วิกิพีเดีย:มุมมองที่เป็นกลาง

การแก้ไขจากมุมมองที่เป็นกลาง หมายความถึง การนำเสนอมุมมองสำคัญทั้งหมดที่มีแหล่งที่มาน่าเชื่อถือจัดพิมพ์เกี่ยวกับหัวข้อหนึ่งอย่างยุติธรรม เป็นสัดส่วนและปราศจากความลำเอียงให้มากเท่าที่มากได้ บทความวิกิพีเดียทั้งหมดและเนื้อหาสารานุกรมอื่นต้องเขียนจากมุมมองที่เป็นกลาง นโยบายดังกล่าวเป็นหลักการมูลฐานของวิกิพีเดียและโครงการอื่นของวิกิมีเดีย นโยบายดังกล่าวไม่อาจผ่อนผันได้และผู้เขียนและบทความทั้งหมดต้องปฏิบัติตาม

"มุมมองที่เป็นกลาง" เป็นหนึ่งในสามนโยบายแกนกลางด้านเนื้อหาของวิกิพีเดีย อีกสองนโยบายนั้นคือ "การพิสูจน์ยืนยันได้" และ "งดงานค้นคว้าต้นฉบับ" ซึ่งนโยบายแกนกลางทั้งสามนี้ร่วมกำหนดประเภทและคุณภาพของข้อมูลที่ยอมรับได้ในบทความวิกิพีเดีย เนื่องจากนโยบายทั้งสามนี้ประสานกัน จึงไม่ควรตีความแยกกัน และผู้ใช้ควรทำความคุ้นเคยกับนโยบายทั้งสามนี้ นโยบายหรือแนวปฏิบัติอื่น หรือการเห็นพ้องต้องกันของผู้ใช้ใด ๆ ไม่อาจขัดต่อหลักการซึ่งนโยบายดังกล่าวอิงอยู่

คำอธิบายมุมมองที่เป็นกลาง

การบรรลุสิ่งที่ประชาคมวิกิพีเดียเข้าใจว่าคือ "ความเป็นกลาง" หมายถึง การวิเคราะห์แหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือหลากหลายอย่างระมัดระวังและมีวิจารณญาณ แล้วพยายามถ่ายทอดสารสนเทศในแหล่งข้อมูลเหล่านั้นแก่ผู้อ่านอย่างยุติธรรม เป็นสัดส่วน และปราศจากความลำเอียงให้มากเท่าที่มากได้ วิกิพีเดียมุ่งอธิบายข้อพิพาท แต่ไม่เข้าไปยุ่งเกี่ยว ผู้เขียน ซึ่งโดยธรรมชาติมีมุมมองเป็นของตน ควรพยายามโดยสุจริตเพื่อจัดหาสารสนเทศที่สมบูรณ์ และไม่สนับสนุนมุมมองจำเพาะหนึ่งเหนืออีกมุมมองหนึ่ง ฉะนั้น มุมมองที่เป็นกลางจึงไม่ได้หมายความถึง การตัดบางมุมมองออก แต่ให้รวมมุมมองทั้งหมดที่พิสูจน์ยืนยันได้ซึ่งมีน้ำหนักเพียงพอ การปฏิบัติตามหลักการต่อไปนี้เพื่อบรรลุระดับความเป็นกลางซึ่งเหมาะสมสำหรับสารานุกรม

  • เลี่ยงการระบุความคิดเห็นเป็นข้อเท็จจริง ปกติบทความมีสารสนเทศเกี่ยวกับความเห็นสำคัญซึ่งมีการแสดงออกเกี่ยวกับหัวเรื่องนั้น ทว่า ความเห็นเหล่านี้ไม่ควรระบุในนามของวิกิพีเดีย แต่ความเห็นเหล่านั้นควรระบุในข้อความว่ามาจากแหล่งที่มาจำเพาะ หรืออธิบายว่าเป็นมุมมองที่แพร่หลายเมื่อพิสูจน์ได้ ฯลฯ ตัวอย่างเช่น บทความไม่ควรนำเสนอว่า "เหล้า ไวน์ เบียร์ เป็นสิ่งชั่วร้าย" แต่อาจนำเสนอว่า "นาย ก อธิบายว่า เหล้า ไวน์ เบียร์เป็นสิ่งชั่วร้าย" (พร้อมแหล่งอ้างอิง และนาย ก ควรเป็นบุคคลที่โดดเด่น)
  • เลี่ยงการระบุข้อความที่มีการคัดค้านอย่างจริงจังเป็นข้อเท็จจริง หากแหล่งที่มาที่น่าเชื่อถือต่างกันมีการแสดงข้อความขัดแย้งกันในประเด็นหนึ่ง ให้ถือการแสดงข้อความเหล่านั้นเป็นความคิดเห็น มิใช่ข้อเท็จจริง และอย่านำเสนอข้อความเหล่านั้นเป็นถ้อยแถลงโดยตรง
  • เลี่ยงการระบุข้อเท็จจริงเป็นความคิดเห็น การแสดงข้อความเท็จจริงซึ่งไม่มีการคัดค้านและไม่ก่อข้อโต้เถียงโดยแหล่งที่มาที่น่าเชื่อถือปกติควรระบุในนามของวิกิพีเดียโดยตรง ยกเว้นหัวเรื่องนั้นว่าด้วยความไม่ลงรอยกันเหนือสารสนเทศที่ไม่มีการคัดค้านอย่างเจาะจง ไม่จำเป็นต้องระบุที่มาอย่างจำเพาะสำหรับการแสดงข้อความนั้น แม้การเพิ่มการเชื่อมโยงอ้างอิงไปยังแหล่งที่มาเพื่อสนับสนุนการพิสูจน์ยืนยันได้จะเป็นประโยชน์ ยิ่งไปกว่านั้น ไม่ควรจัดคำในทุกทางเพื่อให้ข้อความดูเหมือนว่ามีการคัดค้าน
  • เลือกภาษาที่ไม่ตัดสิน มุมมองที่เป็นกลางต้องไม่เข้าข้างมุมมองใด ๆ เกี่ยวกับหัวเรื่อง (หรือสิ่งที่แหล่งที่มากล่าวถึงหัวเรื่อง) แม้บางครั้งอาจต้องรักษาให้สมดุลกับความชัดเจน ให้นำเสนอความคิดเห็นและสิ่งค้นพบด้วยน้ำเสียงไม่ใส่ใจ อย่าสอดแทรกความคิดเห็นส่วนบุคคล
  • บ่งชี้ความเด่นชัดเปรียบเทียบของมุมมองที่ค้านกัน รับประกันว่าการรายงานมุมมองที่ต่างกันของหัวเรื่องหนึ่งต้องสะท้อนระดับเปรียบเทียบของการสนับสนุนมุมมองเหล่านั้นอย่างพอดี และต้องไม่ให้ความประทับใจความเสมอภาคที่ผิด หรือให้น้ำหนักแก่มุมมองจำเพาะหนึ่งมากเกินไป ตัวอย่างเช่น "ตามข้อมูลของไซมอน วีเซนธาล ฮอโลคอสต์เป็นโครงการการกำจัดชาวยิวในประเทศเยอรมนี แต่เดวิด เออร์วิงโต้แย้งการวิเคราะห์นี้" จะให้ดูเหมือนมุมมองข้างมากอย่างยิ่งและมุมมองข้างน้อยอย่างยิ่งเสมอภาคกันโดยการระบุมุมมองนั้นว่ามาจากนักเคลื่อนไหวเพียงคนเดียวในสาขานั้น

การบรรลุความเป็นกลาง

อย่านำสารสนเทศที่มีแหล่งที่มาออกจากวิกิพีเดียด้วยเหตุผลว่าดูลำเอียง นี่เป็นกฎทั่วไป แต่ให้พยายามเขียนข้อความตอนนั้นใหม่เพื่อให้มีน้ำเสียงเป็นกลางมากขึ้น ปกติสารสนเทศที่ลำเอียงสามารถปรับให้สมดุลกับเนื้อหาที่อ้างจากแหล่งที่มาอื่นเพื่อให้เกิดมุมมองที่เป็นกลางยิ่งขึ้น ฉะนั้น ปัญหาดังกล่าวควรแก้ไขเมื่อเป็นไปได้ผ่านกระบวนการแก้ไขปกติ ให้นำเนื้อหาออกเฉพาะเมื่อคุณมีเหตุผลดีให้เชื่อว่าเนื้อหานั้นลวงหรือชี้นำผู้อ่านอย่างไม่ถูกต้องในทางที่ไม่สามารถจัดการได้ด้วยการเขียนข้อความใหม่

การตั้งชื่อ

ในบางกรณี การเลือกชื่อที่ใช้สำหรับหัวเรื่องอาจปรากฏความลำเอียงได้ แม้โดยทั่วไปควรเลือกคำที่เป็นกลาง แต่ต้องให้สมดุลกับความชัดเจนด้วย หากมีการใช้ชื่อหนึ่งอย่างกว้างขวางในแหล่งที่มาที่น่าเชื่อถือ (โดยเฉพาะอย่างยิ่งที่เขียนในภาษาอังกฤษ) ผู้อ่านจึงมักรู้กันดี อาจใช้ชื่อนั้นแม้บางคนถือว่าลำเอียงได้ ตัวอย่างเช่น ชื่อที่ใช้แพร่หลาย "การสังหารหมู่บอสตัน" และ "แจ๊คเดอะริปเปอร์" เป็นวิถีที่ชอบสำหรับการเรียกหัวเรื่องที่กำลังกล่าวถึง แม้คำที่ใช้อาจดูตัดสิน ชื่อดีที่สุดที่จะใช้กับหัวเรื่องหนึ่งอาจขึ้นอยู่กับบริบทที่กล่าวถึงหัวเรื่องนั้น การกล่าวถึงชื่อทางเลือกและข้อโต้เถียงเกี่ยวกับการใช้ชื่อทางเลือกอาจเหมาะสม โดยเฉพาะอย่างยิ่ง หัวเรื่องที่กำลังกล่าวถึงเป็นหัวเรื่องหลักที่กำลังอภิปราย

คำแนะนำนี้ใช้กับชื่อเรื่องบทความเป็นพิเศษ แม้อาจมีใช้หลายคำทั่วไป ควรเลือกชื่อหนึ่งเป็นชื่อเรื่องบทความ ต้องกับนโยบายการตั้งชื่อบทความ (และแนวปฏิบัติที่เกี่ยวข้อง เช่น ชื่อทางภูมิศาสตร์) ไม่ควรใช้ชื่อเรื่องบทความที่รวมชื่อทางเลือก ตัวอย่างเช่น ไม่ควรใช้ "หมา/สุนัข" หรือ "หมา (Dog)" แต่ควรให้ความโดดเด่นพอดีแก่ชื่อทางเลือกในบทความ แล้วสร้างหน้าเปลี่ยนทางตามความเหมาะสม

ชื่อเรื่องบทความบางชื่ออาจเป็นการพรรณนา ไม่ใช่ชื่อ ชื่อเรื่องพรรณนาควรใช้คำอย่างเป็นกลาง เพื่อไม่แนะมุมมองสนับสนุนหรือคัดค้านหัวข้อหนึ่ง หรือเพื่อจำกัดเนื้อหาของบทความสำหรับข้างที่เจาะจงของประเด็นหนึ่ง (ตัวอย่างเช่น บทความชื่อเรื่อง "การวิพากษ์วิจารณ์ ข" อาจเปลี่ยนชื่อใหม่เป็น "มุมมองทางสังคมต่อ ข" ชื่อเรื่องที่เป็นกลางส่งเสริมหลายมุมมองและการเขียนบทความอย่างมีความรับผิดชอบ

โครงสร้างบทความ

โครงสร้างภายในของบทความอาจต้องการความสนใจเพิ่มเติม เพื่อปกป้องความเป็นกลางและเพื่อเลี่ยงปัญหาอย่างการแบ่งมุมมองและน้ำหนักไม่เหมาะสม เนื่องจากมีกฎว่า โครงสร้างบทความเฉพาะไม่ถูกห้าม จึงต้องใส่ใจเพื่อรับประกันว่าการนำเสนอโดยรวมเป็นกลางในมุมกว้าง

การแบ่งแยกข้อความหรือเนื้อหาอื่นเป็นส่วนหรือส่วนย่อยต่าง ๆ โดยยึดมุมมองปรากฏของเนื้อหาเองอย่างเดียว อาจส่งผลให้เกิดโครงสร้างที่ไม่เป็นสารานุกรมได้ เช่น บทสนทนาโต้ตอบระหว่างผู้สนับสนุนและผู้คัดค้าน นอกจากนี้ ยังสร้างลำดับขั้นข้อเท็จจริงปรากฏซึ่งรายละเอียดในข้อความหลักดู "จริง" และ "ไม่มีข้อพิพาท" ขณะที่เนื้อหาที่แบ่งแยกอื่นดู "มีการโต้แย้ง" และฉะนั้นจึงมีแนวโน้มเป็นเท็จมากกว่า ลองปรับมุมมองให้เป็นกลางยิ่งขึ้นโดยขมวดการอภิปรายเป็นส่วนบรรยาย แทนที่จะแยกข้อความเป็นส่วนซึ่งเพิกเฉยหรือต่อสู้กัน

ให้ความสนใจส่วนหัว เชิงอรรถและส่วนจัดรูปแบบอื่นที่อาจสนับสนุนมุมมองหนึ่งเกินไป และระวังแง่มุมโครงสร้างหรือลีลาที่อาจทำให้ผู้อ่านประเมินความน่าเชื่อถือของมุมมองทั้งหมดที่สัมพันธ์และเกี่ยวข้องอย่างยุติธรรมและเสมอภาคได้ยาก

น้ำหนักเหมาะสมและไม่เหมาะสม

ความเป็นกลางกำหนดให้แต่ละบทความหรือหน้าอื่นในเนมสเปซบทความนำเสนอทุกมุมมองสำคัญที่แหล่งที่มาที่น่าเชื่อถือจัดพิมพ์ เป็นสัดส่วนกับความโดดเด่นของแต่ละมุมมองในแหล่งที่มาที่น่าเชื่อถือตีพิมพ์ การให้น้ำหนักที่เหมาะสมและเลี่ยงการให้น้ำหนักที่ไม่เหมาะสม หมายความว่า บทความไม่ควรให้มุมมองหรือความเชื่อข้างน้อยมีคำอธิบายละเอียดหรือมากเท่ามุมมองที่ยึดถือกันอย่างกว้างขวางหรือความเชื่อที่ได้รับการสนับสนุนเป็นวงกว้าง โดยทั่วไป มุมมองฝ่ายข้างน้อยอย่างยิ่งไม่ควรรวมอยู่โดยสิ้นเชิง ยกเว้น อาจใน "ดูเพิ่ม" ไปยังบทความเกี่ยวกับมุมมองเฉพาะเหล่านั้น ตัวอย่างเช่น บทความโลก ไม่ควรกล่าวถึงการสนับสนุนมโนทัศน์โลกแบนสมัยใหม่ อันเป็นมุมมองฝ่ายข้างน้อยที่โดดเด่น การทำเช่นนั้นจะให้น้ำหนักไม่เหมาะสมแก่มุมมองนั้น

น้ำหนักไม่เหมาะสมสามารถให้ได้หลายทาง เช่น ความลึกของรายละเอียด คุณภาพข้อความ ความเด่นของการจัดวาง และการวางถ้อยแถลงเทียบเคียง ในบทความที่เกี่ยวข้องกับมุมมองฝ่ายข้างน้อยอย่างเจาะจง มุมมองดังกล่าวอาจได้รับความสนใจและพื้นที่มากขึ้น ทว่า หน้าเหล่านั้นยังควรอ้างอิงอย่างเหมาะสมถึงมุมมองฝ่ายข้างมากเมื่อมีความสัมพันธ์และต้องไม่นำเสนอเนื้อหาจากทัศนะฝ่ายข้างน้อยโดยเคร่งครัด ควรให้ชัดเจนเจาะจงว่าข้อความส่วนใดอธิบายมุมมองฝ่ายข้างน้อย นอกเหนือจากนี้ มุมมองฝ่ายข้างมากควรอธิบายในรายละเอียดเพียงพอเพื่อให้ผู้อ่านสามารถเข้าใจว่ามุมมองฝ่ายข้างน้อยแตกต่างจากมุมมองนั้นอย่างไร และข้อโต้เถียงเกี่ยวกับมุมมองของฝ่ายข้างน้อยควรระบุและอธิบายให้ชัดเจน ต้องการรายละเอียดมากเพียงใดนั้นขึ้นอยู่กับหัวเรื่อง ตัวอย่างเช่น บทความว่าด้วยมุมมองในอดีต เช่น โลกแบน ซึ่งมีผู้สนับสนุนสมัยใหม่น้อยหรือไม่มีเลย อาจระบุฐานะสมัยใหม่โดยย่อ แล้วค่อยอภิปรายประวัติศาสตร์ของความคิดนั้นในรายละเอียด ซึ่งนำเสนอประวัติศาสตร์ของความเชื่อที่ปัจจุบันเสื่อมความน่าเชื่อถือแล้วอย่างเป็นกลาง มุมมองฝ่ายข้างน้อยอื่นอาจต้องการการพรรณนามุมมองฝ่ายข้างมากอย่างกว้างขวางเพื่อเลี่ยงการชี้นำผู้อ่านให้เข้าใจผิด

วิกิพีเดียไม่ควรนำเสนอข้อพิพาทราวกับว่ามุมมองที่ฝ่ายข้างน้อยจำนวนน้อยถือสมควรได้รับความสนใจโดยรวมมากเท่ากับมุมมองฝ่ายข้างมาก มุมมองที่ฝ่ายข้างน้อยอย่างยิ่งถือไม่ควรนำเสนอเลย ยกเว้นในบทความสำหรับมุมมองเหล่านั้นโดยเฉพาะ (เช่น โลกแบน) การให้น้ำหนักไม่เหมาะสมแก่ฝ่ายข้างน้อยที่สำคัญ หรือรวมมุมมองของฝ่ายข้างน้อยอย่างยิ่ง อาจชี้นำให้เข้าใจผิดถึงสภาพของข้อพิพาท วิกิพีเดียมุ่งนำเสนอมุมมองที่ค้านกันเป็นสัดส่วนกับการนำเสนอในแหล่งที่มาที่น่าเชื่อถือเกี่ยวกับหัวเรื่อง ซึ่งมิได้ใช้กับข้อความบทความเท่านั้น แต่ยังรวมถึงภาพ วิกิลิงก์ แหล่งข้อมูลอื่น หมวดหมู่และเนื้อหาอื่นทั้งหมดด้วย

จาก จิมโบ เวลส์, ถอดความจากโพสต์เมื่อเดือนกันยายน 2546 ในบัญชีจ่าหน้า WikiEN-l
  • ถ้ามุมมองเป็นมุมมองหลัก น่าจะเป็นการง่ายที่จะเขียนอ้างอิงไปถึงหนังสือที่เป็นที่ยอมรับกัน
  • ถ้ามุมมองเป็นมุมมองข้างน้อย แต่มีจำนวนผู้เชื่อถือมากระดับหนึ่ง น่าจะเป็นการง่ายที่เราจะอ้างถึงผู้สนับสนุนหลัก
  • ถ้ามุมมองเป็นมุมมองข้างน้อย ที่มีผู้เชื่อถือจำนวนน้อยมาก (หรือมีจำนวนจำกัดอย่างยิ่ง) มุมมองนั้นไม่สมควรจะมีอยู่ในวิกิพีเดีย (นอกเสียจากในบางบทความสนับสนุน) ไม่ว่ามุมมองนั้นจะจริงหรือไม่ หรือว่าคุณจะสามารถพิสูจน์มันได้หรือไม่

อคติ

การลำเอียงนั้นไม่จำเป็นต้องเกิดอย่างตั้งใจ ตัวอย่างเช่น ผู้เริ่มต้นในบางสาขาอาจพลาดที่จะตระหนักว่าความเชื่อที่ดูเหมือนสามัญทั่วไปนั้น ได้มีอคติแฝงอยู่ หรือมีการลำเอียงไปยังมุมมองบางมุม (ดังนั้นบ่อยครั้งเราจึงต้องการผู้เชี่ยวชาญ เพื่อที่จะปรับแต่งให้บทความนั้นปราศจากอคติ) อีกตัวอย่างเช่น นักเขียนอาจ (โดยไม่ได้ตั้งใจ) สร้างอคติที่ขึ้นกับภูมิศาสตร์ เช่น อาจเขียนถึงการโต้แย้งในรูปแบบ ที่เกิดขึ้นเกิดขึ้นในประเทศหนึ่ง โดยไม่ทราบว่า การโต้แย้งดังกล่าวอาจมีรูปแบบที่แตกต่างไปในที่อื่น ๆ

นโยบายที่ให้บทความนั้นมีมุมมองที่เป็นกลางนั้น ไม่ได้มีเป้าหมายที่จะ ซ่อน มุมมองที่แตกต่างกัน แต่เพื่อจะแสดงความหลากหลายของมุมมอง ในกรณีบทความที่มีการโต้เถียงอย่างรุนแรง ประเด็นที่แข็งและประเด็นที่อ่อนจะมีการอธิบายถึงไปตามแต่ละมุมมอง โดยไม่มีการเข้าข้างมุมมองใด มุมมองหนึ่ง มุมมองที่เป็นกลางไม่ใช่นโยบายแบบแยกแยะแต่เท่าเทียม ข้อเท็จจริงนั้น โดยตัวมันเองแล้ว เป็นกลาง แต่แค่การนำเอาข้อเท็จจริงมารวมกันนั้น ไม่สามารถเป็นมุมมองที่เป็นกลางได้ แม้ว่าบทความจะประกอบด้วยข้อเท็จจริง แต่ถ้ามีแต่ข้อเท็จจริงที่เอื้อประโยชน์ให้กับมุมมองใดมุมมองหนึ่ง บทความนั้นก็ไม่จัดว่าเป็นกลางเช่นกัน

ความหมายอย่างง่าย

บางครั้งเราจะให้คำอธิบายอีกรูปแบบหนึ่งของนโยบายการปราศจากอคติ: อธิบายข้อเท็จจริง รวมถึงข้อเท็จจริงเกี่ยวกับความคิดเห็น แต่อย่ายืนยันในความคิดเห็นนั้น ๆ ข้อเท็จจริง กับค่านิยมหรือความคิดเห็น นั้นไม่เหมือนกัน สำหรับข้อเท็จจริงนั้น เราจะหมายถึง "ชิ้นข้อมูลที่ไม่มีการถกเถียงอย่างรุนแรง" ในความหมายนี้ การที่แบบสอบถามชี้ให้เห็นผลบางอย่างนั้นคือข้อเท็จจริง การที่ดาวอังคารเป็นดาวเคราะห์เป็นข้อเท็จจริง การที่โสกราตีสเป็นนักปรัชญาเป็นข้อเท็จจริง ไม่มีใครจะโต้แย้งข้อมูลดังกล่าว ดังนั้นเราจึงสามารถจะ ยืนยัน ข้อมูลลักษณะนี้ได้มากเท่าที่ต้องการ

ในทางกลับกัน ค่านิยมหรือความคิดเห็นนั้น เราหมายถึง "ชิ้นข้อมูลที่มีการถกเถียงอยู่" แน่นอนว่ามีหลาย ๆ กรณีที่อยู่ตรงกลางเกณฑ์นี้ ซึ่งเราไม่แน่ใจว่าเราควรจะนำข้อโต้แย้งนั้นมาพิจารณาอย่างจริงจังหรือไม่ แต่มีข้อยืนยันหลาย ๆ ชิ้นที่เป็นการแสดงความคิดเห็นอย่างชัดเจน ที่ว่าการขโมยนั้นเป็นสิ่งที่ไม่ถูกนั้นเป็นค่านิยมหรือความคิดเห็น ที่ว่าเดอะ บีเทิลส์เป็นวงดนตรีที่ยิ่งใหญ่ที่สุดนั้นเป็นค่านิยมหรือความเห็น ที่ว่าสหรัฐนั้นทำไม่ถูกที่ทิ้งระเบิดปรมาณูที่ฮิโรชิมาและนางาซากินั้นเป็นค่านิยมหรือความคิดเห็น ที่ว่าพระเจ้ามีจริง ... นี่อาจเป็นกรณีที่ยุ่งยากสักหน่อย การที่พระเจ้ามีอยู่หรือไม่ ไม่ใช่ปัญหาเกี่ยวกับข้อเท็จจริง หรือปัญหาเกี่ยวกับค่านิยม แต่เมื่อข้อเท็จจริงนั้นเป็นสิ่งที่โดยแก่นแท้แล้วเข้าถึงไม่ได้ เท่าที่คนเราทราบ การที่พระเจ้ามีจริงหรือไม่ จึงนำไปวางอยู่ในกลุ่มของค่านิยมหรือความคิดเห็น การยืนยันว่า "การมีอยู่ของพระเจ้าเป็นความคิดเห็น" แม้ว่าจะเป็นประเด็นที่อาจเกิดความอ่อนไหวได้ แสดงให้เห็นว่าเราไม่ได้ถกเถียงกันเกี่ยวกับเรื่องของข้อเท็จจริง (หลังสมัยใหม่นิยม หรือ อไญยนิยมแบบรุนแรง) หรือเรื่องนี้เป็นเรื่องที่ไม่สำคัญ (แนวคิดแบบโลกวิสัย)

วิกิพีเดียนั้นมีเป้าหมายที่จะระบุข้อเท็จจริงและเฉพาะข้อเท็จจริงเท่านั้น ในส่วนที่เราต้องการระบุความคิดเห็น เราจะเปลี่ยนความคิดเห็นนั้นให้เป็นข้อเท็จจริง โดยการให้ที่มาของความคิดเห็นนั้น ดังนั้น แทนที่จะกล่าวว่า "เดอะ บีเทิลส์เป็นวงดนตรีที่ยิ่งใหญ่ที่สุด" เราจะกล่าวว่า "ชาวอเมริกันส่วนใหญ่เชื่อว่าเดอะ บีเทิลส์เป็นวงดนตรีที่ยิ่งใหญ่ที่สุด" ซึ่งเป็นข้อเท็จจริงที่ตรวจสอบด้วยผลการสำรวจ หรืออาจกล่าวว่า "เดอะ บีเทิลส์มีเพลงติดชาร์ตเพลงยอดนิยมมากมาย" ซึ่งก็เป็นข้อเท็จจริงเช่นเดียวกัน ในตัวอย่างแรก เรากล่าวถึงความคิดเห็น ตัวอย่างที่สองและสามเปลี่ยนความคิดเห็นนั้นให้เป็นข้อเท็จจริง โดยการระบุที่มาของข้อคิดเห็นนั้น อย่างไรก็ตาม รูปแบบที่เราใช้นี้แตกต่างกับรูปแบบ "มีคนเชื่อว่า..." ที่พบบ่อยในข้อโต้เถียงทางการเมือง การอ้างอิงบุคคลของเรานั้นจะต้องเป็น กลุ่มประชากรที่ระบุได้อย่างชัดเจน หรือไม่ก็ต้องเป็น การระบุชื่อ

ในการนำเสนอความคิดเห็นนั้น บางครั้งเราจะต้องตระหนักด้วยว่ายังมีความเห็นที่ไม่ตรงกันอยู่ เกี่ยวกับการวิธีการระบุความคิดเห็น บางครั้งเราอาจจำเป็นต้องระบุรายละเอียดของความคิดเห็นนั้นให้ชัดเจน หรือไม่ก็ต้องนำเสนอความคิดเห็นนั้นในหลาย ๆ รูปแบบ เพื่อที่จะทำให้ได้ผลลัพธ์ที่นำเสนอมุมมองสำคัญอย่างเป็นธรรมของสถานการณ์ (ข้อโต้เถียงทางปรัชญาและทางเทววิทยานั้น ยากเป็นพิเศษในการที่จะอธิบายในรูปแบบที่ปราศจากความลำเอียง หน้าเหล่านั้นจะต้องระวัง ดังเช่นในตัวอย่างข้างต้นที่เกี่ยวกับปัญหาการมีอยู่ของพระเจ้า)

อย่างไรก็ตาม มันไม่เพียงพอที่จะบอกว่านโยบายการไม่มีอคติของวิกิพีเดีย คือการระบุข้อเท็จจริงและงดเว้นความคิดเห็น เมื่อยืนยันข้อเท็จจริง เกี่ยวกับความคิดเห็น แล้ว เป็นสิ่งที่สำคัญที่เราต้องยืนยันข้อเท็จจริง เกี่ยวกับความคิดเห็นตรงข้าม ด้วยเช่นกัน ซึ่งต้องกระทำโดยไม่ทำให้มีการสื่อความหมายว่ามุมมองใดเหล่านี้เป็นมุมมองที่ถูกต้อง เป็นสิ่งที่ค่อนข้างสำคัญที่จะต้องระบุข้อเท็จจริงเกี่ยวกับเหตุผลเบื้องหลังในคิดต่าง ๆ เหล่านั้น และชี้ให้เห็นอย่างชัดเจนว่ามุมมองนี้เป็นของใคร (ส่วนใหญ่แล้ว วิธีที่ดีที่สุดก็คือการอ้างถึงตัวแทน ที่โดดเด่นของมุมมองเหล่านั้น) นี่คือหลักการสำคัญของนโยบายการเขียนแบบเป็นกลาง (Neutral Point of View หรือ NPOV) ที่วิกิพีเดียใช้

สรุปหลักการ NPOV:

  • แยกข้อเท็จจริงออกจากความคิดเห็น: ข้อเท็จจริงคือข้อมูลที่พิสูจน์ได้และไม่มีข้อโต้แย้ง ในขณะที่ความคิดเห็นเป็นมุมมองส่วนบุคคลหรือกลุ่มบุคคล
  • นำเสนอข้อเท็จจริงอย่างตรงไปตรงมา: ไม่บิดเบือนหรือตัดทอนข้อเท็จจริงเพื่อสนับสนุนความคิดเห็นใดความคิดเห็นหนึ่ง
  • นำเสนอความคิดเห็นอย่างเป็นกลาง: เมื่อกล่าวถึงความคิดเห็น ควรระบุที่มาของความคิดเห็นนั้นอย่างชัดเจน (เช่น "ตามผลสำรวจ...", "นักวิจารณ์กล่าวว่า...") และหลีกเลี่ยงการใช้ภาษาที่แสดงความเห็นชอบหรือไม่เห็นชอบ
  • นำเสนอความคิดเห็นที่หลากหลาย: เมื่อมีมุมมองที่แตกต่างกัน ควรนำเสนอทุกมุมมองอย่างเป็นธรรมและให้พื้นที่เท่าเทียมกัน โดยไม่ชี้นำว่ามุมมองใดถูกต้องกว่า

ตัวอย่างการนำเสนอข้อมูลตามหลักการ NPOV:

  • ไม่เป็นกลาง: "เดอะ บีเทิลส์เป็นวงดนตรีที่ยิ่งใหญ่ที่สุด"
  • เป็นกลาง: "เดอะ บีเทิลส์เป็นหนึ่งในวงดนตรีที่ประสบความสำเร็จและมีอิทธิพลมากที่สุดในประวัติศาสตร์ดนตรี โดยมียอดขายอัลบั้มและซิงเกิลรวมกันมากกว่า 600 ล้านชุดทั่วโลก"

ข้อควรระวัง:

  • ประเด็นที่ละเอียดอ่อน: ในบางประเด็นที่ละเอียดอ่อน เช่น ศาสนา การเมือง หรือประวัติศาสตร์ อาจเป็นเรื่องยากที่จะแยกข้อเท็จจริงออกจากความคิดเห็นได้อย่างชัดเจน ในกรณีนี้ ควรระมัดระวังในการนำเสนอข้อมูล และพยายามอ้างอิงแหล่งที่มาที่หลากหลายและน่าเชื่อถือ
  • ความเป็นกลางไม่ใช่ความเฉยเมย: การนำเสนอข้อมูลอย่างเป็นกลางไม่ได้หมายความว่าเราต้องเพิกเฉยต่อความอยุติธรรมหรือความไม่ถูกต้อง หากมีหลักฐานที่ชัดเจนว่าข้อมูลใดเป็นเท็จหรือทำให้เข้าใจผิด ควรนำเสนอข้อเท็จจริงนั้นอย่างชัดเจน

การเขียนแบบเป็นกลางเป็นสิ่งสำคัญในการสร้างสรรค์เนื้อหาที่น่าเชื่อถือและเป็นประโยชน์ต่อผู้อ่าน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในยุคที่ข้อมูลข่าวสารมีอยู่มากมายและเต็มไปด้วยความคิดเห็นที่หลากหลาย

องค์ประกอบที่สำคัญ "การค้นคว้า"

การโต้เถียงหลาย ๆ ครั้ง สามารถแก้ไขได้โดยการค้นคว้าหาข้อมูลที่ดี ข้อเท็จจริงสามารถหาคำตอบได้โดยการค้นคว้า ไม่ใช่การสร้างความเห็นขึ้นมาใหม่ วิธีการที่จะหลีกเลี่ยงข้อความที่เอียงไปทางบางมุมมองคือการหาแหล่งข้อมูลที่เชื่อถือได้ โดยผู้เขียนบทความควรจะเขียน"แหล่งอ้างอิง" ไว้ที่ท้ายบทความเพื่อบอกถึงผู้เขียนคนอื่นและผู้อ่านไว้ การค้นคว้าหาข้อมูลที่ดีเป็นกุญแจสำคัญในการแก้ไขความขัดแย้งและสร้างความเข้าใจที่ถูกต้อง ข้อมูลที่เป็นข้อเท็จจริงจากแหล่งที่เชื่อถือได้ช่วยให้เราหลีกเลี่ยงความคิดเห็นส่วนตัวหรืออคติที่อาจนำไปสู่ความขัดแย้งได้ การอ้างอิงแหล่งที่มาเป็นสิ่งสำคัญอย่างยิ่งในการเขียนบทความหรือเนื้อหาใดๆ เพราะแสดงความน่าเชื่อถือ การอ้างอิงแหล่งที่มาที่น่าเชื่อถือช่วยเพิ่มความน่าเชื่อถือให้กับงานเขียนของคุณ แสดงให้เห็นว่าได้ทำการค้นคว้าและไม่ได้เขียนขึ้นมาลอยๆ ให้เกียรติเจ้าของผลงาน: การอ้างอิงแหล่งที่มาเป็นการให้เกียรติเจ้าของผลงานเดิม และเป็นการแสดงความซื่อสัตย์ทางวิชาการ ช่วยในการตรวจสอบ การอ้างอิงแหล่งที่มาช่วยให้ผู้อ่านสามารถตรวจสอบข้อมูลที่นำเสนอได้ ทำให้ผู้อ่านมั่นใจในความถูกต้องของข้อมูลมากขึ้น เพิ่มความลึกซึ้ง การอ้างอิงแหล่งที่มาที่หลากหลายช่วยเพิ่มมิติและความลึกซึ้งให้กับงานเขียน ทำให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ครบถ้วนและหลากหลายมุมมอง ดังนั้น การอ้างอิงแหล่งที่มาจึงเป็นสิ่งที่ไม่ควรมองข้ามในการเขียนบทความหรือเนื้อหาใดๆ ที่ต้องการนำเสนอข้อมูลที่ถูกต้องและน่าเชื่อถือ

ความเสมอภาค และน้ำเสียงที่เห็นอกเห็นใจ

ถ้าเราจะอธิบายการโต้แย้งอย่างเสมอภาค เราจะต้องนำเสนอมุมมองที่ขัดแย้งกันด้วยน้ำเสียงเชิงบวก และเห็นอกเห็นใจ อย่างคงเส้นคงวา บทความหลาย ๆ บทความกลายเป็นเพียงแค่การแสดงความเห็นของคนกลุ่มหนึ่ง แม้ว่า จะนำเสนอมุมมองทั้งสองด้าน แม้ว่าหัวข้อจะได้รับการนำเสนอในเชิงข้อเท็จจริงแล้วก็ตาม บทความนั้นก็ยังสามารถแสดงมุมมองของผู้เขียนออกมาได้ ผ่านทางการคัดสรรข้อเท็จจริงที่นำมาแสดง หรือผ่านทางลำดับการนำเสนอ ยกตัวอย่างเช่น การปฏิเสธมุมมองตรงกันข้ามไปเรื่อย ๆ ในบทความสามารถทำให้มุมมองเหล่านั้นดูแย่ไปกว่าการแบ่งแยกเนื้อหาออกเป็นส่วน ๆ ตามมุมมอง

เราควรจะเขียนบทความด้วยน้ำเสียงที่แสดงว่า ทุก ๆ จุดยืน ที่ได้นำเสนอไป สามารถเป็นไปได้ โดยคำนึงถึงข้อจำกัดเกี่ยวกับมุมมองของคนกลุ่มเล็กมากด้วย มาช่วยกันนำเสนอมุมมองสำคัญ ที่อาจขัดแย้งกันอย่างเห็นอกเห็นใจ เราสามารถเขียนด้วยความรู้สึกว่าอะไรบางอย่างนั้นเป็นความคิดที่ดี เพียงแต่ว่าในมุมมองของคนที่ไม่เห็นด้วย กลุ่มคนที่เชื่อเช่นนั้นมองข้ามประเด็นบางอย่างไป ความท้าทายในการรักษาความเป็นกลาง:

  • อคติในการเลือกข้อมูล: การเลือกนำเสนอเฉพาะข้อเท็จจริงบางส่วน ในขณะที่ละเลยส่วนอื่น ๆ สามารถมีอิทธิพลต่อการรับรู้ของผู้อ่านอย่างแนบเนียน แม้ว่าข้อมูลที่นำเสนอจะเป็นข้อเท็จจริงก็ตาม
  • ลำดับการนำเสนอ: ลำดับในการนำเสนอข้อมูลสามารถสร้างลำดับชั้นความสำคัญ ซึ่งอาจทำให้เกิดความลำเอียงต่อมุมมองใดมุมมองหนึ่งได้
  • ภาษาและน้ำเสียง: การเลือกใช้คำและน้ำเสียงที่ละเอียดอ่อนสามารถบ่งบอกถึงอคติได้ ตัวอย่างเช่น การใช้ภาษาเชิงบวกสำหรับมุมมองหนึ่งและภาษาเชิงลบสำหรับอีกมุมมองหนึ่ง
  • การโต้แย้ง: การโต้แย้งมุมมองที่ขัดแย้งกันอย่างต่อเนื่องสามารถทำให้มุมมองนั้นดูอ่อนแอลง แม้ว่าการโต้แย้งนั้นจะถูกต้องตามความเป็นจริงก็ตาม

กลยุทธ์เพื่อการนำเสนอข้อมูลที่เท่าเทียม:

  1. การค้นคว้าอย่างครอบคลุม: รวบรวมข้อมูลจากแหล่งข้อมูลที่หลากหลายและน่าเชื่อถือ ซึ่งเป็นตัวแทนของทุกฝ่ายในประเด็นนั้น
  2. การเลือกและการนำเสนอข้อมูลที่สมดุล:
    • รวมประเด็นสำคัญและหลักฐานจากทุกมุมมอง
    • ให้ความสำคัญกับแต่ละมุมมองอย่างเท่าเทียมกัน ทั้งในแง่ของเนื้อที่และความลึกซึ้งของข้อมูล
    • พิจารณาสลับมุมมองระหว่างกัน หรือ นำเสนอมุมมองต่างๆ ในส่วนที่แยกจากกัน
  3. ใช้ภาษาที่เป็นกลาง:
    • ใช้ภาษาที่เป็นกลางและเป็นข้อเท็จจริง
    • หลีกเลี่ยงคำและวลีที่แสดงความหมายในเชิงบวกหรือลบอย่างชัดเจน
    • รักษาโทนเสียงให้สอดคล้องกันตลอดทั้งบทความ
  4. การโต้แย้งอย่างเคารพ (ถ้าจำเป็น):
    • หากต้องการโต้แย้งมุมมองใด ให้ทำอย่างสุภาพและใช้ข้อเท็จจริง
    • ยอมรับความถูกต้องของข้อโต้แย้งของฝ่ายตรงข้าม ในขณะที่นำเสนอหลักฐานโต้แย้ง
  5. รูปแบบที่มีโครงสร้าง: พิจารณาใช้รูปแบบที่มีโครงสร้าง เช่น รายการ "ข้อดีและข้อเสีย" หรือการเปรียบเทียบแบบจุดต่อจุด เพื่อให้มั่นใจว่าการนำเสนอมีความยุติธรรมและสมดุล
  6. ผู้เขียน/บรรณาธิการหลายคน: หากเป็นไปได้ ให้ melibatkan ผู้เขียนหรือบรรณาธิการหลายคนที่มีมุมมองที่หลากหลาย เพื่อตรวจสอบบทความและระบุอคติที่อาจเกิดขึ้นได้

การนำกลยุทธ์เหล่านี้ไปปฏิบัติ จะทำให้เราสามารถสร้างบทความที่ไม่เพียงแต่ถูกต้องตามข้อเท็จจริง แต่ยังยุติธรรม สมดุล และเป็นตัวแทนของมุมมองที่หลากหลายได้อย่างแท้จริง ซึ่งจะส่งเสริมให้เกิดการพูดคุยเกี่ยวกับประเด็นที่ซับซ้อนได้อย่างสร้างสรรค์และมีข้อมูลที่ครบถ้วนมากยิ่งขึ้น

ดูเพิ่ม

อ้างอิง