สถานีรถไฟเชียงใหม่

สถานีรถไฟเชียงใหม่ (อังกฤษ: Chiang Mai Railway Station) ตั้งอยู่ที่ถนนเจริญเมือง ตำบลวัดเกต อำเภอเมืองเชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่ อยู่ห่างจากสถานีรถไฟกรุงเทพเป็นระยะทาง 751.424 กิโลเมตร เป็นสถานีรถไฟปลายทางชั้น 1 ของทางรถไฟสายเหนือ ใช้สัญญาณแบบ ตัวย่อของสถานีคือ ชม.

สถานีรถไฟเชียงใหม่
สถานีระดับที่ 1
Chiang Mai Thailand Chiang-Mai-Railway-Station-01.jpg
ข้อมูลทั่วไป
ที่ตั้งถนนเจริญเมือง ตำบลวัดเกต อำเภอเมืองเชียงใหม่
จังหวัดเชียงใหม่
พิกัด18°47′01″N 99°01′01″E / 18.78365°N 99.01688°E / 18.78365; 99.01688พิกัดภูมิศาสตร์: 18°47′01″N 99°01′01″E / 18.78365°N 99.01688°E / 18.78365; 99.01688
ผู้ให้บริการการรถไฟแห่งประเทศไทย
ผู้บริหารกระทรวงคมนาคม
สาย สายเหนือ 
ชานชาลา4
ราง7
โครงสร้าง
ประเภทโครงสร้างระดับดิน
ที่จอดรถมีบริการ
ข้อมูลอื่น
รหัสสถานี1222 (ชม.)
ประเภทสถานีระดับที่ 1
ประวัติ
เปิดให้บริการ1 มกราคม พ.ศ. 2464 (102 ปี)
สร้างใหม่พ.ศ. 2488; 78 ปีที่แล้ว (2488)
ชื่อเดิมสถานีป๋ายราง
การเชื่อมต่อ
สถานีก่อนหน้า   รฟท.   สถานีต่อไป
สถานีสารภี
มุ่งหน้า สถานีกรุงเทพ
   สายเหนือ    สถานีปลายทาง
เชียงใหม่
Chiang Mai
กิโลเมตรที่ 751.42
สารภี
Saraphi
−8.64 กม.
ดูเพิ่ม: รายชื่อสถานีรถไฟ สายเหนือ
ที่ตั้ง
Map

ประวัติแก้ไข

สถานีรถไฟเชียงใหม่ก่อสร้างขึ้นในสมัยรัชกาลที่ 6 และเปิดเดินรถครั้งแรกเมื่อวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2464 โดยเส้นทางช่วงปางยาง - อุโมงค์ขุนตาน - เชียงใหม ซึ่งมีระยะทาง 72 กิโลเมตร และเป็นส่วนหนึ่งของทางรถไฟสายเหนือ มีพระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าบุรฉัตรไชยากร กรมพระกำแพงเพชรอัครโยธิน เป็นผู้บัญชาการ และมีนายช่างชาวเยอรมัน เอมิล ไอเซนโฮเฟอร์ เป็นผู้ควบคุมการก่อสร้าง

หลังจากที่ทางรถไฟสายเหนือสร้างมาถึงเชียงใหม่ ทำให้การเดินทางจากกรุงเทพขึ้นมาเชียงใหม่ใช้เวลาไม่นานเหมือนแต่ก่อน ผู้คนจำนวนมากหันมาใช้บริการของรถไฟจึงทำให้แต่ละขบวนแออัดไปด้วยผู้โดยสาร จนบางครั้งต้องออกแรงปีนขึ้นไปนั่งบนหลังคาก็มี หลังจากนั้นทางมณฑลพายัพจึงได้สร้างสถานีรถไฟประจำเชียงใหม่ขึ้น ชาวบ้านเรียกสถานีนี้ว่า “สถานีป๋ายราง” หมายถึงที่สิ้นสุดของรางรถไฟ หลังการก่อสร้างสถานีรถไฟเชียงใหม่เสร็จก็ได้มีพิธีเปิดทำการเดินรถไฟสายเหนือขึ้นเมื่อวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2464

อาคารสถานีรถไฟเชียงใหม่หลังแรก สร้างเป็นอาคารคอนกรีตเสริมเหล็กชั้นเดียว ถือได้ว่าเป็นอาคารที่สวยงามมาก เพราะเป็นประตูผ่านเข้าออกระหว่างเชียงใหม่กับต่างจังหวัดที่มีคนใช้กันมากที่สุด สถานีรถไฟเชียงใหม่หลังแรกนี้เคยถูกใช้เป็นที่รับเสด็จ ฯ พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 7 และสมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณี เมื่อครั้งเสด็จพระราชดำเนินประพาสมณฑลพายัพ

ในสมัยสงครามโลกครั้งที่ 2 สถานีรถไฟเชียงใหม่หลังนี้ ถูกเครื่องบินของฝ่ายสัมพันธมิตรทิ้งระเบิดพังพินาศไปพร้อมกับชีวิตคนนับร้อย รวมทั้งอาคารบ้านเรือน โกดังเก็บสินค้าที่อยู่ในบริเวณใกล้เคียงราบเรียบไปหมดเมื่อวันที่ 21 ธันวาคม พ.ศ. 2486 หลังจากสถานีเชียงใหม่ถูกระเบิด ทางราชการต้องประกาศงดใช้สถานีรถไฟแห่งนี้ไปหลายปี ผู้โดยสารที่เดินทางโดยรถไฟต้องไปขึ้นลงที่สถานีป่าเส้า จังหวัดลำพูนแทน ต่อมาเมื่อสงครามสงบแล้วจึงได้สร้างสถานีรถไฟขึ้นมาใหม่ในที่เดิมในปี พ.ศ. 2488 และเปิดอีกครั้งในปี พ.ศ. 2491 และใช้มาจนถึงปัจจุบัน [1]

ตารางเวลาการเดินรถแก้ไข

ณ วันที่ 19 มกราคม 2566

เที่ยวไปแก้ไข

ขบวนรถ ต้นทาง เชียงใหม่ ปลายทาง หมายเหตุ
ชื่อสถานี เวลาออก ชื่อสถานี เวลาถึง
ดพ9 กรุงเทพอภิวัฒน์ 18.40 ปลายทาง เชียงใหม่ 07.15 ทดแทนขบวนที่ 1
ดพ13 กรุงเทพอภิวัฒน์ 20.05 ปลายทาง เชียงใหม่ 08.40
ด51 กรุงเทพอภิวัฒน์ 22.30 ปลายทาง เชียงใหม่ 12.10
ท407 นครสวรรค์ 05.00 ปลายทาง เชียงใหม่ 14.35
ดพ7 กรุงเทพอภิวัฒน์ 09.05 ปลายทาง เชียงใหม่ 19.30 ขบวนที่ 9 เดิม
(ก่อนปี 2555)
ร109 กรุงเทพอภิวัฒน์ 14.15 ปลายทาง เชียงใหม่ 04.05
* ดพ= รถด่วนพิเศษ / ด= รถด่วน / ร= รถเร็ว / ธ= รถธรรมดา / ช= รถชานเมือง / พช= รถพิเศษชานเมือง / ท= รถท้องถิ่น / น= รถนำเที่ยว / ส= รถสินค้า

เที่ยวกลับแก้ไข

ขบวนรถ ต้นทาง เชียงใหม่ ปลายทาง หมายเหตุ
ชื่อสถานี เวลาออก ชื่อสถานี เวลาถึง
ร102 เชียงใหม่ 06.30 ต้นทาง กรุงเทพอภิวัฒน์ 20.25
ดพ8 เชียงใหม่ 08.50 ต้นทาง กรุงเทพอภิวัฒน์ 18.55 ขบวนที่ 12 เดิม
(ก่อนปี 2555)[2]
ท408 เชียงใหม่ 09.30 ต้นทาง นครสวรรค์ 19.55
ด52 เชียงใหม่ 15.30 ต้นทาง กรุงเทพอภิวัฒน์ 05.10
ดพ14 เชียงใหม่ 17.00 ต้นทาง กรุงเทพอภิวัฒน์ 06.10
ดพ10 เชียงใหม่ 18.00 ต้นทาง กรุงเทพอภิวัฒน์ 06.50 ทดแทนขบวนที่ 2
* ดพ= รถด่วนพิเศษ / ด= รถด่วน / ร= รถเร็ว / ธ= รถธรรมดา / ช= รถชานเมือง / พช= รถพิเศษชานเมือง / ท= รถท้องถิ่น / น= รถนำเที่ยว / ส= รถสินค้า

แผนผังสถานีแก้ไข

----------------|----------|----------|----------|----------|------ รางหลีก ------|----------|----------|----------|----------|----------------
----------------|----------|----------|----------|----------|------ รางหลีก ------|----------|----------|----------|----------|----------------
----------------|----------|----------|----------|----------|------ รางหลีก ------|----------|----------|----------|----------|----------------
ห้องจำหน่ายตั๋วโดยสาร,

อาคารพักผู้โดยสาร,

ร้านอาหาร

------------|----------|----------|----------|------------|----------|----------|----------|------------ มุ่งหน้า สารภี
ชานชาลาเกาะกลาง 3-4
------------|----------|----------|----------|------------|----------|----------|----------|------------ มุ่งหน้า สารภี
ชานชาลาเกาะกลาง 2
-----|----------|----------|----------|----------|------ รางหลีก ------|----------|----------|----------|----------|-----
-----|----------|----------|----------|----------|------ รางหลีก ------|----------|----------|----------|----------|-----
ชานชาลาเกาะกลาง 1
-----|----------|----------|----------|----------|------ รางหลีก ------|----------|----------|----------|----------|-----

อ้างอิงแก้ไข

  1. http://www.chiangmainews.co.th/page/archives/550261
  2. "ลดภาระขาดทุน รฟท.ประกาศยกเลิก 6ขบวนรถเชิงพาณิชย์". ไทยรัฐ ออนไลน์. 18 October 2012.

แหล่งข้อมูลอื่นแก้ไข