คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เป็นส่วนราชการระดับคณะวิชา สังกัดมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ โดยเป็นคณะวิชาที่จัดตั้งขึ้นหนึ่งในสี่ของมหาวิทยาลัยภายหลังที่ได้ยกเลิกระบบการสอนแบบธรรมศาสตร์บัณฑิต และนับเป็นคณะเศรษฐศาสตร์แห่งแรกของประเทศไทย อีกทั้งยังเป็นคณะเศรษฐศาสตร์คณะแรกที่มีการเริ่มใช้หลักสูตรนานาชาติทั้งในระดับปริญญาตรีและสูงกว่าปริญญา ปัจจุบันมีการผลิตนักเศรษฐศาสตร์และบุคลากรที่เกี่ยวข้องกับงานด้านเศรษฐกิจต่างๆ ไปพัฒนาประเทศอย่างต่อเนื่อง

คณะเศรษฐศาสตร์
มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
Faculty of Economics,
Thammasat University
สถาปนา14 มิถุนายน พ.ศ. 2492 (74 ปี)
คณบดีผศ.ดร.ศุภชัย ศรีสุชาติ
ที่อยู่
วารสารวารสารเศรษฐศาสตร์
สี  สีเขียว
มาสคอต
ฟันเฟืองและรวงข้าว
เว็บไซต์www.econ.tu.ac.th

ประวัติ แก้

พ.ศ. 2477 เมื่อมหาวิทยาลัยวิชาธรรมศาสตร์และการเมืองก่อตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 27 มิถุนายน พ.ศ. 2477 ระยะแรกเปิดสอนระดับปริญญาตรีเพียงสาขาเดียวคือ สาขานิติศาสตร์ ได้รับปริญญาธรรมศาสตร์บัณฑิต ใช้อักษรย่อว่า ธ.บ. โดยในภาคที่ 5 และ 6 ของหลักสูตรธรรมศาสตร์บัณฑิต มีวิชาเศรษฐศาสตร์อยู่ 2 วิชา คือ "เศรษฐศาสตร์" และ "ลัทธิเศรษฐกิจ" ซึ่ง ศาสตราจารย์ ดร.เดือน บุนนาค เป็นผู้สอนวิชาเศรษฐศาสตร์เป็นท่านแรก และศาสตราจารย์ฮัจ เจสสัน เป็นผู้สอนวิชาลัทธิเศรษฐกิจ[1] นับเป็นจุดเริ่มต้นของการเรียนการสอนด้านเศรษฐศาสตร์ในประเทศไทย

ทั้งนี้การสอนวิชาเศรษฐศาสตร์ในมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ในระยะแรก เป็นการสอนตามแนวฝรั่งเศสแบบเก่า อาศัยผู้สอนที่จบการศึกษาด้านกฎหมายจากฝรั่งเศส ยังไม่มีผู้สอนที่จบเศรษฐศาสตร์โดยตรง

ต่อมาเปิดมหาวิทยาลัยได้เปิดสอนสาขาวิชาเศรษฐศาสตร์ในระดับปริญญาโทและเอก โดยมีศาสตราจารย์แอล ดูปลาตร์ ซึ่งมีตำแหน่งคณบดีคนแรกของมหาวิทยาลัยวิชาธรรมศาสตร์และการเมือง เป็นผู้สอนวิชาเศรษฐกิจระหว่างประเทศ

พ.ศ. 2492 มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ได้ยกเลิกระบบการสอนแบบธรรมศาสตร์บัณฑิต และเปลี่ยนโครงสร้างเป็นคณะต่างๆ โดยได้ประกาศจัดตั้งคณะ 4 คณะ ได้แก่คณะนิติศาสตร์ คณะรัฐศาสตร์ คณะเศรษฐศาสตร์ และคณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี ในวันที่ 14 มิถุนายน พ.ศ. 2492 จึงถือเป็นการกำเนิดขึ้นของคณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ นับเป็นคณะเศรษฐศาสตร์แห่งแรกของประเทศไทย โดยมีศาสตราจารย์ ดร.เดือน บุนนาค เป็นคณบดีคนแรก

พ.ศ. 2507 ศาสตราจารย์ ดร.ป๋วย อึ๊งภากรณ์ ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย เข้ารับตำแหน่งคณบดี โดยมีภารกิจสำคัญคือ การสร้างบุคลากร ได้ขอเพิ่มอัตราตำแหน่งอาจารย์ ติดต่อหาทุนเรียนต่อต่างประเทศให้อาจารย์รุ่นใหม่ๆ ที่รับเข้า หาอาจารย์ชาวต่างประเทศมาช่วยปูพื้นความรู้ของอาจารย์ที่จะส่งไปเรียนต่อ และช่วยวางหลักสูตรเศรษฐศาสตร์โดยได้รับความช่วยเหลือจากมูลนิธิรอคกี้เฟลเลอร์ ทำให้คณะเศรษฐศาสตร์มีอาจารย์ประจำเพิ่มขึ้นจาก 6 คน เป็น 59 คน ในเวลาเพียง 6 ปี[2]

พ.ศ. 2508 ได้เปิดหลักสูตรปริญญาตรีภาคค่ำ

พ.ศ. 2509 มีการประกาศใช้หลักสูตรปริญญาตรีเศรษฐศาสตร์ที่ได้มาตรฐานหลักสูตรแรกของไทย ประกอบด้วย 4 สาขาวิชา ได้แก่ ทฤษฎีเศรษฐศาสตร์ สถิติเศรษฐศาสตร์ การเงินการธนาคาร และเศรษฐศาสตร์ประยุกต์[3]

พ.ศ. 2512 ได้เปิดหลักสูตรเศรษฐศาสตรมหาบัณฑิต (ภาคภาษาอังกฤษ) ซึ่งถือได้ว่าเป็นหลักสูตรนานาชาติระดับบัณฑิตศึกษาหลักสูตรแรกในไทย การเรียนการสอนใช้ภาษาอังกฤษและเรียนเต็มเวลา

พ.ศ. 2536 เปิดหลักสูตรเศรษฐศาสตรบัณฑิต (ภาคภาษาอังกฤษ) หลักสูตรและหลักสูตรเศรษฐศาสตรดุษฎีบัณฑิต (ภาคภาษาอังกฤษ)

ตลอดระยะเวลาที่ผ่านมาคุณภาพของบัณฑิตของคณะเศรษฐศาสตร์ เป็นที่ยอมรับของทั้งในและนานาประเทศ ซึ่งย่อมเป็นเครื่องพิสูจน์ถึงความมุ่งมั่นและความสามารถของคณาจารย์และบุคลากรในคณะเป็นอย่างดี จะเห็นได้จากการที่บัณฑิตของคณะได้มีส่วนร่วมในการกำหนดทิศทางการบริหารประเทศในระดับนโยบายและปฏิบัติ ทั้งในภาครัฐและภาคเอกชนอย่างกว้างขวาง นอกจากนั้นยังเป็นที่ยอมรับอย่างสูงในองค์กรระหว่างประเทศอีกด้วย

หลักสูตร แก้

ปริญญาตรี แก้

  • เศรษฐศาสตรบัณฑิต (ศบ.) (Bachelor of Economics: B.Econ.) หลักสูตร 4 ปี ศึกษา ณ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต
  • เศรษฐศาสตรบัณฑิต ภาคภาษาอังกฤษ (ศบ.ภาคภาษาอังกฤษ) (Bachelor of Economics, English Programme: B.Econ., English Programme) หลักสูตร 4 ปี ศึกษา ณ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์

ปริญญาโท แก้

  • เศรษฐศาสตรมหาบัณฑิต (ศม.) (Master of Economics: M.Econ.) ศึกษา ณ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์
  • เศรษฐศาสตรมหาบัณฑิต ภาคภาษาอังกฤษ (ศม.ภาคภาษาอังกฤษ) (Master of Economics, English Programme: M.Econ., English Programme) ศึกษา ณ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์
  • เศรษฐศาสตรมหาบัณฑิต สาขาเศรษฐศาสตร์ธุรกิจ (ศม.เศรษฐศาสตร์ธุรกิจ) (Master of Business Economics,: M.Econ., Business Economics) ศึกษา ณ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์
  • ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขานิติเศรษฐศาสตร์ (ศศ.ม.นิติเศรษฐศาสตร์)(Master of Arts,: M.A., International Trade Laws and Economics) ศึกษา ณ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์ โดยเป็นโครงการร่วมกับคณะนิติศาสตร์

ปริญญาเอก แก้

  • ปรัชญาเศรษฐศาสตร์ดุษฎีบัณฑิต หรือ Philosophy of Economics Programme (Ph.D., Economics) ภาคภาษาอังกฤษ ศึกษา ณ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์

ทำเนียบคณบดี แก้

คณบดีและรักษาการคณบดีคณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์[4]

รายชื่อ ตำแหน่ง วาระการดำรงตำแหน่ง
ศาสตราจารย์ ดร.เดือน บุนนาค รักษาการในตำแหน่งคณบดี 14 มิถุนายน พ.ศ. 2492 – XX ตุลาคม พ.ศ. 2492
ศาสตราจารย์ ขุนประเสริฐศุภมาตรา คณบดี XX ตุลาคม พ.ศ. 2492 – XX กรกฎาคม พ.ศ. 2499
ศาสตราจารย์ ดร.สมทบ สุวรรณสุทธิ คณบดี XX กรกฎาคม พ.ศ. 2499 – XX กันยายน พ.ศ. 2507
ศาสตราจารย์ ดร.ป๋วย อึ๊งภากรณ์ คณบดี XX กันยายน พ.ศ. 2507 – 20 สิงหาคม พ.ศ. 2514
ดร.วิญญู วิจิตรวาทการ รักษาการแทนคณบดี 21 สิงหาคม พ.ศ. 2514 – 18 พฤศจิกายน พ.ศ. 2516
ดร.ณรงค์ชัย อัครเศรณี รักษาการในตำแหน่งคณบดี 19 พฤศจิกายน พ.ศ. 2516 – 18 มกราคม พ.ศ. 2517
ดร.ณรงค์ชัย อัครเศรณี คณบดี 19 มกราคม พ.ศ. 2517 – 17 พฤศจิกายน พ.ศ. 2517
ศาสตราจารย์ เกริกเกียรติ พิพัฒน์เสรีธรรม รักษาการในตำแหน่งคณบดี 18 พฤศจิกายน พ.ศ. 2517 – 14 มกราคม พ.ศ. 2518
รองศาสตราจารย์ ดร.ลิลี่ โกศัยยานนท์ คณบดี 15 มกราคม พ.ศ. 2518 – 14 กรกฎาคม พ.ศ. 2520
รองศาสตราจารย์ ดร.พิชัย จรรย์ศุภรินทร์ คณบดี 15 กรกฎาคม พ.ศ. 2520 – 27 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2521
รองศาสตราจารย์ ดร.ลิลี่ โกศัยยานนท์ รักษาการในตำแหน่งคณบดี 28 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2521 – 14 เมษายน พ.ศ. 2521
ดร.โฆษะ อารียา คณบดี 15 เมษายน พ.ศ. 2521 – 4 เมษายน พ.ศ. 2523
ดร.โฆษะ อารียา รักษาการในตำแหน่งคณบดี 5 เมษายน พ.ศ. 2523 – 5 พฤษภาคม พ.ศ. 2523
รองศาสตราจารย์ ดร.เมธี ครองแก้ว คณบดี 6 พฤษภาคม พ.ศ. 2523 – 5 พฤษภาคม พ.ศ. 2525
รองศาสตราจารย์ ดร.เมธี ครองแก้ว รักษาการในตำแหน่งคณบดี 6 พฤษภาคม พ.ศ. 2525 – 26 พฤษภาคม พ.ศ. 2525
ศาสตราจารย์ เกริกเกียรติ พิพัฒน์เสรีธรรม คณบดี 27 พฤษภาคม พ.ศ. 2525 – 31 พฤษภาคม พ.ศ. 2527
อาจารย์ ศิริบูรณ์ เนาว์ถิ่นสุข คณบดี 1 มิถุนายน พ.ศ. 2527 – 19 กรกฎาคม พ.ศ. 2529
รองศาสตราจารย์ ดร.พรายพล คุ้มทรัพย์ คณบดี 20 กรกฎาคม พ.ศ. 2529 – 31 พฤษภาคม พ.ศ. 2531
รองศาสตราจารย์ ดร.สุพจน์ จุนอนันตธรรม คณบดี 1 มิถุนายน พ.ศ. 2531 – 31 พฤษภาคม พ.ศ. 2534
รองศาสตราจารย์ ดร.วรากรณ์ สามโกเศศ คณบดี 1 มิถุนายน พ.ศ. 2534 – 31 พฤษภาคม พ.ศ. 2537
รองศาสตราจารย์ ดร.นริศ ชัยสูตร คณบดี 1 มิถุนายน พ.ศ. 2537 – 31 พฤษภาคม พ.ศ. 2540
รองศาสตราจารย์ ดร.สิริลักษณา คอมันตร์ คณบดี 1 มิถุนายน พ.ศ. 2540 – 30 เมษายน พ.ศ. 2543
รองศาสตราจารย์ ดร.สุพจน์ จุนอนันตธรรม รักษาการแทนคณบดี 1 พฤษภาคม พ.ศ. 2543 – 1 ตุลาคม พ.ศ. 2543
รองศาสตราจารย์ ดร.สุกัญญา นิธังกร คณบดี 2 ตุลาคม พ.ศ. 2543 – 30 เมษายน พ.ศ. 2546
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ประภัสสร เลียวไพโรจน์ รักษาการในตำแหน่งคณบดี 1 พฤษภาคม พ.ศ. 2546 – 30 มิถุนายน พ.ศ. 2546
ศาสตราจารย์ ดร.ปราณี ทินกร คณบดี 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2546 – 31 มีนาคม พ.ศ. 2549
รองศาสตราจารย์ ดร.นิพนธ์ พัวพงศกร คณบดี 1 เมษายน พ.ศ. 2549 – 30 กันยายน พ.ศ. 2551
รองศาสตราจารย์ ดร.ปัทมาวดี (โพชนุกูล) ซูซูกิ คณบดี 1 ตุลาคม พ.ศ. 2551 – 31 มีนาคม พ.ศ. 2554
รองศาสตราจารย์ ดร.ภาณุพงศ์ นิธิประภา คณบดี 1 เมษายน พ.ศ. 2554 – 31 มีนาคม พ.ศ. 2557
ศาสตราจารย์ ดร.สกนธ์ วรัญญูวัฒนา คณบดี 1 เมษายน พ.ศ. 2557 – 31 มีนาคม พ.ศ. 2560
รองศาสตราจารย์ ดร.ชยันต์ ตันติวัสดาการ คณบดี 1 เมษายน พ.ศ. 2560 – 31 มีนาคม พ.ศ. 2563
รองศาสตราจารย์ ดร.ชยันต์ ตันติวัสดาการ รักษาการแทนคณบดี 1 เมษายน พ.ศ. 2563 – 30 เมษายน พ.ศ. 2563
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ศุภชัย ศรีสุชาติ คณบดี 1 พฤษภาคม พ.ศ. 2563 – ปัจจุบัน

ประธานคณะกรรมการนักศึกษา แก้

คณะกรรมการนักศึกษาคณะได้มาโดยการเลือกตั้งทั่วไปภายในคณะ เป็นตัวแทนของนักศึกษาในคณะและรับผิดชอบบริหารกิจกรรมทั้งปวงเกี่ยวกับกิจกรรมของนักศึกษาในคณะ [5]

รายชื่อ ตำแหน่ง วาระการดำรงตำแหน่ง
อรรถกร โพธิ์ใย ประธานกนศ.ศ. ปีการศึกษา 2553
ศิรวัฒน์ ภาษาเวทย์ ประธานกนศ.ศ. ปีการศึกษา 2554
อุทิศ ถีระแก้ว ประธานกนศ.ศ. ปีการศึกษา 2555
วิจิร์ ผสมทรัพย์ ประธานกนศ.ศ. ปีการศึกษา 2556
ชุลี กอบวิทยาวงศ์ ประธานกนศ.ศ. ปีการศึกษา 2557
โยธิน กิตติธร ประธานกนศ.ศ. ปีการศึกษา 2558
กาจบัณฑิต บัณฑิตสกุลพร ประธานกนศ.ศ. ปีการศึกษา 2559
จิตชนก ลิ่มสิริตรังค์ ประธานกนศ.ศ. ปีการศึกษา 2560 [6]
มัธยะ บุญฤทธิ์ลักขณา ประธานกนศ.ศ. ปีการศึกษา 2561
กฤตภาส ลิมป์สีสวรรค์ ประธานกนศ.ศ. ปีการศึกษา 2562
วีรภัทร แพรสมบูรณ์ ประธานกนศ.ศ. ปีการศึกษา 2563
ธีรพงศ์ ชาญจิรกิตติ ประธานกนศ.ศ. ปีการศึกษา 2564
ปพนธีร์ สิทธิโชค ประธานกนศ.ศ. ปีการศึกษา 2565

บุคคลมีชื่อเสียง แก้

บางส่วนจากรายชื่อศิษย์เก่าดีเด่น[7] และ คอลัมน์ "ซูม" จากหนังสือพิมพ์ ไทยรัฐ

อ้างอิง แก้

  1. ศาสตราจารย์เดือน บุนนาค. (2508). ความเป็นมาของวิชาเศรษฐศาสตร์จนมาตั้งเป็นคณะเศรษฐศาสตร์ อนุสารเศรษฐศาสตร์ ฉบับต้อนรับเพื่อนใหม่ ปี 2508 ,มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
  2. วรวุฒิ หิรัญรักษ์.(2537) 45 ปีของคณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ .มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
  3. วรากรณ์ สามโกเศศ. วิชาเศรษฐศาสตร์ในประเทศไทย. เศรษฐสาร ปีที่ 1 ฉบับที่ 7 (ธันวาคม 2530). คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
  4. [1] ทำเนียบคณบดี
  5. "สำเนาที่เก็บถาวร" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2022-08-11. สืบค้นเมื่อ 2018-04-05.
  6. http://www.econ.tu.ac.th/?action=&type=content&menu=8&pgmenu=83&lang=th&link=#cnt439
  7. รายชื่อศิษย์เก่าดีเด่น เก็บถาวร 2010-12-13 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน สมาคมเศรษฐศาสตร์ธรรมศาสตร์