อำเภอหล่มสัก

อำเภอในจังหวัดเพชรบูรณ์ ประเทศไทย

หล่มสัก เป็นอำเภอหนึ่งทางตอนเหนือของจังหวัดเพชรบูรณ์ เดิมชื่อ อำเภอเมือง และอำเภอวัดป่า และเคยเป็นส่วนหนึ่งของจังหวัดหล่มศักดิ์[1] จนกระทั่งจังหวัดหล่มศักดิ์ถูกยุบรวมเข้ากับจังหวัดเพชรบูรณ์ใน พ.ศ. 2474[2] และเป็นที่ตั้งของท่าอากาศยานเพชรบูรณ์

อำเภอหล่มสัก
การถอดเสียงอักษรโรมัน
 • อักษรโรมันAmphoe Lom Sak
คำขวัญ: 
ถิ่นพ่อขุนผาเมือง ลือเลื่องมะขามหวาน ที่ตั้งศาลหลักเมืองนครบาล น้ำตกธารทิพย์มนต์ขลัง ท้องพระคลังถ้ำสมบัติ
แผนที่จังหวัดเพชรบูรณ์ เน้นอำเภอหล่มสัก
แผนที่จังหวัดเพชรบูรณ์ เน้นอำเภอหล่มสัก
พิกัด: 16°46′46″N 101°14′32″E / 16.77944°N 101.24222°E / 16.77944; 101.24222
ประเทศ ไทย
จังหวัดเพชรบูรณ์
พื้นที่
 • ทั้งหมด1,535.3 ตร.กม. (592.8 ตร.ไมล์)
ประชากร
 (2566)
 • ทั้งหมด154,518 คน
 • ความหนาแน่น101.24 คน/ตร.กม. (262.2 คน/ตร.ไมล์)
รหัสไปรษณีย์ 67110
รหัสภูมิศาสตร์6703
ที่ตั้งที่ว่าการที่ว่าการอำเภอหล่มสัก ถนนวจี ตำบลหล่มสัก อำเภอหล่มสัก จังหวัดเพชรบูรณ์ 67110
สารานุกรมประเทศไทย ส่วนหนึ่งของสารานุกรมประเทศไทย

ที่ตั้งและอาณาเขต

แก้

อำเภอหล่มสักมีอาณาเขตติดต่อกับอำเภอข้างเคียง ดังนี้

ประวัติ

แก้

หล่มศักดิ์ เดิมเป็นเมืองหนึ่งสร้างขึ้นในสมัยรัชกาลพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวหลังสงครามเจ้าอนุวงศ์ เพราะเมืองหล่ม (เก่า) ถูกทำลายไปมาก จึงย้ายมาตั้งเมืองใหม่ริมน้ำสัก จึงเรียกเมืองหล่มแห่งใหม่นี้ว่า "หล่มสัก" (แต่ทางราชการสยามสะกดว่า "หล่มศัก" หรือ "หล่มศักดิ์")[1] ครั้นเวลาต่อมาเมืองหล่มศักดิ์ได้พัฒนาขึ้นเป็นชุมชนใหญ่

ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวได้มีการจัดตั้งมณฑลเทศาภิบาลขึ้น จึงได้มีการจัดตั้งเมืองหล่มศักดิ์ (ในฐานะเขตการปกครองระดับที่สองในระบบเทศาภิบาล) ขึ้นกับมณฑลเพชรบูรณ์ตั้งแต่ พ.ศ. 2442 โดยเมืองหล่มศักดิ์ในขณะนั้นมีอาณาเขตกินไปถึงอำเภอด่านซ้าย และอำเภอวังสะพุง ครั้นวันที่ 17 เมษายน พ.ศ. 2450 จึงยกอำเภอวังสะพุงไปขึ้นกับเมืองเลยแทน[3] (ภายหลังอำเภอด่านซ้าย แยกออกเป็นอำเภอภูเรือและอำเภอนาแห้ว ส่วนอำเภอวังสะพุงแยกเป็นอำเภอภูกระดึง อำเภอภูหลวง อำเภอเอราวัณ อำเภอผาขาว และอำเภอหนองหิน ปัจจุบันขึ้นอยู่กับจังหวัดเลย) เมื่อ พ.ศ. 2459 ได้มีประกาศเปลี่ยนคำว่า "เมือง" มาเป็น "จังหวัด" เมืองหล่มศักดิ์จึงถูกเรียกว่าจังหวัดหล่มศักดิ์[1] ขณะนั้นแบ่งเขตการปกครองเป็นสองอำเภอ คือ อำเภอเมือง (ต่อมาเปลี่ยนชื่อเป็นอำเภอวัดป่าใน พ.ศ. 2460) และอำเภอหล่มเก่า[4]

จังหวัดหล่มศักดิ์มีการสร้างระบบสาธารณูปโภคต่าง ๆ เช่น ตั้งโรงเรียนประจำจังหวัด คือ โรงเรียนสัตรีจังหวัดหล่มศักดิ์[5] (ปัจจุบันคือโรงเรียนหล่มสักวิทยาคม)[6] และมีการสร้างสนามบินประจำจังหวัดหล่มศักดิ์ (ปัจจุบันคือ สนามบินสักหลง) เพราะขณะนั้นเมืองหล่มศักดิ์เป็นเมืองห่างไกลและยังไม่มีเส้นทางคมนาคม[7] การนี้ชาวจังหวัดหล่มศักดิ์ได้ร่วมกันบริจาคเงินเพื่อสร้างเครื่องบินชื่อ "จังหวัดหล่มศักดิ์ 1" ที่ตั้งชื่อเพื่อเป็นเกียรติแก่ชาวหล่มศักดิ์ที่ได้ร่วมบริจาค[8]

จังหวัดหล่มศักดิ์ถูกยุบรวมเข้ากับจังหวัดเพชรบูรณ์ เมื่อวันที่ 21 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2474[2] เพื่อประหยัดงบประมาณราชการ ต่อมา พ.ศ. 2481 ได้เปลี่ยนชื่ออำเภอวัดป่าเป็นอำเภอหล่มศักดิ์[9] หลังจากนั้นการสะกดคำว่า "หล่มศักดิ์" เป็น "หล่มสัก" เกิดขึ้นและถูกเปลี่ยนกลับหลายครั้งตั้งแต่ พ.ศ. 2484 จนใน พ.ศ. 2489 จึงสะกดว่า "หล่มสัก" สืบมา[1]

  • วันที่ 28 มกราคม 2442 ยกฐานะบริเวณเพชรบูรณ์ ตั้งขึ้นเป็นมณฑลเพชรบูรณ์ และให้ยกเมืองหล่มศักดิ์มารวมมณฑลเพชรบูรณ์ ยกเว้นเมืองเลยและเมืองแก่นท้าว (เมืองขึ้นของเมืองหล่มศักดิ์) ให้อยู่มณฑลฝ่ายเหนือ[10]
  • วันที่ 2 ตุลาคม 2447 ยกเลิกมณฑลเพชรบูรณ์ ไปอยู่ในความรับผิดชอบของข้าหลวงเทศาภิบาลมณฑลพิษณุโลก และยกเมืองเพชรบูรณ์ เมืองหล่มศักดิ์ ไปขึ้นกับมณฑลพิษณุโลก[11]
  • วันที่ 13 สิงหาคม 2448 โอนพื้นที่อำเภอด่านซ้าย มณฑลพิษณุโลก มาขึ้นกับเมืองหล่มศักดิ์[12]
  • วันที่ 9 กุมภาพันธ์ 2450 ตั้งมณฑลเพชรบูรณ์ ยกเมืองหล่มศักดิ์ให้ขึ้นมณฑลเพชรบูรณ์[13] ตามเดิม
  • วันที่ 21 เมษายน 2450 โอนพื้นที่อำเภอวังสะพุง แขวงเมืองหล่มศักดิ์ มณฑลพิษณุโลก (มณฑลเพชรบูรณ์) ไปขึ้นกับบริเวณน้ำเหือง เมืองเลย มณฑลอุดร[3]
  • วันที่ 12 กันยายน 2458 ยกเลิกมณฑลเพชรบูรณ์ ไปอยู่ในความรับผิดชอบของสมุหเทศาภิบาลมณฑลพิษณุโลก และยกเมืองเพชรบูรณ์ เมืองหล่มศักดิ์ ไปขึ้นกับมณฑลพิษณุโลก[14]
  • วันที่ 29 เมษายน 2460 เปลี่ยนแปลงชื่ออำเภอเมือง จังหวัดหล่มศักดิ์ เป็น อำเภอวัดป่า[4]
  • วันที่ 4 สิงหาคม 2472 ตั้งตำบลหนองไขว่ แยกออกจากตำบลวัดป่า[15]
  • วันที่ 31 สิงหาคม 2473 ตั้งตำบลบ้านกลาง แยกออกจากตำบลบ้านหวาย[16]
  • วันที่ 21 กุมภาพันธ์ 2474 ยุบจังหวัดหล่มศักดิ์ รวมเข้ากับท้องที่จังหวัดเพชรบูรณ์[2] และโอนพื้นที่อำเภอวัดป่า และอำเภอหล่มเก่า ของจังหวัดหล่มศักดิ์ (เดิม) ขึ้นการปกครองกับจังหวัดเพชรบูรณ์
  • วันที่ 19 กันยายน 2481 ตั้งตำบลห้วยไร่ แยกออกจากตำบลบ้านติ้ว[17]
  • วันที่ 14 พฤศจิกายน 2481 เปลี่ยนแปลงชื่ออำเภอวัดป่า จังหวัดเพชรบูรณ์ เป็น อำเภอหล่มศักดิ์[9]
  • วันที่ 13 กุมภาพันธ์ 2488 จัดตั้งเทศบาลตำบลหล่มศักดิ์ ในท้องที่ตำบลวัดป่า และตำบลตาลเดี่ยว[18]
  • วันที่ 10 มิถุนายน 2490 ตั้งตำบลลานบ่า แยกออกจากตำบลหนองไขว่ และตำบลบุ่งคล้า ตั้งตำบลบุ่งน้ำเต้า แยกออกจากตำบลบุ่งคล้า ตั้งตำบลหนองสว่างและตำบลน้ำเฮี้ย แยกออกจากตำบลฝายนาแซง ตั้งตำบลบ้านติ้ว แยกออกจากตำบลห้วยไร่ ตั้งตำบลปากช่อง แยกออกจากตำบลบ้านโสก[19]
  • วันที่ 7 กันยายน 2491 โอนพื้นที่หมู่ 3–4 (ในขณะนั้น) ของตำบลวัดป่า และบางส่วนของหมู่ที่ 1 (ในขณะนั้น) ของตำบลตาลเดี่ยว ที่อยู่ในเขตเทศบาลตำบลหล่มสัก ตั้งขึ้นเป็นตำบลหล่มสัก[20]
  • วันที่ 16 กุมภาพันธ์ 2503 โอนพื้นที่หมู่ 12 (ในขณะนั้น) ของตำบลหนองไขว่ ไปตั้งเป็นหมู่ 16 ตำบลน้ำชุน[21]
  • วันที่ 24 กันยายน 2517 ตั้งตำบลแคมป์สน แยกออกจากตำบลน้ำชุน[22]
  • วันที่ 25 สิงหาคม 2524 ตั้งตำบลทุ่งสมอ แยกออกจากตำบลแคมป์สน[23]
  • วันที่ 16 สิงหาคม 2527 เปลี่ยนแปลงเขตอำเภอเมืองเพชรบูรณ์กับอำเภอหล่มสัก โดยโอนพื้นที่หมู่ 11 บ้านจะวะสิต, หมู่ 12 บ้านธนิตคำเที่ยง และหมู่ที่ 14 บ้านริมสีม่วง ตำบลนางั่ว อำเภอเมืองเพชรบูรณ์ มาขึ้นกับตำบลทุ่งสมอ อำเภอหล่มสัก[24] เพื่อประโยชน์แก่การพัฒนาโครงการพัฒนาลุ่มน้ำเข็ก–ความมั่นคงของประเทศ
  • วันที่ 14 กันยายน 2527 แยกพื้นที่ตำบลทุ่งสมอ และตำบลแคมป์สน จากอำเภอหล่มสัก ไปตั้งเป็น กิ่งอำเภอเขาค้อ[25] และกำหนดให้ขึ้นการปกครองกับอำเภอหล่มสัก
  • วันที่ 5 พฤศจิกายน 2528 ตั้งตำบลริมสีม่วง ตั้งตำบลสะเดาะพง ตั้งตำบลหนองแม่นา และตั้งตำบลเขาค้อ แยกออกจากตำบลทุ่งสมอ[26]
  • วันที่ 11 สิงหาคม 2530 ตั้งตำบลช้างตะลูด แยกออกจากตำบลบ้านกลาง[27]
  • วันที่ 31 สิงหาคม 2531 ตั้งตำบลบ้านไร่ แยกออกจากตำบลลานบ่า[28]
  • วันที่ 15 กันยายน 2532 ตั้งตำบลเข็กน้อย แยกออกจากตำบลแคมป์สน[29]
  • วันที่ 19 มิถุนายน 2534 ยกฐานะกิ่งอำเภอเขาค้อ อำเภอหล่มสัก เป็น อำเภอเขาค้อ[25]
  • วันที่ 3 ธันวาคม 2536 ตั้งตำบลปากดุก แยกออกจากตำบลตาลเดี่ยว[30]
  • วันที่ 24 กันยายน 2538 จัดตั้งเทศบาลตำบลหล่มสัก ขึ้นเป็น เทศบาลเมืองหล่มสัก[31]
  • วันที่ 4 มกราคม 2539 ตั้งตำบลบ้านหวาย แยกออกจากตำบลบ้านโสก[32]
  • วันที่ 29 เมษายน 2547 เปลี่ยนแปลงเขตตำบลหล่มสัก ในเขตเทศบาลเมืองหล่มสัก[33]
  • วันที่ 1 กรกฎาคม 2547 ยุบสภาตำบลหนองสว่าง สภาตำบลน้ำเฮี้ย รวมกับองค์การบริหารส่วนตำบลฝายนาแซง[34]
  • วันที่ 29 กรกฎาคม 2552 จัดตั้งองค์การบริหารส่วนตำบลตาลเดี่ยว เป็น เทศบาลตำบลตาลเดี่ยว[35]

การแบ่งเขตการปกครอง

แก้
 
เทศบาลเมืองหล่มสัก
 
ไร่ในตำบลบุ่งคล้า

การปกครองท้องที่

แก้

อำเภอหล่มสักแบ่งเขตการปกครองย่อยออกเป็น 23 ตำบล 251 หมู่บ้าน ดังนี้

1. หล่มสัก (Lom Sak) ยกเลิกระบบหมู่ 13. ปากช่อง (Pak Chong) 17 หมู่บ้าน
2. วัดป่า (Wat Pa) 12 หมู่บ้าน 14. น้ำชุน (Nam Chun) 17 หมู่บ้าน
3. ตาลเดี่ยว (Tan Diao) 11 หมู่บ้าน 15. หนองไขว่ (Nong Khwai) 15 หมู่บ้าน
4. ฝายนาแซง (Fai Na Saeng) 6 หมู่บ้าน 16. ลานบ่า (Lan Ba) 18 หมู่บ้าน
5. หนองสว่าง (Nong Sawang) 4 หมู่บ้าน 17. บุ่งคล้า (Bung Khla) 14 หมู่บ้าน
6. น้ำเฮี้ย (Nam Hia) 5 หมู่บ้าน 18. บุ่งน้ำเต้า (Bung Namtao) 12 หมู่บ้าน
7. สักหลง (Sak Long) 11 หมู่บ้าน 19. บ้านกลาง (Ban Klang) 19 หมู่บ้าน
8. ท่าอิบุญ (Tha Ibun) 12 หมู่บ้าน 20. ช้างตะลูด (Chang Talut) 13 หมู่บ้าน
9. บ้านโสก (Ban Sok) 7 หมู่บ้าน 21. บ้านไร่ (Ban Rai) 6 หมู่บ้าน
10. บ้านติ้ว (Ban Tio) 12 หมู่บ้าน 22. ปากดุก (Pak Duk) 7 หมู่บ้าน
11. ห้วยไร่ (Huai Rai) 13 หมู่บ้าน 23. บ้านหวาย (Ban Wai) 7 หมู่บ้าน
12. น้ำก้อ (Nam Ko) 13 หมู่บ้าน

การปกครองส่วนท้องถิ่น

แก้

ท้องที่อำเภอหล่มสักประกอบด้วยองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 21 แห่ง ได้แก่

  • เทศบาลเมืองหล่มสัก ครอบคลุมพื้นที่ตำบลหล่มสักทั้งตำบล
  • เทศบาลตำบลตาลเดี่ยว ครอบคลุมพื้นที่ตำบลตาลเดี่ยวทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลวัดป่า ครอบคลุมพื้นที่ตำบลวัดป่าทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลฝายนาแซง ครอบคลุมพื้นที่ตำบลฝายนาแซง ตำบลหนองสว่าง และตำบลน้ำเฮี้ยทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลสักหลง ครอบคลุมพื้นที่ตำบลสักหลงทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลท่าอิบุญ ครอบคลุมพื้นที่ตำบลท่าอิบุญทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลบ้านโสก ครอบคลุมพื้นที่ตำบลบ้านโสกทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลบ้านติ้ว ครอบคลุมพื้นที่ตำบลบ้านติ้วทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลห้วยไร่ ครอบคลุมพื้นที่ตำบลห้วยไร่ทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลน้ำก้อ ครอบคลุมพื้นที่ตำบลน้ำก้อทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลปากช่อง ครอบคลุมพื้นที่ตำบลปากช่องทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลน้ำชุน ครอบคลุมพื้นที่ตำบลน้ำชุนทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลหนองไขว่ ครอบคลุมพื้นที่ตำบลหนองไขว่ทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลลานบ่า ครอบคลุมพื้นที่ตำบลลานบ่าทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลบุ่งคล้า ครอบคลุมพื้นที่ตำบลบุ่งคล้าทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลบุ่งน้ำเต้า ครอบคลุมพื้นที่ตำบลบุ่งน้ำเต้าทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลบ้านกลาง ครอบคลุมพื้นที่ตำบลบ้านกลางทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลช้างตะลูด ครอบคลุมพื้นที่ตำบลช้างตะลูดทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลบ้านไร่ ครอบคลุมพื้นที่ตำบลบ้านไร่ทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลปากดุก ครอบคลุมพื้นที่ตำบลปากดุกทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลบ้านหวาย ครอบคลุมพื้นที่ตำบลบ้านหวายทั้งตำบล

สถานศึกษา

แก้
  • โรงเรียนหล่มสักวิทยาคม (โรงเรียนประจำอำเภอ)
  • โรงเรียนเมตตาวิทยา (โรงเรียนเอกชนขนาดใหญ่พิเศษ)
  • โรงเรียนผดุงวิทย์ (โรงเรียนเอกชนขนาดใหญ่)
  • โรงเรียนติ้ววิทยาคม
  • โรงเรียนผาเมืองวิทยาคม ( Pha Muang Wittayakom)
  • โรงเรียนกาญจนาภิเษกวิทยาลัย เพชรบูรณ์ (โรงเรียนประจำ)
  • โรงเรียนเมืองกลางวิทยาคม
  • โรงเรียนศรีจันทร์วิทยาคม รัชมังคลาภิเษก
  • โรงเรียนผาแดงวิทยาคม
  • โรงเรียนเมืองกลางวิทยาคม
  • โรงเรียนบ้านดงน้ำเดื่อ
  • โรงเรียนเทศบาลบ้านศรีมงคล
  • โรงเรียนอนุบาลทิพยา
  • โรงเรียนหยกฟ้า
  • โรงเรียนเมตตาศึกษา
  • โรงเรียนเมตตาชนูปถัมภ์
  • โรงเรียนสิรินคริสเตียน
  • โรงเรียนฤทัยทิพย์
  • โรงเรียนอนุบาลเพชรอนันต์
  • วิทยาลัยอาชีวศึกษาเทศบาลหล่มสัก
  • โรงเรียนจิตพิมล
  • โรงเรียนปาณิสรานวดและสปาไทหล่ม (โรงเรียนเอกชนนอกระบบประเภทวิชาชีพ)
  • โรงเรียนเทศบาลวัดประชุมคงคาราม
  • โรงเรียนเทศบาลบ้านสักงอย
  • โรงเรียนเทศบาลบ้านศรีมงคล
  • โรงเรียนอนุบาลบ้านศรีมงคล

สถานที่ท่องเที่ยว

แก้
  • หลักเมืองหล่มสัก
  • อนุสาวรีย์พ่อขุนผาเมือง ที่ตั้งเมืองของพ่อขุนผาเมือง ผู้ร่วมสถาปนากรุงสุโขทัยพร้อมกับพ่อขุนศรีอินทราทิตย์
  • หอวัฒนธรรมนครบาลเพชรบูรณ์ แหล่งศึกษาประวัติ ความเป็นมา และวัฒนธรรมของชาวหล่มสัก
  • ถ้ำฤๅษีสมบัติ เคยเป็นที่ตั้งของกระทรวงการคลัง เพื่อเป็นสถานที่เก็บสมบัติของแผ่นดิน สมัยจอมพลป.พิบูลสงครามเป็นนายกรัฐมนตรี
  • วนอุทยานน้ำตกธารทิพย์ น้ำตกขนาดใหญ่ชั้นเดียวที่เป็นที่รู้จักกันเป็นอย่างดีของชาวจังหวัดเพชรบูรณ์
  • ตลาดเช้าหล่มสัก แหล่งรวมของสด อาหาร เสื้อผ้า และสินค้ามากมายกลางอำเภอหล่มสัก
  • สะพานเจ็ดสี สะพานเชื่อมจากถนนพิทักษ์ไปยังสวนสาธารณะดงตาลข้ามแม่น้ำป่าสัก ตอนกลางคืนจะเปิดไฟเจ็ดสีสลับกันไปมา
  • สวนสาธารณะดงตาล แหล่งพักผ่อนหย่อนใจกลางเมืองของชาวหล่มสัก
  • เขื่อนปากห้วยขอนแก่น เขื่อนกักเก็บน้ำจากทิวเขาเพชรบูรณ์ตะวันออก
  • เขื่อนบ้านน้ำก้อ เขื่อนกักเก็บน้ำจากทิวเขาเพชรบูรณ์ตะวันตก
  • ถนนคนเดินไทหล่ม แหล่งรวมสินค้าโอท็อปทั่วอำเภอหล่มสัก จัดขึ้นทุกคืนวันเสาร์
  • แกรนแคนยอนหล่มสัก แพะเมืองผีในเพชรบูรณ์
  • อ่างเก็บน้ำห้วยน้ำก้อ อ่างเก็บที่อยู่บริเวณทิศตะวันตก

เศรษฐกิจ

แก้

อำเภอหล่มสักมีสินค้าที่ขึ้นชื่อ คือ ข้าวเหนียว, กะหล่ำปลี, ผักหลายชนิด (ภูทับเบิก (อำเภอหล่มเก่า) ได้ชื่อว่าเป็นสถานที่ที่ปลูกพืชผักที่ดีที่สุดแห่งหนึ่งของประเทศไทย), สตรอว์เบอร์รี, เส้นขนมจีนหลากสี, มีดพื้นบ้านของชุมชนบ้านใหม่ ตำบลตาลเดี่ยว, ผ้ามุก ผ้าไหมทอพื้นบ้านของบ้านติ้ว[36]

มีตลาดกลางค้าผักขนานใหญ่ชื่อว่าตลาดสันติสุข และมีจุดพักรถบรรทุกที่มาจากทั่วประเทศ

ประเพณีและเทศกาลสำคัญ

แก้
  • งานเส็งกลอง ล่องโคมไฟ ไหว้พ่อขุน จัดช่วงเทศกาลปีใหม่ของทุกปี ตั้งแต่วันที่25ธันวาคมถึงวันที่2มกราคม
  • ประเพณีบุญบั้งไฟ ช่วงเริ่มต้นฤดูฝนของทุกปี
  • งานนมัสการรอยพระพุทธบาท ระหว่างวันเพ็ญเดือนสามของทุกปี

อ้างอิง

แก้
  1. 1.0 1.1 1.2 1.3 วิศัลย์ โฆษิตานนท์, ดร. "ว่าด้วยเรื่อง ชื่อเมืองหล่ม หล่มเก่า หล่มสัก และน้ำสัก". WordPress.com.{{cite web}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์) สืบค้นเมื่อวันที่ 13 มิถุนายน พ.ศ. 2558
  2. 2.0 2.1 2.2 "พระบรมราชโองการ ประกาศ ยุบรวมท้องที่บางมณฑลและบางจังหวัด" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 48: 576–578. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2008-04-09. สืบค้นเมื่อ 2022-10-25. วันที่ 21 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2474
  3. 3.0 3.1 "แจ้งความกระทรวงมหาดไทย" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 24 (003): 51. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2012-06-04. สืบค้นเมื่อ 2022-10-25. วันที่ 21 เมษายน พ.ศ. 2450
  4. 4.0 4.1 "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง เปลี่ยนชื่ออำเภอ" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 34 (0 ก): 34–55. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2011-11-07. สืบค้นเมื่อ 2022-10-25. วันที่ 29 เมษายน พ.ศ. 2460
  5. "แผนกกรมวิสามัญศึกษา เรื่องมีผู้บริจาคทรัพย์บำรุงโรงเรียนสัตรีจังหวัดหล่มศักดิ์" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 37 (0): 2291. วันที่ 17 ตุลาคม พ.ศ. 2463
  6. "ประวัติของโรงเรียนหล่มสักวิทยาคม". โรงเรียนหล่มสักวิทยาคม.{{cite web}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)[ลิงก์เสีย] สืบค้นเมื่อวันที่ 29 มิถุนายน พ.ศ. 2558
  7. "คำแถลงการณ์ของเสนาธิการณ์ทหารบก เรื่อง สนามบินประจำจังหวัดหล่มศักดิ์" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 41 (0 ก): 1227. วันที่ 13 กรกฎาคม พ.ศ. 2467
  8. "แจ้งความกระทรวงกระลาโหม เรื่องสแดงการบินและรับเงินของชาวหล่มศักดิ์ซึ่งบริจาคให้สร้างเครื่องบิน "จังหวัดหล่มศักดิ์ 1"" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 41 (0 ง): 1540. วันที่ 17 สิงหาคม พ.ศ. 2467
  9. 9.0 9.1 "พระราชกฤษฎีกาเปลี่ยนนามจังหวัด และอำเภอบางแห่ง พุทธศักราช 2481" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 55 (0 ก): 658–663. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2011-11-08. สืบค้นเมื่อ 2022-10-25. วันที่ 14 พฤศจิกายน พ.ศ. 2481
  10. "แจ้งความกระทรวงมหาดไทย [ประกาศการที่ได้ทรงมีพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ ให้ยกบริเวณเพชรบูรณ์ขึ้นเป็นมณฑลโดยให้ยกเมืองหล่มสักมารวม ,ตั้งผู้แทนข้าหลวงเทศาภิบาลสำเร็จราชการมณฑลเพชรบูรณ์ ,ให้เมืองเลย เมืองแก่นท้าวซึ่งขึ้นกับเมืองหล่มสักยังคงให้อยู่ในมณฑลฝ่ายเหนือ ตามเดิม]" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 16 (44): 629. วันที่ 28 มกราคม พ.ศ. 2442
  11. "แจ้งความกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ยกเลิกมณฑลเพชรบูรณ์ รวมขึ้นอยู่ในมณฑลพิษณุโลก" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 21 (27): 443. วันที่ 2 ตุลาคม พ.ศ. 2447
  12. "แจ้งความกระทรวงมหาดไทย [ยกอำเภอด่านซ้ายซึ่งขึ้นกับเมืองพิษณุโลก มาขึ้นเมืองหล่มศักดิ์]" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 22 (0 ง): 453. วันที่ 13 สิงหาคม พ.ศ. 2448
  13. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย ประกาศตั้งมณฑลเพชรบูรณ์" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 24 (45): 1203. วันที่ 9 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2450
  14. "ประกาศ เลิกมณฑลเพชรบูรณ์เข้าเป็นเมืองในมณฑลพิษณุโลก และแยกมณฑลพายัพเป็นมณฑลมหาราษฎร์ และมณฑลพายัพ รวมเรียกว่า มณฑลภาคพายัพ มีตำแหน่งอุปราชเป็นผู้ตรวจตรากำกับราชการ" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 32 (0 ก): 200–202. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2014-10-20. สืบค้นเมื่อ 2022-10-26. วันที่ 12 กันยายน พ.ศ. 2458
  15. "ประกาศกระทรวงธรรมการ เรื่อง การใช้พระราชบัญญัติประถมศึกษา พ.ศ. ๒๔๖๔ สำหรับตำบลหนองไขว่ ท้องที่อำเภอวัดป่า จังหวัดหล่มสัก ซึ่งตั้งขึ้นใหม่" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 46 (0 ก): 121. วันที่ 4 สิงหาคม พ.ศ. 2472
  16. "ประกาศกระทรวงธรรมการ เรื่อง การใช้พระราชบัญญัติประถมศึกษา พ.ศ. ๒๔๖๔ สำหรับตำบลบ้านกลาง ซึ่งแยกจากตำบลบ้านหวาย ท้องที่อำเภอวัดป่า จังหวัดหล่มสัก" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 47 (0 ก): 155. วันที่ 31 สิงหาคม พ.ศ. 2473
  17. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง เปลี่ยนแปลงเขตตำบลในอำเภอวัดป่า จังหวัดเพชรบูรณ์" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 55 (0 ง): 2096–2097. วันที่ 19 กันยายน พ.ศ. 2481
  18. "พระราชกฤษฎีกาจัดตั้งเทศบาลตำบลหล่มศักดิ์ จังหวัดเพชรบูรณ์ พุทธศักราช ๒๔๘๘" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 62 (11 ก): 175–179. วันที่ 13 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2488
  19. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ตั้งตำบลในจังหวัดต่าง ๆ" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 64 (26 ง): 1114–1433. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2011-11-09. สืบค้นเมื่อ 2022-10-25. วันที่ 10 มิถุนายน พ.ศ. 2490
  20. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ตั้งตำบลในเขตเทศบาล จังหวัดเพชรบูรณ์" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 65 (52 ง): 2645–2646. วันที่ 7 กันยายน พ.ศ. 2491
  21. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง เปลี่ยนแปลงเขตตำบลในท้องที่อำเภอหล่มสัก จังหวัดเพชรบูรณ์" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 77 (13 ง): 371–372. วันที่ 16 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2503
  22. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ตั้งและเปลี่ยนแปลงเขตตำบลในท้องที่อำเภอเมืองเพชรบูรณ์ และอำเภอหล่มสัก จังหวัดเพชรบูรณ์" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 91 (158 ง): 3580–3588. วันที่ 24 กันยายน พ.ศ. 2517
  23. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ตั้งและเปลี่ยนแปลงเขตตำบลในท้องที่อำเภอหล่มสัก จังหวัดเพชรบูรณ์" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 98 (140 ง): 2876–2878. วันที่ 25 สิงหาคม พ.ศ. 2524
  24. "พระราชกฤษฎีกาเปลี่ยนแปลงเขตอำเภอเมืองเพชรบูรณ์ กับอำเภอหล่มสัก จังหวัดเพชรบูรณ์ พ.ศ. ๒๕๒๗" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 101 (108 ก): (ฉบับพิเศษ) 3-5. วันที่ 16 สิงหาคม พ.ศ. 2527
  25. 25.0 25.1 "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง แบ่งเขตท้องที่อำเภอหล่มสัก จังหวัดเพชรบูรณ์ ตั้งเป็นกิ่งอำเภอเขาค้อ" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 101 (118 ง): 2996. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2012-01-27. สืบค้นเมื่อ 2022-10-25. วันที่ 14 กันยายน พ.ศ. 2527
  26. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ตั้งและเปลี่ยนแปลงเขตตำบลในท้องที่กิ่งอำเภอวังโป่ง อำเภอชนแดน อำเภอวิเชียรบุรี กิ่งอำเภอเขาค้อ อำเภอหล่มสัก และอำเภอหนองไผ่ จังหวัดเพชรบูรณ์" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 102 (162 ง): 5390–5402. วันที่ 5 พฤศจิกายน พ.ศ. 2528
  27. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ตั้งและเปลี่ยนแปลงเขตตำบลในท้องที่อำเภอบึงสามพัน และอำเภอหล่มสัก จังหวัดเพชรบูรณ์" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 104 (154 ง): 5669–5681. วันที่ 11 สิงหาคม พ.ศ. 2530
  28. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ตั้งและเปลี่ยนแปลงเขตตำบลในท้องที่อำเภอหล่มสัก จังหวัดเพชรบูรณ์" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 105 (143 ง): (ฉบับพิเศษ) 176-181. วันที่ 31 สิงหาคม พ.ศ. 2531
  29. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ตั้งและกำหนดเขตตำบล ในท้องที่อำเภอหนองไผ่ และกิ่งอำเภอเขาค้อ อำเภอหล่มสัก จังหวัดเพชรบูรณ์" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 106 (154 ง): (ฉบับพิเศษ) 47-59. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2018-05-19. สืบค้นเมื่อ 2022-10-25. วันที่ 15 กันยายน พ.ศ. 2532
  30. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ตั้งและกำหนดเขตตำบลในท้องที่อำเภอบึงสามพันและอำเภอหล่มสัก จังหวัดเพชรบูรณ์" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 110 (201 ง): (ฉบับพิเศษ) 35-39. วันที่ 3 ธันวาคม 2536
  31. "พระราชกฤษฎีกาจัดตั้งเทศบาลเมืองหล่มสัก จังหวัดเพชรบูรณ์ พ.ศ. ๒๕๓๘" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 112 (40 ก): 58–61. วันที่ 24 กันยายน พ.ศ. 2538
  32. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ตั้งและกำหนดเขตตำบลในท้องที่อำเภอหล่มสัก จังหวัดเพชรบูรณ์" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 113 (2 ง): 86–90. วันที่ 4 มกราคม พ.ศ. 2539
  33. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การกำหนดเขตตำบลในท้องที่อำเภอหล่มสัก จังหวัดเพชรบูรณ์" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 121 (35 ง): 5–7. วันที่ 29 เมษายน พ.ศ. 2547
  34. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การยุบรวมสภาตำบลกับองค์การบริหารส่วนตำบล" (PDF): 1–3. {{cite journal}}: Cite journal ต้องการ |journal= (help) วันที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2547
  35. "จัดตั้งเทศบาลจากองค์การบริหารส่วนตำบล ตาลเดี่ยว เป็น เทศบาลตำบลตาลเดี่ยว". กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น: 1. ลงวันที่ 29 กรกฎาคม พ.ศ. 2552 มีผลบังคับใช้ในวันเดียวกัน
  36. "ข่าวเช้าวันใหม่". ช่อง 3. 31 October 2014. สืบค้นเมื่อ 31 October 2014.[ลิงก์เสีย]