สมเด็จพระสันตะปาปาเบเนดิกต์ที่ 16

สมเด็จพระสันตะปาปาเบเนดิกต์ที่ 16 (ละติน: Benedictus XVI, อังกฤษ: Benedict XVI) อดีตประมุขคริสตจักรโรมันคาทอลิก เป็นชาวเยอรมัน มีพระนามเดิมว่า โยเซฟ รัทซิงเงอร์ (เยอรมัน: Joseph Ratzinger) (เกิดเมื่อ 16 เมษายน พ.ศ. 2470 - 31 ธันวาคม พ.ศ. 2565[2])

สมเด็จพระสันตะปาปา

เบเนดิกต์ที่ 16

Benedict XVI
บิชอปแห่งกรุงโรม
สมณนามPapa Emeritus Benedictus XVI (ละติน)
เริ่มวาระ19 เมษายน ค.ศ. 2005
สิ้นสุดวาระ28 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 2013
องค์ก่อนสมเด็จพระสันตะปาปายอห์น ปอลที่ 2
องค์ถัดไปสมเด็จพระสันตะปาปาฟรานซิส
ข้อมูลส่วนพระองค์
พระนามเดิมโยเซฟ อาโลอิส รัทซิงเงอร์
ประสูติ16 เมษายน ค.ศ. 1927(1927-04-16)
บาวาเรีย ประเทศเยอรมนี
สิ้นพระชนม์31 ธันวาคม ค.ศ. 2022(2022-12-31) (95 ปี)
นครรัฐวาติกัน[1]
ข้อมูลอื่น
บวชเมื่อ29 มิถุนายน ค.ศ. 1951
พระอภิไธยสมเด็จพระสันตะปาปาเบเนดิกต์ที่ 16's signature

วัยเด็ก แก้

สมเด็จพระสันตะปาปาเบเนดิกต์ที่ 16 ทรงเป็นบุตรของโยเซฟ และมาเรีย รัทซิงเงอร์ ประสูติในหมู่บ้านมาร์เคลท์ อัม อินน์ (Marktl am Inn) ในรัฐบาวาเรีย ประเทศเยอรมนี ไม่ไกลจากชายแดนประเทศออสเตรีย ทรงมีพี่น้อง 2 คน คนหนึ่งเป็นหญิงชื่อมาเรีย (เช่นเดียวกับพระชนนีของพระองค์) อีกคนหนึ่งเป็นพี่ชายคนโต ชื่อ เกออร์ก รัทซิงเงอร์ (บวชเป็นบาทหลวงเช่นเดียวกับพระองค์) พระองค์ได้เข้าไปศึกษาเพื่อเตรียมตัวเป็นบาทหลวงในเซมินารี ในเมือง Traunstein เมื่อปี ค.ศ. 1939 (พ.ศ. 2482)

เมื่อสงครามโลกครั้งที่สองอุบัติขึ้น พระองค์เข้าร่วมเป็นสมาชิกของหน่วยยุวชนฮิตเลอร์ (เด็กชายทุกคนในปี ค.ศ. 1941 (พ.ศ. 2484) ต้องเข้าร่วม) เมื่อกองทัพเยอรมันต้องการกำลังทหาร พระองค์ก็ถูกเกณฑ์เข้าไปเป็นพลปืนต่อต้านอากาศยาน ซึ่งพระองค์มีหน้าที่ดูแลเครื่องบินและต่อมาทรงย้ายไปประจำที่ศูนย์สื่อสารทางโทรศัพท์ ต่อมาในปี 1944 (พ.ศ. 2487) พระองค์และเพื่อนร่วมชั้นก็ออกจากกองต่อต้านอากาศยาน แต่กลับถูกเกณฑ์อีกครั้งเพื่อไปประจำที่ชายแดนซึ่งติดต่อกับประเทศฮังการี พระองค์มีหน้าที่ติดตั้งอุปกรณ์ไว้ป้องกันกองทัพรถถังโซเวียต ในเดือนพฤศจิกายนปีนั้น พระองค์ก็ออกจากกองทัพและมุ่งหน้ากลับบ้าน สามสัปดาห์ผ่านไปพระองค์ก็ได้รับหมายเรียกให้รับการฝึกเป็นทหารราบ แต่ทรงไม่เคยต้องออกไปยังแนวหน้า

ในเดือนเมษายน 1945 (พ.ศ. 2488) (ก่อนหน้านาซีจะยอมแพ้ไม่นาน) พระองค์ก็หนีทัพและกลับไปยังหมู่บ้านของพระองค์ แต่ภายหลังสงคราม พระองค์ถูกจับในฐานะเชลยเนื่องจากทัพฝ่ายสัมพันธมิตรสรุปว่าพระองค์เป็นทหาร พระองค์ต้องไปเข้าค่ายกักกันเชลยศึก พระองค์ออกจากค่ายเมื่อวันที่ 20 มิถุนายน พ.ศ. 2488 พระองค์ได้เริ่มเดินด้วยเท้าเป็นระยะทาง 120 กิโลเมตรเพื่อกลับหมู่บ้าน แต่ได้รับการช่วยเหลือจากรถส่งนมที่พาพระองค์ไปส่งที่เมืองเธราน์ชไตน์ (Traunstein) เมื่อพระองค์กลับถึงบ้าน ก็ได้พบกับพี่ชายซึ่งได้รับการปล่อยตัวมาจากค่ายเชลยศึกในประเทศอิตาลีเช่นเดียวกัน

การศึกษา แก้

ในปี 1945 (พ.ศ. 2488) หลังจากที่พระองค์กลับถึงบ้าน พระองค์ก็ได้เข้าศึกษาต่อที่เซมินารีแห่งหนึ่งในเมืองไฟรซิงก์ (Freising) หลังจากนั้นก็ไปศึกษาที่มหาวิทยาลัยลุดวิก-มักซีมีเลียน (Ludwig-Maximilian) ในเมืองมิวนิก ในที่สุด เมื่อปี 1951 (พ.ศ. 2494) พระองค์ก็ได้บวชเป็นบาทหลวงโดยมีพระคาร์ดินัลมีคาเอล ฟอน เฟาล์ฮาเบอร์ อาร์ชบิอปแห่งมิวนิกในขณะนั้นเป็นผู้โปรดศีลอนุกรม ระหว่างนั้นพระองค์ยังทรงเขียนวิทยานิพนธ์ขึ้น 2 ฉบับ โดยมีเนื้อหาเกี่ยวกับนักบุญออกัสตินแห่งฮิปโป (เสร็จเมื่อ พ.ศ. 2496) และนักบุญโบนาเวนตูรา (เสร็จเมื่อ พ.ศ. 2500) ในปี 1958 (พ.ศ. 2501) พระองค์ก็ได้เป็นอาจารย์สอนที่วิทยาลัยไฟรซิงก์

งานทางศาสนา แก้

ต่อมาพระองค์เป็นอาจารย์สอนที่มหาวิทยาลัยบอนน์ ตั้งแต่ พ.ศ. 2502 ถึง พ.ศ. 2506 เมื่อพระองค์ย้ายไปสอนที่มหาวิทยาลัยมึนสเตอร์ ในปี ค.ศ. 1966 (พ.ศ. 2509) พระองค์ได้เป็นอาจารย์สอนวิชาเทววิทยามหาวิทยาลัยทือบิงเงิน (Tübingen) ระหว่างนี้เองที่พระองค์ได้เห็นขบวนการมากมายที่อาจทำให้คำสอนของคาทอลิกผิดเพื้ยนไป เช่นขบวนการเรียกร้องสิทธิของพวกรักร่วมเพศ ปี ค.ศ. 1969 (พ.ศ. 2512) พระองค์ก็กลับไปยังรัฐบาวาเรีย บ้านเกิดของพระองค์เพื่อไปสอนที่มหาวิทยาลัยเรเกนสบูร์ก (Regensburg)

ในปี 1972 (พ.ศ. 2515) พระองค์ได้ร่วมกับฮันส์ เอิร์ส วอน บาลธาซาร์, อองริ เดอ ลูบัค และวอลเตอร์ แกสแปร์ ก่อตั้งวารสารทางศาสนาขึ้นมาชื่อว่าคอมมูนิโอ (Communio, ปัจจุบันวารสารนี้ตีพิมพ์ใน 17 ภาษา และเป็นหนึ่งวารสารคาทอลิกที่สำคัญที่สุด) พระองค์ยังเป็นผู้ที่เขียนบทความลงในวารสารนี้อีกด้วย

พระคาร์ดินัล แก้

ในเดือนมีนาคม 1977 (พ.ศ. 2520) ทรงได้รับการแต่งตั้งเป็นอาร์ชบิชอปแห่งมิวนิก และในเดือนมิถุนายนปีเดียวกัน ทรงได้รับการแต่งตั้งเป็นพระคาร์ดินัลโดยสมเด็จพระสันตะปาปาปอลที่ 6 (ในการเลือกตั้งพระสันตะปาปาใน พ.ศ. 2548 พระองค์เป็นหนึ่งในพระคาร์ดินัลที่มีสิทธิเลือก 3 คนที่ไม่ได้รับการแต่งตั้งจากสมเด็จพระสันตะปาปายอห์น ปอลที่ 2)

25 พฤศจิกายน ค.ศ. 1981 (พ.ศ. 2524) สมเด็จพระสันตะปาปายอห์น ปอลที่ 2 แต่งตั้งให้เป็นสมณมนตรีว่าการสมณะกระทรวงหลักความเชื่อ นอกจากนี้ยังทรงเคยดำรงตำแหน่ง

6 พฤศจิกายน ค.ศ. 1998 (พ.ศ. 2541) ได้รับเลือกเป็นรองหัวหน้าคณะพระคาร์ดินัล

30 พฤศจิกายน ค.ศ. 2002 (พ.ศ. 2545) ได้รับเลือกเป็นหัวหน้า (Dean) คณะพระคาร์ดินัล

พ.ศ. 2529 – พ.ศ. 2535 เป็นประธานคณะกรรมการจัดทำหนังสือคำสอนพระศาสนจักรคาทอลิก

10 พฤศจิกายน ค.ศ. 1999 (พ.ศ. 2542) ได้รับปริญญาดุษฎีบัณฑิตจากมหาวิทยาลัยมาเรียซานติสสิมาอัสสุนตา Maria Santissima Assunta

13 พฤศจิกายน ค.ศ. 2000 (พ.ศ. 2543) ได้รับเกียรติเป็นสมาชิกกิตติมศักดิ์ของสถาบันวิทยาศาสตร์ในสันตะสำนัก (Pontifical Academy of Sciences)

ทรงเคยเป็นสมาชิกในคณะกรรมการสมณกระทรวงของสันตะสำนัก (Curial Membership)

และเลขาธิการของนครรัฐวาติกัน (Second Section) ด้านความสัมพันธ์กับรัฐอื่น

เป็นสมเด็จพระสันตะปาปา แก้

หลังจากสมเด็จพระสันตะปาปายอห์น ปอลที่ 2 สิ้นพระชนม์ในวันที่ 2 เมษายน 2548 พระองค์ก็ทรงได้รับเลือกเป็นพระสันตะปาปาเมื่อวันที่ 19 เมษายน พ.ศ. 2548 เมื่อพระชนมายุ 78 พรรษา เป็นสมเด็จพระสันตะปาปาที่มีอายุมากที่สุดที่เคยได้รับเลือก นับตั้งแต่สมเด็จพระสันตะปาปาเคลเมนต์ที่ 7 (พ.ศ. 2273) และเป็นสมเด็จพระสันตะปาปาชาวเยอรมันพระองค์แรกตั้งแต่สมเด็จพระสันตะปาปาเอเดรียนที่ 6 (1522–1523) (สมเด็จพระสันตะปาปาเอเดรียนที่ 6 ทรงเป็นชาวเยอรมันด้วย เพราะในสมัยของพระองค์ เนเธอร์แลนด์รวมอยู่ในจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ ซึ่งปกครองโดยบรรพบุรุษของชาวเยอรมันในปัจจุบัน) (สมเด็จพระสันตะปาปาองค์สุดท้ายก่อนหน้าพระองค์ที่มาจากดินแดนที่อยู่ในเขตเยอรมนีปัจจุบันคือสมเด็จพระสันตะปาปาวิกเตอร์ที่ 2 ซึ่งดำรงตำแหน่งในปี 1055-1057)

การเลือกตั้งพระสันตะปาปาคราวนี้ใช้เวลาเพียง 2 วันเท่านั้น และมีการลงคะแนนทั้งหมด 4 ครั้ง ซึ่งถือว่าเร็วมากเมื่อเทียบกับการเลือกตั้งพระสันตะปาปาครั้งที่ผ่าน ๆ มา

สละสมณศักดิ์ แก้

ธรรมเนียมพระยศของ
สมเด็จพระสันตะปาปาเบเนดิกต์ที่ 16
 
ธงประจำพระอิสริยยศ
 
ตราประจำพระองค์
การทูลฮิส โฮลิเนส (ฝ่าพระบาท)
การขานรับยัวร์ โฮลิเนส (เกล้ากระหม่อม พะย่ะค่ะ/เพคะ)

วันที่ 11 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556 สำนักวาติกันมีแถลงการณ์ว่า สมเด็จพระสันตะปาปาเบเนดิกต์ที่ 16 จะทรงสละตำแหน่งในวันที่ 28 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556 เนื่องจากมีพระชนมายุมากขึ้นจึงไม่ทรงสามารถปฏิบัติพระกรณียกิจได้อย่างเต็มที่[3][4][5] นับเป็นพระสันตะปาปาพระองค์ที่ 11 ที่สละตำแหน่ง เมื่อสละตำแหน่งแล้วจึงดำรงพระสถานะเป็นสมเด็จพระสันตะปาปากิตติคุณ

เมื่อวันที่ 4 กันยายน พ.ศ. 2563 สมเด็จพระสันตะปาปาเบเนดิกต์ที่ 16 ทรงเป็นสมเด็จพระสันตะปาปาที่มีพระชนมายุยืนที่สุดในประวัติศาสตร์ แซงหน้าสมเด็จพระสันตะปาปาลีโอที่ 13 ที่สิ้นพระชนม์เมื่อ พ.ศ. 2446[6]

อ้างอิง แก้

  1. "Former Pope Benedict XVL dies at 95". BBC (ภาษาอังกฤษ). 31 December 2022. สืบค้นเมื่อ 31 December 2022.
  2. "Former Pope Benedict XVL dies at 95". BBC (ภาษาอังกฤษ). 31 December 2022. สืบค้นเมื่อ 31 December 2022.
  3. "Pope resigns, saying no longer has strength to fulfil ministry". Reuters. February 11, 2013. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-02-12. สืบค้นเมื่อ February 11, 2013.
  4. "Pope Benedict XVI in shock resignation". BBC. February 11, 2013. สืบค้นเมื่อ February 11, 2013.
  5. "Pope Benedict XVI announces his resignation at end of month". Vatican Radio. February 11, 2013. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-02-13. สืบค้นเมื่อ February 11, 2013.
  6. "Benedicto XVI es ya el papa más anciano de toda la historia". www.msn.com (ภาษาสเปน). DW News. สืบค้นเมื่อ 3 September 2020.

แหล่งข้อมูลอื่น แก้

ก่อนหน้า สมเด็จพระสันตะปาปาเบเนดิกต์ที่ 16 ถัดไป
สมเด็จพระสันตะปาปายอห์น ปอลที่ 2    
พระสันตะปาปา
(พ.ศ. 2548 — 2556)
  สมเด็จพระสันตะปาปาฟรานซิส