สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้า

สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้า เป็นอดีตสถาบันอุดมศึกษาของรัฐ เคยมีสถานะเป็นกรมในกระทรวงศึกษาธิการ ก่อตั้งขึ้นใน พ.ศ. 2514 โดยการรวมวิทยาลัย 3 แห่งเข้าด้วยกัน คือ วิทยาลัยเทคนิคธนบุรี วิทยาลัยเทคนิคพระนครเหนือ และ วิทยาลัยโทรคมนาคมนนทบุรี รวมทั้งมีวิทยาลัยอีกหนึ่งแห่งเข้ามาสมทบภายหลัง คือ วิทยาลัยก่อสร้างบางพลัด สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเติบโตอย่างรวดเร็ว แต่ด้วยความแตกต่างของวิทยาเขตและวิกฤตการบริหารงาน จึงได้แยกออกเป็นเป็นสถาบันอุดมศึกษาอิสระสามแห่งใน พ.ศ. 2529 รวมอายุสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าในฐานะสถาบันอุดมศึกษาที่เป็นเอกเทศได้ 15 ปี ในระหว่างนี้มีอธิการบดีดำรงแหน่งสองคน โดยในช่วงบั้นปลายที่มีวิกฤตการบริหาร รองอธิการบดีประจำวิทยาเขตผลัดเปลี่ยนกันรักษาการตำแหน่งอธิการบดี

สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้า
King Mongkut's Institute of Technology
ชื่อเดิมวิทยาลัยเทคนิคธนบุรี
วิทยาลัยเทคนิคพระนครเหนือ
วิทยาลัยโทรคมนาคมนนทบุรี
ประเภทสถาบันอุดมศึกษาของรัฐ
ดำเนินงาน24 เมษายน ค.ศ. 1971 (1971-04-24)19 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1986 (1986-02-19)
สี  สีแสด [ต้องการอ้างอิง]


ประวัติ

แก้

เมื่อ 23 เมษายน พ.ศ. 2514 สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้า ตั้งขึ้น จากการรวม วิทยาลัยเทคนิคธนบุรี วิทยาลัยเทคนิคพระนครเหนือ และ วิทยาลัยโทรคมนาคมนนทบุรี ในสังกัด กรมอาชีวศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ เข้าด้วยกัน ตาม พระราชบัญญัติสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้า พ.ศ. ๒๕๑๔ [1] โดยเป็นสถาบันการศึกษาและวิจัย มีวัตถุประสงค์ที่จะผลิตครูอาชีวศึกษาระดับปริญญา ให้การศึกษาทั้งระดับปริญญา และระดับต่ำกว่าปริญญา และทำวิจัยทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ทั้งนี้สถาบันเป็นนิติบุคคล มีฐานะเป็นกรมในกระทรวงศึกษาธิการ

เมื่อ 20 มิถุนายน พ.ศ. 2515 กระทรวงศึกษาธิการ ได้ประกาศให้รวม วิทยาลัยวิชาการก่อสร้างบางพลัด เข้ากับ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้า [2] (ซึ่งถูกรวมเข้ากับ ศูนย์ลาดกระบัง และทำให้ ศูนย์ธนบุรี ได้ยุติการรับนักศึกษาสถาปัตยกรรมศาสตร์ ตั้งแต่ พ.ศ. 2515 และจัดตั้งเป็น คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ ศูนย์ลาดกระบัง ในปีการศึกษา 2516 ปัจจุบันคณะดังกล่าวอยู่ในสังกัด สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้า วิทยาเขตเจ้าคุณทหารลาดกระบัง [3])

เมื่อ 28 มิถุนายน พ.ศ. 2517 สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้า ถูกโอนย้ายไปสังกัด ทบวงมหาวิทยาลัยของรัฐ ตาม พระราชบัญญัติสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้า (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๑๗ [4] ซึ่งต่อมาเปลี่ยนชื่อเป็น ทบวงมหาวิทยาลัย

เมื่อ 20 เมษายน พ.ศ. 2522 จากการขยายตัวของสถาบันอย่างรวดเร็ว จึงมีการปรับโครงสร้างตามมาหลายครั้ง กระทั่งมีมีการประกาศใช้ พระราชบัญญัติสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้า (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๒๒ [5]


สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้า

แก้

พ.ศ.2515

กำหนดการแบ่งส่วนราชการ

แก้

(๑) สำนักงานอธิการบดี

(๒) คณะ


สำนักงานอธิการบดี อาจแบ่งส่วนราชการออกเป็นกองและแผนก คณะ แบ่งส่วนราชการออกเป็นภาควิชาและสำนักงานเลขานุการ สำนักงานเลขนุการคณะ อาจแบ่งส่วนราชการออกเป็นแผนก


การดำเนินงานของสถาบัน

แก้

มีสภาสถาบันเป็นผู้ควบคุมดูแลกิจการทั่วไปของสถาบัน สภาสถาบัน ประกอบด้วย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ เป็นนายกสภาสถาบัน ปลัดกระทรวงศึกษาธิการ เป็นรองนายกสภาสถาบัน อธิบดีกรมอาชีวศึกษา อธิการบดี รองอธิการบดี และคณะบดี เป็นกรรมการสภาสถาบัน โดยตำแหน่ง และกรรมการสภาสถาบันผู้ทรงคุณวุฒิ ซึ่งทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งมีจำนวนไม่น้อยกว่าสี่คน แต่ไม่เกินเก้าคน หัวหน้าสำนักงานอธิการบดี เป็นกรรมการและเลขานุการสภาสถาบัน


การบริหารงานของสถาบัน

แก้

มีอธิการบดีเป็นผู้บังคับบัญชารับผิดชอบในการบริหารงานของสถาบัน อธิการบดี นั้นจะได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ตั้งแต่โดยคำแนะนำของสภาสถาบัน และให้ดำรงตำแหน่งสามปี แต่จะทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งใหม่อีกก็ได้ และจะให้มีรองอธิการบดีคนหนึ่งหรือหลายคนทำหน้าที่เป็นผู้ช่วยก็ได้ ในคณะหนึ่ง ให้มีคณบดีเป็นผู้บังคับบัญชารับผิดชอบ คณบดี นั้นสภาสถาบันจะได้แต่งตั้งจากคณาจารย์หรือผู้ซึ่งเคยดำรงตำแหน่งกรรมการสภาสถาบันมาแล้ว และให้ดำรงตำแหน่งสี่ปี แต่อาจได้รับแต่งตั้งใหม่อีกได้ และจะมีรองคณบดีคนหนึ่งทำหน้าที่เป็นผู้ช่วยก็ได้ ถ้ามีการแบ่งส่วนราชการเป็นภาควิชา ให้มีหัวหน้าภาควิชาเป็นผู้บังคับบัญชารับผิดชอบในงานของภาควิชา ให้มีกรรมการประจำคณะประกอบ ด้วยคณบดีเป็นประธานกรรมการ รองคณบดี และหัวหน้าภาควิชาในคณะนั้นเป็นกรรมการ หรือเป็นกรรมการเพิ่มเติมให้ได้จำนวน ๔ คน ให้คณะกรรมการตั้งผู้หนึ่งผู้ใดเป็นเลขานุการกรรมการประจำคณะ ซึ่งสภาสถาบันแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งสองปี แต่อาจได้รับแต่งตั้งใหม่อีกได้


การจัดการศึกษา

แก้

การจัดการศึกษาของสถาบันแบ่งออกเป็น ๓ ระดับ

๑. ระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ ซึ่งเป็นระดับเดียวกบประโยคมัธยมศึกษาตอนปลายสายอาชีพ หรือเรียกเป็นสามัญว่าระดับช่างฝีมือ ระดับนี้รับผู้สำเร็จจากมัธยมศึกษาตอนต้นสายสามัญ หรือที่เรียกโดยย่อว่า มศ. ๓ เข้าศึกษาหลักสูตร ๓ ปี

๒. ระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง หรือที่เรียกเป็นสามัญว่าช่างเทคนิค ระดับนี้รับนักศึกษาสองประเภท คือ ประเภทที่หนึ่ง รับผู้สำเร็จจากมัธยมศึกษาตอนปลายสายสามัญ ซึ่งเรียกโดยย่อว่า มศ. ๕ เข้าศึกษาหลักสูตร ๓ ปี ประเภทที่สอง รับผู้สำเร็จจากระดับที่หนึ่งคือวิชาชีพ และจากมัธยมศึกษาตอนปลายสายอาชีพ ซึ่งเรียกโดยย่อว่า มศ. ๖ เข้าศึกษาหลักสูตร ๒ ปี

๓. ระดับปริญญา รับผู้สำเร็จการศึกษาจากระดับที่สอง คือระดับวิชาชีพชั้นสูง เข้าศึกษาหลักสูตร ๒ ปี


การศึกษาทั้งสามระดับมีหลักสูตรจบในตัวแต่ละระดับ เพื่อผู้สำเร็จจะได้ออกไปประกอบอาชีพได้ หากผู้ใดประสงค์จะศึกษาต่อในระดับสูงขึ้นไปก็ย่อมทำได้โดยสมัครสอบคัดเลือกเข้าศึกษาในสถาบัน ทั้งนี้เพราะต้องการผู้มีสติปัญญาและผลการเรียนดีพอ เนื่องจากสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าได้รวมวิทยาลัย ๓ แห่งเข้ามาเป็นสถาบันสถานศึกษาทั้ง ๓ แห่ง มีที่ตั้งแยกออกไปเป็นแต่ละแห่งห่างไกลกัน

การจัดการศึกษาก็เป็นไปตามความมุ่งหมายและวัตถุประสงค์ของสัญญาและข้อตกลงในการให้ความช่วยเหลือของต่างประเทศ คือ

สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้า ศูนย์ธนบุรี ได้รับความช่วยเหลือจาก โครงงานพัฒนาแห่งสหประชาชาติ (UNDP) แห่ง UNESCO

สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้า ศูนย์พระนครเหนือ ได้รับความช่วยเหลือจาก รัฐบาลเยอรมัน

สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้า ศูนย์นนทบุรี ได้รับความช่วยเหลือจาก รัฐบาลญี่ปุ่น


ฉะนั้น แม้จะได้รวมสถานศึกษาทั้ง ๓ แห่งเข้าเป็นสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าตามกฎหมายแล้วก็ตาม แต่การดำเนินงานก็ต้องแยกกันทำ สถานที่ตั้งก็ยังแยกกันอยู่ตามเดิม เพราะทั้ง ๓ แห่งได้วางรากฐานไว้มั่นคงแล้ว จึงไม่อาจรวมงานให้เป็นที่เดียวกันได้

โครงสร้างการบริหารงาน

แก้

๑. สำนักงานอธิการบดี จัดแบ่งสายงานการดำเนินงานดังนี้

  • กองกลาง ดำเนินงานด้านธุรการเกี่ยวกับการประสานงานทั่วไป เกี่ยวกับระเบียบข้าราชการ ระเบียนนักศึกษา

การประชาสัมพันธ์ การประสานงานทั่วไป ตลอดจนการเงินสถาบัน การจัดแบ่งคณะและภาควิชาจัดแบ่งดังนี้

๒. คณะวิศวกรรมศาสตร์ธนบุรี เปิดสอนภาควิชา

  • วิศวกรรมไฟฟ้า
  • วิศวกรรมเครื่องกล
  • วิศวกรรมโยธา
  • วิศวกรรมอุตสาหการ

ผู้ศึกษาครบตามหลักสูตร ๒ ปี จะได้รับปริญญาวิศวกรรมศาสตร์ ใช้อักษรย่อ วศ.บ. (B.Eng.)

๓. คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรมและวิทยาศาสตร์ธนบุรี เปิดสอนภาควิชาเช่นเดียวกับคณะวิศวกรรมศาสตร์

แต่ผู้จบการศึกษาระดับปริญญาในคณะนี้จะได้รับปริญญาครุศาสตร์และอุตสาหกรรม ใช้อักษรย่อว่า ค.อ.บ. (B.S.I.Ed.)

๔. คณะวิศวกรรมศาสตร์พระนครเหนือ เปิดสอนภาควิชา

  • วิศวกรรมเครื่องกล
  • วิศวกรรมไฟฟ้า
  • เทคนิคอุตสาหกรรม

๓.๑ ผู้ศึกษาครบตามหลักสูตร ๒ ปี จะได้รับปริญญาวิศวกรรมศาสตร์บัณฑิต ใช้อักษรย่อ ว.ศ.บ. (B.Eng.)

๓.๒ ผู้ศึกษาครบตามหลักสูตร ๒ ปี ของภาควิชาเทคนิคอุตสาหกรรม จะได้รับปริญญาอุตสาหกรรมศาสตร์บัณฑิต ใช้อักษรย่อว่า อส.บ. (B.Ind. Technology)

๕. คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรมและวิทยาศาสตร์พระนครเหนือ เปิดสอนภาควิชา

  • ครุศาสตร์อุตสาหกรรมเครื่องกล
  • ครุศาสตร์อุตสาหกรรมไฟฟ้า

ผู้ศึกษาครบตามหลักสูตร ๒ ปี จะได้รับปริญญาครุศาสตร์อุตสาหกรรมบัณฑิต ใช้อักษรย่อว่า ค.อ.บ. (B.S.I.Ed.)

๖. คณะวิศวกรรมศาสตร์นนบุรี เปิดสอนภาควิชา

  • วิศวกรรมไฟฟ้า (โทรคมนาคม)

ผู้ศึกษาครบตามหลักสูตร ๒ ปี จะได้รับปริญญาวิศวกรรมศาสตร์บัณฑิต ใช้อักษรย่อว่า ว.ศ.บ. (B.Eng.) สาขาวิชาไฟฟ้าโทรคมนาคม

๗. คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ เปิดสอนภาควิชา

  • สถาปัตยกรรมศาสตร์
  • มัณฑนศิลป์
  • ศิลปอุตสาหกรรม

ผู้ศึกษาครบตามหลักสูตร ๒ ปี จะได้รับปริญญาสถาปัตยกรรมศาสตร์บัณฑิต ใช้อักษรย่อว่า สถ.บ. (B.Arch.)

ภาควิชาครุศาสตร์นนทบุรี เปิดสอนสาขาวิชา

  • ไฟฟ้าโทรคมนาคม
  • สถาปัตยกรรม
  • มัณฑนศิลป์
  • ศิลปอุตสาหกรรม

ผู้ศึกษาครบหลักสูตร ๒ ปี จะได้รับปริญญาครุศาสตร์อุตสาหกรรมบัณฑิต ใช้อักษรย่อว่า ค.อ.บ. (B.S.I.Ed.)

การแยกสถาบัน

แก้

จุดเริ่มต้นการแยกเป็นสามสถาบันเริ่มตั้งแต่ พ.ศ. 2524 ในการสรรหาอธิการบดีใหม่ เนื่องจากทั้งสามวิทยาเขตมีความแตกต่างกันหลายประการ ทั้งความเป็นมา ปรัชญา และวิธีการจัดการศึกษา[6] และมีปัญหาในการสรรหาสรรหาอธิการบดีคนใหม่[6] เมื่อตำแหน่งอธิการบดีว่างลงใน พ.ศ. 2526 จึงให้รองอธิการบดีประจำวิทยาเขตผลัดกันเป็นผู้รักษาการแทนอธิการบดี คนละ 3 เดือนไปพลางก่อน ระหว่างที่ข้อเสนอเพื่อแยกวิทยาเขตออกจากกันเป็นอิสระโดยออกเป็นกฎหมายอยู่ระหว่างการพิจารณา[7] กระบวนการนี้ยืดเยื้อยาวนาน เพราะมีการเสนอโครงสร้างหลายรูปแบบ แม้กฎหมายผ่านสภาผู้แทนราษฎรไปแล้วแต่วุฒิสภากลับไม่รับหลักการ[8] ในที่สุดพระราชบัญญัติดังกล่าวก็ประกาศในราชกิจจานุเบกษาเมื่อ 19 กุมภาพันธ์ 2529[9] เป็นจุดสิ้นสุดของสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าที่มีอายุเกือบ 15 ปี และทำให้เกิดสถาบันอุดมศึกษาของรัฐ สังกัดทบวงมหาวิทยาลัย ที่เป็นอิสระต่อกันสามแห่งได้แก่

สัญลักษณ์

แก้
  • ได้รับพระราชทานพระมหากรุณาธิคุณโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมพระราชทานนาม เมื่อวันที่ 28 พฤษภาคม พ.ศ. 2514 [13]

ภาษาไทย "สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้า" ภาษาอังกฤษ "King Mongkut's Institute of Technology"

  • ได้รับพระราชทานพระบรมราชานุญาตเชิญ “พระมหามงกุฏ” เป็นตราสัญลักษณ์ประจำสถาบัน เมื่อวันที่ 24 ธันวาคม พ.ศ. 2514


ทำเนียบผู้บริหาร

แก้

นายกสภา

แก้
  1. นายสุกิจ นิมมานเหมินทร์ (4 กุมภาพันธ์ 2514 – 16 พฤศจิกายน 2514)
  2. นายบุญถิ่น อัตถากร (17 พฤศจิกายน 2514 – 18 ธันวาคม 2515)
  3. นายอภัย จันทวิมล (19 ธันวาคม 2515 – 29 พฤษภาคม 2517)
  4. นายเกรียง กีรติกร (30 พฤษภาคม 2517 – 28 มิถุนายน 2517)
  5. นายเกษม สุวรรณกุล (29 มิถุนายน 2517 – 25 มกราคม 2518)
  6. พลเรือตรี ชลี สินธุโสภณ (26 มกราคม 2518 – 13 มกราคม 2521)
  7. นายจำรัส ฉายะพงศ์ (14 มกราคม 2521 – 30 มิถุนายน 2531)

อธิการบดี

แก้
  1. ศาสตราจารย์ ดร.พงศ์ศักดิ์ วรสุนทรโรสถ (22 ธันวาคม 2514 - 1 ตุลาคม 2521) (ประสบอุบัติเหตุเสียชีวิต)
  2. ศาสตราจารย์ ดร.บุญญศักดิ์ ใจจงกิจ (3 พฤศจิกายน 2521 - 22 สิงหาคม 2526) (สภาสถาบันอนุมัติให้ลาออก)

มีการประชุมสภาสถาบันเมื่อ 13 สิงหาคม 2524 เพื่อสรรหาอธิการบดีในวาระต่อไปแต่ไม่อาจตกลงกันได้ เป็นวิกฤตการบริหารงานและนำมาซึ่งการปรับโครงสร้าง แยกเป็นสามสถาบันอุดมศึกษาอิสระใน พ.ศ. 2529 หลังจากสภาสถาบันอนุมัติให้ ศาสตราจารย์บุญญศักดิ์ ใจจงกิจ ลาออก จึงกำหนดให้รองอธิการบดีประจำวิทยาเขตผลัดกันเป็นผู้รักษาการแทนอธิการบดี คนละ 3 เดือน

ความสัมพันธ์ในปัจจุบันระหว่างสามสถาบัน

แก้

งานกีฬาและฟุตบอลประเพณี 3 พระจอมเกล้า

แก้

งานกีฬาและฟุตบอลประเพณี 3 พระจอมเกล้า ประเพณี 3K ซึ่งจะถูกจัดขึ้นในทุกปี เป็นการแข่งขันกีฬาและฟุตบอล ของนักศึกษา จากสถาบันการศึกษาพระจอมเกล้าทั้ง 3 โดยผลัดเปลี่ยนหมุนเวียนกันเป็นเจ้าภาพ เพื่อความสามัคคี และเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน ของชาวพระจอมเกล้าฯ ทั้ง 3


พิธีพระราชทานปริญญาบัตร

แก้

พิธีรับพระราชทานปริญญาบัตรของบัณฑิตทั้งสามสถาบันนั้น จะจัดร่วมกัน

พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร และ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง พระราชทานปริญญาบัตรแก่ผู้สำเร็จการศึกษา จาก สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้า ครั้งแรก ประจำปีการศึกษา 2510-2514 จำนวน 468 คน ณ หอประชุมคุรุสภา กระทรวงศึกษาธิการ เมื่อวันพุธที่ 18 ตุลาคม พ.ศ. 2515


บทเพลงประจำสถาบันร่วมกัน

แก้

ได้เแก่บทเพลงสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าฯ และบทเพลงลูกพระจอมเกล้า

อ้างอิง

แก้
  1. พระราชบัญญัติสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้า พ.ศ. 2514 ราชกิจจานุเบกษา ฉบับพิเศษ เล่ม 88 ตอนที่ 43 วันที่ 23 เมษายน 2514
  2. ประกาศ กระทรวงศึกษาธิการ เรื่อง ให้ วิทยาลัยวิชาการก่อสร้างรวมเข้ากับ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้า
  3. http://archive.lib.kmutt.ac.th/index.php?option=com_content&view=article&id=169%3A2010-01-19-13-10-23&catid=47%3A2010-01-19-13-06-25&Itemid=66&limitstart=2
  4. พระราชบัญญัติสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้า (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๑๗ ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 91 ตอนที่ 112 ฉบับพิเศษ
  5. พระราชบัญญัติสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้า (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๒๒
  6. 6.0 6.1 http://archive.lib.kmutt.ac.th/index.php?option=com_content&view=article&id=169%3A2010-01-19-13-10-23&catid=47%3A2010-01-19-13-06-25&Itemid=66&limitstart=4
  7. http://archive.lib.kmutt.ac.th/index.php?option=com_content&view=article&id=169%3A2010-01-19-13-10-23&catid=47%3A2010-01-19-13-06-25&Itemid=66&limitstart=5
  8. http://archive.lib.kmutt.ac.th/index.php?option=com_content&view=article&id=169%3A2010-01-19-13-10-23&catid=47%3A2010-01-19-13-06-25&Itemid=66&limitstart=5 ที่ประชุมวุฒิสภา ครั้งที่ 10/2528 (สมัยสามัญ)
  9. พระราชบัญญัติสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี และสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ พ.ศ. ๒๕๒๘ ราชกิจจานุเบกษา
  10. พระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี พ.ศ. ๒๕๔๑ ราชกิจจานุเบกษา
  11. พระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ พ.ศ. ๒๕๕๐ ราชกิจจานุเบกษา
  12. พระราชบัญญัติสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง พ.ศ. ๒๕๕๑ ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๕ ตอนที่ ๔๕ ก ๗ มีนาคม ๒๕๕๑ หน้า ๙๕-๑๒๔
  13. http://archive.lib.kmutt.ac.th index.php?option=com_content&view=article&id=169%3A2010-01-19-13-10-23&catid=47%3A2010-01-19-13-06-25&Itemid=66&limitstart=2