บารัก โอบามา

ประธานาธิบดีสหรัฐ ตั้งแต่ ค.ศ. 2009 ถึง 2017

บารัก ฮูเซน โอบามา ที่ 2 (อังกฤษ: Barack Hussein Obama II; เกิด 4 สิงหาคม ค.ศ. 1961) เป็นนักการเมืองชาวอเมริกัน ซึ่งดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีสหรัฐคนที่ 44 ตั้งแต่ ค.ศ. 2009–2017 เป็นประธานาธิบดีสหรัฐคนแรกที่เป็นชาวแอฟริกัน-อเมริกันและเกิดนอกสหรัฐแผ่นดินใหญ่ ก่อนหน้านั้น เขาเคยดำรงตำแหน่งสมาชิกวุฒิสภาสหรัฐรัฐอิลลินอยตั้งแต่ ค.ศ. 2005–2008 และสมาชิกวุฒิสภาอิลลินอยส์ตั้งแต่ ค.ศ. 1997–2004

บารัก โอบามา
Obama standing in the Oval Office with his arms folded and smiling
ภาพถ่ายทางการ ค.ศ. 2012
ประธานาธิบดีสหรัฐ คนที่ 44
ดำรงตำแหน่ง
20 มกราคม ค.ศ. 2009 – 20 มกราคม ค.ศ. 2017
รองประธานาธิบดีโจ ไบเดิน
ก่อนหน้าจอร์จ ดับเบิลยู. บุช
ถัดไปดอนัลด์ ทรัมป์
สมาชิกวุฒิสภาสหรัฐ
จาก รัฐอิลลินอย
ดำรงตำแหน่ง
3 มกราคม ค.ศ. 2005 – 16 พฤศจิกายน ค.ศ. 2008
ก่อนหน้าปีเตอร์ ฟิตซ์เจอรัลด์
ถัดไปโรแลนด์ เบอร์ริส
สมาชิกวุฒิสภารัฐอิลลินอย
จากเขตที่ 13
ดำรงตำแหน่ง
8 มกราคม ค.ศ. 1997 – 4 พฤศจิกายน ค.ศ. 2004
ก่อนหน้าอลิซ พาล์มเมอร์
ถัดไปความ ราอูล
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด
บารัก ฮูเซน โอบามา ที่ 2

(1961-08-04) 4 สิงหาคม ค.ศ. 1961 (63 ปี)
โฮโนลูลู รัฐฮาวาย สหรัฐ
พรรคการเมืองเดโมแครต
คู่สมรสมิเชลล์ โรบินสัน (สมรส 1992)
บุตร
บุพการี
ความสัมพันธ์ตระกูลโอบามา
การศึกษา
อาชีพ
  • นักการเมือง
  • ทนายความ
  • นักเขียน
รางวัลรายการทั้งหมด
ลายมือชื่อCursive signature in ink
เว็บไซต์

โอบามาเกิด ณ โฮโนลูลู รัฐฮาวาย เวลานั้น ฮาวายเพิ่งผนวกเข้าสหรัฐในฐานะรัฐที่ 50 ได้ 2 ปี โอบามาใช้ชีวิตส่วนใหญ่อยู่ในฮาวาย แต่วัยเด็กไปอยู่รัฐวอชิงตัน 1 ปี และอินโดนีเซียอีก 4 ปี เมื่อสำเร็จการศึกษาจากมหาวิทยาลัยโคลัมเบียใน ค.ศ. 1983 โอบามาทำงานเป็นนักจัดระเบียบชุมชน (community organizer) อยู่ในชิคาโก ครั้น ค.ศ. 1988 เขาเข้าศึกษา ณ สำนักกฎหมายฮาวาร์ด และได้เป็นบรรณาธิการนิตยสาร ฮาวาร์ดลอว์รีวิว คนแรกที่เป็นผิวดำ เมื่อสำเร็จการศึกษาแล้ว เขาทำงานเป็นทนายความและอาจารย์กฎหมายด้านสิทธิพลเมือง สอนกฎหมายรัฐธรรมนูญที่สำนักกฎหมาย มหาวิทยาลัยชิคาโก ตั้งแต่ ค.ศ. 1992–2004 เขายังเป็นสมาชิกวุฒิสภาอิลลินอยส์ เขต 13 ถึง 3 สมัย ตั้งแต่ ค.ศ. 1997–2004 ใน ค.ศ. 2004 นั้นเอง เขาลงรับเลือกตั้งเป็นสมาชิกวุฒิสภาระดับชาติ เขาได้รับความสนใจและมีชัยอย่างมิได้คาดหมายในการเลือกตั้งรอบแรกเมื่อเดือนมีนาคม ค.ศ. 2004 สุนทรพจน์หลัก (keynote address) ของเขาในการประชุมใหญ่ของพรรคเดโมแครต (Democratic National Convention) ก็ได้รับการตอบรับอย่างดี ตามมาด้วยชัยชนะอย่างท่วมท้นในการเลือกตั้งรอบสุดท้ายเมื่อเดือนพฤศจิกายน ค.ศ. 2004 เขาจึงได้เป็นสมาชิกวุฒิสภาสหรัฐ จนกระทั่ง ค.ศ. 2008 เขาได้รับการเสนอชื่อเข้าชิงตำแหน่งประธานาธิบดี หลังหาเสียงมาได้ 1 ปี และพรรคเดโมแครตลงคะแนนให้เสนอชื่อเขามากกว่าฮิลลารี คลินตันอย่างฉิวเฉียด ในการเลือกตั้งประธานาธิบดี เขาพิชิตคู่แข่งอย่างจอห์น แมกเคน จากพรรคริพับลิกัน และกลายเป็นว่าที่ประธานาธิบดีของประเทศ จนเข้ารับตำแหน่งอย่างเป็นทางการในวันที่ 20 มกราคม ค.ศ. 2009 และ 9 เดือนให้หลัง เขาได้รับรางวัลโนเบลสาขาสันติภาพ

ในช่วง 2 ปีแรกที่ดำรงตำแหน่งประธานาธิบดี โอบามาลงนามในกฎหมายสำคัญเป็นจำนวนมากกว่าประธานาธิบดีคนก่อน ๆ จากพรรคเดโมแครตนับแต่โครงการมหาสังคม (Great Society) ของลินดอน บี. จอห์นสัน เป็นต้นมา กฎหมายปฏิรูปหลัก ได้แก่ รัฐบัญญัติคุ้มครองผู้ป่วยและการบริบาลที่เสียได้ (Patient Protection and Affordable Care Act) หรือโอบามาแคร์ (Obamacare), รัฐบัญญัติปฏิรูปวอลล์สตรีตและคุ้มครองผู้บริโภคดอดด์–แฟรงก์ (Dodd–Frank Wall Street Reform and Consumer Protection Act), และรัฐบัญญัติยกเลิกกฎหมายห้ามถามห้ามบอก ค.ศ. 2010 (Don't Ask, Don't Tell Repeal Act of 2010) อนึ่ง ในช่วงเศรษฐกิจถดถอยครั้งใหญ่ (Great Recession) รัฐบัญญัติการฟื้นตัวและการลงทุนใหม่ของอเมริกา ค.ศ. 2009 (American Recovery and Reinvestment Act of 2009) กับรัฐบัญญัติผ่อนปรนภาษี อนุมัติการประกันผู้ว่างงานใหม่ และสร้างงาน ค.ศ. 2010 (Tax Relief, Unemployment Insurance Reauthorization, and Job Creation Act of 2010) ช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจ แต่หลังการเลือกตั้งใน ค.ศ. 2011 พรรคริพับลิกันกุมอำนาจในสภาผู้แทนราษฎรอีกครั้ง มีการอภิปรายกันอย่างยืดยาวเรื่องจำกัดวงหนี้ โอบามาจึงลงนามในรัฐบัญญัติควบคุมงบประมาณ ค.ศ. 2011 (Budget Control Act of 2011) และรัฐบัญญัติผ่อนปรนชาวอเมริกันผู้เสียภาษี ค.ศ. 2012 (American Taxpayer Relief Act of 2012) ส่วนนโยบายต่างประเทศนั้น โอบามาเพิ่งกำลังทหารสหรัฐสำหรับสงครามอัฟกานิสถาน ลดอาวุดนิวเคลียร์ตามสนธิสัญญานิวสตาร์ต (New START) ระหว่างสหรัฐกับประเทศรัสเซีย ทั้งยุติบทบาททางทหารในสงครามอิรัก แต่เขาให้ส่งทหารเข้าปราบปรามมูอัมมาร์ กัดดาฟี ผู้นำลิเบีย และให้ปฏิบัติการทางทหารจนอุซามะฮ์ บิน ลาดิน นักเคลื่อนไหวอิสลาม เสียชีวิต

ใน ค.ศ. 2012 มีการเลือกตั้งประธานาธิบดีครั้งใหม่ โอบามามีชัยเหนือมิตต์ รอมนีย์ จากพรรคริพับลิกัน จึงได้ดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีเป็นสมัยที่ 2 ตั้งแต่ ค.ศ. 2013 ในสมัยที่ 2 นี้ โอบามาส่งเสริมประโยชน์ครอบคลุมชาวอเมริกันผู้หลากหลายทางเพศมากยิ่งขึ้น โดยรัฐบาลของเขาฟ้องคดีหลายเรื่องอันเป็นเหตุให้ศาลสูงสุดวินิจฉัยความไม่ชอบด้วยรัฐธรรมนูญของการห้ามสมรสเพศเดียวกัน โอบามายังเป็นตัวตั้งตัวตีเรื่องควบคุมปืนหลังเกิดเหตุยิงกันในโรงเรียนประถมแซนดีฮุกเมื่อ ค.ศ. 2012 และเขาออกคำสั่งทางปกครองหลายรายการที่ครอบคลุมกว้างขวางเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศและการเข้าเมือง ส่วนนโยบายต่างประเทศในสมัยที่ 2 โอบามาให้ทหารเข้าแทรกแซงในอิรัก หลังจากที่สหรัฐถอนทหารออกไปใน ค.ศ. 2011 แล้ว กลุ่มไอซิลก็เข้าก่อความไม่สงบ แต่โอบามาให้ดำเนินกระบวนการยุติปฏิบัติการทางทหารในอัฟกานิสถานต่อไป และส่งเสริมการพูดคุยอันนำไปสู่ความตกลงปารีสว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ ค.ศ. 2015 ทั้งก่อให้เกิดการคว่ำบาตรรัสเซียที่ส่งทหารเข้าแทรกแซงในยูเครน รวมถึงชี้ช่องให้เกิดข้อตกลงแลกประโยชน์นิวเคลียร์กับอิหร่าน ตลอดจนฟื้นฟูความสัมพันธ์ของสหรัฐกับคิวบา

โอบามาพ้นจากตำแหน่งประธานาธิบดีในเดือนมกราคม ค.ศ. 2017 ปัจจุบัน พำนักอยู่ในวอชิงตัน ดี.ซี. และจะมีการสร้างหอสมุดประธานาธิบดีของเขาในชิคาโก

ชีวิตวัยเด็กจนถึงวัยทำงาน

 
สูติบัตรของบารัก โอบามา

โอบามา เกิดเมื่อวันที่ 4 สิงหาคม ค.ศ. 1961 ที่เมืองโฮโนลูลู รัฐฮาวาย[1][2] เป็นบุตรของนายบารัก โอบามา ซีเนียร์ ชาวจังหวัดเซียยา ประเทศเคนยา และนางแอนน์ ดันแฮม ชาวเมืองวิชิทอ รัฐแคนซัส[3][4] ซึ่งแม่ของเขามีเชื้อสายวงศ์ตระกูลมาจากอังกฤษ ไอร์แลนด์ สกอตแลนด์ เวลส์ เยอรมนี และสวิตเซอร์แลนด์[5][6][7] โดยทั้งคู่พบรักกันขณะศึกษาอยู่ที่มหาวิทยาลัยฮาวายที่มานัว ซึ่งพ่อของเขาได้เข้าศึกษาในฐานะนักเรียนต่างชาติ[8][9] และได้แต่งงานกันในวันที่ 2 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1961[10] แต่เขาทั้งสองได้แยกกันอยู่เมื่อโอบามาอายุได้เพียง 2 ปีและหลังจากนั้นก็หย่าขาดจากกัน[11]

หลังจากนั้น ดันแฮม แม่ของโอบามาก็ได้แต่งงานใหม่กับโลโล ซูโตโร และได้พาครอบครัวไปอยู่ที่บ้านเกิดของสามีใหม่ในประเทศอินโดนีเซียเมื่อ ค.ศ. 1967 โอบามาได้เข้าเรียนที่โรงเรียนในท้องถิ่นของกรุงจาการ์ตาจนกระทั่งอายุได้ 10 ขวบ[3] โอบามาจึงได้ย้ายกลับโฮโนลูลูบ้านเกิดกับครอบครัวของแม่และได้เข้าเรียนที่โรงเรียนปูนาฮัวตั้งแต่เกรด 5 จนสำเร็จการศึกษาใน ค.ศ. 1979[12] หลังจากจบไฮสกูล โอบามาก็ได้ย้ายไปเรียนต่อที่ลอสแอนเจลิสที่วิทยาลัยออกซิเดนทอล (Occidental College) เป็นเวลา 2 ปี[13] จากนั้นจึงได้ย้ายไปเรียนที่มหาวิทยาลัยโคลัมเบีย ในมหานครนิวยอร์ก สาขารัฐศาสตร์ เน้นความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ[14]

ไฟล์:Ann Dunham with father and children.jpg
จากขวาไปซ้าย บารัก โอบามา, น้องสาวของเขา มายา ซูโตโร ถัดไปเป็นแม่และตาของพวกเขาคือ แอนน์ ดันแฮม, แสตนลีย์ ดันแฮม ถ่ายที่รัฐฮาวาย เมื่อต้นปี ค.ศ. 1970

ระหว่างที่กำลังศึกษาอยู่ระดับไฮสคูลนั้น เขายอมรับว่าเคยเสพกัญชา, โคเคน และเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ซึ่งเขาเปิดเผยที่เวทีประชุมพลเมืองสำหรับประธานาธิบดี ค.ศ. 2008 ถือว่าเป็นความล้มเหลวเกี่ยวกับศีลธรรมความดีงาม[15][16]

โอบามาสำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรีจากมหาวิทยาลัยโคลัมเบียใน ค.ศ. 1983 และได้เข้าทำงานในบริษัทธุรกิจระหว่างประเทศและกลุ่มวิจัยสาธารณประโยชน์แห่งนิวยอร์ก หลังจาก 4 ปีที่อยู่ในนิวยอร์ก โอบามาย้ายไปอยู่ที่ชิคาโก เขาได้รับการจ้างเป็นผู้อำนวยการโครงการพัฒนาชุมชน (DCP) ซึ่งเป็นองค์กรชุมชนริเริ่มตั้งจากศาสนา ซึ่งประกอบด้วย 8 โบสถ์คาทอลิก ในโลสแลนด์ พูลแมนตะวันตก และ ริเวอร์เดล ในด้านใต้ของเมืองชิคาโก และเขาได้ทำงานที่นั่นเป็นเวลา 3 ปี ตั้งแต่เดือนมิถุนายน ค.ศ. 1985 จนถึง เดือนพฤษภาคม ค.ศ. 1988[17] ระหว่างที่เขาทำงานอยู่ 3 ปีในตำแหน่งผู้อำนวยการโครงการพัฒนาชุมชน (DCP) ผู้ร่วมงานได้เพิ่มขึ้นจาก 1 คน เป็น 13 คน และงบประมาณประจำปี เพิ่มขึ้นจากปีละ 7 หมื่นดอลลาร์สหรัฐ เป็น 4 แสนดอลลาร์สหรัฐ โดยมีการช่วยเหลือเกี่ยวกับโปรแกรมการฝึกอบรม, การกวดวิชาเพื่อเตรียมเข้ามหาวิทยาลัย และ องค์กรสิทธิของผู้เช่าที่ดินในแอลเจลด์การ์เดนส์ (Altgeld Gardens)[18] โอบามายังได้ทำงานเป็นที่ปรึกษาและผู้สอนในมูลนิธิกามาลีล (Gamaliel Foundation) ซึ่งเป็นสถาบันหนึ่งเกี่ยวกับองค์กรชุมชน[19] ในกลาง ค.ศ. 1988 เขาได้เดินทางไปยุโรปเป็นครั้งแรกเป็นเวลา 3 สัปดาห์และไปเคนยา 5 สัปดาห์ ซึ่งเขาได้พบญาติ ๆ ชาวเคนยาหลายคนเป็นครั้งแรกด้วย[20]

จากนั้น เขาจึงเรียนต่อด้านกฎหมายที่มหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ดใน ค.ศ. 1988 สิ้นปีแรกเขาได้รับคัดเลือกจากการแข่งขันในการเขียนและเกรดของการเรียนให้เข้ามาเป็นบรรณาธิการคนหนึ่งของวารสาร Harvard Law Review[21] พอขึ้นปีที่สอง ในเดือนกุมภาพันธ์ ค.ศ. 1990 เขาได้รับคัดเลือกเป็นประธานของ Harvard Law Review ในตำแหน่งหัวหน้าบรรณาธิการ (อาสาสมัครเต็มเวลา) และกำกับควบคุมนักเขียนถึง 80 คน[22] โอบามาเป็นชาวแอฟริกัน-อเมริกันคนแรกที่ได้รับคัดเลือกเป็นประธานของ Law Review ข่าวการคัดเลือกได้มีการรายงานในวงกว้าง ตามด้วยประวัติส่วนตัวที่ละเอียดในสื่อระดับประเทศ ระหว่างฤดูร้อน เขาได้กลับไปชิคาโก ซึ่งเขาทำงานเป็นทนายความฝึกงานช่วงปิดภาคฤดูร้อน ที่สำนักงานกฎหมายของ Sidley & Austin ใน ค.ศ. 1989 และ Hopkins & Sutter ใน ค.ศ. 1990[23] หลังจากจบปริญญากฎหมาย Juris Doctor จากมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ดใน ค.ศ. 1991 จากนั้นเขาก็ย้ายกลับไปชิคาโก[24][25] และเริ่มเขียนหนังสือเล่มแรกชื่อ Dreams from My Father ตีพิมพ์ครั้งแรกใน ค.ศ. 1995[26]

ช่วง ค.ศ. 1993 และ ค.ศ. 2002 โอบามาเข้าทำงานเป็นผู้ช่วยในคณะกรรมการบริหารกองทุนไม้แห่งชิคาโก องค์กรที่ช่วยจัดสรรเงินทุนให้แก่ประชาชนและชุมชนที่ถูกเอารัดเอาเปรียบเปรียบในชิคาโก[27] ต่อมาใน ค.ศ. 1999 ก็ได้เข้าเป็นหนึ่งในคณะกรรมการบริหารด้วยความช่วยเหลือของบิล อาเยอส์

ต่อมาเขาก็รับงานสอนนอกเวลาที่วิทยาลัยกฎหมาย มหาวิทยาลัยชิคาโก โอบามาสอนวิชากฎหมายรัฐธรรมนูญ รวมเวลา 12 ปี เป็นอาจารย์มหาวิทยาลัย 4 ปี (ค.ศ. 1992–1996) และเป็นอาจารย์มหาวิทยาลัยอาวุโสถึง 8 ปี (ค.ศ. 1996–2004)[28] และเขายังได้ร่วมกับ เดวิด ไมเนอร์ บาร์นฮิลล์ และกัลแลนด์ ที่เป็นบริษัททนายความมีเชี่ยวชาญด้านการต่อสู้คดีในชั้นศาล และการพัฒนาเศรษฐกิจเพื่อนบ้าน โอบามาเป็นสมาชิก 3 ปี (ค.ศ. 1993–1996) จึงลาออก[29][30]

โอบามาเคยเป็นสมาชิกสรรหาของคณะกรรมการบริหารแห่งพันธมิตรสาธารณะใน ค.ศ. 1992 และได้ลาออกไปก่อนที่ มิเชล ภรรยาของเขาจะเข้ามาเป็นผู้อำนวยการใหญ่ของพันธมิตรสาธารณะแห่งชิคาโกในต้น ค.ศ. 1993[31] และยังเป็นสมาชิกของบอร์ดบริหารหลายที่ เช่น สภาทนายความเพื่อสิทธิพลเมืองภายใต้กฎหมายแห่งชิคาโก, ศูนย์กลางเพื่อเทคโนโลยีเพื่อนบ้าน, ศูนย์ลูจีเนียเบิร์นโฮป (Lugenia Burns Hope Center)

ประวัติทางการเมือง

สมาชิกสภานิติบัญญัติ, ค.ศ. 1997–2004

โอบามาได้รับเลือกให้เป็นสมาชิกวุฒิสภาแห่งรัฐอิลลินอยใน ค.ศ. 1996 แทนที่ตำแหน่งของวุฒิสมาชิก อลิซ กราบเดโช จากเขตปกครองที่ 13 เมื่อได้รับเลือกตั้งแล้ว โอบามาก็ได้รับการสนับสนุนจากผู้สนับสนุนพรรคการเมืองทั้ง 2 พรรคใหญ่ให้มีการปฏิรูปกฎหมายจริยธรรมและสุขภาพ[32] เขาสนับสนุนกฎหมายบรรจุเรื่องการเพิ่มเครดิตภาษีให้แก่แรงงานผู้มีรายได้ต่ำ เจรจาเรื่องการปฏิรูปสังคมสงเคราะห์ และเพิ่มเงินสมทบสำหรับการดูแลเด็กเล็ก[33] ใน ค.ศ. 2001 เป็นประธานร่วมในเรื่องของกฎหมายว่าด้วยการปกครอง เขาสนับสนุนกฎระเบียบที่เสนอโดยผู้ว่าการรัฐไรอัน (Ryan) เพื่อควบคุมเงินกู้ใช้จ่ายระหว่างเงิน และการให้จำนองที่เอาเปรียบ เพื่อลดปัญหาบ้านถูกยึด[34]

ต่อมา โอบามาได้รับเลือกให้เป็นสมาชิกวุฒิสภาแห่งรัฐอิลลินอยอีกครั้งใน ค.ศ. 1998[35] และอีกครั้งหนึ่งใน ค.ศ. 2002 ส่วนใน ค.ศ. 2000 นั้น เขาแพ้การเลือกตั้งแบบไพรแมรีเพื่อชิงตำแหน่งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรสหรัฐต่อ บอบบี รัช เจ้าของตำแหน่งคนเก่าด้วยคะแนนเสียงท่วมท้น 2 ต่อ 1[36][37]

ในเดือนมกราคม ค.ศ. 2003 โอบามาได้เป็นประธานคณะกรรมการบริการสุขภาพและมนุษย์แห่งสมาชิกวุฒิสภาแห่งรัฐอิลลินอย ซึ่งตอนนั้น พรรคเดโมแครต ได้ก้าวขึ้นมาเป็นผู้นำประเทศอีกครั้ง[38] หลังจากต้องตกเป็นรองอยู่นานนับทศวรรษ[39] ในระหว่างการเลือกตั้งทั่วไปใน ค.ศ. 2004 เพื่อหาวุฒิสมาชิกสหรัฐนั้น ตัวจากแทนตำรวจได้ให้เครดิตกับโอบามาอย่างมาก ในกรณีที่เขาเป็นผู้ริเริ่มให้มีการปฏิรูปกฎหมายการประหารชีวิต[40] โอบามาจึงลาออกจากสมาชิกวุฒิสภาแห่งรัฐอิลลินอยในเดือนพฤศจิกายน ค.ศ. 2004 และได้เริ่มหาเสียงเพื่อรับการเลือกตั้งเป็นสมาชิกวุฒิสภาสหรัฐ[41] จนกระทั่งใน ค.ศ. 2004 เขาก็ได้รับเลือกให้เป็นวุฒิสมาชิกของสหรัฐ[42]

เลือกตั้งสมาชิกวุฒิสภา ค.ศ. 2004

กลาง ค.ศ. 2002 โอบามาเริ่มคิดถึงเรื่องการเป็นสมาชิกวุฒิสภาสหรัฐ หลังจากที่เลือก เดวิด คอปเปอร์ฟีล มาเป็นที่ปรึกษาวางกลยุทธทางการเมือง โอบามาจึงได้ประกาศเสนอตัวเข้าชิงตำแหน่งในเดือนมกราคม ค.ศ. 2003[43] ก็เป็นการเปิดโอกาสกว้างให้แก่ผู้สมัครจากทั้งพรรคเดโมแครตและพรรคริพับลิกันได้เข้ามาหาเสียงเพื่อชิงตำแหน่งนี้ซึ่งมีผู้สมัครรวม 15 คน[44] การเสนอตัวเข้าชิงตำแหน่งของโอบามาได้รับแรงสนับสนุนจากแอกเซลรอดอย่างมากที่ช่วยหาเสียง ช่วยประชาสัมพันธ์โดยใช้ภาพจาก ฮาโรลด์ วอชิงตัน อดีตนายกเทศมนตรีเมืองชิคาโกที่ล่วงลับไปแล้ว ตลอดจนการรับรองจากลูกสาวของพอล ซิมอน นักการเมืองคนสำคัญของอเมริกาและอดีตวุฒิสมาชิกสหรัฐ ตัวแทนรัฐอิลลานอยส์[45] ทำให้โอบามาได้รับคะแนนเสียงถึงร้อยละ 52 ในการเลือกตั้งครั้งแรกเมื่อเดือนมีนาคม ค.ศ. 2004 และยังนำคู่แข่งจากพรรคเดโมแครตด้วยกันเองถึงร้อยละ 29 เลยทีเดียว[46] จนกระทั่งได้เป็นตัวแทนของพรรคเดโมแครตเพื่อชิงชัยตำแหน่งอันทรงเกียรติแห่งรัฐอิลลินอยแห่งนี้

แต่ต่อมา คู่แข่งคนสำคัญของโอบามาคือ แจ็ค ไรอัน ผู้ชนะการเลือกตั้งแบบครั้งแรกจากพรรคริพับลิกัน ได้ประกาศถอนตัวจากการแข่งขันเมื่อเดือนมิถุนายน ค.ศ. 2004[47]

เดือนกรกฎาคม ค.ศ. 2004 โอบามาได้กล่าวสุนทรพจน์สำคัญในการประชุมพรรคเดโมแครตระดับชาติประจำปี ค.ศ. 2004 ที่เมืองบอสตัน รัฐแมสซาชูเซตส์[48] โอบามาเล่าถึงประสบการณ์ของผู้เป็นตาของเขาได้ผ่านประสบการณ์ในสงครามโลกครั้งที่ 2มาในฐานะทหารผ่านศึก และสิทธิประโยชน์ที่ได้รับจาก เคหะแห่งชาติ (New Deal's FHA) โครงการสำหรับทหารผ่านศึก (G.I. Bill) จากนั้นเขาได้กล่าวถึงเรื่องการเปลี่ยนแปลงลำดับความสำคัญของเศรษฐกิจและสังคมของรัฐบาลสหรัฐ เขาได้ตั้งคำถามถึงการบริหารงานในช่วงสงครามอิรักของประธานาธิบดีจอร์จ ดับเบิลยู บุช และเน้นในประเด็นหน้าที่ของอเมริกาที่พึงมีต่อทหารของประเทศ โอบามาได้ยกตัวอย่างประวัติศาสตร์อเมริกา ได้วิพากษ์วิจารณ์ผู้มีสิทธิ์เลือกตั้งที่ถือพวกอย่างหนัก และได้ขอร้องให้อเมริกันชนหันมาฝักใฝ่ความสามัคคีท่ามกลางความหลากหลาย โดยได้กล่าวสุนทรพจน์ไว้ว่า "ประเทศนี้ไม่มีอเมริกาเสรีนิยมกับอเมริกาอนุรักษนิยม มีเพียงประเทศสหรัฐ" ("There is not a liberal America and a conservative America; there's the United States of America.)[49] สุนทรพจน์ส่วนนี้ ได้มีการเผยแพร่ทาง PBS, CNN, MSNBC, Fox News และ C-SPAN แก่ผู้ชม 9.1 ล้านคน ทำให้สถานะและภาพลักษณ์ทางการเมืองของโอบามาดีขึ้นมาก ทำให้เขาได้รับความนิยมขึ้นอย่างล้นหลาม ในการเลือกตั้งสมาชิกวุฒิสภาสหรัฐครั้งนี้[50]

ในเดือนสิงหาคม ค.ศ. 2004 เหลือเวลาอีกไม่ถึง 3 เดือนจะถึงวันเลือกตั้ง คีนู ลีฟ์ ได้เข้ามาเป็นตัวแทนจากพรรคริพับลิกันในการชิงตำแหน่งสมาชิกวุฒิสภาแห่งรัฐอิลลินอย แทนที่ ไรอัน ที่ได้ถอนตัวไปก่อนหน้านี้[51] คีส์นั้นแต่เดิมมีบ้านอยู่ในรัฐแมริแลนด์ แต่เขาก็ได้ย้ายทะเบียนบ้านมาอยู่ในรัฐอิลลินอยเพื่อการเลือกตั้งครั้งนี้[52] แต่สุดท้ายแล้ว ในการเลือกตั้งทั่วไปเมื่อเดือนพฤศจิกายน ค.ศ. 2004 โอบามาได้รับคะแนนเสียงถึงร้อยละ 70 ขณะที่คีส์ได้คะแนนเสียงไปเพียงร้อยละ 27 เท่านั้น ชัยชนะอันท่วมท้นของโอบามาครั้งนี้ถือเป็นชัยชนะครั้งยิ่งใหญ่ ที่มีความต่างของคะแนนมากที่สุด ในประวัติศาสตร์การเลือกตั้งของรัฐอิลลินอยเลยทีเดียว[53]

สมาชิกวุฒิสภา, ค.ศ. 2005–2008

โอบามาได้สาบานตนในฐานะเป็นสมาชิกวุฒิสภาเมื่อวันที่ 4 มกราคม ค.ศ. 2005[54] เนื่องจากเป็นครั้งแรกที่เขาได้เข้ามาทำงานที่วอชิงตัน เขาจึงได้ตั้งคณะที่ปรึกษาที่มีความสามารถสูงมาช่วยเหลือการทำงาน ซึ่งจำนวนสมาชิกในคณะที่ปรึกษาของเขานี้มีมากกว่าที่สมาชิกวุฒิสภาคนอื่น ๆ ต้องการเมื่อครั้งที่เข้ามารับตำแหน่งนี้ในสมัยแรก[55] เขาว่าจ้างให้ พีท เราซ์ ผู้มีประสบการณ์ทางด้านการเมืองระดับชาติวัย 30 ปี และยังว่าจ้าง ทอม แดสเชิล อดีตหัวหน้าเจ้าหน้าที่ของประธานวุฒิสภาแห่งพรรคเดโมแครตเข้ามาเป็นหัวหน้าเจ้าหน้าที่ของเขาอีกด้วย นอกจากนั้นก็ว่าจ้าง คาเรน คอร์นบลูห์ นักเศรษฐศาสตร์, โรเบิร์ต รูบิน อดีตรักษาการหัวหน้าเจ้าหน้าที่ของรัฐมนตรีกระทรวงกลาโหม ให้เป็นผู้อำนวยการฝ่ายนโยบาย[56] โอบามาได้ให้ ซาแมนตา พาวเวอร์ ผู้นำด้านสิทธิมนุษยชนและการต่อต้านการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ และแอนโทนี เลค กับ ซูซาน ไรซ์ อดีตเจ้าหน้าที่บริหารสมัยประธานาธิบดีคลินตัน ให้เป็นที่ปรึกษาด้านนโยบายต่างประเทศของเขาด้วย[57]

ชื่อของโอบามาต้องจารึกไว้ในประวัติศาสตร์สมาชิกวุฒิสภาของสหรัฐ เพราะเขาเป็นอเมริกันผิวสีคนที่ 5 ในประวัติศาสตร์ที่ได้เข้ามาเป็นสมาชิกวุฒิสภาของสหรัฐ และเป็นคนที่ 3 ที่มาจากการเลือกตั้งของประชาชน[58] เขาเป็นสมาชิกวุฒิสภาเพียงคนเดียวที่เป็นสมาชิกของ Congressional Black Caucus[59] นิตยสาร CQ Weekly นิตยสารที่เป็นกลางของสหรัฐได้ยกย่องโอบามาว่าเป็น "นักประชาธิปไตยผู้ซื่อสัตย์" จากผลการวิเคราะห์การโหวตให้คะแนนเสียงสมาชิกวุฒิสภาทั่วประเทศใน ค.ศ. 2005–2007 และนิตยสาร National Journal ก็จัดว่าเขาเป็นสมาชิกวุฒิสภาที่"มีความเป็นเสรีนิยมมากที่สุด" จากการโหวตใน ค.ศ. 2007[60][61] แต่โอบามากลับรู้สึกสงสัยในวิธีการสำรวจเพื่อให้ได้ผลโหวตนี้ โดยตำหนิว่าการแบ่งการเมืองออกเป็นสองข้างระหว่าง"อนุรักษนิยม"กับ"เสรีนิยม" เป็นการแบ่งที่ไม่ถูกต้อง และจะทำให้เกิดความลำเอียงในผลการสำรวจ ซึ่งก็ทำให้ผลโหวตออกมาไม่ตรงตามความจริงเท่าใดนัก[62]

บารัก โอบามา ยื่นใบลาออกจากตำแหน่งวุฒิสมาชิกในวันที่ 13 พฤศจิกายน ค.ศ. 2008 ก่อนที่จะเริ่มทำงานประธานาธิบดี[63][64] เนื่องจากโอบามาดำรงวุฒิสมาชิกอยู่ก่อนแล้ว แต่ได้รับเลือกตั้งเป็นประธานาธิบดีอีกตำแหน่ง ทำให้ไม่มีเวลาในการประชุมรัฐสภาสหรัฐ เพื่อเป็นการไม่ให้เวลาการทำงานของตำแหน่งทั้งสองคาบเส้นกัน จึงต้องลาออกจากวุฒิสมาชิก ซึ่งปัญหาแบบนี้เคยมีมาแล้วในสมัยประธานาธิบดีวาเรน ฮาร์ดิง[65]

ด้านนิติบัญญัติ

 
ทอม โคเบิร์นและโอบามาขณะกำลังพูดคุยเรื่อง "กฎหมายความโปร่งใสโคเบิร์น-โอบามา" (Coburn–Obama Transparency Act)[66]

โอบามาลงคะแนนเห็นด้วยกับร่างกฎหมายนโยบายพลังงาน ค.ศ. 2005 เนื่องจากสอดคล้องกับความสนใจของเขา โอบามารับหน้าที่สำคัญในการผลักดันให้สมาชิกวุฒิสภา พัฒนาความปลอดภัยตามแนวชายแดนและการปฏิรูปการอพยพข้ามประเทศ ใน ค.ศ. 2005 นั้นเขาสนับสนุน "กฎหมายความปลอดภัยของอเมริกาและการอพยพอย่างมีระเบียบ" ที่ร่างขึ้นโดย จอห์น แมคเคน สมาชิกวุฒิสภา ตัวแทนรัฐแอริโซนา จากพรรคริพับลิกัน[67] ต่อมาเขาได้เพิ่มข้อแก้ไขสามจุดลงใน "กฎหมายปฏิรูปการอพยพทั่วไป" ซึ่งผ่านการเห็นชอบจากที่ประชุมวุฒิสภาในเดือนพฤษภาคม ค.ศ. 2006 แต่ไม่ได้รับเสียงข้างมากในที่ประชุมสภาผู้แทนราษฎร[68] ในเดือนกันยายน ปี 2006 นั้น โอบามาสนับสนุนร่างกฎหมายที่เกี่ยวข้อง คือ กฎหมายป้องกันความปลอดภัย ซึ่งมีโครงสร้างเกี่ยวข้องกับการป้องกันประเทศและพัฒนาความปลอดภัยอื่น ๆ ตามแนวชายแดนสหรัฐ-เม็กซิโก[69] ประธานาธิบดีบุชได้ลงนามรับรองยกร่างกฎหมายฉบับนี้ขึ้นเป็นกฎหมายที่มีผลบังคับใช้เมื่อเดือนตุลาคม ค.ศ. 2006 โดยกล่าวว่ากฎหมายฉบับนี้เป็นก้าวกระโดดสำคัญในการปฏิรูปการอพยพข้ามแดนเข้าสู่สหรัฐ

 
โอบามาและริชาร์ด ลูการ์ ไปเยือนกองทัพรัสเซียที่ถอดถอนขีปนาวุธออก[70]

ต่อมา โอบามาได้จับมือกับ ริชาร์ด ลูการ์ วุฒิสมาชิกแห่งรัฐอินเดียนาจากพรรคริพับลิกัน และ ทอม โคเบิร์น จากโอกลาโฮมา หรือที่รู้จักกันดีในชื่อ "ลูการ์-โอบามา" ที่ประสบความสำเร็จในเรื่องการลดอาวุธสงคราม[71] และกฎหมาย "โคเบิร์น-โอบามา"ที่นำมาซึ่งการก่อตั้งเว็บไซต์ www.USAspending.gov ซึ่งเป็นเว็บที่เปิดในเดือนธันวาคม ปี 2007 และควบคุมโดยสำนักงานบริหารและงบประมาณ[72] หลังจากที่ชาวอิลลินอยส์เริ่มไม่พอใจน้ำเสียที่เป็นผลมาจากโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ในบริเวณใกล้เคียง โอบามาจึงได้สนับสนุนให้มีการตรากฎหมายบังคับให้เจ้าของโรงงานแจ้งให้แก่ทางรัฐและทางการของท้องถิ่นทันทีที่มีการรั่วไหลของกัมมันตภาพรังสี[73] แต่ร่างกฎหมายที่ผ่อนปรนแล้วกลับถูกต่อต้านอย่างหนัก อย่างไรก็ตาม ในเวลาต่อมาก็ได้มีการนำกฎหมายนี้มาพิจารณาอีกครั้ง[74] ในเดือนธันวาคม ค.ศ. 2006 ประธานาธิบดีบุชได้นำกฎหมายนี้ไปปรับใช้เป็น "กฎหมายเพื่อสงเคราะห์ ความปลอดภัย และส่งเสริมประชาธิปไตยแห่งสาธารณรัฐประชาธิปไตยแห่งคองโก" นับว่าเป็นผลงานด้านนิติบัญญัติชิ้นแรกของโอบามาที่มีบทบาทในระดับประเทศ[75]

ในเดือนมกราคม ค.ศ. 2007 โอบามาและวุฒิสมาชิก Feingold เสนอ"กฎหมายเกี่ยวกับการรวมกลุ่มเป็นบริษัทการผลิตเครื่องบินไอพ่น (jet)" เป็นกฎหมายที่เปิดเผยและน่าเชื่อถือ โดยลงนามเป็นกฎหมายเมื่อเดือน[[กันยายน 2007[76] โอบามาเสนอกฎหมายเกี่ยวกับการหลอกลวง, การป้องกันการข่มขู่ผู้ไปลงคะแนนเสียง งบประมาณรายจ่ายเกี่ยวกับการทุจริตในการเลือกตั้งทั่วไปของรัฐบาลกลาง[77] เขายังเสนอกฎหมายเกี่ยวกับการลดการทำสงครามอิรัก[78]

ต่อมาปลาย ค.ศ. 2007 โอบามาสนับสนุนให้แก้ไขกฎหมายเกี่ยวกับอำนาจในการป้องกันประเทศ โดยเพิ่มเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยให้แก่บุคคลที่มีชื่อเสียงเมื่อเกิดเหตุจลาจล[79] ซึ่งกฎหมายนี้ได้ผ่านการอนุมัตจากวุฒิสภาในช่วงฤดูใบไม้ผลิ ค.ศ. 2008[80] เขาได้สนับสนุนกฎหมายในการให้อำนาจต่อต้านอิหร่าน โดยได้รับการสนับสนุนจากการลดกองทุนบำนาญของรัฐ จากอุตสาหกรรมน้ำมันและก๊าซของอิหร่าน และร่วมสนับสนุนการออกกฎหมายลดการเสี่ยงภัยจากการก่อการร้ายด้วยนิวเคลียร์[81][82] โอบามายังได้สนับสนุนวุฒิสภาในการแก้ไขโปรแกรมของรัฐในการประกันสุขภาพของเด็ก โดยให้งานทำ 1 ปี สำหรับสมาชิกของครอบครัวทหารที่ได้รับบาดเจ็บจากสงคราม[83]

คณะกรรมการด้านต่าง ๆ

บารัก โอบามาได้รับมอบหมายให้เป็น คณะกรรมการวุฒิสภาเพื่อความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ, สิ่งแวดล้อม, งานสาธารณะและกิจการทหารผ่านศึก ในช่วงเดือนธันวาคม ปี 2006[84] ต่อมาเดือนมกราคม ค.ศ. 2007 เขาได้ออกจากการเป็นคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมและงานสาธารณะ แล้วได้เป็นกรรมการดูแลเกี่ยวกับสาธารณสุข, การศึกษา, แรงงาน และเงินสงเคราะห์ผู้ที่ไม่มีบ้าน และสวัสดิการของรัฐ[85] เขายังกลายเป็นประธานคณะกรรมการวุฒิสภายุโรปอีกด้วย[86] ในงานนี้ โอบามาได้ปฏิบัติภารกิจในการไปดูงานที่ ทวีปยุโรปตะวันออก, ตะวันออกกลาง, เอเชียกลาง และแอฟริกา โอบามายังได้พบกับมะฮ์มูด อับบาส ก่อนที่เขาจะได้เป็นประธานาธิบดีปาเลสไตน์ และยังได้ประณามการทุจริตของรัฐบาลเคนยา ในการกล่าวสุนทรพจน์ที่มหาวิทยาลัยไนโรบี ประเทศเคนยา[87]

การหาเสียงเพื่อรับเลือกตั้งประธานาธิบดี

 
โอบามาขณะอยู่บนเวทีพร้อมลูกสาวทั้งสอง ก่อนจะประกาศลงสมัครรับเลือกตั้งเป็นประธานาธิบดี ณ เมืองสปริงฟีลด์ รัฐอิลลินอย

ในเดือนกุมภาพันธ์ ค.ศ. 2007 โอบามาได้ประกาศบนเวทีหน้าอาคาร Old State Capitol ในนครสปริงฟิลด์ รัฐอิลลินอยส์ว่าเขาจะลงสมัครรับเลือกตั้งเป็นประธานาธิบดีสหรัฐในการเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐ ค.ศ. 2008[88] โอบามาเลือกสถานที่นี้เพราะเป็นที่ซึ่งอดีตประธานาธิบดีอับราฮัม ลินคอล์นกล่าวปราศรัย House Divided เมื่อ ค.ศ. 1858[89] และอ้างถึงคำปราศรัยของลินคอล์นในการที่จะรวมประเทศที่แตกแยกให้เป็นหนึ่งเดียว[90][91] ก่อนหน้าที่โอบามาจะประกาศต่อหน้าสาธารณชนหนึ่งสัปดาห์นั้น

โอบามาได้เรียกร้องให้ยุติการหาเสียงแบบโจมตีคู่แข่ง (negative campaigning)[92] โอบามาได้ให้ความสำคัญในเรื่องของการยุติสงครามอิรัก พลังงาน และการประกันชีวิตแบบสากล[93] ซึ่งเขาได้นำมาเป็นประเด็นหลักในการหาเสียงชิงชัยตำแหน่งตัวแทนพรรคครั้งนี้ ปรากฏว่า เขาได้รับความนิยมจากคนรุ่นใหม่ที่ต้องการความเปลี่ยนแปลง และกลุ่มชาวอเมริกันผิวดำ หลังจากการเลือกตั้งครั้งแรกเสร็จสิ้นลง

ระหว่างการเลือกตั้งครั้งแรกกับการเลือกตั้งทั่วไป โอบามาได้จัดเตรียมบันทึกเอาไว้อย่างมากมาย โดยเฉพาะอย่างยิ่งปริมาณการบริจาค.[94][95][96] ในวันที่ 19 มิถุนายน โอบามากลายเป็นคนแรกผู้สมัครชิงตำแหน่งประธานาธิบดีคนแรกที่ปฏิเสธในเรื่องของการคลังสาธารณะ ในการเลือกตั้งทั่วไปตั้งแต่ระบบสร้างขึ้นเมื่อ ค.ศ. 1976[97]

 
โอบามากล่าวสุนทรพจน์ประกาศชัยชนะของเขา

ช่วงเดือนมกราคม ค.ศ. 2008 ในการเลือกตั้งเพื่อชิงตำแหน่งตัวแทนพรรคเดโมแครตเพื่อไปชิงตำแหน่งประธานาธิบดีต่อไปนั้น โอบามาต้องเจอคู่แข่งคนสำคัญคือ ฮิลลารี คลินตัน ซึ่งช่วงแรกต่างคนก็ต่างเอาชนะกันในแต่ละรัฐ[98][99][100][101] ในวันที่ 31 พฤษภาคม ค.ศ. 2008 ทางคณะกรรมการพรรคเดโมแครตแห่งชาติ(DNC) ได้พิจารณาคะแนนโหวตที่รัฐมิชิแกนและฟลอริดาที่กำลังมีความขัดแย้งกันอยู่ อย่างไรก็ตามผลการโหวตครั้งสุดท้ายปรากฏว่าโอบามามีคะแนนนำ[102] ในวันที่ 3 มิถุนายน โอบามาจึงได้เป็นตัวแทนพรรคเดโมแครตไปชิงตำแหน่งประธานาธิบดี[103][104] และในวันเดียวกันนั้น เขาได้แถลงการณ์ถึงชัยชนะที่เซนท์ พอล รัฐมินนิโซตา หลังจากนั้น ฮิลลารี คลินตัน จึงได้ยุติบทบาทในการหาเสียงทั้งหมด แล้วหันมาสนับสนุนโอบามาในวันที่ 7 กรกฎาคม[105] เพื่อที่จะได้ไปเจอกับจอห์น แมคเคน ผู้ท้าชิงตำแหน่งประธานาธิบดีจากพรรคริพับลิกันต่อไป

วันที่ 23 สิงหาคม ค.ศ. 2008 โอบามาได้เลือกโจ ไบเดิน จากรัฐเดลาแวร์ ให้เป็นผู้สมัครชิงตำแหน่งรองประธานาธิบดีในนามพรรคเดโมแครต[106]

ที่ศูนย์ประชุมใหญ่พรรคเดโมแครต ฮิลลารี คลินตัน อดีตคู่แข่งภายในพรรคของโอบามาได้กล่าวสุนทรพจน์สนับสนุนโอบามา ให้เป็นตัวแทนจากพรรคเดโมแครต เพื่อไปต่อสู้กับพรรคริพับลิกันอย่างเป็นทางการ[107][108] ต่อมาในวันที่ 28 สิงหาคม โอบามากล่าวสุนทรพจน์ท่ามกลางผู้สนับสนุนราว 84,000 คน และผู้ที่ดูทางโทรทัศน์อีก 38 ล้านคน และในระหว่างการกล่าวสุนทรพจน์นั้น โอบามาได้รับการยอมรับให้เป็นตัวแทนพรรคลงสมัครชิงตำแหน่งประธานาธิบดีอย่างเป็นทางการ และยังนำเสนอรายละเอียดเกี่ยวกับนโยบายของเขาต่อไป[109][110]

ภายหลังจากการโต้วาที โอบามาได้รับชัยชนะจากโพลต่าง ๆ เมื่อวันที่ 2 พฤศจิกายน ค.ศ. 2008 ยายของเขา แมดาลีน ดันแฮม เสียชีวิตจากโรคมะเร็งในอายุ 86 ปี แต่เขาเพิ่งทราบข่าวในวันถัดมาคือวันที่ 3 พฤศจิกายน ก่อนการเลือกตั้งเพียงวันเดียว[111][112]

ระหว่างที่จอห์น แมคเคนเป็นตัวแทนจากพรรคริพับลิกันสมัครชิงตำแหน่งประธานาธิบดี มีการโต้วาทีกันถึง 3 ครั้งระหว่างโอบามากับแมคเคนในเดือนกันยายนและเดือนตุลาคม ค.ศ. 2008[113][114] สำหรับผลการเลือกตั้งในเดือนพฤศจิกายนปีเดียวกันนั้น เขาชนะการเลือกตั้งแบบป็อปปูลาร์โหวต 53% และ ชนะเลือกตั้งแบบอิเล็กโทรรอลโหวตอย่างท้วมท้น ต่อมาก็มีการจัดเฉลิมฉลองตามท้องถนนในหลายเมืองของสหรัฐและทั่วโลกภายหลังจากที่ทราบผลการเลือกตั้งทันที[115]

ชัยชนะ

 
บารัก โอบามา พบปะกับจอร์จ ดับเบิลยู บุช ในห้องทำงานรูปไข่ เมื่อวันที่ 10 พฤศจิกายน พ.ศ. 2551

ในวันที่ 4 พฤศจิกายน ค.ศ. 2008 บารัก โอบามาชนะเลือกตั้งแบบอิเล็กทรอรัลโหวต 365 คะแนน ซึ่งจอห์น แมคเคนได้เพียงแค่ 173 คะแนน[116] และกลายเป็นชาวแอฟริกันอเมริกันคนแรกที่ได้เป็นประธานาธิบดีของสหรัฐฯ[117][118][119][120] เขาได้ประกาศชัยชนะต่อประชาชนหลายแสนคน ที่สนับสนุนให้เขาเป็นประธานาธิบดีที่แกรนด์ปาร์ค ชิคาโกว่า "การเปลี่ยนแปลงได้มาถึงอเมริกาแล้ว" ("change has come to America")[121]

ในวันที่ 8 มกราคม ค.ศ. 2009 ในการประชุมร่วมกันของสมาชิกจากสองสภาของรัฐสภาสหรัฐ ได้รับรองผลอิเล็กทอรัลโหวต ในการเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐ ค.ศ. 2008 โดยใช้การนับจำนวนคะแนนเสียงที่โหวตให้ บารัก โอบามาได้รับการประกาศให้เป็นประธานาธิบดีโดยมีโจ ไบเดิน เป็นรองประธานาธิบดี[122]

การดำรงตำแหน่งประธานาธิบดี

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชมหาราช ส่งพระราชสาส์นแสดงความยินดีกับโอบามา ที่จะเข้ารับตำแหน่งในเวลาเที่ยงคืนตามเวลาประเทศไทย โดยทรงได้อำนวยพรให้ประสบความสำเร็จเพื่อความเจริญก้าวหน้าของประชาชน และความเจริญยิ่งขึ้นของสหรัฐ

วันแรกที่เข้ารับตำแหน่ง

โอบามาเข้ารับตำแหน่งประธานาธิบดีเมื่อวันที่ 20 มกราคม ค.ศ. 2009 โจ ไบเดิน เป็นรองประธานาธิบดี หลังจากที่ทำงานได้เพียงไม่กี่วัน เขาได้ออกคำสั่ง (Executive Order) และออกเอกสารบันทึกความเข้าใจประธานาธิบดี (Presidential Memorandum) บัญชาการกองทัพสหรัฐฯ โดยตรงเพื่อพัฒนาแผนการถอนกำลังทหารออกจากอิรัก,[123] และออกคำสั่งให้ปิดค่ายกักขังนักโทษกวนตานาโมทันทีและให้แล้วเสร็จไม่เกินเดือนมกราคม ค.ศ. 2010[124] ยิ่งไปกว่านั้น โอบามายังได้ปรับปรุงการเก็บรักษาข้อมูลลับของประธานาธิบดี[125] และปรับเปลี่ยนวิธีนำเสนอข่าวสารที่สามารถเปิดเผยได้ ภายใต้รัฐบัญญัติข้อมูลข่าวสารสหรัฐ (Freedom of Information Act).[126] และดำเนินนโยบายสนับสนุนการทำแท้ง[127]

นโยบายในประเทศ

วันที่ 29 มกราคม ค.ศ. 2009 โอบามาลงนามในกฎหมาย “ลิลลี เลดเบทเทอร์ แฟร์ เพย์” (The Lilly Ledbetter Fair Pay Act) ซึ่งยกเลิกคำตัดสินของศาลในคดีที่ ลิลลี เลดเบทเทอร์ ฟ้อง บริษัท กู้ดเยียร์ ไทร์ แอนด์ รับเบอร์ โค. (Goodyear Tire & Rubber Co.) และช่วยให้การเก็บเอกสารแยกแยะคดีฟ้องร้องในเรื่องการจ้างงานให้สะดวกยิ่งขึ้น[128] 5 วันต่อมา เขาลงนามในระเบียบวาระประกันสุขภาพเด็ก (SCHIP) ทำให้เด็กอีกจำนวน 4 ล้านคนในปัจจุบันได้รับการประกันสุขภาพโดยทั่วถึงกัน[129]

ในเดือนมีนาคม ค.ศ. 2009 โอบามายกเลิกนโยบายสมัยประธานาธิบดีจอร์จ ดับเบิลยู. บุช ที่กีดขวางไม่ให้งบจากรัฐบาลกลางมาใช้เป็นทุนสำหรับงานวิจัยสเต็มเซลล์ (Stem cells) แม้ว่าจะมีผู้วิจัยบางคนออกมาโต้แย้งในเรื่องนี้ เขาแถลงออกไปว่า "เรื่องวิทยาศาสตร์กับเรื่องศีลธรรมเป็นคนละเรื่องกัน...เรามีมนุษยธรรมและคุณธรรมที่จะติดตามงานวิจัยนี้โดยรับผิดชอบ" และให้คำมั่นสัญญาว่าจะพัฒนานโยบายนี้ให้สมบูรณ์[130]

วันที่ 26 พฤษภาคม ค.ศ. 2009 โอบามาเสนอชื่อ โซเนีย โซโตเมเยอร์ เป็นผู้พิพากษาศาลสูงสุดสหรัฐแทนที่ เดวิด ซูเตอร์ ที่ลาออกไป โซโตเมเยอร์ได้รับการรับรองเมื่อวันที่ 6 สิงหาคม ค.ศ. 2009 ด้วยจำนวนเสียง 68-31[131] เธอกลายเป็นชาวสเปนคนแรกที่ได้เป็นผู้พิพากษาศาลสูงสุด เธอเข้าร่วมกับ รุธ เบเดอร์ จินส์เบิร์ก หนึ่งในจำนวนผู้หญิง 2 คนและเป็นผู้หญิงคนที่ 3 ที่เป็นผู้พิพากษาตลอดมา[132]

วันที่ 30 กันยายน ค.ศ. 2009 รัฐบาลโอบามาประกาศข้อบังคับเรื่องพลังงานพืช, โรงงานและโรงกลั่นน้ำมันให้จำกัดมลภาวะเรือนกระจกเพื่อช่วยลดปรากฏการณ์โลกร้อน[133][134][135]

การจัดการเศรษฐกิจ

วันที่ 17 มกราคม ค.ศ. 2009 โอบามาลงนามในแผนกระตุ้นเศรษฐกิจสหรัฐฯ 787 พันล้านดอลลาร์สหรัฐเป็นกฎหมาย เพื่อช่วยฟื้นฟูเศรษฐกิจจากภาวะเศรษฐกิจถดถอยทั่วโลก[136] กฎหมายฉบับนี้ครอบคลุมถึงการใช่จ่ายจากส่วนกลางสำหรับประกันสุขภาพ, สาธารณูปโภคขั้นพื้นฐาน, การศึกษา, ภาษีต่าง ๆ และสิ่งชักจูงอื่น ๆ และช่วยเหลือไปที่ปัจเจกบุคคลโดยตรง[137] ซึ่งกระจายไปตลอดหลายปี

ในเดือนมีนาคม ทิโมธี ไกธ์เนอร์ รมว.คลังสหรัฐฯ ได้ก้าวล้ำไปอีกขั้นหนึ่งในการจัดการกับวิกฤติการณ์การเงิน รวมไปถึงการนำเสนอกองทุนการร่วมลงทุนของภาครัฐและเอกชน หรือ Public-Private Investment Program (PPIP) เพื่อซื้อคืนหนี้เสีย (Legacy Assets) จากสถาบันการเงิน วันที่ 23 มีนาคม หนังสือพิมพ์นิวยอร์กไทม์ บันทึกไว้ว่า "ผู้ลงทุนมีปฏิกิริยาที่ปีติยินดีอย่างเหลือล้นกับดัชนีตลาดหลักทรัพย์ขนาดใหญ่ที่ถีบตัวสูงขึ้นเช่นเดียวกับตลาดเปิด"[138]

โอบามาเข้าแทรกแซงวิกฤตการณ์อุตสาหกรรมยานยนต์[139] ในเดิอนมีนาคม ต่อสัญญาเงินกู้ให้แก่บริษัทเจเนรัลมอเตอร์ และ ไครสเลอร์ คอร์ปอเรชัน เพื่อให้ดำเนินกิจการเป็นไปอย่างต่อเนื่องในขณะที่มีการวางนโยบายใหม่ ตลอดหลายเดือนที่ผ่านมาทำเนียบขาวจัดให้ทั้งสองบริษัทอยู่ในสถานะล้มละลาย รวมไปถึงการขายกิจการของไครสเลอร์ให้แก่เฟียต[140] และการปรับปรุงของบริษัทเจเนรัลมอเตอร์เป็นการให้ผลประโยชน์ชั่วคราวที่ยุติธรรมต่อรัฐบาลสหรัฐ 60% รัฐบาลแคนาดารับภาระ 12%[141] ในเดือนมิถุนายน ค.ศ. 2009 ความก้าวหน้าของตัวกระตุ้นเศรษฐกิจเป็นไปอย่างไม่เพียงพอ โอบามาเรียกร้องให้รัฐบาลรีบเร่งลงทุน[142] เขาลงนามเป็นกฎหมายใน Cash For Clunkers หรือที่รู้จักกันในชื่อ CARS-Car Allowance Rebate System มีผลบังคับใช้เป็นกฎหมายสมบูรณ์ เป็นการกระตุ้นตลาดรถยนต์สหรัฐ และเพิ่มความสนใจให้แก่คนอเมริกันในการหันมาเปลี่ยนรถยนต์ใหม่ซึ่งมีอัตรา ความสิ้นเปลืองน้ำมันเชื้อเพลิงลดลง และมีระดับการสร้างมลพิษในอากาศน้อยกว่ารถยนต์รุ่นเก่า ๆ และแคมเปญนี้สิ้นสุดไปเมื่อวันที่ 25 สิงหาคม ค.ศ. 2009[143][144]

ปฏิรูประบบประกันสุขภาพ

 
โอบามาลงนามในกฎหมายให้ความคุ้มครองผู้ป่วยและค่ารักษาพยาบาลที่ประชาชนสามารถจ่ายได้ เมื่อวันที่ 23 มีนาคม ค.ศ. 2010

โอบามาเรียกร้องให้รัฐสภาสหรัฐผ่านกฎหมายปฏิรูประบบประกันสุขภาพ ซึ่งเป็นสัญญารณรงค์เรื่องหลักและเป็นเป้าหมายสูงสุดของนิติบัญญัติ[145] เขาได้เสนอการขยายการดูแลประกันสุขภาพซึ่งจะครอบคลุมถึงผู้ที่ไม่ได้ทำประกันเอาไว้ด้วย ข้อเสนอของเขานี้จะใช้งบ 900 พันล้านดอลลาร์ครอบคลุมถึง 10 ปีและรวมไปถึงแผนประกันภัยของรัฐบาลเพื่อที่จะแข่งขันกับภาคเอกชน มันอาจจะทำให้เกิดสิ่งผิดกฎหมายกับผู้ที่ทำประกันภัย ทำให้เกิดการปฏิเสธการรักษาของพวกที่ไม่สบายก่อนหน้านี้ และต้องการให้ครอบคลุมถึงสุขภาพของชาวอเมริกันทุกคน แผนการนี้ยังได้รวมถึงการตัดค่าจ่ายใช้จ่ายทางการแพทย์ และภาษีของบริษัทประกันภัยซึ่งเสนอแผนการต่าง ๆ ที่มีค่าใช้จ่ายสูง[146][147]

วันที่ 14 กรกฎาคม ค.ศ. 2009 ผู้นำรัฐสภาจากพรรคเดโมแครต นำเสนอแผนการปรับปรุงระบบประกันสุขภาพสหรัฐจำนวน 1,017 หน้าซึ่งโอบามาต้องการให้รัฐรัฐสภาสหรัฐอนุมัติภายในสิ้นปี ค.ศ. 2009[145] หลังจากที่มีการอภิปรายทางสาธารณะอย่างมากในระหว่างการประชุมรัฐสภาช่วงฤดูร้อน ค.ศ. 2009 โอบามาประกาศแถลงการณ์ของสภาคู่เมื่อวันที่ 9 กันยายน เขาพูดในสภาว่ากังวลในเรื่องของข้อเสนอของรัฐบาลของเขา[148]

วันที่ 7 พฤศจิกายน ค.ศ. 2009 สภาล่างผ่านร่างกฎหมายประกันสุขภาพ[149][150] ต่อมาวันที่ 24 ธันวาคม ค.ศ. 2009 สภาสูงผ่านร่างกฎหมายฉบับนี้ด้วยคะแนนโหวต 60-39[151] วันที่ 21 มีนาคม ค.ศ. 2010 ร่างกฎหมายฉบับนี้ได้รับความเห็นชอบจากสภาสูงในเดือนธันวาคม และจากสภาล่างด้วยคะแนนโหวต 219 ถึง 212[152] โอบามาลงนามในร่างกฎหมายฉบับนี้มีผลบังคับใช้เป็นกฎหมายเมื่อวันที่ 23 มีนาคม ค.ศ. 2010[153]

ตำแหน่งทางการเมือง

แบบแผนหรือทฤษฎีของนักการเมืองใช้สำหรับการวัดความคิดที่เป็นไปได้ คือการเปรียบเทียบคะแนนนิยมประจำปีของ องค์กรวัดคะแนนนิยมจากชาวอเมริกันผู้นิยมประชาธิปไตย (ADA) กับสมาพันธ์ชาวอเมริกันที่เป็นกลุ่มอนุรักษนิยม หรือพวกที่ชอบประเพณีเก่า ๆ ล้าสมัย (ACU)[154] การอยู่ในรัฐสภาสหรัฐหลายปี โอบามาได้มีค่าเฉลี่ยคะแนนนิยมอยู่ที่ 7.67% (สำรวจโดย ACU)[155] และจากการสำรวจโดย ADA เขาได้คะแนนนิยม 90%[156]

บารัก โอบามา มีนโยบายที่ตรงข้ามกับนโยบายของประธานาธิบดีจอร์จ ดับเบิลยู. บุชเกี่ยวกับอิรัก[157] ซึ่งในวันที่ 2 ตุลาคม 2002 ประธานาธิบดีจอร์จ ดับเบิลยู. บุช และรัฐรัฐสภาสหรัฐสหรัฐ ได้ลงมติเห็นชอบร่วมกันในการทำสงครามอิรัก โอบามาได้พูดรณรงค์ต่อต้านการทำสงครามอิรักที่ Federal Plaza ในชิคาโกเป็นครั้งแรก[158] และเขายังได้กล่าวปราศรัยต่อต้านในเรื่องนี้มาโดยตลอด[159]โอบามาอ่านแถลงการณ์ครั้งยิ่งใหญ่เป็นครั้งแรก ในเรื่องของการประท้วงต่อต้านการทำสงครามอิรัก ที่ Kluczynski Federal Building, Chicago[160] เขาพูดโจมตีอย่างรุนแรง[161][162] ในวันที่ 16 มีนาคม 2003 ประธานาธิบดีบุชได้ยื่นคำขาดให้ซัดดัม ฮุสเซนออกจากอิรักภายใน 48 ชั่วโมง ก่อนที่สหรัฐจะรุกรานอิรัก[163] โอบามากล่าวถึงการรณรงค์ต่อต้านการทำสงครามอิรัก และได้บอกสื่อมวลชนว่า "ยังไม่สายเกินไปที่จะยุติสงคราม"[164] ถึงแม้ว่าเขาได้ประกาศมาก่อนหน้านี้แล้วว่าเขาจะถอดกำลังทหารออกจากอิรักทั้งหมดภายในเวลา 16 เดือนหลังจากที่เขาเป็นประธานาธิบดี หลังจากที่เขาชนะในครั้งแรกนั้น เขากล่าวว่าเขาอาจจะทำตามที่สัญญาไว้[165]

โอบามาได้แจ้งว่า ถ้าหากเขาได้รับเลือกตั้ง เขาจะออกกฎหมายตัดงบประมาณประมาณ 10,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ หรือประมาณ 352,900 ล้านบาท เพื่อหยุดการลงทุนซื้ออาวุธที่พิสูจน์ไม่ได้ ในระบบการป้องกันประเทศ, ลดการพัฒนาระบบการรบหรือการต่อสู้ลง และมุ่งทำงานเพื่อกำจัดอาวุธนิวเคลียร์ทั้งหมด โดยเริ่มจากการลดการสั่งสมนิวเคลียร์ในปัจจุบันของสหรัฐลง ออกกฎหมายห้ามไปทั่วโลกในการผลิตวัตถุดิบในการผลิตอาวุธ และหาทางเจรจาตกลงกับรัสเซียที่จะขจัด ICBMs ออกไปจากสถานะเตือนภัยหรือต้องระวังสูงสุด[166]

 
โอบามาพูดในที่ชุมนุมที่คอนเวย์ รัฐเซาท์แคโรไลนา[167]

ในเดือนพฤศจิกายน ค.ศ. 2006 โอบามาได้ขอให้เปลี่ยนแนวรบโดยการถอนกองทัพสหรัฐออกจากอิรัก และเปิดการเจรจาทางการทูตกับซีเรียและอิหร่าน[168] ต่อมาเดือนมีนาคม 2007 ได้มีการพูดในคณะกรรมการความสัมพันธ์สาธารณะอเมริกัน-อิสราเอล (AIPAC) โดยเห็นด้วยกับการลอบบี้ของอิสราเอล[169] เขาได้กล่าวว่า วิธีเบื้องต้นที่จะป้องกันไม่ให้อิหร่านผลิตอาวุธนิวเคลียร์ก็คือ การพูดเจรจาและใช้วิธีทางการทูตกับอิหร่านโดยปราศจากเงื่อนไขก่อน[170][171][172] รายละเอียดของกลยุทธ์ของเขาเพื่อต่อสู้กับการก่อการร้ายสากล ในเดือนสิงหาคม 2007 โอบามาพูดว่า "เป็นเรื่องเข้าใจผิดอย่างมากที่รบล้มเหลว" ซึ่งขัดกับการพบกับผู้นำอัลกออิดะฮ์ ใน ค.ศ. 2005 ที่หน่วยสืบราชการลับของสหรัฐได้ยืนยันที่จะกระทำขึ้น ในพื้นที่รัฐบาลกลางของปากีสถาน เขากล่าวว่า ถ้าเป็นประธานาธิบดี เขาจะไม่สูญเสียโอกาสเช่นนั้น แม้ว่าจะไม่ได้รับการสนับสนุนจากรัฐบาลปากีสถานก็ตาม[173]

ในเดือนธันวาคม ค.ศ. 2005 คอลัมน์ความคิดเห็นในหนังสือพิมพ์ The Washington Post และที่รวมพลังพิทักษ์ดาฟูร์ในเดือนเมษายน 2006 โอบามายังเรียกร้องให้ยืนหยัดต่อสู้เพื่อต่อต้านการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ที่ดาร์ฟูร์ ดินแดนทางทางตะวันตกของประเทศซูดาน[174] เขายังได้ถอนเงิน 180,000 ดอลลาร์สหรัฐ หรือประมาณ 6,352,200 ล้านบาท ออกจากการยึดถือเงินส่วนบุคคลที่เกี่ยวข้องกับประเทศซูดาน และได้ถอนการทำธุรกิจบริษัทต่าง ๆ ออกจากประเทศอิหร่าน[175] ในเดือนกรกฎาคม–สิงหาคม ค.ศ. 2007 เรื่องนโยบายเกี่ยวกับงานด้านการต่างประเทศ โอบามาได้เรียกร้องให้มองนโยบายที่ส่งทหารไปประจำการในสงครามอิรักออกไปข้างนอก และจัดตั้งกองทัพสหรัฐขึ้นมาใหม่ การทูต และจริยธรรมของผู้นำในโลก การกล่าวว่า "เราไม่สามารถล่าถอยจากโลกและพยายามข่มขู่ข้าศึกเพื่อให้ยอมจำนน" โอบามาได้ปราศรัยต่อหน้าประชาชนอเมริกันว่า "นำโลกโดยการกระทำเป็นตัวอย่าง"[176]

เดือนเมษายน ค.ศ. 2005 ในงานเกี่ยวกับเศรษฐกิจ เขาได้พูดสนับสนุนนโยบายสวัสดิการสังคมเพื่อการค้าใหม่ ของประธานาธิบดีแฟรงกลิน ดี. โรสเวลต์ และคัดค้านข้อเสนอจากทางพรรคริพับลิกัน ที่จะจัดตั้งบัญชีส่วนบุคคลเพื่อสวัสดิการสังคม[177] ภายหลังจากควันหลงพายุเฮอร์ริเคนแคทรีนา โอบามาพูดต่อต้านรัฐบาลว่า ไม่ต่างอะไรกับการแบ่งแยกระดับการเติบโตทางเศรษฐกิจ และยังเรียกร้องไปยังพรรคการเมือง ให้มีการรื้อฟื้นเครือข่ายความปลอดภัยเพื่อคนจน[178] ก่อนที่จะมีการรณรงค์หาเสียงเลือกตั้งเป็นประธานาธิบดีนั้น เขาได้กล่าวไว้ว่าเขาสนับสนุนการดูแลสุขภาพในสหรัฐ[179] เขาได้เสนอการให้รางวัลแก่ครูจากการสอนหนังสือ ตามระบบที่มีการให้สิ่งตอบแทนที่สืบทอดกันมาเป็นประเพณี สร้างความมั่นใจให้แก่สหภาพครูว่า การเปลี่ยนแปลงจะเกิดขึ้นในกระบวนการข้อตกลงระหว่างนายจ้างกับลูกจ้างเกี่ยวกับค่าจ้างชั่วโมงทำงาน[180]

ในเดือนกันยายน ค.ศ. 2007 โอบามากล่าวโทษกลุ่มที่มีผลประโยชน์ที่หลบเลี่ยงการจัดเก็บภาษี[181] ในแผนการของโอบามาจะไม่มีการเก็บภาษีจากพลเมืองอาวุโส ที่มีรายได้ต่ำกว่า 50,000 ดอลลาร์สหรัฐ หรือประมาณ 1,764,500 บาท ต่อปี แต่เพิ่มการเก็บภาษีสำหรับผู้ที่มีรายได้สูงกว่า 250,000 ดอลลาร์สหรัฐ หรือประมาณ 8,822,500 บาท ต่อปี เฉกเช่นเงินทุนที่ได้มาและเงินปันผลจากการตัดภาษี จัดการบริษัทที่ใช้ช่องโหว่ทางกฎหมายเกี่ยวกับภาษีในการโกงภาษี[182] ยกเลิกรายได้ที่ต่อยอดมาจากภาษีที่ใช้รักษาความปลอดภัยในสังคม ควบคุมภาษีของบริษัทที่จดทะเบียนในต่างประเทศ และการเพิ่มภาษีรายได้ให้เด่นชัด ซึ่งได้ส่งกลับไปก่อนที่จะมีการเพิ่มค่าจ้าง และข้อมูลทางธนาคาร แล้วจึงจะรวบรวมโดยหน่วยงานบริการรายได้ภายใน (IRS)[183] การประกาศนโยบายวางแผนพลังงานในการหาเสียงเลือกตั้งประธานาธิบดีในเดือนตุลาคม ค.ศ. 2007 โอบามาเสนอขีดจำกัดเกี่ยวกับระบบการขายทอดตลาดเพื่อที่จะจำกัดการแพร่กระจายของคาร์บอน และโปรแกรมการลงทุน 10 ปี ในแหล่งพลังงานใหม่ เพื่อลดการพึ่งพาการนำเข้าน้ำมันของสหรัฐ[184] โอบามาเสนอว่าสินเชื่อมลภาวะจะต้องขายทอดตลาด ไม่มีการเอื้อประโยชน์ให้แก่บริษัทน้ำมันและแก๊ส และการใช้จ่ายภาษีอากรตลอดจนไปถึงเรื่องของการพัฒนาและค่าใช้จ่ายการขนส่งทางเศรษฐกิจ[185]

โอบามาได้กระตุ้นพรรคเดโมแครตให้เข้าถึงกลุ่มนิกายโปรแตสแตนต์ และผู้นับถือศาสนาอื่น ๆ ให้ได้[186] ในเดือนธันวาคม ค.ศ. 2006 เขาได้ร่วมกับวุฒิสมาชิก แซม บราวน์แบล็ก ในองค์กรช่วยเหลือโรคเอดส์โลก (Global Summit on AIDS and the Church) ซึ่งก่อตั้งโดย Kay and Rick Warren[187] ในช่วงที่เขาทำงานอยู่กับ Warren และ บราวน์แบล็กนั้น โอบามาได้ทดสอบเกี่ยวกับเชื้อเอดส์ ตามที่เขาได้ทำในประเทศเคนยาอย่างน้อย 4 เดือน[188] ก่อนหน้านี้ได้กระตุ้นในสาธารณชนอื่น ๆ ทำเช่นเดียวกันและไม่ใช่เรื่องที่น่าอายแต่อย่างใด[189] ก่อนการประชุมได้มีกลุ่มต่อต้านการทำแท้ง 18 คน ยื่นจดหมายเปิดผนึกเกี่ยวกับสิ่งที่โอบามาสนับสนุนการทำแท้งอย่างถูกกฎหมาย ในจดหมายมีเนื้อหาว่า "เราต่อต้าน Rick Warren อย่างรุนแรงในการตัดสินใจที่ไม่ได้สนใจเกี่ยวกับจุดยืนของการตายอย่างชัดเจนของวุฒิสมาชิกโอบามา และเชิญเขามาที่โบสถ์ Saddle Back" ในการกล่าวกับสมาชิกของนิกายคริสต์กว่า 8,000 คนในเดือนมิถุนายน ค.ศ. 2007 โอบามาขึ้นชื่อว่าเป็น"ผู้นำของชาวคริสเตียนที่จะกระตือรือร้นเป็นผู้แบ่งแยกเรา"[190]

ชีวิตส่วนตัวและครอบครัว

โอบามา ได้พบกับ มิเชล โรบินสัน ในเดือนมิถุนายน ค.ศ. 1989 ขณะที่เป็นนักศึกษาฝึกงานอยู่ในช่วงซัมเมอร์ที่บริษัทกฎหมาย Sidley Austin ในเมืองชิคาโก[191] หลังจากนั้นโรบินสันก็ได้เข้าทำงานที่บริษัทนี้ในตำแหน่งที่ปรึกษาของโอบามาเป็นระยะเวลา 3 เดือน โรบินสันได้คบหาสมาคมแบบกลุ่มกับโอบามา แต่กลับปฏิเสธการขอเดทครั้งแรกจากโอบามา[192] ต่อมา พวกเขาออกเดทกันในซัมเมอร์นั้น และเป็นแฟนกันใน ค.ศ. 1991 จนกระทั่งแต่งงานในวันที่ 3 ตุลาคม ค.ศ. 1992[193] ทั้งคู่มีลูกสาวด้วยกัน 2 คนคือ มาเลีย แอน (เกิดเมื่อวันที่ 4 กรกฎาคม ค.ศ. 1998[194]) และ นาตาชา ("ซาชา", เกิดปี 2001)[195] ในชิคาโก ครอบครัวโอบามาได้ส่งลูกสาวทั้ง 2 คนไปเรียนที่ University of Chicago Laboratory Schools และเริ่มต้นใช้ชีวิตที่วอชิงตัน ดี.ซี. หลังจากนั้นก็ส่งไปเรียนต่อที่ Sidwell Friends School[196]

ในระหว่างที่กำลังศึกษาอยู่ในมหาวิทยาลัยนั้น เพื่อนร่วมสถาบันแทนที่จะเรียกชื่อของเขาว่าบารัก แต่กลับตั้งฉายาให้เขาใหม่ว่า "แบรี่" (Barry) ที่แปลว่าคนผิวดำ ทำให้เขารู้สึกแปลกแยกพอสมควร[197]

 
บารัก โอบามา กับ มิเชล โอบามา

ประโยชน์จากการขายหนังสือทำให้ครอบครัวของโอบามาย้ายจาก Hyde Park ไปยังคอนโดมิเนียมในชิคาโก ย่านเคนวูด (Kenwood) มูลค่า 1.6 ล้านดอลลาร์สหรัฐ และเป็นสถานที่พักอาศัยของพวกเขาจนถึงปัจจุบัน[198] การซื้อขายบ้านให้โอบามานี้เกิดขึ้นโดยภรรยาผู้บุกเบิกและเพื่อนของเขาคือ Tony Rezko ได้ดึงดูดความสนใจจากสื่อ เนื่องจากคำฟ้องร้องของ Rezko และตัดสินว่ามีความผิด ในเรื่องของข้อกล่าวหาว่ามีการทุจริตทางการเมืองว่าไม่เกี่ยวข้องกับโอบามา[199][200]

ในเดือนธันวาคม ค.ศ. 2007 นิตยสาร Money ได้ประเมินทรัพย์สินของครอบครัวโอบามาที่ 1.3 ล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือประมาณ 45.87 ล้านบาท (การเทียบเงินในเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2551)[201] ภาษีของพวกเขาใน ค.ศ. 2007 ชี้ให้เห็นว่ารายได้ของครอบครัวนี้อยู่ที่ 4.2 ล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือประมาณ 148.21 ล้านบาท (การเทียบเงินในเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2551) เพิ่มขึ้นประมาณ 1 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ใน ค.ศ. 2006 และ 1.6 ล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือประมาณ 56.45 ล้านบาท (การเทียบเงินในเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2551) ในปี 2005 รายได้เกือบทั้งหมดมาจากการขายหนังสือของเขา[202]

 
โอบามากำลังเล่นบาสเกตบอลกับทหารอเมริกันที่ประเทศจิบูตี ในปี 2006[203]

ใน ค.ศ. 2006 โอบามาได้ให้สัมภาษณ์โดยเน้นจุดเด่นของความแตกต่างกันของครอบครัวขนาดใหญ่ของเขาว่า "มิเชล จะบอกคุณว่าเมื่อเราอยู่ร่วมกันในวันคริสต์มาส หรือ วันขอบคุณพระเจ้า ซึ่งเสมือนเป็นสหประชาชาติขนาดเล็ก ๆ " เขาพูดว่า "ผมมีญาติซึ่งเหมือน เบอร์นี แมค และผมมีญาติซึ่งเหมือน มาร์กาเรต แทตเชอร์"[204] โอบามามีญาติทางพ่อเขาซึ่งเป็นชาวเคนยา 7 คน โดย 6 คนยังมีชีวิตอยู่ และน้องสาวของต่างบิดาของเขา มายา ซูโตโร ซึ่งเกิดกับแม่ของโอบามาและสามีคนที่สองที่เป็นชาวอินโดนีเซีย[205] แม่ของโอบามามีมารดาเป็นชาวแคนซัส ชื่อ เมดาลีน ดันแฮม[206]จนกระทั่งเสียชีวิตในวันที่ 2 พฤศจิกายน ค.ศ. 2008 ก่อนที่จะมีการเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐ ค.ศ. 2008 เพียง 2 วัน[207] ในหนังสือ Dreams from My Father: A Story of Race and Inheritance หรือในชื่อภาษาไทย บารัก โอบามา ผมลิขิตชีวิตตัวเอง อัตชีวประวัติที่บอกเล่าเรื่องราวชีวิต ความคิด และมุมมองที่มีต่อเรื่องสีผิว โอบามามักจะบอกว่าเขาไม่ได้เขียนหนังสือเล่มนี้เพราะเป็นคนเด่นดัง แต่ต้องการบันทึกเรื่องราวของเชื้อชาติ และมรดกทางปัญญาที่สืบทอดจากบรรพบุรุษ สะท้อนความเหลื่อมล้ำในสังคม และเป็นกำลังใจให้แก่ผู้ที่แสวงหาตัวตน โอบามามีครอบครัวทางมารดาเชื้อชาติอเมริกันและเป็นญาติห่าง ๆ กับเจฟเฟอร์สัน เดวิส ซึ่งเป็นประธานสมาพันธ์ภาคใต้ในระหว่างสงครามกลางเมืองอเมริกา[208] ปู่ทวดและตาทวดของโอบามาต่อสู้ในสงครามโลกครั้งที่สอง พี่ชายของปู่ย่าตายายของโอบามาสังกัดกองพลที่ 89 ที่บุกไปยังค่าย Ohrdruf[209] ซึ่งเป็นค่ายนาซีค่ายแรกที่ถูกกองทัพสหรัฐทำลาย[210]

โอบามาเล่นบาสเกตบอล เป็นสมาชิกในทีมนักบาสเกตบอลของมหาวิทยาลัย[211] นอกจากนี้เขายังมีความพยายามในการเลิกสูบบุหรี่เป็นเวลาหลายครั้ง รวมไปถึงการเป็นแบบอย่างของสาธารณชนที่ดี และพยายามอย่างต่อนเองก่อนที่จะหาเสียงเพื่อชิงตำแหน่งประธานาธิบดี[212] และประกาศว่าจะไม่สูบบุหรี่ในทำเนียบขาวเป็นอันขาด[213]

โอบามาเป็นชาวคริสต์ซึ่งเป็นศาสนาที่เขานับถือเมื่อโตเป็นผู้ใหญ่ ในหนังสือ The Audacity of Hope หรือในชื่อภาษาไทย กล้าหวัง กล้าเปลี่ยน รวบรวมสุนทรพจน์และปาฐกถา และสะท้อนแนวคิดทางการเมืองที่จะนำอเมริกาไปสู่ความเปลี่ยนแปลง รวมถึงมุมมองในการจัดการปัญหาต่าง ๆ ทั้งความเหลื่อมล้ำในสังคม คุณภาพชีวิต เศรษฐกิจ และการสร้างภาพลักษณ์ผู้นำที่เข้มแข็งในเวทีโลกให้แก่อเมริกา โอบามาได้เขียนว่า ไม่ได้ยกเลิกการนับถือศาสนาในครอบครัว เขาอธิบายเกี่ยวกับมารดาของเขาว่าเป็นผู้ไม่ปฏิบัติตามทั้งนิกายเมทอดิสต์ และนิกายแบปทิสต์ ซึ่งยังไม่ได้ถอนตัวออกจากศาสนาเสียทีเดียว ในหลาย ๆ วิธีที่บุคคลที่ตื่นตัวแล้วส่วนมากที่นิยมไม่เคยรู้จักมาก่อน เขาอธิบายเกี่ยวกับบิดาชาวเคนยาของเขาว่า ไม่เป็นมุสลิม แต่เป็นผู้ไม่เชื่อว่ามีพระผู้เป็นเจ้า ซึ่งพ่อและแม่ของเขาเชื่อในขณะนั้น และพ่อเลี้ยงชาวอินโดนีเซียของเขาเป็นผู้เห็นว่าศาสนาไม่มีประโยชน์ใด ๆ ในหนังสือนี้โอบามาได้อธิบายวิธีทำงานร่วมกับคนผิวดำในโบสถ์ต่าง ๆ ในองค์กรชุมชน ในช่วงที่เขามีอายุประมาณ 20 ปี เขาได้เข้าใจเกี่ยวกับพลังอำนาจของศาสนา แอฟริกันอเมริกัน ที่เปลี่ยนแปลงสังคมได้อย่างไม่ได้เตรียมตัวมาก่อน[214][215] เขาได้รับชื่อในพิธีรับเข้าเป็นคริสต์ศาสนิกชนที่ สหคริสตจักรตรีเอกานุภาพแห่งพระคริสต์ (Trinity United Church of Christ) ใน ค.ศ. 1988[216][217]

นอกเหนือจากภาษาอังกฤษแล้ว โอบามายังพูดภาษาอินโดนีเซียได้อีก แต่พูดได้เพียงเล็กน้อยเท่านั้น ในสมัยที่เขาย้ายไปเรียนที่จาการ์ตาตอนอายุ 4 ขวบ[218] หลังจากการประชุมลับสุดยอดเอเปคที่ประเทศเปรู ในปี 2008 ประธานาธิบดีซูซีโล บัมบัง ยูโดโยโน แห่งอินโดนีเซียต่อสายสัมภาษณ์ทางโทรศัพท์ไปยังโอบามา โดยออกอากาศสดทางสื่อต่าง ๆ ของอินโดนีเซีย โอบามาพูดกับซูซีโล บัมบัง ยูโดโยโน ว่าเขาคิดถึงอาหารอินโดนีเซียอย่างเช่น นาสิ โกเล็ง, บาคโซ และ เงาะ[219]

ภาพลักษณ์ทางวัฒนธรรมและทางการเมือง

 
บารัก โอบามากับอดีตประธานาธิบดีจอร์จ ดับเบิลยู. บุช, จิมมี คาร์เตอร์, จอร์จ เอช. ดับเบิลยู. บุช, และบิล คลินตัน ในห้องทำงานรูปไข่เมื่อวันที่ 7 มกราคม ค.ศ. 2009

โอบามามีพ่อเป็นชาวเคนยา แม่เป็นชาวอเมริกันผิวขาว เขาได้รับการอบรมสั่งสอนในวัยเด็กที่โฮโนลูลู และจาการ์ตา จบจากไอวีลีก ประสบการณ์ชีวิตในช่วงวัยเริ่มต้นของโอบามาแตกต่างอย่างเห็นได้ชัด จากนักการเมืองอเมริกันเชื้อสายแอฟริกันเหล่านั้น ผู้ซึ่งดำเนินวิถีทางของพวกเขาเอง ใน ค.ศ. 1960 พวกเขามีแนวคิดในการมีส่วนร่วมเคลื่อนไหวทางการเมืองเกี่ยวกับสิทธิพลเมือง[220] การแสดงความงุนงงให้เห็นเกี่ยวกับคำถามที่ว่าเขาดำพอแล้วหรือยัง โอบามากล่าวในการประชุมที่สมาคมนักหนังสือพิมพ์ของคนผิวดำแห่งชาติ เมื่อเดือนสิงหาคม ค.ศ. 2007 ว่าการอภิปรายไม่เกี่ยวข้องกับร่างกาย หรือนโยบายของเขาที่จดบันทึก ที่เป็นห่วงถึงผู้ออกเสียงที่เป็นคนผิวดำ โอบามากล่าวว่า "เรายังคงติดแน่นอยู่กับความรู้สึกนี้ที่ว่าถ้าคุณไปอ้อนวอนแต่พวกผิวขาวก็เหมือนกับว่าคุณกำลังทำอะไรผิด"[221]

โอบามาแถลงการณ์ประธานาธิบดีฉบับแรก ชี้แจงถึงรัฐบัญญัติฟื้นฟูเศรษฐกิจและการลงทุน ค.ศ. 2009

เสียงสะท้อนจากคำแถลงการณ์ ในการเข้ารับตำแหน่งประธานาธิบดีอย่างเป็นทางการของ จอห์น เอฟ. เคนเนดี โอบามายอมรับความจริงเกี่ยวกับภาพพจน์ของเขาในตอนแรกเริ่ม ในการกล่าวสุนทรพจน์เกี่ยวกับการรณรงค์หาเสียงเมื่อเดือนตุลาคม ค.ศ. 2007 ว่า "ข้าพเจ้าจะไม่อยู่ที่นี่อีกเป็นอันขาด ถ้าหากว่าตะเกียงยังไม่ได้จุดขึ้นมาใหม่"[222] และมีสำนวนที่กินใจอยู่สำนวนหนึ่งคือ "Rosa sat so Martin could walk; Martin walked so Obama could run."[223]

โอบามายังได้รับการยกย่องว่าเป็นผู้เชี่ยวชาญในการปราศรัยต่อสาธารณชน เมื่อเทียบกับนักพูดที่มีชื่อเสียงในอดีต อย่างมาร์ติน ลูเทอร์ คิง จูเนียร์[224][225] คำกล่าวของเขาที่มีชื่อเสียง เช่น "Yes We Can" ซึ่งเป็นคำพูดที่อยู่ในดนตรีที่สร้างขึ้นมาโดย วิล.ไอ.แอม มีประชาชนทั่วโลกกว่า 10 ล้านคนดูวิดีโอนี้ทางเว็บยูทูบ (YouTube.com) เพียงแค่ 7 เดือนแรกเท่านั้น[226] และยังได้รับรางวัลเอ็มมีอีกด้วย[227] ศาสตราจารย์ Jonathan Haidt แห่ง มหาวิทยาลัยเวอร์จิเนีย ได้วิจัยประสิทธิผลจากการพูดของโอบามาในที่สาธารณะ และมีเหตุผลที่สรุปได้ว่ามีประสิทธิผลมาก เพราะนักการเมืองมักมีความช่ำชองในการพูดปลุกเร้าอารมณ์ และปรารถนาที่จะประพฤติตนเป็นคนดีมีศีลธรรมต่อผู้อื่น[228] ส่วนการชี้แจงถึงนโยบายต่าง ๆ และการบริหารราชการแผ่นดิน ตลอดระยะที่ดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีนั้น โอบามามีแผนที่จะจัดรายการโทรทัศน์เพื่อพบปะกับประชาชน เหมือนกับรายการ "ไฟล์ไซต์ แชท" ที่โด่งดังของประธานาธิบดีแฟรงกลิน ดี. โรสเวลต์[229]

นักวิเคราะห์หลายคนได้อ้างถึงการเป็นที่สนใจของต่างชาติของโอบามา เป็นการให้คำจำกัดความสำหรับภาพพจน์ของเขา[230] ไม่เพียงแต่โพลจากหลายสำนัก ที่แสดงพลังสนับสนุนอันแข็งแกร่งในต่างประเทศ[231] แต่โอบามายังได้สร้างความสัมพันธ์อันแนบแน่นกับนักการเมืองที่มีชื่อเสียง อย่างเช่น โทนี แบลร์ อดีตนายกรัฐมนตรีสหราชอาณาจักร ซึ่งพบกันใน ค.ศ. 2005[232], วอลเตอร์ เวลโทนี หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ของอิตาลี ที่มาเยี่ยมเยียนยังสำนักงานวุฒิสภาของโอบามาใน ค.ศ. 2005[233] และนีกอลา ซาร์กอซี ประธานาธิบดีฝรั่งเศส ซึ่งเคยมาเยี่ยมเยียนโอบามาใน ค.ศ. 2006 ที่วอชิงตัน ดี.ซี.[234]

โอบามาชนะรางวัลแกรมมีในหมวดหมู่รางวัล Best Spoken Word Album จากการตัดต่อคำพูดลงในเทปบันทึกของหนังสือ "Dreams from My Father" ในเดือนกุมภาพันธ์ ค.ศ. 2006 และ "The Audacity of Hope" ในเดือนกุมภาพันธ์ ค.ศ. 2008[235]

ในเดือนธันวาคม ค.ศ. 2008 นิตยสารไทม์เลือกบารัก โอบามาให้เป็นบุคคลแห่งปีของนิตยสารไทม์ ประจำปี 2008[236] วันที่ 8 ตุลาคม ค.ศ. 2009 ให้บารัก โอบามา ได้รับรางวัลโนเบลสาขาสันติภาพโดยข้อความที่ได้รับรางวัล คือ "สำหรับความพยายามในการสร้างความเข้มแข็งให้แก่การทูตระหว่างประเทศและความร่วมมือระหว่างผู้คนทั่วโลก"

งานเขียน

  • The Audacity of Hope: Thoughts on Reclaiming the American Dream,(2006). Crown Publishers, Division of Random House, NY
  • Dreams from My Father: A Story of Race and Inheritance, (1995). Time Books an imprint of Crown Publishers, Division of Random House, NY
  • Change We Can Believe In: Barack Obama's Plan to Renew America's Promise, (2008). Three Rivers Press, an imprint of Crown Publishers, Division of Random House, NY

อ้างอิง

  1. Maraniss, David (2008-08-22). "Though Obama Had to Leave to Find Himself, It Is Hawaii That Made His Rise Possible". The Washington Post. สืบค้นเมื่อ 2008-10-27.
  2. Serafin, Peter (21 March 2004). "Punahou grad stirs up Illinois politics" (Article). Special to the Star-Bulletin. Honolulu Star-Bulletin. สืบค้นเมื่อ 30 November 2008.
  3. 3.0 3.1 Scharnberg, Kirsten; Kim Barker (25 March 2007). "The Not-So-Simple Story of Barack Obama's Youth". Chicago Tribune. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-11-04. สืบค้นเมื่อ 2008-04-13. "Meet Barack". BarackObama.com. สืบค้นเมื่อ 2008-04-13.
  4. Reitwiesner, William Addams. "Ancestry of Barack Obama". สืบค้นเมื่อ 2008-10-09. Obama's maternal heritage consists mostly of English ancestry, with much smaller amounts of German, Irish, Scottish, Welsh, Swiss, and French ancestry.
  5. "FOXNews.com - Report: Obama's Irish Roots Unearthed - Politics | Republican Party | Democratic Party | Political Spectrum". Foxnews.com. 3 May 2007. สืบค้นเมื่อ 2008-11-08.
  6. "Barack Obama's Irish Heritage - John A. Farrell (usnews.com)". Usnews.com. สืบค้นเมื่อ 2008-11-08.
  7. "Tiny Irish Village Is Latest Place to Claim Obama as Its Own - washingtonpost.com". Washingtonpost.com. สืบค้นเมื่อ 2008-11-08.
  8. Obama (1995), pp. 9–10. For book excerpts, see "Barack Obama: Creation of Tales". East African. 2004-11-01. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-09-27. สืบค้นเมื่อ 2008-04-13.
  9. Tim Jones (2007-03-27). "Obama's mom: Not just a girl from Kansas: Strong personalities shaped a future senator". Chicago Tribune, reprinted in The Baltimore Sun. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-04-07. สืบค้นเมื่อ 2008-10-27.
  10. Ripley, Amanda (2008-04-09). "The Story of Barack Obama's Mother". Time. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-04-01. สืบค้นเมื่อ 2007-04-09.
  11. Obama (1995), pp. 125–126. See also: Jones, Tim (27 March 2007). "Obama's Mom: Not Just a Girl from Kansas". Chicago Tribune. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-07-29. สืบค้นเมื่อ 2008-04-13.
  12. Serafin, Peter (21 March 2004). "Punahou Grad Stirs Up Illinois Politics". Honolulu Star-Bulletin. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-09-18. สืบค้นเมื่อ 2008-04-13.
  13. "Oxy Remembers "Barry" Obama '83". Occidental College. 29 January 2007. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-08-28. สืบค้นเมื่อ 2008-04-13.
  14. Boss-Bicak, Shira (January 2005). "Barack Obama '83: Is He the New Face of The Democratic Party?". Columbia College Today. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-01-04. สืบค้นเมื่อ 2008-04-13.
  15. "Obama, McCain talk issues at pastor's forum - CNN.com". cnn.com. 2008-08-17. สืบค้นเมื่อ 2008-08-29.
  16. "Barack Obama, asked about drug history, admits he inhaled". International Herald Tribune. 2006-10-25. สืบค้นเมื่อ 2008-08-31.
  17. Secter, Bob; McCormick, John (2007-03-30). "Portrait of a pragmatist". Chicago Tribune. p. 1. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-02-09. สืบค้นเมื่อ 2008-06-06. Lizza, Ryan (2007-03-19). "The Agitator: Barack Obama's Unlikely Political Education". New Republic. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (alternate link)เมื่อ 2010-01-12. สืบค้นเมื่อ 2008-04-13. Obama (1995), pp. 140–295; Mendell (2007), pp. 63–83.
  18. Matchan, Linda (1990-02-15). "A Law Review breakthrough". The Boston Globe. p. 29. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (paid archive)เมื่อ 2008-06-06. สืบค้นเมื่อ 2008-06-06. Corr, John (1990-02-27). "From mean streets to hallowed halls" (paid archive). The Philadelphia Inquirer. p. C01. สืบค้นเมื่อ 2008-06-06.
  19. Obama, Barack (August–September 1988). "Why organize? Problems and promise in the inner city". Illinois Issues. 14 (8–9): 40–42. reprinted in: Knoepfle, Peg, บ.ก. (1990). After Alinsky: community organizing in Illinois. Springfield, IL: Sangamon State University. pp. 35–40. ISBN 0962087335. Tayler, Letta; Herbert, Keith (2008-03-02). "Obama forged path as Chicago community organizer". Newsday. p. A06. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-09-30. สืบค้นเมื่อ 2008-06-06.
  20. Obama (1995), pp. 299–437.
  21. Levenson, Michael; Saltzman, Jonathan (2007-01-28). "At Harvard Law, a unifying voice". The Boston Globe. สืบค้นเมื่อ 2008-06-15. Kantor, Jodi (2007-01-28). "In law school, Obama found political voice". The New York Times. p. 1. สืบค้นเมื่อ 2008-06-15. Kodama, Marie C (2007-01-19). "Obama left mark on HLS". The Harvard Crimson. สืบค้นเมื่อ 2008-06-15. Mundy, Liza (2007-08-12). "A series of fortunate events". The Washington Post. p. W10. สืบค้นเมื่อ 2008-06-15. Heilemann, John (2007-10-22). "When they were young". New York. 40 (37): 32–7, 132–3. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-03-04. สืบค้นเมื่อ 2008-06-15. Mendell (2007), pp. 80–92.
  22. Butterfield, Fox (1990-02-06). "First black elected to head Harvard's Law Review". The New York Times. p. A20. สืบค้นเมื่อ 2008-06-15. Ybarra, Michael J (1990-02-07). "Activist in Chicago now heads Harvard Law Review". Chicago Tribune. p. 3. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (paid archive)เมื่อ 2012-10-09. สืบค้นเมื่อ 2008-06-15. Matchan, Linda (1990-02-15). "A Law Review breakthrough". The Boston Globe. p. 29. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (paid archive)เมื่อ 2008-06-06. สืบค้นเมื่อ 2008-06-15. Corr, John (1990-02-27). "From mean streets to hallowed halls" (paid archive). The Philadelphia Inquirer. p. C01. สืบค้นเมื่อ 2008-06-15. Drummond, Tammerlin (1990-03-12). "Barack Obama's Law; Harvard Law Review's first black president plans a life of public service". Los Angeles Times. p. E1. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (paid archive)เมื่อ 2012-10-09. สืบค้นเมื่อ 2008-06-15. Evans, Gaynelle (1990-03-15). "Opening another door: The saga of Harvard's Barack H. Obama". Black Issues in Higher Education. p. 5. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-12-18. สืบค้นเมื่อ 2008-11-15. Pugh, Allison J. (1990-04-18). "Law Review's first black president aims to help poor" (paid archive). The Miami Herald. Associated Press. p. C01. สืบค้นเมื่อ 2008-06-15.
  23. Aguilar, Louis (1990-07-11). "Survey: Law firms slow to add minority partners". Chicago Tribune. p. 1 (Business). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (paid archive)เมื่อ 2013-07-26. สืบค้นเมื่อ 2008-06-15. Barack Obama, a summer associate at Hopkins & Sutter in Chicago
  24. Adams, Richard (2007-05-09). "Barack Obama". The Guardian. สืบค้นเมื่อ 2008-10-26.
  25. Mendell, David. "Barack Obama (American politician)". สืบค้นเมื่อ 2008-10-26.
  26. Kodama, Marie C (19 January 2007). "Obama Left Mark on HLS". Harvard Crimson. สืบค้นเมื่อ 2008-04-13. See also: Obama (1995), p. xiii and Reynolds, Gretchen (January 1993). "Vote of Confidence". Chicago Magazine. สืบค้นเมื่อ 2008-04-13.
  27. Barman, Ari (1 May 2008). "Obama Under the Weather". The Nation. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-01-05. สืบค้นเมื่อ 2008-05-05.
  28. University of Chicago Law School (2008-03-27). "Statement regarding Barack Obama". University of Chicago Law School. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-06-08. สืบค้นเมื่อ 2008-06-10. Miller, Joe (2008-03-28). "Was Barack Obama really a constitutional law professor?". FactCheck.org. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-06-17. สืบค้นเมื่อ 2008-06-10. Holan, Angie Drobnic (2008-03-07). "Obama's 20 years of experience". PolitiFact.com. สืบค้นเมื่อ 2008-06-10.
  29. Robinson, Mike (2007-02-10). "Obama got start in civil rights practice". The Boston Globe. Associated Press. สืบค้นเมื่อ 2008-06-15. Pallasch, Abdon M (2007-12-17). "As lawyer, Obama was strong, silent type; He was 'smart, innovative, relentless,' and he mostly let other lawyers do the talking". Chicago Sun-Times. p. 4. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-07-24. สืบค้นเมื่อ 2008-06-15. "People". Chicago Tribune. 1993-06-27. p. 9 (Business). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (paid archive)เมื่อ 2013-12-04. สืบค้นเมื่อ 2008-06-15. "Business appointments" (paid archive). Chicago-Sun-Times. 1993-07-05. p. 40. สืบค้นเมื่อ 2008-06-15. "About Us". Miner, Barnhill & Galland – Chicago, Illinois. 2008. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-07-20. สืบค้นเมื่อ 2008-06-15. Obama (1995), pp. 438–439, Mendell (2007), pp. 104–106.
  30. "ARDC Individual Attorney Record of Public Registration and Public Disciplinary and Disability Information as of October 17, 2008 at 12:52:13 PM". Attorney Registration and Disciplinary Commission of the Supreme Court of Illinois. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-01-25. สืบค้นเมื่อ 2008-10-19.
  31. Public Allies (2008). "Fact Sheet on Public Allies' History with Senator Barack and Michelle Obama". Public Allies. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-05-17. สืบค้นเมื่อ 2008-06-06.
  32. Slevin, Peter (9 February 2007). "Obama Forged Political Mettle in Illinois Capitol". Washington Post. สืบค้นเมื่อ 2008-04-20. Helman, Scott (23 September 2007). "In Illinois, Obama Dealt with Lobbyists". Boston Globe. สืบค้นเมื่อ 2008-04-20. See also: "Obama Record May Be Gold Mine for Critics". Associated Press. CBS News. 17 January 2007. สืบค้นเมื่อ 2008-04-20. "In-Depth Look at Obama's Political Career". CLTV. Chicago Tribune. 9 February 2007. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (video)เมื่อ 2019-04-07. สืบค้นเมื่อ 2008-04-20.
  33. Scott, Janny (30 July 2007). "In Illinois, Obama Proved Pragmatic and Shrewd". The New York Times. สืบค้นเมื่อ 2008-04-20. See also: Pearson, Rick; Ray Long (3 April 2007). "Careful Steps, Looking Ahead". Chicago Tribune. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-02-16. สืบค้นเมื่อ 2008-04-20.
  34. Allison, Melissa (2000-12-15). "State takes on predatory lending; Rules would halt single-premium life insurance financing". Chicago Tribune (paid archive). p. 1 (Business). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-06-17. สืบค้นเมื่อ 2008-06-01. Long, Ray; Allison, Melissa (2001-04-18). "Illinois OKs predatory loan curbs; State aims to avert home foreclosures". Chicago Tribune (paid archive). p. 1. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-07-26. สืบค้นเมื่อ 2008-06-01.
  35. "13th District: Barack Obama" (archive). Illinois State Senate Democrats. 2000-08-24. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2000-08-24. สืบค้นเมื่อ 2008-04-20. "13th District: Barack Obama" (archive). Illinois State Senate Democrats. 2004-10-09. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2004-08-02. สืบค้นเมื่อ 2008-04-20.
  36. "Federal Elections 2000: U.S. House Results - Illinois". Federal Election Commission. สืบค้นเมื่อ 2008-04-24.. See also: "Obama's Loss May Have Aided White House Bid". and Scott, Janny (9 September 2007). "A Streetwise Veteran Schooled Young Obama". The New York Times. สืบค้นเมื่อ 2008-04-20.
  37. McClelland, Edward (12 February 2007). "How Obama Learned to Be a Natural". Salon. สืบค้นเมื่อ 2008-04-20. See also: Wolffe, Richard; Daren Briscoe (16 July 2007). "Across the Divide". Newsweek. MSNBC. สืบค้นเมื่อ 2008-04-20. Helman, Scott (12 October 2007). "Early Defeat Launched a Rapid Political Climb". Boston Globe. สืบค้นเมื่อ 2008-04-20. and "Obama learned from failed Congress run".
  38. Calmes, Jackie (2007-02-23). "Statehouse Yields Clues to Obama". Wall Street Journal. สืบค้นเมื่อ 2008-04-20.
  39. Tavella, Anne Marie (2003-04-14). "Profiling, taping plans pass Senate". Daily Herald (paid archive). p. 17. สืบค้นเมื่อ 2008-06-01. Haynes, V. Dion (2003-06-29). "Fight racial profiling at local level, lawmaker says; U.S. guidelines get mixed review". Chicago Tribune (paid archive). p. 8. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-06-17. สืบค้นเมื่อ 2008-06-01. Pearson, Rick (2003-07-17). "Taped confessions to be law; State will be 1st to pass legislation". Chicago Tribune (paid archive). p. 1 (Metro). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2019-03-28. สืบค้นเมื่อ 2008-06-01.
  40. Youngman, Sam; Aaron Blake (14 March 2007). "Obama's Crime Votes Are Fodder for Rivals". The Hill. สืบค้นเมื่อ 2008-04-20. See also: "US Presidential Candidate Obama Cites Work on State Death Penalty Reforms". Associated Press. International Herald Tribune. 12 November 2007. สืบค้นเมื่อ 2008-04-20.
  41. Coffee, Melanie (6 November 2004). "Attorney Chosen to Fill Obama's State Senate Seat". Associated Press. HPKCC. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-05-16. สืบค้นเมื่อ 2008-04-20.
  42. Pallasch, Abdon M (12 February 2007). "Professor Obama was a Listener, Students Say". Chicago Sun-Times. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-11-02. สืบค้นเมื่อ 2008-04-13.
  43. Helman, Scott (12 October 2007). "Early Defeat Launched a Rapid Political Climb". Boston Globe. สืบค้นเมื่อ 2008-04-13.
  44. Davey, Monica (7 March 2004). "Closely Watched Illinois Senate Race Attracts 7 Candidates in Millionaire Range". The New York Times. สืบค้นเมื่อ 2008-04-13.
  45. Wallace-Wells, Ben (1 April 2007). "Obama's Narrator". นิตยสารนิวยอร์กไทมส์. สืบค้นเมื่อ 2008-04-13.
  46. Davey, Monica (17 March 2004). "From Crowded Field, Democrats Choose State Legislator to Seek Senate Seat". New York Times. สืบค้นเมื่อ 2008-04-13. See also: Jackson, John S (August 2006). "The Making of a Senator: Barack Obama and the 2004 Illinois Senate Race" (PDF). Occasional Paper of the Paul Simon Public Policy Institute. Southern Illinois University. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2008-04-13. สืบค้นเมื่อ 2008-04-13.
  47. "Ryan drops out of Senate race in Illinois". CNN. 25 June 2004. สืบค้นเมื่อ 2008-04-13.
  48. Bernstein, David (June 2007). "The Speech". Chicago Magazine. สืบค้นเมื่อ 2008-04-13.
  49. Obama, Barack (27 July 2004). "Keynote Address at the 2004 Democratic National Convention". BarackObama.com. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-04-03. สืบค้นเมื่อ 2008-04-13.
  50. Archibold, Randal C (29 July 2004). "The Illinois Candidate; Day After, Keynote Speaker Finds Admirers Everywhere". The New York Times. สืบค้นเมื่อ 2008-04-13. Roach, Ronald (7 October 2004). "Obama Rising". Black Issues In Higher Education. DiverseEducation.com. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-06-16. สืบค้นเมื่อ 2008-04-13.
  51. Lannan, Maura Kelly (9 August 2004). "Alan Keyes Enters U.S. Senate Race in Illinois Against Rising Democratic Star". Associated Press. Union-Tribune (San Diego). สืบค้นเมื่อ 2008-04-13.
  52. Liam, Ford; David Mendell (13 August 2004). "Keyes Sets Up House in Cal City". Chicago Tribune. สืบค้นเมื่อ 2008-04-13.
  53. "America Votes 2004: U.S. Senate / Illinois". CNN. สืบค้นเมื่อ 2008-04-13. Slevin, Peter (13 November 2007). "For Obama, a Handsome Payoff in Political Gambles". The Washington Post. สืบค้นเมื่อ 2008-04-13.
  54. "About Barack Obama". Barack Obama U.S. Senate Office. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-04-25. สืบค้นเมื่อ 2008-04-27.
  55. Babington, Charles; Shailagh Murray (8 December 2006). "For Now, an Unofficial Rivalry". Washington Post. สืบค้นเมื่อ 2008-04-27. Dorning, Mike (17 September 2007). "Obama's Policy Team Loaded with All-Stars". Chicago Tribune. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-02-16. สืบค้นเมื่อ 2008-04-27.
  56. Enda, Jodi (5 February 2006). "Great Expectations". The American Prospect. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-02-03. สืบค้นเมื่อ 2008-04-27. Bacon Jr., Perry (27 August 2007). "The Outsider's Insider". Washington Post. สืบค้นเมื่อ 2008-04-27.
  57. Traub, James (4 November 2007). "Is (His) Biography (Our) Destiny?". The New York Times. สืบค้นเมื่อ 2008-04-27. King, Neil (5 September 2007). "Obama Tones Foreign-Policy Muscle". Wall Street Journal. สืบค้นเมื่อ 2008-04-27. Sweet, Lynn (10 May 2007). "Obama Taps Influential Foreign Policy Experts". Chicago Sun-Times. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-02-04. สืบค้นเมื่อ 2008-04-27.
  58. "Breaking New Ground: African American Senators". U.S. Senate Historical Office. สืบค้นเมื่อ 2008-06-25.
  59. "Member Info". Congressional Black Caucus. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-07-09. สืบค้นเมื่อ 2008-06-25. See also: Zeleny, Jeff (26 June 2005). "When It Comes to Race, Obama Makes His Point—With Subtlety". Chicago Tribune. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-02-16. สืบค้นเมื่อ 2008-06-25.
  60. Nather, David (14 January 2008). "The Space Between Clinton and Obama". CQ Weekly. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-07-24. สืบค้นเมื่อ 2008-06-25. See also: Curry, Tom (21 February 2008). "What Obama's Senate Votes Reveal". MSNBC. สืบค้นเมื่อ 2008-06-25.
  61. "Obama: Most Liberal Senator In 2007". National Journal. 31 January 2008. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-04-28. สืบค้นเมื่อ 2008-06-25.
  62. "Obama Interview". WJLA-TV. Politico. 12 February 2008. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (transcript)เมื่อ 2008-06-25. สืบค้นเมื่อ 2008-06-25. See also: Toner, Robin (23 March 2008). "Obama's Promise of a New Majority". International Herald Tribune. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-06-11. สืบค้นเมื่อ 2008-07-16. also NYT version (published 2008-03-25). สืบค้นเมื่อ 2008-06-25.
  63. Mason, Jeff (2008-11-16). "Obama resigns Senate seat, thanks Illinois". The Washington Post. The Washington Post Company. สืบค้นเมื่อ 2008-11-21.[ลิงก์เสีย]
  64. Sidoti, Liz (2008-11-13). "Obama to Resign Senate Seat on Sunday". Time. Time Inc. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-11-22. สืบค้นเมื่อ 2008-11-22.
  65. Baker, Peter (2008-11-14). "ON THE WHITE HOUSE; If the Senate Reconvenes, Two Seats May Be Empty". The New York Times. The New York Times Company. สืบค้นเมื่อ 2008-11-21.
  66. "President Bush Signs Federal Funding Accountability and Transparency Act". White House. 26 September 2006. สืบค้นเมื่อ 27 April 2008.
  67. U.S. Senate, 109th Congress, 1st Session (12 May 2005). "S. 1033, Secure America and Orderly Immigration Act". Thomas. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-07-04. สืบค้นเมื่อ 2008-04-27.
  68. "Immigration Bill Divides House, Senate". USA Today. 22 September 2006. สืบค้นเมื่อ 2008-04-27. See also: "Obama Statement on Senate Passage of Immigration Reform Bill". Barack Obama U.S. Senate Office. 25 May 2006. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-01-18. สืบค้นเมื่อ 2008-04-27.
  69. "Latinos Upset Obama Voted for Border Fence". CBS 2 (Chicago). 20 November 2006. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-09-27. สืบค้นเมื่อ 2008-04-27.
  70. "Nunn–Lugar Report" (PDF). Richard Lugar U.S. Senate Office. August 2005. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2008-05-01. สืบค้นเมื่อ 2008-04-30.
  71. "Lugar–Obama Nonproliferation Legislation Signed into Law by the President". Richard Lugar U.S. Senate Office. 11 January 2007. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-12-18. สืบค้นเมื่อ 2008-04-27. See also: Lugar, Richard G; Barack Obama (3 December 2005). "Junkyard Dogs of War". Washington Post. สืบค้นเมื่อ 2008-04-27. The Lugar–Obama initiative subsequently received $48 million in funding. "Obama, Lugar Secure Funding for Implementation of Nonproliferation Law". Richard Lugar U.S. Senate Office. 28 June 2007. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-12-27. สืบค้นเมื่อ 2008-04-27.
  72. McCormack, John (21 December 2007). "Google Government Gone Viral". Weekly Standard. สืบค้นเมื่อ 2008-04-27. See also: "President Bush Signs Coburn–Obama Transparency Act". Tom Coburn U.S. Senate Office. 26 September 2006. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-05-01. สืบค้นเมื่อ 2008-04-27. The site provides the name and location of each entity receiving a Federal award, the funding agency, and the amount of the grant or contract. "About This Site". USAspending.gov. สืบค้นเมื่อ 2008-04-27.
  73. McIntire, Mike (3 February 2008). "Nuclear Leaks and Response Tested Obama in Senate". The New York Times. สืบค้นเมื่อ 2008-04-27.
  74. Dobbs, Michael (14 February 2008). "Obama's 'Backroom Deal'?". Washington Post. สืบค้นเมื่อ 2008-04-27.
  75. "Democratic Republic of the Congo". United States Conference of Catholic Bishops. April 2006. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-01-08. สืบค้นเมื่อ 2008-04-27. "The IRC Welcomes New U.S. Law on Congo". International Rescue Committee. 5 January 2007. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-08-07. สืบค้นเมื่อ 2008-04-27.
  76. Weixel, Nathaniel (2007-11-15). "Feingold, Obama Go After Corporate Jet Travel". The Hill. สืบค้นเมื่อ 2008-04-27. Weixel, Nathaniel (2007-12-05). "Lawmakers Press FEC on Bundling Regulation". The Hill. สืบค้นเมื่อ 2008-04-27. See also: "Federal Election Commission Announces Plans to Issue New Regulations to Implement the Honest Leadership and Open Government Act of 2007". Federal Election Commission. 2007-09-24. สืบค้นเมื่อ 2008-04-27.
  77. Stern, Seth (2007-01-31). "Obama–Schumer Bill Proposal Would Criminalize Voter Intimidation". CQPolitics.com. The New York Times. สืบค้นเมื่อ 2008-04-27. U.S. Senate, 110th Congress, 1st Session (2007-01-31). "S. 453, Deceptive Practices and Voter Intimidation Prevention Act of 2007". Thomas. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-09-18. สืบค้นเมื่อ 2008-04-27. See also: "Honesty in Elections" (editorial). The New York Times. 2007-01-31. สืบค้นเมื่อ 2008-04-27.
  78. Krystin, E. Kasak (2007-02-07). "Obama Introduces Measure to Bring Troops Home". Medill News Service. The Times (Munster, Indiana). สืบค้นเมื่อ 2008-04-27. "Latest Major Action: 1/30/2007 Referred to Senate committee." U.S. Senate, 110th Congress, 1st Session (2007-01-30). "S. 433, Iraq War De-Escalation Act of 2007". Thomas. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-04-14. สืบค้นเมื่อ 2008-04-27.
  79. "Obama, Bond Hail New Safeguards on Military Personality Disorder Discharges, Urge Further Action". Kit Bond U.S. Senate Office. 2007-10-01. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2010-12-05. สืบค้นเมื่อ 2008-04-27. See also: Dine, Philip (2007-12-23). "Bond Calls for Review of Military Discharges". St. Louis Post-Dispatch. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-09-19. สืบค้นเมื่อ 2008-04-27.
  80. "Obama, Bond Applaud Senate Passage of Amendment to Expedite the Review of Personality Disorder Discharge Cases".
  81. Graham-Silverman, Adam (2007-09-12). "Despite Flurry of Action in House, Congress Unlikely to Act Against Iran". CQ Today. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-02-21. สืบค้นเมื่อ 2008-04-27.
  82. "Obama, Schiff Provision to Create Nuclear Threat Reduction Plan Approved". Barack Obama U.S. Senate Office. 2007-12-20. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-12-18. สืบค้นเมื่อ 2008-04-27.
  83. "Senate Passes Obama, McCaskill Legislation to Provide Safety Net for Families of Wounded Service Members". Barack Obama U.S. Senate Office. 2007-08-02. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-12-18. สืบค้นเมื่อ 2008-04-27.
  84. "Committee Assignments". Barack Obama U.S. Senate Office. 2006-12-09. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2006-12-09. สืบค้นเมื่อ 2008-04-27.{{cite web}}: CS1 maint: bot: original URL status unknown (ลิงก์)
  85. "Obama Gets New Committee Assignments". Associated Press. Barack Obama U.S. Senate Office. 2006-11-15. สืบค้นเมื่อ 2008-04-27.
  86. Baldwin, Tom (2007-12-21). "Stay-At-Home Barack Obama Comes Under Fire for a Lack of Foreign Experience". Sunday Times (UK). สืบค้นเมื่อ 2008-04-27.
  87. Larson, Christina (September 2006). "Hoosier Daddy: What Rising Democratic Star Barack Obama Can Learn from an Old Lion of the GOP". Washington Monthly. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 30 April 2008. สืบค้นเมื่อ 27 April 2008.
  88. "Obama Launches Presidential Bid". BBC News. 10 February 2007. สืบค้นเมื่อ 2008-01-14. Video เก็บถาวร 2008-01-21 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน at Brightcove.TV.
  89. "Presidential Campaign Announcement". Obama for America. Brightcove.TV. 2007-02-10. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (video)เมื่อ 2008-01-21. สืบค้นเมื่อ 2008-01-14.
  90. "Obama: I'm running for president". 2007-02-10.
  91. โอบามากล่าวว่า "ใต้ร่มเงาของอาคาร Old State Capitol ที่ที่ประธานาธิบดีลินคอล์นเรียกร้องให้บ้านที่แตกแยกนั้นปรองดองกัน ที่ที่ยังเปี่ยมไปด้วยความหวังธรรมดา ๆ ความฝันธรรมดา ๆ ที่ยังคงมีชีวิตอยู่ นี่คือเหตุผลที่ผมมายืนต่อหน้าท่านทั้งหลาย ผมมาเพื่อประกาศว่า ผมจะสมัครเป็นตัวแทนเข้าชิงตำแหน่งประธานาธิบดีสหรัฐ""Presidential Campaign Announcement". Obama for America. Brightcove.TV. 10 February 2007. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (video)เมื่อ 2008-01-21. สืบค้นเมื่อ 2008-01-14.
  92. "Barack Obama at the DNC Winter 2007 Meeting". Democratic National Committee. 2 February 2007. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (video)เมื่อ 2007-11-10. สืบค้นเมื่อ 2008-01-14. Full text from CQ Transcripts Wire. Retrieved on 2008-01-14. See also: Harris, Paul (4 February 2007). "The Obama Revolution". Guardian Unlimited. สืบค้นเมื่อ 2008-01-14.
  93. "Barack Obama on the Issues: What Would Be Your Top Three Overall Priorities If Elected?". Washington Post. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-07-13. สืบค้นเมื่อ 2008-04-14. See also: Falcone, Michael (2007-12-21). "Obama's 'One Thing'". The New York Times. สืบค้นเมื่อ 2008-04-14.
  94. Malone, Jim (2 July 2007). "Obama Fundraising Suggests Close Race for Party Nomination". Voice of America. สืบค้นเมื่อ 2008-01-14.
  95. Cummings, Jeanne (26 September 2007). "Small Donors Rewrite Fundraising Handbook". Politico. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-02-01. สืบค้นเมื่อ 2008-01-14.
  96. Cadei, Emily (21 February 2008). "Obama Outshines Other Candidates in January Fundraising". CQ Politics. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-06-13. สืบค้นเมื่อ 2008-02-24.
  97. Salant, Jonathan D. (19 June 2008). "Obama Won't Accept Public Money in Election Campaign". Bloomberg. สืบค้นเมื่อ 2008-06-19.
  98. "2008 Democratic Delegates". RealClearPolitics. สืบค้นเมื่อ 2008-03-25.
  99. Brian Knowlton (2008-02-21). "Make That 11 for Obama". The New York Times. สืบค้นเมื่อ 2008-03-18.
  100. "Results: March 4 - Multi-State Events". CNN. 2008-03-04. สืบค้นเมื่อ 2008-03-04.
  101. "Superdelegates put Obama within reach". The Associated Press. MSNBC.com. 2008-05-12. สืบค้นเมื่อ 2008-05-13.
  102. "Clinton Wins Puerto Rico Primary". The Associated Press. Free Internet Press. 2008-06-01. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2010-11-24. สืบค้นเมื่อ 2008-06-01.
  103. "Obama: I will be the Democratic nominee". CNN.com. 2008-06-04. สืบค้นเมื่อ 2008-06-06.
  104. John Whitesides (2008-06-04). "Obama clinches nomination". Washington: Herald Sun (Australia). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-06-07. สืบค้นเมื่อ 2008-06-06.
  105. Zeleny, Jeff and Michael Luo (2008-06-04). "Obama Clinches Nomination". The New York Times. สืบค้นเมื่อ 2008-06-04.
  106. Sidoti, Liz; Fouhy, Beth (2008-08-22). "Obama picks Biden for veep". San Francisco Chronicle. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-12-18. สืบค้นเมื่อ 2008-09-20.
  107. Tom Baldwin (2008-08-27). "Hillary Clinton: 'Barack is my candidate'". TimesOnline. สืบค้นเมื่อ 2008-08-27.
  108. Nagourney, Adam (2008-08-27). "Obama Wins Hard-Fought Nomination as Biden and Bill Clinton Rally the Party". The New York Times. สืบค้นเมื่อ 2008-08-27.
  109. "Obama accepts Democrat nomination". BBC News. BBC. 2008-08-29. สืบค้นเมื่อ 2008-08-29.
  110. Marks, Alexandra (2008-08-29). "Soaring speech from Obama, plus some specifics". The Christian Science Monitor. สืบค้นเมื่อ 2008-09-20.
  111. "Obama's grandmother dies after battle with cancer". CNN. 3 November 2008. สืบค้นเมื่อ 4 November 2008.
  112. "McCain pledges to help Obama lead". CNN. 2008-11-04. สืบค้นเมื่อ 2008-11-04.
  113. "Commission on Presidential Debates Announces Sites, Dates, Formats and Candidate Selection Criteria for 2008 General Election". Commission on Presidential Debates. 2007-11-19. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-07-06. สืบค้นเมื่อ 2008-07-06.
  114. "Gun Ruling Reverberates". The Hartford Courant. 2008-06-27. สืบค้นเมื่อ 2008-07-06.
  115. "Scenes of joy across the US". Canberra Times. Australia. 2008-11-06. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-02-19. สืบค้นเมื่อ 2008-11-14.
  116. "CNN Electoral Map Calculator - Election Center 2008". CNN.com. 2008. สืบค้นเมื่อ 2008-12-14.
  117. "BBC NEWS | World | Americas | US Elections 2008 | Obama wins historic US election". News.bbc.co.uk. 5 November 2008. สืบค้นเมื่อ 2008-11-05.
  118. Nagourney, Adam (4 November 2008). "Obama Elected President as Racial Barrier Falls". The New York Times. สืบค้นเมื่อ 2008-11-05.
  119. "Obama: 'This is your victory'". CNN. 5 November 2008. สืบค้นเมื่อ 2008-11-05.
  120. Wallsten, Peter (5 November 2008). "White Americans play major role in electing the first black president". Los Angeles Times.
  121. Johnson, Wesley (5 November 2008). "Change has come, says President-elect Obama". The Independent. UK. สืบค้นเมื่อ 2008-11-05.
  122. Congress meets to count electoral votes. (2009, January 8). MSNBC. Retrieved January 8, 2009.
  123. "Obama asks Pentagon for responsible Iraq drawdown". China Daily. 23 January 2009. สืบค้นเมื่อ 4 September 2009.
  124. Glaberson, William (21 January 2009). "Obama Orders Halt to Prosecutions at Guantánamo". The New York Times. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-04-16. สืบค้นเมื่อ 3 February 2009.
  125. "Executive Order—Presidential Records". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-01-22. สืบค้นเมื่อ 22 January 2009.
  126. Doyle, Michael (23 January 2009). "Obama restores some of the 'Freedom' to FOIA". McClatchy Newspapers. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-02-05. สืบค้นเมื่อ 24 January 2009.
  127. Gerstein, Josh (24 January 2009). "Obama: End Abortion 'Politicization'". Politico.com.
  128. "Obama Signs Equal-Pay Legislation". New York Times. สืบค้นเมื่อ 15 June 2009.
  129. "Obama signs into law expansion of SCHIP health-care program for children". Chicago Tribune. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-04-30. สืบค้นเมื่อ 15 June 2009.
  130. Obama overturns Bush policy on stem cells
  131. "Senate confirms Sotomayor for Supreme Court". CNN.com. 6 August 2009. สืบค้นเมื่อ 6 August 2009.
  132. Obama nominates Sotomayor to Supreme Court, CNN, accessed May 26, 2009.
  133. http://www.nytimes.com/2009/10/01/science/earth/01epa.html?hp
  134. http://www.latimes.com/news/nationworld/nation/la-na-epa-climate1-2009oct01,0,5195916.story
  135. "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-05-23. สืบค้นเมื่อ 2009-10-13.
  136. "Stimulus package en route to Obama's desk". CNN. Turner Broadcasting System, Inc. สืบค้นเมื่อ 29 March 2009.
  137. "Committee for a Responsible Federal Budget, Stimulus Watch". สืบค้นเมื่อ 2011-04-09.
  138. Andrews, Edmund L.; Dash, Eric (2009-03-23). "U.S. Expands Plan to Buy Banks' Troubled Assets". The New York Times. สืบค้นเมื่อ 2010-04-12.
  139. "White House questions viability of GM, Chrysler". The Huffington Post. 30 March 2009.
  140. "Chrysler and Union Agree to Deal Before Federal Deadline".
  141. John Hughes; Caroline Salas; Jeff Green; Bob Van Voris (1 June 2009). "GM Begins Bankruptcy Process With Filing for Affiliate". Bloomberg.com.
  142. "Obama Presses Cabinet to Speed Stimulus Spending". Wall Street Journal. 9 June 2009.
  143. Dana Hedgpeth (2009-08-21). "U.S. Says 'Cash for Clunkers' Program Will End on Monday". The Washington Post. สืบค้นเมื่อ 2010-03-26.
  144. JOSEPH R. SZCZESNY (2009-08-26). "Was Cash for Clunkers a Success?". Time. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2010-05-12. สืบค้นเมื่อ 2010-03-26.
  145. 145.0 145.1 Sweet, Lynn, "Obama July 22, 2009 press conference. Transcript", Chicago Sun-Times, July 22, 2009
  146. Stolberg, Sheryl Gay; Zeleny, Jeff (9 September 2009). "Obama, Armed With Details, Says Health Plan Is Necessary". The New York Times.
  147. "Obama will hedge on public option" – Politico.com. Retrieved September 9, 2009.
  148. "Obama calls for Congress to face health care challenge". CNN. 9 September 2009. สืบค้นเมื่อ 9 September 2009.
  149. Hulse, Carl; Robert Pear (7 November 2009). "Sweeping Health Care Plan Passes House". The New York Times. สืบค้นเมื่อ 8 November 2009.
  150. Herszenhorn, David M.; Jackie Calmes (7 December 2009). "Abortion Was at Heart of Wrangling". The New York Times. สืบค้นเมื่อ 6 December 2009.
  151. Hensley, Scott (24 December 2009). "Senate Says Yes To Landmark Health Bill". National Public Radio. สืบค้นเมื่อ 24 December 2009.
  152. "Health Care Reform, at Last". The New York Times. 21 March 2010. สืบค้นเมื่อ 22 March 2010.
  153. Gay Stolberg, Sheryl (23 March 2010). "Obama Signs Landmark Health Care Bill". The New York Times. สืบค้นเมื่อ 23 March 2010.
  154. Mayer, William (2004-03-28). "Kerry's Record Rings a Bell". Washington Post. สืบค้นเมื่อ 2008-06-07. The question of how to measure a senator's or representative's ideology is one that political scientists regularly need to answer. For more than 30 years, the standard method for gauging ideology has been to use the annual ratings of lawmakers' votes by various interest groups, notably the Americans for Democratic Action (ADA) and the American Conservative Union (ACU).
  155. "2005 U.S. Senate Votes". American Conservative Union. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-10-04. สืบค้นเมื่อ 2008-09-20.; "2006 U.S. Senate Votes". American Conservative Union. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-10-01. สืบค้นเมื่อ 2008-09-20.; "2007 U.S. Senate Votes". American Conservative Union. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-09-13. สืบค้นเมื่อ 2008-09-20.
  156. "ADA's 2005 Congressional Voting Record" (PDF). Americans for Democratic Action. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2008-09-09. สืบค้นเมื่อ 2008-09-20.; "ADA's 2006 Congressional Voting Record" (PDF). Americans for Democratic Action. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2008-09-09. สืบค้นเมื่อ 2008-09-20.; "ADA's 2007 Congressional Voting Record" (PDF). Americans for Democratic Action. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2008-09-09. สืบค้นเมื่อ 2008-09-20.
  157. Strausberg, Chinta (2002-09-26). "Opposition to war mounts". Chicago Defender. p. 1. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (paid archive)เมื่อ 2011-05-11. สืบค้นเมื่อ 2008-02-03.
  158. Glauber, Bill (2003-10-03). "War protesters gentler, but passion still burns". Chicago Tribune. p. 1. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (paid archive)เมื่อ 2008-06-17. สืบค้นเมื่อ 2008-02-03. Strausberg, Chinta (2002-10-03). "War with Iraq undermines U.N." Chicago Defender. p. 1. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-10-14. สืบค้นเมื่อ 2008-02-03. Bryant, Greg (2002-10-02). "300 protesters rally to oppose war with Iraq". Medill News Service. สืบค้นเมื่อ 2008-02-03.[ลิงก์เสีย] Katz, Marilyn (2007-10-02). "Five Years Since Our First Action". Chicagoans Against War & Injustice. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-07-21. สืบค้นเมื่อ 2008-02-17. Mendell (2007), pp. 172–177.
  159. Obama, Barack (2002-10-02). "Remarks of Illinois State Sen. Barack Obama Against Going to War with Iraq". BarackObama.com. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-01-30. สืบค้นเมื่อ 2008-02-03.
  160. Glauber, Bill (2003-10-03). "War protesters gentler, but passion still burns". Chicago Tribune. p. 1. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (paid archive)เมื่อ 2008-06-17. สืบค้นเมื่อ 2008-02-03. Strausberg, Chinta (2002-10-03). "War with Iraq undermines U.N." Chicago Defender. p. 1. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-10-14. สืบค้นเมื่อ 2008-10-28. Photo caption: Left Photo: Sen. Barack Obama along with Rev. Jesse Jackson spoke to nearly 3,000 anti-war protestors (below) during a rally at Federal Plaza Wednesday. Bryant, Greg (2002-10-02). "300 protesters rally to oppose war with Iraq". Medill News Service. สืบค้นเมื่อ 2008-02-03.[ลิงก์เสีย] Katz, Marilyn (2007-10-02). "Five Years Since Our First Action". Chicagoans Against War & Injustice. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-07-21. สืบค้นเมื่อ 2008-02-17. Bryant, Greg; Vaughn, Jane B. (2002-10-03). "300 attend rally against Iraq war" (paid archive). Daily Herald (Arlington Heights). p. 8. สืบค้นเมื่อ 2008-10-28. Mendell (2007), pp. 172–177.
  161. Obama, Barack (2002-10-02). "Remarks of Illinois State Sen. Barack Obama Against Going to War with Iraq". BarackObama.com. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-01-30. สืบค้นเมื่อ 2008-02-03.
  162. McCormick, John (2007-10-03). "Obama marks '02 war speech; Contender highlights his early opposition in effort to distinguish him from his rivals". Chicago Tribune. p. 7. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (paid archive)เมื่อ 2008-12-18. สืบค้นเมื่อ 2008-10-28. The top strategist for Sen. Barack Obama has just 14 seconds of video of what is one of the most pivotal moments of the presidential candidate's political career. The video, obtained from a Chicago TV station, is of Obama's 2002 speech in opposition to the impending Iraq invasion. Pallasch, Abdon M. (2007-10-03). "Obama touts anti-war cred; Kicks off tour 5 years after speech critical of going to Iraq" (paid archive). Chicago Sun-Times. p. 26. สืบค้นเมื่อ 2008-10-28.
  163. Office of the Press Secretary (2003-03-16). "President Bush: Monday "Moment of Truth" for World on Iraq". The White House. สืบค้นเมื่อ 2008-02-17. "'Moment of truth for the world'; Bush, three allies set today as final day for Iraq to disarm or face massive military attack" (paid archive). Chicago Sun-Times. Associated Press. 2003-03-17. p. 1. สืบค้นเมื่อ 2008-02-03.
  164. Ritter, Jim (2003-03-17). "Anti-war rally here draws thousands" (paid archive). Chicago Sun-Times. p. 3. สืบค้นเมื่อ 2008-02-03.
  165. US election: Barack Obama wobbles on withdrawing Iraq troops เก็บถาวร 2008-08-21 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, telegraph.co.uk, July 4, 2008
  166. Barack Obama (2007-10-22). Obama-Caucus4Priorities (flv). Obama '08. สืบค้นเมื่อ 2008-05-18.
  167. "Rally at Coastal Carolina University in Conway, SC" (video). Obama for America. Brightcove.TV. 23 August 2007. สืบค้นเมื่อ 2008-02-17.
  168. For audio and text, see: Obama, Barack (2006-11-20). "A Way Forward in Iraq". Chicago Council on Global Affairs. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-01-12. สืบค้นเมื่อ 2008-01-14.
  169. Obama, Barack (2007-03-02). "AIPAC Policy Forum Remarks". Barack Obama U.S. Senate Office. สืบค้นเมื่อ 2008-01-30. For Obama's 2004 Senate campaign remarks on possible missile strikes against Iran, see: Mendell, David (2004-09-25). "Obama Would Consider Missile Strikes on Iran". Chicago Tribune. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (paid archive)เมื่อ 2008-06-17. สืบค้นเมื่อ 2008-01-14.
  170. "Barack Obama and Joe Biden's Plan to Secure America and Restore Our Standing". Obama for America. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-02-22. สืบค้นเมื่อ 2008-09-22.
  171. Gordon, Michael R.; Zeleny, Jeff (2007-11-02). "Obama Pledges 'Aggressive' Iran Diplomacy". The New York Times. สืบค้นเมื่อ 2008-06-17.
  172. "Transcript of fourth Democratic debate". The New York Times. 2007-07-24. สืบค้นเมื่อ 2008-06-17.
  173. "Obama Warns Pakistan on Al-Qaeda". BBC News. 2007-08-01. สืบค้นเมื่อ 2008-01-14. For video and text of the speech, see: "Policy Address on Terrorism by The Honorable Barack Obama, United States Senator from Illinois". Woodrow Wilson International Center for Scholars. 2007-08-01. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-09-30. สืบค้นเมื่อ 2008-01-30. For details of the aborted 2005 military operation, see Mazzetti, Mark (2007-07-08). "Rumsfeld Called Off 2005 Plan to Capture Top Qaeda Figures". International Herald Tribune. สืบค้นเมื่อ 2008-01-14.
  174. Obama, Barack; Sam Brownback (2005-12-27). "Policy Adrift on Darfur". The Washington Post. สืบค้นเมื่อ 2008-01-14. Doyle, Jim (2006-05-01). "Tens of Thousands Rally for Darfur". San Francisco Chronicle. สืบค้นเมื่อ 2008-01-14.
  175. Kuhnhenn, Jim (2007-05-17). "Giuliani, Edwards Have Sudan Holdings". San Francisco Chronicle. Associated Press. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-06-08. สืบค้นเมื่อ 2008-01-14.; Obama, Barack (2007-08-30). "Hit Iran Where It Hurts". New York Daily News. สืบค้นเมื่อ 2008-01-14.
  176. Obama, Barack (July–August 2007). "Renewing American Leadership". Foreign Affairs. 86 (4). สืบค้นเมื่อ 2008-01-14.
  177. Franklin, Ben A (2005-06-01). "The Fifth Black Senator in U.S. History Makes F.D.R. His Icon". Washington Spectator. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-01-02. สืบค้นเมื่อ 2008-01-14.
  178. Zeleny, Jeff (2005-09-12). "Judicious Obama Turns Up Volume". Chicago Tribune. สืบค้นเมื่อ 2008-01-14.[ลิงก์เสีย]
  179. Pickler, Nedra (2007-01-25). "Obama Calls for Universal Health Care within Six Years". Union-Tribune (San Diego). Associated Press. สืบค้นเมื่อ 2008-01-14.
  180. Davis, Teddy; Sunlen Miller (2007-11-20). "Obama Bucks Party Line on Education". ABC News. สืบค้นเมื่อ 2008-01-14.
  181. "A Speech On the Economy, Opportunity and Tax Policy with Senator Barack Obama". Tax Policy Center. 2007-09-18. สืบค้นเมื่อ 2008-01-14.
  182. "Study:Bush tax cuts favor wealthy". CBS. 2004-08-13. สืบค้นเมื่อ 2008-04-05.
  183. "Obama Tax Plan: $80 Billion in Cuts, Five-Minute Filings". CNN. 2007-09-18. สืบค้นเมื่อ 2008-01-14.
  184. Zeleny, Jeff (2007-10-09). "Obama Proposes Capping Greenhouse Gas Emissions and Making Polluters Pay". The New York Times. สืบค้นเมื่อ 2008-01-14.
  185. Barack Obama. "The Blueprint for Change: Barack Obama's plan for America" (PDF). Obama for America. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2008-04-18. สืบค้นเมื่อ 2008-04-20.
  186. Lerner, Michael (2006-07-03). "U.S. Senator Barack Obama Critiques Democrats' Religiophobia". Tikkun Magazine. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-01-20. สืบค้นเมื่อ 2008-01-14. "Sen. Barack Obama: Call to Renewal Keynote Address". Beliefnet. 2006-06-28. สืบค้นเมื่อ 2008-01-14.
  187. Gibson, Manda (2006-06-28). "At Global AIDS Summit, Churches Challenged to Take the Lead". PurposeDriven.com. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-03-25. สืบค้นเมื่อ 2008-01-14.
  188. "Screaming Crowds Welcome U.S. Senator 'Home'". CNN. 2006-08-27. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-09-19. สืบค้นเมื่อ 2008-01-14.
  189. Obama, Barack (2006-12-01). "Race Against Time—World AIDS Day Speech". Obama U.S. Senate Office. สืบค้นเมื่อ 2008-01-14.
  190. "Barack Obama: Faith Has Been 'Hijacked'". CBS News. Associated Press. 2007-06-24. สืบค้นเมื่อ 2008-01-14. See also: Brody, David (2007-07-30). "Obama to CBN News: We're No Longer Just a Christian Nation". Christian Broadcasting Network. สืบค้นเมื่อ 2008-01-14.
  191. Obama (2006), pp. 327–332. See also: Brown, Sarah (7 December 2005). "Obama '85 Masters Balancing Act". Daily Princetonian. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-02-20. สืบค้นเมื่อ 2008-04-28. Tucker, Eric (1 March 2007). "Family Ties: Brown Coach, Barack Obama". Associated Press. ABC News. สืบค้นเมื่อ 2008-04-28.
  192. Obama (2006), p. 329.
  193. Fornek, Scott (3 October 2007). "Michelle Obama: 'He Swept Me Off My Feet'". Chicago Sun-Times. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-12-08. สืบค้นเมื่อ 2008-04-28.
  194. Martin, Jonathan (2008-07-04). "Born on the 4th of July". The Politico. สืบค้นเมื่อ 2008-07-10.
  195. Obama (1995), p. 440, and Obama (2006), pp. 339–340. See also: "Election 2008 Information Center: Barack Obama". Gannett News Service. สืบค้นเมื่อ 2008-04-28.
  196. Obamas choose private Sidwell Friends School เก็บถาวร 2009-01-29 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, International Heralrd Tribune, November 22, 2008
  197. "When Barry Became Barack". Newsweek. 2008-03-31. สืบค้นเมื่อ 2008-11-06.
  198. Zeleny, Jeff (2005-12-24). "The First Time Around: Sen. Obama's Freshman Year". Chicago Tribune. สืบค้นเมื่อ 2008-04-28.
  199. "Rezko found guilty in corruption case". The Associated Press. MSNBC.com. 2008-06-04. สืบค้นเมื่อ 2008-06-24.
  200. Slevin, Peter (2006-12-17). "Obama Says He Regrets Land Deal With Fundraiser". The Washington Post. สืบค้นเมื่อ 2008-06-10.
  201. "Obama's Money". CNNMoney.com. 2007-12-07. สืบค้นเมื่อ 2008-04-28. See also: Goldfarb, Zachary A (2007-03-24). "Measuring Wealth of the '08 Candidates". The Washington Post. สืบค้นเมื่อ 2008-04-28.
  202. Zeleny, Jeff (2008-04-17). "Book Sales Lifted Obamas' Income in 2007 to a Total of $4.2 Million". The New York Times. สืบค้นเมื่อ 2008-04-28.
  203. "Senator Barack Obama Visit to CJTF-HOA and Camp Lemonier: August 31—September 1, 2006" (video). Combined Joint Task Force—Horn of Africa. YouTube. 2007-02-06. สืบค้นเมื่อ 2008-04-28.
  204. "Keeping Hope Alive: Barack Obama Puts Family First". The Oprah Winfrey Show. 2006-10-18. สืบค้นเมื่อ 2008-06-24.
  205. Fornek, Scott (2007-09-09). "Half Siblings: 'A Complicated Family'". Chicago Sun-Times. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2010-01-18. สืบค้นเมื่อ 2008-06-24. See also: "Interactive Family Tree". Chicago Sun-Times. 2007-09-09. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-07-03. สืบค้นเมื่อ 2008-06-24.
  206. Fornek, Scott (2007-09-09). "Madelyn Payne Dunham: 'A Trailblazer'". Chicago Sun-Times. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-05-14. สืบค้นเมื่อ 2008-06-24.
  207. "Obama's grandmother dies after battle with cancer". CNN. 2008-11-03. สืบค้นเมื่อ 2008-11-04.
  208. Obama (1995, 2004), p. 13. For reports on Obama's maternal genealogy, including slave owners, Irish connections, and common ancestors with George W. Bush, Dick Cheney, and Harry Truman, see: Nitkin, David; Harry Merritt (2007-03-02). "A New Twist to an Intriguing Family History". Baltimore Sun. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-09-30. สืบค้นเมื่อ 2008-06-24. Jordan, Mary (2007-05-13). "Tiny Irish Village Is Latest Place to Claim Obama as Its Own". The Washington Post. สืบค้นเมื่อ 2008-06-24. "Obama's Family Tree Has a Few Surprises". Associated Press. CBS 2 (Chicago). 2007-09-08. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-06-02. สืบค้นเมื่อ 2008-06-24.
  209. Obama's great-uncle recalls liberating Nazi camp, USATODAY.com, July 24, 2008
  210. The 89th Infantry Division, United States Holocaust Memorial Museum
  211. Kantor, Jodi (2007-06-01). "One Place Where Obama Goes Elbow to Elbow". The New York Times. สืบค้นเมื่อ 2008-04-28. See also: "The Love of the Game" (video). YouTube (BarackObama.com). 2008-04-15. HBO: Real Sports with Bryant Gumbel เก็บถาวร 2009-02-28 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน. สืบค้นเมื่อ 2008-04-28.
  212. Parsons, Christi (2007-02-06). "Obama Launches an '07 Campaign—To Quit Smoking". Chicago Tribune. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-02-16. สืบค้นเมื่อ 2008-04-28.
  213. "Obama says he won't be smoking in White House". Yahoo!News. Reuters. 2008-12-07. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-12-19. สืบค้นเมื่อ 2008-12-31.
  214. Obama (2006), pp. 202–208. Portions excerpted in: Obama, Barack (2006-10-23). "My Spiritual Journey". Time. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-08-23. สืบค้นเมื่อ 2008-04-28.
  215. Obama, Barack (2006-06-28). "'Call to Renewal' Keynote Address". Barack Obama: U.S. Senator for Illinois (website). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-01-04. สืบค้นเมื่อ 2008-06-16.
  216. Jodi Kantor (30 April 2007). "Barack Obama's search for faith". International Herald Tribune. April 30, 2007
  217. Barack Obama (16 October 2006). "My Spiritual Journey". Time magazine. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-08-23. สืบค้นเมื่อ 2008-10-23.
  218. "Obama's Indonesian Redux".
  219. "Obama: Saya Kangen Nasi Goreng, Bakso, dan Rambutan".
  220. Wallace-Wells, Benjamin (November 2004). "The Great Black Hope: What's Riding on Barack Obama?". Washington Monthly. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-05-13. สืบค้นเมื่อ 2008-04-07. See also: Scott, Janny (2007-12-28). "A Member of a New Generation, Obama Walks a Fine Line". International Herald Tribune. สืบค้นเมื่อ 2008-04-07.
  221. Payne, Les (2007-08-19). "In One Country, a Dual Audience". Newsday. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (paid archive)เมื่อ 2013-07-26. สืบค้นเมื่อ 2008-04-07.
  222. Dorning, Mike (2007-10-04). "Obama Reaches Across Decades to JFK". Chicago Tribune. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (paid archive)เมื่อ 2008-06-17. สืบค้นเมื่อ 2008-04-07. See also: Harnden, Toby (2007-10-15). "Barack Obama is JFK Heir, Says Kennedy Aide". Daily Telegraph. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-04-03. สืบค้นเมื่อ 2008-04-07.
  223. "Obama's Win Earns Emotional Reactions, Turns Page in History," เก็บถาวร 2008-11-09 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน PBS NewsHour. November 5, 2008.
  224. Holmes, Stephanie (30 November 2008). "Obama: Oratory and originality". The Age. สืบค้นเมื่อ 2008-12-11.
  225. Higgans, Charlotte (19 November 2008). "A classic orator, Obama learnt from the masters". BBC. สืบค้นเมื่อ 2008-12-11.
  226. Strange, Hannah (2008-03-05). "Celebrities join YouTube revolution". The Times (UK). สืบค้นเมื่อ 2008-12-18.
  227. Wappler, Margaret (2008-06-20). "Emmys give knuckle bump to will.i.am; more videos on the way". Los Angeles Times. สืบค้นเมื่อ 2008-12-18.
  228. "New emotion dubbed 'elevation" (ภาษาอังกฤษ). Toronto Star. 11 December 2008. สืบค้นเมื่อ 2008-12-11.
  229. "News from Studio Briefing". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-04-18. สืบค้นเมื่อ 2009-01-21.
  230. The Root เก็บถาวร 2008-10-23 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน; USA Today
  231. World wants Obama as president: poll
  232. ""Obama to visit nuclear, biological weapons destruction facilities in former Soviet Union" - Senate.gov". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-12-18. สืบค้นเมื่อ 2008-11-14.
  233. Quel giorno di tre anni fa a Washington Barack mi raccontò la sua speranzaRome Mayor's Leadership Bid May Lead to Early Italian Elections; VELTRONI A NEW YORK - Il politico prevale sull' amministratore; Libreria Rizzoli Galleria[ลิงก์เสีย]
  234. "Sarkozy, Obama and McCain" - The Economist
  235. Goodman, Dean (2008-02-10). "Obama or Clinton? Grammys go for Obama". Reuters. สืบค้นเมื่อ 2008-11-24.
  236. Von Drehle, David (16 December 2008). "Why History Can't Wait". Person of the Year 2008. Time Magazine. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (Cover article)เมื่อ 2009-04-29. สืบค้นเมื่อ 17 December 2008.

แหล่งข้อมูลอื่น

เว็บไซต์อย่างเป็นทางการ

ลิงก์เกี่ยวกับรัฐสภาสหรัฐ

ไซต์ไดเรคทอรี

สื่อสารมวลชน

หนังสืออ่านเพิ่มเติม


ก่อนหน้า บารัก โอบามา ถัดไป
จอร์จ ดับเบิลยู. บุช    
ประธานาธิบดีสหรัฐ คนที่ 44
(20 มกราคม พ.ศ. 2552 – 20 มกราคม พ.ศ. 2560)
  ดอนัลด์ ทรัมป์
วลาดิมีร์ ปูติน   บุคคลแห่งปีของนิตยสารไทม์
(พ.ศ. 2551)
  เบ็น เบอร์นานคี
ผู้ประท้วง   บุคคลแห่งปีของนิตยสารไทม์
(พ.ศ. 2555)
  สมเด็จพระสันตะปาปาฟรานซิส