กรุงเทพมหานครและปริมณฑล
กรุงเทพมหานครและปริมณฑล (อังกฤษ: Bangkok Metropolitan Region)[1] เป็นเขตเมืองของกรุงเทพมหานครและจังหวัดที่ตั้งอยู่โดยรอบ ("ปริมณฑล" หมายถึง วงรอบ) ครอบคลุมพื้นที่กว่า 7 พันตารางกิโลเมตร แม่น้ำสายสำคัญที่ไหลผ่าน ได้แก่ แม่น้ำเจ้าพระยาและแม่น้ำท่าจีน มีประชากรที่มีภูมิลำเนาจดทะเบียนตามหลักฐานทะเบียนราษฎรรวมกันประมาณ 10.6 ล้านคน (เดือนธันวาคม พ.ศ. 2555) แต่ยังมีจำนวนผู้อยู่อาศัย (residents) ที่ไม่ได้จดทะเบียนเป็นภูมิลำเนาอยู่อีกเป็นจำนวนมาก ซึ่งในเวลากลางวันจะมีประชากรถึง 13 ล้านกว่าคนที่อยู่ในเขตนี้[ต้องการอ้างอิง] กรุงเทพมหานครและปริมณฑลนับว่าเป็นเขตเศรษฐกิจที่มีความเจริญที่สุด และเป็นศูนย์กลางการปกครอง การบริหารราชการ พาณิชยกรรม และการเงินของประเทศ
การแบ่งเขตการปกครองแก้ไข
การแบ่งจังหวัดเป็นภูมิภาคด้วยระบบ กรุงเทพมหานครและปริมณฑล เป็นการแบ่งที่เป็นทางการโดยคณะกรรมการภูมิศาสตร์แห่งชาติ ใช้ในการศึกษาทางภูมิศาสตร์ โดยภาคกลางของระบบ กรุงเทพมหานครและปริมณฑล นี้ ประกอบไปด้วยเขตการปกครอง 6 จังหวัด รวมถึงกรุงเทพมหานคร (ซึ่งเป็นเขตการปกครองส่วนท้องถิ่นรูปแบบพิเศษที่มีฐานะเทียบเท่ากับจังหวัด)
ตราประจำ จังหวัด |
ชื่อจังหวัด อักษรไทย |
ชื่อจังหวัด อักษรโรมัน |
จำนวนประชากร (คน) |
พื้นที่ (ตร.กม.) |
ความหนาแน่น (คน/ตร.กม.) |
---|---|---|---|---|---|
กรุงเทพมหานคร | Bangkok | 5,682,415 | 1,568.7 | 3,622.2 | |
นครปฐม | Nakhon Pathom | 911,492 | 2,168.3 | 420.37 | |
นนทบุรี | Nonthaburi | 1,229,735 | 622.3 | 1,976.11 | |
ปทุมธานี | Pathum Thani | 1,129,115 | 1,525.9 | 739.98 | |
สมุทรปราการ | Samut Prakan | 1,310,766 | 1,004.1 | 1,305.42 | |
สมุทรสาคร | Samut Sakhon | 568,465 | 872.3 | 651.69 |
สถิติประชากรแต่ละจังหวัดแก้ไข
พื้นที่กรุงเทพมหานครและปริมณฑลครอบคลุมเขตการปกครองดังนี้
เขตการปกครอง | เนื้อที่ (ตร.กม.) |
จำนวนประชากร พ.ศ. 2559[2] |
จำนวนประชากร พ.ศ. 2553[3] |
จำนวนประชากร พ.ศ. 2547[4] |
ความหนาแน่นประชากร (คน/ตร.กม.) พ.ศ. 2559 |
ความหนาแน่นประชากร (คน/ตร.กม.) พ.ศ. 2555 |
จำนวน เขต/อำเภอ |
จำนวน แขวง/ตำบล |
---|---|---|---|---|---|---|---|---|
กรุงเทพมหานคร | 1,568.737 | 5,686,646 | 5,701,394 | 5,634,132 | 3,624.98 | 3,616.64 | 50 | 180 |
จังหวัดนครปฐม | 2,168.327 | 905,008 | 860,246 | 798,016 | 417.38 | 403.36 | 7 | 106 |
จังหวัดนนทบุรี | 622.303 | 1,211,924 | 1,101,743 | 942,292 | 1,947.48 | 1,834.59 | 6 | 52 |
จังหวัดปทุมธานี | 1,525.856 | 1,111,376 | 985,643 | 769,998 | 728.36 | 677.55 | 7 | 60 |
จังหวัดสมุทรปราการ | 1,004.092 | 1,293,553 | 1,185,180 | 1,049,416 | 1,288.29 | 1,218.32 | 6 | 50 |
จังหวัดสมุทรสาคร | 872.347 | 556,719 | 491,887 | 442,687 | 638.19 | 583.27 | 3 | 40 |
รวม | 7,761.662 | 10,765,226 | 10,326,093 | 9,636,541 | 1,386.97 | 1,347.11 | 79 | 488 |
อ้างอิงแก้ไข
- ↑ NESDB, Bangkok Metropolitan Region Study, 1985
- ↑ กรมการปกครอง. กระทรวงมหาดไทย. "ประกาศสำนักทะเบียนกลาง กรมการปกครอง เรื่อง จำนวนราษฎรทั่วราชอาณาจักร แยกเป็นกรุงเทพมหานครและจังหวัดต่าง ๆ ตามหลักฐานการทะเบียนราษฎร ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2559." [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: http://stat.bora.dopa.go.th/stat/y_stat59.htm 2560. สืบค้น 3 มีนาคม 2560.
- ↑ กรมการปกครอง. กระทรวงมหาดไทย. "ประกาศสำนักทะเบียนกลาง กรมการปกครอง เรื่อง จำนวนราษฎรทั่วราชอาณาจักร แยกเป็นกรุงเทพมหานครและจังหวัดต่าง ๆ ตามหลักฐานการทะเบียนราษฎร ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2553." [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: [1] 2553. สืบค้น 10 กรกฎาคม 2554.
- ↑ กรมการปกครอง. กระทรวงมหาดไทย. "ประกาศสำนักทะเบียนกลาง กรมการปกครอง เรื่อง จำนวนราษฎรทั่วราชอาณาจักร แยกเป็นกรุงเทพมหานครและจังหวัดต่าง ๆ ตามหลักฐานการทะเบียนราษฎร ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2547." [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: [2] 2548. สืบค้น 13 ธันวาคม 2554.