การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย

การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย หรือ รฟม. (อังกฤษ: Mass Rapid Transit Authority of Thailand ย่อว่า MRTA) เป็นรัฐวิสาหกิจในสังกัดกระทรวงคมนาคม มีภาระหน้าที่ในการจัดให้มี และให้บริการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนในกรุงเทพมหานครและปริมณฑล และตามหัวเมืองหลัก ในจังหวัดอื่นๆ

การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย
Mass Rapid Transit Authority of Thailand
สัญลักษณ์ของ รฟม. มีลักษณะคล้ายลายเฉลว
ภาพรวมหน่วยงาน
ก่อตั้ง21 สิงหาคม พ.ศ. 2535 (32 ปี)
หน่วยงานก่อนหน้า
  • องค์การรถไฟฟ้ามหานคร
สำนักงานใหญ่175 ถนนพระราม 9 แขวงห้วยขวาง เขตห้วยขวาง กรุงเทพมหานคร 10310
งบประมาณต่อปี21,064.6757 ล้านบาท (พ.ศ. 2559)[1]
รัฐมนตรี
ฝ่ายบริหารหน่วยงาน
  • วิทยา พันธุ์มงคล, รักษาการผู้ว่าการ[2]
  • วิทยา พันธุ์มงคล, รองผู้ว่าการ (ปฏิบัติการ)
  • ณฐมณ บุนนาค, รองผู้ว่าการ (การเงิน)
  • กิตติกร ตันเปาว์, รองผู้ว่าการ (วิศวกรรมและก่อสร้าง)
  • สาโรจน์ ต.สุวรรณ, รองผู้ว่าการ (กลยุทธ์และแผน)
  • พัฒนพงษ์ พงศ์ศุภสมิทธิ์, รองผู้ว่าการ (บริหาร)
ต้นสังกัดหน่วยงานกระทรวงคมนาคม
เว็บไซต์www.mrta.co.th

ประวัติ

แก้

การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย ก่อตั้งเมื่อ พ.ศ. 2535 ในชื่อ องค์การรถไฟฟ้ามหานคร มีชื่อภาษาอังกฤษคือ Metropolitan Rapid Transit Authority จัดตั้งขึ้นภายใต้พระราชกฤษฎีกาจัดตั้งองค์การรถไฟฟ้ามหานคร พ.ศ 2535[3] โดยมีผลบังคับใช้เมื่อวันที่ 21 สิงหาคม พ.ศ. 2535 มีวัตถุประสงค์ในการจัดระบบขนส่งมวลชนในกรุงเทพมหานครและปริมณฑล โดยใช้รถไฟฟ้า

การพัฒนาระบบขนส่งมวลชนทางรางในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล ได้มีการจัดทำแผนแม่บทฉบับแรกตั้งแต่พ.ศ. 2537 ตามโครงการแผนแม่บทระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพมหานคร (MTMP) ของ องค์การรถไฟฟ้ามหานคร โครงข่ายระยะทาง 135 กม. ภายในปี พ.ศ. 2538-2554 ต่อมาไดมีการเสนอแนะระบบขนส่งมวลชนขนาดรองเพื่อเสริมการเข้าถึงของระบบหลัก 11 โครงการ ระยะทาง 206 กม. รวมเป็น 341 กม. ซึ่งคณะรัฐมนตรีเห็นชอบ เมื่อวันที่ 27 กันยายน พ.ศง 2537[4]

ในภายหลังได้มีการออก พระราชบัญญัติการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย พ.ศ. 2543 ซึ่งได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษา เมื่อวันที่ 1 ธันวาคม พ.ศ. 2543 โดยมีผลบังคับใช้ในวันรุ่งขึ้น องค์การรถไฟฟ้ามหานครจึงได้เปลี่ยนชื่อมาเป็น การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย มีชื่อภาษาอังกฤษคือ "Mass Rapid Transit Authority of Thailand" หรือย่อได้เป็น "MRTA"[5]

พระราชบัญญัติฉบับใหม่ดังกล่าวยังให้อำนาจหน้าที่ รฟม. เพิ่มขึ้นหลายอย่าง เช่น มีอำนาจกำหนด "เขตปลอดภัยระบบรถไฟฟ้า" เพื่อคุ้มครองอุโมงค์และสิ่งก่อสร้างใต้ดิน และกำหนดเขต "ระบบรถไฟฟ้า" เพื่อคุ้มครองดูแลคนโดยสารรถไฟฟ้า และระบบรถไฟฟ้าได้อย่างมีประสิทธิภาพ นอกจากนั้นยังให้ รฟม. สามารถหารายได้ทางอื่นนอกจากค่าโดยสาร และพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ได้ตามความจำเป็น เพื่อประโยชน์แก่การให้บริการรถไฟฟ้า และมีอำนาจหน้าที่ดำเนินกิจการรถไฟฟ้า ในกรุงเทพมหานครและปริมณฑล รวมทั้งอาจดำเนินกิจการรถไฟฟ้าในจังหวัดอื่นตามที่จะได้มีพระราชกฤษฎีกากำหนดให้อำนาจด้วย [6] ซึ่งปัจจุบันมีการออกพระราชกฤษฎีกากำหนดจังหวัดให้การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทยดำเนินกิจการรถไฟฟ้า พ.ศ. 2562 [7] ให้อำนาจ รฟม. ดำเนินกิจการรถไฟฟ้าในจังหวัดเชียงใหม่ , จังหวัดพังงา, จังหวัดภูเก็ต และจังหวัดนครราชสีมา

คณะกรรมการ

แก้

คณะกรรมการการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย ประกอบด้วย[8]

  1. นายสราวุธ ทรงศิวิไล ประธานกรรมการ
  2. นายสุวิทย์ พันธ์เสงี่ยม กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ
  3. พลโท ดร.พิเชษฐ คงศรี กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ
  4. ผศ.ดร.เผ่าภัค ศิริสุข กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ
  5. นายพิชญะ จันทรานุวัฒน์ กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ
  6. นายมงคลชัย สมอุดร กรรมการผู้แทน
  7. นายปิยกร อภิบาลศรี กรรมการผู้แทน
  8. นางจันทิรา บุรุษพัฒน์ กรรมการผู้แทน
  9. นายพยุงศักดิ์ ครเจริญ กรรมการผู้แทน
  10. นายปัญญา ชูพานิช กรรมการผู้แทน
  11. นายวิชญายุทธ บุญชิต กรรมการผู้แทน
  12. นายพงษ์นรา เย็นยิ่ง กรรมการผู้แทน
  13. นายสุวิทย์ พันธ์เสงี่ยม กรรมการผู้แทน
  14. นายธวัชชัย นภาศักดิ์ศรี กรรมการผู้แทน
  15. นายวิทยา พันธุ์มงคล กรรมการและเลขานุการ (รักษาการผู้ว่าการ รฟม.)

โครงการในความรับผิดชอบ

แก้

กรุงเทพมหานครและปริมณฑล

แก้

การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทยได้ดำเนินการระบบขนส่งมวลชนในรูปแบบรถไฟฟ้าในพื้นที่กรุงเทพมหานครและปริมณฑล โดยใช้ชื่อว่า รถไฟฟ้ามหานคร แบ่งเป็น 6 สาย ดังนี้

การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทยได้รับมอบหมายจากองค์การบริหารส่วนจังหวัดปทุมธานี (อบจ.ปทุมธานี) เพื่อดำเนินการพัฒนาระบบขนส่งมวลชนภายในพื้นที่จังหวัดปทุมธานี ในรูปแบบรถไฟฟ้าโมโนเรล โดยก่อนหน้านี้ ได้มีการลงนามบันทึกความเข้าใจ (MOU) ระหว่างหน่วยราชการภายในจังหวัด อบจ.ปทุมธานี และรฟม. เมื่อวันที่ 15 กุมภาพันธ์ 2566 ที่อาคารสำนักงานเทศบาลนครรังสิต

สำหรับเส้นทางแรก คือ สถานีรถไฟฟ้ารังสิต(สายสีแดง - คลอง 6 - สวนสัตว์ดุสิตแห่งใหม่หรือสวนสัตว์ดุสิต 2) มีจุดเริ่มต้นจาก สถานีรังสิต (รถไฟฟ้าชานเมือง สายธานีรัถยา (สายสีแดงเข้ม)) ผ่านศูนย์การค้าฟิวเจอร์พาร์ค รังสิต ผ่านสวนสนุกดรีมเวิลด์ ผ่านทางเข้ามหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี สิ้นสุดที่สวนสัตว์ดุสิตแห่งใหม่ บริเวณใกล้กับสวนสาธารณะทศมินทราภิรมย์ อำเภอธัญบุรี

ทั้งนี้ มีการประมาณการไว้ว่า โครงการระบบขนส่งมวลชนโมโนเรลสายนี้ จะใช้เวลาก่อสร้าง 3 ปีครึ่ง [12]

ต่างจังหวัด

แก้

การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทยได้รับมอบหมายจากกระทรวงคมนาคมให้เข้าไปพัฒนาระบบขนส่งมวลชนในจังหวัดเชียงใหม่จำนวน 3 สายทาง ดังนี้

ปัจจุบันทั้ง 3 สายทางยังอยู่ระหว่างการออกแบบรายละเอียด และรับฟังความเห็นจากประชาชน

การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทยได้รับมอบหมายจากกระทรวงคมนาคมให้เข้าไปพัฒนาระบบขนส่งมวลชนรูปแบบระบบรถรางไฟฟ้าล้อยางในจังหวัดพิษณุโลก โดยได้มอบหมายให้สำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) ดำเนินการศึกษาความเหมาะสมและออกแบบระบบ ผลการศึกษาได้เสนอให้ดำเนินการตามแผนระยะที่ 1 เส้นทางสายสีแดง (มหาวิทยาลัยพิษณุโลก – ห้างสรรพสินค้าเซ็นทรัลพิษณุโลก) เป็นเส้นทางที่สมควรดำเนินการเป็นลำดับแรก และมีมติคณะรัฐมนตรีมอบหมายให้ การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทยเป็นผู้ดำเนินการโครงการต่อไป

การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทยได้รับมอบหมายจากกระทรวงคมนาคมให้เข้าไปพัฒนาระบบขนส่งมวลชนในจังหวัดนครราชสีมาจำนวน 3 สายทาง ดังนี้

  • รถไฟฟ้าสายสีเขียว (ช่วงตลาดเซฟวัน - ถนนมุขมนตรี - สถานคุ้มครองและพัฒนาอาชีพบ้านนารีสวัสดิ์)
  • รถไฟฟ้าสายสีส้ม (ช่วงแยกประโดก - ถนนช้างเผือก- แนวคูเมืองเก่า)
  • รถไฟฟ้าสายสีม่วง (ช่วงตลาดเซฟวัน - ถนนมิตรภาพ - สถานคุ้มครองและพัฒนาอาชีพบ้านนารีสวัสดิ์)

โดยสำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) เสนอแนะว่า รฟม.ควรดำเนินการในเส้นทางสายสีเขียวก่อนเป็นลำดับแรก[13] ปัจจุบันอยู่ระหว่างการออกแบบรายละเอียด และรับฟังความเห็นจากประชาชน

การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทยได้รับมอบหมายจากกระทรวงคมนาคมให้เข้าไปพัฒนาระบบขนส่งมวลชนรูปแบบรถไฟฟ้ารางเบาในจังหวัดภูเก็ต โดยมีเส้นทางทั้งหมด 2 ช่วง ดังนี้

  • ช่วงห้าแยกฉลอง - ท่าอากาศยานนานาชาติภูเก็ต
  • ช่วงสถานีรถไฟท่านุ่น - ท่าอากาศยานนานาชาติภูเก็ต

ปัจจุบันทั้ง 2 ช่วงยังอยู่ระหว่างการออกแบบรายละเอียด

อ้างอิง

แก้
  1. ราชกิจจานุเบกษา, พระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2559 เล่ม 132 ตอนที่ 91ก วันที่ 25 กันยายน 2558
  2. "วิทยา พันธุ์มงคล" นั่งรักษาการผู้ว่าฯ รฟม. บอร์ดยังไม่ตั้งคณะ กก.สรรหาฯ ส่อลากอีกยาว
  3. พระราชบัญญตัองค์การรถไฟฟ้ามหานคร พ.ศ. 2535
  4. https://dl.parliament.go.th/bitstream/handle/20.500.13072/417330/2538_%E0%B9%81%E0%B8%A1%E0%B9%88%E0%B8%9A%E0%B8%97_%E0%B8%82%E0%B8%99%E0%B8%AA%E0%B9%88%E0%B8%87%E0%B8%A1%E0%B8%A7%E0%B8%A5%E0%B8%8A%E0%B8%99_%E0%B8%99%E0%B8%A3.pdf?sequence=1
  5. "พระราชบัญญัติการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย พ.ศ. 2543" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2015-03-17. สืบค้นเมื่อ 2012-01-12.
  6. "ประวัติความเป็นมาของ รฟม". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-05-17. สืบค้นเมื่อ 2007-05-26.
  7. พระราชกฤษฎีกากำหนดจังหวัดให้การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย
  8. "คณะกรรมการ รฟม. | การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย". www.mrta.co.th.
  9. "เคาะเก็บค่าโดยสาร 'สายสีเหลือง' 3 ก.ค.นี้". ไทยโพสต์.
  10. “สายสีชมพู” เปิดฟรีครบ 30 สถานี เก็บค่าโดยสาร 26 สถานี เริ่ม 7 ม.ค. ลด 15%
  11. โครงการส่วนต่อขยายและสายใหม่ เก็บถาวร 2006-12-02 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน - การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย
  12. "แก้รถติด! ผู้ว่า รฟม.จับมือนายกแจ๊ส เดินหน้า MOU รถไฟฟ้าโมโนเรล". www.naewna.com. 2023-02-15.
  13. "โครงการระบบขนส่งมวลชนจังหวัดนครราชสีมา (สายสีเขียว)". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2022-11-08. สืบค้นเมื่อ 2022-11-08.

ดูเพิ่ม

แก้

แหล่งข้อมูลอื่น

แก้

13°45′37″N 100°34′37″E / 13.760326°N 100.576919°E / 13.760326; 100.576919