จิมมี คาร์เตอร์
บทความนี้ไม่มีการอ้างอิงจากแหล่งที่มาใด |
เจมส์ เอิร์ล คาร์เตอร์ จูเนียร์ (อังกฤษ: James Earl Carter Jr.; เกิด 1 ตุลาคม ค.ศ. 1924) เป็นอดีตนักการเมืองชาวอเมริกันผู้เป็นประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกา คนที่ 39 ตั้งแต่ ค.ศ. 1977 ถึง 1981 สมาชิกของพรรคเดโมแครต เขาได้ดำรงตำแหน่งก่อนหน้านี้คือผู้ว่าการรัฐจอร์เจีย คนที่ 76 ตั้งแต่ ค.ศ. 1971 ถึง 1975 และสมาชิกวุฒิสภาสหรัฐจากรัฐจอร์เจียตั้งแต่ ค.ศ. 1963 ถึง 1967 นับตั้งแต่เขาได้ออกจากตำแหน่งประธานาธิบดี คาร์เตอร์ยังคงมีส่วนร่วมในโครงการทางการเมืองและสังคมในฐานะพลเมืองเอกชน ใน ค.ศ. 2002 เขาได้รับรางวัลโนเบลสาขาสันติภาพจากผลงานของเขาในการร่วมมือก่อตั้งศูนย์คาร์เตอร์
จิมมี คาร์เตอร์ | |
---|---|
Jimmy Carter | |
คาร์เตอร์ ใน ค.ศ. 1978 | |
ประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกา คนที่ 39 | |
ดำรงตำแหน่ง 20 มกราคม ค.ศ. 1977 – 20 มกราคม ค.ศ. 1981 | |
รองประธานาธิบดี | วอลเตอร์ มอนเดล |
ก่อนหน้า | เจอรัลด์ ฟอร์ด |
ถัดไป | โรนัลด์ เรแกน |
ผู้ว่าการรัฐจอร์เจีย คนที่ 76 | |
ดำรงตำแหน่ง 12 มกราคม ค.ศ. 1971 – 14 มกราคม ค.ศ. 1975 | |
รอง | เลสเตอร์ แมดดอกซ์ |
ก่อนหน้า | เลสเตอร์ แมดดอกซ์ |
ถัดไป | จอร์จ บัสบี |
สมาชิกวุฒิสภารัฐจอร์เจีย จาก เขต 14 | |
ดำรงตำแหน่ง 14 มกราคม ค.ศ. 1963 – 9 มกราคม ค.ศ. 1967 | |
ก่อนหน้า | ก่อตั้งเขต |
ถัดไป | ฮัก คาร์เตอร์ |
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | เจมส์ เอิร์ล คาร์เตอร์ จูเนียร์ 1 ตุลาคม ค.ศ. 1924 เพลนส์ รัฐจอร์เจีย สหรัฐ |
พรรคการเมือง | เดโมแครต |
คู่สมรส | โรซาลีนน์ สมิธ (สมรส 1946; เสียชีวิต 2023) |
บุตร |
|
บุพการี |
|
การศึกษา | โรงเรียนมัธยมปลายเพลนส์ โรงเรียนนายเรือสหรัฐ |
ลายมือชื่อ | |
ยศที่ได้รับการแต่งตั้ง | |
รับใช้ | สหรัฐ |
สังกัด | กองทัพเรือสหรัฐ |
ประจำการ | 1946–1953 |
ยศ | เรือเอก |
ผ่านศึก | สงครามโลกครั้งที่สอง |
เติบโตในเพลนส์ รัฐจอร์เจีย คาร์เตอร์ได้จบการศึกษาจากโรงเรียนนายทหารเรือสหรัฐในปี ค.ศ. 1946 ด้วยระดับวิทยาศาสตรบัณฑิต และเข้าร่วมกับกองทัพเรือสหรัฐ ซึ่งทำหน้าที่บนเรือดำน้ำ ภายหลังจากการเสียชีวิตของบิดาของเขาในปี ค.ศ. 1953 คาร์เตอร์ได้ละทิ้งอาชีพทหารเรือของเขาและกลับบ้านเกิดที่รัฐจอร์เจียเพื่อควบคุมธุรกิจปลูกถั่วลิสงที่กำลังเติบโตของครอบครัวของเขา คาร์เตอร์ได้รับมรดกค่อนข้างน้อย เนื่องจากหนี้สินที่พ่อของเขาก่อไว้ได้รับการปลดและมรดกได้ถูกแบ่งปันไปให้แก่น้องสามคน อย่างไรก็ตาม ด้วยความทะเยอทะยานของเขาเพื่อที่จะขยายและเติบโต ธุรกิจปลูกถั่วลิสงของคาร์เตอร์ก็ประสบความสำเร็จ ในช่วงเวลานั้น คาร์เตอร์ได้รับแรงบันดาลใจในการต่อต้านบรรยากาศทางการเมืองของการแบ่งแยกเชื้อชาติและสนับสนุนขบวนการสิทธิพลเมืองที่กำลังเติบโตมากขึ้น เขากลายเป็นนักเคลื่อนไหวภายในพรรคเดโมแครต ตั้งแต่ปี ค.ศ. 1963 ถึง 1967 คาร์เตอร์ได้ดำรงตำแหน่งเป็นสมาชิกวุฒิสภาแห่งรัฐจอร์เจีย และในปี ค.ศ. 1970 เขาได้รับเลือกตั้งในการดำรงตำแหน่งเป็นผู้ว่าการรัฐจอร์เจีย ได้เอาชนะอดีตผู้ว่าการ คาร์ล แซนเดอรส์ ในการเลือกตั้งขั้นต้นของพรรคเดโมแครตบนเวทีการต่อต้านการแบ่งแยกเชื้อชาติที่ได้ให้การสนับสนุนในการยืนยันสิทธิสำหรับชนกลุ่มน้อย คาร์เตอร์ยังคงดำรงตำแหน่งเป็นผู้ว่าการรัฐจนถึงปี ค.ศ. 1975 แม้ว่าจะเป็นผู้สมัครม้ามืดที่ไม่ค่อยมีใครรู้จักนอกจากรัฐจอร์เจียในช่วงเริ่มต้นรณรงค์หาเสียง คาร์เตอร์ได้รับการเสนอชื่อในการเป็นตัวแทนการเลือกตั้งเข้าชิงตำแหน่งประธานาธิบดีในพรรคเดโมแครต ในการเลือกตั้งทั่วไป คาร์เตอร์ได้ดำเนินการในฐานะบุคคลภายนอกและเอาชนะได้อย่างหวุดหวิดต่อเจอรัลด์ ฟอร์ด จากพรรครีพับลิกัน ซึ่งดำรงตำแหน่งเป็นประธานาธิบดีอยู่ก่อนแล้ว
ในปี 1977 คาร์เตอร์ได้บันทึกแถลงการณ์สำหรับแผ่นจานทองคำของวอยเอจเจอร์ ซึ่งเป็นแผ่นบันทึกคู่ที่มีเสียงและภาพผนึกอยู่ที่ยานวอยเอจเจอร์ 1 และวอยเอจเจอร์ 2 ที่แสดงถึงความหลากหลายของชีวิตและวัฒนธรรมบนโลก[1][2]
วันที่สองในการเข้ารับตำแหน่งของเขา คาร์เตอร์ได้อภัยโทษให้แก่ผู้หลีกเลี่ยงสงครามเวียดนามทั้งหมดโดยออกคำประกาศที่ 4483 ในช่วงวาระของการดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีของคาร์เตอร์ ได้มีการจัดตั้งหน่วยงานระดับคณะรัฐมนตรีใหม่มาสองกระทรวงคือ กระทรวงพลังงานและกระทรวงการศึกษา เขาได้จัดตั้งนโยบายพลังงานแห่งชาติ ซึ่งรวมถึงการอนุรักษ์ ควบคุมราคา และเทคโนโลยีใหม่ๆ ในด้านการต่างประเทศ คาร์เตอร์ได้ติดตามข้อตกลงแคมป์เดวิด สนธิสัญญาคลองปานามา การพูดคุยเกี่ยวกับการจำกัดอาวุธปืนเชิงยุทธศาสตร์ครั้งที่สอง (SALT II) และการส่งคืนเขตคลองปานามาให้กับปานามา ในด้านทางเศรษฐกิจ เขาต้องเผชิญกับภาวะเงินเฟ้อ การรวมตัวอย่างต่อเนื่องของอัตราเงินเฟ้อที่สูง การว่างงานสูงและเติบโตช้า การสิ้นสุดของการดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีของเขาได้ถูกกำหนดโดยวิกฤตการณ์ตัวประกันอิหร่าน ปี ค.ศ. 1979 – 1981 วิกฤตการณ์พลังงาน ปี ค.ศ. 1979 อุบัติเหตุนิวเคลียร์เกาะทรีไมล์และโซเวียตบุกครองอัฟกานิสถาน ในการตอบสนองของการบุกครอง คาร์เตอร์ได้ยกระดับสงครามเย็น เมื่อเขาได้ยุติการผ่อนคลายความตึงเครียด กำหนดมาตรการห้ามส่งออกข้าวธัญพืชไปให้กับโซเวียต ประกาศหลักการคาร์เตอร์ และเป็นผู้นำของการคว่ำบาตรโอลิมปิกฤดูร้อน ปี ค.ศ. 1980 ในกรุงมอสโก ในปี ค.ศ. 1980 คาร์เตอร์ได้เผชิญกับความท้าทายจากวุฒิสมาชิก เท็ด เคนเนดีในการเลือกตั้งคัดเลือกตัวแทน แต่เขาได้รับการเสนอชื่ออีกครั้งในการประชุมแห่งชาติของพรรคเดโมแครต ปี ค.ศ. 1980 คาร์เตอร์ได้พ่ายแพ้ในการเลือกตั้งทั่วไปให้กับโรนัลด์ เรแกน ผู้เสนอชื่อจากพรรครีพับลิกันในการเลือกตั้งอย่างถล่มทลาย การสำรวจความคิดเห็นของนักประวัติศาสตร์และนักรัฐศาสตร์มักจัดอันดับให้กับคาร์เตอร์ในฐานะที่เป็นประธานาธิบดีที่ค่าเฉลี่ยที่ต่ำกว่า เขามักจะได้รับการประเมินในเชิงบวกมากขึ้นสำหรับงานช่วงหลังดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีของเขา.
ในปี ค.ศ. 1982 คาร์เตอร์ได้ก่อตั้งศูนย์คาร์เตอร์เพื่อส่งเสริมและขยายสิทธิมนุษยชน เขาได้เดินทางไปทั่วเพื่อทำการเจรจาอย่างสันติภาพ สังเกตการณ์ในการเลือกตั้ง และก้าวหน้าในการป้องกันและกำจัดเชื้อโรคในประเทศที่กำลังพัฒนา คาร์เตอร์ได้ถือว่าเป็นบุคคลสำคัญในฐานะผู้ใจบุญขององค์การที่อยู่อาศัยเพื่อมนุษยชาติสากล เขาได้เขียนหนังสือมากกว่า 30 เล่ม ตั้งแต่บันทึกความทรงจำทางการเมืองไปจนถึงบทกวี ในขณะที่ยังคงแสดงความคิดเห็นอย่างแข็งขันเกี่ยวกับสถานกาณ์ภายในของอเมริกาและทั่วโลกที่กำลังดำเนินอยู่ เช่น ความขัดแย้งระหว่างอิสราเอล-ปาเลสไตน์ ประธานาธิบดีสหรัฐที่ยังมีชีวิตอยู่ถึงห้าคน ซึ่งดำรงตำแหน่งเป็นคนแรกสุด คาร์เตอร์เป็นประธานาธิบดีที่มีอายุยืนยาวที่สุด เป็นประธานาธิบดีที่เกษียณอายุยาวนานที่สุด คนแรกที่มีชีวิตอยู่ได้ถึงสี่สิบปีภายหลังจากการเข้ารับตำแหน่งและเป็นคนแรกที่มีอายุถึง 100 ปี
เมื่อวันที่ 19 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 2023 คาร์เตอร์เข้ารับการรักษาแบบประคองอาการในระยะสุดท้ายที่บ้านของเขาเองในรัฐจอร์เจีย[3]
ประวัติ
แก้จิมมี คาร์เตอร์ จบการศึกษาระดับปริญญาโทจากเมืองแอนนาโปลิส และเป็นนายทหารเรือ ได้รับเลือกเป็นผู้ว่าการรัฐจอร์เจีย ค.ศ. 1970 ต่อมาได้สมัครลงเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐ และได้ชนะ ชนะผู้สมัครพรรครีพับลิกัน นายเจอรัลด์ ฟอร์ด ในปี ค.ศ. 1976
มีผลงานสำคัญคือการจัดการประชุมสันติภาพ ระหว่างอาหรับกับอิสราเอลที่แคมป์เดวิดใน ค.ศ. 1979 อียิปต์และอิสราเอลได้ทำสัญญาสันติภาพยุติสงครามยาวนานระหว่างกันถึง 30 ปี ในสมัยของคาร์เตอร์นี้เป็นสมัยที่สหรัฐตกลงคืนคลองปานามาให้แก่ชาวปานามา พยายามแก้ไขวิกฤตการณ์น้ำมัน ค.ศ. 1979 และเกิดเรื่องโซเวียตบุกอัฟกานิสถาน ค.ศ. 1979 สหรัฐตัดสินใจงดส่งข้าว และเทคโนโลยีและสั่งถอนนักกีฬาออกจากการแข่งขันกีฬาโอลิมปิกที่มอสโก นอกจากนี้ยังมีเหตุการณ์จับเจ้าหน้าที่สถานทูตอเมริกันในอิหร่าน ใน ค.ศ. 1979 ปัญหาตะวันออกกลางไม่สามารถยุติเด็ดขาด และความเสื่อมโทรมทางเศรษฐกิจภายในสหรัฐเอง
อ้างอิง
แก้- ↑ "Voyager – What's on the Golden Record". Jet Propulsion Laboratory (ภาษาอังกฤษ). NASA/Caltech. สืบค้นเมื่อ 8 May 2021.
- ↑ Bell, Jim (2015). The Interstellar Age: Inside the Forty-Year Voyager Mission (ภาษาอังกฤษ). Penguin. ISBN 978-0-698-18615-6. สืบค้นเมื่อ 8 May 2021.
- ↑ https://www.dailynews.co.th/news/2013890/
แหล่งข้อมูลอื่น
แก้ก่อนหน้า | จิมมี คาร์เตอร์ | ถัดไป | ||
---|---|---|---|---|
เจอรัลด์ ฟอร์ด | ประธานาธิบดีแห่งสหรัฐอเมริกา คนที่ 39 (20 มกราคม ค.ศ. 1977 – 20 มกราคม ค.ศ. 1981) |
โรนัลด์ เรแกน | ||
สตรีอเมริกัน | บุคคลแห่งปีของนิตยสารไทม์ (ค.ศ. 1976) |
อันวาร์ ซาดัต |