อำเภอแจ้ห่ม

อำเภอในจังหวัดลำปาง ประเทศไทย

แจ้ห่ม (ไทยถิ่นเหนือ: ) เป็นหนึ่งใน 13 อำเภอของจังหวัดลำปาง

อำเภอแจ้ห่ม
การถอดเสียงอักษรโรมัน
 • อักษรโรมันAmphoe Chae Hom
วัดเฉลิมพระเกียรติพระจอมเกล้าราชานุสรณ์
คำขวัญ: 
พญาคำลือคู่บ้าน มะขามหวานคู่เมือง
เงาพระธาตุลือเลื่อง เมืองน้ำปูดี
แผนที่จังหวัดลำปาง เน้นอำเภอแจ้ห่ม
แผนที่จังหวัดลำปาง เน้นอำเภอแจ้ห่ม
พิกัด: 18°42′46″N 99°33′27″E / 18.71278°N 99.55750°E / 18.71278; 99.55750
ประเทศ ไทย
จังหวัดลำปาง
พื้นที่
 • ทั้งหมด1,349.1 ตร.กม. (520.9 ตร.ไมล์)
ประชากร
 (2564)
 • ทั้งหมด38,282 คน
 • ความหนาแน่น28.38 คน/ตร.กม. (73.5 คน/ตร.ไมล์)
รหัสไปรษณีย์ 52120
รหัสภูมิศาสตร์5206
ที่ตั้งที่ว่าการที่ว่าการอำเภอแจ้ห่ม เลขที่ 333 หมู่ที่ 3 ถนนแจ้ห่ม-ลำปาง ตำบลวิเชตนคร อำเภอแจ้ห่ม จังหวัดลำปาง 52120
สารานุกรมประเทศไทย ส่วนหนึ่งของสารานุกรมประเทศไทย
เขื่อนกิ่วคอหมา ตั้งอยู่เพื่อเก็บกักน้ำลุ่มแม่น้ำวัง ตั้งอยู่ที่ตำบลปงดอน อำเภอแจ้ห่ม จังหวัดลำปาง

ที่ตั้งและอาณาเขต

แก้

อำเภอแจ้ห่มมีอาณาเขตติดต่อกับเขตการปกครองข้างเคียงดังต่อไปนี้

 
พระธาตุมะหิงยังก๊ะ องค์พระธาตุที่มีตำนานมาจากลังกาทวีป และได้รับการบูรณะในสมัยครูบาเจ้าศรีวิชัย ตั้งอยู่ที่ตำบลปงดอน อำเภอแจ้ห่ม จังหวัดลำปาง

ประวัติ

แก้

อำเภอแจ้ห่ม ตามตำนานพงศาวดารโยนกได้กล่าวว่าในราว พ.ศ. 1801 สมัยพระยางำเมือง ได้เป็นพระเจ้าแผ่นดินครองราชสมบัติแคว้นพะเยา ซึ่งได้กล่าวว่าในปีนั้นได้ส่งพญาคำแดงผู้ราชบุตรมาครองเมืองแจ้ห่มในฐานะพระยุพราชพญาคำแดงผู้ราชบุตรได้ครองเมืองพะเยาเป็นอันดับที่ 13 ของราชวงศ์พะเยา และส่งพญาคำลือผู้ราชบุตรให้มาครองเมืองแจ้ห่ม ในฐานะพระยุพราชเช่นเดียวกันจากการตรวจสอบทั้งด้านภูมิประเทศ ภาพถ่ายทางอากาศ เอกสารตำนานและนิทานพื้นบ้านต่างๆ อาจสรุปได้ถึงลักษณะเมืองแจ้ห่มโบราณว่า ในพื้นที่ดังกล่าว น่าจะมีเมืองลัวะที่สร้างขึ้นบนดอยเตี้ยๆใกล้บ้านสบมอญซึ่งมีคูคัน–ดินแบบอาศัยธรรมชาติเป็นรูปทรงของเมืองหลังจากที่เมืองถูกทิ้งให้รกร้างว่างเปล่าไป ได้เกิดการสร้างเมืองขึ้นใหม่อีกครั้งหนึ่งในสมัยพ่อขุนจอมธรรมและมีสถานะภาพเป็นเมืองลูกหลวงหรือเมืองอุปราชของเมืองพะเยา เพราะเมื่อกษัตริย์ที่เมืองพะเยาสวรรคตแล้ว เจ้าเมืองที่ได้มาครองเมืองแจ้ห่มทุกพระองค์จะต้องเสด็จไปครองราชย์ที่เมืองพะเยาเสมอ[ต้องการอ้างอิง]

เมืองแจ้ห่มอาจล่มสลายไปครั้งหนึ่งเพราะเหตุอุทกภัยแล้วสร้างขึ้นใหม่ อยู่สืบต่อมาจนอาณาจักรล้านนา ตกเป็นเมืองขึ้นของพม่า เมืองแจ้ห่มก็น่าที่จะตกอยู่ในการปกครองของพม่าด้วย ดังปรากฏร่องรอยของสถาปัตยกรรมแบบพม่าขึ้นหลายแห่งที่อำเภอแจ้ห่ม ภายหลังจากที่อาณาจักรล้านนาเป็นอิสระจากการปกครองของพม่า เมืองแจ้ห่มจึงกลับมาอยู่ในความปกครองของนครลำปาง เจ้านครลำปางได้ตั้งให้ญาติวงศ์มาประจำอยู่เมืองแจ้ห่ม คอยดูแลเก็บส่วยต่าง ๆ ส่งเข้าไปถวายเจ้าผู้ครองทุกปี เช่น ส่วยเหมี้ยง, ขี้ผึ้ง เป็นต้น ต่อมาเมื่อมีพระราชบัญญัติลักษณะปกครองท้องที่ประกาศใช้บังคับ ก็ได้มีการตั้งเมืองแจ้ห่มเป็นอำเภอแจ้ห่ม และได้ก่อสร้างที่ว่าการอำเภอแจ้ห่มหลังแรกขึ้น ณ บ้านป่าแดด ซึ่งชาวบ้านเรียกกันว่า หนองม่วงขอ โดยมีนายเป้า (พระภูธรธุรรักษ์) เป็นนายอำเภอคนแรก สมัยนั้นชาวบ้านเรียก ที่ว่าการอำเภอว่า ศาลาอำเภอ เรียกนายอำเภอว่า เจ้าอำเภอ ต่อมาได้มีการย้ายที่ว่าการอำเภอมาสร้างขึ้นใหม่ที่บริเวณฝั่งตะวันตกของแม่น้ำสอย ตำบลวิเชตนคร

  • วันที่ 1 พฤศจิกายน 2468 ตั้งตำบลทุ่งฮั้ว แยกออกจากตำบลวังเหนือ[1]
  • วันที่ 24 พฤษภาคม 2474 เปลี่ยนแปลงเขตจังหวัดลำปางกับจังหวัดเชียงราย โดยโอนพื้นที่หมู่ 1 บ้านงิ้วเฒ่า และหมู่ 15 บ้านผาวี (ในขณะนั้น) ของตำบลทุ่งฮั้ว อำเภอแจ้ห่ม จังหวัดลำปาง ไปขึ้นกับตำบลป่าหุ่ง อำเภอพาน จังหวัดเชียงราย[2]
  • วันที่ 21 มีนาคม 2480 แยกพื้นที่ตำบลทุ่งฮั้ว ตำบลวังเหนือ ตำบลวังใต้ และตำบลร่องเคาะ จากอำเภอแจ้ห่ม ไปตั้งเป็น กิ่งอำเภอวังเหนือ[3] และกำหนดให้ขึ้นการปกครองกับอำเภอแจ้ห่ม
  • วันที่ 9 มกราคม 2481 ยุบตำบลแจ้ห่มเหนือ รวมกับพื้นที่ตำบลแจ้ห่มใต้ ตั้งเป็นตำบลแจ้ห่ม และยุบตำบลแม่ก๋วม รวมกับพื้นที่ตำบลบ้านขอ และโอนพื้นที่หมู่ 10–11 (ในขณะนั้น) ของตำบลบ้านขอ ไปขึ้นกับตำบลทุ่งกว๋าว และยุบตำบลข่วงกอม ให้โอนหมู่ที่ 1–2, 6 ที่ได้ยุบตำบลของตำบลข่วงกอม ไปขึ้นกับตำบลเมืองปาน ให้โอนหมู่ที่ 3–5 ที่ได้ยุบตำบลของตำบลข่วงกอม ไปขึ้นตำบลแจ้ซ้อน และโอนพื้นที่หมู่ 11 (ในขณะนั้น) ของตำบลเมืองมาย ไปขึ้นกับตำบลบ้านสา และยุบตำบลวังใต้ ให้โอนหมู่ที่ 1–7, 9–12 ที่ได้ยุบตำบลของตำบลวังใต้ ไปขึ้นกับตำบลวังเหนือ ให้โอนหมู่ที่ 8, 13–15 ที่ได้ยุบตำบลของตำบลวังใต้ ไปขึ้นตำบลร่องเคาะ[4] และเปลี่ยนแปลงเขตอำเภอแจ้ห่มกับอำเภอเมืองลำปาง โดยโอนพื้นที่หมู่ 9 (ในขณะนั้น) ของตำบลเมืองมาย อำเภอแจ้ห่ม ไปขึ้นกับอำเภอเมืองลำปาง
  • วันที่ 20 กันยายน 2499 จัดตั้งสุขาภิบาลแจ้ห่ม ในท้องที่บางส่วนของตำบลแจ้ห่ม[5]
  • วันที่ 28 พฤศจิกายน 2499 จัดตั้งสุขาภิบาลวังเหนือ ในท้องที่บางส่วนของตำบลวังเหนือ[6]
  • วันที่ 22 กรกฎาคม 2501 ยกฐานะกิ่งอำเภอวังเหนือ อำเภอแจ้ห่ม เป็น อำเภอวังเหนือ[7]
  • วันที่ 14 สิงหาคม 2505 เปลี่ยนแปลงเขตอำเภอแจ้ห่มกับอำเภอเมืองลำปาง โดยโอนพื้นที่หมู่ 7–8 (ในขณะนั้น) ของตำบลทุ่งกว๋าว อำเภอแจ้ห่ม ไปขึ้นกับตำบลบ้านค่า อำเภอเมืองลำปาง[8]
  • วันที่ 19 พฤศจิกายน 2508 เปลี่ยนแปลงเขตอำเภอแจ้ห่มกับอำเภอเมืองลำปาง โดยโอนพื้นที่หมู่ 1 (ในขณะนั้น) ของตำบลเมืองมาย อำเภอแจ้ห่ม ไปขึ้นกับตำบลบ้านแลง อำเภอเมืองลำปาง และโอนพื้นที่หมู่ 2 (ในขณะนั้น) ของตำบลเมืองมาย อำเภอแจ้ห่ม ไปขึ้นกับตำบลบ้านดง อำเภอเมืองลำปาง[9]
  • วันที่ 21 กันยายน 2514 ตั้งตำบลปงดอน แยกออกจากตำบลแม่สุก และตำบลแจ้ห่ม[10]
  • วันที่ 8 กันยายน 2524 แยกพื้นที่ตำบลเมืองปาน ตำบลแจ้ซ้อน ตำบลบ้านขอ ตำบลทุ่งกว๋าว จากอำเภอแจ้ห่ม ไปตั้งเป็น กิ่งอำเภอเมืองปาน[11] และกำหนดให้ขึ้นการปกครองกับอำเภอแจ้ห่ม
  • วันที่ 17 สิงหาคม 2533 ตั้งตำบลหัวเมือง แยกออกจากตำบลแจ้ซ้อน[12]
  • วันที่ 9 เมษายน 2535 ยกฐานะกิ่งอำเภอเมืองปาน อำเภอแจ้ห่ม เป็น อำเภอเมืองปาน[13]
  • วันที่ 13 พฤศจิกายน 2535 ตั้งตำบลวิเชตนคร แยกออกจากตำบลแจ้ห่ม[14]
  • วันที่ 25 พฤษภาคม 2542 ยกฐานะสุขาภิบาลแจ้ห่ม เป็น เทศบาลตำบลแจ้ห่ม[15] ด้วยผลของกฎหมาย
  • วันที่ 12 กันยายน 2546 แยกพื้นที่หมู่ 3 บ้านสาแพะ ตำบลบ้านสา ตั้งเป็นหมู่บ้านใหม่ หมู่ 7 บ้านสาแพะเหนือ และแยกพื้นที่หมู่ 4 บ้านเปียงใจ ตำบลปงดอน ตั้งเป็นหมู่บ้านใหม่ หมู่ 8 บ้านเลาสู[16]
  • วันที่ 4 ธันวาคม 2546 เปลี่ยนแปลงชื่อหมู่ที่ 1 บ้านทุ่งปึ๋ง ตำบลวิเชตนคร อำเภอแจ้ห่ม จังหวัดลำปาง เป็นหมู่ที่ 1 "บ้านใหม่สวนดอกคำ"[17]
  • วันที่ 21 มีนาคม 2549 แยกพื้นที่หมู่ 4 บ้านไผ่งาม ตำบลเมืองมาย ตั้งเป็นหมู่บ้านใหม่ หมู่ 6 บ้านไผ่ทอง และแยกพื้นที่หมู่ 1 บ้านแม่สุก ตำบลแม่สุก ตั้งเป็นหมู่บ้านใหม่ หมู่ 12 บ้านแม่สุกสามัคคี และแยกพื้นที่หมู่ 1 บ้านแป้น ตำบลบ้านสา ตั้งเป็นหมู่บ้านใหม่ หมู่ 8 บ้านแป้นพัฒนา และแยกพื้นที่หมู่ 6 บ้านแป้นใต้ ตำบลบ้านสา ตั้งเป็นหมู่บ้านใหม่ หมู่ 9 บ้านแป้นโป่งชัย[18]
  • วันที่ 20 เมษายน 2550 แยกพื้นที่หมู่ 5 บ้านสามัคคี ตำบลบ้านสา ตั้งเป็นหมู่บ้านใหม่ หมู่ 10 บ้านสามัคคีเหนือ[19] แยกพื้นที่หมู่ 4 บ้านม่วงงาม ตำบลแจ้ห่ม ตั้งเป็นหมู่บ้านใหม่ หมู่ 11 บ้านม่วงพัฒนา[20]
  • วันที่ 18 กรกฎาคม 2551 จัดตั้งองค์การบริหารส่วนตำบลบ้านสา เป็นเทศบาลตำบลบ้านสา[21]
  • วันที่ 27 ตุลาคม 2552 จัดตั้งองค์การบริหารส่วนตำบลทุ่งผึ้ง เป็นเทศบาลตำบลทุ่งผึ้ง[22]
  • วันที่ 17 ตุลาคม 2562 แยกพื้นที่หมู่ 1 บ้านทุ่งฮ้าง ตำบลทุ่งผึ้ง ตั้งเป็นหมู่บ้านใหม่ หมู่ 7 บ้านใหม่สามัคคี และแยกพื้นที่หมู่ 5 บ้านแม่ช่อฟ้า ตำบลทุ่งผึ้ง ตั้งเป็นหมู่บ้านใหม่ หมู่ 8 บ้านแม่จอกฟ้า[23]

การแบ่งเขตการปกครอง

แก้

การปกครองส่วนภูมิภาค

แก้

อำเภอแจ้ห่มแบ่งเขตการปกครองย่อยออกเป็น 7 ตำบล 66 หมู่บ้าน ได้แก่

ที่ ชื่อตำบล ตัวเมือง อักษรโรมัน จำนวนหมู่บ้าน จำนวนครัวเรือน

(ปี 2565)

จำนวนประชากร

(ปี 2565)[24]

1. แจ้ห่ม   Chaehom 11 3,303 7,363
2. บ้านสา   Ban Sa 10 1,760 4,836
3. ปงดอน   Pong Don 8 1,671 4,339
4. แม่สุก   Mae Suk 12 2,501 6,814
5. เมืองมาย   Mueang Mai 6 1,088 3,186
6. ทุ่งผึ้ง   Thung Phueng 8 1,684 4,062
7. วิเชตนคร   Wichet Nakhon 11 2,980 7,230

การปกครองส่วนท้องถิ่น

แก้

ท้องที่อำเภอแจ้ห่มประกอบด้วยองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 8 แห่ง ได้แก่

  • เทศบาลตำบลแจ้ห่ม ครอบคลุมพื้นที่บางส่วนของตำบลแจ้ห่ม
  • เทศบาลตำบลบ้านสา ครอบคลุมพื้นที่ตำบลบ้านสาทั้งตำบล
  • เทศบาลตำบลทุ่งผึ้ง ครอบคลุมพื้นที่ตำบลทุ่งผึ้งทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลแจ้ห่ม ครอบคลุมพื้นที่ตำบลแจ้ห่ม (เฉพาะนอกเขตเทศบาลตำบลแจ้ห่ม)
  • องค์การบริหารส่วนตำบลปงดอน ครอบคลุมพื้นที่ตำบลปงดอนทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลแม่สุก ครอบคลุมพื้นที่ตำบลแม่สุกทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลเมืองมาย ครอบคลุมพื้นที่ตำบลเมืองมายทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลวิเชตนคร ครอบคลุมพื้นที่ตำบลวิเชตนครทั้งตำบล

อ้างอิง

แก้
  1. "ประกาศกระทรวงศึกษาธิการ เรื่อง การใช้พระราชบัญญัติประถมศึกษา พ.ศ. ๒๔๖๔ ในตำบลทุ่งฮั้ว ซึ่งแยกออกจากตำบลวังเหนือ ท้องที่อำเภอแจ้ห่ม จังหวัดลำปาง" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 42 (0 ก): 202–203. วันที่ 1 พฤศจิกายน พ.ศ. 2468
  2. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง โอนหมู่บ้านในจังหวัดลำปาง" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 48 (0 ก): 88. วันที่ 24 พฤษภาคม พ.ศ. 2474
  3. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ตั้งกิ่งอำเภอวังเหนือ" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 54 (0 ง): 3191–3192. วันที่ 21 มีนาคม พ.ศ. 2480
  4. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง เปลี่ยนแปลงเขตตำบลและอำเภอในจังหวัดลำปาง" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 55 (0 ง): 3344–3349. วันที่ 9 มกราคม พ.ศ. 2481
  5. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง จัดตั้งสุขาภิบาลแจ้ห่ม อำเภอแจ้ห่ม จังหวัดลำปาง" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 73 (75 ง): (ฉบับพิเศษ) 50–51. วันที่ 20 กันยายน พ.ศ. 2499
  6. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง จัดตั้งสุขาภิบาลวังเหนือ กิ่งอำเภอวังเหนือ อำเภอแจ้ห่ม จังหวัดลำปาง" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 73 (99 ง): (ฉบับพิเศษ) 67–68. วันที่ 28 พฤศจิกายน พ.ศ. 2499
  7. "พระราชกฤษฎีกาจัดตั้งอำเภอกระสัง อำเภอกระนวน อำเภอบางกอกใหญ่ อำเภอขุนหาร อำเภอพนา อำเภอปากช่อง อำเภอวังเหนือ อำเภอวังชิ้น อำเภอแม่ทา อำเภอหนองหมู อำเภอสระแก้ว อำเภออมก๋อย อำเภอบางซ้าย อำเภอทับสะแก อำเภอบุณฑริก อำเภอลานสะกา อำเภอจอมบึง อำเภอท่ายาง อำเภอสามเงา อำเภอฟากท่า อำเภอบ้านเขว้า อำเภอชานุมาน อำเภอแม่พริก อำเภอท่าสองยาง อำเภอสะเมิง อำเภอหนองแขม และอำเภอพระแสง พ.ศ. ๒๕๐๑" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 75 (55 ง): 321–327. วันที่ 22 กรกฎาคม พ.ศ. 2501
  8. "พระราชกฤษฎีกาเปลี่ยนแปลงเขตอำเภอแจ้ห่ม และอำเภอเมืองลำปาง จังหวัดลำปาง พ.ศ. ๒๕๐๕" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 79 (73 ก): 937–939. วันที่ 14 สิงหาคม พ.ศ. 2505
  9. "พระราชกฤษฎีกาเปลี่ยนแปลงเขตอำเภอแจ้ห่มและอำเภอเมืองลำปาง จังหวัดลำปาง พ.ศ. ๒๕๐๘" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 82 (100 ก): (ฉบับพิเศษ) 25–27. วันที่ 19 พฤศจิกายน พ.ศ. 2508
  10. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ตั้งและเปลี่ยนแปลงเขตตำบลในท้องที่อำเภอเมืองลำปาง เถิน แจ้ห่ม วังเหนือ จังหวัดลำปาง" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 88 (101 ง): 2577–2592. วันที่ 21 กันยายน พ.ศ. 2514
  11. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง แบ่งท้องที่อำเภอแจ้ห่ม จังหวัดลำปาง ตั้งเป็นกิ่งอำเภอเมืองปาน" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 98 (148 ง): 3040. วันที่ 8 กันยายน พ.ศ. 2524
  12. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ตั้งและกำหนดเขตตำบลในท้องที่กิ่งอำเภอเมืองปาน จังหวัดลำปาง" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 107 (149 ง): (ฉบับพิเศษ) 32–37. วันที่ 17 สิงหาคม พ.ศ. 2533
  13. "พระราชกฤษฎีกาตั้งอำเภอสอยดาว อำเภอโพนสวรรค์ อำเภอบางขัน อำเภอหว้านใหญ่ อำเภอเมืองปาน อำเภอภูหลวง อำเภอโคกศรีสุพรรณ และอำเภอสำโรง พ.ศ. ๒๕๓๕" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 109 (45 ก): 27–29. วันที่ 9 เมษายน พ.ศ. 2535
  14. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ตั้งและกำหนดเขตตำบลในท้องที่อำเภอแจ้ห่ม จังหวัดลำปาง" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 109 (145 ง): (ฉบับพิเศษ) 146–151. วันที่ 13 พฤศจิกายน พ.ศ. 2535
  15. "พระราชบัญญัติเปลี่ยนแปลงฐานะของสุขาภิบาลเป็นเทศบาล พ.ศ. ๒๕๔๒" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 116 (9 ก): 1–4 – โดยทาง ให้บรรดาสุขาภิบาลตามกฎหมายว่าด้วยสุขาภิบาลที่มีอยู่ในวันที่พระราชบัญญัตินี้ประกาศในราชกิจจานุเบกษา มีฐานะเป็นเทศบาลตำบลตามกฎหมายว่าด้วยเทศบาลในพระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ. วันที่ 24 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2542
  16. "ประกาศจังหวัดลำปาง เรื่อง ตั้งและกำหนดเขตหมู่บ้าน ประจำปี ๒๕๔๖" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 120 (ตอนพิเศษ 106 ง): 68–76. วันที่ 12 กันยายน พ.ศ. 2546
  17. "ประกาศจังหวัดลำปาง เรื่อง เปลี่ยนแปลงชื่อหมู่บ้าน หมู่ที่ ๑ ตำบลวิเชตนคร อำเภอแจ้ห่ม" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 120 (ตอนพิเศษ 139 ง): 53. วันที่ 4 ธันวาคม พ.ศ. 2546
  18. "ประกาศจังหวัดลำปาง เรื่อง ตั้งและกำหนดเขตหมู่บ้าน ประจำปี ๒๕๔๘" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 123 (ตอนพิเศษ 39 ง): 56–64. วันที่ 21 มีนาคม พ.ศ. 2549
  19. "ประกาศจังหวัดลำปาง เรื่อง ตั้งและกำหนดเขตหมู่บ้าน หมู่ที่ ๑๐ ตำบลบ้านสา อำเภอแจ้ห่ม" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 124 (ตอนพิเศษ 47 ง): 117–119. วันที่ 20 เมษายน พ.ศ. 2550
  20. "ประกาศจังหวัดลำปาง เรื่อง ตั้งและกำหนดเขตหมู่บ้าน หมู่ที่ ๑๑ ตำบลแจ้ห่ม อำเภอแจ้ห่ม" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 124 (ตอนพิเศษ 47 ง): 120–123. วันที่ 20 เมษายน พ.ศ. 2550
  21. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง จัดตั้งองค์การบริหารส่วนตำบลบ้านสา อำเภอแจ้ห่ม จังหวัดลำปาง เป็นเทศบาลตำบลบ้านสา". กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น. 125: 1. วันที่ 18 กรกฎาคม พ.ศ. 2551
  22. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่ิอง จัดตั้งองค์การบริหารส่วนตำบลทุ่งผึ้ง อำเภอแจ้ห่ม จังหวัดลำปาง เป็นเทศบาลตำบลทุ่งผึ้ง". กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น. 129: 1. วันที่ 27 ตุลาคม พ.ศ. 2552
  23. "ประกาศจังหวัดลำปาง เรื่อง ตั้งและกำหนดเขตหมู่บ้าน" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 136 (79 ง): 110–113. วันที่ 17 ตุลาคม พ.ศ. 2562
  24. จำนวนประชากรและบ้าน จำแนกเป็นรายอำเภอ และรายตำบล ท้องที่อำเภอแจ้ห่ม จังหวัดลำปาง ณ เดือนธันวาคม พ.ศ. 2565, สำนักบริหารทะเบียน กรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย วันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2565