ทางพิเศษฉลองรัช

ทางพิเศษฉลองรัช เป็นทางพิเศษในกรุงเทพมหานคร ก่อสร้างและเปิดให้บริการตลอดสาย เมื่อวันที่ 6 ตุลาคม พ.ศ. 2539 ดำเนินการโดยการทางพิเศษแห่งประเทศไทย มีระยะทางทั้งสิ้น 28.2 กิโลเมตร ทางพิเศษสายนี้เป็นการแบ่งเบาการจราจรบนถนนรามอินทรา และทางพิเศษเฉลิมมหานคร มีด่านเก็บค่าผ่านทางรวมทั้งสิ้น 14 ด่าน

ทางพิเศษฉลองรัช
ทางพิเศษฉลองรัช (สีเขียวและสีม่วง)
ข้อมูลของเส้นทาง
ความยาว28.2 กิโลเมตร (17.5 ไมล์)
มีขึ้นเมื่อพ.ศ. 2539–ปัจจุบัน
ทางแยกที่สำคัญ
ปลายทางทิศเหนือ ถ.กาญจนาภิเษก (ตะวันออก) ในเขตคลองสามวา
  ทางพิเศษศรีรัช (ส่วน D) ในเขตบางกะปิ และเขตห้วยขวาง
ปลายทางทิศใต้ ทางพิเศษเฉลิมมหานคร
(สายบางนา–ท่าเรือ)
/ ทางพิเศษสาย S1 ในเขตคลองเตย
ตำแหน่งที่ตั้ง
ประเทศไทย
Major citiesกรุงเทพมหานคร
ระบบทางหลวง

รายละเอียดของเส้นทาง แก้ไข

ช่วงที่ 1 รามอินทรา–อาจณรงค์ แก้ไข

การทางพิเศษแห่งประเทศไทยเปิดให้บริการทางพิเศษฉลองรัช ช่วงรามอินทรา–อาจณรงค์ เป็นช่วงแรก เป็นทางยกระดับขนาด 6 ช่องจราจร ระยะทาง 18.7 กิโลเมตร[1] เปิดให้บริการเมื่อวันที่ 6 ตุลาคม พ.ศ. 2539[2] โดยมีเส้นทางเริ่มจากบริเวณอาจณรงค์ (ปลายซอยสุขุมวิท 50) จากนั้นเส้นทางมุ่งไปทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือ แล้วเลียบแนวคลองตันข้ามถนนสุขุมวิททางด้านตะวันตกของสะพานพระโขนง ตัดกับทางพิเศษศรีรัช ส่วน D พร้อมกับข้ามถนนรามคำแหง และถนนพัฒนาการ แล้วไปทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือ จากนั้นข้ามถนนพระราม 9 แล้วไปทางทิศเหนือ ข้ามถนนประชาอุทิศ ถนนลาดพร้าว ถนนประเสริฐมนูกิจ แล้วไปสิ้นสุดช่วงแรกที่ถนนรามอินทรา กิโลเมตรที่ 5.5 ที่บริเวณแยกด่วนรามอินทรา/วัชรพล มีด่านเก็บค่าผ่านทางรวมจำนวน 10 ด่าน[3]

นอกจากนี้ ยังมีการก่อสร้างถนนคู่ขนานระดับดินของกรุงเทพมหานคร มีชื่อว่าถนนประดิษฐ์มนูธรรม ซึ่งมีเขตติดต่อและขนานกับทางพิเศษฉลองรัช ก่อสร้างเป็นถนนขนาด 6 ช่องจราจร เริ่มต้นที่ถนนรามอินทราวิ่งคู่ขนานไปกับทางพิเศษฉลองรัช จนถึงถนนพระราม 9 แล้วมุ่งตรงไปทางทิศใต้ ข้ามทางรถไฟสายตะวันออกและถนนเพชรบุรีตัดใหม่และสิ้นสุดแนวสายทางที่ปลายซอยเอกมัย รวมระยะทาง 13.1 กิโลเมตร

ช่วงที่ 2 รามอินทรา–วงแหวนรอบนอก แก้ไข

ทางพิเศษฉลองรัชช่วงที่ 2 มีจุดเริ่มต้นโดยต่อจากช่วงแรกที่ถนนรามอินทรา กิโลเมตรที่ 5.5 ที่บริเวณแยกด่วนรามอินทรา/วัชรพล บริเวณแยกด่วนรามอินทรา/วัชรพล มุ่งไปทางทิศออกเฉียงเหนือ ยกระดับข้ามโครงการก่อสร้างถนนเชื่อมถนนสุขาภิบาล 5–ถนนนิมิตใหม่ และยกระดับข้ามถนนสุขาภิบาล 5 ไปสิ้นสุดช่วงที่ 2 ที่บริเวณถนนกาญจนาภิเษก ตรงคลองพระยาสุเรนทร์ เรียกถนนในช่วงนี้ว่า "ทางพิเศษสายรามอินทรา–วงแหวนรอบนอกกรุงเทพมหานคร" ซึ่งเป็นส่วนต่อขยายของทางพิเศษฉลองรัชทางด้านเหนือ มีระยะทาง 9.5 กิโลเมตร ก่อสร้างเป็นทางยกระดับขนาด 6 ช่องจราจร เปิดให้ใช้บริการเมื่อวันที่ 23 เมษายน พ.ศ. 2552[2][4] และเมื่อวันที่ 19 กรกฎาคม พ.ศ. 2552 ได้มีพระบรมราชานุญาตให้ทางพิเศษสายนี้ใช้ชื่อทางการว่า "ทางพิเศษฉลองรัช"[4] เช่นเดียวกับทางพิเศษช่วงรามอินทรา–อาจณรงค์ มีด่านเก็บค่าผ่านทางรวมจำนวน 4 ด่าน

ช่วงที่ 3 วงแหวนรอบนอกรอบ2 (ฝั่งตะวันออก)– วงแหวนรอบนอกรอบ3 (ฝั่งตะวันออก) แก้ไข

รายชื่อทางแยกและทางต่างระดับ แก้ไข

รายชื่อทางแยกบน   ทางพิเศษฉลองรัช ทิศทาง: อาจณรงค์-รามอินทรา-วงแหวนรอบนอกฝั่งตะวันออก-สระบุรี
จังหวัด กม.ที่ ชื่อจุดตัด ซ้าย ขวา
  ทางพิเศษฉลองรัช (อาจณรงค์-รามอินทรา-วงแหวนรอบนอกฝั่งตะวันออก)
กรุงเทพมหานคร 0+000 ต่างระดับอาจณรงค์ เชื่อมต่อจาก:   ทางพิเศษสาย S1 ไป บรรจบทางพิเศษบูรพาวิถี, ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ, ชลบุรี
  ทางพิเศษเฉลิมมหานคร ไป ดินแดง, ดาวคะนอง, แจ้งวัฒนะ   ทางพิเศษเฉลิมมหานคร ไป บางนา
1+100 แยกด่วนสุขุมวิท 50 ถนนสุขุมวิท ไป เอกมัย, อโศก ถนนสุขุมวิท ไป บางนา
4+722 แยกด่วนพัฒนาการ ถนนพัฒนาการ ไป คลองตัน ถนนพัฒนาการ ไป บรรจบถนนศรีนครินทร์, บรรจบถนนอ่อนนุช
6+700 ต่างระดับรามคำแหง   ทางพิเศษศรีรัช ไป ดินแดง, แจ้งวัฒนะ   ทางพิเศษศรีรัช ไป ศรีนครินทร์, ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ
ถนนพระราม 9 ไป ห้วยขวาง, ดินแดง ถนนพระราม 9 ไป บรรจบถนนศรีนครินทร์, ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ
8+496 แยกด่วนประชาอุทิศ ถนนประชาอุทิศ ไปแยกประชาอุทิศ ถนนประชาอุทิศ ไปบรรจบถนนรามคำแหง, วัดเทพลีลา, ม.รามคำแหง
10+815 แยกด่วนลาดพร้าว ถนนลาดพร้าว ไป โชคชัย 4, ปากทางลาดพร้าว ถนนลาดพร้าว ไป บางกะปิ
15+650 แยกด่วนโยธินพัฒนา   ถนนประเสริฐมนูกิจ ไป ลาดปลาเค้า, ม.เกษตรศาสตร์   ถนนประเสริฐมนูกิจ ไป บรรจบถนนนวมินทร์, ตลาดปัฐวิกรณ์
  ระบบทางด่วนขั้นที่ 3 สายเหนือ ไป มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์   ระบบทางด่วนขั้นที่ 3 สายเหนือ ไปถนนกาญจนาภิเษก (ด้านตะวันออก)
18+725 แยกด่วนรามอินทรา/วัชรพล   ถนนรามอินทรา ไป หลักสี่   ถนนรามอินทรา ไป มีนบุรี
22+854 แยกด่วนสุขาภิบาล 5 ถนนสุขาภิบาล 5 ไป สายไหม ถนนสุขาภิบาล 5 ไป ห้าแยกวัชรพล
27+900 ต่างระดับจตุโชติ   ถนนกาญจนาภิเษก (ด้านตะวันออก) ไป ลำลูกกา, บางปะอิน   ถนนกาญจนาภิเษก (ด้านตะวันออก) ไป บางนา, บางพลี
      สะพาน              กำลังก่อสร้างหรือโครงการในอนาคต

ทางเข้า-ออก แก้ไข

รายชื่อทางเข้าออกบน   ทางพิเศษฉลองรัช ทิศทาง: รามอินทรา - อาจณรงค์ - วงแหวนรอบนอก
จังหวัด กม.ที่ ชื่อจุดตัด หมายเลขทางออก จุดหมายปลายทาง หมายเหตุ
  รามอินทรา - อาจณรงค์ - วงแหวนรอบนอก
กรุงเทพมหานคร 0+000 ทางแยกต่างระดับอาจณรงค์  ทางพิเศษเฉลิมมหานคร - บางนาดินแดง - ดาวคะนอง ไม่มี
0+000 -  ทางพิเศษสาย S1 เชื่อมต่อ  ทางพิเศษบูรพาวิถีชลบุรี ไม่มี
1+100 ทางแยกต่างระดับพระโขนง 1 ซอยสุขุมวิท 50 – ถนนทางรถไฟสายเก่า - ถนนสุขุมวิท ไม่มี
4+722 แยกทางด่วนพัฒนาการ 4 ถนนพัฒนาการคลองตันประเวศ ไม่มี
4+723 แยกทางด่วนพัฒนาการ - ถนนพัฒนาการคลองตัน ไม่มี
6+700 ทางแยกต่างระดับรามคำแหง 6  ทางพิเศษศรีรัชพญาไท - ศรีนครินทร์ ไม่มี
10+815 ทางขึ้น-ลงลาดพร้าว 9 ถนนลาดพร้าว – โชคชัย 4 ไม่มี
15+650 ทางขึ้น-ลงลาดพร้าว 2 12 ถนนลาดพร้าวบางกะปิ ไม่มี
15+650 ทางขึ้น-ลงเกษตร-นวมินทร์ 14   ถ.เกษตร-นวมินทร์มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ไม่มี
18+725 ทางขึ้น-ลงรามอินทรา 17   ถนนรามอินทราลาดปลาเค้า - แยกรามอินทรา กม.8 ไม่มี
22+854 ทางแยกต่างระดับสุขาภิบาล 5 22 ถนนสุขาภิบาล 5 – สายไหม - วัชรพล ไม่มี
22+854 ทางแยกต่างระดับสุขาภิบาล 5 23 ถนนสุขาภิบาล 5 – สายไหม - วัชรพล ไม่มี
27+500 26 ถนนจตุโชติ – สุขาภิบาล 5 ไม่มี
27+900 ทางแยกต่างระดับจตุโชติ 27B    ถนนกาญจนาภิเษกรามอินทรา - บางนา ไม่มี
27+900 ทางแยกต่างระดับจตุโชติ 27A    ถนนกาญจนาภิเษกลําลูกกา - บางปะอิน ไม่มี
      สะพาน              กำลังก่อสร้างหรือโครงการในอนาคต

โครงการในอนาคต แก้ไข

ทางพิเศษฉลองรัชจะมีส่วนต่อขยายไปยังจังหวัดสระบุรี ในชื่อทางพิเศษฉลองรัช–นครนายก–สระบุรี ผ่านพื้นที่ 4 จังหวัด ได้แก่ กรุงเทพมหานคร จังหวัดปทุมธานี จังหวัดนครนายก และจังหวัดสระบุรี โดยจุดเริ่มต้นที่ทางพิเศษฉลองรัช (รามอินทรา–วงแหวนรอบนอก) ผ่านถนนหทัยราษฏร์ ถนนนิมิตใหม่ เข้าสู่จังหวัดปทุมธานี ตัดถนนลำลูกกา บริเวณคลอง 9 และคลอง 10 เข้าพื้นที่จังหวัดนครนายก ผ่านทางหลวงชนบท นย.3001 ข้ามถนนรังสิต–นครนายก ถนนสุวรรณศร แล้วเลียบกับทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 3222 แล้วสิ้นสุดที่ถนนมิตรภาพบริเวณแก่งคอย ระยะทางรวมประมาณ 104 กิโลเมตร โดยโครงการนี้อยู่ในแผนงาน และจะเป็นอีกทางเลือกในการเดินทางไปยังจังหวัดในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และตามแผนของกรมทางหลวงกำหนดหมายเลขทางพิเศษนี้ เป็นหมายเลข 62[ต้องการอ้างอิง]

อ้างอิง แก้ไข

  1. "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-07-08. สืบค้นเมื่อ 2015-03-08.
  2. 2.0 2.1 "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-07-08. สืบค้นเมื่อ 2015-03-08.
  3. โครงข่ายทางพิเศษที่เปิดให้ใช้บริการ,ทางพิเศษฉลองรัช
  4. 4.0 4.1 "พระราชทานชื่อใหม่ว่า'ฉลองรัช'". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-08-12. สืบค้นเมื่อ 2009-08-06.

แหล่งข้อมูลอื่น แก้ไข