สภานิติบัญญัติแห่งชาติ (ญี่ปุ่น)

สภานิติบัญญัติของประเทศญี่ปุ่น

สภานิติบัญญัติแห่งชาติ (ญี่ปุ่น: 国会โรมาจิKokkai, อังกฤษ: National Diet) เป็นฝ่ายนิติบัญญัติของญี่ปุ่นประกอบด้วยสองสภาคือ สภาล่างเรียกว่า สภาผู้แทนราษฎร และสภาสูงเรียกว่า วุฒิสภา สมาชิกของสภาทั้งสองมาจากระบบการเลือกตั้งแบบคู่ขนาน สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรมีวาระ 4 ปี ส่วนสมาชิกวุฒิสภามีวาระ 6 ปี และนอกเหนือไปจากการพิจารณากฎหมายต่าง ๆ แล้ว สภานิติบัญญัติแห่งชาติยังมีหน้าที่เลือกนายกรัฐมนตรี สภาฯ ของญี่ปุ่นประชุมครั้งแรกในชื่อ สภานิติบัญญัติแห่งสมเด็จพระจักรพรรดิ เมื่อ พ.ศ. 2432 รูปแบบและโครงสร้างของสภาในปัจจุบันนั้นจัดตั้งขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2490 สองปีหลังสิ้นสงครามโลกครั้งที่สอง สภาในรูปแบบนี้เองที่รัฐธรรมนูญถือว่าเป็นองค์กรอำนาจสูงสุดของรัฐ มีตั้งอยู่ที่ อาคารสภานิติบัญญัติแห่งชาติ ในเขตชิโยดะ มหานครโตเกียว

สภานิติบัญญัติแห่งชาติ

国会

Kokkai
สมัยประชุมสามัญที่ 208
ประเภท
ประเภท
องค์ประกอบ
ผู้บริหาร
ฮิโรยูกิ โฮโซดะ, LDP
ตั้งแต่ 10 พฤศจิกายน พ.ศ. 2564
อากิโกะ ซันโต, LDP
ตั้งแต่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2561
โครงสร้าง
สมาชิก710
กลุ่มการเมืองใน
วุฒิสภา
รัฐบาล (139)
  •   LDPและสังกัดอิสระ (111)
  •   โคเมโต (28)

ฝ่ายค้าน (95)

กลุ่มการเมืองใน
สภาผู้แทนราษฎร
รัฐบาล (293)

ฝ่ายค้าน (162)

การเลือกตั้ง
การเลือกตั้งสมาชิกวุฒิสภาครั้งหน้า
25 กรกฎาคม พ.ศ. 2565 (ครั้งที่ 26)
การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรครั้งหน้า
31 ตุลาคม พ.ศ. 2568 (ครั้งที่ 50)
ที่ประชุม
อาคารสภานิติบัญญัติแห่งชาติ 1-7-1 นางาตาโจ เขตชิโยดะ โตเกียว ประเทศญี่ปุ่น
เว็บไซต์

อำนาจ

แก้

ตามมาตราที่ 41 แห่งรัฐธรรมนูญ ได้นิยามแก่สภานิติบัญญัติแห่งชาติไว้ว่าเป็น "องค์กรสูงสุดแห่งอำนาจรัฐ" และ "องค์กรออกกฎหมายแต่ผู้เดียวของรัฐ" ซึ่งบทบัญญัตินี้ได้แตกต่างกับรัฐธรรมนูญสมัยจักรวรรดิญี่ปุ่น ซึ่งได้บัญญัติให้องค์จักรพรรดิทรงเป็นผู้ใช้อำนาจนิติบัญญัติโดยความยินยอมของสภา และไม่เพียงแต่มีหน้าที่ในการพิจารณาเรื่องกฎหมายเท่านั้น แต่ยังรวมถึงการอนุมัติงบประมาณแผ่นดินประจำปีที่รัฐบาลเป็นผู้จัดทำมาเสนอต่อสภา นอกจากนี้สภานิติบัญญัติยังมีอำนาจในออกร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญ ซึ่งหากร่างแก้ไขฯได้รับการอนุมัติจากสภา ก็จะต้องดำเนินการให้ประชาชนลงประชามติ นอกเหนือไปจากนี้ สภานิติบัญญัติยังมีหน้าที่ "ตรวจสอบการทำงานที่เกี่ยวข้องกับรัฐบาล" (มาตรา 62)

นายกรัฐมนตรี จะต้องมาจากการเลือกตั้งโดยสภาผู้แทนราษฎร ซึ่งลักษณะแบบนี้ได้สร้างหลักการที่ว่ากฎหมายอยู่เหนือกว่าผู้บริหารขององค์กรของรัฐ (มาตรา 67) หรือก็คือ สภาสามารถถอดถอนนายกรัฐมนตรีและสมาชิกคณะรัฐมนตรีได้ ผ่านการอภิปรายไม่ไว้วางใจโดยการเข้าชื่อของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรอย่างน้อย 50 คน ซึ่งรัฐบาลมีหน้าที่ในการชี้แจงข้อกล่าวหารวมไปถึงคำถามจากสภาในการอภิปรายไม่ไว้วางใจ นอกจากนี้ สภายังมีอำนาจในการดำเนินคดีแก่ผู้พิพากษาที่ถูกตัดสินว่ากระทำผิดทางอาญา ทางวินัย หรือการกระทำที่มิชอบตามกฎหมาย[1]

อ้างอิง

แก้

แหล่งข้อมูลอื่น

แก้

35°40′33″N 139°44′42″E / 35.67583°N 139.74500°E / 35.67583; 139.74500