สังศิต พิริยะรังสรรค์

รองศาสตราจารย์ สังศิต พิริยะรังสรรค์ สมาชิกวุฒิสภาไทย ชุดที่ 12 และประธานคณะกรรมาธิการการแก้ปัญหาความยากจนและลดความเหลื่อมลํ้า อดีตคณบดีวิทยาลัยนวัตกรรมสังคม มหาวิทยาลัยรังสิต, สมาชิกสภาขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศ (สปท.), กรรมการต่อต้านการทุจริตแห่งชาติ, อดีตกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน (ป.ป.ง.), อดีตสมาชิกสภาปฏิรูปแห่งชาติ (สปช.), อดีตสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ, อดีตรองประธานสภาที่ปรึกษาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ, ผู้อำนวยการหลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการพัฒนาธรรมาภิบาล มหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม และผู้อำนวยการหลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาผู้นำทางสังคม ธุรกิจและการเมือง มหาวิทยาลัยรังสิต

สังศิต พิริยะรังสรรค์
กรรมการต่อต้านการทุจริตแห่งชาติ
เริ่มดำรงตำแหน่ง
5 มกราคม พ.ศ. 2558
สมาชิกสภาขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศ
เริ่มดำรงตำแหน่ง
5 ตุลาคม พ.ศ. 2558
กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน
เริ่มดำรงตำแหน่ง
11 กรกฎาคม พ.ศ. 2559
สมาชิกสภาปฏิรูปแห่งชาติ
ดำรงตำแหน่ง
2 ตุลาคม พ.ศ. 2557 – 6 กันยายน พ.ศ. 2558
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด20 สิงหาคม พ.ศ. 2494 (72 ปี)
ศาสนาพุทธ

ประวัติ แก้

สังศิต พิริยะรังสรรค์ เกิดเมื่อ 20 สิงหาคม พ.ศ. 2494 สำเร็จการศึกษาปริญญาตรีและปริญญาโท ด้านเศรษฐศาสตร์ (หลักสูตรภาษาอังกฤษ) จากมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และปริญญาเอก สาขาสังคมศาสตร์เพื่อการพัฒนา จากมหาวิทยาลัยบีเลอเฟ็ลท์ ประเทศเยอรมนี

สังศิต เคยได้รับการแต่งตั้งให้รักษาการในตำแหน่ง เลขาธิการกองทุนฟื้นฟูเกษตรกร ในปี พ.ศ. 2551 ต่อมาถูกกลุ่มเกษตรกรต่อต้านขับไล่

บทบาททางการเมือง แก้

สังศิต ได้ร่วมลงนามทูลเกล้าฯ ถวายฎีกาขอนายกรัฐมนตรีพระราชทาน เมื่อวันที่ 5 มีนาคม พ.ศ. 2549 โดยอ้างอิงความตามมาตรา 7 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540[1]

ในปี พ.ศ. 2557 หลังจากที่คณะรักษาความสงบแห่งชาติได้ทำการรัฐประหาร ได้รับแต่งตั้งเป็นมาชิกสภาปฏิรูปแห่งชาติ (สปช.) และในภายหลังสภาปฏิรูปแห่งชาติสิ้นสุดลง ได้รับแต่งตั้งจากนายกรัฐมนตรีเป็นสมาชิกสภาขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศ(สปท.) เขาถูกสำนักงานตำรวจแห่งชาติแจ้งความดำเนินคดีฐานหมิ่นประมาทจากการโฆษณาจากการอภิปรายวิชาการ ในหัวข้อ “ตำรวจไทย มีไว้ทำอะไร”[2]

ในวันที่ 8 สิงหาคม พ.ศ. 2560 มีคำสั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติที่ 38/2560 เรื่อง การแก้ไขเพิ่มเติมองค์ประกอบและอำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน ส่งผลให้ รศ.ดร. สังศิต พ้นจากการเป็นกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน เนื่องจากต้องรอคณะรัฐมนตรีอนุมัติคณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิชุดใหม่ ซึ่งจะมี 4 คน จากเดิม 6 คน แต่ยังคงตำแหน่งประธานกรรมการสำนักงานป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน

ประสบการณ์การทำงาน แก้

  • อาจารย์ประจำคณะเศรษฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย 2528 - 2548
  • ที่ปรึกษานายกรัฐมนตรี พล.อ.ชาติชาย ชุณหะวัณ ด้านนโยบายแรงงาน พ.ศ. 2532 - 2534
  • ที่ปรึกษาฝ่ายเศรษฐกิจรองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการ
  • สมาชิกสภาที่ปรึกษาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ พ.ศ. 2544 2548 (ด้านผู้ทรงคุณวุฒิ)
  • ประธานคณะกรรมาธิการการคลัง การธนาคารและสถาบันการเงิน สภานิติบัญญัติแห่งชาติ พ.ศ. 2549 2551
  • สมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ 2550 (สนช.)
  • ประธานคณะกรรมาธิการงบประมาณ การเงินและการคลัง สภานิติบัญญัติแห่งชาติ
  • รองประธานสภาที่ปรึกษาสังคมและเศรษฐกิจแห่งชาติ
  • สมาชิกสภาปฏิรูปแห่งชาติ (สปช.)
  • สมาชิกสภาขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศ (สปท.)
  • คณบดีวิทยาลัยนวัตกรรมสังคม มหาวิทยาลัยรังสิต
  • รองประธานคณะกรรมาธิการขับเคลื่อนการปฏิรูปการทุจริตและประพฤติมิชอบ สภาขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศ
  • รองประธานคณะกรรมาธิการขับเคลื่อนการปฏิรูปการเมือง สภาขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศ

เครื่องราชอิสริยาภรณ์ แก้

อ้างอิง แก้

  1. นายกรัฐมนตรีพระราชทาน
  2. สปท.หนุน"สังศิต"สู้คดีสตช.หลังโดนฟ้องหมิ่น
  3. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ประจำปี ๒๕๖๓, เล่ม ๑๓๘ ตอนพิเศษ ๑ ข หน้า ๑๔, ๒๒ มกราคม ๒๕๖๔
  4. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย เก็บถาวร 2010-10-10 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๒๔ ตอนที่ ๑๘ ข หน้า ๙, ๕ ธันวาคม ๒๕๕๐
  5. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่สรรเสริญยิ่งดิเรกคุณาภรณ์ ประจำปี ๒๕๖๐ เก็บถาวร 2017-10-13 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๓๔ ตอนที่ ๔๘ ข หน้า ๔, ๒๘ กันยายน ๒๕๖๐