ฝุ่นละออง หรือ ละอองธุลี[1] คือ ของแข็งขนาดเล็กที่ลอยอยู่ในอากาศหรือน้ำ ซึ่งเกิดจากธรรมชาติหรือมนุษย์ โดยนับเป็นมลพิษทางอากาศและมลพิษทางน้ำประเภทหนึ่ง

ฝุ่นละอองมีที่มาหลากหลายทั้งจากธรรมชาติ เช่น ภูเขาไฟ พายุทราย ไฟป่า ไอเกลือ หรือการกระทำของมนุษย์เช่น ไอของเสียจากรถยนต์ โรงงานไฟฟ้า โรงงานอุตสาหกรรม รวมไปถึง การเผาหญ้า และการเผาป่า ในประเทศกำลังพัฒนาฝุ่นละอองที่เกิดขึ้นมักจะเกิดจากโรงงานผลิตกระแสไฟฟ้าจากถ่านหิน

ปริมาณฝุ่นละอองในอากาศจำนวนมากส่งผลต่อสุขภาพของมนุษย์ ก่อให้เกิดปัญหาหลากหลายเช่น โรคทางเดินหายใจ โรคหัวใจ โรคปอด รวมไปถึงมะเร็งปอด ซึ่งสามารถป้องกันได้ด้วยพวกตัวกรองแบบต่างๆ เช่น หน้ากาก

การกำจัดฝุ่นละอองนั้น ฝุ่นละอองที่มีขนาดใหญ่จะตกอยู่บนพื้นตามแรงโน้มถ่วงของโลก ขณะที่ฝุ่นขนาดเล็กกว่า 10 ไมโครเมตร (PM10) จะลอยอยู่ในอากาศได้หลายสัปดาห์ และจะถูกกำจัดโดยฝนหรือหยาดน้ำฟ้าประเภทอื่น

ปัญหาสุขภาพ

แก้

ผลกระทบของการสูดดมฝุ่นละอองที่มีการศึกษาอย่างกว้างขวางมีทั้งโรคหอบหืด มะเร็งปอด โรคทางเดินหายใจ โรคระบบหัวใจและหลอดเลือด การคลอดก่อนกำหนด ความผิดปกติของการเกิด ทารกน้ำหนักน้อยเมื่อคลอด และการเสียชีวิตก่อนวัยอันควร ฝุ่นละอองขนาดเล็กนอกอาคารที่มีเส้นผ่านศูนย์กลางน้อยกว่า 2.5 ไมครอน (PM2.5) เป็นเหตุให้มีผู้เสียชีวิต 4.2 ล้านคนต่อปีทั่วโลก และคิดเป็นปีชีวิตที่เสียไปหลังปรับทุพพลภาพแล้ว 103 ล้านปี ทำให้เป็นปัจจัยเสี่ยงต่อการเสียชีวิตใหญ่สุดอันดับ 5

ฝุ่นละอองทำให้เกิดความเสียหายต่อเนื้อเยื่อโดยเข้าสู่อวัยวะโดยตรง หรือโดยอ้อมผ่านการอักเสบทั่วร่าง นอกจากนี้บุคคลยังอาจได้รับผลกระทบในเชิงลบแม้ว่าได้รับฝุ่นละอองในขนาดต่ำกว่ามาตรฐานที่ถือกันว่าปลอดภัยอีกด้วย[2][3]

ขนาดของอนุภาคจะส่งผลต่อสุขภาพ โดยอนุภาคที่มีขนาด 10 ไมโครเมตรหรือเล็กกว่า (PM10) สามารถเข้าไปในส่วนที่ลึกสุดของปอดได้ เช่น หลอดลมฝอย หรือ ถุงลม[4] อนุภาคขนาดใหญ่โดยทั่วไปจะถูกกรองด้วยจมูกและลำคอ โดยขนจมูกและขี้มูก แต่อนุภาคที่มีขนาดเล็กกว่า 10 ไมโครเมตร (PM10) สามารถผ่านเข้าไปในปอดและก่อให้เกิดปัญหาสุขภาพได้

รายชื่อผู้ที่ได้รับผลกระทบ

แก้
  1. รศ.ดร. ภาณุวรรณ จันทวรรณกูร (เสียชีวิต 18 มีนาคม 2565)[5]
  2. นพ. กฤตไท ธนสมบัติกุล (เสียชีวิต 5 ธันวาคม 2566)[6][7]
  3. ศาสตราจารย์ ดร.ระวิวรรณ โอฬารรัตน์มณี (เสียชีวิต 3 เมษายน 2567)
  4. สมประสงค์ สิงหวนวัฒน์ (ป่วย 18 เม.ย. 2567)[8]

อ้างอิง

แก้
  1. ศัพท์บัญญัติ ราชบัณฑิตยสถาน particulate
  2. Chest Journal, 1 Feb. 2019, "Air Pollution and Noncommunicable Diseases, A Review by the Forum of International Respiratory Societies’ Environmental Committee, Part 1: The Damaging Effects of Air Pollution", vol. 155, issue 2, pp. 409-416
  3. The Guardian, 17 May 2019, [https://www.theguardian.com/environment/ng-interactive/2019/may/17/air-pollution-may-be-damaging-every-organ-and-cell-in-the-body-finds-global-review# "Revealed: Air Pollution May Be Damaging ‘Every Organ in The Body’ Exclusive: Comprehensive Analysis Finds Harm from Head to Toe, Including Dementia, Heart and Lung Disease, Fertility Problems and Reduced Intelligence"]
  4. Region 4: Laboratory and Field Operations — PM 2.5 (2008).PM 2.5 Objectives and History. U.S. Environmental Protection Agency.
  5. "มะเร็งปอดคร่าชีวิตผู้เชี่ยวชาญระดับโลก จากปัจจัยเสี่ยงPM2.5". workpointTODAY.
  6. ""หมอกฤตไท" ตั้งคำถามปัญหาฝุ่น PM2.5 "ต้องซื้ออากาศหายใจจริงๆ เหรอ"". Thai PBS.
  7. ""หมอกฤตไท" อาจารย์อนาคตไกล สู่เพจ สู้ดิวะ กับการต่อสู้มะเร็งปอด". Thai PBS.
  8. "'ตั้ม สมประสงค์' ป่วยเข้า รพ. นอนให้ออกซิเจน ลั่น "อากาศดีนะ ดีที่ไม่ตาย"". khaosod.

แหล่งข้อมูลอื่น

แก้