พรรคเสรีประชาธิปไตย (ญี่ปุ่น)
พรรคเสรีประชาธิปไตย (Liberal Democratic Party; ญี่ปุ่น: 自由民主党; โรมาจิ: Jiyū-Minshutō) มักนิยมย่อว่า พรรคแอลดีพี (LDP) หรือ พรรคจิมินโต (ญี่ปุ่น: 自民党; โรมาจิ: Jimintō) เป็นพรรคการเมืองหลักฝ่ายอนุรักษนิยม[7][12][13][14][15]ของญี่ปุ่น เป็นหนึ่งในพรรคที่ประสบความสำเร็จมากที่สุดพรรคหนึ่งของโลก โดยพรรคเสรีประชาธิปไตยครองเสียงข้างมากในรัฐสภาญี่ปุ่นมาอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ปี 2498 ยกเว้นช่วงเวลาสั้น ๆ ตั้งแต่ปี 2536 ถึง 2537 และช่วงปี 2552 ถึง 2555 พรรคเสรีประชาธิปไตยกลับมาครองเสียงข้างมากในรัฐสภาภายหลังการเลือกตั้งทั่วไปในญี่ปุ่น พ.ศ. 2557 และครองเสียงข้างมากทั้งในวุฒิสภาและในสภาผู้แทนราษฎร
พรรคเสรีประชาธิปไตย 自由民主党 Jiyū-Minshutō | |
---|---|
ประธานพรรค | ชิเงรุ อิชิบะ |
รองประธานพรรค | โยชิฮิเดะ ซูงะ |
เลขาธิการพรรค | โทชิฮิโระ นิไคย |
ประธานวุฒิสภา | มาซาคาซุ เซกิงุจี |
ก่อตั้ง | 15 พฤศจิกายน ค.ศ. 1955 |
ที่ทำการ | 11-23, Nagata-cho 1-chome, ชิโยะดะ, โตเกียว 100-8910, Japan |
หนังสือพิมพ์ | จิยู มินชู |
สมาชิกภาพ (ปี 2019) | 1,086,298 (ณ วันที่ 31 ธันวาคม ค.ศ. 2019) |
อุดมการณ์ | อนุรักษนิยม[1] ชาตินิยมญี่ปุ่น[2][3] ประชานิยมฝ่ายขวา[4][5][6] |
จุดยืน | ขวา[7][8][9][10] |
กลุ่มระดับสากล | ไม่มี |
สี | สีเขียว และ สีแดง |
วุฒิสมาชิก | 113 / 245
|
สภาชิกสภาผู้แทนราษฎร | 285 / 465
|
สมาชิกสภาจังหวัดทั่วประเทศ[11] | 1,301 / 2,668
|
สภาชิกสภาเทศบาลทั่วประเทศ[11] | 2,180 / 29,762
|
เว็บไซต์ | |
jimin.jp | |
สัญลักษณ์การเลือกตั้ง | |
การเมืองญี่ปุ่น รายชื่อพรรคการเมือง การเลือกตั้ง |
ประวัติของพรรค
แก้พรรคเสรีประชาธิปไตยของญี่ปุ่นถือกำเนิดขึ้นเมื่อพ.ศ. 2498 จากการรวมตัวของสองพรรคได้แก่ พรรคเสรีนิยม (Liberal Party; ญี่ปุ่น: 自由党; โรมาจิ: Jiyutō) ซึ่งนำโดยนายโยะชิดะ ชิเงะรุ (ญี่ปุ่น: 吉田茂; โรมาจิ: Yoshida Shigeru) และพรรคประชาธิปไตยญี่ปุ่น (Japan Democratic Party; ญี่ปุ่น: 日本民主党; โรมาจิ: Nihon Minshutō) ของนายฮะโตะยะมะ อิชิโร่ (ญี่ปุ่น: 鳩山一郎; โรมาจิ: Hatoyama Ichirō) ในช่วงหลังสงครามโลกครั้งที่สอง อันเป็นการรวมตัวกันของพรรคอนุรักษนิยมฝ่ายขวาขนาดใหญ่ทั้งสองพรรค เพื่อเป็นการต่อต้านพรรคฝ่ายซ้ายอื่นๆในญี่ปุ่นขณะนั้นเช่น พรรคสังคมนิยมญี่ปุ่น (Japan Socialist Party; ญี่ปุ่น: 日本社会党; โรมาจิ: Nihon Shakaitō) หรือ พรรคคอมมิวนิสต์ญี่ปุ่น (Japan Communist Party; ญี่ปุ่น: 日本共産党; โรมาจิ: Nihon Kyōsantō) ในสมัยต่อมาหนังสือพิมพ์นิวยอร์กไทมส์[16]ของสหรัฐอเมริกาได้เปิดเผยว่า ในช่วงสงครามเย็น สำนักข่าวกรองกลางหรือ CIA ของสหรัฐอเมริกาได้ใช้เงินจำนวนหลายล้านดอลลาร์ในการทำให้พรรคเสรีนิยมประชาธิปไตยชนะการเลือกตั้ง เพื่อเป็นการป้องกันมิให้ลัทธิคอมมิวนิสต์รุ่งเรืองขึ้นในญี่ปุ่น[17][18]
ตลอดช่วงเวลาเกือบหกสิบปีในการบริหารประเทศของพรรคเสรีประชาธิปไตย พรรคเสรีประชาธิปไตยได้นำพาญี่ปุ่นผ่านความรุ่งเรืองและวิกฤตการต่างๆ ในช่วงสงครามเย็นเศรษฐกิจญี่ปุ่นเติบโตอย่างรวดเร็ว เรียกว่า ปาฏิหาริย์ทางเศรษฐกิจ (Economic Miracle) โดยมีความสัมพันธ์อันแน่นแฟ้นระหว่างฝ่ายนักการเมืองในรัฐบาลและฝ่ายบริษัทขนาดใหญ่ ความสอดคล้องระหว่างนโยบายของรัฐกับความต้องการของเอกชน และการแทรกแซงของรัฐเป็นปัจจัยที่สำคัญ นอกจากนี้พรรคเสรีประชาธิปไตยนโยบายส่งเสริมช่วยเหลือสวัสดิการแก่คนยากจน ทำให้พรรคเสรีประชาธิปไตยได้รับการสนับสนุนจากทุกส่วนของสังคมญี่ปุ่น
อย่างไรก็ตาม เศรษฐกิจญี่ปุ่นเผชิญปัญหาหยุดนิ่งและตกต่ำในช่วงทศวรรษที่ 1990 อันเนื่องมาจากการกีดกันทางการค้าจากสหรัฐอเมริกา และการแข็งตัวของค่าเงินเย็นเมื่อเทียบกับเงินดอลลาร์ ทำให้ญี่ปุ่นเข้าสู่ช่วงเวลา "สิบปีแห่งความสูญเปล่า" (Lost Decade) ความนิยมในพรรคเสรีประชาธิปไตยลดลงอย่างมาก ทำให้พรรคญี่ปุ่นใหม่ (Japan New Party; ญี่ปุ่น: 日本新党; โรมาจิ: Nihon Shintō) ซึ่งแยกตัวออกมาจากพรรคเสรีประชาธิปไตยสามารถเอาชนะพรรคเสรีประชาธิปไตยในการเลือกตั้งปี 2536 ได้ เป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์หลังสงครามโลกครั้งที่สองที่พรรคเสรีประชาธิปไตยสูญเสียเสียงข้างมากในรัฐสภาให้แก่พรรคอื่นและกลายเป็นพรรคฝ่ายค้าน อย่างไรก็ตามเหตุการณ์เป็นอยู่ในช่วงเวลาเพียงแค่ 11 เดือนเท่านั้น การเลือกตั้งในปี 2537 พรรคเสรีประชาธิปไตยสามารถกอบกู้เสียงข้างมากกลับมาเป็นรัฐบาลได้อีกครั้ง
สมัยของนายกรัฐมนตรีจุงอิชิโร โคะอิซุมิ (ญี่ปุ่น: 小泉 純一郎; โรมาจิ: Koizumi Jun'ichirō) ตั้งแต่ปี 2544 ถึง 2549 สร้างปรากฏการณ์ใหม่ให้แก่ญี่ปุ่นและพรรคเสรีประชาธิปไตย โดยการเปลี่ยนนโยบายเศรษฐกิจของพรรคจากที่เน้นการแทรกแซงของรัฐบาลมาเป็นการเน้นการค้าเสรีและกลไกตลาด อันเป็นผลทำให้ญี่ปุ่นสามารถฟื้นตัวจากความตกต่ำทางเศรษฐกิจได้ และนายกรัฐมนตรีโคะอิซุมิยังมีนโยบายชาตินิยมโดยมีความพยายามที่จะฟื้นฟูอำนาจทางการทหารของญี่ปุ่นขึ้นมาใหม่ และการเดินทางไปยังศาลเจ้ายะซุกุนิซึ่งได้รับการประท้วงจากประเทศต่างๆในเอเชีย อย่างไรก็ตามด้วยนโยบายทางเศรษฐกิจของนายโคะอิซุมิทำให้พรรคเสรีประชาธิปไตยได้รับความนิยมอย่างกว้างขวางอีกครั้ง
อุดมการณ์ของพรรค
แก้พรรคเสรีประชาธิปไตยของญี่ปุ่นมิได้มีหลักปรัชญาทางการเมืองหรืออุดมการณ์ที่ชัดเจน อันเนื่องมากจากระยะเวลาอันยาวนานในการบริหารประเทศทำให้พรรคเสรีประชาธิปไตยมีความหลากหลายทางด้านนโยบาย อย่างไรก็ตามตลอดระยะเวลาเกือบหกสิบปีที่ผ่านมาทำให้อาจสรุปได้ว่า นับตั้งแต่สมัยของนายกรัฐมนตรีจุงอิชิโร โคะอิซุมิเป็นต้นมา พรรคเสรีประชาธิปไตยมีนโยบายเน้นการค้าเสรีเป็นหลัก ส่งเสริมกลไลตลาดโดยมีการแทรกแซงของรัฐบาลให้น้อยที่สุด และมีนโยบายสานสัมพันธ์อันดีกับสหรัฐอเมริกา รวมทั้งพึ่งพิงสหรัฐอเมริกาในด้านการทหารและการต่างประเทศ และมีนโยบายชาตินิยมขวาจัด เน้นเชิดชูสถานะทางจิตวิญญาณของสมเด็จพระจักรพรรดิ์ กับการฟื้นฟูสถานะและขีดความสามารถในทางการทหาร ซึ่งแสดงออกโดยการเยือนศาลเจ้ายะซุกุนิของนายกรัฐมนตรีญี่ปุ่นเป็นประจำทุกปี และการเสนอแก้ไขรัฐธรรมนูญ มาตรา 9 (ซึ่งจำกัดบทบาททางการทหารของกองกำลังป้องกันตนเอง) จนเป็นสาเหตุของความไม่พอใจแก่ประเทศต่างๆในเอเชียตะวันออก
สถานการณ์ของพรรคในปัจจุบัน
แก้หลังจากที่ได้ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีจนครบสองวาระในพ.ศ. 2549 นายกรัฐมนตรีจุงอิชิโร โคะอิซุมิ ตัดสินใจที่จะยุติบทบาททางการเมืองและส่งนายชินโซ อะเบะ (ญี่ปุ่น: 安倍晋三; โรมาจิ: Abe Shinzō) เข้าชิงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีในการเลือกตั้งเดือนกันยายนปี 2549 นายชินโซ อะเบะ ได้รับการเลือกตั้งด้วยความนิยมในพรรคเสรีประชาธิปไตยอันเนื่องมาจากความสำเร็จของอดีตนายกรัฐมนตรีโคะอิซุมิ แต่ทว่าหลังจากที่ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีได้เพียงหนึ่งปี นายชินโซ อะเบะ ก็ต้องลาออกจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรีและหัวหน้าพรรค อันเนื่องมาจากประเด็นการคอรัปชั่นที่นำไปสู่การอัตวินิบาตกรรมของรัฐมนตรีกระทรวงเกษตร และการเลือกตั้งวุฒิสมาชิกปี 2550 พรรคเสรีประชาธิปไตยสูญเสียเสียงข้างมากในวุฒิสภาให้แก่พรรคประชาธิปไตยญี่ปุ่น (Japan Democratic Party)
ในเดือนกันยายน 2550 นายยะซุโอะ ฟุกุดะ (ญี่ปุ่น: 福田康夫; โรมาจิ: Fukuda Yasuo) เข้าดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีแทนนายอะเบะ แต่นายกรัฐมนตรีฟุกุดะต้องประสบกับปัญหาความขัดแย้งระหว่างสภาผู้แทนราษฎร ซึ่งมีพรรคเสรีประชาธิปไตยเป็นเสียงส่วนใหญ่ และวุฒิสภาซึ่งมีพรรคประชาธิปไตยญี่ปุ่นเป็นเสียงส่วนใหญ่ อีกหนึ่งปีต่อมาเดือนกันยายน 2551 นายฟุกุดะจึงลาออกจากตำแหน่งไปอีกคนหนึ่ง นายทะโร อะโซ (ญี่ปุ่น: 麻生太郎; โรมาจิ: Asō Tarō) เข้าดำรงตำแหน่งแทน ก็ประสบกับปัญหาเดียวกัน จนกระทั่งนายกรัฐมนตรีอะโซตัดสินใจยุบสภาในเดือนกันยายนพ.ศ. 2552
การเลือกตั้งทั่วไปปี 2552 ปรากฏว่าพรรคประชาธิปไตยญี่ปุ่นที่เป็นพรรคคู่แข่งได้รับเสียงข้างมากในสภาผู้แทนราษฎร ทำให้เป็นครั้งที่สองในประวัติศาสตร์ที่พรรคเสรีประชาธิปไตยต้องกลายเป็นพรรคฝ่ายค้าน และเป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์ที่พรรคเสรีประชาธิปไตยมีเสียงในสภาน้อยกว่าพรรคคู่แข่งฝั่งตรงข้ามพรรคเดียว[19] โดยพรรคประชาธิปไตยญี่ปุ่นได้เสียงในสภา 308 ที่นั่ง และพรรคเสรีประชาธิปไตยได้ 119 ที่นั่ง หลังจากที่สูญเสียอำนาจให้แก่พรรคประชาธิปไตยญี่ปุ่นเป็นเวลาสามปี การเลือกตั้งทั่วไปปี 2555 พรรคเสรีประชาธิปไตยกลับมาได้รับความนิยมคะแนนเสียงข้างมากอีกครั้ง โดยมีนายชินโซ อะเบะ ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีครั้งที่สอง
พรรคเสรีประชาธิปไตยยังคงชนะการเลือกตั้งในปี 2557 หลังจากมีการยุบสภาในปลายปีเดียวกัน[20] พรรคยังคงเอาชนะได้อย่างท่วมท้นจากครั้งที่แล้ว[21] โดยการเลือกตั้งครั้งนี้มีผู้ใช้สิทธิ์น้อยที่สุดในประวัติศาสตร์ และในปี 2560 หลังจากยุบสภา พรรคเสรีประชาธิปไตยนำโดยนายอะเบะยังคงเอาชนะได้อีกครั้ง หลังจากพรรคประชาธิปไตยญี่ปุ่นถูกยุบไป ก่อนที่ในปี 2563 อะเบะจะตัดสินใจลาออกด้วยปัญหาสุขภาพ และพรรคเลือกโยชิฮิเดะ ซูงะ ขึ้นมาเป็นนายกรัฐมนตรีคนใหม่ โดยผ่านเหตุการณ์สำคัญคือโอลิมปิกฤดูร้อน 2020 ที่เลื่อนมาหนึ่งปีด้วยวิกฤติโควิด-19 แพร่ระบาดในญี่ปุ่น
ซูงะอยู่ถึงเดือนตุลาคม 2564 หลังจากนั้นเขาจึงประกาศลาออกจากตำแหน่ง พรรคจึงเปิดทางให้ฟูมิโอะ คิชิดะ ขึ้นดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีเป็นคนที่สามในเทอมการเลือกตั้งครั้งเดียว ไม่นานหลังจากนั้นมีการเลือกตั้งอีกครั้งตามวาระ ก่อนที่เขาและพรรคเสรีประชาธิปไตยจะเอาชนะการเลือกตั้งได้อีกครั้ง
อ้างอิง
แก้- ↑ Karan, Pradyumna P. (2005), Japan in the 21st century: environment, economy, and society, University Press of Kentucky
- ↑ http://bigstory.ap.org/article/japans-abe-may-push-nationalism-after-election เก็บถาวร 2013-10-14 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน "Liberal Democratic Party (LDP) to push their nationalist agenda"
- ↑ http://www.philstar.com/world/2013/07/21/995641/japan-upper-house-vote-set-ruling-blocs-power "power to push through his party's nationalist platform"
- ↑ Neo-Liberal Populism in Japan--Koizumi's Success in the LDP Presidential Election in Comparative Perspective (in Japanese), Okumi H.
- ↑ http://journals.cambridge.org/action/displayAbstract;jsessionid=F4C1DFFC93B6FEEB769C932AAC674A97.tomcat1?fromPage=online&aid=942948 How Junichiro Koizumi seized the leadership of Japan's Liberal Democratic Party, IKUO KABASHIMA and GILL STEEL, Japanese Journal of Political Science, Cambridge Journals Online
- ↑ http://www.nytimes.com/2008/09/17/world/asia/17japan.html Memo From Tokyo - Populist Appeals in Election, and Claims of Political Theater , MARTIN FACKLER, New York Times, September 16, 2008
- ↑ 7.0 7.1 Roger Blanpain; Michele Tiraboschi (2008). The Global Labour Market: From Globalization to Flexicurity. Kluwer Law International. pp. 268–. ISBN 978-90-411-2722-8.
- ↑ Ludger Helms (18 October 2013). Parliamentary Opposition in Old and New Democracies. Routledge. pp. 97–. ISBN 978-1-317-97031-6.
- ↑ Jeffrey Henderson; William Goodwin Aurelio Professor of Greek Language and Literature Jeffrey Henderson (11 February 2011). East Asian Transformation: On the Political Economy of Dynamism, Governance and Crisis. Taylor & Francis. pp. 54–. ISBN 978-1-136-84113-2.
- ↑ Peter Davies; Derek Lynch (16 August 2005). The Routledge Companion to Fascism and the Far Right. Routledge. pp. 236–. ISBN 978-1-134-60952-9.
- ↑ 11.0 11.1 Ministry of Internal Affairs and Communications: Prefectural and local assembly members and governors/mayors by political party as of December 31, 2011
- ↑ Jeff Kingston (26 November 2013). Japan in Transformation, 1945-2010. Routledge. pp. 19–. ISBN 978-1-317-86192-8.
- ↑ Larry Diamond; Richard Gunther (26 December 2001). Political Parties and Democracy. JHU Press. pp. 145–. ISBN 978-0-8018-6863-4.
- ↑ Paul W. Zagorski (10 September 2012). Comparative Politics: Continuity and Breakdown in the Contemporary World. Routledge. pp. 111–. ISBN 978-1-135-96979-0.
- ↑ Christensen, Ray (2000), Ending the LDP Hegemony: Party Cooperation in Japan, University of Hawaii Press, p. 232
- ↑ Johnson, Chalmers (1995). "The 1955 System and the American Connection: A Bibliographic Introduction". JPRI Working Paper No. 11. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-07-25. สืบค้นเมื่อ 2014-04-12.
- ↑ Weiner, Tim (1994-10-09). "C.I.A. Spent Millions to Support Japanese Right in 50's and 60's". New York Times. สืบค้นเมื่อ 2007-12-29.
- ↑ "Foreign Relations of the United States, 1964-1968, Vol. XXIX, Part 2, Japan". United States Department of State. 2006-07-18. สืบค้นเมื่อ 2007-12-29.
- ↑ https://www.japantimes.co.jp/news/2009/08/31/national/in-landslide-dpj-wins-over-300-seats/
- ↑ https://www.bbc.com/news/world-asia-30140593
- ↑ https://www.reuters.com/article/us-japan-election-idUSKBN0JR0N920141215