ทางรถไฟสายมรณะ
ทางรถไฟสายมรณะ (ทางรถไฟสายน้ำตก หรือ ทางรถไฟสายกาญจนบุรี เดิมเรียก ทางรถไฟสายพม่า) เป็นเส้นทางรถไฟสายหนึ่งที่เริ่มต้นจากสถานีชุมทางหนองปลาดุก อำเภอบ้านโป่ง จังหวัดราชบุรี ผ่านจังหวัดกาญจนบุรี ข้ามแม่น้ำแควใหญ่ โดยสะพานข้ามแม่น้ำแคว ไปทางทิศตะวันตกจนถึงด่านเจดีย์สามองค์ เพื่อให้ถึงปลายทางที่เมืองตาน-พยูซะยะ ประเทศพม่า
ทางรถไฟสายมรณะ | |||
---|---|---|---|
ภาพทางรถไฟสายมรณะ ช่วงระหว่างสถานีรถไฟลุ่มสุ่มและป้ายหยุดรถไฟถ้ำกระแซ | |||
ข้อมูลทั่วไป | |||
สถานะ | เปิดให้บริการ | ||
เจ้าของ | การรถไฟแห่งประเทศไทย | ||
ปลายทาง |
| ||
จำนวนสถานี | 53 (สงครามโลกครั้งที่ 2) 30 (เปิดให้บริการ) 23 (ยุบเลิกแล้ว) | ||
การดำเนินงาน | |||
รูปแบบ | รถไฟระหว่างเมือง | ||
ระบบ | รถไฟทางไกล ของการรถไฟแห่งประเทศไทย | ||
ผู้ดำเนินงาน | การรถไฟแห่งประเทศไทย | ||
ประวัติ | |||
เปิดเมื่อ | 25 ตุลาคม พ.ศ. 2486 | ||
ข้อมูลทางเทคนิค | |||
ระยะทาง | 194.84 กม. (121.07 ไมล์) (จากสถานีธนบุรี) 303.95 กม. (188.87 ไมล์) (สมัยสงครามโลกครั้งที่ 2) | ||
รางกว้าง | ราง 1 เมตร ทางเดี่ยว | ||
|
ในอดีตทางรถไฟสายมรณะมีความยาวจากหนองปลาดุกถึงสถานีตาน-พยูซะยะ รวม 415 กิโลเมตร แบ่งเป็นทางรถไฟที่อยู่ในเขตประเทศไทยประมาณ 303.95 กิโลเมตร และอยู่ในเขตพม่า 111.05 กิโลเมตร มีจำนวนสถานีทั้งหมด 37 สถานี ทางรถไฟสายนี้สร้างขึ้นในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 โดยใช้แรงงานเชลยศึกฝ่ายสัมพันธมิตรและกรรมกรชาวเอเชียที่กองทัพญี่ปุ่นเกณฑ์มาสร้าง เพื่อใช้เป็นเส้นทางยุทธศาสตร์ผ่านประเทศพม่า
ปัจจุบันเส้นทางนี้ไปสุดปลายทางที่ป้ายหยุดรถไฟน้ำตกไทรโยคน้อย บ้านท่าเสา ระยะทางจากสถานีกาญจนบุรีถึงสถานีน้ำตกเป็นระยะทางประมาณ 77 กิโลเมตร การรถไฟแห่งประเทศไทยเปิดเดินรถบนเส้นทางนี้ทุกวัน และมีการจัดรถไฟขบวนพิเศษสายกรุงเทพฯ-น้ำตก ทุกวันเสาร์ อาทิตย์ และวันหยุดราชการ จุดที่นักท่องเที่ยวให้ความสนใจมากคือช่วงสะพานข้ามแม่น้ำแคว และช่วงโค้งมรณะ หรือช่วงระหว่างสถานีรถไฟลุ่มสุ่มและป้ายหยุดรถไฟถ้ำกระแซ ซึ่งเป็นช่วงที่มีการสร้างสะพานเลียบริมหน้าผาและแม่น้ำแควน้อย มีความยาวประมาณ 400 เมตร
ประวัติ
แก้ทางรถไฟสายมรณะ สร้างขึ้นในสมัยสงครามโลกครั้งที่ 2 โดยรัฐบาลญี่ปุ่น ขอยืมเงินจากรัฐบาลไทย จำนวน 4 ล้านบาท การก่อสร้างใช้เวลาในการสร้างเสร็จเพียง 1 ปี ตั้งแต่เดือนตุลาคม พ.ศ. 2485 ถึงเดือนตุลาคม พ.ศ. 2486 เพื่อใช้เป็นเส้นทางยุทธศาสตร์ผ่านประเทศพม่า หลังสงครามทางรถไฟบางส่วนถูกรื้อทิ้ง บางส่วนจมอยู่ใต้อ่างเก็บน้ำเขื่อนวชิราลงกรณ์ ทางรถไฟสายนี้ถือเป็นอนุสรณ์ให้รำลึกถึงเหตุการณ์สงครามในครั้งนั้น เนื่องจากน้ำพักน้ำแรงของการบุกเบิกก่อสร้าง เป็นของทหารเชลยศึกฝ่ายสัมพันธมิตร ที่กองทัพญี่ปุ่นเกณฑ์มา
เหตุที่ทางรถไฟสายนี้ได้ชื่อว่า ทางรถไฟสายมรณะ ก็เพราะว่า ในสมัยสงครามโลกครั้งที่ 2 กองทัพญี่ปุ่นได้เกณฑ์เชลยศึกฝ่ายพันธมิตร ได้แก่ ทหารอังกฤษ อเมริกัน ออสเตรเลีย ฮอลันดาและนิวซีแลนด์ ประมาณ 61,700 คนและกรรมกรชาวชาวจีน ญวน ชวา มลายู พม่า อินเดีย อีกจำนวนมาก และคนไทยที่ถูกเกณฑ์เป็นทาสอีกนับแสนราย มาก่อสร้างทางรถไฟสายยุทธศาสตร์ เพื่อเป็นเส้นทางผ่านไปสู่ประเทศพม่า เพื่อลำเลียงอาวุธยุทโธปกรณ์ รวมทั้งกำลังพล เพื่อจะไปโจมตีพม่าและอินเดียต่อไป ซึ่งขณะนั้นเป็นดินแดนอาณานิคมของอังกฤษ เส้นทางช่วงหนึ่งจะต้องข้ามแม่น้ำแควใหญ่จึงต้องมีการสร้างสะพานขึ้น การสร้างสะพานและทางรถไฟสายนี้เต็มไปด้วยความยากลำบาก ความทารุณของสงครามและโรคภัยตลอดจนการขาดแคลนอาหาร ทำให้เชลยศึกจำนวนหลายหมื่นคนต้องเสียชีวิตลง ทางรถไฟสายนี้สร้างเสร็จเมื่อวันที่ 25 ตุลาคม พ.ศ. 2486 และเปิดใช้ เมื่อวันที่ 25 ธันวาคม ปีเดียวกัน
หลังสิ้นสุดสงครามรัฐบาลไทยได้จ่ายเงินจำนวน 50 ล้านบาท เพื่อซื้อทางรถไฟสายนี้[2]จากอังกฤษ และทำการซ่อมบำรุงบางส่วนของเส้นทางดังกล่าว เพื่อเปิดการเดินรถตั้งแต่สถานีหนองปลาดุกจนถึงสถานีน้ำตก โดยอยู่ในความดูแลของการรถไฟแห่งประเทศไทยจนถึงปัจจุบัน
เส้นทางรถไฟสายนี้เป็นอนุสรณ์ของโลกที่จารึกความโหดร้ายทารุณของสงครามโลกครั้งที่ 2 และเป็นอนุสรณ์แก่ผู้เสียชีวิตในสงครามด้วย
การท่องเที่ยว
แก้ทิวทัศน์ตลอดเส้นทางนี้มีความสวยงาม โดยเฉพาะบริเวณถ้ำกระแซ ที่เส้นทางรถไฟจะลัดเลาะไปตามเชิงผาเลียบไปกับลำน้ำแควน้อย ปัจจุบันทางรถไฟสายนี้สุดปลายทางที่บ้านท่าเสาหรือสถานีน้ำตก ระยะทางจากสถานีกาญจนบุรีถึงสถานีน้ำตกเป็นระยะทางประมาณ 77 กิโลเมตร
การรถไฟแห่งประเทศไทยเปิดบริการเดินรถไฟขบวนปกติ ธนบุรี - น้ำตก ทุกวัน และจัดขบวนพิเศษสายกรุงเทพ (หัวลําโพง) - น้ำตกไทรโยคน้อย ทุกวันเสาร์ อาทิตย์ และวันหยุดราชการ
โครงการในอนาคต
แก้เมื่อวันที่ 20 พฤษภาคม พ.ศ. 2555 สำนักข่าวเอเอฟพีรายงานจากเมืองย่างกุ้งว่าทางการพม่าประกาศจะรื้อฟื้นเส้นทางรถไฟสายมรณะของไทย โดยนายอ่อง มิน รัฐมนตรีกระทรวงการรถไฟพม่าซึ่งรับผิดชอบโครงการ เผยว่าได้ศึกษาความเป็นไปได้ของการบูรณะเส้นทางรถไฟ ความยาว 105 กิโลเมตรจากด่านเจดีย์สามองค์ในพม่าไปยังเขตแดนไทย ซึ่งจะเริ่มต้นขึ้นในเดือนตุลาคมปีเดียวกันนี้ และทางการไทยได้รับปากที่จะให้ความช่วยเหลือ สำหรับการรื้อฟื้นเชื่อมต่อการเดินรถไฟข้ามแดนอีกครั้ง[3]แต่ยังไม่มีการเริ่มดำเนินการจากฝั่งไทย
รายชื่อสถานี
แก้สถานีปัจจุบัน
แก้สถานีสมัยสงครามโลกครั้งที่ 2
แก้- กงม้า (คอนม้า) กม. 2 + 000 นับจากสถานีชุมทางหนองปลาดุก
- บ้านโป่งใหม่ กม. 5 + 180 นับจากสถานีชุมทางหนองปลาดุก
- เขาดิน กม. 43 + 154 นับจากสถานีชุมทางหนองปลาดุก
- ท้องช้าง กม. 139 + 050 นับจากสถานีชุมทางหนองปลาดุก
- ถ้ำผี กม. 147 + 520 นับจากสถานีชุมทางหนองปลาดุก
- หินตก กม. 155 + 030 นับจากสถานีชุมทางหนองปลาดุก
- แคนนิว กม. 161 + 400 นับจากสถานีชุมทางหนองปลาดุก
- ไทรโยค.. กม. 167 + 660 นับจากสถานีชุมทางหนองปลาดุก
- กิ่งไทรโยค กม. 171 + 720 นับจากสถานีชุมทางหนองปลาดุก
- ลิ่นถิ่น กม. 180 + 530 นับจากสถานีชุมทางหนองปลาดุก
- กุยแหย่ กม. 190 + 480 นับจากสถานีชุมทางหนองปลาดุก
- หินดาด กม. 197 + 750 นับจากสถานีชุมทางหนองปลาดุก
- ปรังกาสี กม. 208 + 110 นับจากสถานีชุมทางหนองปลาดุก
- ท่าขนุน กม. 218 + 150 นับจากสถานีชุมทางหนองปลาดุก
- น้ำโจนใหญ่ กม. 229 + 140 นับจากสถานีชุมทางหนองปลาดุก
- ท่ามะยอ กม. 236 + 800 นับจากสถานีชุมทางหนองปลาดุก
- ตำรองผาโท้ กม. 244 + 190 นับจากสถานีชุมทางหนองปลาดุก
- บ้านเกริงไกร กม. 250 + 130 นับจากสถานีชุมทางหนองปลาดุก
- คุริคอนตะ
- กองกุยตะ กม. 262 + 580 นับจากสถานีชุมทางหนองปลาดุก (สถานีแก่งคอยท่า)
- ทิมองตะ กม. 273 + 060 นับจากสถานีชุมทางหนองปลาดุก
- นิเกะ กม. 281 + 880 นับจากสถานีชุมทางหนองปลาดุก
- ซองกาเลีย กม. 294 + 020 นับจากสถานีชุมทางหนองปลาดุก
- ด่านเจดีย์สามองค์ กม. 303 + 630 นับจากสถานีชุมทางหนองปลาดุก (สถานีจันการายา - ด่านพระเจดีย์สามองค์ฝั่งพม่า)
ระเบียงภาพ
แก้-
รถจักรไอน้ำแปซิฟิค ซีเอ็กซ์ 50 (CX50) หมายเลข 824 เมื่อคราวไปเยือนทางรถไฟสายมรณะ ที่สะพานถ้ำกระแซ
-
รถไฟลัดเลาะตามเชิงผาเลียบไปกับลำน้ำแควน้อย และถ้ำกระแซ
-
สะพานถ้ำกระแซ ตัวสะพานทำจากไม้ ยาว 450 เมตร
-
จุดเริ่มต้นในประเทศพม่า
-
เส้นทางสถานีตาน-พยูซะยะ ประเทศพม่า
สถานที่ที่เกี่ยวข้องกับทางรถไฟสายมรณะ
แก้อ้างอิง
แก้^ กม. 80+096.55 จากสถานี กรุงเทพ (หัวลําโพง)
- ↑ John Alexander Hammerton. (1946). The War Illustrated 10, (231): 346.
- ↑ ทางรถไฟสายมรณะเก็บถาวร 2008-05-10 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน เรื่องไทยในอดีต
- ↑ "พม่ารื้อฟื้นเชื่อมทางรถไฟสายมรณะ" (Press release). เดลินิวส์. 20 พฤษภาคม 2555. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-05-21. สืบค้นเมื่อ 8 มิถุนายน 2555.
{{cite press release}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help)
แหล่งข้อมูลอื่น
แก้- แผนที่และภาพถ่ายทางอากาศของ ทางรถไฟสายมรณะ
- ภาพถ่ายดาวเทียมจากวิกิแมเปีย หรือกูเกิลแมปส์
- แผนที่จากลองดูแมป หรือเฮียวีโก
- ภาพถ่ายทางอากาศจากเทอร์ราเซิร์ฟเวอร์