เรือดำน้ำเป็นเรือรบที่สามารถปฏิบัติการในขณะที่อยู่ใต้ผิวน้ำได้ สร้างจากเหล็กแต่มีความสามารถในการเคลื่อนที่ภายใต้น้ำ เรือดำน้ำ ถูกนำมาใช้ในการสงครามและการค้นคว้าสำรวจใต้ทะเลลึกในบริเวณที่มนุษย์เราไม่สามารถดำลงไปได้ด้วยการสวมเพียงชุดดำน้ำ ด้วยคุณสมบัติที่พิเศษเหนือกว่ายานพาหนะชนิดอื่นคือ มันสามารถที่จะอยู่ได้ทั้งบนผิวน้ำและใต้น้ำ นับตั้งแต่ ปี ค.ศ. 1620 ที่เรือดำน้ำลำแรกถูกสร้างขึ้นมา ขณะนั้นเรือดำน้ำสามารถจุคนได้เพียง 12 คน ดำน้ำได้ลึกเพียง 4.5 เมตร และเคลื่อนที่ใต้น้ำได้เพียง 8 กิโลเมตรก่อนที่จะต้องขึ้นสู่ผิวน้ำ ปัจจุบันเรือดำน้ำสามารถจุคนได้ถึง 150 คน สามารถอยู่ใต้น้ำได้นานนับเดือน ด้วยขนาดที่ใหญ่โตจนสามารถจุคนได้มากขนาดนี้ เรือดำน้ำมีวิธีการอย่างไรที่จะทำให้ตัวมันดำลงใต้น้ำได้และกลับขึ้นสู่ผิวน้ำได้อีก เรือดำน้ำถูกออกแบบมาเพื่อให้สามารถอยู่ในน้ำลึกได้ ด้วยตัวลำเรือที่ถูกออกแบบให้มีผนังสองชั้น เป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้ลูกเรือสามารถอยู่ในเรือได้อย่างปกติ แม้จะอยู่ในระดับความลึกมากเพียงใดก็ตาม และสามารถอยู่ได้นานจนกว่าอากาศและอาหารจะไม่เพียงพอ

เรือดำน้ำชั้นไต้ฝุ่นของกองทัพเรือรัสเซีย
เรือดำน้ำขนาดเล็ก

ปัจจุบันเรือดำน้ำถูกนำไปใช้ประโยชน์อย่างกว้างขวาง เราสร้างเรือดำน้ำขนาดที่เล็กสามารถดำน้ำในระดับที่ลึกมาก เพื่อทำงานเฉพาะกิจบางอย่าง เช่น การสำรวจซากเรือโบราณ, การวางสายเคเบิลใต้น้ำ, การหาร่องรอยของแผ่นดินไหว และการศึกษาเกี่ยวกับสิ่งมีชีวิตใต้ทะเล ซึ่งทำให้มนุษย์เราสามารถจะเข้าถึงโลกใต้ทะเลที่เราไม่เคยสัมผัสมาก่อน

ประวัติ

แก้

เรือดำน้ำยุคแรก

แก้
 
เรือดำน้ำแดรบเบิล (Drebbel), เป็นเรือดำน้ำสำหรับการนำร่องลำแรก

อ้างอิงจากบันทึกใน Opusculum Taisnieri ตีพิมพ์ในปี 1562: [1]

Two Greeks submerged and surfaced in the river Tagus near the City of Toledo several times in the presence of The Holy Roman Emperor Charles V, without getting wet and with the flame they carried in their hands still alight.[2]

ชาวกรีกสองคนดำอยู่ใต้น้ำและโผล่ขึ้นมาในแม่น้ำเทกัส (Tagus) ใกล้เมืองโตเลโด (Toledo) หลายต่อหลายครั้งในที่ประทับของจักรพรรดิคาร์ลที่ 5 แห่งจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ (The Holy Roman Emperor Charles V),โดยปราศจากการเปียกปอนและคบไฟที่พวกเขาถืออยู่ในมือก็ยังคงลุกโชน [3]

ในปี ค.ศ. 1578 นักคณิตศาสตร์ชาวอังกฤษชื่อ วิลเลียม บอร์น (William Bourne) ได้บันทึกไว้ในหนังสือของเขาเรื่อง Inventions or Devises ซึ่งเป็นหนึ่งในแบบแปลนแรกของการสร้างยานพาหนะนำทางใต้น้ำ (underwater navigation vehicle) ไม่กี่ปีต่อมานักคณิตศาสตร์และนักเทววิทยาชาวสก็อตชื่อ จอห์น เนเปียร์ (John Napier) ได้เขียนไว้ในหนังสือสิ่งประดิษฐ์ลับ (Secret Inventions) (ปี 1596) ดังต่อไปนี้: "These inventions besides devises of sayling under water with divers, other devises and strategems for harming of the enemyes by the Grace of God and worke of expert Craftsmen I hope to perform." ไม่เป็นที่ชัดเจนว่าเขาได้เคยดำเนินการตามความคิดของเขาหรือไม่ [4]

ครั้งแรกของเรือดำน้ำที่ได้มีการสร้างเราได้ข้อมูลที่เชื่อถือได้ว่า มันได้ถูกสร้างขึ้นในปี ค.ศ. 1620 โดย คอร์นีเลียส แดรบเบิล (Cornelius Drebbel), ซึ่งเป็นชาวดัตช์เพื่อใช้ในงานราชการของพระเจ้าเจมส์ที่ 1 แห่งอังกฤษ มันถูกสร้างขึ้นตามมาตรฐานของการออกแบบที่ระบุไว้โดยนักคณิตศาสตร์ชาวอังกฤษที่มีชื่อว่า วิลเลียม บอร์น (William Bourne) มันถูกขับเคลื่อนโดยใช้วิธีการพาย [4]

ในศตวรรษที่ 18

แก้

ในช่วงกลางศตวรรษที่ 18 มีสิทธิบัตรมากกว่า 12 ฉบับ สำหรับเรือดำน้ำ / เรือใต้น้ำ (submersible boat) ที่ได้รับอนุญาตในอังกฤษ ในปี ค. ศ. 1747, นาธาเนียล ไซแมนส์ (Nathaniel Symons) ได้สร้างและจดสิทธิบัตรตัวอย่างการทำงานแรกที่รู้จักกันดีในการใช้ถังอับเฉา (ballast tank) สำหรับการดำน้ำ การออกแบบของเขาใช้ถุงที่ทำด้วยหนังสัตว์ที่สามารถบรรจุน้ำให้เต็มเพื่อสำหรับการดำลงใต้น้ำของตัวยาน มีการใช้กลไกในการบิดน้ำออกจากถุงและเป็นสาเหตุทำให้เรือลอยขึ้นสู่ผิวน้ำ ในปี ค.ศ. 1749, นิตยสารสุภาพบุรุษ (Gentlemen's Magazine) รายงานว่าการออกแบบที่คล้ายคลึงกันนั้นได้รับการเสนอเป็นครั้งแรกโดย Giovanni Borelli เมื่อปี ค.ศ. 1680 การปรับปรุงการออกแบบเพิ่มเติมซบเซามานานกว่าศตวรรษ, จนกระทั่งมีการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีใหม่ ๆ สำหรับการขับเคลื่อนและความมีเสถียรภาพของเรือดำน้ำขึ้น [5]

เรือดำน้ำที่ใช้ในทางทหารลำแรกคือเรือดำน้ำที่มีชื่อเรียกว่า เต่า (Turtle) (ปี พ.ศ. 2318), เป็นเครื่องอุปกรณ์กลไกที่มีรูปทรงเหมือนผลต้นโอ๊กที่ต้องคอยให้กำลังขับเคลื่อนด้วยมือซึ่งได้รับการออกแบบโดยนักประดิษฐ์ชาวอเมริกันชื่อ เดวิด บุชเนล (David Bushnell) โดยสามารถบรรทุกคนโดยสารได้เพียงคนเดียว [6] เป็นเรือดำน้ำลำแรกที่ได้รับการยืนยันแล้วว่าสามารถทำงานและเคลื่อนที่ใต้น้ำได้อย่างอิสระ และเป็นเรือลำแรกที่ใช้ใบพัดแบบเกลียว (screws) ในการขับเคลื่อน [7]

ศตวรรษที่ 19

แก้
 
ภาพวาดประกอบของโรเบิร์ต ฟุลตันแสดงเรือดำน้ำ "plunging boat"

ในปี ค.ศ. 1800 ฝรั่งเศสได้สร้าง นอติลุส (Nautilus) ซึ่งเป็นเรือดำน้ำที่ขับเคลื่อนโดยพลังมนุษย์ ซึ่งออกแบบโดยโรเบิร์ต ฟุลตัน ชาวอเมริกัน และได้ยกเลิกการทดลองไปในปี 1804 เช่นเดียวกับชาวอังกฤษ เมื่อพวกเขาได้พิจารณาการออกแบบเรือดำน้ำของฟุลตันอีกครั้ง

สงครามโลกครั้งที่หนึ่ง

แก้
 
SM U-9

เรือดำน้ำทางทหารได้ส่งผลกระทบอย่างมีนัยสำคัญครั้งแรกในสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง กองกำลังเรืออูของเยอรมนีได้เข้าร่วมปฏิบัติการในการรบครั้งแรกในมหาสมุทรแอตแลนติก และมีส่วนในการจมอาร์เอ็มเอส ลูซิเทเนีย ซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นของการสงครามเรือดำน้ำแบบไม่จำกัด และมักถูกกล่าวถึงว่าเป็นสาเหตุหนึ่งที่สหรัฐอเมริกาได้เข้าสู่สงคราม

สงครามโลกครั้งที่สอง

แก้
 
เรือดำน้ำชั้นอิ-400

ระหว่างสงครามโลกครั้งที่สอง เยอรมนีใช้เรือดำน้ำเพื่อสร้างความเสียหายในยุทธนาวีแห่งแอตแลนติก โดยเยอรมนีพยายามตัดเส้นทางเสบียงของอังกฤษด้วยการจมเรือสินค้ามากกว่าที่อังกฤษจะทดแทนได้ เรือพาณิชย์เหล่านี้มีความสำคัญอย่างยิ่งในการจัดหาอาหารให้กับประชากรของสหราชอาณาจักร

การดำน้ำของเรือ

แก้
 

เราสามารถควบคุมทิศทางการเคลื่อนที่ของเรือดำน้ำได้ด้วยการบังคับหางเสือเรือให้ไปทางซ้ายหรือทางขวา มีใบพัดที่สร้างแรงผลักให้เรือดำน้ำเคลื่อนที่ไปข้างหน้า เราสามารถทำให้เรือดำน้ำจมน้ำ ลอยอยู่บนผิวน้ำหรือแม้กระทั่งลอยอยู่ใต้น้ำได้ เมื่อวัตถุชิ้นหนึ่งอยู่ใต้น้ำ น้ำจะถูกแทนที่ด้วยวัตถุอีกชิ้นนั้นในปริมาตรที่เท่ากัน น้ำหนักและปริมาตรเป็นสิ่งที่ทำให้วัตถุชิ้นหนึ่งจมหรือลอย หากเราโยนไม้ท่อนหนึ่งลงในน้ำ ไม้ท่อนนั้นจะเข้าไปแทนที่น้ำ ในขณะที่น้ำจะมีแรงดันกลับทำให้ไม้ลอยน้ำขึ้นมา ถ้าเราเปรียบเทียบน้ำหนักของไม้กับน้ำที่มีปริมาตรเท่ากันจะพบว่า ไม้มีปริมาตรที่เบากว่า ดังนั้น น้ำจึงมีกำลังพอที่จะรองรับไม้ท่อนนั้นไม่ให้จมลงใต้น้ำหากเราเปลี่ยนจากไม้เป็นก้อนหินซึ่งมีน้ำหนักมากกว่าน้ำ ก้อนหินก็จะจมลงอย่างรวดเร็วเนื่องจากน้ำไม่สามารถจะรองรับน้ำหนักของก้อนหินไว้ได้ หากเราลองใช้ขวดพลาสติกที่มีน้ำหนักเบานำมาเติมน้ำลงไปครึ่งขวดแล้วนำขวดนั้นไปใส่ในน้ำ เราเห็นว่าขวดจะจมลงไปเพียงแค่ส่วนที่มีน้ำอยู่เนื่องจากน้ำหนักของน้ำที่อยู่ในขวดนั้นมีพอ ๆ กับน้ำภายนอกขวดที่ถูกแทนที่ แต่ถ้าเราใส่น้ำจนเต็มขวด ขวดใบนั้นก็จะจมน้ำ เนื่องจากน้ำหนักของขวดขณะนั้นเท่ากันหรืออาจจะมากกว่าน้ำที่ถูกแทนที่ เรือดำน้ำใช้หลักการนี้ในการดำลงใต้น้ำและกลับขึ้นสู่ผิวน้ำ วิธีการก็คือ ลดหรือเพิ่มปริมาณของน้ำและอากาศที่อยู่ในถังอับเฉาให้เหมาะสม เวลาที่ถังอับเฉามีแต่อากาศ น้ำหนักของเรือก็จะน้อยกว่าน้ำ ทำให้เรือลอยอยู่บนผิวน้ำได้ แต่ถ้าหากในถังอับเฉามีน้ำอยู่เต็ม น้ำหนักของเรือก็จะมากกว่าน้ำซึ่งก็จะทำให้เรือจมลงใต้น้ำ หากเราต้องการให้เรือลอยขึ้น สามารถทำได้โดยการปล่อยอากาศที่ถูกอัดเอาไว้ในถังอัดอากาศเพื่อดันน้ำออกไปจากถึงอับเฉา เมื่อปริมาณน้ำลดลง เรือก็จะมีน้ำหนักน้อยลงจนถึงระดับที่เบากว่าน้ำ ทำให้เรือสามารถลอยขึ้นเหนือผิวน้ำได้

เมื่อต้องการดำลงใต้น้ำลึกอีกครั้งก็สูบน้ำเข้ามาในถังอับเฉา โดยปกติแล้วเราก็จะเพิ่มน้ำเข้าไปจนกระทั่งน้ำหนักของเรือเพิ่มขึ้นจนเท่ากับน้ำหนักของน้ำ เพียงเท่านี้เรือก็สามารถเคลื่อนที่อยู่ใต้น้ำได้

รายชื่อประเทศที่มีเรือดำน้ำ

แก้
 
สีส้มเป็นประเทศที่มีเรือดำน้ำพลังงานนิวเคลียร์ , สีเขียวเป็นประเทศที่มีเรือดำน้ำปกติ

รายชื่อประเทศที่ประจำการเรือดำน้ำ

แก้
 
Type 212 submarine ของกองทัพเรือเยอรมันในอู่ต่อเรือ
 
Akula-class submarine ของกองทัพเรือรัสเซีย
 
ยูเอสเอส ลอสแอนเจลิส ของกองทัพเรือสหรัฐ
 
Han-class submarine ของกองทัพเรือจีน

เรือดำนํ้าติดขีปนาวุธทางยุทธศาสตร์

แก้
 
HMS Vanguard, ราชนาวี

รายชื่อประเทศที่ประจำการเรือดำนํ้าพลังงานนิวเคลียร์

แก้
 
เรือดำน้ำชั้นเวอร์จิเนีย ของกองทัพเรือสหรัฐ

รายชื่อประเทศที่เคยประจำการเรือดำน้ำ

แก้

ดูเพิ่ม

แก้

อ้างอิง

แก้
  1. Joann Taisnier Hannon (Jean Taisnier (1508–1562)), Opusculum perpetua memoria dignissimum, de natura magnetis et eius effectibus [Most fitting work in perpetual remembrance, on the nature of the magnet and its effects] (Köln (Cologne, "Colonia"), (Germany): Johann Birckmann, 1562), pp. 43-45. Available from: Bavarian State Library From p. 43: "Ne autem Lector nostra dicta videatur refutare, arbitratus ea, quae miracula putat, naturae limites excedere, unica demonstratione elucidabo, quomodo scilicet quis in fundum alicuius aquae aut fluvij, sicco corpore intrare possit, quod me vidisse in celebri Oppido & Regno Tolleti affirmavi, coram piae memoriae Carolo Quinto Imperatore, & infinitis aliis spectatoribus." (Nevertheless, reader, our statement is seen to refute something witnessed, which one considers a wonder, exceeding the limits of nature; I will elucidate a unique demonstration, namely, how one can penetrate to the bottom of any water or river while remaining dry, which, I assert, I saw in the celebrated city and kingdom of Toledo in the presence of Emperor Charles V of blessed memory and a multitude of other spectators.) From p. 44: "Nunc venio ad experientiam praedictam, Tolleti demonstratam a duobus Graecis, qui Cacabo magnae amplitudinis accepto, orificio inverso, funibus in aere pendente, tabem & asseres in medio concavi Cacabi affigunt, … " (Now I come to the experiment mentioned above: in Toledo, it was shown by two Greeks, who, I understand, attached to a cauldron (cacabus) of great size — [which had its] opening inverted [and which was] held in the air by ropes — a beam and poles inside of the hollow cauldron … [The beam and poles formed seats for the divers.]) The German Jesuit scientist Gaspar Schott (1608–1666) quoted Taisnier's account and mentioned that Taisnier had witnessed the demonstration in 1538. Gaspar Schott, Technica Curiosa, sive Mirabilia Artis, Libris XII. … [Curious works of skill, or marvelous works of craftsmanship, in 12 books … ] (Nuremberg (Norimberga), (Germany): Johannes Andreas Endter & Wolfgang Endter, 1664), Liber VI: Mirabilium Mechanicorum (Book 6: Wonders of mechanics), p. 393. From p. 393: " … quod nihilominus Anno 1538 in Hispaniae oppido Toleto &c. coram piae memoriae Carolo V. Imperatore, cum decem propemodum millibus hominum experientia vidi." ( … that nevertheless I saw the experiment in the year 1538 in Spain in the city of Toledo, etc., in the presence of Emperor Charles V of blessed memory, with almost ten thousand people.)
  2. "Espańa, Precursora de la Navegación Submarina". ABC. March 7, 1980. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ July 21, 2015.
  3. "Espańa, Precursora de la Navegación Submarina". ABC. March 7, 1980. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ July 21, 2015.
  4. 4.0 4.1 Tierie, Gerrit (June 10, 1932), "Cornelis Drebbel (1572-1633)" (PDF), Thesis, Rijksuniversiteit te Leiden (ภาษาอังกฤษ), Amsterdam: H.J. Paris: 92
  5. Mary Bellis. "The Invention Of The Submarine". สืบค้นเมื่อ 16 April 2014.[ลิงก์เสีย]
  6. "The Submarine Turtle: Naval Documents of the Revolutionary War". Navy Department Library. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 17 September 2008. สืบค้นเมื่อ 21 May 2013.
  7. Inventor of the Week: Archive. mit.edu
  8. "World Navies Today: Algeria". hazegray.org.
  9. "World Navies Today: Brazil". hazegray.org.
  10. "World Navies Today: Chile". hazegray.org.
  11. "World Navies Today: Colombia". hazegray.org.
  12. Sutton, H. I. "New Photo Reveals Cuban Navy's Secret Submarine". Forbes (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2020-03-02.
  13. "World Navies Today: Ecuador". hazegray.org.
  14. "World Navies Today: Egypt". hazegray.org.
  15. "Dutch Submarines: The Submarines of the Royal Netherlands Navy". dutchsubmarines.com.
  16. "World Navies Today: Peru". hazegray.org.
  17. "Fuel Cell Today - Portuguese navy orders two submarines with Siemens fuel cell technology". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2005-08-17. สืบค้นเมื่อ 2005-08-26.
  18. "Spain - Navy". reference.allrefer.com.
  19. "World Navies Today: Venezuela". June 29, 2011. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-06-29.

แหล่งข้อมูลอื่น

แก้