อำเภอเมืองลำปาง

อำเภอในจังหวัดลำปาง ประเทศไทย

เมืองลำปาง (ไทยถิ่นเหนือ: ) เป็นอำเภอศูนย์กลางการบริหาร ธุรกิจ คมนาคม และวัฒนธรรมของจังหวัดลำปาง

อำเภอเมืองลำปาง
การถอดเสียงอักษรโรมัน
 • อักษรโรมันAmphoe Mueang Lampang
วัดพระแก้วดอนเต้าสุชาดาราม
คำขวัญ: 
เจดีย์ซาวงามเลิศ ชูเชิดวัดพระแก้ว แวะแอ่วบ้านเสานัก แวะพักเขื่อนกิ่วลม ชื่นชมพ่อเจ้าทิพย์ช้าง ลำปางเมืองรถม้า ลือชาถ้วยก๋าไก่ ยิ่งใหญ่ครูบาเกษม อิ่มเอมวิถีคนละกอน
แผนที่จังหวัดลำปาง เน้นอำเภอเมืองลำปาง
แผนที่จังหวัดลำปาง เน้นอำเภอเมืองลำปาง
พิกัด: 18°17′31″N 99°30′16″E / 18.29194°N 99.50444°E / 18.29194; 99.50444
ประเทศ ไทย
จังหวัดลำปาง
พื้นที่
 • ทั้งหมด800.8 ตร.กม. (309.2 ตร.ไมล์)
ประชากร
 (2564)
 • ทั้งหมด222,355 คน
 • ความหนาแน่น277.67 คน/ตร.กม. (719.2 คน/ตร.ไมล์)
รหัสไปรษณีย์ 52000,
52100 (เฉพาะตำบลสบตุ๋ย, สวนดอก, ชมพู, ปงแสนทอง, บ่อแฮ้ว, บ้านเป้า, บ้านเอื้อม และบ้านค่า),
52220 (เฉพาะหมู่ที่ 4 ตำบลพระบาท)
รหัสภูมิศาสตร์5201
ที่ตั้งที่ว่าการที่ว่าการอำเภอเมืองลำปาง เลขที่ 9 ถนนบุญวาทย์ ตำบลหัวเวียง อำเภอเมืองลำปาง จังหวัดลำปาง 52000
สารานุกรมประเทศไทย ส่วนหนึ่งของสารานุกรมประเทศไทย
เขื่อนกิ่วลม เป็นเขื่อนในการดูแลของกรมชลประทาน ในพื้นที่ตำบลบ้านแลง
วัดพระเจดีย์ซาวหลัง เป็นปูชนียสถานที่สำคัญของจังหวัดลำปางสร้างแต่โบราณ ตั้งอยู่ที่ตำบลต้นธงชัย
วัดปงสนุกใต้ เดิมชื่อ วัดศรีจอมเมือง สร้างขึ้นพร้อมเมืองลำปาง ตั้งอยู่ในพื้นที่ตำบลเวียงเหนือ

ที่ตั้งและอาณาเขต

แก้

อำเภอเมืองลำปางมีอาณาเขตติดต่อกับเขตการปกครองข้างเคียงดังต่อไปนี้

 
วัดเชตวัน เป็นสถาปัตยกรรมแบบผสมผสานระหว่างอินเดียกับพม่า ตั้งอยู่ในพื้นที่ตำบลหัวเวียง

ประวัติ

แก้

ลำปาง เป็นจังหวัดที่มีอายุเก่าแก่ไม่น้อยกว่า 1,300 ปี มีชื่อเรียกขานกันหลายชื่อ ซึ่งปรากฏหลักฐานตามตำนานรวม 11 ชื่อ ได้แก่ กุกกุฏนคร ลัมภกับปะนคร ศรีนครชัย นครเวียงคอกวัว เวียงดิน เขลางค์นคร นครลำปางคำเขลางค์ อาลัมภางค์ เมืองลคร และเมืองนครลำปาง จากการที่เรียกขานกันว่า "กุกกุฏนคร" แปลว่าเมืองไก่ ดังนั้น ตราประจำจังหวัดลำปาง คือ "ไก่ขาว" โดยลำปางสร้างเมื่อปี พ.ศ. 1223 จากหนังสือพงศาวดารโยนกกล่าวว่า "สุพรหมฤาษี" สร้างเมืองเพื่อให้เจ้าอนันตยศ โอรสพระนางจามเทวี ครองคู่กับเมืองหริภุญชัย (ลำพูน) ให้ชื่อเมืองว่า "นครเขลางค์" ต่อมาเปลี่ยนเป็น "นครอัมภางค์" และเปลี่ยนชื่อเป็น "นครลำปาง" ในภายหลัง

ในสมัยโยนกเชียงแสน นครลำปางเคยตกอยู่ภายใต้อำนาจของขอม เคยเป็นเมืองประเทศราชของพม่าและเมืองเชียงใหม่ ในสมัยพระเจ้ากรุงธนบุรี เจ้าทิพย์ช้างสามารถขับไล่พวกพม่าออกจากเมืองลำปางได้สำเร็จ จึงได้รับการสถาปนาเป็น "เจ้าพระยาสุลวฤๅไชยสงคราม" ขึ้นครองนครลำปางในปี พ.ศ. 2279 และในปี พ.ศ. 2307 เจ้าแก้วฟ้า พระโอรสของเจ้าทิพย์ช้างได้ขึ้นครองนครลำปาง และเป็นต้นตระกูล ณ ลำปาง ณ ลำพูน รวมทั้ง ณ เชียงใหม่ ในเวลาต่อมา และมีเจ้าบุญวาทย์วงศ์มานิต เป็นผู้ครองนครลำปางองค์สุดท้าย

จังหวัดลำปางได้ประกาศจัดตั้งเป็นจังหวัดในปี พ.ศ. 2435 (สมัยรัชกาลที่ 5) โดยขึ้นอยู่กับมณฑลพายัพสมัยหนึ่ง (พ.ศ. 2443) ต่อมาแยกเป็นมณฑลมหาราษฎร์ ในปี พ.ศ. 2458 ซึ่งในเวลาต่อมาได้มีประกาศยกเลิกมณฑลทั่วราชอาณาจักร ลำปางจึงมีฐานะเป็น "จังหวัดลำปาง" ตามพระราชบัญญัติว่าด้วยระเบียบราชการบริหารแห่งราชอาณาจักรสยาม พุทธศักราช 2476 โดยมี อำเภอเมืองลำปาง เป็นศูนย์กลางการปกครองของจังหวัด

  • วันที่ 1 มิถุนายน 2456 ยุบกิ่งอำเภอแม่เมาะ รวมเข้ากับอำเภอเมือง จังหวัดลำปาง[1]
  • วันที่ 29 เมษายน 2460 เปลี่ยนแปลงชื่ออำเภอเมือง จังหวัดลำปาง เป็น อำเภอเมืองลำปาง[2]
  • วันที่ 21 มกราคม 2476 เปลี่ยนแปลงเขตอำเภอเมืองลำปางกับอำเภอแม่ทะ จังหวัดลำปาง โดยโอนพื้นที่ของตำบลน้ำโจ้ อำเภอเมืองลำปาง ไปขึ้นกับอำเภอแม่ทะ[3]
  • วันที่ 25 มีนาคม 2478 ยกฐานะบริเวณที่ตั้งศาลากลางจังหวัดลำปาง เป็นเทศบาลเมืองลำปาง[4]
  • วันที่ 14 มีนาคม 2480 ยุบตำบลลำปางกลาง ให้โอนหมู่ที่ 1–3 ที่ได้ยุบตำบลของตำบลลำปางกลาง ไปขึ้นกับตำบลปงแสนทอง และยุบตำบลป่ากล้วย ให้โอนหมู่ที่ 1–3 ที่ได้ยุบตำบลของตำบลป่ากล้วย ไปขึ้นกับตำบลนาก่วม ให้โอนหมู่ที่ 4, 6–9, 11–12 ที่ได้ยุบตำบลของตำบลป่ากล้วย ไปขึ้นตำบลปงแสนทอง และโอนพื้นที่หมู่ 7–11 (ในขณะนั้น) ของตำบลปงแสนทอง ไปขึ้นกับตำบลชมพู และโอนพื้นที่หมู่ 6, 11 ของตำบลนาก่วม ไปขึ้นกับตำบลปงแสนทอง และโอนพื้นที่หมู่ 5 ของตำบลนาก่วม ไปขึ้นกับตำบลชมพู[5]
  • วันที่ 9 มกราคม 2481 ยุบตำบลหนองยาง รวมกับพื้นที่ตำบลชมพู และยุบตำบลน้ำนอง รวมกับพื้นที่ตำบลหัวเวียง และยุบตำบลนาก่วม ให้โอนหมู่ที่ 1 ที่ได้ยุบตำบลของตำบลนาก่วม ไปขึ้นกับตำบลหัวเวียง ให้โอนหมู่ที่ 2–3, 7–11 ที่ได้ยุบตำบลของตำบลนาก่วม ไปขึ้นตำบลบ้านเป้า และยุบตำบลปงสนุก ให้โอนหมู่ที่ 7 ที่ได้ยุบตำบลของตำบลปงสนุก ไปขึ้นกับตำบลหัวเวียง ให้โอนหมู่ที่ 8 ที่ได้ยุบตำบลของตำบลปงสนุก ไปขึ้นตำบลบ้านเป้า และยุบตำบลเวียงเหนือ ให้โอนหมู่ที่ 14 ที่ได้ยุบตำบลของตำบลเวียงเหนือ ไปขึ้นกับตำบลหัวเวียง ให้โอนหมู่ที่ 8–11 ได้ยุบตำบลของตำบลเวียงเหนือ ไปขึ้นกับตำบลทุ่งฝาย และยุบตำบลห้วยฮี รวมกับพื้นที่ตำบลทุ่งฝาย และยุบตำบลบ้านหมาก รวมกับพื้นที่ตำบลบ้านเสด็จ ตั้งชื่อตำบลใหม่เป็น ตำบลบ้านแลง และยุบตำบลบ้านแขม รวมกับพื้นที่ตำบลบ้านดง และยุบตำบลสบม่ำ รวมกับพื้นที่ตำบลจางเหนือ และโอนพื้นที่หมู่ 2, 4, 7–11 (ในขณะนั้น) ของตำบลทุ่งฝาย ไปขึ้นกับตำบลพิชัย[6] และเปลี่ยนแปลงเขตอำเภอแจ้ห่มกับอำเภอเมืองลำปาง โดยโอนพื้นที่หมู่ 9 (ในขณะนั้น) ของตำบลเมืองมาย อำเภอแจ้ห่ม มาขึ้นกับอำเภอเมืองลำปาง
  • วันที่ 19 กันยายน 2481 โอนพื้นที่หมู่ 1 ของตำบลปงสนุก เฉพาะฟากตะวันออกของถนนเชิงสะพานรัษฎาไปขึ้นกับตำบลเวียงเหนือ และโอนพื้นที่หมู่ 1 ของตำบลหัวเวียง เฉพาะฟากตะวันออกของห้วยแม่กะติ๊บไปขึ้นกับตำบลพิชัย และยุบตำบลเชียงราย รวมกับพื้นที่ตำบลหัวเวียง[7]
  • วันที่ 16 มีนาคม 2491 ยุบตำบลหัวเวียง ในเขตเทศบาลเมืองลำปาง และใช้พื้นที่ 5 หมู่บ้านของตำบลหัวเวียง (เดิม) ได้แก่ บ้านหัวเวียง บ้านสันป่าโก บ้านเชตวัน บ้านหมื่นกาศ บ้านปงพระเนตรช้าง ตั้งขึ้นเป็น ตำบลหัวเวียง และใช้พื้นที่ 4 หมู่บ้านของตำบลหัวเวียง (เดิม) ได้แก่ บ้านน้ำล้อม บ้านทุ่ง บ้านสวนดอก บ้านเชียงราย ตั้งขึ้นเป็น ตำบลสวนดอก และใช้พื้นที่ 5 หมู่บ้านของตำบลหัวเวียง (เดิม) ได้แก่ บ้านสิงห์ไชย บ้านดง บ้านดอนปาน บ้านท่าขะน้อย บ้านศรีบุญเรือง ตั้งขึ้นเป็น ตำบลสบตุ๋ย และใช้พื้นที่ 6 หมู่บ้านของตำบลหัวเวียง (เดิม) ได้แก่ บ้านปงสนุก–บ้านเกาะ บ้านบุญโยง–บ้านประตูเชียงใหม่ บ้านปลายนา–บ้านแจ่งหัวริน บ้านศรีล้อม–บ้านท่าต้นม่วง บ้านท่ามะโอ–บ้านท่านางลอย บ้านพระแก้ว–บ้านประตูม้า ตั้งขึ้นเป็น ตำบลเวียงเหนือ[8]
  • วันที่ 14 สิงหาคม 2505 เปลี่ยนแปลงเขตอำเภอแจ้ห่มกับอำเภอเมืองลำปาง โดยโอนพื้นที่หมู่ 7–8 (ในขณะนั้น) ของตำบลทุ่งกว๋าว อำเภอแจ้ห่ม มาขึ้นกับตำบลบ้านค่า อำเภอเมืองลำปาง[9]
  • วันที่ 19 พฤศจิกายน 2508 เปลี่ยนแปลงเขตอำเภอแจ้ห่มกับอำเภอเมืองลำปาง โดยโอนพื้นที่หมู่ 1 (ในขณะนั้น) ของตำบลเมืองมาย อำเภอแจ้ห่ม มาขึ้นกับตำบลบ้านแลง อำเภอเมืองลำปาง และโอนพื้นที่หมู่ 2 (ในขณะนั้น) ของตำบลเมืองมาย อำเภอแจ้ห่ม มาขึ้นกับตำบลบ้านดง อำเภอเมืองลำปาง[10]
  • วันที่ 18 มีนาคม 2512 จัดตั้งสุขาภิบาลชมพู ในท้องที่ทั้งหมดของตำบลปงแสนทอง ตำบลกล้วยแพะ ตำบลพระบาท และตำบลชมพู[11]
  • วันที่ 21 กันยายน 2514 ตั้งตำบลบ่อแฮ้ว แยกออกจากตำบลบ้านเป้า ตั้งตำบลนาสัก แยกออกจากตำบลจางเหนือ[12]
  • วันที่ 13 เมษายน 2519 แยกพื้นที่ตำบลบ้านดง ตำบลจางเหนือ และตำบลนาสัก ของอำเภอเมืองลำปาง ไปตั้งเป็น กิ่งอำเภอแม่เมาะ[13] และกำหนดให้ขึ้นการปครองกับอำเภอเมืองลำปาง
  • วันที่ 7 เมษายน 2524 ตั้งตำบลแม่เมาะ แยกออกจากตำบลบ้านดง[14]
  • วันที่ 25 สิงหาคม 2524 ตั้งตำบลต้นธงชัย แยกออกจากตำบลทุ่งฝาย[15]
  • วันที่ 26 กรกฎาคม 2527 ยกฐานะจากกิ่งอำเภอแม่เมาะ อำเภอเมืองลำปาง เป็น อำเภอแม่เมาะ[16]
  • วันที่ 24 ตุลาคม 2534 ได้แยกพื้นที่บ้านนาก่วมใต้ บ้านปงไชย บ้านกลางทุ่ง ตำบลชมพู และบ้านป่าแลว บ้านสุขสวัสดิ์ บ้านศรีชุม ตำบลพระบาท ของสุขาภิบาลชมพู ไปรวมกับท้องที่เทศบาลเมืองลำปาง และเปลี่ยนแปลงเขตสุขาภิบาลชมพู[17] และเปลี่ยนแปลงเขตเทศบาลเมืองลำปาง โดยรับพื้นที่บ้านนาก่วมใต้ บ้านปงไชย บ้านกลางทุ่ง ตำบลชมพู และบ้านป่าแลว บ้านสุขสวัสดิ์ บ้านศรีชุม ตำบลพระบาท ของสุขาภิบาลชมพู และบ้านดง บ้านพรประสิทธิ์ ของสภาตำบลบ่อแฮ้ว และบ้านต้า บ้านหน้าค่าย ของสภาตำบลพิชัย มารวมกับท้องที่ของเทศบาลเมืองลำปาง[18]
  • วันที่ 30 กันยายน 2535 จัดตั้งสุขาภิบาลพิชัย ในท้องที่หมู่ 1–4, 8–9 ของตำบลพิชัย[19]
  • วันที่ 13 พฤศจิกายน 2535 ตั้งตำบลนิคมพัฒนา แยกออกจากตำบลทุ่งฝาย[20]
  • วันที่ 9 เมษายน 2536 จัดตั้งสุขาภิบาลบ่อแฮ้ว ในท้องที่หมู่ 2–3, 5–6, 8 ของตำบลบ่อแฮ้ว[21]
  • วันที่ 8 พฤศจิกายน 2536 ตั้งตำบลบุญนาคพัฒนา แยกออกจากตำบลบ้านแลง[22]
  • วันที่ 25 พฤษภาคม 2542 ยกฐานะจากสุขาภิบาลชมพู สุขาภิบาลพิชัย และสุขาภิบาลบ่อแฮ้ว เป็น เทศบาลตำบลชมพู เทศบาลตำบลพิชัย และเทศบาลตำบลบ่อแฮ้ว ตามลำดับ[23] ด้วยผลของกฎหมาย
  • วันที่ 10 พฤศจิกายน 2542 ยกฐานะเทศบาลเมืองลำปาง เป็น เทศบาลนครลำปาง[24]
  • วันที่ 19 กรกฎาคม 2547 เปลี่ยนแปลงชื่อเทศบาลตำบลชมพู อำเภอเมืองลำปาง จังหวัดลำปาง เป็น เทศบาลตำบลเขลางค์นคร และจัดตั้งเป็น เทศบาลเมืองเขลางค์นคร[25]
  • วันที่ 8 กันยายน 2547 แยกพื้นที่หมู่ 2 บ้านสบมาย ตำบลบ้านแลง ตั้งเป็นหมู่บ้านใหม่ หมู่ 12 บ้านสวนป่าหนองปง และแยกพื้นที่หมู่ 7 บ้านนาป้อเหนือ ตำบลทุ่งฝาย ตั้งเป็นหมู่บ้านใหม่ หมู่ 10 บ้านปงชัยนาป้อ[26]
  • วันที่ 30 กันยายน 2547 เปลี่ยนแปลงชื่อหมู่ที่ 12 บ้านทุ่งเจริญ ตำบลบ้านเอื้อม อำเภอเมืองลำปาง จังหวัดลำปาง เป็นหมู่ที่ 12 "บ้านทุ่งกล้วยใต้"[27]
  • วันที่ 21 มีนาคม 2549 แยกพื้นที่หมู่ 2 บ้านจำค่า ตำบลบ้านเสด็จ ตั้งเป็นหมู่บ้านใหม่ หมู่ 15 บ้านห้วยหลวงพัฒนา[28]
  • วันที่ 20 เมษายน 2550 แยกพื้นที่หมู่ 11 บ้านดอนมูล ตำบลพิชัย ตั้งเป็นหมู่บ้านใหม่ หมู่ 17 บ้านมิ่งมงคล[29] แยกพื้นที่หมู่ 2 บ้านจำค่า ตำบลบ้านเสด็จ ตั้งเป็นหมู่บ้านใหม่ หมู่ 16 บ้านห้วยเดื่อพัฒนา[30] และแยกพื้นที่หมู่ 11 บ้านปงชัย ตำบลบ้านเสด็จ ตั้งเป็นหมู่บ้านใหม่ หมู่ 17 บ้านปงชัยพัฒนา[31]
  • วันที่ 7 ตุลาคม 2554 จัดตั้งองค์การบริหารส่วนตำบลต้นธงชัย เป็น เทศบาลตำบลต้นธงชัย[32]
  • วันที่ 15 กรกฎาคม 2556 จัดตั้งเทศบาลตำบลพิชัย เป็น เทศบาลเมืองพิชัย[33]
  • วันที่ 19 พฤษภาคม 2565 เปลี่ยนแปลงชื่อหมู่ที่ 11 บ้านทุ่งม่านพัฒนา ตำบลบ้านเป้า อำเภอเมืองลำปาง จังหวัดลำปาง เป็นหมู่ที่ 11 "บ้านทุ่งม่านใต้"[34]

การแบ่งเขตการปกครอง

แก้

การปกครองส่วนภูมิภาค

แก้

อำเภอเมืองลำปางแบ่งพื้นที่การปกครองออกเป็น 19 ตำบล 183 หมู่บ้าน ได้แก่

ที่ ชื่อตำบล ตัวเมือง อักษรโรมัน จำนวนหมู่บ้าน จำนวนครัวเรือน จำนวนประชากร[35]
1. เวียงเหนือ   Wiang Nuea - 5,149 11,697
2. หัวเวียง   Hua Wiang - 3,683 8,049
3. สวนดอก   Suan Dok - 2,954 5,342
4. สบตุ๋ย   Sop Tui - 7,128 14,609
5. พระบาท   Phra Bat 9 9,477 21,902
6. ชมพู   Chomphu 14 10,306 26,696
7. กล้วยแพะ   Kluai Phae 6 2,831 9,581
8. ปงแสนทอง   Pong Saen Thong 11 6,497 17,943
9. บ้านแลง   Ban Laeng 11 2,361 6,908
10. บ้านเสด็จ   Ban Sadet 17 4,146 11,000
11. พิชัย   Phichai 16 9,402 24,016
12. ทุ่งฝาย   Thung Fai 9 2,900 8,095
13. บ้านเอื้อม   Ban Ueam 15 3,446 10,357
14. บ้านเป้า   Ban Pao 12 2,370 6,901
15. บ้านค่า   Ban Kha 8 1,832 5,732
16. บ่อแฮ้ว   Bo Haeo 17 8,101 19,137
17. ต้นธงชัย   Ton Thong Chai 13 6,496 15,287
18. นิคมพัฒนา   Nikhom Phatthana 14 1,904 5,081
19. บุญนาคพัฒนา   Bun Nak Phatthana 11 1,829 5,114

การปกครองส่วนท้องถิ่น

แก้

ท้องที่อำเภอเมืองลำปางประกอบด้วยองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 15 แห่ง ได้แก่

  • เทศบาลนครลำปาง ครอบคลุมพื้นที่ตำบลเวียงเหนือ ตำบลหัวเวียง ตำบลสวนดอก และตำบลสบตุ๋ยทั้งตำบล รวมทั้งบางส่วนของตำบลพระบาท ตำบลชมพู ตำบลพิชัย และตำบลบ่อแฮ้ว
  • เทศบาลเมืองเขลางค์นคร ครอบคลุมพื้นที่ตำบลกล้วยแพะและตำบลปงแสนทองทั้งตำบล รวมทั้งบางส่วนของตำบลพระบาทและตำบลชมพู (นอกเขตเทศบาลนครลำปาง)
  • เทศบาลเมืองพิชัย ครอบคลุมพื้นที่บางส่วนของตำบลพิชัย
  • เทศบาลตำบลบ่อแฮ้ว ครอบคลุมพื้นที่บางส่วนของตำบลบ่อแฮ้ว
  • เทศบาลตำบลต้นธงชัย ครอบคลุมพื้นที่ตำบลต้นธงชัยทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลบ้านแลง ครอบคลุมพื้นที่ตำบลบ้านแลงทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลบ้านเสด็จ ครอบคลุมพื้นที่ตำบลบ้านเสด็จทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลพิชัย ครอบคลุมพื้นที่ตำบลพิชัย (นอกเขตเทศบาลนครลำปางและเทศบาลเมืองพิชัย)
  • องค์การบริหารส่วนตำบลทุ่งฝาย ครอบคลุมพื้นที่ตำบลทุ่งฝายทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลบ้านเอื้อม ครอบคลุมพื้นที่ตำบลบ้านเอื้อมทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลบ้านเป้า ครอบคลุมพื้นที่ตำบลบ้านเป้าทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลบ้านค่า ครอบคลุมพื้นที่ตำบลบ้านค่าทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลบ่อแฮ้ว ครอบคลุมพื้นที่ตำบลบ่อแฮ้ว (นอกเขตเทศบาลนครลำปางและเทศบาลตำบลบ่อแฮ้ว)
  • องค์การบริหารส่วนตำบลนิคมพัฒนา ครอบคลุมพื้นที่ตำบลนิคมพัฒนาทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลบุญนาคพัฒนา ครอบคลุมพื้นที่ตำบลบุญนาคพัฒนาทั้งตำบล

สถานที่สำคัญ

แก้

สถานที่ท่องเที่ยว

แก้

วัด

แก้

พระอารามหลวงมหานิกาย

แก้

วัดราษฏร์มหานิกาย

แก้

วัดราษฏร์ธรรมยุติกนิกาย

แก้

โรงเรียน

แก้

โรงเรียนมัธยม สพฐ.

แก้

โรงเรียนประถม สพฐ.

แก้

โรงเรียนในสังกัดเทศบาลนครลำปาง

แก้

โรงเรียนเอกชน

แก้

โรงพยาบาล

แก้

การคมนาคม

แก้

ทางบก

แก้

ถนนสายหลัก

แก้
  • ถนนซูเปอร์ไฮเวย์ลำปาง-งาว
  • ถนนพหลโยธิน สายเข้าเมือง
  • ถนนวชิราวุธดำเนิน
  • ถนนลำปาง-แม่ทะ
  • ถนนลำปาง-แจ้ห่ม-วังเหนือ
  • ถนนวงแหวนเลี่ยงเมืองด้านตะวันตก ปงแสนทอง-พิชัย (เตรียมก่อสร้าง)

สถานีรถไฟ

แก้

ท่าอากาศยาน

แก้

สะพาน

แก้

อ้างอิง

แก้
  1. "แจ้งความกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ตั้งและยุบกิ่งอำเภอต่าง ๆ ในมณฑลพายัพ" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 30 (0 ง): 447–448. วันที่ 1 มิถุนายน พ.ศ. 2456
  2. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง เปลี่ยนชื่ออำเภอ" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 34 (0 ก): 40–68. วันที่ 29 เมษายน พ.ศ. 2460
  3. "ประกาศกระทรวงธรรมการ เรื่อง ใช้พระราชบัญญัติประถมศึกษา พ.ศ. ๒๔๖๔ เพิ่มเติมในท้องที่จังหวัดลำปาง" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 50 (0 ก): 845–846. วันที่ 21 มกราคม พ.ศ. 2476
  4. "พระราชกฤษฎีกาจัดตั้งเทศบาลเมืองลำปาง จังหวัดลำปาง พุทธศักราช ๒๔๗๘" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 52 (0 ก): 2114–2118. วันที่ 25 มีนาคม พ.ศ. 2478
  5. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง เปลี่ยนแปลงเขตตำบลในอำเภอเมืองลำปาง จังหวัดลำปาง" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 54 (0 ง): 3098–3099. วันที่ 14 มีนาคม พ.ศ. 2480
  6. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง เปลี่ยนแปลงเขตตำบลและอำเภอในจังหวัดลำปาง" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 55 (0 ง): 3344–3349. วันที่ 9 มกราคม พ.ศ. 2481
  7. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง เปลี่ยนแปลงเขตตำบลในอำเภอเมืองลำปาง จังหวัดลำปาง" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 55 (0 ง): 2097–2098. วันที่ 19 กันยายน พ.ศ. 2481
  8. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ยุบและตั้งตำบลใหม่ในเขตเทศบาล จังหวัดลำปาง" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 65 (15 ง): 955–958. วันที่ 16 มีนาคม พ.ศ. 2491
  9. "พระราชกฤษฎีกาเปลี่ยนแปลงเขตอำเภอแจ้ห่ม และอำเภอเมืองลำปาง จังหวัดลำปาง พ.ศ. ๒๕๐๕" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 79 (73 ก): 937–939. วันที่ 14 สิงหาคม พ.ศ. 2505
  10. "พระราชกฤษฎีกาเปลี่ยนแปลงเขตอำเภอแจ้ห่มและอำเภอเมืองลำปาง จังหวัดลำปาง พ.ศ. ๒๕๐๘" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 82 (100 ก): (ฉบับพิเศษ) 25–27. วันที่ 19 พฤศจิกายน พ.ศ. 2508
  11. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง จัดตั้งสุขาภิบาลชมพู อำเภอเมืองลำปาง จังหวัดลำปาง" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 86 (22 ง): 916–918. วันที่ 18 มีนาคม พ.ศ. 2512
  12. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ตั้งและเปลี่ยนแปลงเขตตำบลในท้องที่อำเภอเมืองลำปาง เถิน แจ้ห่ม วังเหนือ จังหวัดลำปาง" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 88 (101 ง): 2577–2592. วันที่ 21 กันยายน พ.ศ. 2514
  13. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง แบ่งท้องที่อำเภอเมืองลำปาง จังหวัดลำปาง ตั้งเป็นกิ่งอำเภอแม่เมาะ" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 93 (58 ง): 856.[ลิงก์เสีย] วันที่ 13 เมษายน พ.ศ. 2519
  14. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ตั้งและเปลี่ยนแปลงเขตตำบลในท้องที่กิ่งอำเภอแม่เมาะ อำเภอเมืองลำปาง จังหวัดลำปาง" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 98 (52 ง): 1011–1013. วันที่ 7 เมษายน พ.ศ. 2524
  15. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ตั้งและเปลี่ยนแปลงเขตตำบลในท้องที่อำเภอเมืองลำปาง จังหวัดลำปาง" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 98 (140 ง): 2893–2895. วันที่ 25 สิงหาคม พ.ศ. 2524
  16. "พระราชกฤษฎีกาตั้งอำเภอลานกระบือ อำเภอดงหลวง อำเภอทรายมูล อำเภอแม่เมาะ และอำเภอบัวเชด พ.ศ. ๒๕๒๗" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 101 (96 ง): (ฉบับพิเศษ) 10–12. วันที่ 26 กรกฎาคม พ.ศ. 2527
  17. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง เปลี่ยนแปลงเขตสุขาภิบาลชมพู อำเภอเมืองลำปาง จังหวัดลำปาง" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 108 (186 ง): 10640–10644. วันที่ 24 ตุลาคม พ.ศ. 2534
  18. "พระราชกฤษฎีกาเปลี่ยนแปลงเขตเทศบาลเมืองลำปาง จังหวัดลำปาง พ.ศ. ๒๕๓๔" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 108 (186 ก): 979–987. วันที่ 24 ตุลาคม พ.ศ. 2534
  19. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง จัดตั้งสุขาภิบาลพิชัย อำเภอเมืองลำปาง จังหวัดลำปาง" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 109 (126 ง): (ฉบับพิเศษ) 9–11. วันที่ 30 กันยายน พ.ศ. 2535
  20. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ตั้งและกำหนดเขตตำบลในท้องที่อำเภอเมืองลำปาง จังหวัดลำปาง" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 109 (145 ง): (ฉบับพิเศษ) 152–157. วันที่ 13 พฤศจิกายน พ.ศ. 2535
  21. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง จัดตั้งสุขาภิบาลบ่อแฮ้ว อำเภอเมืองลำปาง จังหวัดลำปาง" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 110 (43 ง): (ฉบับพิเศษ) 9–10. วันที่ 9 เมษายน พ.ศ. 2536
  22. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ตั้งและกำหนดเขตตำบลในท้องที่อำเภอเมืองลำปาง จังหวัดลำปาง" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 110 (182 ง): (ฉบับพิเศษ) 8–10. วันที่ 8 พฤศจิกายน พ.ศ. 2536
  23. "พระราชบัญญัติเปลี่ยนแปลงฐานะของสุขาภิบาลเป็นเทศบาล พ.ศ. ๒๕๔๒" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 116 (9 ก): 1–4 – โดยทาง ให้บรรดาสุขาภิบาลตามกฎหมายว่าด้วยสุขาภิบาลที่มีอยู่ในวันที่พระราชบัญญัตินี้ประกาศในราชกิจจานุเบกษา มีฐานะเป็นเทศบาลตำบลตามกฎหมายว่าด้วยเทศบาลในพระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ. วันที่ 24 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2542
  24. "พระราชกฤษฎีกาจัดตั้งเทศบาลนครลำปาง จังหวัดลำปาง พ.ศ. ๒๕๔๒" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 116 (110 ก): 10–14. วันที่ 10 พฤศจิกายน พ.ศ. 2542
  25. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง เปลี่ยนชื่อและเปลี่ยนแปลงฐานะเทศบาลตำบลเป็นเทศบาลเมือง" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 121 (ตอนพิเศษ 78 ง): 5–6. วันที่ 19 กรกฎาคม พ.ศ. 2547
  26. "ประกาศจังหวัดลำปาง เรื่อง ตั้งหมู่บ้านและกำหนดแนวเขตหมู่บ้าน" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 121 (ตอนพิเศษ 99 ง): 114–119. วันที่ 8 กันยายน พ.ศ. 2547
  27. "ประกาศจังหวัดลำปาง เรื่อง เปลี่ยนแปลงชื่อหมู่บ้าน หมู่ที่ ๑๒ ตำบลบ้านเอื้อม อำเภอเมืองลำปาง" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 121 (79 ง): 140–141. วันที่ 30 กันยายน พ.ศ. 2547
  28. "ประกาศจังหวัดลำปาง เรื่อง ตั้งและกำหนดเขตหมู่บ้าน" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 123 (ตอนพิเศษ 39 ง): 29–30. วันที่ 21 มีนาคม พ.ศ. 2549
  29. "ประกาศจังหวัดลำปาง เรื่อง ตั้งและกำหนดเขตหมู่บ้าน หมู่ที่ ๑๗ ตำบลพิชัย อำเภอเมืองลำปาง" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 124 (ตอนพิเศษ 47 ง): 111–113. วันที่ 20 เมษายน พ.ศ. 2550
  30. "ประกาศจังหวัดลำปาง เรื่อง ตั้งและกำหนดเขตหมู่บ้าน หมู่ที่ ๑๖ ตำบลบ้านเสด็จ อำเภอเมืองลำปาง" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 124 (ตอนพิเศษ 47 ง): 108–110. วันที่ 20 เมษายน พ.ศ. 2550
  31. "ประกาศจังหวัดลำปาง เรื่อง ตั้งและกำหนดเขตหมู่บ้าน หมู่ที่ ๑๗ ตำบลบ้านเสด็จ อำเภอเมืองลำปาง" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 124 (ตอนพิเศษ 47 ง): 106–107. วันที่ 20 เมษายน พ.ศ. 2550
  32. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง จัดตั้งองค์การบริหารส่วนตำบลต้นธงชัย อำเภอเมืองลำปาง จังหวัดลำปาง เป็นเทศบาลตำบลต้นธงชัย" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 128 (ตอนพิเศษ 118 ง): 29. วันที่ 7 ตุลาคม พ.ศ. 2554
  33. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง เปลี่ยนแปลงฐานะเทศบาลตำบลพิชัย อำเภอเมืองลำปาง จังหวัดลำปาง เป็นเทศบาลเมืองพิชัย" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 130 (ตอนพิเศษ 85 ง): 11. วันที่ 15 กรกฎาคม พ.ศ. 2556
  34. "ประกาศจังหวัดลำปาง เรื่อง เปลี่ยนแปลงชื่อหมู่บ้าน หมู่ที่ ๑๑ ตำบลบ้านเป้า อำเภอเมืองลำปาง" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 139 (39 ง): 95. วันที่ 19 พฤษภาคม พ.ศ. 2565
  35. จำนวนประชากรและบ้าน จำแนกเป็นรายอำเภอ และรายตำบล จังหวัดลำปาง ณ เดือนธันวาคม พ.ศ. 2553, สำนักบริหารทะเบียน กรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย