สมเด็จพระสันตะปาปาฟรานซิส

อดีตประมุขคริสตจักรโรมันคาทอลิกตั้งแต่ ค.ศ. 2013-2025

สมเด็จพระสันตะปาปาฟรานซิส[1][ก] (อังกฤษ: Francis; ละติน: Franciscus; อิตาลี: Francesco; สเปน: Francisco; พระนามเดิม ฮอร์เฮ มาริโอ เบร์โกกลิโอ[a][ข]; 17 ธันวาคม ค.ศ. 1936 – 21 เมษายน ค.ศ. 2025) เป็นอดีตประมุขแห่งพระศาสนจักรคาทอลิก และอดีตประมุขแห่งนครรัฐวาติกัน ทรงได้รับเลือกจากที่ประชุมเมื่อวันที่ 13 มีนาคม ค.ศ. 2013 หลังการสละตำแหน่งของสมเด็จพระสันตะปาปาเบเนดิกต์ที่ 16 และดำรงตำแหน่งจนกระทั่งสิ้นพระชนม์ สมเด็จพระสันตะปาปาฟรานซิสเป็นสมเด็จพระสันตะปาปาพระองค์แรกจากคณะเยสุอิต เป็นพระองค์แรกที่มาจากทวีปอเมริกาใต้ เป็นพระองค์แรกที่มาจากซีกโลกใต้ และเป็นพระองค์แรกที่มาจากนอกทวีปยุโรป ตั้งแต่สมัยของสมเด็จพระสันตะปาปาเกรกอรีที่ 3 ซึ่งเป็นชาวซีเรีย ผู้ซึ่งดำรงตำแหน่งบิชอบแห่งกรุงโรมในคริสต์ศตวรรษที่ 8

สมเด็จพระสันตะปาปา

ฟรานซิส

Francis
บิชอปเเห่งกรุงโรม
สมณนามFranciscus (ละติน)
เริ่มวาระ13 มีนาคม ค.ศ. 2013
สิ้นสุดวาระ21 เมษายน ค.ศ. 2025
(12 ปี 1 เดือน 8 วัน)
องค์ก่อนสมเด็จพระสันตะปาปาเบเนดิกต์ที่ 16
องค์ถัดไปสมเด็จพระสันตะปาปาเลโอที่ 14
ข้อมูลส่วนพระองค์
พระนามเดิมฮอร์เฮ มาริโอ เบร์โกกลิโอ
ประสูติ17 ธันวาคม ค.ศ. 1936(1936-12-17)
บัวโนสไอเรส ประเทศอาร์เจนตินา
สิ้นพระชนม์21 เมษายน ค.ศ. 2025(2025-04-21) (88 ปี)
โดมุสซังเตมาร์เธ นครรัฐวาติกัน
ข้อมูลอื่น
บวชเมื่อ13 ธันวาคม ค.ศ. 1969
พระอภิไธยสมเด็จพระสันตะปาปาฟรานซิส's signature
ตราอาร์มสมเด็จพระสันตะปาปาฟรานซิส's coat of arms

สมเด็จพระสันตะปาปาฟรานซิสทรงแต่งตั้งให้สตรีเป็นสมาชิกเต็มของสมณสภาปกครองโรมัน[2][3] พระองค์ทรงยืนกรานว่าคริสตจักรนิกายโรมันคาทอลิกควรเห็นอกเห็นใจสมาชิกกลุ่มบุคคลที่มีความหลากหลายทางเพศมากกว่านี้ และทรงระบุว่าแม้ว่าจะไม่อนุญาตให้มีการให้พรแก่การสมรสเพศเดียวกัน แต่บุคคลต่าง ๆ ก็สามารถได้รับพรได้ตราบใดที่ไม่มีการให้พรในบริบทของพิธีกรรม[4] สมเด็จพระสันตะปาปาฟรานซิสทรงเป็นผู้วิจารณ์ระบบทุนนิยม บริโภคนิยมที่ไร้ขอบเขต และการพัฒนาที่มากเกินไป[5] พระองค์ทรงทำให้การดำเนินการเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศเป็นจุดเน้นหลักของตำแหน่งพระสันตปาปาของพระองค์[6] พระองค์ได้รับการตีความอย่างกว้างขวาง ทรงประณามโทษประหารชีวิตว่าเป็นความชั่วร้ายในตัวเอง[7] โดยทรงระบุว่าคริสตจักรนิกายโรมันคาทอลิกมุ่งมั่นที่จะยกเลิกโทษประหารชีวิต[8] ในการเจรจาระหว่างประเทศ สมเด็จพระสันตะปาฟรานซิสทรงวิพากษ์วิจารณ์การเพิ่มขึ้นของประชานิยมปีกขวา เรียกร้องให้ยกเลิกการก่ออาชญากรรมต่อคนรักร่วมเพศ[9] ช่วยฟื้นฟูความสัมพันธ์ทางการทูตอย่างเต็มรูปแบบระหว่างสหรัฐอเมริกาและประเทศคิวบา เจรจาข้อตกลงกับจีนเพื่อกำหนดว่าพรรคคอมมิวนิสต์มีอิทธิพลมากเพียงใดในการแต่งตั้งบิชอปชาวจีน และสนับสนุนประเด็นผู้ลี้ภัย พระองค์เรียกร้องให้การคุ้มครองผู้อพยพเป็น "หน้าที่ของอารยธรรม" และวิพากษ์วิจารณ์การเมืองต่อต้านผู้อพยพ รวมถึงนโยบายของประธานาธิบดีดอนัลด์ ทรัมป์แห่งสหรัฐอเมริกา[10][11] ใน ค.ศ. 2022 พระองค์ทรงขออภัยต่อบทบาทของคริสตจักรใน "การฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ทางวัฒนธรรม" ของชนพื้นเมืองในแคนาดา[12] สมเด็จพระสันตะปาปาฟรานซิสทรงเรียกประชุมสมัชชาซีนอดซึ่งได้รับการอธิบายว่าเป็นจุดสูงสุดของการดำรงตำแหน่งพระสันตปาปาของพระองค์และเป็นเหตุการณ์ที่สำคัญที่สุดในคริสตจักรนิกายโรมันคาทอลิกตั้งแต่สังคายนาวาติกันครั้งที่สอง[3][13][14]

เมื่อทรงพระเยาว์

แก้

สมเด็จพระสันตะปาปาฟรานซิสประสูติในกรุงบัวโนสไอเรส เมื่อวันที่ 17 ธันวาคม ค.ศ. 1936 ทรงมีพี่น้อง 5 คน พระชนกเป็นคนงานทางรถไฟ[15] พระองค์ทรงได้รับปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาเคมี จากมหาวิทยาลัยบัวโนสไอเรส และทรงเข้าศึกษาที่เซมินารีในย่านบียาเดโบโต พระองค์ได้เป็นปฏิญาณตนเป็นนักบวชคณะเยสุอิตเมื่อวันที่ 11 มีนาคม ค.ศ. 1958 และทรงได้รับใบรับรองด้านสาขาวิชาปรัชญาจาก Colegio Máximo San José ต่อมาพระองค์ได้ทรงงานสอนวิชาวรรณกรรมและจิตวิทยาที่ Colegio de la Inmaculada และ Colegio del Salvador

ใน ค.ศ. 1967 ทรงจบการศึกษา แล้วรับศีลอนุกรมเป็นบาทหลวงเมื่อวันที่ 13 ธันวาคม ค.ศ. 1969 ทรงทำงานสอนที่มหาวิทยาลัย Facultades de Filosofía y Teología de San Miguel จนดำรงตำแหน่งเป็นศาสตราจารย์ทางเทววิทยา

ช่วง ค.ศ. 1973 - 1979 ทรงดำรงตำแหน่งอธิการเจ้าคณะแขวงคณะเยสุอิตในประเทศอาร์เจนตินา แล้วย้ายไปเป็นอธิการเซมินารีซานมีเกลจนถึง ค.ศ. 1986

พระเกียรติยศ

แก้
ธรรมเนียมพระยศของ
สมเด็จพระสันตะปาปาฟรานซิส
 
ตราประจำพระองค์
การทูลฮิส โฮลิเนส (ฝ่าพระบาท)
การแทนตนI, I'm, Me (เกล้ากระหม่อม/เกล้ากระหม่อมฉัน)
การขานรับยัวร์ โฮลิเนส (เกล้ากระหม่อม พะย่ะค่ะ/เพคะ)

บาทหลวงฮอร์เฮ เบร์โกกลิโอ ได้รับการอภิเษกเป็นมุขนายกผู้ช่วยแห่งบัวโนสไอเรสและมุขนายกเกียรตินามแห่งเอากา (Auca) และได้สืบตำแหน่งเป็นอาร์ชบิชอปแห่งบัวโนสไอเรสแทนในวันที่ 28 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1998

ในวันที่ 21 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 2001 ท่านได้รับแต่งตั้งเป็นพระคาร์ดินัล โดยสมเด็จพระสันตะปาปาจอห์น ปอลที่ 2 ได้ปฏิบัติหน้าที่ในหลายหน่วยงานในสภาปกครองโรมัน ได้แก่

การดำรงตำแหน่งพระสันตะปาปา

แก้

เมื่อสมเด็จพระสันตะปาปาเบเนดิกต์ที่ 16 ทรงสละตำแหน่งเมื่อวันที่ 28 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 2013 และได้เปิดทางให้มีการประชุมเลือกสันตะปาปาองค์ใหม่ จึงได้มีการจัดการประชุมเลือกสันตะปาปา ค.ศ. 2013 โดยกำหนดให้มีขึ้นในวันที่ 12 มีนาคม ค.ศ. 2013 หลังจากการลงคะแนนเสียงครั้งที่ 5 โดยพระคาร์ดินัลผู้มีสิทธิ์ออกเสียงจำนวน 115 ท่าน ผลปรากฏว่าพระคาร์ดินัลฮอร์เฮ เบร์โกกลิโอ อาร์ชบิชอปแห่งบัวโนสไอเรส ประเทศอาร์เจนตินา ได้รับเลือก และทรงเลือกพระนาม "Franciscus" ซึ่งหมายถึงนักบุญฟรังซิสแห่งอัสซีซี[16][17][18] นับเป็นพระสันตะปาปาพระองค์แรกจากทวีปอเมริกาและคณะเยสุอิต[19]

ในวันที่ทรงได้รับเลือกตั้ง สันตะสำนักประกาศว่าพระนามอย่างเป็นทางการของพระองค์คือ "ฟรานซิส" ไม่ใช่ "ฟรานซิสที่ 1" พระองค์จะมีพระนามว่าฟรานซิสที่ 1 ก็ต่อเมื่อในอนาคตมีสมเด็จพระสันตะปาปาฟรานซิสที่ 2[20]

การเสด็จเยือนประเทศไทยอย่างเป็นทางการ

แก้

เมื่อวันที่ 13 กันยายน 2019 ณ ห้องประชุมชั้น 11 อาคารรวมจิตเพียรธรรม โรงพยาบาลเซนต์หลุยส์ สภาประมุขแห่งบาทหลวงโรมันคาทอลิกแห่งประเทศไทย นำโดยพระคาร์ดินัล ฟรังซิสเซเวียร์ เกรียงศักดิ์ โกวิทวาณิช ประธานสภาประมุขบาทหลวงโรมันคาทอลิกประเทศไทย ณ ขณะนั้น และอาร์ชบิชอปพอล ชาง อิน-นัม เอกอัครสมณทูตวาติกันประจำประเทศไทย (ในขณะนั้น) ได้ออกแถลงการณ์ เรื่องสมเด็จพระสันตะปาปาฟรานซิส จะเสด็จเยือนประเทศไทยอย่างเป็นทางการตามคำทูลเชิญของรัฐบาลไทย เนื่องในโอกาสฉลองครบรอบ 350 ปี มิสซังสยาม[21]

สมเด็จพระสันตะปาปาฟรานซิส เสด็จถึง ณ ท่าอากาศยานทหาร 2 กองบิน 6 ดอนเมือง เมื่อวันที่ 20 พฤศจิกายน 2019 เวลา 12.30 น. ด้วยสายการบินอาลีตาเลีย (สายการบินประจำชาติอิตาลี) ได้รับการต้อนรับจากคณะพระสังฆราชทั้ง 11 สังฆมณฑล ทรงทำภารกิจหลายประการในประเทศไทย อาทิ เมื่อวันที่ 21 พฤศจิกายน 2019 เสด็จไปเข้าเฝ้าพระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระนางเจ้าสุทิดา พัชรสุธาพิมลลักษณ พระบรมราชินีพระที่นั่งอัมพรสถาน พระราชวังดุสิต เสด็จไปเข้าเฝ้าสมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ (อัมพร อมฺพโร) สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปรินายกวัดราชบพิธสถิตมหาสีมารามราชวรวิหาร และเสด็จไปทรงเป็นประธานในพิธีบูชาขอบพระคุณ ณ สนามกีฬาแห่งชาติ เป็นต้น[22] จนถึงวันที่ 23 พฤศจิกายน 2019 เสด็จออกจากประเทศไทย โดยเครื่องบินของ บริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) เพื่อเสด็จต่อไปทรงปฏิบัติพระกรณียกิจต่อ ณ ประเทศญี่ปุ่น[23]

พระพลานามัย

แก้

เมื่อทรงพระเยาว์สมเด็จพระสันตะปาปาฟรานซิสทรงได้รับการผ่าตัดนำส่วนหนึ่งของพระปัปผาสะออกเมื่อพระชนมายุ 21 พรรษา เนื่องจากทรงประชวรด้วยพระโรคเยื่อหุ้มพระปัปผาสะอักเสบ แม้ว่าการผ่าตัดนี้จะทำให้ปัปผาสะของพระองค์มีขนาดเล็กลง แต่แพทย์ยืนยันว่ามิได้ส่งผลกระทบอย่างมีนัยสำคัญต่อพระพลานามัยโดยรวมของพระองค์[24]

ในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา พระองค์ทรงประสบปัญหาสุขภาพหลายประการ โดยเฉพาะในช่วงฤดูหนาว พระองค์มักทรงมีพระอาการไข้หวัดใหญ่และหลอดพระวาโยอักเสบ นอกจากนี้ พระองค์ยังทรงมีปัญหาเกี่ยวกับพระชานุ (เข่า) และพระโรคปวดพระประสาทรูป (โรคปวดเส้นประสาท; sciatica) ซึ่งทำให้ทรงต้องใช้รถเข็น วอล์กเกอร์ หรือธารพระกรในการเคลื่อนไหวพระวรกายบ่อยครั้ง

ในเดือนมิถุนายน ค.ศ. 2023 พระองค์ทรงเข้ารับการผ่าตัดพระอันตะและรักษาไส้เลื่อน[24]

ในวันที่ 14 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 2025 พระองค์ทรงเข้ารับการรักษาที่โรงพยาบาลเจเมลลีในกรุงโรม เนื่องจากพระอาการติดเชื้อทางเดินหายใจ แพทย์วินิจฉัยว่าพระองค์ทรงมีอาการพระปัปผาสะบวมทั้งสองข้าง[25] ถึงแม้อาการของพระองค์ยังคงทรงตัวแต่ก็ยังคงรุนแรงและต้องได้รับการดูแลจากแพทย์อย่างใกล้ชิด[26] ณ วันที่ 22 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 2025 สำนักวาติกันรายงานว่าพระอาการของพระองค์ยังคงอยู่ในขั้นวิกฤต[27]

วันที่ 13 มีนาคม ค.ศ. 2025 ทีมแพทย์ที่รักษาได้แถลงว่า อาการป่วยของพระองค์ พระอาการของพระองค์ยังคงที่ แม้ว่าพระอาการโดยรวมยังคงมีความซับซ้อน ผลเอ็กซเรย์พระปัปผาสะ ยืนยันว่า พระอาการของพระองค์ดีขึ้นตามที่หมอสังเกตเห็นในช่วงหลายวันที่ผ่านมา ตอนกลางวัน พระองค์ทรงต้องใช้ออกซิเจนอัตราการไหลสูง ส่วนกลางคืน พระองค์จะทรงเปลี่ยนมาใช้เครื่องช่วยหายพระทัยแบบไม่ต้องใส่ท่อ (non-invasive mechanical ventilation) ทั้งนี้ ทีมแพทย์ได้ตัดสินใจยกเลิกการเฝ้าระวังอาการของพระองค์อย่างใกล้ชิด อย่างไรก็ตาม เนื่องจากความซับซ้อนของอาการและการติดเชื้อรุนแรงที่พระองค์ทรงประสบเมื่อทรงเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาล พระองค์ยังทรงจำเป็นต้องรักษาด้วยยาในโรงพยาบาลต่อไปอีกระยะหนึ่ง

การสิ้นพระชนม์

แก้

ในวันที่ 21 เมษายน ค.ศ. 2025 เวลา 07:35 น. เวลาท้องถิ่น (UTC+02:00) สมเด็จพระสันตะปาปาฟรานซิสสิ้นพระชนม์ในสถานพำนักในโดมุสแซงเทมาร์เท (Domus Sanctae Marthae) มีพระชนมายุได้ 88 ปี เป็นผลจากเส้นเลือดในสมองแตก (Cerebral stroke) ตามมาด้วยอาการโคม่าและภาวะไหลเวียนโลหิตล้มเหลวที่ไม่อาจกลับคืนได้ (Irreversible Cardiocirculatory Collapse)[28] การสิ้นพระชนม์ของพระองค์ถูกประกาศสู่สาธาณชนโดยพระคาร์ดินัล เควิน ฟาร์เรล ผู้เป็นพระคาร์ดินัลคาเมอร์เลนโก (Camerlengo) ผ่านช่องโทรทัศน์ของวาติกัน

ตามรายงานทางการแพทย์ สมเด็จพระสันตะปาปาฟรานซิส ทรงมีประวัติปัญหาพระพลานามัยก่อน ได้แก่ ภาวะหายใจล้มเหลวเฉียบพลันจากปอดอักเสบทั้งสองข้างที่เกิดจากเชื้อหลายชนิด หลอดลมโป่งพองหลายตำแหน่ง ความดันโลหิตสูง และโรคเบาหวานชนิดที่ 2

การเคลื่อนพระศพออกมาให้ประชาชนได้เคารพ จะจัดขึ้นในวันพุธที่ 23 เมษายน 2025 เวลา 9:00 น. (ตรงกับ 14:00 น. เวลาไทย) โลงพระศพที่บรรจุพระศพของสมเด็จพระสันตะปาปาฟรานซิส จะถูกอัญเชิญออกจากวัดน้อยในหอพักซานตา มาร์ธา ไปยังมหาวิหารนักบุญเปโตร ตามที่กำหนดไว้ในหนังสือพิธีปลงศพพระสันตะปาปา จากนั้นจัดพิธีมิสซาปลงพระศพสมเด็จพระสันตะปาปาฟรานซิสในวันเสาร์ที่ 26 เมษายน 2025 เวลา 10:00 น. เวลาท้องถิ่น (ตรงกับ 15:00 น. ประเทศไทย) โดยมีพระคาร์ดินัลโจวานนี บัตติสตา เร เป็นประธานในพิธี

พระศพของพระองค์จะถูกฝังที่มหาวิหารซันตามาเรียมัจโจเร (Santa Maria Maggiore) ซึ่งเป็นหนึ่งในสี่มหาวิหารเอกของพระศาสนจักรโรมันคาทอลิก ตั้งอยู่ภายในนครรัฐวาติกัน กรุงโรม ประเทศอิตาลี ซึ่งทรงเป็นสมเด็จพระสันตะปาปาพระองค์แรกในประวัติศาสตร์ยุคใหม่ที่แสดงพระประสงค์ให้ฝังพระศพในมหาวิหารอื่น แทนที่จะเป็นมหาวิหารนักบุญเปโตร เหมือนสมเด็จพระสันตะปาปาพระองค์ก่อน ๆ

การประชุมเลือกสันตะปาปา ค.ศ. 2025 จะเริ่มดำเนินการในวันที่ 7 พฤษภาคม 2025[29]

เชิงอรรถ

แก้

พระศาสนจักรคาทอลิกในประเทศไทยนิยมสะกดว่า ฟรังซิส[30]

ออกเสียงตามตัวอักษรแบบภาษาสเปนในลาตินอเมริกา : [ˈxoɾxe ˈmaɾjo βeɾˈɣoɣljo] ฮอร์เฮ มาริโอ เบร์โกกลิโอ, ออกเสียงดั้งเดิมแบบภาษาอิตาลี: [ˈdʒɔrdʒe ˈmarjo bɛrˈgɔʎːo] จอร์เจ มารีโอ แบร์กอลโย

  1. สเปน: Jorge Mario Bergoglio

อ้างอิง

แก้
  1. "ในหลวง-ราชินี มีพระราชสาส์นยินดี'สันตะปาปา'องค์ใหม่". ไทยรัฐ. 15 มีนาคม 2556. สืบค้นเมื่อ 21 สิงหาคม 2561. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  2. Dallas, Kelsey (3 October 2023). "The pope's latest comments on same-sex marriage, explained". Deseret News (ภาษาอังกฤษ). เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 7 October 2023. สืบค้นเมื่อ 4 October 2023.
  3. 3.0 3.1 Faiola, Andy; Boorstein, Michelle; Brady, Kate (2 October 2023). "Amid liberal revolt, pope signals openness to blessings for gay couples". Washington Post (ภาษาอังกฤษ). เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 4 October 2023. สืบค้นเมื่อ 7 October 2023.
  4. Pullella, Philip (26 January 2024). "Pope says LGBT blessings are for individuals, not approval of unions". Reuters. สืบค้นเมื่อ 28 May 2024.
  5. Davies, Lizzy (15 December 2013). "Pope says he is not a Marxist, but defends criticism of capitalism". The Guardian. Rome, Italy. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 15 December 2013.
  6. Sherwood, Harriet (7 September 2021). "Christian leaders unite to issue stark warning over climate crisis". The Guardian (ภาษาอังกฤษ). เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 7 September 2021. สืบค้นเมื่อ 7 September 2021.
  7. Trabbic, Joseph G. (16 August 2018). "Capital punishment: Intrinsically evil or morally permissible?". Catholic World Report (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 23 December 2023. สืบค้นเมื่อ 4 October 2023.
  8. "New revision of number 2267 of the Catechism of the Catholic Church on the death penalty – Rescriptum 'ex Audentia SS.mi'". press.vatican.va. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 4 October 2023. สืบค้นเมื่อ 1 October 2023.
  9. "The AP Interview: Pope Francis: Homosexuality not a crime". AP News (ภาษาอังกฤษ). 25 January 2023. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 25 January 2023. สืบค้นเมื่อ 25 January 2023.
  10. Rocca, Francis X. (22 September 2023). "Pope Francis Calls Protection of Migrants a Duty of Civilization". WSJ (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 30 September 2023. สืบค้นเมื่อ 4 October 2023.
  11. Lauter, David; Bierman, Noah (18 February 2016). "Trump and Pope Francis clash over immigration, another extraordinary campaign twist". Los Angeles Times. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 20 June 2018. สืบค้นเมื่อ 20 April 2018.
  12. Horowitz, Jason (30 July 2022). "Francis Calls Abuse of Indigenous People in Canada a 'Genocide'". The New York Times (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). ISSN 0362-4331. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 7 November 2023. สืบค้นเมื่อ 7 October 2023.
  13. Horowitz, Jason; Povoledo, Elisabetta (2 October 2023). "What Is a Synod in the Catholic Church? And Why Does This One Matter?". The New York Times (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). ISSN 0362-4331. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 13 November 2023. สืบค้นเมื่อ 7 October 2023.
  14. Horowitz, Jason (2 October 2023). "Vatican Assembly Puts the Church's Most Sensitive Issues on the Table". The New York Times (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). ISSN 0362-4331. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 7 October 2023. สืบค้นเมื่อ 7 October 2023.
  15. "Pope Francis: the humble pontiff with practical approach to poverty". เดอะการ์เดียน. 13 March 2013. สืบค้นเมื่อ 21 August 2018.
  16. Michael Martinez, CNN Vatican analyst: Pope Francis' name choice 'precedent shattering', CNN (13 March 2013). Retrieved 13 March 2013.
  17. David Batty. "Pope named after Francis of Assisi heralded by gull atop Sistine chimney | World news". The Guardian. สืบค้นเมื่อ 2013-03-13.
  18. "Argentina's Bergoglio becomes Pope Francis – This Just In - CNN.com Blogs". News.blogs.cnn.com. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-04-24. สืบค้นเมื่อ 2013-03-14.
  19. "New pope chosen: Argentine Jorge Mario Bergoglio who becomes Pope Francis". CTV News. 13 March 2013. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2019-09-11. สืบค้นเมื่อ 21 August 2018.
  20. Emily Alpert, Vatican: It's Pope Francis, not Pope Francis I, Los Angeles Times (13 March 2013). Retrieved 13 March 2013.
  21. https://www.matichon.co.th/education/religious-cultural/news_1668930
  22. "โป๊ปเฝ้าสมเด็จพระสังฆราชมีพระราชดำรัส 'โรมันคาทอลิก-พุทธจักรไทย' แน่นแฟ้นงดงาม". ไทยโพสต์. 21 พ.ย. 2562. สืบค้นเมื่อ 15 สิงหาคม 2563. {{cite news}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |access-date= (help)
  23. https://www.bbc.com/thai/thailand-50527501
  24. 24.0 24.1 "ทันโลก กับ Thai PBS - สมเด็จพระสันตะปาปาฟรานซิส ทรงเข้ารับการรักษา..." Thai PBS. มิถุนายน 2023. สืบค้นเมื่อ 25 กุมภาพันธ์ 2025.
  25. "วาติกันเผยอาการประชวร 'โป๊ปฟรานซิส' ทรงตัว". VOA Thai. 20 กุมภาพันธ์ 2025. สืบค้นเมื่อ 25 กุมภาพันธ์ 2025.
  26. "วาติกันเผย โป๊ปฟรานซิส มีอาการปอดบวมทั้ง 2 ข้าง อาการยังซับซ้อน". ไทยรัฐ. 18 กุมภาพันธ์ 2025. สืบค้นเมื่อ 25 กุมภาพันธ์ 2025.
  27. "พระสันตะปาปาป่วยวิกฤต รักษาตัวที่โรงพยาบาลเจเมลลี กุมภาพันธ์ 2025". The Standard. 22 กุมภาพันธ์ 2025. สืบค้นเมื่อ 25 กุมภาพันธ์ 2025.
  28. https://www.vaticannews.va/en/pope/news/2025-04/pope-francis-death-due-to-stroke-and-irreversible-cardiocircula.html
  29. "Pope Francis has died, the Vatican says". Sky News. 21 เม.ย. 2568. สืบค้นเมื่อ 21 เมษายน 2025.
  30. "องค์ที่ 266 สมเด็จพระสันตะปาปาฟรังซิส". หอจดหมายเหตุ มิสซังโรมันคาทอลิกกรุงเทพฯ. 2 November 2015. สืบค้นเมื่อ 21 August 2018.


ก่อนหน้า สมเด็จพระสันตะปาปาฟรานซิส ถัดไป
สมเด็จพระสันตะปาปาเบเนดิกต์ที่ 16    
พระสันตะปาปา
(พ.ศ. 2556 – 2568)
  สมเด็จพระสันตะปาปาเลโอที่ 14