มหาวิทยาลัยฮิตตสึบาชิ

มหาวิทยาลัยและวิทยาลัยในโตเกียว

มหาวิทยาลัยฮิตตสึบาชิ (ญี่ปุ่น: 一橋大学โรมาจิHitotsubashi Daigaku) หรือย่อว่า (ญี่ปุ่น: 一橋大โรมาจิHitotsubashidai) เป็นมหาวิทยาลัยในจังหวัดโตเกียวที่เปิดสอนเฉพาะวิชาด้านสังคมศาสตร์ ก่อตั้งเมื่อปี พ.ศ. 2418 ปัจจุบันมีนักศึกษาประมาณ 6,500 คน ประกอบด้วยสามศูนย์ คือคูนิตาจิ โคไดระ และคันดะ

มหาวิทยาลัยฮิตตสึบาชิ
ชื่อย่อฮิตตสึบาชิได
ประเภทมหาวิทยาลัยรัฐ
สถาปนาพ.ศ. 2418
ที่ตั้ง
เว็บไซต์www.hit-u.ac.jp
หอนาฬิกามหาวิทยาลัยฮิตตสึบาชิ

ถึงแม้จะเป็นเพียงมหาวิทยาลัยขนาดเล็กที่มีคณะเพียง 4 คณะ แต่ก็ถือว่าเป็นหนึ่งในมหาวิทยาลัยชั้นนำที่มีชื่อเสียงมากที่สุดแห่งหนึ่งของประเทศญี่ปุ่น จึงทำให้จัดอันดับจากโรงเรียนกวดวิชาต่าง ๆ ให้เป็นหนึ่งในมหาวิทยาลัยรัฐที่สอบเข้าได้ยากที่สุด[1]

การศึกษาจะเน้นระบบเซมินาร์ซึ่งเปิดโอกาสให้นักศึกษาอภิปรายภายในกลุ่มเล็ก ๆ จำนวน 10-15 คน มหาวิทยาลัยฮิตตสึบาชิเป็นมหาวิทยาลัยแห่งแรกในประเทศญี่ปุ่นที่นำระบบเซมินาร์มาใช้ และยังให้เป็นวิชาบังคับจนปัจจุบัน

ประวัติ แก้

 
หอประชุมมหาวิทยาลัยฮิตตสึบาชิ

เริ่มก่อตั้งขึ้นในปี พ.ศ. 2418 โดยแต่เดิมชื่อสถาบันฝึกอบรมธุรกิจ (ญี่ปุ่น: 商法講習所โรมาจิShoho Koshujo) โดยมีจุดประสงค์เพื่อการสร้างทรัพยากรมนุษย์ที่จะสามารถเป็นผู้นำในอุตสาหกรรมต่าง ๆ ดั่งปรัชญาของมหาวิทยาลัยว่า "Captains of Industry" ต่อมาได้เปลี่ยนเป็นมหาวิทยาลัยฮิตตสึบาชิในปี พ.ศ. 2472 ประกอบด้วย 3 คณะ ได้แก่ คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี คณะเศรษฐศาสตร์ และ คณะนิติสังคมศาสตร์ ในปี พ.ศ. 2494 คณะนิติสังคมศาสตร์จึงแยกออกเป็นคณะนิติศาสตร์และสังคมศาสตร์

ภายหลังมีการก่อตั้งบัณฑิตวิทยาลัยภาษาและสังคมวิทยา (พ.ศ. 2539), ศูนย์วิจัยนวัตกรรม (พ.ศ. 2540), บัณฑิตวิทยาลัยบริหารธุรกิจนานาชาติ (พ.ศ. 2541), บัณฑิตวิทยาลัยเพื่อการวางนโยบายสาธารณะ (พ.ศ. 2548) ตามลำดับ

สัญลักษณ์ แก้

สัญลักษณ์ของมหาวิทยาลัยฮิตตสึบาชิคือไม้เท้าของเทพเมอร์คิวรี่ซึ่งเป็นเทพเจ้าแห่งการค้า มีตัวอักษร ซี 2 ตัว ซึ่งย่อมาจาก “Commercial College” และงูซึ่งแสดงถึงความฉลาดเฉลียว

คณะและบัณฑิตวิทยาลัย แก้

คณะ แก้

  • พาณิชยศาสตร์และการบัญชี
  • เศรษฐศาสตร์
  • นิติศาสตร์
  • สังคมศาสตร์

บัณฑิตวิทยาลัย แก้

  • พาณิชยศาสตร์และการบัญชี
  • เศรษฐศาสตร์
  • นิติศาสตร์
  • สังคมศาสตร์
  • ภาษาและสังคมวิทยา
  • บริหารธุรกิจนานาชาติ (ICS) ซึ่งมีการเปิดสอนหลักสูตรภาษาอังกฤษ
  • นโยบายสาธารณะ

สถาบันวิจัย แก้

  • ศูนย์วิจัยนวัตกรรม
  • สถาบันวิจัยเศรษฐศาสตร์

ความร่วมมือกับมหาวิทยาลัยอื่น แก้

อ้างอิง แก้

  1. [1] เก็บถาวร 2011-04-22 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน.การจัดลำดับความยากในการสอบเข้ามหาวิทยาลัยรัฐ. โรงเรียนกวดวิชา Yoyogi Seminar(ญี่ปุ่น)
  2. "Academic Cooperation Agreements (University Agreements)". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-10-21. สืบค้นเมื่อ 2008-06-12.(อังกฤษ)

แหล่งข้อมูลอื่น แก้

35°41′37″N 139°26′42″E / 35.69374°N 139.44509°E / 35.69374; 139.44509