เขตห้วยขวาง
บทความนี้ยังต้องการเพิ่มแหล่งอ้างอิงเพื่อพิสูจน์ความถูกต้อง |
ห้วยขวาง เป็นหนึ่งในห้าสิบเขตของกรุงเทพมหานคร เป็นแหล่งการค้า การบริการ และแหล่งที่อยู่อาศัยหนาแน่นมาก
เขตห้วยขวาง | |
---|---|
การถอดเสียงอักษรโรมัน | |
• อักษรโรมัน | Khet Huai Khwang |
พื้นที่เขตห้วยขวางจากมุมสูง | |
คำขวัญ: วัดพระราม ๙ อารามหลวงงามคู่เขต ศูนย์วัฒนธรรมประเทศคู่สมัย โครงการบ่อบำบัดรถไฟฟ้าก้าวไกล ย่านนี้ไซร้นามห้วยขวางศูนย์กลางเมือง | |
แผนที่กรุงเทพมหานคร เน้นเขตห้วยขวาง | |
พิกัด: 13°46′36″N 100°34′46″E / 13.77667°N 100.57944°E | |
ประเทศ | ไทย |
เขตปกครองพิเศษ | กรุงเทพมหานคร |
พื้นที่ | |
• ทั้งหมด | 15.033 ตร.กม. (5.804 ตร.ไมล์) |
ประชากร (2566) | |
• ทั้งหมด | 83,692[1] คน |
• ความหนาแน่น | 5,567.22 คน/ตร.กม. (14,419.0 คน/ตร.ไมล์) |
รหัสไปรษณีย์ | 10310 |
รหัสภูมิศาสตร์ | 1017 |
ที่อยู่ สำนักงาน | เลขที่ 2 ถนนประชาอุทิศ แขวงห้วยขวาง เขตห้วยขวาง กรุงเทพมหานคร 10310 |
เว็บไซต์ | www |
ที่ตั้งและอาณาเขต
แก้เขตห้วยขวางตั้งอยู่ทางตอนกลางค่อนไปทางเหนือของฝั่งพระนคร มีอาณาเขตติดต่อกับพื้นที่การปกครองต่าง ๆ เรียงตามเข็มนาฬิกา ดังนี้
- ทิศเหนือ ติดต่อกับเขตจตุจักรและเขตลาดพร้าว มีคลองน้ำแก้วและคลองลาดพร้าวเป็นเส้นแบ่งเขต
- ทิศตะวันออก ติดต่อกับเขตวังทองหลาง เขตบางกะปิ และเขตสวนหลวง มีคลองลาดพร้าวและคลองแสนแสบเป็นเส้นแบ่งเขต
- ทิศใต้ ติดต่อกับเขตวัฒนา มีคลองแสนแสบเป็นเส้นแบ่งเขต
- ทิศตะวันตก ติดต่อกับเขตราชเทวีและเขตดินแดง มีถนนอโศก-ดินแดงและถนนรัชดาภิเษกเป็นเส้นแบ่งเขต
ประวัติ
แก้เขตห้วยขวาง ได้รับการจัดตั้งขึ้นตามพระราชกฤษฎีกาในวันที่ 16 สิงหาคม พ.ศ. 2516[2] โดยแยกพื้นที่การปกครองมาจากเขตพญาไท 2 แขวง คือ แขวงห้วยขวางและแขวงบางกะปิ จากนั้นใน พ.ศ. 2521 ได้มีพระราชกฤษฎีกาโอนแขวงดินแดงจากเขตพญาไทและแขวงสามเสนนอกจากเขตบางกะปิมารวมกับเขตห้วยขวาง และโอนพื้นที่บางส่วนของเขตไปรวมกับเขตพญาไท[3] เพื่อจัดขนาดพื้นที่และจำนวนประชากรของแต่ละเขตให้มีความเหมาะสม ทำให้เขตห้วยขวางมีพื้นที่ปกครอง 4 แขวง
จนกระทั่งใน พ.ศ. 2536 กระทรวงมหาดไทยได้มีประกาศเปลี่ยนแปลงพื้นที่เขตห้วยขวาง โดยแยกแขวงดินแดงไปจัดตั้งเป็นเขตดินแดง[4]
การแบ่งเขตการปกครอง
แก้เขตห้วยขวางแบ่งหน่วยการปกครองย่อยออกเป็น 3 แขวง ได้แก่
หมาย เลข |
อักษรไทย | อักษรโรมัน | พื้นที่ (ตร.กม.) |
จำนวนประชากร (ธันวาคม 2566) |
ความหนาแน่นประชากร (ธันวาคม 2566) |
แผนที่ |
---|---|---|---|---|---|---|
1. |
ห้วยขวาง | Huai Khwang | 5.342 |
27,325 |
5,115.13 |
|
2. |
บางกะปิ | Bang Kapi | 5.408 |
19,582 |
3,620.93
| |
4. |
สามเสนนอก | Sam Sen Nok | 4.283 |
36,785 |
8,588.61
| |
ทั้งหมด | 15.033 |
83,692 |
5,567.22
|
หมายเลขที่หายไปปัจจุบันคือแขวงในเขตดินแดง
ประชากร
แก้สถิติประชากรตามทะเบียนราษฎร เขตห้วยขวาง[5] | ||
---|---|---|
ปี (พ.ศ.) | ประชากร | การเพิ่มและการลด |
2535 | 88,331 | ไม่ทราบ |
2536 | 87,253 | -1,078 |
2537 | 85,125 | -2,128 |
2538 | 80,974 | -4,151 |
2539 | 80,201 | -773 |
2540 | 79,793 | -408 |
2541 | 79,070 | -723 |
2542 | 78,593 | -477 |
2543 | 78,595 | +2 |
2544 | 79,404 | +809 |
2545 | 79,871 | +467 |
2546 | 79,916 | +45 |
2547 | 76,343 | -3,573 |
2548 | 76,213 | -130 |
2549 | 76,402 | +189 |
2550 | 77,033 | +631 |
2551 | 76,948 | -85 |
2552 | 76,987 | +39 |
2553 | 77,292 | +305 |
2554 | 77,720 | +428 |
2555 | 78,207 | +487 |
2556 | 78,943 | +736 |
2557 | 80,002 | +1,059 |
2558 | 80,735 | +733 |
2559 | 81,190 | +455 |
2560 | 81,515 | +325 |
2561 | 81,689 | +174 |
2562 | 84,340 | +2,651 |
2563 | 84,233 | -107 |
2564 | 83,278 | -955 |
2565 | 83,493 | +215 |
2566 | 83,692 | +199 |
การคมนาคม
แก้- ถนนสายหลัก
- ถนนรัชดาภิเษก
- ถนนเพชรบุรี
- ถนนอโศกมนตรี
- ถนนประดิษฐ์มนูธรรม
- ถนนประชาราษฎร์บำเพ็ญ
- ถนนเทียมร่วมมิตร
- ถนนพระราม 9
- ถนนเพชรอุทัย
- ถนนลาดพร้าว
- ถนนสุทธิสารวินิจฉัย
- ถนนประชาอุทิศ
- ถนนวัฒนธรรม
- ถนนเพชรพระราม
- ทางพิเศษศรีรัช
- ทางพิเศษฉลองรัช
- รถไฟฟ้า
- รถไฟฟ้ามหานคร สายเฉลิมรัชมงคล มี 5 สถานี คือ สถานีพระราม 9 สถานีศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย สถานีห้วยขวาง สถานีสุทธิสาร และสถานีรัชดาภิเษก
- รถไฟฟ้าสายสีเหลือง มี 1 สถานี คือ สถานีภาวนา
- รถไฟฟ้าสายสีส้ม (กำลังก่อสร้าง) มี 3 สถานี คือ สถานีศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย สถานีรฟม. และสถานีวัดพระราม ๙
สถานที่สำคัญ
แก้- โรงพยาบาลปิยะเวท
- กระทรวงวัฒนธรรม (วธ.)
- กรมส่งเสริมวัฒนธรรม
- กรมการศาสนา
- กรมโยธาธิการและผังเมือง
- สำนักงานศิลปวัฒนธรรมร่วมสมัย
- ศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย
- สำนักข่าวกรมประชาสัมพันธ์
- สถานีโทรทัศน์เอ็นบีทีเวิลด์
- วัดพระราม ๙ กาญจนาภิเษก
- วัดอุทัยธาราม (บางกะปิ)
- การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.)
- บริษัท อสมท จำกัด (มหาชน)
- สถานีวิทยุ อสมท
- สถานีโทรทัศน์ช่อง 9 เอ็มคอตเอชดี
- สำนักข่าวไทย
- องค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ (ขสมก.)
- ธนาคารอาคารสงเคราะห์ (ธอส.)
- โรงละครกรุงเทพ
- สยามนิรมิต
- โรงพยาบาลพระราม 9
- สถานีตำรวจนครบาลมักกะสัน
- เซ็นทรัล แกรนด์ พระราม 9
- การทางพิเศษแห่งประเทศไทย
สถานศึกษา
แก้โรงเรียนมัธยมศึกษาสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (ม.1–6)
แก้โรงเรียนประถมศึกษาที่เปิดสอนตั้งแต่ระดับปฐมวัย–มัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน
แก้โรงเรียนสังกัดสำนักการศึกษากรุงเทพมหานคร
แก้โรงเรียนสังกัดสำนักบริหารงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน (สช.)
แก้- โรงเรียนอนุบาลสองภาษาบ้านต้นไม้
- โรงเรียนสมาคมไทย-ญี่ปุ่น
- โรงเรียนนานาชาติคิซอินเตอร์เนชั่นแนล
- โรงเรียนชาญวิทย์
- โรงเรียนดลวิทยา
- โรงเรียนสมฤทัย
- โรงเรียนสิริเทพ
- โรงเรียนอนุบาลโชคชัย
- โรงเรียนอนุบาลทรงวิทย์
- โรงเรียนอนุบาลวัฒนานิเวศน์
- โรงเรียนอนุบาลสีชมพูมอนเทสเซอริ
- โรงเรียนอันวารุ้ลอิสลาม
- โรงเรียนอนุบาลนานาชาติเพรพ
- โรงเรียนอนุบาลบุณยรักษ์
อ้างอิง
แก้- ↑ สำนักบริหารการทะเบียน. กรมการปกครอง. กระทรวงมหาดไทย. "สถิติประชากรและบ้าน - จำนวนประชากรแยกรายอายุ." [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: http://stat.dopa.go.th/stat/statnew/upstat_age.php เก็บถาวร 2020-06-04 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน. สืบค้น 26 มกราคม 2567.
- ↑ "พระราชกฤษฎีกาแบ่งกรุงเทพมหานครออกเป็นเขต พ.ศ. ๒๕๑๖" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 90 (พิเศษ 107 ก): 4–7. 23 สิงหาคม 2516.
- ↑ "พระราชกฤษฎีกาเปลี่ยนแปลงพื้นที่เขตพญาไท เขตห้วยขวาง และเขตบางกะปิ กรุงเทพมหานคร พ.ศ. ๒๕๒๑" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 95 (48 ก): 180–184. 2 พฤษภาคม 2521. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2012-06-07. สืบค้นเมื่อ 2012-03-31.
- ↑ "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง เปลี่ยนแปลงพื้นที่เขตพญาไท เขตราชเทวี เขตห้วยขวาง และตั้งเขตดินแดง กรุงเทพมหานคร" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 110 (พิเศษ 184 ง): 3–6. 10 พฤศจิกายน 2536. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2012-06-07. สืบค้นเมื่อ 2012-03-31.
- ↑ สำนักบริหารการทะเบียน. กรมการปกครอง. กระทรวงมหาดไทย. "จำนวนประชากรและบ้าน." [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: http://stat.dopa.go.th/xstat/popyear.html 2556. สืบค้น 3 เมษายน 2556.