปี พ.ศ. 2379[2] โรงเรียนเวสต์มินสเตอร์ใช้สีชมพูตั้งแต่การแข่งเรือกับโรงเรียนอีตันในปี พ.ศ. 2380[3] และมหาวิทยาลัยเดอรัมใช้สีม่วงพาลาทิเนตสำหรับสีผ้าสายคล้องคอบนชุดครุยวิทยฐานะครั้งแรกในปี พ.ศ. 2381[4]
หลายวิทยาลัยในสหรัฐนำสีประจำโรงเรียนมาปรับใช้ในระหว่างปี พ.ศ. 2433 ถึง 2453 ซึ่งปกติสีเหล่านี้จะเป็นสีที่โดดเด่น ซึ่งหลังจากมีการใช้งานที่หลากหลายมากขึ้น จึงมีการผสมสีเพื่อใช้งานในเฉดอื่น ๆ ที่มากขึ้น เช่น วิทยาลัยเพรสไบทีเรียนหลาย ๆ แห่งเลือกที่จะใช้สีที่ใกล้เคียงกับสีดำและสีส้มของมหาวิทยาลัยพรินซ์ตัน[5] โรงเรียนอเมริกาบางงแห่งใช้สีประจำชาติ คือสี แดง ขาว และน้ำเงิน มาใช้งานเป็นสีประจำโรงเรียนเพื่อแสดงถึงความรักชาติ[6]
สีที่ได้รับความนิยมมากที่สุดในวิทยาลัยของสหรัฐ โดยการจัดอันดับของนิตยสารฟอบส์ หัวข้อ ฟอบส์ท็อป 50 ประจำปี 2012 และการจัดอันดับทีมบาสเกตบอล NCAA ประจำปี 2013–13 ประกอบไปด้วยสีขาว สีน้ำเงิน สีแดง สีดำ และสีทอง[7]
กีฬา
แก้การใช้สีในการระบุทีมในกีฬามหาวิทยาลัยนั้นมีการใช้งานย้อนไปตั้งแต่การแข่งเรือเดอะโบ๊ตเรซครั้งที่ 2 ระหว่างออกซฟอร์ดกับเคมบริดจ์ในปี พ.ศ. 2379[2] โดยทั่วไปแล้วมหาวิทยาลัยส่วนใหญ่จะใช้สีในทีมกีฬาสีเดียวกันกับสีประจำมหาวิทยาลัยหรือสถาบันการศึกษา แต่สีน้ำเงินเคมบริดจ์เป็นเพียงสีเดียวจากสิบสองสีในชุดสีรอง ที่ไม่ใช่หนึ่งในหกสีหลักของมหาวิทยาลัย[8] ซึ่งมหาวิทยาลัยนอตทิงแฮมก็ใช้สีเขียวและสีทองสำหรับทีมกีฬาในการแข่งขัน แตกต่างจากสีประจำมหาวิทยาลัยคือสีน้ำเงิน[9][10] มหาวิทยาลัยโรเจอร์ วิลเลียมส์ เปลี่ยนสีทีมที่ใช้ในกีฬากรีฑาเมือปี พ.ศ. 2561 ให้เป็นสีเดียวกันกับมหาวิทยาลัย เพื่อส่งเสริมภาพลักษณ์และอัตลักษณ์ระหว่างทีมกรีฎาและมหาวิทยาลัยให้เป็นหนึ่งเดียวกัน[11]
ทีมที่เข้าแข่งขันกีฬาส่วนใหญ่จะประกอบไปด้วยเครื่องแบบกีฬา 2 ชุด โดยชุดแรกใช้สีหลัก และชุดที่สองใช้สีรองของสถาบันการศึกษา ในกีฬาบางชนิด เช่น อเมริกันฟุตบอล สีหลักจะถูกใช้ในเครื่องแบบของทีมเหย้า รวมไปถึงกองเชียร์ ทีมเชียร์ลีดเดอร์ และวงโยทวาธิต ก็จะสวมใส่เครื่องแบบที่ใช้สีประจำสถาบันการศึกษาของตน
วิทยฐานะ
แก้สีประจำโรงเรียนยังถูกใช้งานในชุดครุยวิทยฐานะของหลาย ๆ สถาบัน สีประจำโรงเรียนที่มหาวิทยาลัยนำมาปรับใช้ในชุดครุยวิทยฐานะคือสีม่วงพาลาทิเนตของมหาวิทยาลัยเดอรัมในประเทศอังกฤษระหว่างปี พ.ศ. 2378 ถึง 2381[12][4] โรงเรียนในสหรัฐที่มอบผ้าสายคล้องคอบนชุดครุยวิทยฐานะให้กับนักเรียนตามข้อกำหนดของสภาการศึกษาอเมริกัน (American Council on Education) ซึ่งระบุว่าตัวผ้าคล้องคอนบนชุดครุยวิทยฐานะเป็นสีประจำโรงเรียน และขลิปสีกำมะหยี่เป็นสีประจำภาควิชา[13] ชุดครุยวิทยฐานะระดับปริญญาเอกของสหรัฐบางชุดจะเป็นสีประจำมหาวิทยาลัยที่ได้รับปริญญา แยกประเภทจากชุดครุยวิทยฐานะที่จะใช้สีดำ[14]
ผ้าพันคอวิทยฐานะ
แก้มหาวิทยาลัยในสหราชอาณาจักร ไอร์แลนด์ และประเทศในเครือจักรภพ และมหาวิทยาลัยในอเมริกาบางแห่งมีผ้าพันคอวิทยฐานะเป็นสีประจำมหาวิทยาลัย ปกติจะเป็นผ้าพันคอแบบยาว ทำด้วยผ้าขนสัตว์ พร้อมกับลวดลายเฉพาะแถบตามยาวที่มีความกว้างต่างกัน ในมหาวิทยาลัยในระดับวิทยาลัย เช่น มหาวิทยาลัยออกซฟอร์ด มหาวิทยาลัยเคมบริดจ์ มหาวิทยาลัยเดอรัม ในแต่ละวิทยาลัยจะมีสีและผ้าพันคอเป็นของตนเอง มหาวิทยาลัยอื่น ๆ ที่ไม่ใช่มหาวิทยาลัยระดับวิทยาลัย อาทิ มหาวิทยาลัยกลาสโกว์ มหาวิทยาลัยนิวคาสเซิล ก็จะมีผ้าพันคอในแต่ละคณะเช่นกัน[15]
สีประจำโรงเรียนในประเทศไทย
แก้ในประเทศไทย สีประจำโรงเรียนหรือสีประจำมหาวิทยาลัยมักจะมีความหมายตามสิ่งที่เกี่ยวกับการก่อตั้งหรือวิชาที่โรงเรียนหรือมหาวิทยาลัยเหล่านั้นสอนอยู่ เช่น จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยใช้สีชมพู เนื่องจากเป็นสีของวันพระบรมราชสมภพของรัชกาลที่ 5 และเป็นสีประจำพระองค์ซึ่งมหาวิทยาลัยใช้พระปรมาภิไทยเดิมของพระองค์เป็นชื่อมหาวิทยาลัย[16]
สีประจำโรงเรียนที่มีชื่อเสียง
แก้ในต่างประเทศ
แก้- สีน้ำเงินเคมบริดจ์ – มหาวิทยาลัยเคมบริดจ์
- สีฟ้าแคโรไลนา – มหาวิทยาลัยนอร์ทแคโรไลนา
- สีฟ้าโคลัมเบีย – มหาวิทยาลัยโคลัมเบีย
- สีน้ำเงินดุ๊ก – มหาวิทยาลัยดุ๊ก
- สีน้ำเงินอีตัน – โรงเรียนอีตัน
- สีน้ำเงินออกซฟอร์ด – มหาวิทยาลัยออกซฟอร์ด
- พาลาทิเนต – มหาวิทยาลัยเดอรัม
- สีน้ำเงินอาร์ไอเอสดี – โรงเรียนดีไซน์โรดไอแลนด์
- สีน้ำเงินทัฟส์ – มหาวิทยาลัยทัฟส์
- สีน้ำเงินยูซีแอลเอ – มหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย ลอสแอนเจลิส
- สีน้ำเงินเยล – มหาวิทยาลัยเยล
ในประเทศไทย
แก้มหาวิทยาลัย
แก้- สีชมพู – จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
- สีเขียว[17] – มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
- สีเหลืองและแดง[18] – มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
- สีแสด – สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้า
- สีแสดและเหลือง[19] – มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี
- สีแดงหมากสุก – มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ
- สีแสดและขาว – สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง
- สีแสดและสีทอง – มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี
โรงเรียน
แก้- สีชมพู – โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา
- สีชมพูและฟ้า – โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย
- สีเขียวและเหลือง – โรงเรียนเทพศิรินทร์
- สีม่วงและทอง – โรงเรียนกรุงเทพคริสเตียนวิทยาลัย
- สีแดงและขาว – โรงเรียนอัสสัมชัญ
อ้างอิง
แก้- ↑ Hilda R. Glazer; Constance E. Wanstreet (31 August 2011). Victor C. X. Wang (บ.ก.). Building a Brand in Virtual Learning Spaces: Why Student Connections Matter. Encyclopedia of E-Leadership, Counseling and Training. ICI Global. pp. 835–836.
- ↑ 2.0 2.1 "Oxbridge Blue. How to win the varsity match". The Field. 2015-04-07. สืบค้นเมื่อ 2019-06-11.
- ↑ John Sargeaunt (1898). Annals of Westminster School. Methuen & Company. p. 238.
- ↑ 4.0 4.1 C. E. Whiting (1932). The University of Durham 1832-1932'. Sheldon Press. p. 141.
- ↑ John R. Thelin (2019). A History of American Higher Education. Johns Hopkins University Press. pp. 158–159.
- ↑ "History of Penn Colors, University of Pennsylvania University Archives". www.archives.upenn.edu. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 5 June 2016. สืบค้นเมื่อ 2016-05-11.
- ↑ Haley Omasta; Stacey Hills (2015). "Official College and University Colors: Student Perception vs. Performance" (PDF). Proceedings of the National Conference On Undergraduate Research (NCUR).
- ↑ "Colour palette". University of Cambridge. สืบค้นเมื่อ 14 December 2022.
- ↑ "University of Nottingham Sport Brand". University of Nottingham. สืบค้นเมื่อ 14 December 2022.
- ↑ "Colour". University of Nottingham. สืบค้นเมื่อ 14 December 2022.
- ↑ Edward Fitzpatrick (25 July 2019). "RWU Releases New Hawks Logo". UWIRE Text. Gale Academic OneFile.
- ↑ Groves, Nicholas (2003). "Did you know that ...?". Transactions of the Burgon Society. Burgon Society. 3: 63. doi:10.4148/2475-7799.1022.
- ↑ "Academic Regalia". American Council on Education. สืบค้นเมื่อ 8 December 2022.
- ↑ Boven, David T. (2009). "American Universities' Departure from the Academic Costume Code". Transaction of the Burgon Society. 9. doi:10.4148/2475-7799.1075.
- ↑ "A brief history of academic scarves". Study.EU. สืบค้นเมื่อ 2017-08-03.
- ↑ ""สีประจำมหาวิทยาลัย" มาดูกันว่าแต่ละสถาบันใช้สีอะไรและมีความหมายว่าอะไรบ้าง". www.sanook.com/campus.
- ↑ PREFACE มาตรฐานอัตลักษณ์มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ (ku.ac.th)
- ↑ "Thammasat Identity". tu.ac.th. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2023-04-10. สืบค้นเมื่อ 2023-04-10.
- ↑ "สีประจำมหาวิทยาลัย - KMUTT".