สมรภูมิบ้านร่มเกล้า

สงครามเย็นครั้งสุดท้ายในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

สมรภูมิบ้านร่มเกล้า หรือ ยุทธการบ้านร่มเกล้า เป็นการเผชิญหน้าช่วงสั้น ๆ ระหว่างประเทศไทยและประเทศลาว ณ บริเวณบ้านร่มเกล้า ตรงชายแดนไทย–ลาว ผลสืบเนื่องจากข้อพิพาทชายแดนที่ยืดเยื้อมาแต่สมัยแผนที่ฝรั่งเศสเมื่อต้นคริสต์ศตวรรษที่ 20

สมรภูมิบ้านร่มเกล้า
ส่วนหนึ่งของ สงครามอินโดจีนครั้งที่สาม และ สงครามเย็น
Naun 1428.jpg
เนิน 1428 อดีตสมรภูมิรบอันดุเดือดในสมรภูมิบ้านร่มเกล้า มองจากอุทยานแห่งชาติภูสอยดาว
วันที่ธันวาคม 2530 – 19 กุมภาพันธ์ 2531
สถานที่บ้านร่มเกล้า อำเภอชาติตระการ จังหวัดพิษณุโลก, เมืองบ่อแตน แขวงไชยบุรี
ผล ลาวชนะ, มีการเจรจาสันติภาพที่กรุงเทพมหานคร
ดินแดน
เปลี่ยนแปลง
กลับสู่สถานะเดิมก่อนสงคราม
คู่สงคราม
Flag of Thailand.svg ไทย Flag of Laos.svg ลาว
Flag of Vietnam.svg เวียดนาม
ผู้บังคับบัญชาและผู้นำ
Flag of Thailand.svg ชวลิต ยงใจยุทธ Flag of Laos.svg ไกสอน พมวิหาร
ความสูญเสีย
ไทย:
ทหารเสียชีวิต ~200 นาย
ทหารได้รับบาดเจ็บ ~400 นาย[1]
ลาว:
ทหารเสียชีวิต ~95 นาย
ทหารได้รับบาดเจ็บ ~192 นาย[1]
เวียดนาม:
ไม่ทราบ
รวมเสียชีวิต ~1,000 นายและคน

เริ่มมีการยิงปะทะกันเล็กน้อยระหว่างสองชาติในปี 2527 อย่างไรก็ดี ในเดือนธันวาคม 2530 กองทัพไทยเข้ายึดบ้านร่มเกล้าซึ่งเป็นพื้นที่พิพาท และชักธงไทย รัฐบาลลาวประท้วงอย่างรุนแรง โดยยืนยันว่าหมู่บ้านดังกล่าวเป็นส่วนหนึ่งของแขวงไชยบุรี ฝ่ายลาวได้เข้าตีกลางคืนต่อที่มั่นของไทย สามารถขับไล่ทหารไทยออกจากหมู่บ้านและชักธงลาวขึ้นแทน หลังจากนั้นมีการต่อสู้อย่างรุนแรงเป็นเวลาหลายสัปดาห์จนมีการประกาศหยุดยิงในวันที่ 19 กุมภาพันธ์ 2531

สงครามครั้งนี้คร่าชีวิตทั้งสองฝ่ายรวมประมาณ 1,000 นายและคน[2] ฝ่ายไทยสูญเสียหนักกว่าเนื่องจากใช้เวลาส่วนใหญ่เข้าตีที่ตั้งของลาวที่เตรียมไว้อย่างเหนียวแน่น พลเอก ชวลิต ยงใจยุทธ ผู้บัญชาการทหารบกในขณะนั้น ถูกวิจารณ์ว่าใช้กำลังโดยฝ่าฝืนนโยบายของกระทรวงการต่างประเทศ ส่วนเวียดนามได้เข้าสนับสนุนพันธมิตร โดยส่งกำลังจากกองพลที่ 2 มาสนับสนุนปฏิบัติการของลาว

สาเหตุแก้ไข

สมรภูมิบ้านร่มเกล้าเกิดจากกรณีพิพาทด้านพรมแดนระหว่างไทยกับลาว เนื่องจากยึดถือพรมแดนจากแผนที่คนละฉบับ โดยในปี พ.ศ. 2450 สนธิสัญญาระหว่างสยามกับฝรั่งเศส ยึดถือจากผลการสำรวจเมื่อ พ.ศ. 2430 ได้กำหนดให้แม่น้ำเหืองเป็นเขตแดนสยาม-ฝรั่งเศส ต่อมาในปี พ.ศ. 2451 เจ้าหน้าที่สำรวจแผนที่ของฝรั่งเศสได้พบว่าแม่น้ำเหืองมีสองสาย[3] จึงได้เขียนแผนที่โดยยึดสายน้ำที่ทำให้ฝรั่งเศสได้ดินแดนมากกว่าเดิม และไม่ได้แจ้งให้รัฐบาลสยามทราบ ต่อมาในช่วงสงครามเวียดนาม กองทัพสหรัฐได้จัดทำแผนที่จากภาพถ่ายทางอากาศ และได้พบแม่น้ำอีกสายหนึ่ง ชื่อว่า ลำน้ำเหืองป่าหมัน[3] ซึ่งไม่เคยปรากฏในเอกสารสนธิสัญญาระหว่างสยาม–ฝรั่งเศส มาก่อน

ในปี พ.ศ. 2530 ทางการลาวได้อ้างสิทธิเหนือดินแดนบริเวณบ้านร่มเกล้า และยกกำลังเข้ามายึดพื้นที่บ้านร่มเกล้า ในเขตอำเภอชาติตระการ จังหวัดพิษณุโลก และเกิดปะทะกับกองกำลังทหารพราน 3405 ตั้งแต่วันที่ 31 พฤษภาคม พ.ศ. 2530 และยึดเนิน 1428 เป็นที่มั่น[ต้องการอ้างอิง]

ยุทธการสอยดาวแก้ไข

วันที่ 5 พฤศจิกายน พ.ศ. 2530 กองทัพภาคที่ 3 เริ่มส่งกำลังเข้าโจมตีเนิน 1428 โดยใช้กองกำลังทหารราบ ทหารพรานและทหารม้า โดยการสนับสนุนจากกองทัพอากาศไทย แต่ไม่ประสบความสำเร็จ เนื่องจากฝ่ายลาวมีชัยภูมิที่ดีกว่า และได้รับการสนับสนุน จากสหภาพโซเวียตและเวียดนาม[ต้องการอ้างอิง]

ยุทธการบ้านร่มเกล้าแก้ไข

จากคำบอกเล่าของทหารที่อยู่แนวหน้า[ต้องการอ้างอิง] ระบุว่าทหารไทยในสมรภูมิบ้านร่มเกล้าต้องรบกับข้าศึกที่มียุทธภูมิดีกว่า มีอำนาจการยิงสนับสนุนต่อเนื่องและรุนแรง ต้องฟันฝ่าอุปสรรคมากมาย โดยเฉพาะแนวกับระเบิด ทหารหลายนายซึ่งผ่านสมรภูมิมาอย่างโชกโชน กล่าวว่า เป็นการรบที่หนักที่สุดเท่าที่เคยพบเห็นมาในชีวิตการเป็นทหาร[ต้องการอ้างอิง] โดยเฉพาะบริเวณเนิน 1182, 1370, และ 1428

ยุทธการบ้านร่มเกล้า ได้เริ่มขึ้นเมื่อ 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2531 เมื่อ พลเอก ชวลิต ยงใจยุทธ ผู้บัญชาการทหารบก (ในขณะนั้น) ประกาศจะผลักดันกองกำลังต่างชาติที่เข้ามายึดครองพื้นที่ในเขตไทยทุกรูปแบบด้วยการใช้กำลังทหาร จึงทำให้เกิดการสู้รบอย่างดุเดือดทหารไทยทั้ง ทหารราบ ทหารม้า ทหารปืนใหญ่ และทหารพราน ได้รุกตอบโต้ยึดที่มั่นต่างๆ ที่ลาวครองไว้กลับมาได้เป็นส่วนมาก รวมทั้งได้ทำการโอบล้อมบริเวณตีนเนิน 1428 ไว้ได้ แต่ไม่สามารถบุกขึ้นไปถึงยอดเนินซึ่งทหารลาวใช้เป็นฐานต่อต้านได้ ถึงแม้จะใช้กำลังทางอากาศบินโจมตีทิ้งระเบิดอย่างหนักก็ตาม จนทำให้กองทัพอากาศไทยสูญเสียเครื่องบิน เอฟ 5 อี และ โอวี 10 ไปอย่างละ 1 เครื่อง ซึ่งถูกยิงตกด้วยปืนต่อต้านอากาศยาน และจรวดแซม[ต้องการอ้างอิง]

ประภาสกรำศึกในสมรภูมิร่มเกล้าตั้งแต่ปลายเดือนมกราคมถึงกลางเดือนกุมภาพันธ์ ๒๕๓๑ ประสบการณ์เฉียดตาย ๒๗ วันนั้นยังชัดเจนในความทรงจำ เขาเล่าว่าที่หมายทางทหารของไทยมีทั้งหมด ๕ จุด ที่หมาย ๑ คือเนิน ๑๔๒๘ เป็นจุดที่ต้องยึดให้ได้ และทหารพรานจากค่ายปักธงชัย ๙ กองร้อยกับ ๑ ฐานยิง ประกอบด้วยปืนใหญ่ขนาด ๘๐ ๑๑๐, ๑๒๐ มม. ได้รับมอบหมายให้อยู่ในแนวหน้าตีจุดนี้ส่วนจุดอื่น ๆ ทหารหลักเป็นผู้รับผิดชอบ“กองทัพไทยอ่านเกมขาดว่าค่าตัวทหารหลักแพงกว่าทหารพรานที่มีค่าอาหารวันละ ๒๔๐ บาท ค่าจู่โจม ๑๘๐ บาท ตายแล้วจ่ายแค่ ๒ แสนบาทจบ คิดดูว่าเขาส่งทหารยศจ่าสิบเอกเท่านั้นมาคุมหน่วยผม ไม่ใช้นายร้อยเพราะไม่คุ้ม ปรกติทหารพรานถูกฝึกรบนอกแบบ (สงครามกองโจร) แต่ศึกนี้จัดกำลังในแบบ ซึ่งไม่เหมาะ ตอนไปถึงที่นั่นปืนใหญ่เราล้อมที่หมาย ๑ เป็นรูปครึ่งวงกลม เราต้องเข้าตีเนิน ๑๔๒๘ จากด้านหนึ่ง ถ้าตีได้จะตีเนินที่เหลือได้ทั้งหมด ที่ร่มเกล้าภูมิประเทศเป็นภูเขาดิน พอฝนตกจะลื่นมาก เนิน ๑๔๒๘ ชันราว ๗๐ องศา ไม่มีที่ราบ ฐานของลาวไม่ได้อยู่ยอดเนิน แต่อยู่ต่ำลงมาจากยอดเนิน เขาทำแนวตั้งรับไว้ ๓ แนว แนวแรกคือรั้วขวาก ไม้รวก แนวที่ ๒ คือกับระเบิด แนวที่ ๓ คือคูเลด (สนามเพลาะ) แนวตั้งรับจากแนวแรกถึงแนวสุดท้ายลึก ๑ กิโลเมตร  ตามโคนไม้ก็วางระเบิดเต็มไปหมดเพราะรู้ว่าเวลายิงกันทหารไทยจะไปตรงนั้น ปืนใหญ่ลาวแม่นมากขณะที่ปืนใหญ่ไทยยิงไม่แม่น แม้จะเป็นฝ่ายรุกแต่ใจเราตั้งรับเพราะเสี่ยงมาก ยิงกันพักเดียวโดนหามลงมาทีละคน ๆ ผมคิดแล้วว่าจะถึงคิวเราเมื่อไหร่ ได้ยินเสียงทหารลาวตลอดแต่ไม่เห็นตัวเลย”

หลังจากที่ทหารลาวสูญเสียที่มั่นต่าง ๆ ได้รวบรวมกำลังพลเข้ารักษาเนิน 1428 ไว้อย่างเหนียวแน่นโดยมีกำลังรบและกำลังสนับสนุนดังนี้คือ กองพลที่ 1 จำนวน 4 กองพัน พร้อมอาวุธหนักปืนใหญ่ 130 มม. 3 กระบอก ปืน 105 มม. 3 กระบอก รถถังอีก 4 คัน รวมกำลังพล 372 นาย[ต้องการอ้างอิง]

กองพลที่ 2 ซึ่งตั้งอยู่ที่หลวงพระบาง จำนวน 4 กองพัน เช่นกัน มีกำลังพลกว่า 418 คน สนับสนุนด้วยปืนใหญ่ 130 มม. 3 กระบอก ปืนใหญ่ 105 มม. 3 กระบอก รถถัง 5 คัน ปืน ค. ขนาด 62 และ 82 มม. รวมทั้ง ปตอ. ด้วย นอกจากนี้กองกำลังหลักซึ่งมีที่ตั้งอยู่ที่ ไชยบุรี มีปืนใหญ่ 130 มม. 2 กระบอก ปืนใหญ่ขนาด 122 มม. อีก 3 กระบอกรวมทั้งหน่วยจรวดต่อสู้อากาศยานแบบแซม 7[ต้องการอ้างอิง]

ในระยะแรกของการรบนั้น ทหารไทยใช้ทหารม้าและทหารพรานรุกคืบหน้าเข้าสู่บริเวณเนิน 1428 ซึ่งพบกับการต่อต้านอย่างหนักจากฝ่ายลาวอย่างคาดไม่ถึงโดยเฉพาะกับระเบิดและการยิงปืนใหญ่จากลาวอย่างหนาแน่นและต่อเนื่อง ทำให้การรุกคืบหน้าเป็นไปได้ช้าและสูญเสียอย่างมาก ด้วยมีความเสียเปรียบหลายประการ ในขั้นแรกทหารไทยมีความคิดที่จะผลักดันทหารลาวออกจากดินแดนไทยเท่านั้น การรบจึงจำกัดเขตอยู่แต่ในประเทศไทย[ต้องการอ้างอิง] แต่หลังพบว่าการรบในช่วงแรกไม่ประสบความสำเร็จตามเป้าหมาย คณะนายทหารจึงปรับแผนการรบใหม่ โดยใช้กำลังปืนใหญ่ระยะยิงไกลแบบ เอ็ม 198 และปืนใหญ่แบบต่าง ๆ ระดมยิงเข้าไปในดินแดนลาว ที่หมายคือการยิงฐานปืนใหญ่และที่ตั้งกำลังทหาร พร้อมทั้งส่งหน่วยรบพิเศษเข้าไปตัดการส่งกำลังสนับสนุนของฝ่ายลาว จนกระทั่งการสนับสนุนการรบของลาวได้ลดประสิทธิภาพลงไปอย่างมาก[ต้องการอ้างอิง] วันที่ 19 กุมภาพันธ์ ก็ได้มีการเจรจายุติศึกแยกกำลังของทั้ง 2 ฝ่ายออกจากกันฝ่ายละ 3 กิโลเมตร[ต้องการอ้างอิง]

ผลที่ตามมาแก้ไข

ประเทศไทยและประเทศลาวร่วมกันจัดตั้งคณะกรรมาธิการเขตแดนร่วมไทย–ลาว (JBC) ถูกก่อตั้งขึ้นในปี พ.ศ. 2539[4] เพื่อปักปันพรมแดนซึ่งมีความยาว 1,810 กิโลเมตร ทั้งสองประเทศยังวางแผนที่จะเสร็จสิ้นการปันเขตแม่น้ำโขงซึ่งมีความยาว 1,100 กิโลเมตร ภายในปี พ.ศ. 2553 โดยร้อยละ 96.3 เสร็จสิ้น ระหว่างปี พ.ศ. 2546–2550[5]

อ้างอิงแก้ไข

  1. 1.0 1.1 Clodfelter, M. (2017). Warfare and Armed Conflicts: A Statistical Encyclopedia of Casualty and Other Figures, 1492-2015 (4th ed.). Jefferson, North Carolina: McFarland. ISBN 978-0786474707. Page 627.
  2. Savada, Andrea Matles; Whitaker, Donald P (1995). Laos: a country study. Washington DC: Library of Congress. p. 285. สืบค้นเมื่อ 4 December 2016.
  3. 3.0 3.1 วัชระ ฤทธาคนี, พล.อ.ท., ทหารอากาศกับการเมือง (52), สยามรัฐสัปดาห์วิจารณ์, ปีที่ 56 ฉบับที่ 21 1 พฤษภาคม 2552, หน้า 17
  4. กระทรวงการต่างประเทศชี้แจงข้อเท็จจริงเกี่ยวกับปัญหาเขตแดนไทย-ลาว บริเวณสามหมู่บ้าน จังหวัดอุตรดิตถ์ และบริเวณบ้านร่มเกล้า จังหวัดพิษณุโลก. สืบค้นเมื่อ 2 พฤษภาคม พ.ศ. 2553
  5. Supalak Ganjanakhundee. Lao border talks progressing เก็บถาวร 2012-10-05 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน. The Nation. สืบค้นเมื่อ 2 พฤษภาคม พ.ศ. 2553.

แหล่งข้อมูลอื่นแก้ไข

พิกัดภูมิศาสตร์: 17°36′36″N 100°58′19″E / 17.610°N 100.972°E / 17.610; 100.972