กระทรวงคมนาคม (ประเทศไทย)

หน่วยงานราชการ
(เปลี่ยนทางจาก กระทรวงคมนาคม)

กระทรวงคมนาคม (อังกฤษ: Ministry of Transport) เป็นหน่วยงานราชการส่วนกลางประเภทกระทรวงของไทย มีหน้าที่เกี่ยวกับดูแลระบบการขนส่งและบริการคมนาคม ให้มีความคุ้มค่าและทั่วถึง ธุรกิจการขนส่ง การวางแผนจราจร และการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านการคมนาคม อย่างเสมอภาคโดยทั่วถึงกัน[4]

กระทรวงคมนาคม
ตราพระรามทรงรถ
ภาพรวมหน่วยงาน
ก่อตั้ง1 เมษายน พ.ศ. 2455; 111 ปีก่อน (2455-04-01)
เขตอำนาจทั่วราชอาณาจักร
สำนักงานใหญ่เลขที่ 38 ถนนราชดำเนินนอก แขวงวัดโสมนัส เขตป้อมปราบศัตรูพ่าย กรุงเทพมหานคร 10100
งบประมาณประจำปี9,583.2491 ล้านบาท (พ.ศ. 2562)[1]
รัฐมนตรี
รัฐมนตรีช่วย
ฝ่ายบริหารหน่วยงาน
  • ชยธรรม์ พรหมศร, ปลัดกระทรวง
  • มนตรี เดชาสกุลสม[2], รองปลัดกระทรวง
  • สรพงศ์ ไพฑูรย์พงษ์, รองปลัดกระทรวง
  • วิทยา ยาม่วง, รองปลัดกระทรวง[3]
หน่วยงานลูกสังกัด
เว็บไซต์กระทรวงคมนาคม

ประวัติ แก้

 
อาคารที่ทำการกระทรวงคมนาคม ภาพจากปี 1964

ในรัชสมัย พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้มีการปฏิรูปราชการบริหารส่วนกลางเสียใหม่ตามแบบอย่างอารยประเทศ โดยจัดจำแนกราชการเป็นกรมกองต่าง ๆ มีหน้าที่เป็นหมวดเหล่า ไม่ก้าวก่ายกัน โดยได้มีการจัดตั้ง กรมโยธาธิการ ขึ้น ในปี 2433 เพื่อดูแลการก่อสร้างถนน ขุดคลอง และการช่างทั่วไป รวมทั้งการไปรษณีย์ โทรเลข และการรถไฟ[5] โดยในขณะนั้น เริ่มมีการสร้างถนนตั้งแต่ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ซึ่งคือ ถนนเจริญกรุง ซึ่งเป็นถนนสายแรกของประเทศไทย

ต่อมาในปี 2435 จึงได้ยกฐานะกรมต่างๆ ขึ้นเป็นกระทรวง ทำให้ได้เปลื่ยนชื่อเป็น กระทรวงโยธาธิการ โดยมีอำนาจหน้าที่ ตามเดิม

ต่อมาในรัชสมัย พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้โปรดเกล้าฯ ให้เปลื่ยนนามจาก กระทรวงโยธาธิการ เป็น กระทรวงคมนาคม เมื่อวันที่ 1 เมษายน 2455[6] โดยมีอำนาจหน้าที่ ในการดูแลเกี่ยวกับ การขนส่งทางรถไฟ การขนส่งทางบก การขนส่งทางน้ำ และการสื่อสาร

ต่อมา เนื่องด้วยปัญหาสภาพเศรษฐกิจ หลังสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง ทำให้ต้องมีการตัดทอน ส่วนราชการที่ซ้ำซ้อน เพื่อประหยัดงบประมาณแผ่นดิน จึงได้ยุบกระทรวง แล้วรวมเข้ากับ กระทรวงพาณิชย์ เป็น กระทรวงพาณิชย์และคมนาคม ในปี 2475 (ต่อมาได้รวมกับ กระทรวงเกษตราธิการ เป็น กระทรวงเกษตรพาณิชยการ และ กระทรวงเศรษฐการ ตามลำดับ)[5]

ต่อมาได้ตรา พระราชบัญญัติปรับปรุง กระทรวง ทบวง กรม (แก้ไขเพิ่มเติม) พ.ศ. 2477 กำหนดหน้าที่ใน กระทรวงเศรษฐการออกเป็นทบวง โดยได้จัดตั้ง ทบวงพาณิชย์และคมนาคม ก่อนที่จะยุบอีกครั้ง ในปีเดียวกัน[5]

จนกระทั่งในปี 2484 ก็ได้มีการจัดตั้ง กระทรวงคมนาคม ขึ้นใหม่ ตาม พระราชบัญญัติ กระทรวง ทบวง กรม พ.ศ. 2484 โดยแบ่งส่วนราชการดังนี้

ต่อมา ในปี 2545 ตาม พระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม พ.ศ. 2545[4] ได้แยกงานการสื่อสารและโทรคมนาคมไปจัดตั้งเป็นกระทรวงใหม่คือกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร โดยให้กระทรวงมีอำนาจหน้าที่รับผิดชอบเกี่ยวกับการขนส่งและบริการคมนาคม ธุรกิจคมนาคม การวางแผนจราจร และการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านการคมนาคมอย่างเสมอภาคโดยทั่วถึงกัน

ปี พ.ศ. 2562 พระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม ฉบับที่ 18 พ.ศ. 2562 มีผลบังคับใช้วันที่ 15 เมษายน 2562 โดยให้ยกฐานะของสำนักงานโครงการพัฒนาระบบราง สำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร ขึ้นจัดตั้งเป็นกรมการขนส่งทางราง[7]

ในวันที่​ 8​ เมษายน​ พ.ศ. 2563 รัฐบาลแต่งตั้งปลัดกระทรวงคมนาคมดำรงตำแหน่ง​ หัวหน้าศูนย์ปฏิบัติการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉินด้านคมนาคมและการขนส่งทั่วราชอาณาจักรซึ่งเป็นศูนย์ภายในศูนย์บริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019

ที่ทำการกระทรวง แก้

เดิมที่ทำการของกระทรวง เมื่อครั้งยังใช้ชื่อ กระทรวงโยธาธิการนั้น แต่แรกเริ่มนั้น ต้องใช้ที่ทำการของกรมไปรษณีย์ (ไปรษณียาคาร) ไปพลางก่อน ซึ่งแต่เดิมเป็นบ้านของ พระปรีชากลการ (สำอาง อมาตยกุล) ต่อมา เมื่อได้สร้างที่ว่าการกระทรวงขึ้นที่บริเวณวังเดิมของ พระเจ้าราชวรวงศ์เธอ กรมหมื่นเจริญผลภูลสวัสดิ์ จึงได้ย้ายไปใช้เป็นที่ทำการตั้งแต่วันที่ 24 มกราคม 2438[8] จนกระทั่งเป็นกระทรวงคมนาคมต่อมา เมื่อมีการยุบเลิกกระทรวงคมนาคม ก็ได้ใช้ที่ทำการของ กระทรวงพาณิชย์ เป็นที่ทำการ[5]

ต่อมาเมื่อได้มีการตั้ง กระทรวงคมนาคม ขึ้นใหม่ เมื่อปี 2484 จึงต้องอาศัยของ อาคารที่ว่าการกรมไปรษณีย์โทรเลข (ไปรษณีย์กลาง บางรัก) ในชั้น 2 ทิศเหนือเป็น ที่ทำการกระทรวงไปก่อน และได้ย้ายไปอยู่ที่บริเวณ ท่าช้างวังหน้า ต่อมาจึงได้ย้ายไปที่บริเวณ ถนนราชดำเนินนอก ซี่งเป็นที่ตั้งของกระทรวงมาจนถึงบัดนี้ โดยได้เปิดใช้งานเมื่อวันที่ 3 เมษายน 2497[5]

ตรากระทรวงคมนาคม แก้

 
ตราพระรามทรงรถ

แต่เดิม ตราพระรามทรงรถ เป็นตราใหญ่ของ กระทรวงโยธาธิการ ซึ่งเดิมใช้ ตราอินทรทรงช้าง แต่มีขนาดโตไป จึงโปรดให้เปลี่ยนเป็น ตราพระรามทรงรถ ให้เข้ากับเรื่องตรวจถนนหรือสร้างเมือง ครั้นยุบเลิก กระทรวงโยธาธิการ มารวมกันกับราชการส่วนอื่น ตราดวงนี้จึงตกมาเป็น ตราตำแหน่งเสนาบดีกระทรวงพาณิชย์และคมนาคม ครั้นเมื่อปรับปรุง กระทรวงนี้ขึ้นใหม่ เปลี่ยนชื่อเป็นกระทรวงเศรษฐการ ตราพระรามทรงรถ ยังใช้เป็นตราตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเศรษฐการ ต่อมาในปี 2484 ได้ยุบกระทรวงเศรษฐการ แยกเป็นกระทรวงการเศรษฐกิจ และกระทรวงคมนาคม ตราพระรามทรงรถ จึงตกมาเป็นตราของกระทรวงคมนาคม ตามประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี ลงวันที่ 3 ตุลาคม 2484[9]

หน่วยงานสังกัดกระทรวง แก้

กระทรวงคมนาคมมีส่วนราชการและรัฐวิสาหกิจในสังกัด ดังนี้

ส่วนราชการ แก้

รัฐวิสาหกิจ แก้

หน่วยงานอื่นของรัฐ แก้

อ้างอิง แก้

  1. ราชกิจจานุเบกษา, พระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2562 เล่ม 135 ตอนที่ 71ก วันที่ 17 กันยายน 2561
  2. ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง แต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญ ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 140 ตอน 274 ง หน้า 5 วันที่ 2 พฤศจิกายน 2566
  3. สรุปมติคณะรัฐมนตรี (ครม.) ประจำวันที่ 31 ตุลาคม 2566
  4. 4.0 4.1 "พระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม พ.ศ. ๒๕๔๕" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2011-11-12. สืบค้นเมื่อ 2018-07-22.
  5. 5.0 5.1 5.2 5.3 5.4 กระทรวงคมนาคม (ประเทศไทย)เก็บถาวร 2018-08-01 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน ประวัติกระทรวงคมนาคม - เว็บไซต์กระทรวงคมนาคม
  6. VDO Presentation : 100 Years of Ministry of Transport
  7. พระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม (ฉบับที่ ๑๘)พ.ศ. ๒๕๖๒
  8. แจ้งความกระทรวงโยธาธิการ
  9. ตรากระทรวงคมนาคม - เว็บไซต์เก่ากระทรวงคมนาคม
  10. พระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม (ฉบับที่ ๑๘) พ.ศ. ๒๕๖๒

ดูเพิ่ม แก้

แหล่งข้อมูลอื่น แก้

พิกัดภูมิศาสตร์: 13°45′32″N 100°30′30″E / 13.758946°N 100.508273°E / 13.758946; 100.508273