รถด่วนพิเศษอุตราวิถี

รถด่วนพิเศษอุตราวิถี (อุตราวิถี แปลว่า ทางสู่ภาคเหนือ รหัสขบวน: 9/10) เป็นขบวนรถด่วนพิเศษของการรถไฟแห่งประเทศไทย ให้บริการผู้โดยสารระหว่างสถานีกลางกรุงเทพอภิวัฒน์ เขตจตุจักร กรุงเทพมหานคร กับสถานีรถไฟเชียงใหม่ อำเภอเมืองเชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่ชนิดรถที่ให้บริการได้แก่ รถนั่งและนอนปรับอากาศชั้น 1 รถนั่งและนอนปรับอากาศชั้น 2 รถเสบียงปรับอากาศ รถเฉพาะผู้พิการมีลิฟต์สำหรับรับรถผู้พิการ และรถเฉพาะสุภาพสตรีและเด็กผู้หญิง ทุกตู้จะมีเจ้าหน้าที่ประจำตู้และรถไฟขบวนนี้มีทางขึ้นทั้งแบบชานชาลาตำและชานชาลาสูง รถไฟขบวนนี้มีตู้ปั่นไฟ มีถังเก็บนำ และมีถังเก็บสิ่งปฏิกูล

รถด่วนพิเศษอุตราวิถี
ข้อมูลทั่วไป
ประเภทรถด่วนพิเศษ
สถานะเปิดให้บริการ
ที่ตั้งกรุงเทพมหานคร, ปทุมธานี, พระนครศรีอยุธยา, ลพบุรี, นครสวรรค์, พิษณุโลก, อุตรดิตถ์, แพร่, ลำปาง, ลำพูน และเชียงใหม่
ให้บริการครั้งแรก17 พฤศจิกายน พ.ศ. 2559 (7 ปีก่อน)
ผู้ให้บริการการรถไฟแห่งประเทศไทย
เส้นทาง
ปลายทางกรุงเทพอภิวัฒน์
เชียงใหม่
จอด13
ระยะทาง751.42 km (466.91 mi)
เวลาเดินทาง12 ชั่วโมง 35-50 นาที
ความถี่ให้บริการ2 เที่ยวต่อวัน (เที่ยวไป/เที่ยวกลับ)
เลขขบวน9 (เที่ยวไป)
10 (เที่ยวกลับ)
ในเส้นทางทางรถไฟสายเหนือ
บริการบนขบวน
ชั้นชั้น 1,2
ผู้พิการเข้าถึงได้มีบริการ
ที่นอนรถนั่งและนอนชั้น 1
รถนั่งและนอนชั้น 2
บริการอาหารตู้เสบียง
ข้อมูลทางเทคนิค
ขบวนรถรถจักรคิวเอสวาย
บนอ.ป.1101-1109
บนท.ป.1301-1379
บนท.ป.1401-1409
รางกว้าง1,000 mm (3 ft 3 38 in)
ความเร็ว120 km/h (75 mph)

รถด่วนพิเศษอุตราวิถีเริ่มเดินรถเที่ยวปฐมฤกษ์ในเส้นทางกรุงเทพมหานคร-เชียงใหม่ เมื่อวันที่ 11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2559 หลังจากการรถไฟแห่งประเทศไทยได้จัดซื้อรถไฟโดยสารเชิงพาณิชย์รุ่นใหม่จากประเทศจีนจำนวนทั้งหมด 115 คัน โดยขบวนรถได้รับพระราชทานชื่อจากสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ร่วมกับรถด่วนพิเศษของการรถไฟแห่งประเทศไทยในอีก 3 เส้นทาง ได้แก่ อีสานมรรคา อีสานวัตนา และทักษิณารัถย์[1]

ผังขบวน แก้

หมายเลขตู้ขาขึ้น 1 2 3 4 5 6 7 8 9 10 11 12 13
หมายเลขตู้ขาล่อง 1 13 12 11 10 9 8 7 6 5 4 3 2
ชั้น ตู้ปั่นไฟ

(บฟก.ป)

ชั้นสอง (บนท.ป CNR) ตู้เสบียง

(บกข.ป)

ชั้นสอง (บนท.ป CNR) ชั้นหนึ่ง

(บนอ.ป CNR

จำนวนที่นั่ง 6 40 40 40 40 36 26 40 40 40 40 40 24
สิ่งอำนวย
ความสะดวก
ที่นอนและห้องนำ
เจ้าหน้าที่
สุขา สุขา สุขา สุขา สุขาผู้พิการ
พื้นที่วีลแชร์
โต๊ะทานอาหาร สุขา สุขา สุขา สุขา สุขา สุขา
ห้องอาบน้ำ
  • ขาขึ้นหัวรถจักรจะอยู่ติดกับตู้ปั่นไฟ ขาล่องหัวรถจักรจะอยู่ติดกับตู้ชั้นหนึ่ง
  • ภายหลังสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 เริ่มคลี่คลาย ปัจจุบันการรถไฟแห่งประเทศไทยได้ทำการพ่วงตู้เสบียง (บกข.ป) ทั้งขาขึ้นและขาล่องตามปกติตั้งแต่วันที่ 6 ธันวาคม พ.ศ. 2565 เป็นต้นไป
  • หมายเลขของตู้ปั่นไฟ (บฟก.ป) จะใช้หมายเลข 1 ทั้งขาขึ้นและขาล่อง
  • ตู้เฉพาะสุภาพสตรีและเด็กผู้หญิง หรือ Lady Car จะอยู่ติดกับตู้ชั้นหนึ่ง (บนอ.ป CNR) [ขาล่อง - ตู้หมายเลข 12 ขาขึ้น - ตู้หมายเลข 3 ]
  • ตู้สำหรับผู้พิการ (วีลแชร์) จะอยู่ติดกับรถเสบียง (บกข.ป) [ขาล่อง - ตู้หมายเลข 6 ขาขึ้น - ตู้หมายเลข 9]

กำหนดเวลาเดินรถ แก้

รถด่วนพิเศษอุตราวิถีใช้กำหนดเวลาเดิมของรถด่วนพิเศษนครพิงค์ก่อนการยุบเลิก มีรายละเอียดดังต่อไปนี้

เที่ยวขึ้น แก้

ขบวนที่ 9
(กรุงเทพอภิวัฒน์ – เชียงใหม่)
สถานี ถึง ออก หมายเหตุ
กรุงเทพอภิวัฒน์ ต้นทาง 18:40
ดอนเมือง 18.55 18.57
รังสิต 19.06 19.07
อยุธยา 19.44 19.45
ลพบุรี 20.41 20.42
นครสวรรค์ 22.14 22.17
พิษณุโลก 00.15 00.18
ศิลาอาสน์ 01.44 01.54
เด่นชัย 02.48 02.51
นครลำปาง 04.57 05.01
ขุนตาน 06.01 06.06
ลำพูน 06.50 06.51
เชียงใหม่ 07.15 ปลายทาง


เที่ยวล่อง แก้

ขบวนที่ 10
(เชียงใหม่ – กรุงเทพอภิวัฒน์)
สถานี ถึง ออก หมายเหตุ
เชียงใหม่ ต้นทาง 18.00
ลำพูน 18.19 18.20
ขุนตาน 19.16 19.21
นครลำปาง 20.12 20.17
เด่นชัย 22.33 22.36
ศิลาอาสน์ 23.32 23.33
พิษณุโลก 00.47 00.50
นครสวรรค์ 02.38 02.41
ลพบุรี 04.04 04.09
อยุธยา 05.27 05.29
รังสิต 06.20 06.23
ดอนเมือง 06.33 06.35
กรุงเทพอภิวัฒน์ 06.50 ปลายทาง


อ้างอิง แก้

  1. "ร.ฟ.ท.พร้อมให้บริการรถไฟรุ่นใหม่ กทม.-เชียงใหม่ เที่ยวแรกเริ่ม 11 พ.ย." ไทยรัฐ. 26 ตุลาคม 2559. สืบค้นเมื่อ 18 มีนาคม 2560. {{cite news}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)