กองทัพภาคที่ 3

ส่วนกำลังรบของกองทัพบกไทย

กองทัพภาคที่ 3 (ทภ.3) ของกองทัพบกไทย ได้รับการก่อตั้งเมื่อวันที่ 20 สิงหาคม พ.ศ. 2445 รับผิดชอบพื้นที่ภาคเหนือทั้งหมด และภาคกลางในบางส่วน ตั้งกองบัญชาการที่ค่ายสมเด็จพระนเรศวรมหาราช ตำบลบ้านคลอง อำเภอเมืองพิษณุโลก จังหวัดพิษณุโลก

กองทัพภาคที่ 3
ตราประจำกองทัพภาคที่ 3
ประจำการกองทัพที่ 2 (2454 – 2460, 2472 – 2493)
กองทัพทหารบกที่ 7 (2460 – 2464)
กองทัพที่ 3 (2464 – 2472)
ภาคทหารบกที่ 3 (2493 – 2501)
กองทัพภาคที่ 3 (2501 – ปัจจุบัน)
ประเทศ ไทย
ขึ้นต่อพระมหากษัตริย์ไทย
เหล่า กองทัพบกไทย
รูปแบบผสมเหล่า
กำลังรบกองทัพ
ขึ้นกับกองทัพบกไทย
กองบัญชาการค่ายสมเด็จพระนเรศวรมหาราช ตำบลบ้านคลอง อำเภอเมืองพิษณุโลก จังหวัดพิษณุโลก 65000
วันสถาปนา20 สิงหาคม
ปฏิบัติการสำคัญกรณีพิพาทกู่เต็งนาโย่ง
เว็บไซต์http://www.army3.mi.th/home.php
ผู้บังคับบัญชา
ผู้บัญชาการปัจจุบันพลโท ประสาน แสงศิริรักษ์
ผบ. สำคัญพลโท พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าคำรบ (ผู้บัญชาการคนแรก)
พลเอก ประพันธ์ กุลพิจิตร
พลเอก สำราญ แพทยกุล
พลเอก ทนงศักดิ์ อภิรักษ์โยธิน
พลเอก ปรีชา จันทร์โอชา

ประวัติ

ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เมืองแพร่อยู่ในฐานะเป็นเมืองประเทศราช มีเจ้าพิริยเทพวงษ์ เป็นเจ้าผู้ครองนครแพร่ เมื่อวันที่ 25 กรกฎาคม พ.ศ. 2445 ได้เกิดกลุ่มโจรเงี้ยวประมาณ 40 คน สมทบกับกลุ่มโจรเงี้ยวบ้านป่าผึ้ง พร้อมอาวุธปืนยกกำลังเข้ายึดโรงพักตำรวจภูธรเมืองแพร่, โรงไปรษณีย์โทรเลข, บ้านข้าหลวง, ที่ว่าการเมืองแพร่, ศาล และคุก เมื่อทำการสำเร็จ มีพวกเงี้ยวกับนักโทษที่ได้รับการปลดปล่อยออกมาเข้าสมทบอีกประมาณ 400 คน ได้ก่อการวุ่นวายรุนแรงมากยิ่งขึ้น โดยแยกกันเป็นหมู่เข้าปล้นบ้านคนไทย จับพระยาไชยบูรณ์ ข้าหลวงกำกับการเมืองแพร่ และจับราษฎรตลอดจนเด็กที่เป็นคนไทยภาคกลางมาเข่นฆ่าอย่างทารุณ จากนั้นได้ยกกำลังเข้าปล้นเมืองลำปาง และส่วนหนึ่งยกมาสกัดกั้นกองทัพไทยที่บริเวณเขาพลึง บริเวณชายแดนเมืองแพร่ต่ออุตรดิตถ์

วันที่ 6 สิงหาคม พ.ศ. 2445 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งให้พลโท เจ้าพระยาสุรศักดิ์มนตรี (เจิม แสง-ชูโต) เป็นแม่ทัพใหญ่คุมกองทหารจากกรุงเทพฯ และราชบุรี จำนวน 8 กองพัน ยกไปปราบกลุ่มโจรเงี้ยวที่เมืองแพร่และลำปาง และทรงโปรดเกล้าฯ ให้ผู้ว่าราชการเมืองพิชัย, ผู้ว่าราชการเมืองสุโขทัย, ผู้ว่าราชการเมืองตาก และผู้ว่าราชการเมืองพิษณุโลกคุมไพร่พลยกไปล่วงหน้า

วันที่ 20 สิงหาคม พ.ศ. 2445 กองทัพของพลโท เจ้าพระยาสุรศักดิ์มนตรี (เจิม แสง-ชูโต) เดินทางไปถึงเมืองแพร่ ต่อมาได้จัดการสอบสวนจับกุมผู้กระทำผิด หรือสมคบกระทำผิดเพื่อส่งฟ้องศาลเป็นที่เรียบร้อย และส่งให้กองกำลังเมืองต่างๆ ที่ไม่มีความจำเป็นกลับภูมิลำเนาเดิม ทําให้เกิดความสงบเรียบร้อยกลับคืนมา กองทัพภาคที่ 3 จึงยึดเอาวันที่ 20 สิงหาคมเป็นวันสถาปนากองทัพภาคที่ 3 ของทุกปี[1]

นับตั้งแต่วันที่ 20 สิงหาคม พ.ศ. 2445 กองทัพภาคที่ 3 มีวิวัฒนาการพัฒนาหน่วยเรื่อยมาตามลําดับ จนในปี พ.ศ. 2501 ได้แปรสภาพเป็นกองทัพภาคที่ 3 จวบจนปัจจุบัน ทั้งนี้ไปตามนโยบาย และภารกิจที่ได้รับมอบหมายจากกองทัพบก ซึ่งมีภารกิจหลัก 4 ประการ ได้แก่ การป้องกันประเทศ การรักษาความมั่นคง และความสงบเรียบร้อยภายใน การปกป้องสถาบันพระมหากษัตริย์ และการช่วยพัฒนาประเทศ[2]

หน่วยขึ้นตรง​

ส่วนบัญชาการ​​

ส่วนกำลังรบ

ส่วนสนับสนุนการช่วยรบ

ส่วนภูมิภาค

ส่วนช่วยการพัฒนาประเทศ

รายพระนามและรายนามแม่ทัพภาค

รายพระนามและรายนามแม่ทัพภาค​
ลำดับ พระนามและนาม วาระการดำรงตำแหน่ง หมายเหตุ
1 พลโท พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าคำรบ พ.ศ. 2454 - 2457 แม่ทัพกองทัพน้อยที่ 2
2 พลโท หลวงวีระโยธา (วีระ วีระโยธา) พ.ศ. 2494 - 2494
3 พลโท หลวงสวัสดิ์สรยุทธ (ดล บุนนาค) พ.ศ. 2494 - 2495
4 พลโท หลวงจุลยุทธยรรยง (ทองจุล ศุภชรัสส์) พ.ศ. 2495 - 2497
5 พลโท ครวญ สุทธานินทร์ พ.ศ. 2497 - 2499
6 พลโท ผ่อง บุญสม พ.ศ. 2499 - 2499
7 พลโท ประพันธ์ กุลพิจิตร พ.ศ. 2501 - 2506
8 พลโท อรรถ ศศิประภา พ.ศ. 2506 - 2509
9 พลโท อ่อง โพธิกนิษฐ พ.ศ. 2509 - 2512
10 พลโท สำราญ แพทยกุล พ.ศ. 2512 - 2516
11 พลโท ประสาน แรงกล้า พ.ศ. 2516 - 2517
12 พลโท ยศ เทพหัสดิน ณ อยุธยา พ.ศ. 2517 - 2518
13 พลโท สมศักดิ์ ปัญจมานนท์ พ.ศ. 2518 - 2521
14 พลโท สีมา ปาณิกบุตร พ.ศ. 2521 - 2524
15 พลโท พร้อม ผิวนวล พ.ศ. 2524 - 2526
16 พลโท เทียบ กรมสุริยศักดิ์ พ.ศ. 2526 - 2528
17 พลโท รวมศักดิ์ ไชยโกมินทร์ พ.ศ. 2528 - 2529
18 พลโท ชัยชนะ ธารีฉัตร พ.ศ. 2529 - 2530
19 พลโท ศิริ ทิวะพันธุ์ พ.ศ. 2530 - 2533
20 พลโท ไพโรจน์ จันทร์อุไร พ.ศ. 2533 - 2535
21 พลโท ยิ่งยส โชติพิมาย พ.ศ. 2535 - 2537
22 พลโท สุรเชษฐ เดชาติวงศ์ ณ อยุธยา พ.ศ. 2537 - 2538
23 พลโท ถนอม วัชรพุทธ พ.ศ. 2538 - 2541
24 พลโท สมหมาย วิชาวรณ์ พ.ศ. 2541 - 2542
25 พลโท วัธนชัย ฉายเหมือนวงศ์ พ.ศ. 2542 - 2544
26 พลโท อุดมชัย องคสิงห พ.ศ. 2544 - 2546
27 พลโท พิชาญเมธ ม่วงมณี พ.ศ. 2546 - 2548
28 พลโท สพรั่ง กัลยาณมิตร พ.ศ. 2548 - 2549
29 พลโท จิรเดช คชรัตน์ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2549 - 30 กันยายน พ.ศ. 2550
30 พลโท สำเริง ศิวาดำรงค์ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2550 - 30กันยายน พ.ศ. 2551
31 พลโท ทนงศักดิ์ อภิรักษ์โยธิน 1 ตุลาคม พ.ศ. 2551 - 30 กันยายน พ.ศ. 2553
32 พลโท วรรณทิพย์ ว่องไว 1 ตุลาคม พ.ศ. 2553 - 31 มีนาคม พ.ศ. 2555
33 พลโท ชาญชัยณรงค์ ธนารุณ 1 เมษายน พ.ศ. 2555 - 31 มีนาคม พ.ศ. 2556
34 พลโท ปรีชา จันทร์โอชา 1 เมษายน พ.ศ. 2556 - 30 กันยายน พ.ศ. 2557
35 พลโท สาธิต พิธรัตน์ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2557 - 30 กันยายน พ.ศ. 2558
36 พลโท สมศักดิ์ นิลบรรเจิดกุล 1 ตุลาคม พ.ศ. 2558 - 30 กันยายน พ.ศ. 2559
37 พลโท วิจักขฐ์ สิริบรรสพ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2559 - 30 กันยายน พ.ศ. 2561
38 พลโท ฉลองชัย ชัยยะคำ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2561 - 30 กันยายน พ.ศ. 2563
39 พลโท อภิเชษฐ์ ซื่อสัตย์ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2563 - 30 กันยายน พ.ศ. 2565[4][5]
40 พลโท สุริยะ เอี่ยมสุโร 1 ตุลาคม พ.ศ. 2565 - 30 กันยายน พ.ศ. 2566
41 พลโท ประสาน แสงศิริรักษ์ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2566 - ปัจจุบัน[6]

หมายเหตุ ยศทหารเป็นยศขณะดำรงตำแหน่งตามประกาศสํานักนายกรัฐมนตรี

ค่ายทหารที่ตั้งปกติในพื้นที่

ดูเพิ่ม

อ้างอิง

  1. "ผบ.ทบ. ร่วมวันคล้ายวันสถาปนาครบรอบ 120 ปี กองทัพภาคที่ 3". matichon online (ภาษาอังกฤษ). 2022-08-20. สืบค้นเมื่อ 2024-03-29.
  2. "history of 3rd Army Area". 3rd Army Area (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2024-03-29.
  3. กองทัพจัดตั้ง “พล.ร.7” รับมือภัยคุกคามฝั่งตะวันตก – สแกนกำลัง “ชนกลุ่มน้อย-พม่า” กับสัญญาณแรก “นะคะมวย” สืบค้นเมือ 14 พฤศจิกายน 2564
  4. ราชกิจจานุเบกษา,ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง ให้นายทหารรับราชการ หน้า ๓๑ เล่ม ๑๓๗ ตอนพิเศษ ๒๑๘ ง ๑๘ กันยายน ๒๕๖๓
  5. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานยศทหารชั้นนายพล หน้า ๑๒ เล่ม ๑๓๗ ตอนพิเศษ ๒๔ ข ๑๘ กันยายน ๒๕๖๓
  6. ราชกิจจานุเบกษา,ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง ให้นายทหารรับราชการ หน้า ๒๑ เล่ม ๑๐๔ ตอนพิเศษ ๒๐๙ ง ๓๐ สิงหาคม ๒๕๖๖