กองทัพเรือไทย
บทความนี้ยังต้องการเพิ่มแหล่งอ้างอิงเพื่อพิสูจน์ความถูกต้อง |
กองทัพเรือไทย หรือ ราชนาวีไทย (คำย่อ: ทร., อังกฤษ: Royal Thai Navy) เป็นหน่วยงานที่รับผิดชอบต่อการปฏิบัติการทางทหารในทะเล ลำน้ำ และพื้นที่บริเวณชายฝั่งของประเทศไทย กองทัพเรือมีจำนวนกำลังพลประจำการเป็นลำดับ 2 (รองจากกองทัพบก) ซึ่งมีเรือปฏิบัติการด้วยเรือรบกว่า 74 ลำ อากาศยานกว่า 90 เครื่อง และกำลังรบทางบกอีก 2 กองพล นับเป็นกองทัพเรือที่มีความสำคัญในลำดับต้นของภูมิภาคเอเชีย กองทัพเรือมีผู้บัญชาการทหารเรือเป็นผู้บังคับบัญชาสูงสุด โดยเป็นหน่วยงานในสังกัดของกองบัญชาการกองทัพไทย ที่มีผู้บัญชาการทหารสูงสุดเป็นผู้บังคับบัญชา และอยู่ในสังกัดของกระทรวงกลาโหม
กองทัพเรือมีพื้นที่ปฏิบัติการหลักทั้งในอ่าวไทย และทะเลอันดามัน ตามแนวเขตแดนระหว่างประเทศในทะเลความยาวกว่า 1,680 ไมล์ และตามแนวชายฝั่งความยาวกว่า 1,500 ไมล์ หน่วยต่าง ๆ ในสังกัดกองทัพเรือมีลักษณะการจัดโครงสร้างหน่วยที่คล้ายกับกองทัพเรือสหรัฐอเมริกามาก โดยเฉพาะในหน่วยกำลังรบ คือ กองการบินทหารเรือ กองเรือยุทธการ (กบร. กร.) หน่วยบัญชาการสงครามพิเศษทางเรือ กองเรือยุทธการ (นสร. กร.) และหน่วยบัญชาการนาวิกโยธิน (นย.)
หน้าที่ ภารกิจ และบทบาท
แก้กองทัพเรือมีหน้าที่เตรียมกำลังกองทัพเรือ การป้องกันราชอาณาจักร และดำเนินการเกี่ยวกับการใช้กำลังกองทัพเรือตามอำนาจหน้าที่ของกระทรวงกลาโหม ตามพระราชบัญญัติจัดระเบียบราชการกระทรวงกลาโหม พ.ศ. 2551[3] ตลอดจนหน้าที่อื่น ๆ ที่ได้รับมอบหมายจากรัฐบาล
จากหน้าที่ดังกล่าวทำให้กองทัพเรือมีภารกิจ คือ
- การปกป้องเทิดทูนสถาบันพระมหากษัตริย์
- การรักษาสิทธิและอธิปไตยของชาติทางทะเล
- การคุ้มครองและรักษาผลประโยชน์ของชาติทางทะเล
- การดำรงการคมนาคมทางทะเลให้ได้อย่างต่อเนื่อง
- การช่วยเหลือและสนับสนุนการป้องกันอธิปไตยทางบก
- การสนับสนุนการรักษาความมั่นคงและความสงบเรียบร้อยภายในประเทศ
- การสนับสนุนการพัฒนาประเทศและช่วยเหลือประชาชน
บทบาทของกองทัพเรือในปัจจุบัน คือ
- การปฏิบัติการทางทหาร (Military Role) คือ การปฏิบัติการทางเรือเพื่อการป้องกันประเทศในรูปแบบต่าง ๆ ตามสถานการณ์ที่กระทบต่ออำนาจอธิปไตยและเอกราชของประเทศ ซึ่งจำเป็นต้องใช้กำลังทางเรือที่เข้มแข็ง ปฏิบัติการด้วยความเฉียบพลัน รุนแรง และเด็ดขาด
- การรักษากฎหมายและช่วยเหลือ (Constabulary Role) คือ การรักษาผลประโยชน์ของชาติทางทะเล การรักษาความสงบเรียบร้อยภายในประเทศ การรักษากฎหมายตามที่รัฐบาลมอบอำนาจ ให้ทหารเรือเป็นเจ้าหน้าที่รวม 28 ฉบับ รวมถึงการให้ความช่วยเหลือประชาชนและการพัฒนาประเทศ
- การสนับสนุนกิจการระหว่างประเทศ (Diplomatic Role) คือ การสนับสนุนการดำเนินนโยบายและความสัมพันธ์ระหว่างประเทศของรัฐบาล และใช้หรือแสดงกำลังเพื่อสนับสนุนการเจรจาต่อรอง เมื่อมีการขัดกันในผลประโยชน์ของชาติหรือเหตุการณ์วิกฤติที่กระทบต่อผลประโยชน์ของชาติโดยตรง
ประวัติ
แก้กองทัพเรือมีกำเนิดควบคู่มากับการสร้างอาณาจักรไทยนับตั้งแต่กรุงสุโขทัยเป็นราชธานี กองทัพไทยในสมัยเดิมนั้นมีเพียงทหารเหล่าเดียวมิได้แบ่งแยกออกเป็นกองทัพบก กองทัพเรือ และกองทัพอากาศ อย่างเช่นในสมัยปัจจุบัน หากยาตราทัพไปทางบกก็เรียกว่า ทัพบก หากยาตราทัพไปทางเรือก็เรียกว่า ทัพเรือ การจัดระเบียบการปกครองบังคับบัญชากองทัพไทยในยามปกติยังไม่มีแบบแผนที่แน่นอน ในยามศึกสงครามได้ใช้ทหารทัพบกและทัพเรือรวม ๆ กันไป ในการยาตราทัพเพื่อทำศึกสงครามภายในอาณาจักรหรือนอกอาณาจักร ก็มีความจำเป็นต้องใช้เรือเป็นพาหนะในการลำเลียงทหารและเครื่องศัสตราวุธ เรือนอกจากจะสามารถลำเลียงเสบียงอาหารได้คราวละมาก ๆ แล้ว ยังสามารถลำเลียงอาวุธหนัก เช่น ปืนใหญ่ ไปได้สะดวกและรวดเร็วกว่าทางบกด้วย จึงนิยมยกทัพไปทางเรือจนสุดทางน้ำแล้วจึงยกทัพต่อไปทางบก กิจการทหารเรือดำเนินไปเช่นนี้จนถึงสมัยต้นกรุงรัตนโกสินทร์
พ.ศ. 2394 ในสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว กิจการทหารเรือเริ่มแบ่งออกมาชัดเจน และแบ่งเป็น 2 ส่วน คือ ทหารเรือวังหลวง (ทหารมะรีนสำหรับเรือรบ) ขึ้นตรงกับสมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์ (ช่วง บุนนาค) สมุหพระกลาโหม และทหารเรือวังหน้า ขึ้นตรงกับพระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว โดยทหารเรือวังหน้ามีหน่วยขึ้นในสังกัด คือ กรมเรือกลไฟ กรมอาสาจาม และกองทะเล (บางทีเรียกว่ากองกะลาสี) ส่วนกรมอรสุมพลมีหน่วยขึ้นในสังกัด คือ กรมเรือกลไฟ กรมอาสามอญ และกรมอาสาจาม ซึ่งทหารทั้งสองหน่วยนี้เป็นอิสระจากกัน
พ.ศ. 2408 ในสมัยต้นรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว การปกครองประเทศยังเป็นระบบจตุสดมภ์อยู่โดยมีกรมพระกลาโหมว่าการฝ่ายทหาร ในขณะนั้นกิจการฝ่ายทหารเรือแบ่งออกเป็น 2 ส่วน คือ ทหารเรือวังหน้า หรือทหารเรือฝ่ายพระราชวังบวร ขึ้นตรงกับกรมพระราชวังบวรสถานมงคล (กรมพระราชวังบวรวิไชยชาญ) และทหารเรือวังหลวง หรือกรมอรสุมพล ขึ้นตรงกับสมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์ และต่อมาในปี พ.ศ. 2412 ขึ้นตรงกับเจ้าพระยาสุรวงษ์ไวยวัฒน์ สมุหพระกลาโหม
พ.ศ. 2415 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้ทรงปรับปรุงหน่วยทหารในกองทัพขึ้นใหม่ โดยแบ่งออกเป็น 9 หน่วย โดยในส่วนของทหารเรือวังหลวง คือ กรมทหารเรือพระที่นั่ง (เวสาตรี) และกรมอรสุมพล
พ.ศ. 2428 กรมพระราชวังบวรสถานมงคลเสด็จทิวงคต ทหารเรือวังหน้าได้ถูกยุบเลิกไป จึงทำให้ทหารเรือในขณะนั้นมี 2 ส่วน คือ กรมทหารเรือพระที่นั่ง ขึ้นตรงกับพระบาทสมเด็จพระเจ้าจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ส่วนกรมอรสุมพล ขึ้นตรงกับเจ้าพระยาสุรวงษ์ไวยวัฒน์ สมุหพระกลาโหม
8 เมษายน พ.ศ. 2430 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้ทรงสถาปนาสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิรุณหิศ สยามมกุฎราชกุมาร ดำรงตำแหน่งเป็นผู้บังคับบัญชาทั่วไปในกรมทหาร (Commander-in-chief) ตามโบราณราชประเพณี เพื่อให้เกิดการประสานงานที่มีประสิทธิภาพระหว่างหน่วยทหารต่าง ๆ พร้อมกับประกาศจัดการทหาร โดยจัดตั้งกรมยุทธนาธิการขึ้น ซึ่งเป็นการรวมกองทหารบกและกองทหารเรือเอาไว้ด้วยกัน ทั้งหมด ขึ้นตรงกับสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิรุณหิศ สยามมกุฎราชกุมาร แต่ในระหว่างที่ยังทรงพระเยาว์ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ สมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ เจ้าฟ้าภาณุรังษีสว่างวงศ์ กรมพระภาณุพันธุวงศ์วรเดช เป็นผู้แทนผู้บังคับบัญชาการทั่วไปในกรมทหาร สำหรับกองทหารเรือทรงตั้ง นายพลเรือโท พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าสายสนิทวงศ์ เป็นเจ้าพนักงานใหญ่ผู้ช่วยบัญชาการทหารเรือ (Secretary to the Navy) มีหน้าที่ คือ ให้จัดการทั้งปวงที่เกี่ยวข้องกับกฎหมายข้อบังคับทหารเรือ จำนวนผู้คนในทหารเรือ การฝึกหัดทหารเรือ เรือรบหลวง และพาหนะทางเรือ
1 เมษายน พ.ศ. 2433 ได้มีการยกเลิกประกาศจัดการทหาร พ.ศ. 2430 และได้มีการตราพระราชบัญญัติจัดการกรมยุทธนาธิการขึ้นแทน โดยให้เรียกกรมยุทธนาธิการใหม่ว่ากระทรวงยุทธนาธิการ (Ministry of War and Marine) แบ่งออกเป็น 2 กรม คือ กรมทหารบกและกรมทหารเรือ โดยทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ นายพลโท พระวรวงศ์เธอ กรมหมื่นปราบปรปักษ์ เป็นผู้บัญชาการทหารเรือ (Chief Staff of the Navy) และแบ่งส่วนราชการออกเป็นกรมกลาง กองบัญชีเงิน กรมคลังพัสดุทหารเรือ กองเร่งชำระ กรมคุกทหารเรือ กรมอู่ กรมช่างกล โรงพยาบาลทหารเรือ ทหารนาวิกโยธิน เรือรบหลวงและเรือพระที่นั่งประจำการ
พ.ศ. 2435 ได้มีการจัดระเบียบการปกครองแผ่นดินใหม่ และยกเลิกการปกครองแบบจตุสดมภ์ กำหนดให้มีกระทรวงในราชการ โดยกระทรวงมหาดไทย มีหน้าที่ปกครองบรรดาหัวเมืองต่าง ๆ ทั่วพระราชอาณาจักร เป็นผลให้กระทรวงกลาโหม ไม่ต้องยุ่งเกี่ยวกับการปกครองทางหัวเมือง คงมีหน้าที่เกี่ยวกับราชการทหารอย่างเดียว จึงได้โอนกรมทหารเรือมาขึ้นกับกระทรวงกลาโหม
11 ธันวาคม พ.ศ. 2453 พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เลื่อนฐานะกรมทหารเรือเป็นกระทรวงทหารเรือ และในวันเดียวกันนั้นก็ได้ประกาศแต่งตั้งจอมพลเรือ สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าบริพัตรสุขุมพันธุ์ กรมพระนครสวรรค์วรพินิต เป็นเสนาบดีกระทรวงทหารเรือ
8 พฤศจิกายน พ.ศ. 2474 พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้รวมกระทรวงทหารเรือกับกระทรวงทหารบกเป็นกระทรวงเดียวกัน ภายใต้นามกระทรวงกลาโหม เนื่องจากภาวะเศรษฐกิจตกต่ำทั่วโลก เป็นผลทำให้ประเทศไทยได้รับผลกระทบกระเทือนดังกล่าวนี้ด้วย ทำให้ฐานะทางการเงินและเศรษฐกิจของประเทศอยู่ในภาวะตกต่ำ จำเป็นต้องพิจารณาตัดทอนรายจ่ายของประเทศให้น้อยลงให้สมดุลกับรายได้ เป็นผลทำให้มีการปรับปรุงการจัดระเบียบราชการใหม่ด้วย โดยแต่งตั้งให้นายพลเรือเอก พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงสิงหวิกรมเกรียงไกร เสนาบดีกระทรวงทหารเรือเดิมเป็นเสนาบดีกระทรวงกลาโหม
พ.ศ. 2475 มีการเปลี่ยนแปลงระบอบการปกครองประเทศ กองทัพเรือถูกลดฐานะเป็นเพียงกรมทหารเรือเช่นเดิม กรมต่าง ๆ ของทหารเรือลดฐานะมาเป็นกองทั้งหมด เว้นแต่กรมเสนาธิการทหารเรือเท่านั้น นอกจากนั้นส่วนราชการของทหารเรือบางส่วนซึ่งได้เอาไปรวมกับฝ่ายทหารบกก็กลับมาสังกัดอยู่ในกรมทหารเรือตามเดิม
30 พฤศจิกายน พ.ศ. 2476 พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เปลี่ยนชื่อกรมทหารเรือเป็นกองทัพเรือ ให้เป็นการสอดคล้องกับการเรียกชื่อส่วนรวมของทหารบกว่ากองทัพบก และขึ้นตรงต่อกระทรวงกลาโหม โดยแบ่งส่วนราชการออกเป็น 4 ส่วน คือ กรมเสนาธิการทหารเรือ กองเรือรบ สถานีทหารเรือกรุงเทพ กรมอู่ทหารเรือ กรมสรรพาวุธทหารเรือ และกรมอุทกศาสตร์
พ.ศ. 2510 พ.ศ. 2519 และ พ.ศ. 2521 ได้มีการแบ่งส่วนราชการกองทัพเรือออกเป็น 25 หน่วย ตามพระราชกฤษฎีกาแบ่งส่วนราชการและกำหนดหน้าที่ส่วนราชการกองทัพเรือ กองบัญชาการทหารสูงสุด กระทรวงกลาโหม พ.ศ. 2510 พ.ศ. 2519 และ พ.ศ. 2521 นอกจากนั้นเพื่อความสะดวก ทางกองทัพเรือได้จัดกลุ่มหน่วยราชการทั้ง 25 หน่วยขึ้นเป็น 5 ส่วนราชการ คือ ส่วนบัญชาการ ส่วนกำลังรบ ส่วนยุทธบริการ ส่วนการศึกษา และส่วนกิจการพิเศษ
13 กรกฎาคม พ.ศ. 2528 ได้มีการเพิ่มกรมการขนส่งทหารเรือขึ้นในส่วนยุทธบริการ และเปลี่ยนชื่อโรงเรียนนายทหารเรือเป็นสถาบันวิชาการทหารเรือชั้นสูง
15 เมษายน พ.ศ. 2530 จัดตั้งสำนักงานตรวจบัญชีทหารเรือเพิ่มเติม
พ.ศ. 2538 ได้มีการจัดส่วนราชการใหม่ตามพระราชกฤษฎีกาแบ่งส่วนราชการและกำหนดหน้าที่ของส่วนราชการกองทัพเรือ กองบัญชาการทหารสูงสุด กระทรวงกลาโหม พ.ศ. 2538 และแก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2540 โดยแบ่งส่วนราชการออกเป็น 35 หน่วย และจัดเป็นกลุ่มส่วนราชการ 4 ส่วน คือ ส่วนบัญชาการ ส่วนกำลังรบ ส่วนยุทธบริการ และส่วนการศึกษา
1 เมษายน พ.ศ. 2552 ได้มีการจัดส่วนราชการใหม่ตามพระราชกฤษฎีกาแบ่งส่วนราชการและกำหนดหน้าที่ของส่วนราชการกองทัพเรือ กองทัพไทย กระทรวงกลาโหม พ.ศ. 2552.[4] โดยแบ่งส่วนราชการออกเป็น 36 หน่วย และจัดเป็นกลุ่มส่วนราชการ 4 ส่วน คือ ส่วนบัญชาการ ส่วนกำลังรบ ส่วนยุทธบริการ และส่วนการศึกษาและวิจัย ทั้งนี้มีการเปลี่ยนแปลงดังนี้ คือ ในส่วนบัญชาการ ได้เปลี่ยนชื่อกรมสื่อสารทหารเรือเป็นกรมการสื่อสารและเทคโนโลยีสารสนเทศทหารเรือ และสำนักงานตรวจบัญชีทหารเรือเป็นสำนักงานตรวจสอบภายในทหารเรือ รวมทั้งจัดตั้งส่วนราชการใหม่เพิ่มเติม คือ สำนักงานจัดหายุทโธปกรณ์ทหารเรือ และสำนักงานพระธรรมนูญทหารเรือ ในส่วนกำลังรบ ได้ยุบกองเรือป้องกันฝั่ง และจัดตั้งส่วนราชการใหม่ คือ ทัพเรือภาคที่ 1 2 และ 3 รวมทั้งปรับลดฐานทัพเรือสงขลาและพังงาจากหน่วยขึ้นตรงกองทัพเรือไปเป็นหน่วยขึ้นตรงทัพเรือภาคที่ 2 และ 3 ตามลำดับ ในส่วนยุทธบริการ ได้ย้ายสำนักงานวิจัยและพัฒนาการทางทหารกองทัพเรือไปอยู่ในส่วนการศึกษาและวิจัยแทน และให้กรมอุทกศาสตร์มาอยู่ในส่วนยุทธบริการ สำหรับในส่วนการศึกษาและวิจัย ได้มีการยุบสถาบันวิชาการทหารเรือชั้นสูง
โครงสร้างหน่วยงาน
แก้ส่วนบัญชาการ | ส่วนกำลังรบ | ส่วนยุทธบริการ | ส่วนการศึกษาและวิจัย |
|
|
|
|
กำลังพล
แก้กำลังพลหลัก มีดังต่อไปนี้ คือ
- ทหารประจำการ หมายความว่า ทหารซึ่งรับราชการตามที่กระทรวงกลาโหมกำหนดซึ่งไม่ใช่ทหารกองประจำการ[5] หรือ หมายถึง ข้าราชการทหาร ตามพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการทหาร พ.ศ. 2521[6] มีดังต่อไปนี้
- นายทหารสัญญาบัตรประจำการ หมายถึง นายทหารสัญญาบัตรซึ่งมีตำแหน่งราชการประจำในกระทรวงกลาโหม โดยสำเร็จการศึกษาจากโรงเรียนนายเรือ มีหน้าที่ผลิตนายทหารชั้นสัญญาบัตร ซึ่งจะได้จากนักเรียนเตรียมทหารในส่วนของกองทัพเรือ ที่เมื่อจบหลักสูตร 2 ปีจากโรงเรียนเตรียมทหารแล้ว (วิทยฐานะ ม.6) จะเข้าศึกษาต่อในโรงเรียนนายเรือเป็นเวลา 5 ปี (จากการอนุมัติปรับปรุงหลักสูตรโรงเรียนทหาร ของสภาการศึกษากลาโหม เมื่อ ปี พ.ศ. 2558) โดยในระหว่างนั้นจะมีการให้นักเรียนนายเรือเลือกพรรคและเหล่าที่ต้องการ เมื่อจบหลักสูตรแล้ว (วิทยฐานะปริญญาตรี ทางวิศวกรรมศาสตร์ และวิทยาศาสตร์) ได้รับพระราชทานยศทหารเป็น "เรือตรี" บรรจุเป็นข้าราชการทหาร และได้รับพระราชทานกระบี่ สามารถปฏิบัติงานตามพรรคและเหล่าที่เลือก
- นายทหารพรรคนาวิน ถือเป็นกำลังพลหลักที่จะได้ปฏิบัติงานในหน่วยต่าง ๆ ของกองเรือยุทธการ โดยเฉพาะการประจำในเรือรบของกองเรือต่าง ๆ แต่ทั้งนี้นายทหารจะต้องผ่านหลักสูตรการฝึกสั้น ๆ ที่กองการฝึก กองเรือยุทธการ (กฝร.) ก่อนปฏิบัติงานจริง ๆ นอกจากนี้ยังเป็นกำลังพลในหน่วยบัญชาการต่อสู้อากาศยานและรักษาฝั่งด้วย
- นายทหารพรรคกลิน ซึ่งจะเป็นวิศวกรไฟฟ้า วิศวกรเครื่องกลและเครื่องกลเรือ จะคล้ายกันเพียงแต่มีจำนวนน้อยกว่าเน้นการทำงานด้านซ่อมบำรุงและออกแบบ
- นายทหารพรรคนาวิกโยธิน จะเป็นกำลังพลรบหลักทางบกสำหรับหน่วยบัญชาการนาวิกโยธิน
- นายทหารสัญญาบัตรสายแพทย์และพยาบาล ซึ่งสำเร็จการศึกษาจากวิทยาลัยแพทย์ศาสตร์พระมงกุฎเกล้า (สมทบ), วิทยาลัยพยาบาลกองทัพเรือ ผลิตนายทหารสัญญาบัตรเหล่าแพทย์
- บุคคลพลเรือนซึ่งมีคุณวุฒิปริญญาตรีหรือเทียบเท่าขึ้นไปสมัครสอบคัดเลือกและได้รับการบรรจุเป็นนายทหารสัญญาบัตรพรรคพิเศษ
- นายทหารชั้นประทวนที่ได้ปรับเลื่อนชั้นวิทยฐานะ
- นายทหารประทวนประจำการ หมายถึง นายทหารประทวนซึ่งมีตำแหน่งราชการในกระทรวงกลาโหม โดยสำเร็จการศึกษาจาก โรงเรียนชุมพลทหารเรือ เก็บถาวร 2011-11-06 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน มีหน้าที่ผลิตนายทหารชั้นประทวน พรรคนาวิน เหล่าสามัญ การปืน สรรพาวุธ และพรรคกลิน หรือ โรงเรียนสายวิชาชีพเฉพาะทาง เช่น โรงเรียนพยาบาลทหารเรือ ผลิตนายทหารประทวนสายพยาบาล โรงเรียนนาวิกโยธิน โรงเรียนพลาธิการ โรงเรียนไฟฟ้าและสื่อสาร โรงเรียนขนส่ง และโรงเรียนดุริยางค์ทหารเรือ หรือ บุคคลพลเรือนซึ่งมีคุณวุฒิต่ำกว่าปริญญาตรีหรือเทียบเท่าสมัครสอบคัดเลือกและได้รับการบรรจุเป็นนายทหารประทวนพรรคพิเศษ
- นายทหารสัญญาบัตรประจำการ หมายถึง นายทหารสัญญาบัตรซึ่งมีตำแหน่งราชการประจำในกระทรวงกลาโหม โดยสำเร็จการศึกษาจากโรงเรียนนายเรือ มีหน้าที่ผลิตนายทหารชั้นสัญญาบัตร ซึ่งจะได้จากนักเรียนเตรียมทหารในส่วนของกองทัพเรือ ที่เมื่อจบหลักสูตร 2 ปีจากโรงเรียนเตรียมทหารแล้ว (วิทยฐานะ ม.6) จะเข้าศึกษาต่อในโรงเรียนนายเรือเป็นเวลา 5 ปี (จากการอนุมัติปรับปรุงหลักสูตรโรงเรียนทหาร ของสภาการศึกษากลาโหม เมื่อ ปี พ.ศ. 2558) โดยในระหว่างนั้นจะมีการให้นักเรียนนายเรือเลือกพรรคและเหล่าที่ต้องการ เมื่อจบหลักสูตรแล้ว (วิทยฐานะปริญญาตรี ทางวิศวกรรมศาสตร์ และวิทยาศาสตร์) ได้รับพระราชทานยศทหารเป็น "เรือตรี" บรรจุเป็นข้าราชการทหาร และได้รับพระราชทานกระบี่ สามารถปฏิบัติงานตามพรรคและเหล่าที่เลือก
- ทหารกองประจำการ หมายความว่า ผู้ซึ่งขึ้นทะเบียนกองประจำการ และได้เข้ารับราชการในกองประจำการจนกว่าจะได้ปลด (มาตรา 4 (3) แห่งพระราชบัญญัติรับราชการทหาร พ.ศ. 2497)
- กำลังพลสำรอง หมายถึง กำลังที่มิใช่กำลังประจำการและกำลังกองประจำการ (ที่ปลดเป็นกองหนุนแล้ว) เตรียมไว้สำหรับใช้ในยามสงคราม, ยามประกาศกฎอัยการศึก, ยามภาวะฉุกเฉินหรือในยามปฏิบัติการด้วยกำลังทหารขนาดใหญ่ เพื่อปกป้องคุ้มครองรักษาเอกราช และอธิปไตยของชาติ เพื่อปราบปรามคอมมิวนิสต์ หรือเพื่อรักษาความสงบเรียบร้อย และความมั่นคงภายในประเทศ (หน้า 58-59 หนังสือคู่มือนักศึกษาวิชาทหารชั้นปีที่ 3) ซึ่งประกอบด้วยกำลังต่าง ๆ ดังนี้
- นายทหารสัญญาบัตรนอกกอง หมายถึง นายทหารสัญญาบัตรซึ่งไม่มีตำแหน่งราชการประจำในกระทรวงกลาโหม และกระทรวงกลาโหมสั่งให้เป็นนายทหารสัญญาบัตรประเภทนี้ (โอนไปรับราชการในกระทรวงอื่น)
- นายทหารสัญญาบัตรกองหนุน หมายถึง นายทหารสัญญาบัตรซึ่งไม่มีตำแหน่งราชการประจำในกระทรวงกลาโหม และกระทรวงกลาโหมสั่งให้เป็นนายทหารสัญญาบัตรประเภทนี้ (ผู้ที่เคยเป็นนายทหารสัญญาบัตรประจำการและได้ลาออกจากราชการทหารไปแล้ว (มีเบี้ยหวัด) หรือ นายทหารสัญญาบัตรที่สำเร็จการฝึกวิชาทหารตามกฎหมายว่าด้วยการส่งเสริมการฝึกวิชาทหาร (ไม่มีเบี้ยหวัด)) คือ นักศึกษาวิชาทหาร ที่สำเร็จชั้นปีที่ 5 ในส่วนของกองทัพเรือ และได้รับการแต่งตั้งยศทหารเป็น ว่าที่เรือตรี (แล้วปลดเป็นนายทหารกองหนุน ไม่มีเบี้ยหวัด) ซึ่งเป็นกำลังพลสำรองระดับชั้นสัญญาบัตรที่กองทัพเรือได้ผลิตขึ้นโดยรับสมัครผู้มีคุณสมบัติที่กำหนดตามระเบียบของกระทรวงกลาโหม และกฎกระทรวงออกตามความในพระราชบัญญัติส่งเสริมการฝึกวิชาทหาร กองทัพเรือจึงได้อนุมัติจัดตั้งกองการกำลังพลสำรอง เก็บถาวร 2008-11-05 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน สังกัดกรมกำลังพลทหารเรือ เพื่อทำหน้าที่ในการพัฒนาและผลิตกำลังพลสำรองของกองทัพเรือให้เกิดเป็นรูปธรรม เพื่อให้สอดคล้องกับนโยบายของรัฐบาลและกระทรวงกลาโหม ในแผนแม่บทการพัฒนาระบบกำลังสำรองของกองบัญชาการกองทัพไทย เมื่อสำเร็จตามหลักสูตรแล้วปลดเป็นกองหนุน โดยกำหนดช่วงอายุเป็นเกณฑ์ คือ
ยศ (ว่าที่) ร.ต.- ร.อ. อายุไม่เกิน 45 ปี
ยศ (ว่าที่) น.ต.- น.ท. อายุไม่เกิน 50 ปี
ยศ (ว่าที่) น.อ. - นายพล อายุไม่เกิน 55 ปี
เมื่อครบกำหนดช่วงอายุตามชั้นยศแล้ว จะปลดเป็น นายทหารสัญญาบัตรนอกราชการ และ นายทหารสัญญาบัตรพ้นราชการ ไปตามลำดับ
- นายทหารสัญญาบัตรนอกราชการ หมายถึง นายทหารสัญญาบัตรซึ่งไม่มีตำแหน่งราชการประจำในกระทรวงกลาโหม และกระทรวงกลาโหมสั่งให้เป็นนายทหารสัญญาบัตรประเภทนี้ โดยถืออายุไม่เกินกำหนด คือ
ยศ (ว่าที่) ร.ต.- ร.อ. อายุไม่เกิน 55 ปี
ยศ (ว่าที่) น.ต.- น.ท. อายุไม่เกิน 60 ปี
ยศ (ว่าที่) น.อ. - นายพล อายุไม่เกิน 65 ปี
- นายทหารสัญญาบัตรพ้นราชการ หมายถึง นายทหารสัญญาบัตรซึ่งไม่มีตำแหน่งราชการประจำในกระทรวงกลาโหม และกระทรวงกลาโหมสั่งให้เป็นนายทหารสัญญาบัตรประเภทนี้ โดยถูกปลดและถูกถอดยศ หรือ มีอายุพ้นเกณฑ์นายทหารสัญญาบัตรนอกราชการ คือ
ยศ (ว่าที่) ร.ต.- ร.อ. อายุเกิน 55 ปี
ยศ (ว่าที่) น.ต.- น.ท. อายุเกิน 60 ปี
ยศ (ว่าที่) น.อ. - นายพล อายุเกิน 65 ปี
- นายทหารประทวนกองหนุน หมายถึง นายทหารประทวนที่ปลดจากประจำการ (ลาออกจากราชการทหาร) แต่ยังอยู่ในชั้นกองหนุน หรือ นักศึกษาวิชาทหารซึ่งสำเร็จการฝึกวิชาทหารตามกฎหมายว่าด้วยการส่งเสริมการฝึกวิชาทหาร (นักศึกษาวิชาทหารที่สำเร็จการฝึกวิชาทหารชั้นปีที่ 3) และได้ขึ้นทะเบียนกองประจำการแล้วปลดเป็นทหารกองหนุนตามพระราชบัญญัติรับราชการทหาร พ.ศ. 2497 และได้รับการแต่งตั้งยศเป็นนายทหารประทวน ซึ่งยังอยู่ในชั้นกองหนุน ดังนั้น การฝึกนักศึกษาวิชาทหารชั้นปีที่ 1 ในส่วนของกองทัพเรือจึงเริ่มขึ้นเป็นครั้งแรกในปี พ.ศ. 2552 ณ ศูนย์ฝึกนักศึกษาวิชาทหาร ศูนย์ฝึกทหารใหม่ กรมยุทธศึกษาทหารเรือ อ.สัตหีบ จ.ชลบุรี โดยผู้ที่จะเข้าเป็นนักศึกษาวิชาทหารในส่วนของกองทัพเรือนั้น จะต้องมีภูมิลำเนาอยู่ในจังหวัดชายฝั่งทะเลตะวันออกเท่านั้น (ชลบุรี,ระยอง,จันทบุรี และ ตราด) ซึ่งระเบียบการนี้จะมีผลเข้มงวดมากขึ้น ทั้งนี้ก็เพราะต้องการกำลังพลที่อาศัยอยู่ภูมิลำเนาขั้นต้น และมีความเข้าใจถึง ภูมิประเทศ สังคม และวัฒนธรรมท้องถิ่น
- นายทหารประทวนพ้นราชการ หมายถึง นายทหารประทวนซึ่งอยู่ในชั้นกองหนุนครบ 23 ปี นับจากวันปลดจากกองประจำการ
- พลทหารกองหนุน และ จ.ต.กองประจำการ กองหนุน หมายถึง ทหารที่ปลดจากกองประจำการโดยรับราชการในกองประจำการจนครบกำหนดตามพระราชบัญญัติรับราชการทหาร พ.ศ. 2497 หรือ ทหารที่ปลดจากกองประจำการโดยรับราชการในกองประจำการยังไม่ครบกำหนด แต่ต้องจำขัง หรือมีโทษจำคุกกำหนดวันที่ต้องลงทัณฑ์ หรือต้องโทษรวมได้ไม่น้อยกว่า 1 ปีหรือทหารกองประจำการผู้ใด ซึ่งกระทรวงกลาโหมเห็นว่าจะกระทำการเสื่อมเสียให้แก่ราชการทหารด้วยประการใด ๆ แล้วปลดเป็นทหารกองหนุนประเภทที่ 2 ก็ได้ หรือ ทหารกองเกินซึ่งมีอายุครบ 30 ปีบริบูรณ์ เป็นทหารกองหนุนประเภทที่ 2 หรือ นักศึกษาวิชาทหารซึ่งสำเร็จการฝึกวิชาทหารตามกฎหมายว่าด้วยการส่งเสริมการฝึกวิชาทหารและได้ขึ้นทะเบียนกองประจำการแล้วปลดเป็นทหารกองหนุนตามพระราชบัญญัติรับราชการทหาร พ.ศ. 2497 และยังไม่ได้รับการแต่งตั้งเป็นนายทหารประทวน
- พลทหารพ้นราชการ หมายถึง ทหารกองหนุนประเภทที่ 1 ซึ่งอยู่ในชั้นกองหนุนครบ 23 ปี นับจากวันปลดจากกองประจำการ หรือ ทหารกองหนุนประเภทที่ 2 ที่มีอายุครบ 46 ปี บริบูรณ์ หรือ พลทหารกองประจำการที่พิการทุพพลภาพหรือมีโรคซึ่งไม่สามารถรับราชการทหารได้ หรือ ทหารกองหนุนที่พิการทุพพลภาพหรือมีโรคซึ่งไม่สามารถรับราชการทหารได้ หรือ ทหารกองเกินที่พิการทุพพลภาพหรือมีโรคซึ่งไม่สามารถรับราชการทหารได้
ยศทหารเรือไทย
แก้ชื่อยศ (ไทย) |
อักษรย่อ (ไทย) |
ชื่อยศ (อังกฤษ) |
อักษรย่อ (อังกฤษ) |
ชื่อยศ (ไทย) |
อักษรย่อ (ไทย) |
ชื่อยศ (อังกฤษ) |
อักษรย่อ (อังกฤษ) | |
---|---|---|---|---|---|---|---|---|
1. ชั้นสัญญาบัตร | 2. ชั้นประทวน | |||||||
1.1 จอมพลเรือ | - | Admiral of the Fleet | - | 2.1 พันจ่าเอก | พ.จ.อ. | Chief Petty Officer First Class | CPO1 | |
1.2 พลเรือเอก | พล.ร.อ. | Admiral | ADM | 2.2 พันจ่าโท | พ.จ.ท. | Chief Petty Officer Second Class | CPO2 | |
1.3 พลเรือโท | พล.ร.ท. | Vice Admiral | VADM | 2.3 พันจ่าตรี | พ.จ.ต. | Chief Petty Officer Third Class | CPO3 | |
1.4 พลเรือตรี | พล.ร.ต. | Rear Admiral | RADM | 2.4 จ่าเอก | จ.อ. | Petty Officer First Class | PO1 | |
1.5 นาวาเอก (พิเศษ) | น.อ. (พิเศษ) | Special Captain | SPEC CAPT | 2.5 จ่าโท | จ.ท. | Petty Officer Second Class | PO2 | |
1.6 นาวาเอก | น.อ. | Captain | CAPT | 2.6 จ่าตรี | จ.ต. | Petty Officer Third Class | PO3 | |
1.7 นาวาโท | น.ท. | Commander | CDR | 3. ทหารกองประจำการ | ||||
1.8 นาวาตรี | น.ต. | Lieutenant Commander | LCDR | 3.1 พลทหาร | พลฯ | Seaman | - | |
1.9 เรือเอก | ร.อ. | Lieutenant | LT | 4. นักเรียนทหาร | ||||
1.10 เรือโท | ร.ท. | Lieutenant Junior Grade | LT JG | 4.1 นักเรียนนายเรือ | นนร. | Naval Cadet | - | |
1.11 เรือตรี | ร.ต. | Sub Lieutenant | SUB LT | 4.2 นักเรียนจ่าทหารเรือ | นรจ. | Naval Rating Student | NRS. |
เหล่าทหารเรือไทย
แก้พรรคนาวิน (นว.) General Line | พรรคกลิน (กล.) Engineering Line | พรรคนาวิกโยธิน (นย.) Marine Corps | พรรคพิเศษ (พศ.) Staff (Special Corps) |
---|---|---|---|
เหล่าทหารการปืน (ป.) Gunner's Mate | เหล่าทหารไฟฟ้า (ฟ.) Electrician Corps | เหล่าทหารราบ (ร.) Infantry | เหล่าทหารสารบรรณ (สบ.) Yeoman (Administration) |
เหล่าทหารอาวุธใต้น้ำ (ด.) Torpedoman's Mate | เหล่าทหารเครื่องกล (ย.) Engine Corps | เหล่าทหารปืนใหญ่ (ป.) Artillery | เหล่าทหารพลาธิการ (พธ.) Supply Corps |
เหล่าทหารสามัญ (ส.) Quartermaster and Coxswain | เหล่าทหารช่าง (ช.) Corps of Engineer | เหล่าทหารการเงิน (กง.) Finance Corps | |
เหล่าทหารสัญญาณ (ญ.) Signal Corps | เหล่าทหารสื่อสาร (สส.) Signal Corps | เหล่าทหารพระธรรมนูญ (ธน.) Judge Advocate General's Corps | |
เหล่าทหารอุทกศาสตร์ (อศ.) Hydrographic Corps | เหล่าทหารช่างยุทธโยธา (ยย.) Civil Engineer | ||
เหล่าทหารขนส่ง (ขส.) Transportation Corps | เหล่าทหารวิทยาศาสตร์ (วศ.) Science Corps | ||
เหล่าทหารสรรพาวุธ (สพ.) Ordnance Corps | เหล่าทหารดุริยางค์ (ดย.) Band | ||
เหล่าทหารอุตุนิยมวิทยา (อ.) Meteorological Corps | เหล่าทหารแพทย์ (พ.) Medical Corps | ||
เหล่าทหารสารวัตร (สห.) Military Police Corps | |||
เหล่าทหารการข่าว (ขว.) Intelligence Corps |
ฐานทัพ
แก้ที่ตั้งฐานทัพสำคัญของกองทัพเรือไทย
แก้ในส่วนกองบัญชาการกองทัพเรือไทย มีที่ตั้งหลักอยู่ในบริเวณริมฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยา และริมชายฝั่งทะเลทั้งอ่าวไทย และทะเลอันดามัน 3 แห่ง คือ ในพื้นที่กรุงเทพมหานคร และสมุทรปราการ พื้นที่ภาคตะวันออกในจังหวัดชลบุรี ระยอง จันทบุรี และตราด พื้นที่ภาคใต้ฝั่งตะวันออกในจังหวัดสงขลา และนราธิวาส และพื้นที่ภาคใต้ฝั่งตะวันตกในจังหวัดพังงา ภูเก็ต และสตูล เพื่อสนับสนุนการปฏิบัติภารกิจของกองทัพเรือทั้งในส่วนของกองเรือยุทธการ หน่วยบัญชาการต่อสู้อากาศยานและรักษาฝั่ง และหน่วยบัญชาการนาวิกโยธิน ให้ครอบคลุมทุกพื้นที่ปฏิบัติการ
ในส่วนกองบัญชาการทัพเรือภาค มีหน้าที่จัดการและควบคุมพื้นที่ทางน้ำ สั่งการปฏิบัติการใช้กำลังรบของกองทัพเรือ มีพื้นที่รับผิดชอบ 3 แห่ง คือ ทัพเรือภาคที่ 1 อ่าวไทยตอนบน ทัพเรือภาคที่ 2 อ่าวไทยตอนล่าง และทัพเรือภาคที่ 3 ทะเลอันดามัน และมีผู้บัญชาการทัพเรือภาคชั้นยศพลเรือโท
ในส่วนฐานทัพเรือมี 4 แห่งตามพื้นที่เช่นกัน คือ ฐานทัพเรือกรุงเทพ สัตหีบ สงขลา และพังงา ตามลำดับ โดยฐานทัพเรือสัตหีบจะมีสถานะใหญ่กว่าอีก 3 แห่งที่เหลือ ขึ้นตรงต่อกองทัพเรือโดยตรง และมีผู้บัญชาการฐานทัพเรือชั้นยศพลเรือโท ส่วนฐานทัพเรือกรุงเทพ สงขลา และพังงา มีสถานะรองลงไป ขึ้นตรงต่อทัพเรือภาคที่ 1 2 และ 3 ตามลำดับ และมีผู้บัญชาการฐานทัพเรือชั้นยศพลเรือตรี
ชื่อสถานที่ | เขต/อำเภอ | จังหวัด | หน่วยงาน |
---|---|---|---|
1. พื้นที่กรุงเทพมหานครและปริมณฑล | |||
1.1 กองบัญชาการกองทัพเรือ พระราชวังเดิม และวังนันทอุทยาน | เขตบางกอกใหญ่และเขตบางกอกน้อย | กรุงเทพมหานคร | หลายหน่วย |
1.2 ฐานทัพเรือกรุงเทพ | เขตบางกอกน้อย | กรุงเทพมหานคร | ฐานทัพเรือกรุงเทพ |
1.2.1 ท่าเทียบเรือป้อมพระจุลจอมเกล้า | อำเภอพระสมุทรเจดีย์ | จังหวัดสมุทรปราการ | ฐานทัพเรือกรุงเทพ |
1.2.2 หอประชุมกองทัพเรือ | เขตบางกอกใหญ่ | กรุงเทพมหานคร | กิจการหอประชุมกองทัพเรือ |
1.3 ท่าเทียบเรือกองเรือลำน้ำ | เขตบางนา | กรุงเทพมหานคร | กองเรือลำน้ำ กองเรือยุทธการ |
1.4 กรมยุทธศึกษา ทหารเรือ | อำเภอพุทธมณฑล | จังหวัดนครปฐม | กรมยุทธศึกษาทหารเรือ ทหารเรือ |
1.5 ท่าเทียบเรือกองเรือทุ่นระเบิด | อำเภอพระสมุทรเจดีย์ | จังหวัดสมุทรปราการ | กองเรือทุ่นระเบิด กองเรือยุทธการ |
1.6 อู่ทหารเรือธนบุรี | เขตบางกอกน้อย | กรุงเทพมหานคร | กรมอู่ทหารเรือ |
1.7 อู่ทหารเรือพระจุลจอมเกล้า | อำเภอพระสมุทรเจดีย์ | จังหวัดสมุทรปราการ | กรมอู่ทหารเรือ |
1.8 กองพันต่อสู้อากาศยานที่ 13 (โครงการ) | อำเภอพระสมุทรเจดีย์ | จังหวัดสมุทรปราการ | กรมต่อสู้อากาศยานที่ 1 หน่วยบัญชาการต่อสู้อากาศยานและรักษาฝั่ง |
2. พื้นที่ภาคตะวันออก | |||
2 กองบัญชาการกองเรือยุทธการ | อำเภอสัตหีบ | จังหวัดชลบุรี | กองทัพเรือ |
2.1 กองบัญชาการทัพเรือภาคที่ 1 | อำเภอสัตหีบ | จังหวัดชลบุรี | ทัพเรือภาคที่ 1 |
2.2 ฐานทัพเรือสัตหีบ | อำเภอสัตหีบ | จังหวัดชลบุรี | ฐานทัพเรือสัตหีบ |
2.2.1 ท่าเทียบเรือแหลมเทียน | อำเภอสัตหีบ | จังหวัดชลบุรี | ฐานทัพเรือสัตหีบ |
2.2.2 ท่าเทียบเรือน้ำลึกจุกเสม็ด | อำเภอสัตหีบ | จังหวัดชลบุรี | ท่าเรือพาณิชย์สัตหีบ-กองทัพเรือ |
2.2.3 สถานีตรวจสอบและลบล้างแม่เหล็กเรือ | อำเภอสัตหีบ | จังหวัดชลบุรี | ฐานทัพเรือสัตหีบ |
2.3 ท่าเทียบเรือทุ่งโปรง | อำเภอสัตหีบ | จังหวัดชลบุรี | กรมสรรพาวุธทหารเรือ |
2.4 อู่ราชนาวีมหิดลอดุลยเดช | อำเภอสัตหีบ | จังหวัดชลบุรี | กรมอู่ทหารเรือ |
2.5 ฐานส่งกำลังบำรุงทหารเรือตราด | อำเภอแหลมงอบ | จังหวัดตราด | ทัพเรือภาคที่ 1 |
2.6 สนามบินอู่ตะเภา | อำเภอบ้านฉาง | จังหวัดระยอง | กองการบินทหารเรือ กองเรือยุทธการ |
2.7 สนามบินท่าใหม่ | อำเภอท่าใหม่ | จังหวัดจันทบุรี | หน่วยบัญชาการนาวิกโยธิน |
2.8 กองพันต่อสู้อากาศยานที่ 11 | อำเภอบ้านฉาง | จังหวัดระยอง | กรมต่อสู้อากาศยานที่ 1 หน่วยบัญชาการต่อสู้อากาศยานและรักษาฝั่ง |
2.9 กองพันต่อสู้อากาศยานที่ 12 | อำเภอศรีราชา | จังหวัดชลบุรี | กรมต่อสู้อากาศยานที่ 1 หน่วยบัญชาการต่อสู้อากาศยานและรักษาฝั่ง |
2.10 กองพันรักษาฝั่งที่ 13 | อำเภอสัตหีบ | จังหวัดชลบุรี | กรมรักษาฝั่งที่ 1 หน่วยบัญชาการต่อสู้อากาศยานและรักษาฝั่ง |
2.11 ค่ายพระมหาเจษฎาราชเจ้า | อำเภอสัตหีบ | จังหวัดชลบุรี | กองพันทหารราบที่ 1 รักษาพระองค์ กรมทหารราบที่ 1 กองพลนาวิกโยธิน |
2.12 ค่ายตากสิน | อำเภอเมืองจันทบุรี | จังหวัดจันทบุรี | กองพันทหารราบที่ 2 กรมทหารราบที่ 1 กองพลนาวิกโยธิน |
2.13 ค่ายกรมหลวงชุมพร | อำเภอสัตหีบ | จังหวัดชลบุรี | กองพันทหารราบที่ 3 กรมทหารราบที่ 1 กองพลนาวิกโยธิน |
2.14 ค่ายมหาสุรสิงหนาท | อำเภอเมืองระยอง | จังหวัดระยอง | กองพันทหารราบที่ 7 กรมทหารราบที่ 3 กองพลนาวิกโยธิน |
2.15 กองเรือยกพลขึ้นบกและยุทธบริการ กองเรือยุทธการ | อำเภอสัตหีบ | จังหวัดชลบุรี | กองเรือยกพลขึ้นบกและยุทธบริการ |
3. พื้นที่ภาคใต้ฝั่งตะวันออก | |||
3.1 กองบัญชาการทัพเรือภาคที่ 2 | อำเภอเมืองสงขลา | จังหวัดสงขลา | ทัพเรือภาคที่ 2 |
3.2 ฐานทัพเรือสงขลา | อำเภอเมืองสงขลา | จังหวัดสงขลา | ฐานทัพเรือสงขลา |
3.2.1 ท่าเทียบเรือฐานทัพเรือสงขลา | อำเภอเมืองสงขลา | จังหวัดสงขลา | ฐานทัพเรือสงขลา |
3.2.2 สนามบินทหารเรือสงขลา | อำเภอเมืองสงขลา | จังหวัดสงขลา | ฐานทัพเรือสงขลา |
3.3 สนามบินบ้านทอน | อำเภอเมืองนราธิวาส | จังหวัดนราธิวาส | หน่วยบัญชาการนาวิกโยธิน |
3.4 กองพันต่อสู้อากาศยานที่ 21 (โครงการ) | อำเภอขนอม | จังหวัดนครศรีธรรมราช | กรมต่อสู้อากาศยานที่ 2 หน่วยบัญชาการต่อสู้อากาศยานและรักษาฝั่ง |
3.5 กองพันต่อสู้อากาศยานที่ 23 (โครงการ) | อำเภอเมืองสงขลา | จังหวัดสงขลา | กรมต่อสู้อากาศยานที่ 2 หน่วยบัญชาการต่อสู้อากาศยานและรักษาฝั่ง |
3.6 กองพันรักษาฝั่งที่ 12 (โครงการ) | อำเภอเมืองสงขลา | จังหวัดสงขลา | กรมรักษาฝั่งที่ 1 หน่วยบัญชาการต่อสู้อากาศยานและรักษาฝั่ง |
3.7 ค่ายกรมหลวงสงขลานครินทร์ | อำเภอเมืองสงขลา | จังหวัดสงขลา | กองพันทหารราบที่ 8 กรมทหารราบที่ 3 กองพลนาวิกโยธิน |
3.8 ค่ายจุฬาภรณ์ | อำเภอเมืองนราธิวาส | จังหวัดนราธิวาส | กองพันทหารราบที่ 9 รักษาพระองค์ กรมทหารราบที่ 3 กองพลนาวิกโยธิน |
4. พื้นที่ภาคใต้ฝั่งตะวันตก | |||
4.1 กองบัญชาการทัพเรือภาคที่ 3 | อำเภอเมืองภูเก็ต | จังหวัดภูเก็ต | ทัพเรือภาคที่ 3 |
4.2 ฐานทัพเรือพังงา | อำเภอท้ายเหมือง | จังหวัดพังงา | ฐานทัพเรือพังงา |
4.2.1 ท่าเทียบเรือทับละมุ | อำเภอท้ายเหมือง | จังหวัดพังงา | ฐานทัพเรือพังงา |
4.2.2 สถานีเรือละงู | อำเภอละงู | จังหวัดสตูล | ฐานทัพเรือพังงา |
4.3 กองพันต่อสู้อากาศยานที่ 22 | อำเภอท้ายเหมือง | จังหวัดพังงา | กรมต่อสู้อากาศยานที่ 2 หน่วยบัญชาการต่อสู้อากาศยานและรักษาฝั่ง |
4.4 กองพันรักษาฝั่งที่ 11 (โครงการ) | อำเภอท้ายเหมือง | จังหวัดพังงา | กรมรักษาฝั่งที่ 1 หน่วยบัญชาการต่อสู้อากาศยานและรักษาฝั่ง |
5. พื้นที่อื่น ๆ | |||
5.1 สถานีเรือเชียงแสน | อำเภอเชียงแสน | จังหวัดเชียงราย | หน่วยเรือรักษาความสงบเรียบร้อยตามลำน้ำโขง |
5.2 สถานีเรือเชียงของ | อำเภอเชียงของ | จังหวัดเชียงราย | หน่วยเรือรักษาความสงบเรียบร้อยตามลำน้ำโขง |
5.3 สถานีเรือเชียงคาน | อำเภอเชียงคาน | จังหวัดเลย | หน่วยเรือรักษาความสงบเรียบร้อยตามลำน้ำโขง |
5.4 สถานีเรือสังคม | อำเภอสังคม | จังหวัดหนองคาย | หน่วยเรือรักษาความสงบเรียบร้อยตามลำน้ำโขง |
5.5 สถานีเรือหนองคาย | อำเภอเมืองหนองคาย | จังหวัดหนองคาย | หน่วยเรือรักษาความสงบเรียบร้อยตามลำน้ำโขง |
5.6 สถานีเรือรัตนวาปี | อำเภอรัตนวาปี | จังหวัดหนองคาย | หน่วยเรือรักษาความสงบเรียบร้อยตามลำน้ำโขง |
5.7 สถานีเรือโพนพิสัย | อำเภอโพนพิสัย | จังหวัดหนองคาย | หน่วยเรือรักษาความสงบเรียบร้อยตามลำน้ำโขง |
5.8 สถานีเรือบึงกาฬ | อำเภอเมืองบึงกาฬ | จังหวัดบึงกาฬ | หน่วยเรือรักษาความสงบเรียบร้อยตามลำน้ำโขง |
5.9 สถานีเรือศรีเชียงใหม่ | อำเภอศรีเชียงใหม่ | จังหวัดหนองคาย | หน่วยเรือรักษาความสงบเรียบร้อยตามลำน้ำโขง |
5.10 สถานีเรือบ้านแพง | อำเภอบ้านแพง | จังหวัดนครพนม | หน่วยเรือรักษาความสงบเรียบร้อยตามลำน้ำโขง |
5.11 สถานีเรือนครพนม | อำเภอเมืองนครพนม | จังหวัดนครพนม | หน่วยเรือรักษาความสงบเรียบร้อยตามลำน้ำโขง |
5.12 สถานีเรือธาตุพนม | อำเภอธาตุพนม | จังหวัดนครพนม | หน่วยเรือรักษาความสงบเรียบร้อยตามลำน้ำโขง |
5.13 สถานีเรือมุกดาหาร | อำเภอเมืองมุกดาหาร | จังหวัดมุกดาหาร | หน่วยเรือรักษาความสงบเรียบร้อยตามลำน้ำโขง |
5.14 สถานีเรือเขมราฐ | อำเภอเขมราฐ | จังหวัดอุบลราชธานี | หน่วยเรือรักษาความสงบเรียบร้อยตามลำน้ำโขง |
5.15 สถานีเรือโขงเจียม | อำเภอโขงเจียม | จังหวัดอุบลราชธานี | หน่วยเรือรักษาความสงบเรียบร้อยตามลำน้ำโขง |
5.16 ท่าเทียบเรือสถานีสมุทรศาสตร์หัวหิน | อำเภอหัวหิน | จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ | กรมอุทกศาสตร์ |
5.17 สถานีเรือสมุย | อำเภอเกาะสมุย | จังหวัดสุราษฎร์ธานี |
เรือรบในประจำการ
แก้อาวุธ
แก้ชื่อ | รูปภาพ | ประเทศต้นกำเนิด | ประเภท | ขนาดกระสุน | รุ่น | รายละเอียด |
---|---|---|---|---|---|---|
M1911 pistol | สหรัฐ ไทย |
ปืนพกกึ่งอัตโนมัติ | .45 เอซีพี | |||
M16 rifle | สหรัฐ | ปืนเล็กยาวจู่โจม | 5.56×45 มม. นาโต | A1 A2 A3 |
ใช้ในหน่วยนาวิกโยธิน | |
M4 Carbine | สหรัฐ | ปืนเล็กสั้นจู่โจม | 5.56×45 มม. นาโต | A1 A3 |
ใช้ในหน่วยนาวิกโยธิน | |
AR-15 | สหรัฐ | ปืนเล็กยาวจู่โจม | 5.56×45 มม. นาโต | ใช้ในหน่วยนาวิกโยธิน | ||
SIG Sauer SIG516 | สวิตเซอร์แลนด์ | ปืนเล็กสั้นจู่โจม | 5.56×45 มม. นาโต | ใช้ในหน่วยซีลไทย | ||
Heckler & Koch G36 | เยอรมนี | ปืนเล็กสั้นจู่โจม | 5.56×45 มม. นาโต | G36C G36KV |
ใช้ในหน่วยนาวิกโยธิน และ หน่วยซีลไทย | |
Norinco CQ | จีน | ปืนเล็กยาวจู่โจม | 5.56×45 มม. นาโต | CQ M-311 | ใช้ในหน่วยนาวิกโยธิน | |
Bushmaster M4-Type Carbine | สหรัฐ | ปืนเล็กสั้นจู่โจม | 5.56×45 มม. นาโต | M4A3 SOPMOD | ใช้ในหน่วยซีลไทย | |
Heckler & Koch UMP | เยอรมนี | ปืนกลมือ | 9×19 มม. พาราเบลลัม | UMP 9 | ใช้ในหน่วยซีลไทย | |
Heckler & Koch MP5 | เยอรมนี | ปืนกลมือ | 9×19 มม. พาราเบลลัม | MP5SD MP5K |
ใช้ในหน่วยซีลไทย | |
Heckler & Koch HK21 | เยอรมนี | ปืนกลเอนกประสงค์ | 5.56×45 มม. นาโต | HK23E | ใช้ในหน่วยซีลไทย | |
Heckler & Koch PSG1 | เยอรมนี | ปืนไรเฟิลซุ่มยิง | 7.62×51 มม. นาโต | MSG 90 | ใช้ในหน่วยซีลไทย | |
KAC SR-25 | สหรัฐ | ปืนไรเฟิลซุ่มยิง | 7.62×51 มม. นาโต | ใช้ในหน่วยซีลไทย | ||
Sago Defence Tikka | สหรัฐ | ปืนไรเฟิลซุ่มยิง | .223inch/.338inch | ใช้ในหน่วยนาวิกโยธิน | ||
Barrett M82 | สหรัฐ | ปืนไรเฟิลต่อต้านวัตถุ | .50 บีเอ็มจี | ใช้ในหน่วยซีลไทย | ||
Barrett M95 | สหรัฐ | ปืนไรเฟิลต่อต้านวัตถุ | .50 บีเอ็มจี | ใช้ในหน่วยซีลไทย | ||
Accuracy International AW50 | สหราชอาณาจักร | ปืนไรเฟิลต่อต้านวัตถุ | .50 บีเอ็มจี | ใช้ในหน่วยซีลไทย | ||
M249 | สหรัฐ | ปืนกลเบา | 5.56×45 มม. นาโต | ใช้ในหน่วยนาวิกโยธิน | ||
M60 | สหรัฐ | ปืนกลเอนกประสงค์ | 7.62×51 มม. นาโต | ใช้ในหน่วยนาวิกโยธิน | ||
M2 Browning | สหรัฐ | ปืนกลหนัก | 12.7 มม. | ใช้ในหน่วยนาวิกโยธิน | ||
M203 | สหรัฐ | เครื่องยิงลูกระเบิด | 40×46 มม. เอสอาร์ | ใช้ในหน่วยนาวิกโยธิน | ||
Armbrust | เยอรมนี | อาวุธต่อต้านรถถัง | 67 มม. | ใช้ในหน่วยนาวิกโยธิน | ||
M47 Dragon | สหรัฐ | ขีปนาวุธนำวิถีต่อต้านรถถัง | ? | ใช้ในหน่วยนาวิกโยธิน | ||
BGM-71 TOW | สหรัฐ | ขีปนาวุธนำวิถีต่อต้านรถถัง | ? | ใช้ในหน่วยนาวิกโยธิน | ||
M40 recoilless rifle | สหรัฐ | ปืนไร้แรงสะท้อนถอยหลัง | 105 มม. | M40A2 | ใช้ในหน่วยนาวิกโยธิน | |
QW-1 Vanguard | จีน | MANPAD | ? | QW-18 | ใช้ในหน่วยนาวิกโยธิน |
ยานพาหนะ
แก้ชื่อ | รูปภาพ | ประเทศต้นกำเนิด | ประเภท | จำนวน | รายละเอียด |
---|---|---|---|---|---|
Humvee | สหรัฐ | รถยนต์อเนกประสงค์ | ? | ใช้รุ่น M998, M1097A2, M997, M1025, M1045A2 และM966. | |
M151 | สหรัฐ | รถยนต์อเนกประสงค์ | ? | ใช้รุ่น M151A2, M151A2 mounting TOW, M718A1 และM825. | |
Ford | สหรัฐ | รถยนต์อเนกประสงค์ | ? | ใช้รุ่น Ford Ranger XL, XLS, XL+, XLT, FX4, Wildtrak และSWB. | |
M813 | สหรัฐ | รถบรรทุกทหาร | ? | ใช้รุ่น M54A2, M543A2. | |
M35 2-1/2 ton cargo truck | สหรัฐ | รถบรรทุกทหาร | ? | ใช้รุ่น M35A2, M50A2, M49A2 และM109A2. | |
Isuzu | ญี่ปุ่น ไทย |
รถบรรทุกทหาร | ? | ใช้รุ่น SBR, TXD 4x2, TSD 4x4, TWD 6x6, HTW, FTR 4x4. | |
AAV-7A1 | สหรัฐ | ยานรบสะเทินน้ำสะเทินบก | 36 | มีรุ่น: AAVP-7A1, AAVC-7A1, AAVR-7A1. | |
ZBD-05 VN-18 | จีน | ยานรบสะเทินน้ำสะเทินบก | 3 | ||
BTR-3E1 | ยูเครน ไทย |
ยานรบสะเทินน้ำสะเทินบก | 12 | ||
AWAV 8x8 | ไทย | ยานรบสะเทินน้ำสะเทินบก | 7 | ||
HMV-150 Commando | สหรัฐ ไทย | รถหุ้มเกราะ | 24 | ||
M151A2 mod | ไทย | รถลำเลียงพลหุ้มเกราะ | ? | ||
Phantom 380-X | ไทย | รถหุ้มเกราะ | ? | ||
Panus R600 | ไทย | รถหุ้มเกราะ | 2 (+15) |
ยุทโธปกรณ์ที่ปลดประจำการแล้ว
แก้เรือรบ
แก้อากาศยาน
แก้ชื่อ | รูปภาพ | ประเทศต้นกำเนิด | ประเภท | ระยะเวลาใช้งาน | จำนวน | รายละเอียด |
Avro 504N | สหราชอาณาจักร ไทย | เครื่องบินฝึกบิน | 2472-2491 | 2 | สร้างภายในประเทศ | |
Mitsubishi A6M Zero | จักรวรรดิญี่ปุ่น | เครื่องบินขับไล่ | 2485-2488 | 1 | ||
WS-103S | จักรวรรดิญี่ปุ่น | เครื่องบินลาดตระเวน | 2478-? | 6 | ||
Nakajima E8N | จักรวรรดิญี่ปุ่น | เครื่องบินลาดตระเวน | 2481-? | 45 | ||
Aichi E13A1 | จักรวรรดิญี่ปุ่น | เครื่องบินลาดตระเวน | 2482-? | 6 | สั่งซื้อ 3 เครื่องในปี 1939 และ 3 เครื่องในปี 1941 | |
Cessna O-1G | สหรัฐ | เครื่องบินลาดตระเวน | 2511-2540 | 8 | ||
Cessna U-17B | สหรัฐ | เครื่องบินลาดตระเวน | 2517-2540 | 6 | ||
Piper L-4 | สหรัฐ | เครื่องบินลาดตระเวน | 2516-? | 2 | ||
C-47 Dakota | สหรัฐ | เครื่องบินลำเลียง | 2516-2540 | ? | ||
Grumman HU-16D | สหรัฐ | เครื่องบินค้นหาและช่วยเหลือ | 2505-? | 3 | ||
Grumman S-2 Tracker | สหรัฐ | เครื่องบินปราบเรือดำน้ำ | 2509-2542 | 12 | ||
Hawker Siddeley AV-8S Matador | สหรัฐ | เครื่องบินขับไล่ (ประจำเรือ) | 2542-2549 | 9 | เคยประจำการกับร.ล.จักรีนฤเบศร ขาดอะไหล่ในการซ่อม | |
Ling-Temco-Vought A-7E Corsair II | สหรัฐ | เครื่องบินโจมตี | 2524-2550 | 18 | ไม่สามารถทำการบินได้ | |
Bell UH-1H | สหรัฐ | เฮลิคอปเตอร์ใช้งานทั่วไป | 2518-? | 4 | เดิมทีเป็นฮ.ของกองทัพสาธารณรัฐเขมรที่หนีจากคอมมิวนิสจากหลังการล่มสลายของรัฐบาลลอนดอนในปีพ.ศ. 2518 | |
Bell-214ST | สหรัฐ | เฮลิคอปเตอร์ลำเลียง | 2530-2553 | 6 | ||
P-3T Orion | สหรัฐ | เครื่องบินต่อต้านเรือผิวน้ำ | 2539-2557 | 3 | ||
N-24A | ออสเตรเลีย | เครื่องบินลำเลียง | 2527-2557 | 5 | ||
CL-215B | แคนาดา | เครื่องบินสะเทินน้ำสะเทินบก ดับเพลิงทางอากาศ ช่วยเหลือผู้ประสบภัยในทะเล | 2521-2560 | 2 |
อาวุธ
แก้อาวุธ | ประเทศต้นกำเนิด | ประเภท | ระยะเวลาใช้งาน | จำนวน | รายละเอียด |
Blowpipe (missile) | สหราชอาณาจักร | จรวดพื้น-สู่-อากาศ | ? | 200 | |
Sea Cat | สหราชอาณาจักร | จรวดพื้น-สู่-อากาศ | ? | 8 | |
Gabriel missile | อิสราเอล | จรวดโจมตีเรือผิวน้ำ | ? | ? |
กองเรือยุทธการ
แก้เรือรบขนาดใหญ่ที่ประจำการในกองทัพเรือไทยจะต่อจากต่างประเทศเป็นส่วนใหญ่ เช่น สหรัฐอเมริกา สาธารณรัฐประชาชนจีน สหราชอาณาจักร อิตาลี สิงคโปร์ สเปน หรือ เยอรมนี ในขณะที่เรือรบซึ่งมีขนาดเล็กหรือเป็นเรือที่ไม่ใช่เรือรบหลัก ส่วนใหญ่จะต่อจากอู่ภายในประเทศทั้งอู่ของเอกชนและอู่ของกรมอู่ทหารเรือเอง เช่น เรือตรวจการณ์ปราบเรือดำน้ำ เรือตรวจการณ์ปืน เรือตรวจการณ์ไกลฝั่ง เรือตรวจการณ์ใกล้ฝั่ง เรือตรวจการณ์ชายฝั่ง เรือยกพลขึ้นบก เรือระบายพล เรือสนับสนุนการต่อต้านทุ่นระเบิด เรือน้ำมัน เรือน้ำ เรือลากจูง เรือสำรวจ เป็นต้น
การจัดกำลังทางเรือ
แก้กองเรือบรรทุกเฮลิคอปเตอร์ (กบฮ.)
แก้- หมวดเรือที่ 1 : เรือ บฮ. ร.ล. จักรีนฤเบศร
กองเรือดำน้ำ (กดน.)
แก้- หมวดเรือที่ 3 : เรือ ด. (3 ลำ) (ยังไม่ประจำการ)
กองเรือฟริเกตที่ 1 (กฟก.1)
แก้- หมวดเรือที่ 1 :ชุด ร.ล.มกุฎราชกุมาร (1 ลำ), เรือ คว. ชุด ร.ล.รัตนโกสินทร์ (2 ลำ อัปปางลง 1 ลำ เหลือใช้งาน 1 ลำ)
- หมวดเรือที่ 2 :ชุด ร.ล.ภูมิพลอดุลยเดช , (เรือ ฟก. ชุด ร.ล.พุทธยอดฟ้าจุฬาโลก 2 ลำ ปัจจุบันปลดประจำการแล้วทั้งสองลำ), เรือ ฟก. ชุด ร.ล.ปิ่นเกล้า (1 ลำ)
- หมวดเรือที่ 3 : ร.ล.คำรณสินธุ ร.ล.ทยานชล ร.ล.ล่องลม (3 ลำ)
กองเรือฟริเกตที่ 2 (กฟก.2)
แก้- หมวดเรือที่ 1 : เรือ ฟก. ร.ล.เจ้าพระยา และ ร.ล.บางปะกง (2 ลำ)
- หมวดเรือที่ 2 : เรือ ฟก. ร.ล.กระบุรี และ ร.ล.สายบุรี (2 ลำ)
- หมวดเรือที่ 3 : เรือ ฟก. ชุด ร.ล.นเรศวร และ ร.ล.ตากสิน (2 ลำ)
กองเรือตรวจอ่าว (กตอ.)
แก้- หมวดเรือที่ 1 : เรือ ตกก. ชุด ร.ล.ปัตตานี (2 ลำ), เรือ ตกก. ชุด ร.ล.กระบี่ (2 ลำ)
- หมวดเรือที่ 2 : เรือ รจอ. ชุด ร.ล.ปราบปรปักษ์ (3 ลำ), เรือ รจอ. ชุด ร.ล.ราชฤทธิ์ (2 ลำ ปลดประจำการ ร.ล.วิทยาคม), เรือ รจป. ชุด ร.ล.ชลบุรี (3 ลำ)
- หมวดเรือที่ 3 : เรือ ตกป. ชุด ร.ล.สัตหีบ (6 ลำ), เรือ ตกป. ชุด ร.ล.หัวหิน (3 ลำ), เรือ ตกป. ชุด ร.ล.แหลมสิงห์ (1 ลำ)
กองเรือยามฝั่ง (กยฝ.)
แก้- หมวดเรือที่ 1 : เรือ ตกฝ. ชุด ต.991 (3 ลำ), เรือ ตกฝ. ชุด ต.994 (3 ลำ), เรือ ตกฝ. ชุด ต.111 (3 ลำ)
- หมวดเรือที่ 2 : เรือ ตกฝ. ชุด ต.91 (9 ลำ), เรือ ตกฝ. ชุด ต.81 (3 ลำ)
- หมวดเรือที่ 3 : เรือ ตกช. ชุด ต.227 (1 ลำ), เรือ ตกช. ชุด ต.228 (3 ลำ), เรือ ตกช. ชุด ต.231 (1 ลำ), เรือ ตกช. ชุด ต.232 (6 ลำ), เรือ ตกช. ชุด ต.261 (9 ลำ)
กองเรือยกพลขึ้นบกและยุทธบริการ (กยพ.)
แก้- หมวดเรือที่ 1 : เรือ ยพญ. ชุด ร.ล.อ่างทอง (1 ลำ), เรือ ยพญ. ชุด ร.ล.สีชัง (2 ลำ)
- หมวดเรือที่ 2 : เรือ รพญ. ชุด ร.ล.มัตโพน (2 ลำ), เรือ รพญ. ชุด ร.ล.ทองแก้ว (4 ลำ), เรือ รพญ. ชุด ร.ล.มันนอก (3 ลำ)
- หมวดเรือที่ 3 : เรือ สกญ. ชุด ร.ล.สิมิลัน (1 ลำ), เรือ นม. ชุด ร.ล.มาตรา (1 ลำ), เรือ นม. ชุด ร.ล.จุฬา (1 ลำ), เรือ นม. ชุด ร.ล.สมุย (1 ลำ), เรือ นม. ชุด ร.ล.ปรง (1 ลำ), เรือ นม. ชุด ร.ล.เปริด (2 ลำ), เรือ น. ชุด ร.ล.จวง (1 ลำ), เรือ น. ชุด ร.ล.จิก (1 ลำ), เรือ รจล. ชุด ร.ล.กลึงบาดาล (2 ลำ), เรือ ลจก. ชุด ร.ล.ริ้น (2 ลำ), เรือ ลจก. ชุด ร.ล.แสมสาร (2 ลำ), เรือ ลจก. ชุด ร.ล.ปันหยี (1 ลำ)
กองเรือทุ่นระเบิด (กทบ.)
แก้- หมวดเรือที่ 1 : ปัจจุบัน ไม่มีเรือประจำการ
- หมวดเรือที่ 2 : เรือ ลทฝ. ชุด ร.ล.บางระจัน (2 ลำ), เรือ ลทฝ. ชุด ร.ล.ลาดหญ้า (ลำที่ 3) (2 ลำ)
- หมวดเรือที่ 3 : เรือ กทต. ชุด ท.1 (5 ลำ), เรือ กทต. ชุด ท.6 (7 ลำ) และ เรือ สตท. ชุด ร.ล.ถลาง (1ลำ)
กองเรือลำน้ำ (กลน.)
แก้- เรือ รตล. ชุด ล.11 (39 ลำ), เรือ รตล. ชุด ล.161 (3 ลำ), เรือ รตล. ชุด ล.164 (6 ลำ)
- เรือ จลต. ชุด ล.31 (132 ลำ), เรือ จลพ. ชุด ล.3130 (3 ลำ)
หมวดเรือปฏิบัติการพิเศษ หน่วยบัญชาการสงครามพิเศษทางเรือ
แก้- เรือ ตกช. ชุด ต.241 (3 ลำ), เรือ ตกช. ชุด ต.251 (3 ลำ), เรือ พ. ชุด พ.51 (4 ลำ)
หมวดเรืออุทกศาสตร์ กรมอุทกศาสตร์
แก้- เรือ สรญ. ชุด ร.ล.จันทร (1 ลำ), เรือ สรญ. ชุด ร.ล.ศุกร์ (1 ลำ), เรือ สรญ. ชุด ร.ล.พฤหัสบดี (1 ลำ), เรือ สรล. ชุด อศ.2 (2 ลำ)
- เรือ งคร. ชุด ร.ล. สุริยะ (1 ลำ)
กองการบินทหารเรือ กองเรือยุทธการ
แก้อากาศยานของกองการบินทหารเรือสร้างจากต่างประเทศทั้งหมด โดยส่วนใหญ่มาจาก สหรัฐอเมริกา นอกจากนี้ยังมีจาก สหราชอาณาจักร ออสเตรเลีย เยอรมนี เนเธอร์แลนด์ บราซิล และ แคนาดา ทั้งนี้อากาศยานจำนวนประมาณเกือบครึ่งหนึ่ง เป็นอากาศยานที่ได้รับการออกแบบให้สามารถปฏิบัติการจากเรือรบผิวน้ำของกองทัพเรือได้ คือ จากเรือบรรทุกเฮลิคอปเตอร์ เรือฟริเกต เรือยกพลขึ้นบกขนาดใหญ่ หรือเรือส่งกำลังบำรุงขนาดใหญ่ ส่วนที่เหลือเป็นอากาศยานที่ต้องปฏิบัติการจากสนามบินบนฝั่ง
ดูรายละเอียดที่อากาศยานในประจำการของกองทัพเรือไทย
- เครื่องบินขับไล่/โจมตี 27 เครื่อง
- เครื่องบินตรวจการณ์ทางทะเล 13 เครื่อง
- เครื่องบินตรวจการณ์ 14 เครื่อง
- เครื่องบินลำเลียง 11 เครื่อง
- เฮลิคอปเตอร์ใช้งานทางทะเล 8 เครื่อง
- เฮลิคอปเตอร์ลำเลียง 18 เครื่อง
- อากาศยานไร้คนขับ 2 เครื่อง
หน่วยบัญชาการสงครามพิเศษทางเรือ กองเรือยุทธการ (หน่วยซีล หรือ SEAL)
แก้- กำลังพลนักทำลายใต้น้ำจู่โจม 3 กองรบพิเศษ
- อาวุธประจำกาย ปืนพก ขนาด 11 มม. Heckler & Koch USP ปืนเล็กกล ขนาด 9 มม. Heckler & Koch MP-5K/MP-5SD, Heckler & Koch UMP-9 ปืนเล็กสั้น ขนาด 9 มม. Heckler & Koch G36KV เครื่องยิงลูกระเบิดจากปืนเล็กยาว ขนาด 40 มม. Heckler & Koch AG36 ปืนกลเบา ขนาด 5.56 มม. M249 Para, Heckler & Koch HK23E ปืนเล็กยาวซุ่มยิง ขนาด 7.62 มม. Heckler & Koch MSG-1 ปืนเล็กยาวซุ่มยิง ขนาด 12.7 มม. M82, Accuracy International AW50
- เรือปฏิบัติการพิเศษ 7 ลำ
หน่วยบัญชาการนาวิกโยธิน
แก้- กำลังพลนาวิกโยธิน 1 กองพล (3 กรมทหารราบ 1 กรมทหารปืนใหญ่ 1 กรมสนับสนุน 1 กรมรักษาความปลอดภัย)
- อาวุธประจำกาย ปืนพก ขนาด 11 มม. M1911 ปืนเล็กสั้น ขนาด 5.56 มม. M4A1/M4A3, Heckler & Koch G36C ปืนเล็กยาว ขนาด 5.56 มม. M16A1/M16A2, Norinco CQ M-311 เครื่องยิงลูกระเบิดจากปืนเล็กยาว ขนาด 40 มม. M203 ปืนกลเบา ขนาด 5.56 มม. M249 ปืนเล็กยาวซุ่มยิง ขนาด 7.62 มม. Knights Armament SR-25 (Mk.11 mod.0)
- อาวุธประจำหน่วย ปืนกลกลาง ขนาด 7.62 มม. M60 ปืนกลหนัก ขนาด 12.7 มม. M2 เครื่องยิงลูกระเบิด ขนาด 60 มม. M19 เครื่องยิงลูกระเบิด ขนาด 60 มม. M29 ปืนไร้แรงสะท้อนถอยหลัง ขนาด 106 มม. M40 อวป.ต่อสู้รถถัง M47 Dragon, Messerschmitt-Bölkow-Blohm (MBB) Armbrust
- รถถังหลัก Type 69 II
- รถสะเทินน้ำสะเทินบก AAV
- รถเกราะ V-150, BTR-3E1
- รถยนต์บรรทุก HMMWV ติด อวป.ต่อสู้รถถัง TOW
- เครื่องยิงลูกระเบิดขนาดหนัก ขนาด 120 มม. M120
- ปืนใหญ่เบากระสุนวิถีโค้ง ขนาด 105 มม. M101A1, M101A1 (ปรับปรุง) ใช้ลำกล้องของปืนใหญ่ Giat LG1
- ปืนใหญ่กลางกระสุนวิถีโค้ง ขนาด 155 มม. Space Research Corporation GC-45, Noricum GHN-45
หน่วยบัญชาการต่อสู้อากาศยานและรักษาฝั่ง
แก้- กำลังพล 1 กองพล (2 กรมต่อสู้อากาศยาน 1 กรมรักษาฝั่ง 1 กรมสนับสนุน 2 ศูนย์ต่อสู้อากาศยานและรักษาฝั่ง)
- อาวุธปล่อยนำวิถี พื้น-สู่-อากาศ QW-18, PL-9
- ปืนต่อสู้อากาศยาน ขนาด 20 มม.
- ปืนต่อสู้อากาศยาน ขนาด 37 มม. Type 74
- ปืนต่อสู้อากาศยาน ขนาด 40 มม. Bofors L70 และ Bofors L60
- ปืนใหญ่กลางกระสุนวิถีโค้ง ขนาด 130 มม. Type 59
- ปืนใหญ่กลางกระสุนวิถีโค้ง ขนาด 155 มม. Noricum GHN-45
- เรดาร์และออปโทรนิกส์ควบคุมการยิง Type 702 สำหรับปืนต่อสู้อากาศยาน Type 74
- เรดาร์ควบคุมการยิง Type 311B สำหรับปืนต่อสู้อากาศยาน Type 74
- เรดาร์ควบคุมการยิง Thales Flycatcher สำหรับปืนต่อสู้อากาศยาน Bofors L70
- เรดาร์ตรวจการณ์ทางอากาศ ASR-8 (AN/GPN-20/27)
- เรดาร์ตรวจการณ์พื้นน้ำ แบบเคลื่อนที่ Thales BOR-A 550
เรือรบของกองทัพเรือไทย
แก้ระเบียบการใช้คำนำหน้าชื่อเรือ
แก้- เรือที่มีระวางขับน้ำปกติตั้งแต่ 150 ตันขึ้นไป กองทัพเรือใช้คำว่า "เรือหลวง" หรือคำย่อว่า "ร.ล." เป็นคำนำหน้าชื่อเรือ อันเป็นการแสดงถึงความเป็นเรือรบของพระมหากษัตริย์ โดยในภาษาอังกฤษจะใช้คำว่า "His Thai Majesty's Ship" หรือใช้คำย่อว่า "HTMS" เป็นคำนำหน้าชื่อเรือ เช่น เรือหลวงนเรศวร หรือ ร.ล.นเรศวร หรือ HTMS Naresuan ทั้งนี้ชื่อเรือเหล่านี้ให้ขอพระราชทานพระมหากษัตริย์ทรงตั้ง
- เรือที่มีระวางขับน้ำปกติต่ำกว่า 150 ตันลงมา กองทัพเรือใช้ตัวอักษรระบุชนิด/หน้าที่ของเรือ เป็นคำนำหน้า และมีหมายเลขเรือต่อท้าย เช่น ต.991 ทั้งนี้ชื่อเรือเหล่านี้กองทัพเรือเป็นผู้ตั้งเอง
ระเบียบการตั้งชื่อเรือ
แก้- เรือพิฆาต ตั้งตามชื่อตัว ชื่อบรรดาศักดิ์ หรือชื่อสกุล ของบุคคลที่เป็นวีรบุรุษของชาติ เช่น เรือหลวงนเรศวร เรือหลวงตากสิน เรือหลวงปิ่นเกล้า เรือหลวงภูมิพลอดุลยเดช
- เรือฟริเกต ตั้งตามชื่อแม่น้ำสายสำคัญ เช่น เรือหลวงเจ้าพระยา เรือหลวงตาปี เรือหลวงสายบุรี
- เรือคอร์เวต ตั้งตามชื่อเมืองหลวงหรือเมืองสำคัญในประวัติศาสตร์ เช่น เรือหลวงสุโขทัย เรือหลวงรัตนโกสินทร์
- เรือเร็วโจมตี
- เรือเร็วโจมตี (อาวุธปล่อยนำวิถี) ตั้งตามชื่อเรือรบในทะเลสมัยโบราณที่มีความหมายเหมาะสมแก่หน้าที่ของเรือนั้น ๆ เช่น เรือหลวงราชฤทธิ์ เรือหลวงปราบปรปักษ์
- เรือเร็วโจมตี (ปืน) และเรือเร็วโจมตี (ตอร์ปิโด) ตั้งตามชื่อจังหวัดชายทะเล เช่น เรือหลวงชลบุรี เรือหลวงภูเก็ต
- เรือดำน้ำ ตั้งตามชื่อผู้มีอิทฤทธิ์ในนิยายหรือวรรณคดีเกี่ยวกับการดำน้ำ เช่น เรือหลวงมัจฉานุ
- เรือทุ่นระเบิด ตั้งตามชื่อสมรภูมิที่สำคัญ เช่น เรือหลวงบางระจัน เรือหลวงลาดหญ้า
- เรือยกพลขึ้นบก เรือส่งกำลังบำรุง เรือน้ำมัน เรือน้ำ เรือลากจูง และเรือลำเลียง ตั้งตามชื่อเกาะ เช่น เรือหลวงสีชัง เรือหลวงสิมิลัน
- เรือตรวจการณ์
- เรือตรวจการณ์ (ปืน) ตั้งชื่อตามอำเภอชายทะเล เช่น เรือหลวงสัตหีบ เรือหลวงหัวหิน
- เรือตรวจการณ์ (ปราบเรือดำน้ำ) ตั้งตามชื่อเรือรบในลำน้ำสมัยโบราณที่มีความเหมาะสมแก่หน้าที่ของเรือนั้น เช่น เรือหลวงคำรณสินธุ เรือหลวงล่องลม
- เรือสำรวจ ตั้งชื่อตามดาวสำคัญ เช่น เรือหลวงศุกร์ เรือหลวงพฤหัสบดี
- เรือหน้าที่พิเศษ ตั้งชื่อด้วยถ้อยคำที่มีความหมายเหมาะสมแก่หน้าที่ของเรือนั้น ๆ
- เรือที่ไม่ได้กล่าวไว้ ให้พิจารณาตั้งชื่อตามความเหมาะสมเป็นคราว ๆ ไป เช่น เรือหลวงจักรีนฤเบศร ซึ่งเป็นเรือบรรทุกเฮลิคอปเตอร์ หรือเรือตรวจการณ์ไกลฝั่ง ตั้งตามชื่อจังหวัดชายทะเล เช่น เรือหลวงปัตตานี เรือหลวงนราธิวาส
หลักการกำหนดหมายเลขเรือ
แก้- หมายเลขตัวที่ 1 แสดงประเภทเรือ (Type) ซึ่งกำหนดไว้ 9 ประเภท คือ
- หมายเลข 1 เรือบัญชาการและสนับสนุนการยกพลขึ้นบก
- หมายเลข 2 เรือดำน้ำ
- หมายเลข 3 เรือเร็วโจมตี
- หมายเลข 4 เรือพิฆาต เรือฟริเกต และเรือคอร์เวต
- หมายเลข 5 เรือตรวจการณ์
- หมายเลข 6 เรือทุ่นระเบิด
- หมายเลข 7 เรือยกพลขึ้นบก
- หมายเลข 8 เรืออุทกศาสตร์ เรือช่วยรบ และเรือประเภทอื่น ๆ
- หมายเลข 9 เรือบรรทุกอากาศยาน
- หมายเลขตัวที่ 2 แสดงชุดหรือชั้นของเรือ (Class) โดยเรือที่มีคุณลักษณะใกล้เคียงกันจะมีการจัดรวมไว้ในชุดเดียวกัน
- หมายเลขตัวที่ 3 แสดงลำดับที่ของเรือในชุดนั้น ๆ โดยเริ่มจากลำดับที่ 1 เรียงต่อกันไปตามลำดับ หากเรือชุดมีเกิน 9 ลำ เรือลำที่ 10 จะเพิ่มเป็น 4 ตัว
ระเบียบการเขียนชื่อเรือ
แก้- ชื่อเรือที่มีระวางขับน้ำปกติตั้งแต่ 150 ตันขึ้นไป ให้ทำด้วยทองเหลืองบนพื้นสีน้ำเงิน ติดกับตัวเรือตอนท้ายสุดเหนือแนวน้ำ ยกเว้นเรือบางลำหรือบางประเภท ถ้าติดชื่อเรือบริเวณดังกล่าวไม่สะดวก ให้ติดไว้ข้างเรือตอนท้ายทั้งสองข้าง ส่วนเรือดำน้ำ ให้ติดไว้กับตัวเรือทั้งสองข้างค่อนทางหัวเรือเหนือแนวน้ำขณะลอยลำเต็มที่
- ชื่อเรือที่มีระวางขับน้ำปกติต่ำกว่า 150 ตันลงมา ให้เขียนด้วยสีขาวไว้กับตัวเรือทั้งสองข้างตอนหัวเรือ ตรงกึ่งกลางระหว่างแนวน้ำกับแนวกราบเรือ
- ให้ติดป้ายชื่อเรือที่มีระวางขับน้ำตั้งแต่ 100 ตันขึ้นไป และเรือประเภทเรือตรวจการณ์ใกล้ฝั่ง ที่ข้างสะพานเดินเรือทั้งสองกราบ เป็นภาษาไทยอยู่ด้านบน และภาษาอังกฤษอยู่ด้านล่าง โดยลักษณะของป้ายชื่อเรือ ให้เป็นไปตามที่กองเรือยุทธการกำหนด
- การเขียนหมายเลขเรือให้ใช้ตัวเลขอาระบิค
ระเบียบการแบ่งชั้นเรือ
แก้- เรือที่มีอัตราผู้บังคับการเรือ ให้จัดแบ่งตามชั้นยศของผู้บังคับการเรือ คือ
- เรือชั้น 1 คือ เรือที่มีผู้บังคับการเรือชั้นยศนาวาโทขึ้นไป
- เรือชั้น 2 คือ เรือที่มีผู้บังคับการเรือชั้นยศนาวาตรี
- เรือชั้น 3 คือ เรือที่มีผู้บังคับการเรือชั้นยศเรือเอก
- เรือที่มีอัตราผู้ควบคุมเรือ จะไม่จัดเข้าอยู่ในชั้นใด และให้ถือเป็นเรือขนาดเล็ก
ระเบียบการแบ่งชั้นหมู่เรือ
แก้- หมู่เรือชั้น 1 คือ หมู่เรือที่ประกอบด้วยเรือชั้น 1 ทั้งหมด หรือเรือชั้น 1 กับเรืออื่น ๆ
- หมู่เรือชั้น 2 คือ หมู่เรือที่ประกอบด้วยเรือชั้น 2 ทั้งหมด หรือเรือชั้น 2 กับเรืออื่น ๆ ที่ไม่ใช่เรือชั้น 1
- หมู่เรือชั้น 3 คือ หมู่เรือที่ประกอบด้วยเรือชั้น 3 ทั้งหมด หรือเรือชั้น 3 กับเรือขนาดเล็ก หรือเรือขนาดเล็กทั้งหมด
หลักการแบ่งประเภทของเรือและคำย่อ
แก้ดูเพิ่ม
แก้อ้างอิง
แก้- ↑ บำรุงสุข, สุรชาติ (18 July 2019). "เปิดข้อมูลอำนาจกำลังรบไทย". www.matichonweekly.com. สืบค้นเมื่อ 17 November 2019.
- ↑ ธงทั้งสองอย่างนี้นับเป็นคนละธง แต่ลักษณะของธงตามที่บรรยายไว้ในพระราชบัญญัติธง พ.ศ. 2522 นั้น เป็นลักษณะอย่างเดียวกัน
- ↑ พระราชบัญญัติจัดระเบียบราชการกระทรวงกลาโหม พ.ศ. 2551
- ↑ "พระราชกฤษฎีกาแบ่งส่วนราชการและกำหนดหน้าที่ของส่วนราชการกองทัพเรือ กองทัพไทย กระทรวงกลาโหม พ.ศ. 2552" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. สำนักงานเลขาธิการคณะรัฐมนตรี. 30 มีนาคม 2552. สืบค้นเมื่อ 22 สิงหาคม 2553.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ มาตรา 4 (8) แห่งพระราชบัญญัติรับราชการทหาร พ.ศ. 2497
- ↑ มาตรา 4 แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการทหาร พ.ศ. 2521
บรรณานุกรม
แก้- Mach, Andrzej (1988). "Re: The Royal Thai Navy". Warship International. XXV (3): 226–227. ISSN 0043-0374.
- Mach, Andrzej (1988). "Re: The Thai Navy". Warship International. XXV (2): 113–116. ISSN 0043-0374.
- Roberts, Stephen S. (1986). "The Thai Navy". Warship International. XXIII (3): 217–265. ISSN 0043-0374.
- Ruth, Richard A. "Prince Abhakara’s Experiences with Britain’s Royal Navy: Education, Geopolitical Rivalries and the Role of a Cretan Adventure in Apotheosis". Sojourn: Journal of Social Issues in Southeast Asia, vol. 34, no. 1, 2019, pp. 1–47. JSTOR, www.jstor.org/stable/26594523.ISSN 0217-9520