อำเภอภูเพียง
ภูเพียง (ไทยถิ่นเหนือ: ) เป็นอำเภอหนึ่งในจังหวัดน่าน เป็นที่ตั้งของวัดพระธาตุแช่แห้ง ซึ่งโบราณสถานสิ่งศักดิ์สิทธิ์คู่เมืองน่าน เป็นพระธาตุประจำปีเกิด ของคนที่เกิดปีเถาะ (ปีนักษัตรกระต่าย) และเป็นอนุสรณ์ของความรักและความสัมพันธ์ระหว่างเมืองน่านกับเมืองสุโขทัยในอดีต
อำเภอภูเพียง | |
---|---|
การถอดเสียงอักษรโรมัน | |
• อักษรโรมัน | Amphoe Phu Phiang |
วัดพระธาตุแช่แห้งในยามเย็น | |
คำขวัญ: ภูเพียงแช่แห้ง เรือแข่งล้านนา วังปลา มะไฟจีน ศิลปินพื้นบ้าน | |
แผนที่จังหวัดน่าน เน้นอำเภอภูเพียง | |
พิกัด: 18°45′42″N 100°47′17″E / 18.76167°N 100.78806°E | |
ประเทศ | ไทย |
จังหวัด | น่าน |
พื้นที่ | |
• ทั้งหมด | 508.236 ตร.กม. (196.231 ตร.ไมล์) |
ประชากร (2564) | |
• ทั้งหมด | 35,929 คน |
• ความหนาแน่น | 70.69 คน/ตร.กม. (183.1 คน/ตร.ไมล์) |
รหัสไปรษณีย์ | 55000 |
รหัสภูมิศาสตร์ | 5514 |
ที่ตั้งที่ว่าการ | ที่ว่าการอำเภอภูเพียง หมู่ที่ 3 ถนนหนองเต่า-น้ำแก่นกลาง ตำบลม่วงตึ๊ด อำเภอภูเพียง จังหวัดน่าน 55000 |
ส่วนหนึ่งของสารานุกรมประเทศไทย |
ที่ตั้งและอาณาเขต
แก้อำเภอภูเพียงมีอาณาเขตติดต่อกับเขตการปกครองข้างเคียงดังต่อไปนี้
- ทิศเหนือ ติดต่อกับอำเภอเมืองน่านและอำเภอสันติสุข
- ทิศตะวันออก ติดต่อกับอำเภอแม่จริม
- ทิศใต้ ติดต่อกับอำเภอเวียงสา
- ทิศตะวันตก ติดต่อกับอำเภอเมืองน่าน
ประวัติ
แก้เมื่อปี พ.ศ. 1896 พญาการเมือง เจ้าผู้ครองนครน่าน (องค์ที่ 5) ได้รับพระราชทานพระบรมสารีริกธาตุรวม 7 องค์ พร้อมด้วยพระพิมพ์ทองคำ 20 องค์ พระพิมพ์เงิน 20 องค์ จากพระเจ้าไสลือไทกษัตริย์แห่งกรุงสุโขทัย เถระชั้นผู้ใหญ่ พิจารณาเห็นว่า ดอยภูเพียงแช่แห้งเป็นชัยภูมิดี จึงอัญเชิญพระบรมสารีริกธาตุพร้อมด้วยพระพิมพ์ทอง พระพิมพ์เงิน ไปยังดอยภูเพียงแช่แห้ง ประจุลงในเต้าปูนทองสำริด แล้วพอกด้วยสะตาย (ปูนขาวผสมยางไม้) แล้วขุดหลุมลึก 1 วา อาราธนาพระบรมสารีริกธาตุ ประจุไว้ในหลุมกลบดินแล้วก่อเจดีย์สูง 1 วา ทับไว้อีกชั้น ในกาลต่อมาจึงย้ายเมืองวรนคร (นครน่าน) มาสร้างเมืองใหม่ขึ้นที่เชิงดอยภูเพียงแช่แห้ง ทรงขนานนามตามชื่อดอยว่า “เมืองภูเพียงแช่แห้ง” สืบมา
พญาการเมือง ปกครองเมืองใหม่นี้ได้เพียง 5 ปี ก็ถึงแก่พิราลัย พญาผากองผู้เป็นโอรส ได้ขึ้นครองเมืองสืบมาอีก 6 ปี เห็นว่าที่ตัวเมืองภูเพียงแช่แห้งเป็นที่กันดารน้ำในฤดูแล้ง ชัยภูมิริมฝั่งแม่น้ำน่านฝั่งตรงข้ามคือบริเวณห้วยไคร้ ห่างจากเดิมไปทางทิศตะวันตกประมาณ 60 เส้น เป็นที่เหมาะสมกว่า ปี พ.ศ. 1911 พญาผากองจึงได้อพยพไพร่พล ประชาชนข้ามลำน้ำน่านมาตั้งเมือง คือที่ตั้งตัวเมืองน่าน หรือจังหวัดน่านในปัจจุบัน
ต่อมาได้มีการตั้งตำบลในทิศตะวันออกของแม่น้ำน่าน เนื่องจากมีพื้นที่กว้างขวาง โดยแยกพื้นที่หมู่ 4–7 (ในขณะนั้น) ของตำบลน้ำแก่น จัดตั้งขึ้นเป็นตำบลนาปัง และแยกพื้นที่หมู่ 4–6 (ในขณะนั้น) ของตำบลท่าน้าว จัดตั้งขึ้นเป็นตำบลม่วงตึ๊ด กับแยกพื้นที่หมู่ 6–7 (ในขณะนั้น) ของตำบลฝายแก้ว จัดตั้งขึ้นเป็นตำบลเมืองจัง ในปี พ.ศ. 2490[1] และตั้งตำบลน้ำเกี๋ยน โดยแยกพื้นที่หมู่ 3, 6, 9–10 และหมู่ 12 (ในขณะนั้น) ของตำบลน้ำแก่น ในปี พ.ศ. 2533[2] ฝั่งทิศตะวันออกของแม่น้ำน่านจึงมีพื้นที่ 7 ตำบล ได้แก่ ตำบลน้ำแก่น ตำบลท่าน้าว ตำบลฝายแก้ว ตำบลนาปัง ตำบลเมืองจัง ตำบลน้ำเกี๋ยน และตำบลม่วงตึ๊ด
ต่อมากระทรวงมหาดไทยได้แยกพื้นที่ตำบลม่วงตึ๊ด ตำบลนาปัง ตำบลน้ำแก่น ตำบลน้ำเกี๋ยน ตำบลเมืองจัง ตำบลท่าน้าว และตำบลฝายแก้ว ของอำเภอเมืองน่าน ได้แบ่งพื้นที่การปกครองออกมาตั้งเป็น กิ่งอำเภอภูเพียง[3] ตามประกาศกระทรวงมหาดไทยลงวันที่ 1 มิถุนายน พ.ศ. 2540 โดยมีผลบังคับตั้งแต่วันที่ 1 กรกฎาคม ปีเดียวกัน และต่อมาได้มีพระราชกฤษฎีกายกฐานะขึ้นเป็น อำเภอภูเพียง[4] ตามประกาศกระทรวงมหาดไทยลงวันที่ 24 สิงหาคม พ.ศ. 2550 โดยให้มีผลตั้งแต่วันที่ 8 กันยายน ปีเดียวกัน ตามโครงการเฉลิมพระเกียรติเนื่องในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 80 พรรษา 5 ธันวาคม พ.ศ. 2550
การแบ่งเขตการปกครอง
แก้การปกครองส่วนภูมิภาค
แก้อำเภอภูเพียงแบ่งเขตการปกครองย่อยออกเป็น 7 ตำบล 61 หมู่บ้าน ได้แก่
ที่ | ชื่อตำบล | ตัวเมือง | อักษรโรมัน | จำนวนหมู่บ้าน | จำนวนประชากร
(ธันวาคม 2565)[5] |
---|---|---|---|---|---|
1. | ม่วงตึ๊ด | Muang Tuet | 5 | 4,233 | |
2. | นาปัง | Na Pang | 6 | 3,291 | |
3. | น้ำแก่น | Nam Kaen | 10 | 4,484 | |
4. | น้ำเกี๋ยน | Nam Kian | 5 | 2,848 | |
5. | เมืองจัง | Mueang Chang | 11 | 5,751 | |
6. | ท่าน้าว | Tha Nao | 7 | 3,235 | |
7. | ฝายแก้ว | Fai Kaeo | 17 | 11,950 |
การปกครองส่วนท้องถิ่น
แก้ท้องที่อำเภอภูเพียงประกอบด้วยองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 7 แห่ง ได้แก่
- องค์การบริหารส่วนตำบลม่วงตึ๊ด ครอบคลุมพื้นที่ตำบลม่วงตึ๊ดทั้งตำบล
- องค์การบริหารส่วนตำบลนาปัง ครอบคลุมพื้นที่ตำบลนาปังทั้งตำบล
- องค์การบริหารส่วนตำบลน้ำแก่น ครอบคลุมพื้นที่ตำบลน้ำแก่นทั้งตำบล
- องค์การบริหารส่วนตำบลน้ำเกี๋ยน ครอบคลุมพื้นที่ตำบลน้ำเกี๋ยนทั้งตำบล
- องค์การบริหารส่วนตำบลเมืองจัง ครอบคลุมพื้นที่ตำบลเมืองจังทั้งตำบล
- องค์การบริหารส่วนตำบลท่าน้าว ครอบคลุมพื้นที่ตำบลท่าน้าวทั้งตำบล
- องค์การบริหารส่วนตำบลฝายแก้ว ครอบคลุมพื้นที่ตำบลฝายแก้วทั้งตำบล
อ้างอิง
แก้- ↑ "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ตั้งตำบลในจังหวัดต่าง ๆ" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 64 (26 ง): 1114–1433. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2011-11-09. สืบค้นเมื่อ 2022-06-12. วันที่ 10 มิถุนายน พ.ศ. 2490
- ↑ "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ตั้งและเปลี่ยนแปลงเขตตำบลในท้องที่อำเภอเมืองน่าน และกิ่งอำเภอบ่อเกลือ จังหวัดน่าน" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 107 (170 ง): (ฉบับพิเศษ) 56-62. วันที่ 12 กันยายน พ.ศ. 2533
- ↑ "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง แบ่งเขตท้องที่อำเภอเมืองน่าน จังหวัดน่าน ตั้งเป็นกิ่งอำเภอภูเพียง" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 114 (พิเศษ 51 ง): 11. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2007-09-30. สืบค้นเมื่อ 2008-10-06. วันที่ 15 มิถุนายน พ.ศ. 2540
- ↑ "พระราชกฤษฎีกาตั้งอำเภอฆ้องชัย...และอำเภอเหล่าเสือโก้ก พ.ศ. ๒๕๕๐" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 124 (46 ก): 14–21. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2007-09-30. สืบค้นเมื่อ 2008-10-06. วันที่ 24 สิงหาคม พ.ศ. 2550
- ↑ "ระบบสารสนเทศเพื่อการบริหาร". stat.bora.dopa.go.th.