กองกำลังป้องกันตนเองญี่ปุ่น
ลิงก์ข้ามภาษาในบทความนี้ มีไว้ให้ผู้อ่านและผู้ร่วมแก้ไขบทความศึกษาเพิ่มเติมโดยสะดวก เนื่องจากวิกิพีเดียภาษาไทยยังไม่มีบทความดังกล่าว กระนั้น ควรรีบสร้างเป็นบทความโดยเร็วที่สุด |
กองกำลังป้องกันตนเองญี่ปุ่น (ญี่ปุ่น: 自衛隊; โรมาจิ: じえいたい; ทับศัพท์: Jieitai; จิเอไต) หรือ JSDF บางครั้งเรียกว่า JSF หรือ SDF เป็นบุคลากรจากประเทศญี่ปุ่นที่ถูกจัดตั้งขึ้นหลังสงครามโลกครั้งที่สองสิ้นสุดลงเพื่อแทนที่กองทัพจักรวรรดิญี่ปุ่นที่ถูกยุบ และฝ่ายสัมพันธมิตรยึดครองญี่ปุ่น ในเวลาหลังสงคราม กองกำลังป้องกันตนเองญี่ปุ่นถูกใช้งานในเฉพาะภายในประเทศมีหน้าที่ในการป้องกันประเทศอธิปไตยชาติเพียงอย่างเดียวและไม่ได้รับอนุญาตให้ปฏิบัติภารกิจในต่างประเทศ ยกเว้นในสถานการณ์ที่เป็นการป้องกันตนเองในขอบเขตที่จำกัดเท่านั้น แม้อาจมีภารกิจในต่างประเทศในปฏิบัติการรักษาสันติภาพ แต่ล่าสุดในวันที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2557 ครม.ญี่ปุ่นได้ตีความรัฐธรรมนูญมาตรา 9 ของรัฐธรรมนูญแห่งญี่ปุ่นใหม่สรุปได้ว่า กองกำลังป้องกันตนเองของญี่ปุ่นจะสามารถส่งทหารไปปฏิบัติภารกิจการป้องกันตนเองร่วมได้(Collectvie-Self Defence) ตามมติของคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติเพื่อปกป้องชาติหนึ่งจากการถูกรุกราน โดยญี่ปุ่นจะสามารถไปช่วยเหลือชาติพันธมิตรใกล้ชิดที่ถูกโจมตีได้ หากการโจมตีนั้นเป็นภัยคุกคามต่อการดำรงอยู่ของญี่ปุ่นและไม่มีวิธีอื่นในการปกป้องชีวิตชาวญี่ปุ่น
ในด้านการพัฒนาอาวุธ ในรธน.ญี่ปุ่นถูกกำหนดห้ามพัฒนาอาวุธในเชิงรุก ส่วนในด้านการห้ามส่งออกอาวุธนั้น แม้ญี่ปุ่นจะเป็นผู้กำหนดขึ้นเองเมื่อปีพ.ศ. 2510 แต่ในวันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2557 ญี่ปุ่นได้ผ่อนคลายกฎห้ามส่งออกอาวุธ โดยสามารถส่งออกอาวุธและมีส่วนร่วมในการผลิตอาวุธกับนานาชาติได้ แต่ญี่ปุ่นจะไม่ส่งออกอาวุธให้แก่ประเทศที่ตกอยู่ท่ามกลางความขัดแย้ง หรืออาจเป็นภัยคุกคามต่อสันติภาพและความมั่นคงของนานาชาติ นอกจากนี้ การจำหน่ายอาวุธก็จะต้องเป็นไปเพื่อส่งเสริมสันติภาพสากลคือต้องเป็นยุทโธปกรณ์ที่ไม่ใช่เพื่อสังหาร และเป็นประโยชน์ต่อความมั่นคงของญี่ปุ่นเอง[4][5]
ส่วนในด้านการสนันสนุนกองกำลังต่างชาติ ในวันที่ 10 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558 รัฐบาลญี่ปุ่นประกาศแก้ไขกฎบัตรว่าด้วยการสนับสนุนต่างชาติ โดยสามารถมอบทุนสนับสนุนภารกิจของกองกำลังต่างชาติที่มิใช่การสู้รบ[6]
ประวัติ
แก้ส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยเพิ่มข้อมูลส่วนนี้ได้ |
หลังจากสงครามโลกครั้งที่สองที่ญี่ปุ่นพ่ายแพ้สงครามต่อสหรัฐอเมริกา ทำให้สหรัฐเข้ามาควบคุมกำลังทหารของญี่ปุ่น และทำให้ญี่ปุ่นต้องร่างรัฐธรรมนูญขึ้นมาใหม่โดยมีข้อห้ามว่า ไม่อนุญาตให้ญี่ปุ่นทำสงครามกับประเทศใด ๆ เลยเว้นแต่กระเพื่อป้องกันประเทศตนเอง ที่สำคัญคือไม่มีศาลทหารและกระทรวงกลาโหม
บุคคลที่เข้ามาทำงานในกองกำลังป้องตนเองพวกเขาจะเรียกตนเองว่าเจ้าหน้าที่กองกำลังป้องกันตนเอง ซึ่งทั้งหมดเป็นพลเรือนมิใช่ทหาร ถึงแม้ว่าญี่ปุ่นจะจัดตั้งกระทรวงกลาโหมขึ้นมาเมื่อปี พ.ศ. 2550 แต่ว่าก็ยังคงชื่อไว้ว่า กองกำลังป้องกันตนเอง
ในวันที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2557 ครม.ญี่ปุ่นได้ตีความรัฐธรรมนูญมาตรา 9 ของรัฐธรรมนูญแห่งญี่ปุ่นใหม่ โดยญี่ปุ่นมีสิทธิส่งกำลังทหารไปร่วมรบเพื่อปกป้องชาติพันธมิตร
โครงสร้าง
แก้ส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยเพิ่มข้อมูลส่วนนี้ได้ |
มีนายกรัฐมนตรีเป็นผู้บัญชาการทหารสูงสุดของกองกำลังป้องกันตนเอง และในวันที่ 9 มกราคม พ.ศ. 2550 ก็ได้มีการจัดตั้งกระทรวงกลาโหมครั้งแรกหลังสงครามโลกครั้งที่สอง[7]
งบประมาณ
แก้งบประมาณกลาโหมญี่ปุ่น ถือว่าใหญ่เป็นอันดับ 7ของโลก 4.98 ล้านล้านเยน (ราว 1.39 ล้านล้านบาท)
บุคลากรและองค์กร
แก้ส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยเพิ่มข้อมูลส่วนนี้ได้ |
กองกำลังป้องกันตนเองญี่ปุ่น JSDF มีจำนวนบุคลากรในปี ค.ศ. 2005 มีจำนวน 239,430 นาย แบ่งเบ็น
- กองกำลังป้องกันตนเองทางบกจำนวน 147,737 นาย
- กองกำลังป้องกันตนเองทางทะเลจำนวน 44,327 นาย
- กองกำลังป้องกันตนเองทางอากาศจำนวน 45,517 นาย
กำลังพลประจำการ
แก้ส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยเพิ่มข้อมูลส่วนนี้ได้ |
กำลังพลสำรอง
แก้ส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยเพิ่มข้อมูลส่วนนี้ได้ |
เครื่องแบบ
แก้ส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยเพิ่มข้อมูลส่วนนี้ได้ |
การศึกษา
แก้วิทยาลัยป้องกันประเทศญี่ปุ่น (National Defense Academy of Japan หรือ "โบเอได") เป็นสถาบันการศึกษาหลักที่ผลิตนายทหารแก่กองกำลังป้องกันตนเองของญี่ปุ่นทั้งสามเหล่า นอกจากการเรียนภาษาญี่ปุ่น1ปีแล้ว นักเรียนนายร้อยจะศึกษาที่ NDA 4ปี โดย NDA นี้จะรวมนักเรียนทั้งสามเหล่าทัพ (JGSDF, JMSDF และ JASDF) ไว้ร่วมกันในที่แห่งเดียวที่ NDA นั้นเปิดรับสุภาพสตรีเข้ารับการศึกษาเช่นเดียวกับผู้ชายตั้งแต่ปี 1992โดยมีจำนวนราวร้อยละ10ของนักเรียนทั้งหมด การฝึกศึกษาไม่ต่างกัน พักที่ตึกนอนตึกเดียวกัน (แต่คนละชั้น) แต่เกณฑ์บางอย่างเช่นการทดสอบร่างกายจะต่างกัน
ยุทธภัณฑ์
แก้ส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยเพิ่มข้อมูลส่วนนี้ได้ |
อาวุธประจำกาย
แก้- ปืนสั้น
- มินีแบ-P9
มินีแบออกใบอนุญาตการผลิต สวิตเซอร์แลนด์ SIG Sauer P220 - เฮคเลอร์แอนด์คอช-SFP9(แบบใหม่)
- มินีแบ-P9
- ปืนเล็กยาวจู่โจม
- โฮวา ไทป์-64 (7.62×51 มม. นาโต)
- โฮวา ไทป์-89 (5.56×45 มม. นาโต)
- โฮวา ไทป์-20 (แบบใหม่)(5.56×45 มม. นาโต)
อาวุธประจำหน่วย
แก้ศาลทหาร
แก้ส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยเพิ่มข้อมูลส่วนนี้ได้ |
ความสัมพันธ์ทางทหาร
แก้ส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยเพิ่มข้อมูลส่วนนี้ได้ |
อ้างอิง
แก้- ↑ IISS 2019, p. 276.
- ↑ "Procurement equipment and services". Equipment Procurement and Construction Office Ministry of Defence. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-01-14. สืบค้นเมื่อ 2012-04-25.
- ↑ "6. Israel" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2008-08-13. สืบค้นเมื่อ 2008-08-11.
- ↑ http://www.thairath.co.th/content/413940
- ↑ "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-03-05. สืบค้นเมื่อ 2014-07-02.
- ↑ http://i-newsmedia.net/out/%E0%B8%8D%E0%B8%B5%E0%B9%88%E0%B8%9B%E0%B8%B8%E0%B9%88%E0%B8%99-%E0%B9%81%E0%B8%81%E0%B9%89-%E0%B8%81%E0%B8%A1-%E0%B9%80%E0%B8%9B%E0%B8%B4%E0%B8%94%E0%B8%97%E0%B8%B2%E0%B8%87/
- ↑ http://www.manager.co.th/Around/ViewNews.aspx?NewsID=9490000154028[ลิงก์เสีย]