รางวัลโนเบลสาขาสันติภาพ

รางวัลโนเบลสาขาสันติภาพ (สวีเดน: Nobels fredspris; อังกฤษ: Nobel Peace Prize) เป็นรางวัลโนเบลหนึ่งในห้าสาขา ที่ริเริ่มโดยอัลเฟรด โนเบล ตั้งแต่ ค.ศ. 1895 โดยคณะกรรมการโนเบลนอร์เวย์ ประเทศนอร์เวย์ เป็นผู้คัดเลือกผู้รับรางวัล มีพิธีมอบเป็นครั้งแรก เมื่อ ค.ศ. 1901 พิธีมอบรางวัลมีขึ้นในวันที่ 10 ธันวาคม ของทุกปี ซึ่งตรงกับวันคล้ายวันเสียชีวิตของโนเบลที่กรุงออสโล โดยสมเด็จพระราชาธิบดีของนอร์เวย์เป็นผู้พระราชทานรางวัล

รางวัลโนเบลสาขาสันติภาพ
รางวัลสำหรับผลงานที่โดดเด่นเกี่ยวกับสันติภาพ
ที่ตั้งออสโล ประเทศนอร์เวย์
จัดโดยคณะกรรมการโนเบลนอร์เวย์ ในนามตัวแทนของอัลเฟรด โนเบล
รางวัล11 ล้านครูนาสวีเดน (2023)[1]
รางวัลแรก10 ธันวาคม 1901; 122 ปีก่อน (1901-12-10)[2]
ผู้รับรางวัลแนร์แกส แมแฮมแมดี (2023)[3]
รางวัลมากที่สุดคณะกรรมการกาชาดระหว่างประเทศ (3)
เว็บไซต์nobelprize.org

รายชื่อผู้ได้รับรางวัล แก้

ค.ศ./พ.ศ. ผู้ได้รับรางวัล ประเทศ หมายเหตุ
2444 / 1901 ฌ็อง อ็องรี ดูว์น็อง
(Jean Henri Dunant)
  สวิตเซอร์แลนด์ ผู้ก่อตั้ง สภากาชาด; การประชุมเจนีวา (Geneva Convention) สิทธิมนุษยชน
เฟรเดริก ปาซี
(Frédéric Passy)
  ฝรั่งเศส ผู้ก่อตั้งและประธาน Société d'arbitrage entre les Nations
2445 / 1902 เอลี ดูว์กอเมิง (Élie Ducommun)
ชาร์ล อาลแบร์ กอบา (Charles Albert Gobat)
  สวิตเซอร์แลนด์ เลขาธิการกิตติมศักดิ์, Permanent International Peace Bureau ในเมืองเบอร์ลิน
2446 / 1903 วิลเลียม รันดัล เครเมอร์ (William Randal Cremer)   สหราชอาณาจักร เลขาธิการ International Arbitration League
2447 / 1904 สถาบันกฎหมายนานาชาติ
(Institut de Droit International)
  เบลเยียม
2448 / 1905 เบอร์ธา ฟอน ซุตต์เนอร์ (Bertha von Suttner) ออสเตรีย-ฮังการี ประธานกิตติมศักดิ์, Permanent International Peace Bureau
2449 / 1906 ธีโอดอร์ โรสเวลต์
(Theodore Roosevelt)
  สหรัฐ ประธานาธิบดีแห่งสหรัฐอเมริกา; ผู้ให้ความร่วมมือในการร่างสนธิสัญญาสันติภาพ
2450 / 1907 เออร์เนสโต เตโอโดโร โมเนตา
(Ernesto Teodoro Moneta)
  อิตาลี ประธานาธิบดี Lombard League of Peace
หลุยส์ เรอโนลต์
(Louis Renault)
  ฝรั่งเศส ศาสตราจารย์ด้านกฎหมายสากล
2451 / 1908 คลาส ปอนตัส อาร์โนลสัน (Klas Pontus Arnoldson)   สวีเดน ผู้ก่อตั้ง, Swedish Peace and Arbitration Association
เฟรดริค บาเยอร์ (Fredrik Bajer)   เดนมาร์ก Honorary President, Permanent International Peace Bureau
2452 / 1909 โอกูสต์ มารี ฟรองซัวส์ เบอแอร์แนร์
(Auguste Marie François Beernaert)
  เบลเยียม สมาชิกศาลอนุญาโตตุลาการสากล (Cour Internationale d'Arbitrage)
โปล อองรี แบงฌาแมง เดส์ตูร์เนลส์ เดอ กองสตองต์
(Paul-Henri-Benjamin d'Estournelles de Constant)
  ฝรั่งเศส founder and president of the French parliamentary group for international arbitration. Founder of the Comité de défense des intérets nationaux et de conciliation internationale
2453 / 1910 สำนักสันติภาพสากล (International Peace Bureau)   สวิตเซอร์แลนด์ Berne
2454 / 1911 โทเบียส มิเชล แคเรล แอสเซอร์ (Tobias Michael Carel Asser)   เนเธอร์แลนด์ initiator of the International Conferences of Private Law in The Hague.
อัลเฟรด แฮร์มันน์ ฟรีด (Alfred Fried) ออสเตรีย-ฮังการี ผู้ก่อตั้ง Die Waffen Nieder
2455 / 1912 เอลิฮู รูต (Elihu Root)   สหรัฐ for initiating various arbitration agreements.
2456 / 1913 อ็องรี ลา ฟงแตน (Henri La Fontaine)   เบลเยียม ประธานสำนักงานสันติภาพถาวรสากล (Permanent International Peace Bureau)
2457 / 1914 ไม่มีการให้รางวัล สงครามโลกครั้งที่หนึ่ง
2458 / 1915
2459 / 1916
2460 / 1917 คณะกรรมการกาชาดระหว่างประเทศ   สวิตเซอร์แลนด์
2461 / 1918 ไม่มีการให้รางวัล สงครามโลกครั้งที่หนึ่ง
2462 / 1919 วูดโรว์ วิลสัน (Woodrow Wilson)   สหรัฐ ประธานาธิบดีแห่งสหรัฐอเมริกา, ผู้ให้การสนับสนุนหลักของสันนิบาติชาติ
2463 / 1920 เลยง วิกเตอร์ โอกูสต์ บูร์ชัวส์
(Léon Victor Auguste Bourgeois)
  ฝรั่งเศส ประธานสภาแห่ง สันนิบาติชาติ
2464 / 1921 ยัลมาร์ บรานติง (Hjalmar Branting)   สวีเดน นายกรัฐมนตรี, ตัวแทนของประเทศสวีเดนในคณะมนตรีของสันนิบาตชาติ.
คริสเตียน ลูส แลงจ์ (Christian Lous Lange)   นอร์เวย์ secretary-general of the Inter-Parliamentary Union
2465 / 1922 ฟริดท์จอฟ นันเซน (Fridtjof Nansen)   นอร์เวย์ Norwegian delegate to the League of Nations, originator of the Nansen passports for refugees.
2466 / 1923 ไม่มีการให้รางวัล
2467 / 1924 ไม่มีการให้รางวัล
2468 / 1925 ออสติน แชมเบอร์เลน
(Austen Chamberlain)
  สหราชอาณาจักร สำหรับสนธิสัญญาโลคาร์โน
ชาล์ส เกตส์ ดอวส์ (Charles Gates Dawes)   สหรัฐ ประธานของคณะกรรมการค่าปฏิกรรมสงครามฝ่ายพันธมิตร และเป็นผู้ริเริ่มแผนการดอวส์
2469 / 1926 อะริสตีด บรียองด์ (Aristide Briand)   ฝรั่งเศส สำหรับสนธิสัญญาโลคาร์โน
กุสทัฟ ชเตรเซอมัน
(Gustav Stresemann)
  เยอรมนี สำหรับสนธิสัญญาโลคาร์โน
2470 / 1927 แฟร์ดินองด์ บุยซง
(Ferdinand Buisson)
  ฝรั่งเศส ผู้ก่อตั้งและประธาน League for Human Rights.
ลุดวิก ควิดด์ (Ludwig Quidde)   เยอรมนี delegate to numerous peace conferences.
2471 / 1928 ไม่มีการให้รางวัล
2472 / 1929 แฟรงค์ บี. เคลลอกก์
(Frank B. Kellogg)
  สหรัฐ สำหรับ Kellogg-Briand Pact
2473 / 1930 นาทัน เซอเดอร์โบลม (Nathan Söderblom)   สวีเดน leader of the ecumenical movement.
2474 / 1931 เจน แอดดัมส์ (Jane Addams)   สหรัฐ ประธานสมาคมสตรีสากลเพื่อสันติภาพและอิสรภาพ (Women's International League for Peace and Freedom)
นิโคลัส เมอร์เรย์ มัตเลอร์
(Nicholas Murray Butler)
  สหรัฐ สำหรับการสนับสนุน Kellogg-Briand Pact
2475 / 1932 ไม่มีการให้รางวัล
2476 / 1933 นอร์แมน อังเจลล์
(Norman Angell)
  สหราชอาณาจักร นักเขียน, สมาชิก Executive Committee ของสันนิบาตชาติและNational Peace Council.
2477 / 1934 อาเธอร์ เฮนเดอร์สัน
(Arthur Henderson)
  สหราชอาณาจักร ประธานของ League of Nations Disarmament Conference
2478 / 1935 คาร์ล ฟ็อน อ็อสซีเอ็ทซ์คี
(Carl von Ossietzky)
  เยอรมนี นักหนังสือพิมพ์
2479 / 1936 การ์ลอส ซาเวดรา ลามัส
(Carlos Saavedra Lamas)
  อาร์เจนตินา ประธาน สันนิบาตชาติ และผู้เจรจาไกล่เกลี่ยในสงครามชาโกระหว่างปารากวัยกับโบลิเวีย
2480 / 1937 โรเบิร์ต เซชิล (Robert Cecil)   สหราชอาณาจักร ผู้ก่อตั้งและประธาน International Peace Campaign
2481 / 1938 Nansen International Office For Refugees   สวิตเซอร์แลนด์
2482 / 1939 องค์การแพทย์ไร้พรมแดน สงครามโลกครั้งที่ 2
2483 / 1940
2484 / 1941
2485 / 1942
2486 / 1943
2487 / 1944 คณะกรรมการกาชาดระหว่างประเทศ   สวิตเซอร์แลนด์ ให้ย้อนหลังในปี ค.ศ. 1945
2488 / 1945 คอร์เดลล์ ฮุล (Cordell Hull)   สหรัฐ สำหรับการริเริ่มก่อตั้งสหประชาชาติ
2489 / 1946 เอมิลี กรีน บัลช์ (Emily Greene Balch)   สหรัฐ ประธานกิตติมศักดิ์สากลแห่ง Women's International League for Peace and Freedom
จอห์น อาร์ มอตต์ (John R. Mott)   สหรัฐ chairman of the International Missionary Council and president of the World Alliance of Young Men's Christian Associations
2490 / 1947 Friends Service Council
American Friends Service Committee
  สหราชอาณาจักร
  สหรัฐ
on behalf of the Religious Society of Friends, better known as the Quakers.
2491 / 1948 ไม่มีการให้รางวัล ผู้ที่ได้รับคัดเลือกให้ได้รับรางวัลคือ มหาตมะ คานธี แต่เนื่องจากถูกลอบสังหารเสียก่อน[4]
2492 / 1949 จอห์น บอยด์ ออร์ (John Boyd Orr)   สหราชอาณาจักร ผู้กำกับทั่วไปขององค์การอาหารและการเกษตรแห่งสหประชาชาติ (FAO) และประธานแห่ง National Peace Council และ World Union of Peace Organizations
2493 / 1950 ราล์ฟ บันช์ (Ralph Bunche)   สหรัฐ for mediating in Palestine (2491)
2494 / 1951 เลยง ชูโอ
(Léon Jouhaux)
  ฝรั่งเศส president of the International Committee of the European Council, vice president of the International Confederation of Free Trade Unions, vice president of the World Federation of Trade Unions, member of the ILO Council, delegate to the UN.
2495 / 1952 อัลเบิร์ต ชแวแซร์
(Albert Schweitzer)
  ฝรั่งเศส for his philosophy of "Reverence for Life", expressed in many ways, but most famously in founding the Lambaréné Hospital in Gabon
2496 / 1953 จอร์จ แคตเลตต์ มาร์แชลล์
(George Catlett Marshall)
  สหรัฐ สำหรับแผนมาร์แชลล์
2497 / 1954 ข้าหลวงใหญ่ผู้ลี้ภัยแห่งสหประชาชาติ   สหประชาชาติ
2498 / 1955 ไม่มีการให้รางวัล
2499 / 1956 ไม่มีการให้รางวัล
2500 / 1957 เลสเตอร์ โบวส์ เพียร์สัน (Lester Bowles Pearson)   แคนาดา President of the 7th session of the United Nations General Assembly for introducing peacekeeping forces to resolve the Suez Crisis.
2501 / 1958 จอร์จส ปิเร (Georges Pire)   เบลเยียม leader of L'Europe du Coeur au Service du Monde, a relief organization for refugees.
2502 / 1959 ฟิลิป โนเอล บาเกอร์ (Philip Noel-Baker)   สหราชอาณาจักร for his lifelong ardent work for international peace and co-operation.
2503 / 1960 อัลเบิร์ต ลูทูลี (Albert Lutuli)   แอฟริกาใต้ ประธานาธิบดี, สภาชาติแอฟริกา
2504 / 1961 ด๊าก ฮัมมาร์เฮิลด์ (Dag Hammarskjöld)   สวีเดน เลขาธิการทั่วไป, สหประชาชาติ (posthumous)
2505 / 1962 ลีนูส คาร์ล พอลลิง
(Linus Carl Pauling)
  สหรัฐ สำหรับการรณรงค์เพื่อต่อต้านการทดสอบอาวุธนิวเคลียร์
2506 / 1963 คณะกรรมการกาชาดระหว่างประเทศ
สภากาชาดและสภาเสี้ยววงเดือนแดง
  สวิตเซอร์แลนด์
2507 / 1964 มาร์ติน ลูเทอร์ คิง จูเนียร์
(Martin Luther King Jr.)
  สหรัฐ Leader of the Southern Christian Leadership Conference, campaigner for civil rights.
2508 /1965 กองทุนเพื่อเด็กแห่งสหประชาชาติ (UNICEF)   สหประชาชาติ
2509 / 1966 ไม่มีการให้รางวัล
2510 / 1967 ไม่มีการให้รางวัล
2511 / 1968 เรอเน กาแซง
(René Cassin)
  ฝรั่งเศส President, European Court of Human Rights.
2512 / 1969 องค์การแรงงานระหว่างประเทศ (International Labour Organization)   สวิตเซอร์แลนด์
2513 / 1970 นอร์แมน บอร์ล็อก (Norman Borlaug)   สหรัฐ for research at the International Maize and Wheat Improvement Center.
2514 / 1971 วิลลี บรันท์ (Willy Brandt)   เยอรมนีตะวันตก สำหรับ Ostpolitik ของเยอรมนีตะวันตกโดยมีทัศนคติใหม่ต่อยุโรปตะวันออกและเยอรมนีตะวันออก
2515 / 1972 ไม่มีการให้รางวัล
2516 / 1973 เฮนรี เอ. คิสซิงเกอร์ (Henry A. Kissinger)
เล ดึ๊ก เถาะ (declined the honours)
  สหรัฐ
  เวียดนาม
สำหรับสัญญาที่นำไปสู่จุดสิ้นสุดของสงครามเวียดนาม
2517 / 1974 ชอน แมกไบรด์ (Seán MacBride)
เอซากุ ซาโต (佐藤 榮作, Eisaku Satō)
  ไอร์แลนด์
  ญี่ปุ่น
president of the International Peace Bureau the Commission of Namibia of the United Nations.
2518 / 1975 อันเดรย์ ซาคารอฟ
(Andrei Dmitrievich Sakharov)
(Андрей Дмитриевич Сахаров)
  สหภาพโซเวียต รณรงค์เกี่ยวกับสิทธิมนุษยชน
2519 / 1976 เบ็ตตี วิลเลียมส์ (Betty Williams)
ไมรีด แมกไกวร์ (Mairead Maguire)
  สหราชอาณาจักร ผู้นำการเคลื่อนไหวเพื่อสันติภาพแห่งไอร์แลนด์แหนือ (Northern Ireland Peace Movement) (ต่อมาเปลี่ยนชื่อเป็น สมาคมประชาชนสันติภาพ (Community of Peace People))
2520 / 1977 องค์การนิรโทษกรรมสากล[5]   สหราชอาณาจักร รณรงค์เพื่อต่อต้านการละเมิดสิทธิมนุษยชน
2521 / 1978 มูฮัมหมัด อันวาร์ อัล ซาดัต (Mohamed Anwar Al-Sadat)
เมนาเฮม เบกิน (Menachem Begin)
  อียิปต์
  อิสราเอล
สำหรับการเจรจาสันติภาพระหว่างอียิปต์และอิสราเอล
2522 / 1979 แม่ชีเทเรซา
(Mother Teresa)
  แอลเบเนีย
  อินเดีย
ผู้รณรงค์เกี่ยวกับความยากจน
2523 / 1980 อดอลโฟ เปเรซ เอสกุยเวล
(Adolfo Pérez Esquivel)
  อาร์เจนตินา ผู้สนับสนุนทางด้านสิทธิมนุษยชน
2524 / 1981 ข้าหลวงใหญ่ผู้ลี้ภัยแห่งสหประชาชาติ   สหประชาชาติ
2525 / 1982 อัลวา ไมร์ดาล (Alva Myrdal)
อัลฟอนโซ การ์เซีย โรเบลส (Alfonso García Robles)
  สวีเดน
  เม็กซิโก
ตัวแทนสู่การประชุมสามัญของสหประชาชาติเกี่ยวกับการปลดอาวุธ
2526 / 1983 แลค วาแวนซา (Lech Wałęsa)   โปแลนด์ ผู้ก่อตั้ง Solidarność เพื่อรณรงค์เกี่ยวกับสิทธิมนุษยชน
2527 / 1984 เดสมอนด์ ทูตู (Desmond Tutu)   แอฟริกาใต้ ต่อต้านการถือผิว (Apartheid)
2528 / 1985 International Physicians for the Prevention of Nuclear War   สหรัฐ for spreading authoritative information and by creating an awareness of the catastrophic consequences of atomic warfare.
2529 / 1986 เอลี วีเซล (Elie Wiesel)   สหรัฐ
  โรมาเนีย
นักเขียน Holocaust survivor
2530 / 1987 โอสการ์ อาเรียส ซันเชซ
(Óscar Arias Sánchez)
  คอสตาริกา สำหรับการเริ่มต้นของการเจรจาสันติภาพในอเมริกากลาง
2531 / 1988 การรักษาสันติภาพของสหประชาชาติ (United Nations peacekeeping)   สหประชาชาติ สำหรับการมีส่วนร่วมในความขัดแย้งมากมายตั้งแต่ปีพ. ศ. 2499 ในช่วงเวลาของการมอบรางวัล 736 คนจากประเทศต่าง ๆ ได้สูญเสียชีวิตในความพยายามรักษาสันติภาพ
2532 / 1989 ทะไลลามะ องค์ที่สิบสี่ เทนซิน เกียตโซ   ทิเบต
  อินเดีย
สำหรับการต่อต้านของการใช้ความรุนแรงอย่างมั่นคงเกี่ยวกับการดิ้นรนต่อสู้เพื่อเสรีภาพของประชาชนของท่าน
2533 / 1990 มิฮาอิล ซีรเกเยวิช กอร์บาชอฟ
(Михаи́л Серге́евич Горбачёв, Mikhail Sergeyevich Gorbachev)
  สหภาพโซเวียต "สำหรับบทบาทนำในกระบวนการสร้างสันติภาพ ซึ่งเป็นพื้นฐานของลักษณะสำคัญหลายส่วนของประชาคมโลกในปัจจุบัน"
2534 / 1991 อองซานซูจี (Aung San Suu Kyi)   พม่า "สำหรับการต่อสู้ที่ไม่รุนแรงในการเรียกร้องประชาธิปไตยและสิทธิมนุษยชน"
2535 / 1992 ริโกเบร์ตา เมนชู (Rigoberta Menchú)   กัวเตมาลา "เพื่อเป็นการยอมรับผลงานของเธอที่ทำเพื่อความยุติธรรมทางสังคม และการประนีประนอมทางชาติพันธุ์และวัฒนธรรม โดยมีพื้นฐานบนความเคารพในสิทธิของชนพื้นเมือง"
2536 / 1993 เนลสัน แมนเดลา (Nelson Mandela)
เฟรเดอริก วิลเลิม เดอ แกลร์ก (Frederik Willem de Klerk)
  แอฟริกาใต้ "สำหรับงานเพื่อสันติในการยุติการเหยียดสีผิว และการวางรากฐานประชาธิปไตยใหม่ของแอฟริกาใต้"
2537 / 1994 ยัสเซอร์ อาราฟัต (ياسر عرفات, Yasser Arafat)
ชิมอน เปเรส (שמעון פרס)
ยิตส์ฮัก ราบิน (יצחק רבין)
  ปาเลสไตน์
  อิสราเอล
  อิสราเอล
"สำหรับความพยายามที่จะสร้างความสงบสุขในตะวันออกกลาง"
2538 / 1995 โจเซฟ รอตแบลต (Joseph Rotblat)
การประชุมพักวอชว่าด้วยวิทยาศาสตร์และกิจการโล (Pugwash Conferences on Science and World Affairs)
  โปแลนด์
  สหราชอาณาจักร
  แคนาดา
"สำหรับความพยายามที่จะลดอาวุธนิวเคลียร์ในการเมืองของนานาชาติ"
2539 / 1996 การ์ลอส ฟิลิปเป ซิเมเนส เบโล
(Carlos Filipe Ximenes Belo)
โคเซ รามอส ออร์ตา
(José Ramos-Horta)
  ติมอร์-เลสเต "สำหรับงานที่เป็นกลางและสันติในการแก้ปัญหาความขัดแย้งในติมอร์ตะวันออก"
2540 / 1997 การรณรงค์ระหว่างประเทศเพื่อห้ามทุ่นระเบิด
โจดี วิลเลียมส์ (Jody Williams)
  สหรัฐ "สำหรับงานเพื่อการถอดถอนกักระเบิด"
2541 / 1998 จอห์น ฮูม (John Hume)
เดวิด ทริมเบิล (David Trimble)
  สหราชอาณาจักร "สำหรับความพยายามที่จะหาวิธีแก้อันสันติของความขัดแย้งในของไอร์แลนด์"
2542 / 1999 องค์การแพทย์ไร้พรมแดน
(Médecins Sans Frontières)
  สวิตเซอร์แลนด์
  ฝรั่งเศส
"เพื่อเป็นการยอมรับถึงผลงานบุกเบิกด้านมนุษยธรรมขององค์การในหลายทวีป"
2543 / 2000 คิม แด-จุง (김대중, Kim Dae Jung)   เกาหลีใต้ "สำหรับงานเพื่อประชาธิปไตยและสิทธิมนุษยชนในเกาหลีใต้และเอเชียตะวันออก และเพื่อสันติภาพและการประนีประนอมกับเกาหลีเหนือ"
2544 / 2001 สหประชาชาติ
โคฟี แอนนัน (Kofi Annan)
  สหประชาชาติ
  กานา
"สำหรับงานที่จะทำให้โลกมีการจัดการที่ดีและสงบสุขยิ่งขึ้น"
2545 / 2002 เจมส์ เอิร์ล (จิมมี) คาร์เตอร์ จูเนียร์
(James Earl (Jimmy) Carter, Jr.)
  สหรัฐ "สำหรับทศวรรษที่ทำงานโดยไม่เหน็ดเหนื่อยในความพยายามที่จะแสวงหาวิธีแก้ไขที่ดีและสงบที่สุดในการแก้ความขัดแย้งระดับนานาชาติ การพัฒนาทางด้านประชาธิปไตยและสิทธิมนุษยชน และการสนับสนุนเศรษฐกิจและการพัฒนาทางสังคม"
2546 / 2003 ชิริน เอบาดี (شيرين عبادي, Shirin Ebadi)   อิหร่าน "สำหรับความพยายามทางด้านประชาธิปไตยและสิทธิมนุษยชน โดยเฉพาะการต่อสู้ดิ้นรนเพื่อสิทธิของผู้หญิงและเด็ก"
2547 / 2004 วังการี มาไท
(Wangari Maathai)
  เคนยา "สำหรับความช่วยเหลือเพื่อสนับสนุนการพัฒนา ประชาธิปไตย และสันติภาพ"
2548 / 2005 สำนักงานพลังงานปรมาณูระหว่างประเทศ
มุฮัมมัด อัลบะรอดะอี (محمد البرادعي, Mohamed ElBaradei)
  สหประชาชาติ
  อียิปต์
"สำหรับความพยายามที่จะป้องกันพลังงานนิวเคลียร์จากการถูกใช้งานทางด้านการทหาร และรับรองว่าการใช้งานเพื่อสันตินั้นจะใช้ไปในทางที่ปลอดภัยที่สุด"
2549 / 2006 มูฮัมหมัด ยูนูส (মুহাম্মদ ইউনুস, Muhammad Yunus)
ธนาคารกรามีน (Grameen Bank)
  บังกลาเทศ "สำหรับเศรษฐกิจที่ดีขึ้นและจุดมุ่งหมายทางสังคมของผู้ยากไร้ โดยเฉพาะผู้หญิง ผ่านทางงานเล็ก ๆ น้อย ๆ ที่ได้บุกเบิกไว้"
2550 / 2007 คณะกรรมาธิการระหว่างรัฐบาลว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงของสภาวะอากาศ
อัลเบิร์ต อาร์โนล์ด (อัล) กอร์ จูเนียร์.
  สหประชาชาติ
  สหรัฐ
"สำหรับความพยายามและการแผยแพร่ความรู้เกี่ยวกับปรากฏการณ์การเปลี่ยนแปลงของสภาวะอากาศที่กระทำโดยมนุษย์ และการวางรากฐานเพื่อต่อสู้กับการเปลี่ยนแปลงนั้น"
2551 / 2008 มาร์ตติ อะห์ติซาริ (Martti Ahtisaari)   ฟินแลนด์ "สำหรับความพยายามที่จะแก้ปัญหาความขัดแย้งระดับนานาชาติ ในหลายทวีปมานานกว่าสามทศวรรษ"
2552 / 2009 บารัก โอบามา (Barack Obama)   สหรัฐ "สำหรับความพยายามในการสร้างความเข้มแข็งให้กับการทูตระหว่างประเทศและความร่วมมือระหว่างผู้คนทั่วโลก"
2010 / 2553 หลิว เซี่ยวโป (Liu Xiaobo)   จีน "สำหรับการต่อสู้อย่างยาวนานและไม่ใช้ความรุนแรงของเขาเพื่อสิทธิมนุษยชนขั้นพื้นฐานในประเทศจีน"
2011 / 2554 เอลเลน จอห์นสัน เซอร์ลีฟ (Ellen Johnson Sirleaf)
เลย์มาห์ โบวี (Leymah Gbowee)
ตะวักกุล กัรมาน (Tawakkul Karman)
  ไลบีเรีย
  เยเมน
"สำหรับการต่อสู้โดยไม่ใช้ความรุนแรงเพื่อสิทธิและความปลอดภัยของสตรีในการมีส่วนร่วมด้านสันติภาพ"
2012 / 2555 สหภาพยุโรป (European Union)   สหภาพยุโรป "สำหรับเวลา 6 ทศวรรษในการผลักดันให้เกิดสันติภาพและสิทธิมนุษยชนในยุโรป"[6]
2013 / 2556 องค์การห้ามอาวุธเคมี (Organisation for the Prohibition of Chemical Weapons) นานาชาติ "สำหรับความพยายามอย่างกว้างขวางในการกำจัดอาวุธเคมี"[7]
2014 / 2557 ไกรลาส สัตยาธิ (Kailash Satyarthi)   อินเดีย "สำหรับการต่อสู้ต่อการปราบเด็กและเยาวชน ตลอดจนเพื่อสิทธิได้รับการศึกษาของเด็กทุกคน"[8] (มะลาละห์เป็นผู้ได้รับรางวัลโนเบลสาขาสันติภาพอายุน้อยที่สุด ด้วยวัย 17 ปี)
มะลาละห์ ยูซัฟซัย (Malala Yousafzai)   ปากีสถาน
2015 / 2558 กลุ่มสานเสวนาสี่ฝ่ายแห่งชาติตูนิเซีย (Tunisian National Dialogue Quartet)   ตูนิเซีย "สำหรับการอุทิศตนเพื่อสร้างประชาธิปไตยแบบพหุนิยมในตูนิเซีย ช่วงการปฏิวัติตูนิเซีย ค.ศ. 2011"[9]
2016 / 2559 ฮวน มานูเอล ซานโตส (Juan Manuel Santos)   โคลอมเบีย "สำหรับความพยายามในการยุติความขัดแย้งโคลอมเบีย"[10]
2017 / 2560 คณะกรรมการรณรงค์เพื่อยกเลิกอาวุธนิวเคลียร์ระหว่างประเทศ (International Campaign to Abolish Nuclear Weapons)   สวิตเซอร์แลนด์ "สำหรับผลงานที่ชี้ให้เห็นถึงผลกระทบต่อมนุษย์จากการใช้อาวุธนิวเคลียร์ และความสำเร็จในการผลักดันให้เกิดสนธิสัญญาห้ามอาวุธนิวเคลียร์"[11]
2018 / 2561 เดนิส มูเควกี (Denis Mukwege)   สาธารณรัฐประชาธิปไตยคองโก "สำหรับความพยายามในการหยุดยั้งการใช้ความรุนแรงทางเพศเป็นเครื่องมือในสงคราม"[12]
นาเดีย มูราด (Nadia Murad)   อิรัก
2019 / 2562 อาบีย์ อาห์เม็ด (Abiy Ahmed)   เอธิโอเปีย "สำหรับความพยายามในการบรรลุสันติภาพและความร่วมมือระหว่างประเทศ เพื่อแก้ปัญหาความขัดแย้งพรมแดนเอธิโอเปีย-เอริเทรีย"[13]
2020 / 2563 โครงการอาหารโลก (World Food Programme)   สหประชาชาติ "สำหรับความพยายามในการต่อสู้กับความหิวโหย การมีส่วนร่วมในการพัฒนาสันติภาพในพื้นที่ความขัดแย้ง และการเป็นกำลังขับเคลื่อนในการหยุดยั้งการใช้ความอดอยากหิวโหยเป็นเครื่องมือในสงคราม"[14]
2021 / 2564 มาเรีย เรสซา (Maria Ressa)   ฟิลิปปินส์
  สหรัฐ
"สำหรับความพยายามในการปกป้องเสรีภาพในการแสดงออก อันเป็นเงื่อนไขก่อนสำหรับประชาธิปไตยและสันติภาพที่ยั่งยืน"[15]
ดมีตรี มูราตอฟ (Dmitry Muratov)   รัสเซีย
2565 / 2022 อาเลียช เบียเลียตสกี (Ales Bialiatski)   เบลารุส "สำหรับการส่งเสริมสิทธิในการวิจารณ์อำนาจ ปกป้องสิทธิพื้นฐานของพลเมือง และความพยายามในการบันทึกอาชญากรรมสงคราม การละเมิดสิทธิมนุษยชนและการใช้อำนาจในทางมิชอบ"[16]
เมมอเรียล (Memorial)   รัสเซีย
ศูนย์เสรีภาพพลเมือง (The Center for Civil Liberties)   ยูเครน
2023 / 2566 แนร์แกส แมแฮมแมดี (Narges Mohammadi)   อิหร่าน "สำหรับการต่อสู้ของเธอต่อการกดขี่สตรีในประเทศอิหร่าน และการต่อสู้เพื่อสนับสนุนสิทธิมนุษยชนและเสรีภาพแก่ผองชน"[17]

อ้างอิง แก้

  1. "The Nobel Prize amounts". The Nobel Prize. สืบค้นเมื่อ 29 September 2023.
  2. "The Nobel Peace Prize 1901". www.nobelprize.org. สืบค้นเมื่อ 29 October 2017.
  3. "The Nobel Peace Prize 2023". 7 October 2023.
  4. Mahatma Gandhi, the Missing Laureate[ลิงก์เสีย], Nobelprize.org
  5. องค์การนิรโทษกรรม จาก หนังสืออธิบายศัพท์การทูตและการเมืองระหว่างประเทศ โดย ฯพณฯเอกอัครราชทูตกลศ วิเศษสุรการสากล[1] เก็บถาวร 2009-02-10 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
  6. [2]
  7. [3]
  8. "The Nobel Peace Prize 2014" (PDF). Nobel Foundation. สืบค้นเมื่อ October 10, 2014.
  9. The Nobel Peace Prize 2015 - Nobelprize.org
  10. "The Nobel Prize Peace 2016". Nobel Foundation. สืบค้นเมื่อ 8 October 2016.
  11. "The Nobel Prize Peace 2017". Nobel Foundation. สืบค้นเมื่อ 6 October 2017.
  12. "The Nobel Peace Prize 2018". Nobel Foundation. สืบค้นเมื่อ October 5, 2018.
  13. "The Nobel Prize Peace 2019". Nobel Foundation. สืบค้นเมื่อ 11 October 2019.
  14. "The Nobel Prize Peace 2020". Nobel Foundation. สืบค้นเมื่อ 9 October 2020.
  15. "The Nobel Peace Prize 2021". Nobel Foundation. สืบค้นเมื่อ October 8, 2021.
  16. "The Nobel Peace Prize 2022". Nobel Foundation. สืบค้นเมื่อ October 7, 2022.
  17. "The Nobel Prize Peace 2023". Nobel Foundation. สืบค้นเมื่อ 7 October 2023.

แหล่งข้อมูลอื่น แก้