พุทธศักราช
บทความนี้ไม่มีการอ้างอิงจากแหล่งที่มาใด |
พุทธศักราช ย่อว่า พ.ศ. เป็นปฏิทินสุริยจันทรคติที่ใช้ในประเทศกัมพูชา ลาว พม่า อินเดีย ศรีลังกา และไทย ตลอดจนประชากรจีนในประเทศมาเลเซีย สิงคโปร์และเวียดนามสำหรับโอกาสทางศาสนาหรือราชการอื่น แม้ศักราชนี้มีที่มาร่วมกัน แต่อาจมีความแตกต่างกันบ้างในการทดปฏิทิน ชื่อเดือนและเรียงลำดับเดือน การใช้วัฏจักร ฯลฯ ในประเทศไทย พ.ศ. เป็นระบบการนับปีที่ใช้ในปฏิทินสุริยคติไทย
นอกจากนี้ ยังมีคำว่า "พุทธกาล" และ "พุทธสมัย" ใช้กล่าวถึงช่วงเวลาที่พระโคตมพุทธเจ้ายังมีพระชนม์อยู่ คือ ช่วงเวลา 80 ปีก่อนพุทธศักราช แต่บางทีก็ใช้คำเหล่านี้หมายถึง ช่วงเวลาที่เชื่อว่า พุทธศาสนาจะดำรงอยู่หลังการปรินิพพานของพระโคตมพุทธเจ้า ฉะนั้น จึงมีการใช้ x ปีก่อนพุทธกาล เพื่อหมายถึง x ปีก่อนพุทธศักราช เป็นต้น
ต้นยุคอ้างอิงแก้ไข
ต้นยุคอ้างอิง (epoch) ของพุทธศักราชตรงกับวันที่ 13 พฤษภาคม ค.ศ. 544 (ขึ้น 15 ค่ำเดือนวิสาขะ อัญจนศก 148)[1] ส่วน พ.ศ. แบบไทยเริ่มนับตั้งแต่วันที่ 1 มีนาคม ค.ศ. 545 จึงทำให้ พ.ศ. แบบไทยช้ากว่าของประเทศอื่นอยู่เกือบ 1 ปี
ดูเพิ่มแก้ไข
อ้างอิงแก้ไข
- ↑ Kala Vol. 1 2006: 38
- ความรู้เรื่องศักราชที่ใช้ในหนังสือไทย เก็บถาวร 2008-04-30 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน จากเว็บสำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ
แหล่งข้อมูลอื่นแก้ไข
- วิกิซอร์ซมีงานที่เกี่ยวข้องกับ ประกาศให้ใช้วันที่ 1 มกราคม เป็นวันขึ้นปีใหม่ ลงวันที่ 24 ธันวาคม 2483