สถานีรถไฟนครลำปาง
สถานีรถไฟนครลำปาง (อังกฤษ: Nakhon Lampang Railway Station) เป็นสถานีรถไฟระดับหนึ่งบนเส้นทางรถไฟสายเหนือ (กรุงเทพ–เชียงใหม่) ซึ่งถ้าเป็นสถานีรถไฟประจำจังหวัดลำปาง ซึ่งลงสถานีนี้สามารถเดินทางไปจังหวัดพะเยาและจังหวัดตากได้อีกด้วย โดยสถานีรถไฟนครลำปางอยู่ระหว่างสถานีรถไฟหนองวัวเฒ่า กับสถานีรถไฟห้างฉัตร
สถานีรถไฟนครลำปาง | |||||||||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
สถานีระดับที่ 1 | |||||||||||||||||
ด้านหน้าสถานี | |||||||||||||||||
ข้อมูลทั่วไป | |||||||||||||||||
ชื่ออื่น | ลำปาง | ||||||||||||||||
ที่ตั้ง | ถนนรถไฟ ตำบลสบตุ๋ย อำเภอเมืองลำปาง จังหวัดลำปาง | ||||||||||||||||
พิกัด | 18°16′44″N 99°28′24″E / 18.27889°N 99.47333°E | ||||||||||||||||
ผู้ให้บริการ | การรถไฟแห่งประเทศไทย | ||||||||||||||||
ผู้บริหาร | กระทรวงคมนาคม | ||||||||||||||||
สาย | |||||||||||||||||
ชานชาลา | 2 | ||||||||||||||||
ทางวิ่ง | 6 | ||||||||||||||||
โครงสร้าง | |||||||||||||||||
ประเภทโครงสร้าง | ระดับดิน | ||||||||||||||||
ที่จอดรถ | ลานจอดรถหน้าสถานี | ||||||||||||||||
ข้อมูลอื่น | |||||||||||||||||
รหัสสถานี | 1193 (ลป.) | ||||||||||||||||
ประเภท | สถานีรถไฟชั้น 1 | ||||||||||||||||
ประวัติ | |||||||||||||||||
เริ่มเปิดให้บริการ | 1 เมษายน พ.ศ. 2459 | ||||||||||||||||
การเชื่อมต่อ | |||||||||||||||||
| |||||||||||||||||
| |||||||||||||||||
|
สถานีนครลำปางก่อสร้างและเปิดเดินรถในสมัยรัชกาลที่ 6 ปัจจุบันตัวสถานีและย่าน (ไม่นับย่านโรงรถจักร และย่านนอกสถานี) มีจำนวนทาง 8 ทาง เป็นทางหลัก 1 ทาง ทางหลีก 4 ทาง ทางตัน 3 ทาง โดยเป็นทางติดชานชาลา 2 ทาง
สถานีรถไฟนครลำปางเป็นสถานีหนึ่งในโครงการรถไฟทางคู่ช่วงเด่นชัย - เชียงใหม่
สถานีรถไฟนครลำปางเป็นสถานีหนึ่งในโครงการรถไฟความเร็วสูงกรุงเทพ (สถานีกลางบางซื่อ) - เชียงใหม่ ช่วงสถานีรถไฟพิษณุโลก - เชียงใหม่ ใช้ชื่อ สถานีลำปาง รหัสสถานี HN10 อยู่ระหว่างสถานีรถไฟศรีสัชนาลัย กับสถานีรถไฟลำพูน เปิดใช้งานประมาณปี พ.ศ. 2575
แต่เดิม ระหว่างสถานีรถไฟห้างฉัตรกับสถานีรถไฟนครลำปางเคยมี ที่หยุดรถบ่อแฮ้วแต่ปัจจุบันได้ถูกยุบเลิกไปแล้ว
ประวัติ
แก้สถานีรถไฟนครลำปางก่อสร้างขึ้นในสมัยรัชกาลที่ 6 ปี พ.ศ. 2458 และเปิดเดินรถครั้งแรกเมื่อวันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2459 โดยเส้นทางช่วงแม่จาง-นครลำปาง ซึ่งมีระยะทาง 42 กิโลเมตร และเป็นส่วนหนึ่งของทางรถไฟสายเหนือ มีพระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าบุรฉัตรไชยากร กรมพระกำแพงเพชรอัครโยธิน เป็นผู้บัญชาการ และมีนายช่างชาวเยอรมัน เอมิล ไอเซนโฮเฟอร์ เป็นผู้ควบคุมการก่อสร้างสถานีรถไฟนครลำปาง เป็นสถานีรถไฟยุคแรกๆที่ยังคงเหลืออาคารอยู่ภายหลังในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 1
ในช่วงปี พ.ศ. 2459 - 2464 สถานีรถไฟนครลำปางได้เป็นสถานีรถไฟปลายทางของเส้นทางสายเหนือ มีขบวนรถรวมพิษณุโลก - ลำปาง และอุตรดิตถ์ - ลำปาง ก่อนมีรถด่วนจากกรุงเทพขึ้นมาทำขบวนเมื่อ 1 พฤศจิกายน 2465[1] ซึ่งในเวลานั้นทำให้จังหวัดลำปางเป็นชุมทางขนส่งมวลชนที่ทันสมัยที่สุด ซึ่งทำเกิดการเปลี่ยนแปลงของเศรษฐกิจ แล้วยังเป็นจุดขายกระจายสินค้า และผู้คนจากภาคกลาง ที่จะเดินทางไปที่อื่นๆในภาคเหนือ[2]
ส่วนสงครามโลกครั้งที่ 2 สถานีรถไฟนครลำปางเป็นจุดยุทธศาสตร์ที่ฝ่ายสัมพันธมิตรต้องการทำลาย เนื่องจากเป็นเส้นทางลำเลียงและยุทโธปกรณ์ของญี่ปุ่น แต่ก็ได้รับความเสียหายเล็กน้อย โดยหลักฐานที่มาอยู่ถึงปัจจุบันคือรอยกระสุนปืน ที่คานหลังคาชานชลาสถานีรถไฟ[2]
ในปี พ.ศ. 2506 การรถไฟแห่งประเทศไทยได้จัดส่งหัวรถจักรไอน้ำมาแสดงไว้ที่สถานีรถไฟลำปาง และกำหนดให้สถานีรถไฟแห่งนี้เป็นสถานีประวัติศาสตร์ และทำการอนุรักษ์ไว้ โดยมีตัวอาคารสถานี คลังสินค้า พื้นที่เก็บหัวรถจักรและตัวรถไฟ รวมถึงพื้นที่บ้านพักพนักงาน ซึ่งอาคารสถานีได้ผ่านการต่อเติมมาเป็นบางส่วน โดยเฉพาะช่วงก่อนปี พ.ศ. 2520 มีการต่อเติมส่วนควบคุมบริเวณปีกทางทิศใต้ ส่วนพักคอยด้านติดรางรถไฟ และ ซุ้มด้านหน้าที่จอดรถ[1]
ในปี พ.ศ. 2536 สถานีรถไฟนครลำปาง ได้รับการคัดเลือกจากคณะกรรมการอนุรักษ์สถาปัตยกรรมแห่งสมาคมสถาปนิกสยามในพระบรมราชูปถัมภ์ ให้เป็นอาคารอนุรักษ์ดีเด่น ประเภทอาคารสถาบันและสาธารณะ ประจำปี พ.ศ. 2536 [2]
ในปี พ.ศ. 2538 ได้มีการเปลี่ยนกระเบื้องหลังคา กระเบื้องพื้น ของตัวสถานี และปรับปรุงพื้นชั้นล่างทั้งหมด[1] ซึ่งก็ยังถือว่าเป็นสถาปัตยกรรมยังคงรูปแบบและเอกลักษณ์เดิมอย่างครบถ้วนสมบูรณ์ จนถึงปัจจุบัน
ปัจจุบันสถานีรถไฟประจำจังหวัดลำปาง มีพื้นที่ 161 ไร่ ห่างจากสถานีรถไฟกรุงเทพ 642.293 กิโลเมตร
สถาปัตยกรรม
แก้อาคารสถานีเป็นอาคารสองชั้นที่ผสมผสานกันระหว่างสถาปัตยกรรมไทยภาคเหนือกับสถาปัตยกรรมยุโรปแบบบาวาเรียนคอทเทจ (Bavarian Cottage) ออกแบบโดย เอิรสท์ อัลท์มันน์ (Mr. Ernst Altmann) วิศวกรชาวเยอรมนี ชั้นล่างก่ออิฐฉาบปูนใช้ระบบคานโค้ง (Arch) 4 ช่วง ขนาบด้วยโค้งช่วงเล็กประกบทั้งสองฝั่งเป็นรูปแบบนีโอคลาสสิก (Neoclassic) ชั้นบนสร้างด้วยไม้มีกรอบเป็นโครงสร้างสี่เหลี่ยมมีไม้ยึดยันแนวทแยงเสริมเป็นช่วงๆ ไม่ให้อาคารโยก ซึ่งนี้เป็นเทคนิคด้านโครงสร้างที่เด่นมากจากฟากเยอรมนี นอกจากนั้นยังมีการกรุใต้ไม้ฝาตีตามแนวนอน และอวดโครงสร้างกรอบเป็นรูปแบบฮาล์ฟทิมเบอร์ (Half Timber)
หลังคาของสถานีเป็นทรงปั้นหยาผสมจั่วซ้อนชั้นคล้ายหลังคาตามสถาปัตยกรรมล้านนา ราวระเบียงและช่องแสงเหนือประตูหน้าต่างประดับด้วยช่องปรุไม้แกะสลักลวดลายเลียนแบบศิลปะล้านนา ที่โดดเด่นมากๆ และมองไปทางไหนก็เห็น คือลายแจกันหรือหม้อปูรณฆฏะผสมลายเครือเถา ประดับช่อดอกไม้ม้วนขมวดเป็นวงตามแบบที่พบได้ตามวัดล้านนา ซึ่งเป็นฝีมือช่างที่ประณีตและละเอียดเป็นอย่างมากบนหน้าจั่วของอาคารชั้นบนมีตัวเลขพุทธศักราช 2458 และคริสต์ศักราช 1915 ซึ่งเป็นปีสร้างอาคารเป็นตัวนูนออกมา โดยฝั่งที่หันไปทางกรุงเทพฯ เป็นคริสต์ศักราช และฝั่งที่หันไปทางเชียงใหม่เป็นพุทธศักราช
หลังคาคลุมชานชาลาด้านหน้าอาคารที่ใช้งานปัจจุบัน ไม่ได้ถูกสร้างและติดตั้งที่นี่มาตั้งแต่แรก ซึ่งไม่มีข้อมูลที่แน่ชัดว่ามาประกอบเข้าช่วงไหน แต่มีหลักฐานข้อมูลว่าถูกยกมาจากสถานีรถไฟแปดริ้ว(ที่หยุดรถไฟแปดริ้วในปัจจุบัน) ซึ่งเคยสถานีรถไฟประจำจังหวัดฉะเชิงเทราในสมัยนั้น ก่อนถูกลดขั้นสถานีแล้วย้ายที่ตั้งใหม่ และเปลี่ยนชื่อเป็นสถานีรถไฟชุมทางฉะเชิงเทราในปัจจุบัน ซึ่งอยู่ในเส้นทางรถไฟสายตะวันออก
ด้านหน้าสถานีมีรถจักรไอน้ำโมกุล C56 หมายเลข 728 (C56-36) (C5636) ซึ่งเป็นรุ่นที่นำมาใช้งานตั้งแต่สมัยสงครามโลกครั้งที่ 2 โดยกองทัพญี่ปุ่นนำรถจักรไอน้ำรุ่นนี้มาดัดแปลงและนำมาใช้การเป็นอาวุธยุทธโธปกรณ์ในเส้นทางทางรถไฟสายมรณะ ในจังหวัดราชบุรีและจังหวัดกาญจนบุรี เพื่อไปสู่ประเทศพม่าระหว่างสงครามโลกครั้งที่ 2 และเมื่อสงครามจบก็ไม่ได้นำกลับไป ทิ้งรถจักรไอน้ำส่วนใหญ่ไว้ให้ใช้เพื่อทดแทนรถจักรที่เสียหายจากสงครามในยุคนั้น ซึ่งรถจักรไอน้ำหมายเลข 728 ก็ได้ถูกปลดที่สถานีนี้ในฐานะรถจักรสับเปลี่ยน และได้ถูกจอดตั้งไว้อยู่ด้านหน้าสถานีรถไฟนครลำปางจนถึงปัจจุบัน ซึ่งโดยรอบจะมีจุดจอดรถม้าสำหรับนักท่องเที่ยวอยู่ด้วย[3]
ตารางเดินรถ
แก้- ณ วันที่ 17 กรกฎาคม 2564
เที่ยวไป
แก้ขบวนรถ | ต้นทาง | นครลำปาง | ปลายทาง | หมายเหตุ | |||
---|---|---|---|---|---|---|---|
ชื่อสถานี | เวลาออก | ชื่อสถานี | เวลาถึง | ||||
ดพ9 | กรุงเทพอภิวัฒน์ | 18.40 | 04.57 | เชียงใหม่ | 07.15 | ||
ดพ13 | กรุงเทพอภิวัฒน์ | 20.05 | 06.33 | เชียงใหม่ | 08.40 | ||
ด51 | กรุงเทพอภิวัฒน์ | 22.30 | 10.01 | เชียงใหม่ | 12.10 | ||
ท407 | นครสวรรค์ | 05.00 | 12.36 | เชียงใหม่ | 14.35 | ||
ร109 | กรุงเทพอภิวัฒน์ | 14.15 | 17.11 | เชียงใหม่ | 04.05 | ||
ดพ7 | กรุงเทพอภิวัฒน์ | 09.05 | 17.33 | เชียงใหม่ | 19.30 | ||
หมายเหตุขบวนรถ: ■ = สายเหนือ / ■ = สายตะวันออกเฉียงเหนือ / ■ = สายใต้ / ■ = สายตะวันออก / ■ = สายแม่กลอง ดพ = รถด่วนพิเศษ / ด = รถด่วน / ร = รถเร็ว / ธ = รถธรรมดา / ช = รถชานเมือง / พช = รถพิเศษชานเมือง / ท = รถท้องถิ่น / น = รถนำเที่ยว / ส = รถสินค้า |
เที่ยวกลับ
แก้ขบวนรถ | ต้นทาง | นครลำปาง | ปลายทาง | หมายเหตุ | |||
---|---|---|---|---|---|---|---|
ชื่อสถานี | เวลาออก | ชื่อสถานี | เวลาถึง | ||||
ร102 | เชียงใหม่ | 06.30 | 08.37 | กรุงเทพอภิวัฒน์ | 20.25 | ||
ดพ8 | เชียงใหม่ | 08.50 | 10.41 | กรุงเทพอภิวัฒน์ | 18.55 | ||
ท408 | เชียงใหม่ | 09.30 | 12.02 | นครสวรรค์ | 19.55 | ||
ด52 | เชียงใหม่ | 15.30 | 18.04 | กรุงเทพอภิวัฒน์ | 05.10 | ||
ดพ14 | เชียงใหม่ | 17.00 | 19.27 | กรุงเทพอภิวัฒน์ | 06.10 | ||
ดพ10 | เชียงใหม่ | 18.00 | 20.17 | กรุงเทพอภิวัฒน์ | 06.50 | ||
หมายเหตุขบวนรถ: ■ = สายเหนือ / ■ = สายตะวันออกเฉียงเหนือ / ■ = สายใต้ / ■ = สายตะวันออก / ■ = สายแม่กลอง ดพ = รถด่วนพิเศษ / ด = รถด่วน / ร = รถเร็ว / ธ = รถธรรมดา / ช = รถชานเมือง / พช = รถพิเศษชานเมือง / ท = รถท้องถิ่น / น = รถนำเที่ยว / ส = รถสินค้า |
รถสินค้า
แก้- ขบวนรถก๊าซที่ 651/652
- ขบวนรถน้ำมันที่ 643/644, 673/674
ระเบียงภาพ
แก้-
รถจักรไอน้ำโมกุล C56 หมายเลข 728 (C56-36) (C5636) ตั้งอยู่ที่ด้านหน้าสถานีรถไฟนครลำปาง, จังหวัดลำปาง เมื่อเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2551
-
รถจักรไอน้ำโมกุล C56 หมายเลข 728 (C56-36) (C5636) ตั้งอยู่ที่ด้านหน้าสถานีรถไฟนครลำปาง, จังหวัดลำปาง เมื่อปลายเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2554
-
รถจักรไอน้ำโมกุล C56 หมายเลข 728 (C56-36) (C5636) ตั้งอยู่ที่ด้านหน้าสถานีรถไฟนครลำปาง, จังหวัดลำปาง เมื่อเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2556
-
รถไฟขบวนแรกที่มาถึงสถานีรถไฟนครลำปาง เมื่อวันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2459
-
ภาพบริเวณย่านสถานีรถไฟนครลำปาง
-
ด้านหน้าสถานี
-
ชานชาลา ในภาพมองมุ่งหน้ากรุงเทพฯ
-
ชานชาลา ในภาพมองมุ่งหน้าเชียงใหม่
-
ด้านข้างของอาคารมองจากชานชาลา
-
ป้ายสถานีในภาษาต่าง ๆ และที่จอดรถสตรี
-
รถไฟจากกรุงเทพฯ เข้าจอดที่ชานชาลา
งานประจำปีที่สำคัญ
แก้สถานที่สำคัญที่ใกล้เคียง
แก้- วัดศรีรองเมือง
- ชุมชนตำบลสบตุ๋ย
อ้างอิง
แก้- ↑ 1.0 1.1 1.2 ".::สถานีรถไฟลำปาง::". www.lampang.go.th. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-03-04. สืบค้นเมื่อ 2021-07-17.
- ↑ 2.0 2.1 2.2 Thailand (http://neko.studio), Neko Studio. "เกร็ดประวัติศาสตร์ สถานีรถไฟนครลำปาง". วารสารเมืองโบราณ (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน).
- ↑ เนียมปาน, วันวิสข์ (2021-01-04). "สถานีรถไฟนครลำปาง อาคารสไตล์ล้านนาและ Bavarian Cottage ที่บรรจุประวัติศาสตร์ภาคเหนือ". The Cloud.
แหล่งข้อมูลอื่น
แก้- แผนที่และภาพถ่ายทางอากาศของ สถานีรถไฟนครลำปาง
- ภาพถ่ายดาวเทียมจากวิกิแมเปีย หรือกูเกิลแมปส์
- แผนที่จากลองดูแมป หรือเฮียวีโก
- ภาพถ่ายทางอากาศจากเทอร์ราเซิร์ฟเวอร์