มหาวิทยาลัยโคลัมเบีย
มหาวิทยาลัยโคลัมเบีย (Columbia University in the City of New York) เป็นหนึ่งในมหาวิทยาลัยในกลุ่มไอวีลีก ได้ขึ้นชื่อว่าเป็นหนึ่งในมหาวิทยาลัยที่มีชื่อเสียงของโลกแห่งหนึ่ง เป็นมหาวิทยาลัยแห่งแรกของนครนิวยอร์กและเก่าแก่ที่สุดอันดับที่ห้าของสหรัฐอเมริกา ตั้งอยู่ที่นิวยอร์กซิตี ในรัฐนิวยอร์กในส่วนของชุมชนมอร์นิงไซด์บริเวณส่วนเหนือของเกาะแมนแฮตตัน ก่อตั้งก่อนการประกาศอิสรภาพของประเทศในปี พ.ศ. 2297 (ค.ศ. 1754) ในชื่อของ วิทยาลัยคิงส์ (King's College) โดยได้รับเงินสนับสนุนจากสมเด็จพระเจ้าจอร์จที่ 2 แห่งอังกฤษ ภายหลังสหรัฐอเมริกาปฏิวัติ โคลัมเบียได้รับการสนับสนุนในฐานะเอกลักษณ์ทางปรัชญาของรัฐตั้งแต่ปี 2327 - 2330
ตราอาร์ม | |
ละติน: Universitas Columbiae | |
ชื่อเดิม | วิทยาลัยคิงส์ (1754–1784) วิทยาลัยโคลัมเบีย (1784–1896) |
---|---|
คติพจน์ | In lumine Tuo videbimus lumen (ละติน) |
คติพจน์อังกฤษ | "In Thy light shall we see light"[1] |
ประเภท | เอกชน, มหาวิทยาลัยวิจัย |
สถาปนา | 25 พฤษภาคม 1754 |
ได้รับการรับรอง | MSCHE |
สังกัดวิชาการ | |
ทุนทรัพย์ | 13.6 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ (2023)[2]: 23 |
งบประมาณ | 5.9 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ (2023)[2]: 5 |
อธิการบดี | Minouche Shafik |
ผู้เป็นประธาน | แองเจลา โอลินโต |
อาจารย์ | 4,628[3] |
ผู้ศึกษา | 36,649[4] |
ปริญญาตรี | 9,761[4] |
บัณฑิตศึกษา | 26,888[4] |
ที่ตั้ง | , , สหรัฐ 40°48′27″N 73°57′43″W / 40.80750°N 73.96194°W |
วิทยาเขต | เมืองใหญ่, 299 เอเคอร์ (760 ไร่) |
สี | ฟ้าโคลัมเบีย และ ขาว[5] |
เว็บไซต์ | www |
ผู้ได้รับรางวัลโนเบล ทั้งที่เป็นศิษย์เก่าและคณาจารย์ของมหาวิทยาลัยทั้งสิ้น 102 ท่าน ถือว่ามากที่สุดอันดับ 2 ของโลก ศิษย์เก่าที่เป็นประธานาธิบดีและนากยกรัฐมนตรีจากทั่วโลกจำนวน 29 ท่าน ศิษย์เก่าที่ดำรงตำแหน่ง CEO ของบริษัทยักษ์ใหญ่ของโลก (Fortune Global 500) จำนวน 45 ท่าน และมีผู้ชนะรางวัลออสการ์ 28 ท่าน นอกจากนี้มหาวิทยาลัยยังเป็นผู้มอบรางวัลพูลิตเซอร์ แก่ผู้ได้รับเกียรติสูงสุดระดับชาติในวงการสิ่งพิมพ์ การบรรลุความสำเร็จทางวรรณกรรม และการประพันธ์เพลงในสาขาวารสารศาสตร์ เมื่อกว่า 100 ปีมาแล้ว ซึ่งวิทยาลัยวิชาการหนังสือพิมพ์ของโคลัมเบียนับได้ว่าโดดเด่นมากที่สุดของโลกในปัจจุบัน
โคลัมเบียได้รับความนิยมจากผู้นำประเทศต่างๆ รวมทั้งผู้นำของสหรัฐอเมริกาอย่าง ทีโอดอร์ รูสเวลต์และแฟรงกลิน ดี. รูสเวลต์ ทั้งคู่ต่างก็จบการศึกษาจากวิทยาลัยกฎหมายของที่นี่ ดไวต์ ดี. ไอเซนฮาวร์ เคยเป็นอธิการบดีของมหาวิทยาลัยก่อนจะไปดำรงตำแหน่งประธานาธิบดี หรือแม้แต่บารัก โอบามาและ ไมก์ เกรเวิล ผู้สมัครชิงตำแหน่งประธานาธิบดีปี 2008 ก็เป็นศิษย์เก่าของมหาวิทยาลัยโคลัมเบีย รวมถึงวุฒิสมาชิก และสมาชิกสภาคองเกรสอีกจำนวนหนึ่ง
มหาวิทยาลัยโคลัมเบียเป็นมหาวิทยาลัยแรกที่เปิดให้บริการคลื่นวิทยุเอฟเอ็ม โดยดำเนินรายการด้านมานุษยวิทยาและการเมือง วัตถุประสงค์เพื่อใช้ในการเรียนการสอนสำหรับนักศึกษาปริญญาโท ทั้งยังเป็นต้นกำเนิดของวิชาพันธุศาสตร์สมัยใหม่ นอกจากนี้ในงานวิจัยเพื่อปรับปรุงการระเบิดในระดับอะตอมที่วิทยาเขตมอนิ่งไซต์ ยังได้ค้นพบการแตกตัวของธาตุยูเรเนียมอีกด้วย สำหรับวรรณกรรมและศิลปศาสตร์ยุคหลังการล่าอาณานิคม ภายหลังศตวรรษที่ 20 ทั้งหมดได้รับการรวบรวมและสามารถพบเห็นได้ภายในมหาวิทยาลัยแห่งนี้
มหาวิทยาลัยโคลัมเบียดำเนินการ่วมกับวิทยาลัยบาร์นาร์ด (Barnard College) , วิทยาลัยครู (Teachers College) และโรงเรียนสอนศาสนา (Union Theological Seminary - UTS) ซึ่งตั้งอยู่บริเวณใกล้ๆ กับวิทยาเขตมอร์นิ่งไซด์ นอกจากนี้ยังเปิดหลักสูตรปริญญาตรีโดยร่วมมือกับโรงเรียนสอนศาสนายิวแห่งอเมริกา (Jewish Theological Seminary of America) และโรงเรียนจูลเลียต (Juilliard School)
วิทยาเขต
แก้วิทยาเขตมอร์นิ่งไซด์ (Morningside Heights)
แก้หลักสูตรส่วนใหญ่ของมหาวิทยาลัยโคลัมเบียเปิดการเรียนการสอนที่วิทยาเขตมอร์นิงไซด์แห่งนี้ ภายใต้แนวคิดในคริสต์ศตวรรษที่ 19 ที่ว่าทุกสาขาวิชาควรเปิดสอนในวิทยาเขตเดียวกัน วิทยาเขตนี้ได้รับการออกโดยศิลปินผู้มีชื่อเสียง ชาร์ลส์ ฟอลเลน แมคคิม, มีด และ ไวท์ซึ่งได้รับการยกย่องว่าเป็นผลงานที่ยอดเยี่ยมที่สุดของพวกเขา
วิทยาเขตนี้มีพื้นที่มากกว่า 6 บล็อกหรือประมาณ 32 เอเคอร์ (132,000 ตารางเมตร) ในย่านมอร์นิงไซด์ ตั้งอยู่ระหว่างฮาร์เล็มและอัปเปอร์เวสต์ไซต์บนเกาะแมนฮัตตันซึ่งเป็นที่ตั้งของวิทยาลัยเป็นจำนวนมาก มหาวิทยาลัยเป็นเจ้าของบ้านพักในย่านมอร์นิงไซด์กว่า 7,000 แห่งสำหรับเป็นบ้านพักของคณาจารย์ เจ้าหน้าที่มหาวิทยาลัย และนักศึกษา ซึ่งประมาณ 20 หอพัก (ทั้งที่เป็นหอพักและดัดแปลง) ตั้งอยู่ภายในวิทยาเขต
ระบบห้องสมุดของมหาวิทยาลัยแห่งนี้มีหนังสือมากถึง 9 ล้านเล่ม ห้องสมุดศิลปกรรมและสถาปัตยกรรมเอเวอรี่ (Avery Architectural and Fine Arts Library) เป็นห้องสมุดสถาปัตยกรรมที่ใหญ่ที่สุดในสหรัฐอเมริกา แต่ไม่ใช่ที่สุดในโลก ห้องสมุดดังกล่าวมีหนังสือรวมกว่า 4 แสนเล่ม ซึ่งเกือบทั้งหมดเป็นเป็นหนังสือนอกหลักสูตร และห้ามไม่สามารถยืมได้ จุดเด่นของห้องสมุดสถาปัตยกรรมแห่งนี้คือดัชนีวารสารสถาปัตยกรรมเอเวอรี่ (the Avery Index to Architectural Periodicals) ซึ่งเป็นหนึ่งในแหล่งข้อมูลระดับสากลที่สำคัญที่สุดในการอ้างอิงวารสารสถาปัตยกรรมและเรื่องที่เกี่ยวข้องในงานวรรณกรรม ดัชนีวารสารนี้ครอบคลุมรายชื่อวารสารสถาปัตยกรรมตั้งแต่ทศวรรษที่ 194 เป็นต้นมา
อาคารจำนวนมากในวิทยาเขตนี้ได้รับการบันทึกเป็นอาคารที่มีคุณค่าทางประวัติศาสตร์ ห้องสมุดโล เมมโมเรียล (Low Memorial Library) ซึ่งตั้งอยู่ใจกลางมหาวิทยาลัย ได้รับการบันทึกด้วยความโดดเด่นทางสถาปัตยกรรม ฟิลอสโซฟี ฮอล (Philosophy Hall) ได้รับการบันทึกในฐานะที่เป็นต้นกำเนิดของวิทยุเอฟเอ็ม เช่นเดียวกับพูพิน ฮอล (Pupin Hall) และบริเวณภาควิชาฟิสิกส์และดาราศาสตร์ซึ่งได้รับการบันทึกเป็นจุดเด่นของประเทศ (National Historic Landmark) ซึ่งที่นี่เป็นที่ที่เอนรีโก แฟร์มี (Enrico Fermi) ค้นพบการแตกตัวของอะตอมธาตุยูเรเนียมหลังการค้นพบการแตกตัวในระดับอะตอมครั้งแรกในโลกที่ประเทศเดนมาร์กเพียงสิบวัน
วิทยาเขตอื่นๆ
แก้- สถาบันวิทยาศาสตร์ชีวภาพ (Health-related schools) ในศูนย์การแพทย์ (Medical Center) บนเนื้อที่ 20 เอเคอร์ติดกับวอชิงตันไฮต์ (Washington Heights)
- เบเกอร์ฟีล (Baker Field) เนื้อที่ 26 เอเคอร์ ประกอบด้วยสนามกีฬาลอเรนซ์ (the Lawrence A. Wien Stadium)
- เวสต์แบงก์ แม่น้ำฮัตสัน (the west bank of the Hudson River) พื้นที่ 157 เอเคอร์
- หอสังเกตการณ์ทางธรณีวิทยา Lamont-Doherty 157 เอเคอร์ใน Palisades นิวยอร์ก
- ห้องทดลองวิทยาศาสตร์เนวิส 60 เอเคอร์ในไอร์วิงตัน
- Reid Hall ในปารีสซึ่งเรียนรู้ผ่านระบบดาวเทียม
- อาร์เดนเฮาส์ในฮาร์ริแมน (The Arden House in Harriman) นิวยอร์ก สำหรับนักศึกษาบริหารธุรกิจโปรแกรมพิเศษ
โรงพยาบาลของมหาวิทยาลัย
แก้โรงพยาบาลของมหาวิทยาลัยเกิดขึ้นจากความร่วมมือของสถาบันการแพทย์ (Medical Schools) มหาวิทยาลัยโคลัมเบียและมหาวิทยาลัยคอร์เนลล์ (Cornell university) เป็นโรงพยาบาลคุณภาพอันดับ 6 ของโลก และอันดับ 3 สำหรับโรงพยาบาลของมหาวิทยาลัย อ้างอิงจากสำนักข่าวในสหรัฐอเมริกาและผลการจัดอันดับโรงพยาบาลโลกปี 2550 สถาบันการแพทย์ มหาวิทยาลัยโคลัมเบียเป็นหน่วยงานพันธมิตรกับสถาบันจิตวิทยานิวยอร์ก (New York State Psychiatric Institute) นอกจากนั้นยังเป็นพันธมิตรกับโรงพยาบาล 19 แห่งทั่วสหรัฐอเมริกาและอีก 4 แห่งในต่างประเทศ
ประวัติ
แก้มหาวิทยาลัยโคลัมเบียเป็นมหาวิทยาลัยที่เก่าแก่ที่สุดในรัฐนิวยอร์ก ก่อตั้งในชื่อของวิทยาลัยคิงส์ (King's College) เมื่อพ.ศ. 2297 เก่าแก่เป็นอันดับ 6 ของสหรัฐอเมริกา (ตามวันที่ก่อตั้ง อันดับที่ 5 ตามวันที่ได้รับอนุญาต) ภายหลังการปฏิวัติสหรัฐอเมริกา วิทยาลัยคิงส์ได้เปลี่ยนชื่อเป็นวิทยาลัยโคลัมเบียก่อนจะเป็นมหาวิทยาลัยโคลัมเบียในพ.ศ.ปี 2327 และ 2439 ตามลำดับ โคลัมเบียเติบโตขึ้นเรื่อยๆ กระทั่งปัจจุบัน ซึ่งประกอบไปด้วยสถาบันมากถึง 20 สถาบัน
วิทยาลัยคิงส์ (King's College) : 2297-2319
แก้การพิจารณาจัดตั้งมหาวิทยาลัยในนิวยอร์กเริ่มขึ้นในราวปี 2257 แต่มาเริ่มเป็นรูปเป็นร่างในช่วงศตวรรษที่ 176 ในยุคที่นักศึกษาที่สำเร็จการศึกษาจากมหาวิทยาลัยเยลและสมาชิกของกลุ่มศาสนาในนิวยอร์ก (ขณะนั้นคือ Church of England ปัจจุบันคือ Episcopal) เริ่มตื่นตัวเมื่อทราบข่าวการก่อตั้งวิทยาลัยนิวเจอร์ซี (ปัจจุบันคือมหาวิทยาลัยพรินซ์ตัน) ทั้งสองกลุ่มเห็นว่าวิทยาลัยนิวเจอร์ซีก่อตั้งโดยกลุ่มศาสนา new-light Presbyterians ซึ่งมีนิกาย the evangelical Great Awakening สนับสนุน ทั้งยังตั้งอยู่ในท้องที่ ตรงข้ามแม่น้ำฮัตสัน ด้วยเกรงว่านิวยอร์กจะเป็นเมืองด้อยพัฒนาทั้งทานด้านศิลปะและวิทยาการ พวกเขาจึงร่วมกันก่อตั้งสถาบันริมแม่น้ำของพวกเขาในชื่อวิทยาลัยคิงส์ (King's College) มีนายซามูเอล จอห์นสัน (Samuel Johnson) ดำรงตำแหน่งอธิการบดีคนแรก เริ่มเปิดการเรียนการสอนในวันที่ 17 กรกฎาคม 2297 ในโบสถ์ซึ่งมีนายซามูเอลดูแลเพียงคนเดียวเท่านั้น จากนั้นไม่นาน วันที่ 31 ตุลาคมปีเดียวกัน สมเด็จพระเจ้าจอร์ชที่ 2 แห่งสหราชอาณาจักรได้พระราชทานงบสนับสนุนให้แก่วิทยาลัยคิงส์ ต่อมาในปี 2303 วิทยาลัยคิงส์ย้ายไปตั้งในพื้นที่ของตนเองในปาร์คเพลส (Park Place) ใกล้กับศาลากลาง และในปี 2310 วิทยาลัยได้ก่อตั้งสถาบันแพทย์ขึ้นเป็นแห่งแรกโดยเปิดสอนในระดับบัณฑิตศึกษา
ข้อมูลมหาวิทยาลัย
แก้การเข้าศึกษา
แก้ในปี 2554 วิทยาลัยโคลัมเบีย (Columbia College) มีอัตราการรับนักศึกษาเข้าศึกษาต่อทั้งหมด 6.9% จากจำนวนผู้สมัครทั้งหมด กล่าวได้ว่าเข้ายากที่สุดอันดับ 2 ของสหรัฐอเมริกา รองเพียงมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ดที่อัตาราการรับ 6.2% โดยถ้าไม่ดูจำนวนนักศึกษาที่สมัครแบบEarly Decision อัตราการรับนักศึกษาจะตํ่าลงถึง 5.7% (อัตราการรับตํ่าที่สุดในสหรัฐอเมริกาและเท่ากับมหาวิทยาลัยเยลในปีนั้น)
เงินทุนช่วยเหลือ
แก้โคลัมเบียเป็นวิทยาลัยแห่งความหลากหลาย ด้วยจำนวนนักเรียนผิวสีมากถึง 49% มากกว่าครึ่งของนักศึกษาระดับปริญญาตรีได้รับเงินทุนช่วยเหลือจากมหาวิทยาลัย (ได้รับในปี 2554) โดยปกตินักศึกษาจะได้รับเงินทุนช่วยเหลือประมาณ $27,000 ขึ้นไปต่อคน และเงินช่วยเหลืออีกส่วนหนึ่งตั้งแต่ $20,000 ขึ้นไป
วิทยาลัย
แก้ระดับปริญญาบัณฑิต
แก้- วิทยาลัยโคลัมเบีย (Columbia College - CC)
- วิทยาลัยวิศวกรรมศาสตร์ (the Fu Foundation School of Engineering and Applied Science - SEAS)
- วิทยาลัยศึกษาทั่วไป (the School of General Studies - GS) สำหรับผู้ที่ต้องการศึกษาต่อหลังจากหยุดพักการเรียนไป 1-2 ปี
- วิทยาลัยบาร์นาร์ด (Barnard College) ซึ่งเป็นวิทยาลัยสำหรับผู้หญิง
ระดับบัณฑิตศึกษา
แก้- วิทยาลัยกฎหมาย (Columbia Law School) วิทยาลัยกฎหมายชื่อดังของโลก
- วิทยาลัยธุรกิจ (Columbia Business School - CBS) วิทยาลัยธุรกิจชื่อดังของโลก
- วิทยาลัยการต่างประเทศและการสาธารณะ (School of International and Public Affairs - SIPA) วิทยาลัยบริหารภาครัฐและความสัมพันธ์ระหว่างประเทศชื่อดังของโลก[7]
- วิทยาลัยวารสารศาสตร์ (the Graduate School of Journalism - J-School or CJS) โรงเรียนด้านสื่อสารมวลชนที่มีชื่อเสียงของโลก
- วิทยาลัยแพทย์ศาสตร์ (Columbia's medical school)
- วิทยาลัยพยาบาลศาสตร์ (Columbia University School of Nursing)
- วิทยาลัยสาธารณสุขเมล์แมน (Mailman School of Public Health)
- วิทยาลัยทันตแพทย์ศาสตร์ (Columbia College of Dental Medicine)
- วิทยาลัยสถาปัตยกรรมศาสตร์ (the Graduate School of Architecture, Planning and Preservation - GSAPP)
- วิทยาลัยวิทยาศาสตร์และศิลปศาสตร์ (the Graduate School of Arts and Sciences - GSAS)
- วิทยาลัยศิลปศาสตร์ (the Columbia University School of the Arts - SoA)
- วิทยาลัยสังคมสงเคราะห์ศาสตร์ (Columbia University School of Social Work)
- วิทยาลัยครู (Teachers College, Columbia University)
- วิทยาลัยวิศวกรรมศาสตร์ (the Fu Foundation School of Engineering and Applied Science - SEAS)
- วิทยาลัยศึกษาต่อ (Columbia University's School of Continuing Education) สำหรับบุคคลภายนอก ตั้งแต่หลักสูตรวิทยาศาสตร์บัณฑิต, หลักสูตรประกาศนียบัตร, หลักสูตรภาษา, หลักสูตรศึกษาต่อต่างประเทศ, หลักสูตรภาคฤดูร้อน, และหลักสูตรมัธยมปลาย
อันดับโลก
แก้ในปี 2550 ระดับปริญญาบัณฑิต
- อันดับ 9 ร่วมของโลก (ร่วมกับมหาวิทยาลัยชิคาโก้) โดย U.S. News and World Report (USNWR)
- อันดับ 7 ของโลก และอันดับ 6 ของอเมริกา โดยมหาวิทยาลัยเซี่ยงไฮ้ (Shanghai Jiao Tong University)
- อันดับ 11 ของโลก และอันดับ 7 ของทวีปอเมริกาเหนือ โดย Times Higher Education (THES)
- อันดับ 10 ของโลก โดย Newsweek
- อันดับ 1 ของโลก โดย The Center for Measuring University Performance
- อันดับ 8 ของอเมริกา โดย the National Research Council
นอกจากนี้มหาวิทยาลัยโคลัมเบียยังร่วมมือกับเครือข่ายวิทยาลัยและมหาวิทยาลัย (University and College Accountability Network - U-CAN) ของสมาคมวิทยาลัยและมหาวิทยาลัยเอกชนแห่งชาติ (the National Association of Independent Colleges and Universities - NAICU) อีกด้วย
สำหรับวิทยาลัยในระดับบัณฑิตศึกษาของโคลัมเบีย จัดได้ว่าอยู่ในกลุ่มที่ดีที่สุดของสหรัฐอเมริกา ด้วยผลการจัดอันดับที่เกือบทั้งหมดอยู่ในกลุ่ม Top10 ของประเทศ
- อันดับ 1 วิทยาลัยวารสารศาสตร์ (ที่มาของรางวัลพูลิตเซอร์) โดย U.S. News and World Report (USNWR)
- อันดับ 3 วิทยาลัยครู โดย U.S. News and World Report 2010
- อันดับ 2 วิทยาลัยการต่างประเทศและการสาธารณะ (สาขาความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ) และอันดับ 3 (สาขานโยบาย)
- อันดับ 3 วิทยาลัยสังคมสงเคราะห์ โดย U.S. News and World Report
- อันดับ 3 วิทยาลัยสถาปัตยกรรมศาสตร์ โดยนิตยสารด้านสถาปัตยกรรมฉบับพฤศจิกายน 2550
- อันดับ 5 วิทยาลัยกฎหมาย
- อันดับ 6 วิทยาลัยสาธารณสุขเมล์แมน
- อันดับ 9 วิทยาลัยธุรกิจ (อันดับ 2 โดย The Financial Times และอันดับ 6 โดยนิตยสาร Fortune)
- อันดับ 10 วิทยาลัยแพทย์
ศิษย์เก่าที่มีชื่อเสียง
แก้ศิษย์เก่าที่มีชื่อเสียง
แก้ปัจจุบันมหาวิทยาลัยโคลัมเบียมีศิษย์เก่าที่เป็นประธานาธิบดีและนากยกรัฐมนตรีจากทั่วโลกจำนวน 29 ท่าน ศิษย์เก่าที่ได้รับรางวัลโนเบลจำนวน 43 ท่าน(ถ้ารวมอาจารย์ที่ได้รับรางวัลโนเบลด้วยจำนวน 102 ท่าน ซึ่งเป็นมหาลัยที่มีจำนวนศิษย์เก่าและอาจารย์ที่ได้รับรางวัลโนเบลมากที่สุดอันดับ2 ของโลก รองจากมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ดที่มี 151 ท่าน) ศิษย์เก่าที่ได้รับรางวัลพูลิตเซอร์ จำนวน 126 ท่าน และศิษย์เก่าที่ดำรงตำแหน่ง CEO ของบริษัทยักษ์ใหญ่ของโลก(Fortune 500 companies)จำนวน 45 ท่าน
- ดไวต์ ดี. ไอเซนฮาวร์ ประธานาธิบดีคนที่ 34 ของสหรัฐอเมริกา และเป็นผู้บัญชาการสูงสุดของฝ่ายสัมพันธมิตรในสงครามโลกครั้งที่สอง
- แฟรงกลิน รูสเวลต์ ประธานาธิบดีคนที่ 32 ของสหรัฐอเมริกา และเป็นประธานาธิบดีอสหรัฐเมริกาที่ดำรงตำแหน่งยาวนานที่สุด(4สมัย) แนวคิดของเขายังก่อให้เกิดองค์กรระหว่างประเทศ คือ สหประชาชาติ
- ธีโอดอร์ รูสเวลต์ ประธานาธิบดีคนที่ 26 ของสหรัฐอเมริกา และได้รับรางวัลโนเบลสาขาสันติภาพ
- บารัก โอบามา ประธานาธิบดีคนที่ 44 ของสหรัฐอเมริกา
- วอร์เรน บัฟเฟตต์ นักธุรกิจและซีอีโอ เป็นบุคคลที่รวยที่สุดเป็นอันดับสามในปี 2554 และบุคคลที่ทรงอิทธิพลมากที่สุดในโลก
- ซามูเอล ร็อบสัน วอลตัน ทายาทผู้ก่อตั้งห้าง Walmart
- เจมส์ กอร์แมน CEO ของบริษัทมอร์แกน สแตนลีย์ ที่ให้บริการทางการเงินระดับโลก
- บิล เดอ บลาซิโอ นายกเทศมนตรีของนครนิวยอร์กสมัยปัจจุบัน
- อีริค การ์เซ็ตติ นายกเทศมนตรีของนครลอสแอนเจลิสสมัยปัจจุบัน
- เจมส์ แฟรนโก นักแสดงชาวอเมริกัน ผู้กำกับ นักเขียนบทภาพยนตร์ ผู้สร้างภาพยนตร์ และศิลปิน
- โจเซฟ กอร์ดอน-เลวิตต์ นักแสดงชาวอเมริกัน ผู้กำกับ โปรดิวเซอร์ และนักเขียน
- แมกกี จิลเลนฮอล นักแสดงชาวอเมริกัน
- เจค จิลเลินฮาล นักแสดงชาวอเมริกัน
- จูเลีย สไตลส์ นักแสดงชาวอเมริกัน
-
อเล็กซานเดอร์ แฮมิลตัน, หนึ่งในคณะผู้ก่อตั้งประเทศสหรัฐอเมริกา, รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังคนแรกของประเทศสหรัฐอเมริกา
-
ธีโอดอร์ รูสเวลต์, ประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกาและผู้ได้รับรางวัลโนเบล, ปริญญาโทสาขานิติศาสตร์
-
แฟรงกลิน รูสเวลต์, ประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกา, ปริญญาโทสาขานิติศาสตร์
-
รูธ เบเดอร์ กินส์เบิร์ก, ตุลาการสมทบในศาลสูงสุดแห่งสหรัฐอเมริกา, ผู้พิพากษาหญิงคนที่สองในสหรัฐ, ปริญญาโทสาขานิติศาสตร์
-
วอร์เรน บัฟเฟตต์, ซีอีโอของ Berkshire Hathaway และหนึ่งในมหาเศรษฐีที่รวยที่สุดในโลกจากนิตยสารฟอบส์, ปริญญาโทสาขาบริหารธุรกิจ
-
บารัก โอบามา, ประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกาและผู้ได้รับรางวัลโนเบล, ปริญญาตรีมหาวิทยาลัยโคลัมเบียปี 1983 เอกวิชาความสัมพันธ์ระหว่าประเทศ
ศิษย์เก่าชาวไทยที่มีชื่อเสียง
แก้- ดร. เสนาะ อูนากูล อดีตเลขาธิการคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย รองนายกรัฐมนตรี จบปริญญาเอกเศรษฐศาสตร์
- ศ.พิเศษ ดร. เอนก เหล่าธรรมทัศน์ กรรมการสภาผู้ทรงคุณวุฒิมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
- ดร.ปิยะบุตร ชลวิจารณ์ อดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม อดีตกรรมการผู้จัดการใหญ่ธนาคารสหธนาคาร
- ศ.ดร.สุรชาติ บำรุงสุข อาจารย์ประจำคณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และได้รับเชิญเป็นที่ปรึกษาผู้ทรงคุณวุฒิของนายกรัฐมนตรี ด้านความมั่นคง อาจารย์สุรชาติจบปริญญาเอกสาขารัฐศาสตร์
- นายสุรนันทน์ เวชชาชีวะ รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี จบ Master of International Affairs ที่ School of International and Public Affairs (SIPA)
- สาลินี วังตาล ผู้อำนวยการสำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลาง และขนาดย่อม ผู้บริหารระดับกลางของแบงค์ชาติ จบปริญญาโทสาขาการเงิน เคยทำงานที่ Bank of America โด่งดังมากในช่วงที่ดูแลการฟื้นฟูสถาบันการเงินยุควิกฤตเศรษฐกิจ
- ดร. เกียรติพงศ์ อริยปรัชญา ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยเพื่อตลาดทุน นักเศรษฐศาสตร์เลือดใหม่ของแบงค์ชาติ จบปริญญาเอกเศรษฐศาสตร์
- สงกรานต์ กระจ่างเนตร จบปริญญาโทสาขาบริหารธุรกิจ
- คุณหญิง กนิษฐา วิเชียรเจริญ เป็นผู้ก่อตั้งวิทยาลัยแม่ชี ร่วมก่อตั้งยุวพุทธิกสมาคมแห่งประเทศไทยในพระบรมราชินูปถัมภ์ และได้รับรางวัลสตรีดีเด่น 1 ใน 10 คนของโลกในโอกาสวันสตรีสากลฝรั่งเศส ได้รับรางวัล Sacred Souls Award ( 1 ใน 5 คน ) จากสหรัฐอเมริกา และได้รับรางวัลดีเด่นในด้านพุทธศาสนาประจำปี 2545
- ภากร ธนศรีวนิชชัย นักแสดง จบปริญญาโท Master of Science in Real Estate Development, Graduate School of Architecture, Planning and Preservation
มหาวิทยาลัยโคลัมเบียในโลกบันเทิง
แก้- ในปี 2002 ไอ้แมงมุม (ภาพยนตร์) เป็นภาพยนตร์ซูเปอร์ฮีโรอเมริกันในปี 2002 กำกับโดย แซม เรมี แสดงนำโดย โทบีย์ แม็กไกวร์, เคิร์สเตน ดันสต์ และ วิลเลม เดโฟ
ปีเตอร์ ปาร์คเกอร์ เป็นนักเรียนมัธยมปลายที่โดนแมงมุมกัดในห้องทดลอง ที่มหาวิทยาลัยโคลัมเบีย และต่อมาเป็นฉากที่เขาเข้าเรียนในชั้นเรียนที่โคลัมเบีย โดยภาพยนตร์ก็ได้ออกฉายเมื่อวันที่ 3 พฤษภาคม ค.ศ. 2002 โดยโคลัมเบียพิกเจอร์ส ภาพยนตร์ได้เสียงตอบรับด้านคำวิจารณ์ที่ดี และยังทำสถิติบ็อกซ์ออฟฟิส โดยเป็นภาพยนตร์ที่ทำรายได้สูงสุดทั่วโลกในปี 2002 ทำรายได้ 822 ล้านเหรียญสหรัฐทั่วโลก ไอ้แมงมุม ถือเป็นภาพยนตร์ที่สร้างจากการ์ตูนที่ประสบความสำเร็จที่สุดเป็นอันดับ 2 รองจาก The Dark Knight และยังติดอันดับ 18 ของหนังที่ประสบความสำเร็จที่สุดตลอดกาล จากความสำเร็จทำให้มีภาคต่อในไอ้แมงมุม2 และไอ้แมงมุม3
ตัวอย่างรายชื่อภาพยนตร์ของอเมริกาที่ถ่ายทำภายในมหาวิทยาลัยโคลัมเบีย
แก้- Enchanted
- Ghostbusters
- Ghostbusters II
- Hitch
- Malcolm X
- Mona Lisa Smile
- The Nanny Diaries
- New York Minute
- How to Lose a Guy in 10 Days
- Premium Rush
- The Princess Diaries
- The Pride of the Yankees
- The Producers: The Movie Musical
- P.S.
- The Sisterhood of the Traveling Pants
- Spider-Man
- Spider-Man 2
- Kills Your Darling
รายชื่อละครที่ถ่ายทำภายในมหาวิทยาลัยหรือตัวละคร
แก้- Gossip Girl - ในภาคที่3 แบลร์ วอลดอร์ และเซเรน่า แวนเดอร์ วูดเซน ได้ลงทะเบียนเรียนที่มหาวิทยาลัยโคลัมเบีย
- How I Met Your Mother - มาร์แชลล์ อีริกสัน เป็นนักศึกษากฎหมายที่มหาวิทยาลัยโคลัมเบีย เท็ด มอสบี้ กลายเป็นอาจารย์ของสถาปัตยกรรมในตอนท้ายของภาคที่4
- Law & Order - อัยการ เจมี่ รอสส์ เข้าเรียนสาขานิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยโคลัมเบีย
- Lost - แมทธิว ฟ็อกซ์ และดร. แจ็ค Shephard ของเขา เป็นศิษย์เก่าโคลัมเบีย
- Secret Garden - คิม จู วอน จบการศึกษาจากโคลัมเบีย
- What I Like About You- วาเลอรี ไทเลอร์ เป็น ศิษย์เก่า ของ โคลัมเบียและ น้องสาวของเธอ ฮอลลี่ ได้สมัครเข้าเรียนที่โคลัมเบียเช่นเดียวกัน
- Will & Grace - วิลล์ ทรูแมน และเกรซ แอดเลอร์ ได้พบกันที่มหาวิทยาลัยโคลัมเบีย
อ้างอิง
แก้- ↑ Psalms 36:9
- ↑ 2.0 2.1 "Consolidated Financial Statements, June 30, 2023 and 2022" (PDF). Columbia University. October 17, 2023. p. 23. เก็บ (PDF)จากแหล่งเดิมเมื่อ February 16, 2024. สืบค้นเมื่อ April 22, 2024.
- ↑ "Full-time Faculty Distribution by School/Division, Fall 2013-2022" (PDF). Columbia University Office of Planning and Institutional Research. January 28, 2022. เก็บ (PDF)จากแหล่งเดิมเมื่อ May 26, 2023. สืบค้นเมื่อ April 22, 2024.
- ↑ 4.0 4.1 4.2 "Enrollment by School and Degree Level, Fall 2022" (PDF). Columbia University Office of Planning and Institutional Research. November 3, 2022. เก็บ (PDF)จากแหล่งเดิมเมื่อ December 20, 2022. สืบค้นเมื่อ April 22, 2024.
- ↑ Columbia University Brand Guide (PDF). December 1, 2017. สืบค้นเมื่อ August 9, 2018.
- ↑ Wienerbronner, Danielle (November 9, 2010). "Most Beautiful College Libraries". Huffington Post. สืบค้นเมื่อ November 22, 2011.
- ↑ [1][ลิงก์เสีย]Foreign Policy, March/April 2007, pp.62-68.