รถไฟฟ้าขนส่งมวลชนจังหวัดเชียงใหม่
รถไฟฟ้าขนส่งมวลชนจังหวัดเชียงใหม่ เป็นโครงการก่อสร้างรถไฟฟ้าในพื้นที่เทศบาลนครเชียงใหม่และชานเมืองเชียงใหม่ โดยมีการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทยเป็นผู้รับผิดชอบ[1] แผนแม่บทรถไฟฟ้าจังหวัดเชียงใหม่แบ่งออกเป็นสามสายทั้งแบบระดับดินและใต้ดิน มูลค่าลงทุนรวมทั้งสิ้น 95,321 ล้านบาท[2] ปัจจุบันอยู่ในขั้นตอนออกแบบและศึกษาผลกระทบสิ่งแวดล้อม
รถไฟฟ้าขนส่งมวลชนจังหวัดเชียงใหม่ | |
---|---|
ข้อมูลทั่วไป | |
เจ้าของ | การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย |
ที่ตั้ง | จังหวัดเชียงใหม่ |
ประเภท | รถไฟรางเบา |
จำนวนสาย | 3 สาย (โครงการ) |
จำนวนสถานี | 37 (โครงการ) |
ข้อมูลทางเทคนิค | |
ระยะทาง | 38.89 กม. (โครงการ) |
ภูมิหลัง
แก้- ปี 2536 การทางพิเศษแห่งประเทศไทย ซึ่งเป็นองค์กรที่ควบคุมและดูแลในเรื่องของระบบขนส่งสาธารณะระบบราง หรือรถไฟฟ้าในขณะนั้นได้เปิดเผยโครงการการจัดสร้างระบบขนส่งในหัวเมืองใหญ่ 8 เมือง อันได้แก่ เชียงใหม่ พิษณุโลก ขอนแก่น นครราชสีมา สงขลา ภูเก็ต ฉะเชิงเทรา และชลบุรี ซึ่งดูเหมือนว่าโครงการที่ดูเป็นรูปเป็นร่างที่สุดในตอนนั้นก็คือโครงการของจังหวัดเชียงใหม่ หลังจากการทำแผนพัฒนาและสำรวจเส้นทางที่เหมาะสมกับประชาชนแล้วเสร็จ[3]เเรื่องการมีรถไฟฟ้าในเทศบาลนครเชียงใหม่และพื้นที่ต่อเนื่องนั้น เป็นสิ่งที่พูดถึงอย่างจริงจังในการศึกษาเพื่อจัดทำระบบขนส่งมวลชนสาธารณะสำหรับเมืองเชียงใหม่ ซึ่งที่ผ่านมาได้ดำเนินการแล้ว 4 ครั้ง[4] ได้แก่
- ปี พ.ศ. 2537-2543 ดำเนินการโดยการทางพิเศษ ที่ขณะนั้นมีอำนาจในระบบขนส่งสาธารณะ มีการนำเสนอถึงการนำรถไฟฟ้าใต้ดินมาใช้ ในรูปแบบรถไฟรางเบา ในขณะนั้นมีการวางไว้ระบบรถไฟฟ้าไว้หลายจังหวัด อาทิ เชียงใหม่ พิษณุโลก ขอนแก่น นครราชสีมา สงขลา ภูเก็ต ฉะเชิงเทรา และชลบุรี ที่ดูเป็นไปได้สุดคือเชียงใหม่[5] มีการได้ดำเนินการถึงขั้นมีการออกแบบในรายละเอียด[6]แต่ในช่วงเวลาดังกล่าวได้เกิดการปรับเปลี่ยนหน้าที่ความรับผิดชอบของการทางพิเศษขึ้น โดยมีการจัดตั้งองค์การรถไฟฟ้ามหานคร หรือ รฟม. ขึ้นมารับผิดชอบงานด้านรถไฟฟ้าโดยเฉพาะ ซึ่งในเวลานั้นทาง รฟม. ได้มุ่งให้ความสำคัญในการจัดสร้างระบบรถไฟฟ้าในกรุงเทพมหานครเป็นหลัก จึงทำให้ไม่ได้สานต่อโครงการนี้
- ปี พ.ศ. 2548 ดำเนินการโดยสำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร หรือ สนข. มีการดำเนินการถึงขั้นออกแบบในรายละเอียดของระบบรถไฟฟ้าสำหรับเมืองเชียงใหม่ แต่หลังจากทำการศึกษาเสร็จสิ้นก็เกิดการรัฐประหาร มีการเปลี่ยนแปลงนโยบายของรัฐบาลในหลายๆ ด้าน ทำให้โครงการนี้ไม่ได้รับการผลักดันต่อ
- ปี พ.ศ. 2557 ดำเนินการโดยสำนักงานพัฒนาพิงคนคร (องค์การมหาชน) มีการยกระบบรถไฟฟ้าขึ้นเป็นหนึ่งในตัวเลือก แต่การดำเนินการยังไม่ได้คืบหน้ามากนัก และยุติลงหลังจากกระทรวงคมนาคมได้มอบหมายให้ สนข. ศึกษาเพื่อจัดทำระบบขนส่งมวลชนสาธารณะสำหรับเมืองเชียงใหม่ในปี พ.ศ. 2559
- ปี พ.ศ. 2559 ดำเนินการโดย สนข. ซึ่งได้นำเสนอแผนแม่บท ประกอบด้วยรถไฟฟ้ารางเบา หรือ Light Rail Transit (LRT) 3 เส้นทาง และระบบ Feeder ที่เป็นรถเมล์โดยสารสาธารณะ 14 เส้นทาง มีระยะทางรวมประมาณ 210 กม. โดยคณะกรรมการจัดระบบการจราจรทางบก ได้มีมติให้ รฟม. ดำเนินการออกแบบทางวิศวกรรม เพื่อก่อสร้างต่อไป
- ปี พ.ศ. 2565 ดร. ประชัน หันชัยเนาว์ รองประธานชมรมธนาคารจังหวัดเชียงใหม่ เปิดเผยถึงความคืบหน้ารถไฟฟ้าเชียงใหม่ ช่วงโรงพยาบาลนครพิงค์ถึงแยกแม่เหียะ ระยะทาง 15.7 กม. คาดเริ่มดำเนินการก่อสร้างปี 2568 ด้านรองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี คาดการณ์ว่ารถไฟฟ้าเชียงใหม่จะเปิดบริการเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2571[7] [8]
- ปี พ.ศ. 2567 รัฐบาล เศรษฐา ทวีสิน ผลักดันรถไฟฟ้าเชียงใหม่ โดยจะเริ่มดำเนินการหลังวงแหวนแล้วเสร็จ[9][10]
เส้นทาง
แก้เส้นทาง | มูลค่าลงทุน (ล้านบาท) |
ระยะทาง (กิโลเมตร) | จำนวนสถานี | ต้นทาง | ปลายทาง |
---|---|---|---|---|---|
■ สายสีแดง | 28,726.80 | 16.50 | 16 | โรงพยาบาลนครพิงค์ | แยกแม่เหียะสมานสามัคคี |
■ สายสีน้ำเงิน | 30,399.82 | 10.47 | 13 | สวนสัตว์เชียงใหม่ | แยกศรีบัวเงินพัฒนา |
■ สายสีเขียว | 36,195.04 | 11.92 | 10 | แยกรวมโชคมีชัย | ท่าอากาศยานเชียงใหม่ |
รวม | 95,321.66 | 38.89 | 37* |
หมายเหตุ: * กรณีนับสถานีร่วมเป็นหนึ่งสถานี
ปัญหาและอุปสรรค
แก้มีการคัดค้านจากประชาชนบางส่วนในการก่อสร้างรถไฟฟ้ายกระดับ (elevated railway) หรือรถไฟลอยฟ้า ด้วยเหตุผลว่าอาจจะบดบังและทำลายทัศนียภาพของเมือง โดยเฉพาะในพื้นที่เขตเมืองเก่าและพื้นที่ใกล้ดอยสุเทพ และคัดค้านการสร้างรถไฟฟ้าใต้ดินในพื้นที่ที่มีความอ่อนไหวทางด้านประวัติศาสตร์และวัฒนธรรม โดยเฉพาะพื้นที่ในเขตที่จะเสนอให้เป็นแหล่งมรดกโลก ได้แก่ พื้นที่ในเขตกำแพงเมืองเก่า พื้นที่เมืองเก่าในเขตแนวกำแพงดิน และพื้นที่ในเขตเวียงสวนดอก[11]
อ้างอิง
แก้- ↑ ราชกิจจานุเบกษา. พระราชกฤษฎีกา กำหนดจังหวัดให้การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทยดำเนินกิจการรถไฟฟ้า พ.ศ. 2562 เล่ม 136 ตอนที่ 44 ก. วันที่ 6 เมษายน 2562.
- ↑ ลุยสร้างรถไฟฟ้าหัวเมืองใหญ่ เชียงใหม่ ภูเก็ต โคราช พิษณุโลก มูลค่า 1.8 แสนล้าน ข่าวสด. 17 ตุลาคม 2561.
- ↑ https://thestandard.co/chiangmai-public-transit-master-plan/
- ↑ บุญส่ง สัตโยภาส. "เชียงใหม่จะมีระบบขนส่งสาธารณะได้อย่างไร?" เก็บถาวร 2017-05-28 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- ↑ "กว่า 2 ทศวรรษ 'รถไฟฟ้าเชียงใหม่' กำลังจะมาจริงหรือ? โครงการที่รอมาตั้งแต่แอม เสาวลักษณ์ ออกอัลบั้มแรก". THE STANDARD. 2017-11-01.
- ↑ ดำเนินการถึงขั้นมีการออกแบบในรายละเอียด[ลิงก์เสีย]
- ↑ ครม.รับทราบการดำเนินงานของ รฟม. รถไฟฟ้า 3 โครงการเร็วกว่าแผนงานที่กำหนด
- ↑ ครม.รับทราบผลการดำเนินงานของ รฟม.ในปีงบประมาณ 2564
- ↑ ""นายกฯ" ดัน "รถไฟฟ้าเชียงใหม่" ยกระดับคมนาคม-ท่องเที่ยว หลังวงแหวนเสร็จ". komchadluek. 2024-01-11.
- ↑ พี่ตั๊ก (2024-01-12). "คมนาคม ชงบิ๊กโปรเจ็กต์ ระบบขนส่งเชียงใหม่". มิติหุ้น | ชี้ชัดทุกการลงทุน.
- ↑ อิศรา กันแตง. "การทำงานของคณะทำงานผลักดันเชียงใหม่สู่เมืองมรดกโลก (ตอนที่ 2)". เก็บถาวร 2017-05-13 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน