นักบุญโบนาเวนตูรา (อิตาลี: San Bonaventura) (ค.ศ. 122115 กรกฎาคมค.ศ. 1274) เป็นไฟรอาร์ในศาสนาคริสต์นิกายโรมันคาทอลิกชาวอิตาลี ดำรงตำแหน่งอัคราธิการคนที่ 7 ของคณะภราดาน้อย (Order of Friars Minor) หรือที่รู้จักกันโดยทั่วไปว่าคณะฟรันซิสกัน ได้รับสมณศักดิ์เป็นพระคาร์ดินัลบิชอปแห่งอัลบาโน นอกจากนี้ยังเป็นนักปรัชญาและนักเทววิทยาศาสนาคริสต์ที่มีชื่อเสียงที่สุดคนหนึ่งในสมัยกลาง จนได้รับการยกย่องให้เป็นนักปราชญ์แห่งคริสตจักร มีสมญานามว่า “นักปราชญ์ชั้นเสราฟิม

นักบุญโบนาเวนตูรา
ไฟรอาร์ มุขนายก
และนักปราชญ์แห่งคริสตจักร
เกิดค.ศ. 1221
เมืองบัญโญเรโจ ในประเทศอิตาลีในปัจจุบัน
เสียชีวิต15 กรกฎาคม ค.ศ. 1274
เมืองลียง ในประเทศฝรั่งเศสในปัจจุบัน
นิกายโรมันคาทอลิก
เป็นนักบุญ14 เมษายน ค.ศ. 1482
โรม
โดย สมเด็จพระสันตะปาปาซิกส์ตุสที่ 4
วันฉลอง15 กรกฎาคม

ประวัติ

แก้

นักบุญโบนาเวนตูรา มีนามเดิมว่าโจวันนีแห่งฟีดันซา (Giovanni di Fidanza) เป็นชาวเมืองบัญโญเรโจ (Bagnoregio) ในวัยเด็กเคยล้มป่วยหนัก แต่นักบุญฟรันเชสโกแห่งอัสซีซีได้มาช่วยสวดอ้อนวอนพระเจ้าให้ท่านจนท่านหายป่วย และท่านได้เห็นอนาคตของเด็กน้อย จึงเปล่งอุทานว่า “โอ โบนา เวนตูรา” (ผู้นำโชค!)[1]

เมื่ออายุได้ 20 ปีได้ปฏิญาณตนเป็นไฟรอาร์สังกัดคณะฟรันซิสกัน[1] แล้วไปศึกษาสาขาวิชาปรัชญาและเทววิทยาที่ปารีส[2] และได้รู้จักสนิทสนมกับตอมมาโซแห่งอากวีโน [1] ซึ่งต่อมาผู้นี้ก็ได้กลายเป็นนักบุญและนักปราชญ์ที่ยิ่งใหญ่ที่สุดอีกคนหนึ่งของศาสนจักรคาทอลิก เมื่อท่านเรียนจบก็รับหน้าที่เป็นอาจารย์อยู่หลายปี

เมื่ออายุได้ 35 ปี ท่านถูกเลือกให้ดำรงตำแหน่งอัคราธิการของคณะ ซึ่งเป็นช่วงที่คณะของท่านกำลังประสบปัญหาความแตกแยกภายใน[1] ท่านได้ใช้ความรู้และความสามารถอย่างเต็มที่ในการปกครองและจัดการคณะให้เป็นระบบ จนได้รับขนานนามว่าเป็น “ผู้ก่อตั้งและบิดาคนที่สองของคณะ[2] เพราะนักบุญฟรันซิสซึ่งเป็นผู้ก่อตั้งจริงนั้นไม่ได้วางระบบการบริหารคณะไว้

ท่านยังเป็นผู้ถ่อมตนถึงขั้นปฏิเสธการรับตำแหน่ง “อาร์ชบิชอปแห่งยอร์ก” จากสมเด็จพระสันตะปาปาเคลเมนต์ที่ 4 แต่ในสมัยสมเด็จพระสันตะปาปาเกรกอรีที่ 10 ท่านก็ถูกบังคับให้รับตำแหน่งพระคาร์ดินัลบิชอปแห่งอัลบาโน[1] เพื่อช่วยการจัดประชุมสังคายนาลียงครั้งที่สอง อันมีจุดประสงค์เพื่อรวมคริสตจักรคาทอลิกและอีสเทิร์นออร์ทอดอกซ์ให้เป็นเอกภาพ[2]

มรณกรรม

แก้

ก่อนนักบุญโบนาเวนตูราจะถึงแก่มรณกรรม ท่านได้ลาออกจากตำแหน่งอัคราธิการ[2] และสิ้นใจเมื่อวันที่ 15 กรกฎาคม ค.ศ. 1274 ขณะยังทำหน้าที่อำนวยการงานสังคายนา โดยมีสมเด็จพระสันตะปาปาเฝ้าดูอยู่จนวาระสุดท้ายของท่าน[2]

หลังมรณกรรม

แก้

พระคาร์ดินัลโบนาเวนตูรา ได้รับการประกาศเป็นนักบุญโดยสมเด็จพระสันตะปาปาซิกซ์ตุสที่ 4 เมื่อวันที่ 14 เมษายน ค.ศ. 1482 และในปี ค.ศ. 1588 สมเด็จพระสันตะปาปาซิกซ์ตุสที่ 5 ก็ประกาศให้ท่านเป็นนักปราชญ์แห่งคริสตจักร

ผลงาน

แก้
 
Legenda maior, 1477
  • Life of St Francis of Assisi (ชีวิตของนักบุญฟรังซิสแห่งอัสซีซี), TAN Books, 2010. ISBN 9780895551511
  • On the Reduction of the Arts to Theology (De Reductione Artium ad Theologiam) (การลดทอนศิลปศาสตร์ลงเป็นเทววิทยา), Franciscan Institute Publications, 1996. ISBN 978-1-57659-043-0
  • Itinerarium Mentis in Deum (การเดินทางของวิญญาณสู่พระเป็นเจ้า), (†)Philotheus Boehner, OFM, Franciscan Institute Publications, 2002. ISBN 978-1-57659-044-7
  • Saint Bonaventure’s Disputed Questions on the Mystery of the Trinity (คำถามเรื่องรหัสยภาวะของพระตรีเอกภาพ), Franciscan Institute Publications, 1979. ISBN 978-1-57659-045-4.
  • Bonaventure. Ewert Cousins, translator (The Classics of Western Spirituality ed.). Mahwah, New Jersey: Paulist Press. 1978. ISBN 0-8091-2121-2.{{cite book}}: CS1 maint: others (ลิงก์).

อ้างอิง

แก้
  1. 1.0 1.1 1.2 1.3 1.4 Bonaventure. Catholic online. เรียกข้อมูลวันที่ 13 ส.ค. พ.ศ. 2553.
  2. 2.0 2.1 2.2 2.3 2.4 วีรศักดิ์ วนาโรจน์สุวิช, ประวัตินักบุญตลอดปี, สมณองค์กรสนับสนุนงานแพร่ธรรมในประเทศไทย, 2550, หน้า 267 – 8