ทางพิเศษศรีรัช

ทางพิเศษศรีรัช หรือ ระบบทางด่วนขั้นที่ 2 (ส่วนในเมือง) เป็นทางพิเศษในกรุงเทพมหานคร ก่อสร้างและเปิดให้บริการเป็นครั้งแรกเมื่อวันที่ 2 กันยายน พ.ศ. 2536[1][2] ดำเนินการโดยการทางพิเศษแห่งประเทศไทย มีระยะทางรวม 38.4 กิโลเมตร[1] เป็นทางพิเศษที่แบ่งเบาการจราจรบนทางพิเศษเฉลิมมหานคร และเพิ่มประสิทธิภาพของทางพิเศษในกรุงเทพมหานครให้เป็นโครงข่ายที่สมบูรณ์มากยิ่งขึ้น

Thailand road sign Expressway.svg
ทางพิเศษศรีรัช
ระบบทางด่วนขั้นที่ 2
ทางพิเศษศรีรัช (สีชมพู)
ข้อมูลของเส้นทาง
ความยาว:38.4 กิโลเมตร (23.9 ไมล์)
มีขึ้นเมื่อ:พ.ศ. 2536 – ปัจจุบัน
สายบางโคล่–แจ้งวัฒนะ
ปลายทางทิศใต้:Thailand road sign Expressway.svg ทางพิเศษเฉลิมมหานคร ทางแยกต่างระดับบางโคล่ ใน เขตบางคอแหลม
ทางแยก
ที่สำคัญ:
ปลายทางทิศเหนือ:Thailand road sign Expressway.svg ทางพิเศษอุดรรัถยา ใน อำเภอปากเกร็ด
สายพญาไท–ศรีนครินทร์
ปลายทางทิศตะวันตก:Thailand road sign Expressway.svg ทางพิเศษศรีรัช ทางแยกต่างระดับพญาไท ใน เขตราชเทวี
ทางแยก
ที่สำคัญ:
ปลายทางทิศตะวันออก:Thai Motorway-t7.svg ทางหลวงพิเศษหมายเลข 7 ทางแยกต่างระดับศรีนครินทร์ ใน เขตสวนหลวง
ตำแหน่งที่ตั้ง
จังหวัด:
ระบบทางหลวง

รายละเอียดของเส้นทางแก้ไข

 
ทางพิเศษศรีรัช ช่วงทางลงอนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ

ทางพิเศษศรีรัชแบ่งออกเป็น 4 ส่วน ได้แก่

สายพญาไท–ศรีนครินทร์แก้ไข

  1. ส่วน A เปิดให้บริการเป็น 1 ใน 2 ส่วนแรก เมื่อวันที่ 2 กันยายน พ.ศ. 2536 พร้อมกับส่วน C มีระยะทาง 12.4 กิโลเมตร เริ่มต้นที่บริเวณทางแยกต่างระดับพญาไท (โรงกรองน้ำสามเสน) สิ้นสุดแนวสายทางที่ถนนพระราม 9 เป็นทางยกระดับขนาด 6 ช่องจราจรตลอดเส้นทาง
  2. ส่วน D เปิดให้บริการเป็นส่วนสุดท้ายเมื่อวันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2543 มีระยะทาง 8.6 กิโลเมตร เป็นทางพิเศษเขตนอกเมือง เชื่อมต่อกับส่วน A โดยเริ่มจากถนนพระราม 9 ไปทางทิศตะวันออก ตัดกับทางพิเศษเฉลิมมหานครที่ทางแยกต่างระดับมักกะสัน ตัดกับทางพิเศษฉลองรัชที่ทางแยกต่างระดับพระราม 9 และสิ้นสุดที่ถนนศรีนครินทร์ บริเวณทางแยกต่างระดับศรีนครินทร์ และเชื่อมต่อกับทางหลวงพิเศษหมายเลข 7 เป็นทางยกระดับขนาด 6 ช่องจราจรตลอดเส้นทาง มีด่านเก็บค่าผ่านทางรวมจำนวน 29 ด่าน

สายบางโคล่–แจ้งวัฒนะแก้ไข

  1. ส่วน B เปิดให้บริการเมื่อวันที่ 6 ตุลาคม พ.ศ. 2539 มีระยะทาง 9.4 กิโลเมตร มีแนวเชื่อมต่อกับส่วน A ที่บริเวณทางแยกต่างระดับพญาไท แนวสายทางมุ่งไปทางทิศใต้ ผ่านถนนศรีอยุธยา ไปสิ้นสุดที่ทางพิเศษเฉลิมมหานครที่ทางแยกต่างระดับบางโคล่ เป็นทางยกระดับขนาด 6 ช่องจราจร
  2. ส่วน C เปิดให้บริการเป็น 1 ใน 2 ส่วนแรก เมื่อวันที่ 2 กันยายน พ.ศ. 2536 พร้อมกับส่วน A มีระยะทาง 8 กิโลเมตร เป็นทางพิเศษเขตนอกเมือง โดยเชื่อมต่อกับส่วน A บริเวณทางแยกต่างระดับพญาไท มุ่งไปทางทิศเหนือเชื่อมต่อกับทางพิเศษประจิมรัถยา (สายศรีรัช-วงแหวนรอบนอกกรุงเทพมหานคร) บริเวณย่านศูนย์คมนาคมพหลโยธิน ผ่านถนนรัชดาภิเษก ถนนประชาชื่น สิ้นสุดที่ถนนแจ้งวัฒนะ และเชื่อมต่อกับทางพิเศษอุดรรัถยา แต่เดิมส่วนนี้เป็นทางยกระดับขนาด 4 ช่องจราจร และได้รับการขยายเป็น 6 ช่องจราจรแล้ว

อนึ่ง ทางพิเศษศรีรัชมีถนนใต้ทางพิเศษ 2 เส้น คือ ถนนพระรามที่ 6 ในช่วงตั้งแต่แยกยมราชถึงถนนกำแพงเพชร และถนนจารุเมือง ในช่วงตั้งแต่แยกวัดดวงแขถึงแยกมหานคร

รายชื่อทางแยกและทางแยกต่างระดับแก้ไข

รายชื่อทางเข้าออกบน   ทางพิเศษศรีรัช
จังหวัด กม.ที่ ชื่อจุดตัด หมายเลขทางออก จุดหมายปลายทาง หมายเหตุ
  บางโคล่–แจ้งวัฒนะ
กรุงเทพมหานคร 0+000A ต่างระดับบางโคล่ ต. 2-14 ถนนรัชดาภิเษกบรรจบ ถนนพระรามที่ 3 ไม่มี
0+000A ต่างระดับบางโคล่ -   ทางพิเศษเฉลิมมหานคร (ดาวคะนอง) ไม่มี
0+000A ต่างระดับบางโคล่ -   ทางพิเศษสายพระราม 3-ดาวคะนอง-วงแหวนรอบนอกตะวันตก (แสมดำ - บางโคล่) ไม่มี
0+000A ต่างระดับบางโคล่ -   ทางพิเศษเฉลิมมหานคร (ดินแดง - บางนา) ไม่มี
0+200A แยกด่วนสาธุประดิษฐ์ ต. 2-13 ถนนสาธุประดิษฐ์ – ตะวันออก: บรรจบถนนจันทน์; ตะวันตก: บรรจบถนนพระรามที่ 3 ไม่มี
2+100B แยกทางด่วนถนนจันทน์ น. 2-01 ถนนจันทน์ – ตะวันออก: บรรจบถนนเจริญกรุง; ตะวันตก: บรรจบถนนนางลิ้นจี่ ไม่มี
2+800A แยกทางด่วนถนนจันทน์ ต. 2-12 ถนนจันทน์ – ตะวันออก: บรรจบถนนเจริญกรุง; ตะวันตก: บรรจบถนนนางลิ้นจี่ ไม่มี
      สะพาน              กำลังก่อสร้างหรือโครงการในอนาคต
รายชื่อทางแยกบน   ทางพิเศษศรีรัช
จังหวัด กม.ที่ ชื่อจุดตัด ซ้าย ขวา
  บางโคล่–แจ้งวัฒนะ
กรุงเทพมหานคร 0+000 ต่างระดับบางโคล่   ทางพิเศษเฉลิมมหานครขึ้น สะพานพระราม 9 ไปดาวคะนอง   ทางพิเศษเฉลิมมหานคร ไป ดินแดง, ถนนพระราม 9, บางนา
  ทางพิเศษสายพระราม 3-ดาวคะนอง-วงแหวนรอบนอกตะวันตก ไป สมุทรสาคร ไม่มี
2+200B แยกทางด่วนถนนจันทน์ ถนนจันทน์ ไป บรรจบถนนเจริญกรุง ถนนจันทน์ ไป บรรจบถนนนางลิ้นจี่
3+250 แยกทางด่วนถนนสาทร ถนนสาทร ไป ขึ้น สะพานตากสิน, บางรัก ถนนสาทร ไป แยกสาทร - นราธิวาส, แยกวิทยุ
3+700 แยกทางด่วนถนนสีลม ถนนสีลม ไป บางรัก ถนนสีลม ไป แยกศาลาแดง
4+000 แยกทางด่วนถนนสุรวงศ์ ถนนสุรวงศ์ ไป บางรัก ถนนสุรวงศ์ มาจาก แยกอังรีดูนังต์
5+300 แยกมหานคร ถนนพระรามที่ 4 ไป หัวลำโพง, เยาวราช ถนนพระรามที่ 4 ไป สามย่าน
9+500 ต่างระดับพญาไท ไม่มี   ทางพิเศษศรีรัช (พญาไท - ศรีนครินทร์) ไป ถนนพระราม 9, ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ
12+500 แยกทางด่วนถนนกำแพงเพชร ถนนพระรามที่ 6 ไป แยกประชาชื่น, เตาปูน ถนนกำแพงเพชร ไป สวนจตุจักร
13+900 แยกทางด่วนถนนกำแพงเพชร 2 ถนนกำแพงเพชร 2 ไปบรรจบถนนกำแพงเพชร ถนนกำแพงเพชร 2 ไปต่างระดับรัชวิภา
15+400 ต่างระดับศรีรัช   ทางพิเศษประจิมรัถยา ไป ถนนราชพฤกษ์,   ถนนกาญจนาภิเษก (ด้านตะวันตก) ทางเชื่อมต่อ   ทางยกระดับอุตราภิมุข (โครงการในอนาคต) ไป เขตดอนเมือง, เขตดินแดง
16+800 แยกทางด่วนถนนรัชดาภิเษก ถนนรัชดาภิเษก ไป แยกประชานุกูล, สะพานพระราม 7 ถนนรัชดาภิเษก ไป ทางแยกต่างระดับรัชวิภา
นนทบุรี 20+125 แยกทางด่วนถนนงามวงศ์วาน   ถนนงามวงศ์วาน ไป แยกแคราย, กระทรวงสาธารณสุข   ถนนงามวงศ์วาน ไป แยกพงษ์เพชร, ม.เกษตรศาสตร์
24+250 แยกทางด่วนถนนแจ้งวัฒนะ   ถนนแจ้งวัฒนะ ไปแยกปากเกร็ด   ถนนแจ้งวัฒนะ ไปศูนย์ราชการฯ, หลักสี่
ตรงไป:   ทางพิเศษอุดรรัถยา ไป ม.ธรรมศาสตร์ (ศูนย์รังสิต), บางปะอิน
  พญาไท–ศรีนครินทร์
กรุงเทพมหานคร 0+000 ต่างระดับพญาไท   ทางพิเศษศรีรัช (บางโคล่ - แจ้งวัฒนะ) ไป บางโคล่, ดาวคะนอง   ทางพิเศษศรีรัช (บางโคล่ - แจ้งวัฒนะ) ไป แจ้งวัฒนะ, บางปะอิน
1+275 แยกทางด่วนอนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ ถนนพหลโยธิน ไป อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ ถนนพหลโยธิน ไป สะพานควาย
2+275 ต่างระดับมักกะสัน   ทางพิเศษเฉลิมมหานคร ไป บางนา, ดาวคะนอง   ทางพิเศษเฉลิมมหานคร ไป บรรจบถนนวิภาวดีรังสิต, ท่าอากาศยานดอนเมือง
4+450 แยกทางด่วนถนนอโศก - ดินแดง ถนนอโศก-ดินแดง ไป แยกอโศก-เพชรบุรี, ถนนสุขุมวิท ถนนอโศก-ดินแดง ไป แยกพระราม 9
5+000 แยกทางด่วนถนนเพชรอุทัย ถนนเพชรอุทัย ไป บรรจบ ถนนเพชรบุรีตัดใหม่ ถนนเพชรอุทัย ไป บรรจบ ถนนพระราม 9
7+750 ต่างระดับรามคำแหง   ทางพิเศษฉลองรัช ไป เอกมัย, บางนา   ทางพิเศษฉลองรัช ไป รามอินทรา, ถนนกาญจนาภิเษก (ด้านตะวันออก)
9+075 แยกรามคำแหง ถนนรามคำแหง ไป คลองตัน ถนนรามคำแหง ไป ม.รามคำแหง, แยกลำสาลี
13+036 ต่างระดับศรีนครินทร์ ถนนศรีนครินทร์ ไป ถนนพัฒนาการ, บางนา ถนนศรีนครินทร์ ไป บางกะปิ
ตรงไป:   ทางหลวงพิเศษหมายเลข 7 ไป ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ, ชลบุรี
      สะพาน              กำลังก่อสร้างหรือโครงการในอนาคต

โครงการในอนาคตแก้ไข

อ้างอิงแก้ไข

  1. 1.0 1.1 "โครงข่ายทางพิเศษที่เปิดให้ใช้บริการ". การทางพิเศษแห่งประเทศไทย. 8 มกราคม 2557. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-10-07. สืบค้นเมื่อ 8 มีนาคม 2558. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= และ |date= (help)
  2. "ทางพิเศษศรีรัช". การทางพิเศษแห่งประเทศไทย. 22 ตุลาคม 2557. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-07-08. สืบค้นเมื่อ 8 มีนาคม 2558. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= และ |date= (help)

แหล่งข้อมูลอื่นแก้ไข

พิกัดภูมิศาสตร์: 13°47′59″N 100°34′47″E / 13.799755°N 100.579586°E / 13.799755; 100.579586