ถนนลาดพร้าว

ถนนในกรุงเทพมหานคร

ถนนลาดพร้าว (อักษรโรมัน: Thanon Lat Phrao) เป็นถนนสายหนึ่งในกรุงเทพมหานคร มีจุดเริ่มต้นที่ห้าแยกลาดพร้าว (หรือที่นิยมเรียกว่า "ปากทางลาดพร้าว") ในพื้นที่เขตจตุจักร ซึ่งเป็นจุดตัดกับถนนพหลโยธินและถนนวิภาวดีรังสิต มีทิศทางมุ่งไปทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ ผ่านจุดตัดกับถนนรัชดาภิเษก ข้ามคลองน้ำแก้ว คลองบางซื่อ ผ่านพื้นที่แขวงสามเสนนอก เขตห้วยขวาง ในระยะสั้น ๆ ข้ามคลองลาดพร้าวเข้าสู่พื้นที่เขตวังทองหลาง เป็นเส้นแบ่งเขตการปกครองระหว่างแขวงสะพานสอง กับแขวงวังทองหลาง ตัดกับถนนโชคชัย 4 และถนนประดิษฐ์มนูธรรม จากนั้นเป็นเส้นแบ่งระหว่างแขวงคลองเจ้าคุณสิงห์กับแขวงพลับพลา จากนั้นตัดกับถนนลาดพร้าว 101 เข้าสู่พื้นที่แขวงคลองจั่น เขตบางกะปิ ผ่านสามแยกบางกะปิซึ่งเป็นจุดตัดกับถนนศรีนครินทร์ ไปสิ้นสุดที่สี่แยกบางกะปิซึ่งเป็นจุดตัดกับถนนนวมินทร์และถนนพ่วงศิริ โดยมีถนนที่ตรงต่อเนื่องต่อไปคือถนนเสรีไทย

ถนนลาดพร้าว
แยกลาดพร้าว 86 จุดตัดกับถนนประดิษฐ์มนูธรรม
ทางแยกที่สำคัญ
ปลายทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือ แยกลาดพร้าว ในเขตจตุจักร กรุงเทพมหานคร
 
ปลายทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ แยกบางกะปิ ในเขตบางกะปิ กรุงเทพมหานคร
ถนนลาดพร้าว ช่วงเดอะมอลล์บางกะปิ
ถนนลาดพร้าว ช่วงซอยลาดพร้าว 80

ถนนลาดพร้าวได้รับการกำหนดเป็นทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 3185 ต่อมาเปลี่ยนเป็นทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 336 แต่ปัจจุบันอยู่ในความควบคุมของกรุงเทพมหานคร (ยกเว้นสะพานเข้าถนนลาดพร้าว ที่ยังอยู่ในความดูแลของกรมทางหลวง)

ช่วงระหว่างห้าแยกลาดพร้าวจนถึงจุดตัดกับถนนรัชดาภิเษก มีระบบขนส่งมวลชนคือ รถไฟฟ้ามหานคร สายเฉลิมรัชมงคล และมีรถไฟฟ้าสายสีเหลืองที่เริ่มตั้งแต่บริเวณสี่แยกรัชดา-ลาดพร้าว ไปจนถึงสามแยกบางกะปิ

ประวัติ

แก้

ถนนลาดพร้าวเริ่มตัดถนนเมื่อ พ.ศ. 2487 ซึ่งเป็นช่วงปลายสงครามโลกครั้งที่สอง จึงเริ่มมีประชาชนอพยพหลบภัยจากการทิ้งระเบิด โดยในระยะแรกตัดถนนถึงสามแยกสะพานคลองแสนแสบ ต่อมา พ.ศ. 2497 ประชาชนได้ช่วยกันสร้างถนนถึงช่วงที่ว่าการอำเภอบางกะปิ[1]

ในปี พ.ศ. 2556 ถนนลาดพร้าวได้รับการจัดอันดับให้เป็นถนนที่มีการจราจรติดขัดที่สุดในกรุงเทพมหานคร[2] ในช่วงต้นเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2561 มีรายงานจากกรมควบคุมมลพิษว่า ถนนลาดพร้าวมีปริมาณฝุ่นละอองที่มีค่า PM2.5 อยู่ที่ 91 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร ซึ่งเกินกว่าค่ามาตรฐาน นับว่ามากที่สุดในกรุงเทพมหานคร เทียบเท่ากับถนนอินทรพิทักษ์ในฝั่งธนบุรี[3]

ทางแยกสำคัญ

แก้

สถานที่สำคัญที่ถนนตัดผ่าน

แก้
  1. ที่ทำการไปรษณีย์สามแยกลาดพร้าว
  2. สถานีดับเพลิงลาดพร้าว
  3. ตลาดภาวนา
  4. ตลาดลาดพร้าวสะพาน 2
  5. สถานีตำรวจนครบาลโชคชัย
  6. ตลาดโชคชัย 4
  7. โรงเรียนถนอมพิศวิทยา
  8. โรงพิมพ์ องค์การค้าของ สกสค. และศึกษาภัณฑ์พาณิชย์ สาขาลาดพร้าว
  9. ที่ทำการไปรษณีย์ลาดพร้าว
  10. ศูนย์การเรียนปัญญาภิวัฒน์ ลาดพร้าว
  11. วัดสามัคคีธรรม
  12. โรงเรียนนวมินทราชินูทิศ บดินทรเดชา
  13. ห้างสรรพสินค้าบิ๊กซี สาขาลาดพร้าว
  14. สำนักงานเขตวังทองหลาง
  15. สถานีย่อยคลองจั่น การไฟฟ้านครหลวง
  16. เดอะมอลล์บางกะปิ
  17. ตลาดบางกะปิ
  18. สำนักงานเขตบางกะปิ

อ้างอิง

แก้
  1. วริศรา ตั้งจิตเจริญพงศ์. "กระบวนการขยับบ้านหลังย้ายขึ้นจากคลองพิชัยของเคหะชุมชนเพชรคลองจั่น เขตบึงกุ่ม กรุงเทพมหานคร" (PDF). จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์. p. 39.
  2. ซูม (2013-08-15). "ถนนลาดพร้าว แชมป์รถติดตลอดกาล". ไทยรัฐ. สืบค้นเมื่อ 2017-04-23.
  3. "กรมควบคุมมลพิษ เผยฝุ่นละอองมาพร้อมหมอก กทม.ค่าPM 2.5 เกินมาตรฐาน!". พีพีทีวี. 2018-02-08. สืบค้นเมื่อ 2018-02-10.

แหล่งข้อมูลอื่น

แก้

13°47′32″N 100°35′56″E / 13.7922°N 100.5989°E / 13.7922; 100.5989