ความตกลงปารีส (อังกฤษ: Paris Agreement) เป็นความตกลงตามกรอบอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (ยูเอ็นเอฟซีซีซี) เพื่อกำหนดมาตรการลดการปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์ตั้งแต่ พ.ศ. 2563 ความตกลงดังกล่าวเจรจากันในช่วงการประชุมภาคีสมาชิกของยูเอ็นเอฟซีซีซีครั้งที่ 21 ณ กรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส และได้รับความเห็นชอบในวันที่ 12 ธันวาคม พ.ศ. 2558[1] โลร็อง ฟาบีอุส ประธานที่ประชุมและรัฐมนตรีว่าการต่างประเทศของฝรั่งเศส กล่าวว่าแผนการอัน "ทะเยอทะยานและสมดุล" นี้คือ "จุดเปลี่ยนทางประวัติศาสตร์" ในความพยายามลดภาวะโลกร้อน[2]

ความตกลงปารีส
ความตกลงปารีสภายใต้กรอบอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ
วันลงนาม22 เมษายน พ.ศ. 2559
ที่ลงนามปารีส
วันตรา12 ธันวาคม พ.ศ. 2558
วันมีผลยังไม่มีผลใช้บังคับ
เงื่อนไขภาคีสมาชิกยูเอ็นเอฟซีซีซี 55 ประเทศให้สัตยาบัน/ภาคยานุวัติ ซึ่งคิดเป็นร้อยละ 55 ของการปล่อยแก๊สเรือนกระจกทั่วโลก
ผู้ลงนาม195 รัฐ
ภาคี190 รัฐ
ผู้เก็บรักษาเลขาธิการสหประชาชาติ
ภาษาอาหรับ จีน อังกฤษ ฝรั่งเศส รัสเซีย และสเปน
ข้อความทั้งหมด
th:ความตกลงปารีส ที่ วิกิซอร์ซ

เป้าหมาย

แก้

เป้าหมายของอนุสัญญามีระบุไว้ในข้อ 2 ว่า เพื่อ "ส่งเสริมการบังคับใช้" ยูเอ็นเอฟซีซี ด้วยการ[3]

"(ก) ควบคุมอุณหภูมิเฉลี่ยของโลกไม่ให้เพิ่มขึ้นเกิน 2 องศาเซลเซียสจากระดับอุณหภูมิช่วงก่อนยุคอุตสาหกรรม และพยายามจำกัดการเพิ่มขึ้นของอุณหภูมิ 1.5 องศาเซลเซียสจากระดับอุณหภูมิช่วงก่อนยุคอุตสาหกรรม โดยตระหนักว่า ความพยายามนี้จะช่วยลดความเสี่ยงและผลกระทบของการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศลงอย่างมีนัยสำคัญ
(ข) เพิ่มพูนความสามารถในการปรับตัวให้เข้ากับผลกระทบที่ไม่พึงประสงค์จากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ และประคับประคองความคงทนต่อสภาพอากาศและการพัฒนาที่ก่อแก๊สเรือนกระจกในระดับต่ำ ด้วยแนวทางที่ไม่เป็นภัยคุกคามต่อการผลิตอาหาร
(ค) ก่อให้เกิดการไหลเวียนของกระแสเงินทุนซึ่งสอดคล้องกับแนวทางไปสู่การพัฒนาที่ก่อแก๊สเรือนกระจกในระดับต่ำและคงทนต่อสภาพอากาศ"

เบื้องหลัง

แก้

ตามที่ระบุไว้ในกรอบอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศนั้น อาจมีการตกลงรับตราสารทางกฎหมายหลายฉบับเพื่อให้เป้าหมายของอนุสัญญาบรรลุผลก็ได้ ฉะนั้น จึงมีการตกลงเกี่ยวกับมาตรการลดแก๊สเรือนกระจกตามความในพิธีสารเกียวโตใน พ.ศ. 2540 เพื่อดำเนินงานในช่วง พ.ศ. 2540 ถึง 2551 ต่อมา มีการตรา "ข้อแก้ไขเพิ่มเติมโดฮา" (Doha Amendment) เพื่อแก้ไขเพิ่มเติมพิธีสารดังกล่าวให้ขยายการดำเนินงานออกไปจนถึง พ.ศ. 2563[4]

ในระหว่างการประชุมสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ พ.ศ. 2554 มีการกำหนด "แผนงานเดอร์บัน" (Durban platform) พร้อม "คณะทำงานเฉพาะกิจว่าด้วยแผนงานเดอร์บันสำหรับการดำเนินงานเพิ่มเติม" (Ad Hoc Working Group on the Durban Platform for Enhanced Action) เพื่อมุ่งเจรจาเกี่ยวกับตราสารทางกฎหมายฉบับหนึ่งว่าด้วยมาตรการบรรเทาความเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศนับแต่ พ.ศ. 2563 ฉะนั้น ใน พ.ศ. 2558 จึงมีการตกลงรับตราสารดังกล่าว[5]

อ้างอิง

แก้
  1. "Paris climate talks: France releases 'ambitious, balanced' draft agreement at COP21". ABC Australia. 12 December 2015.
  2. Doyle, Allister; Lewis, Barbara (12 December 2015). "World seals landmark climate accord, marking turn from fossil fuels". Reuters. Thomson Reuters. สืบค้นเมื่อ 12 December 2015.
  3. "FCCC/CP/2015/L.9/Rev.1" (PDF). UNFCCC secretariat. สืบค้นเมื่อ 12 December 2015.
  4. "UN climate talks extend Kyoto Protocol, promise compensation". BBC News. 8 December 2012.
  5. "UNFCCC:Ad Hoc Working Group on the Durban Platform for Enhanced Action (ADP)". สืบค้นเมื่อ 2 August 2015.

แหล่งข้อมูลอื่น

แก้