สมชาย กรุสวนสมบัติ
สมชาย กรุสวนสมบัติ (เกิด 6 เมษายน พ.ศ. 2484 ที่อำเภอบรรพตพิสัย จังหวัดนครสวรรค์[1]) คอลัมนิสต์ชื่อดัง เจ้าของนามปากกา “ซูม” และ “จ่าแฉ่ง” ในหนังสือพิมพ์ไทยรัฐ นักจัดรายการวิทยุ สปอร์ต เรดิโอ อดีตประธานสภาการหนังสือพิมพ์แห่งชาติ สมัยที่ 2
สมชาย กรุสวนสมบัติ | |
---|---|
เกิด | 6 เมษายน พ.ศ. 2484 จังหวัดนครสวรรค์ ประเทศไทย |
นามปากกา | “ซูม”, “จ่าแฉ่ง” |
อาชีพ | นักเขียน, นักข่าว, นักหนังสือพิมพ์ |
สัญชาติ | ไทย |
ช่วงปีที่ทำงาน | พ.ศ. 2503 - ปัจจุบัน |
ประวัติ
แก้การศึกษา
แก้จบชั้นประถมศึกษาจาก โรงเรียนบรรพตประชาสรรค์ จังหวัดนครสวรรค์ จบชั้นมัธยมศึกษาจาก โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา กรุงเทพมหานคร ได้รับปริญญา เศรษฐศาสตรบัณฑิต จาก มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (เข้าศึกษา ปีการศึกษา 2502) และปริญญา บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต (เศรษฐศาสตร์) M.A. (econs) จาก มหาวิทยาลัยโคโลราโด สหรัฐอเมริกา
การงาน
แก้เริ่มงานหนังสือพิมพ์ที่ หนังสือพิมพ์พิมพ์ไทย จากนั้น ได้ย้ายมาปักหลักที่หนังสือพิมพ์ไทยรัฐ จนถึงปัจจุบัน เคยรับราชการที่สภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ตั้งแต่เศรษฐกรตรี จนเป็นข้าราชการ ระดับ 10 จึงได้ลาออกจากราชการ
นอกจากนี้ ยังได้รับเชิญให้ดำรงตำแหน่ง อุปนายกสมาคมเศรษฐศาสตร์ธรรมศาสตร์ และ กรรมการมูลนิธิไทยรัฐ อีกด้วย
ผลงาน
แก้- คอลัมน์ “เหะหะพาที” (ทุกวันจันทร์-วันเสาร์) และ “ซูม ซอกแซก สุดสัปดาห์” (ทุกวันอาทิตย์) โดย “ซูม” - หน้า 5 หนังสือพิมพ์ไทยรัฐ
- คอลัมน์ “กีฬาเฮฮา” กับ “จ่าแฉ่ง” (ทุกวันเสาร์) - หน้า 23 (เซ็กชั่นกีฬา) หนังสือพิมพ์ไทยรัฐ
- รายการ “สนทนากีฬา” กับ “จ่าแฉ่ง” ทุกวันจันทร์-วันศุกร์ เวลา 08.00 - 10.00 น. ทาง สถานีโทรทัศน์ดาวเทียม ช่อง เอ็นบีที 19 “สยามกีฬาทีวี” กระจายเสียงพร้อมกันทาง สถานีวิทยุกระจายเสียงกองทัพบก หน่วยบัญชาการรักษาดินแดน (นรด.) เอฟ.เอ็ม. 96.0 เมกกะเฮิร์ทซ์ “สปอร์ต เรดิโอ” ปัจจุบันทุกวันจันทร์-วันศุกร์ เวลา 08.00 - 09.30 น.
รางวัลที่ได้รับ
แก้- พ.ศ. 2555 รางวัลกูรูกีฬา สยามกีฬาอวอร์ดส์ ครั้งที่ 6[2]
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
แก้- พ.ศ. 2538 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นที่ 1 ประถมาภรณ์ช้างเผือก (ป.ช.)[3]
- พ.ศ. 2535 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นที่ 1 ประถมาภรณ์มงกุฎไทย (ป.ม.)[4]
- พ.ศ. 2534 – เหรียญจักรพรรดิมาลา (ร.จ.พ.)[5]
อ้างอิง
แก้- ↑ ""ลิงยักษ์" มีไม่มี? ไม่รู้? บรรพตพิสัย "ดัง" ทั่;ประเทศ". ไทยรัฐ. 2020-09-29. สืบค้นเมื่อ 2020-09-29.
- ↑ สยามกีฬารายวัน, ปีที่ 27 ฉบับที่ 9865, วันพุธที่ 7 มีนาคม พ.ศ. 2555
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2010-02-02 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๑๒ ตอนที่ ๑๗ ข หน้า ๒๑, ๔ ธันวาคม ๒๕๓๘
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2015-09-28 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๐๙ ตอนที่ ๑๕๔ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๓๙, ๔ ธันวาคม ๒๕๓๕
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญจักรมาลาและเหรียญจักรพรรดิมาลา, เล่ม ๑๐๙ ตอนที่ ๗๖ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๒๗๑, ๑๐ มิถุนายน ๒๕๓๕