มหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม
มหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม (อังกฤษ: Chandrakasem Rajabhat University; อักษรย่อ: มจษ. – CRU) เป็นมหาวิทยาลัยของรัฐบาล ตั้งอยู่ที่เขตจตุจักร กรุงเทพมหานคร ก่อตั้งขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2483
ตราพระราชลัญจกร สัญลักษณ์ประจำมหาวิทยาลัย | |
ชื่อย่อ | มจษ. / CRU |
---|---|
คติพจน์ | ความรู้ดี มีคุณธรรม นำชุมชนพัฒนา |
ประเภท | สถาบันอุดมศึกษาของรัฐ |
สถาปนา | 9 กันยายน พ.ศ. 2483 |
ผู้สถาปนา | หม่อมหลวงมานิจ ชุมสาย |
งบประมาณ | 793,681,300 บาท (พ.ศ. 2562) |
นายกสภาฯ | ศ.ดร.วีรชาติ เปรมานนท์ |
อธิการบดี | รองศาสตราจารย์ ดร.สุมาลี ไชยศุภรากุล |
รองอธิการบดี |
|
คณบดี |
|
อาจารย์ | 369 คน (พ.ศ. 2562) |
เจ้าหน้าที่ | 371 คน (พ.ศ. 2562) |
ปริญญาตรี | 8,987 คน (พ.ศ. 2562) |
บัณฑิตศึกษา | 198 คน (พ.ศ. 2562) |
ที่ตั้ง | - มหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม (รัชดาภิเษก) 39/1 ถนนรัชดาภิเษก แขวงจันทรเกษม เขตจตุจักร กรุงเทพมหานคร 10900 - มหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม-ชัยนาท หมู่ 7-8 ตำบลแพรกศรีราชา อำเภอสรรคบุรี จังหวัดชัยนาท 17140 |
สี | ████ สีเทา สีเหลือง |
มาสคอต | ประตูจันทร์ |
ในปัจจุบัน มหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม เป็นสถาบันการศึกษาระดับอุดมศึกษา เปิดสอนในระดับปริญญาตรี ภาคในเวลาราชการและนอกเวลาราชการ และเปิดสอนในระดับบัณฑิตศึกษาทั้งปริญญาโท และปริญญาเอก เน้นการผลิตบัณฑิต ที่มีคุณลักษณะตรงตามความต้องการของสังคมในทุกสถานการณ์ คณาจารย์และบุคลากรมีการพัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่อง ตลอดจนมีการจัดการเรียนการสอน การพัฒนาเทคโนโลยีและระบบสารสนเทศ ให้เป็นมหาวิทยาลัยที่มีมาตรฐานสากล
ประวัติ
แก้- มหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม ก่อตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 9 กันยายน พ.ศ. 2483 เดิมเป็นโรงเรียนฝึกหัดครูมัธยมแห่งแรกของประเทศไทย เพื่อรองรับการผลิตครูระดับประกาศนียบัตรประโยคครูมัธยม (ป.ม.) โดยมี มล. มานิจ ชุมสาย เป็นอาจารย์ใหญ่คนแรกและจัดให้มีการเรียนการสอนโดยใช้อาคารเรียนในเขตวังจันทรเกษม ด้านหลังกระทรวงศึกษาธิการ จึงเรียกกันติดปากว่า ป.ม.หลังกระทรวง
- พ.ศ. 2501 ยกฐานะเป็นวิทยาลัยครู ตามประกาศของกระทรวงศึกษาธิการ เปลี่ยนหลักสูตรการผลิตครูจาก ป.ม. เป็น ป.กศ. ชั้นสูง (ประกาศนียบัตรวิชาการศึกษาชั้นสูง) และย้ายจากสถานที่ตั้งเดิมมาอยู่ที่ซอยสังขะวัฒนะ 2 (ซอยลาดพร้าว 23) ตำบลลาดยาว (ปัจจุบันเปลี่ยนชื่อเป็นแขวงจันทรเกษม) เขตจตุจักร กรุงเทพมหานคร มีเนื้อที่ 89 ไร่ 88 ตารางวา ซึ่งเป็นที่ตั้งปัจจุบัน และใช้ชื่อว่า วิทยาลัยครูจันทรเกษม
- พ.ศ. 2534 ได้รับรางวัลพระราชทานสถาบันการศึกษาดีเด่นระดับอุดมศึกษา จากกระทรวงศึกษาธิการ
- 14 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2535 พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตรพระราชทานนามใหม่เป็น สถาบันราชภัฏจันทรเกษม
- 24 มกราคม พ.ศ. 2538 พระราชบัญญัติสถาบันราชภัฏ พ.ศ. 2538 ประกาศในราชกิจจานุเบกษา และมีผลบังคับใช้วันที่ 25 มกราคม พ.ศ. 2538[1]
- 14 มิถุนายน พ.ศ. 2547 พระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยราชภัฏ พ.ศ. 2547 ประกาศในราชกิจจานุเบกษาและมีผลบังคับใช้ในวันที่ 15 มิถุนายน พ.ศ 2547 ยกฐานะเป็น มหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม[2]
สัญลักษณ์มหาวิทยาลัย
แก้ตราสัญลักษณ์ประจำมหาวิทยาลัย
แก้พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานพระราชลัญจกรประจำพระองค์ ลงมาเป็นตราสัญลักษณ์ประจำมหาวิทยาลัย ตามหนังสือสำนักราชเลขาธิการลงวันที่ 6 มีนาคม พุทธศักราช 2538
ตราสัญลักษณ์ที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทาน มีลักษณะเป็นรูปวงรี ภายในประกอบเป็นรูป ดังนี้
พระที่นั่งอัฐทิศอุทุมพรราชอาสน์
วงจักร กลางวงจักรมี อักขระเป็น อุ หรือเลข ๙ รอบวงจักรมีรัศมีเปล่งออกโดยรอบ
สัปตปฎลเศวตฉัตร ตั้งอยู่บน พระที่นั่ง (แปลความหมายว่า ทรงมีพระบรมเดชานุภาพในแผ่นดิน) โดยวันที่บรมราชาภิเษกตามโบราณราชประเพณี ทรงเสด็จประทับเหนือ พระที่นั่งอัฐทิศอุทุมพรราชอาสน์ และสมาชิกรัฐสภาถวายน้ำอภิเษกจากทิศทั้งแปด
มีวงรีอีกวงหนึ่งเป็นกรอบรอบพระราชลัญจกร ด้านบนจารึกชื่อเป็นภาษาไทย มหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม และด้านล่างจารึกชื่อเป็นภาษาอังกฤษ Chandrakasem Rajabhat University
สีและความหมายในตราสัญลักษณ์
แก้██ สีน้ำเงิน แทน สถาบันพระมหากษัตริย์ผู้ให้กำเนิดและพระราชทานนาม “ราชภัฏ”
██ สีเขียว แทน แหล่งที่ตั้งของมหาวิทยาลัยซึ่งอยู่ในพื้นที่แหล่งธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมที่สวยงาม
██ สีทอง แทน ความเจริญรุ่งเรืองทางภูมิปัญญา
██ สีส้ม แทน ความรุ่งเรืองทางศิลปวัฒนธรรมท้องถิ่นที่ก้าวไกลในมหาวิทยาลัย
██ สีขาว แทน ความคิดอันบริสุทธิ์ของนักปราชญ์แห่งพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร
สีประจำมหาวิทยาลัย
แก้เทา - เหลือง
ดอกไม้ประจำมหาวิทยาลัย
แก้แคฝรั่ง
พระพุทธรูปและสถานที่สำคัญ
แก้พระศรีศากยะทศพลญาณประธานพุทธมณฑลสุทรรศน์ (องค์ต้นแบบ)
แก้พระพุทธรูปปางลีลา พุทธลักษณะทรงยกพระบาทขวาจะก้าว ห้อยพระหัตถ์ขวาท่าไกว พระหัตถ์ซ้ายยกเสมอพระอุระป้องไปเบื้องหน้าเป็นกิริยาเดิน ศิลปะสุโขทัยประยุกต์ สถานที่ประดิษฐาน ณ ธรรมศาลา ลานธรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม ออกแบบและปั้น โดย ศาสตราจารย์ศิลป์ พีระศรี
หลวงพ่อใหญ่
แก้พระพุทธรูปปางปฐมเทศนา พุทธประธานลานธรรม พระพุทธรูปสมัยอยุธยาตอนปลาย สมเด็จพระญาณสังวรสมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปรินายก (เจริญ สุวัฒโณ) ทำพิธีเบิกเนตร และบรรจุพระบรมสารีริกธาตุในเปลวพระเศียร พระพุทธรูปประดิษฐานบนฐานบัวหงาย ฉากหลังสลักภาพปริศนาธรรม พุทธประวัติ จากดินด่านเกวียน
ประตูจันทร์
แก้ซุ้มประตูวังจันทรเกษม (จำลอง) สัญลักษณ์อดีตอันรุ่งเรืองโรงเรียนฝึกหัดครูมัธยม และที่มาแห่งนาม จันทรเกษม ตามสนุทรพจน์ของ ศาสตราจารย์ มล.ปิ่น มาลากุล ตอนหนึ่งว่า “การที่กระทรวงศึกษาธิการ ได้ยกนาม จันทรเกษม ให้แก่สถาบันแห่งนี้ เพราะได้ระลึกถึงความจริง ที่สถาบันแห่งนี้เคยตั้งอยู่ในเขตวังจันทรเกษม มีความผูกพันกับกระทรวงศึกษาธิการมากเป็นพิเศษ”
หอนาฬิกา
แก้เป็นสัญลักษณ์แห่งความรัก สามัคคี ที่อยู่คู่กาลเวลา หอนาฬิกาสีดำ ทรงสี่เหลี่ยม หน้าปัดสีขาวสี่ด้าน ตั้งบนฐานทรงกลม กลางสระน้ำ นายศุภสิทธิ มหาคุณ สร้างให้ เมื่อปีพุทธศักราช 2515
พิพิธภัณฑ์จันทรเกษม
แก้ศูนย์การเรียนรู้ประวัติมหาวิทยาลัยราชภัฎจันทรเกษม และบูรพาจารย์ของมหาวิทยาลัย ประกอบด้วย ห้องทำเนียบอธิการบดีและประวัติมหาวิทยาลัย ห้องหม่อมหลวงมานิจ ชุมสาย (อาจารย์ใหญ่คนแรก) และห้องศาสตราจารย์ ดร.คุณบรรจบ พันธุเมธา (นักวิชาการด้านภาษาไทย) ตั้งอยู่ที่ ชั้น 4 อาคารนวัตกรรมการศึกษา
คณะ/วิทยาลัย
แก้คณะศึกษาศาสตร์
แก้- สาขาวิชาจิตวิทยา
- สาขาวิชาพลศึกษา
- สาขาวิชาการศึกษาปฐมวัย
- สาขาวิชาเทคโนโลยีดิจิทัลเพื่อการศึกษา
คณะวิทยาศาสตร์
แก้- สาขาวิชาชีววิทยา
- สาขาวิชาเคมี
- สาขาวิชาฟิสิกส์ (ค.บ. 5 ปี)
- สาขาวิชาคณิตศาสตร์
- สาขาวิชาสถิติประยุกต์
- สาขาวิชาเทคโนโลยีชีวภาพ
- สาขาวิชาอาหารและโภชนากร
- สาขาวิชาวิทยาการคอมพิวเตอร์
- สาขาวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศ
- สาขาวิชาเทคโนโลยีมัลติมีเดีย
- สาขาวิชามัลติมีเดียและอีสปอร์ต
- สาขาวิชาวิทยาศาสตร์การกีฬา
- สาขาวิชาวิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม
- สาขาวิชาวิทยาศาสตร์ความปลอดภัย
- สาขาวิชาเทคโนโลยีการผลิต
- สาขาวิชาอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์อุตสาหกรรม
- สาขาวิชาเทคโนโลยีวิศวกรรมโยธา
- สาขาวิชาการออกแบบผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม
- สาขาวิชาวิทยาศาสตร์ทั่วไป (ค.บ. 5 ปี)
- สาขาวิชาคณิตศาสตร์ (ค.บ. 5 ปี)
- สาขาคอมพิวเตอร์ (ค.บ.)
- สาขาวิชาการจัดการธุรกิจ
- สาขาวิชาการบริหารทรัพยากรมนุษย์
- สาขาวิชาการตลาดดิจิทัล
- สาขาวิชาระบบสารสนเทศทางธุรกิจ
- สาขาวิชาการเงินการลงทุน
- สาขาวิชาบัญชี
- สาขาวิชาเศรษฐศาสตร์ธุรกิจ
- สาขาวิชานิเทศศาสตร์ (แขนงวารสารศาสตร์ แขนงการประชาสัมพันธ์ แขนงวิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์ แขนงการโฆษณา)
- สาขาอุตสาหกรรมท่องเที่ยว
- สาขาวิทยาการประกอบการ
- บริหารธุรกิจ (ปริญญาโท)
- เทคโนโลยีธุรกิจดิจิทัล (ปริญญาโท)
- หลักสูตรระยะสั้นทางบริหารธุรกิจ การบริการ ท่องเที่ยว และนิเทศศาสตร์
คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์
แก้- สาขาวิชาภาษาไทย
- สาขาวิชาภาษาไทยเพื่อการสื่อสารธุรกิจ
- สาขาวิชาภาษาจีนธุรกิจ
- สาขาวิชาภาษาอังกฤษ
- สาขาวิชาภาษาญี่ปุ่นธุรกิจ
- สาขาวิชาภาษาอังกฤษธุรกิจ
- สาขาวิชาภาษาฝรั่งเศสธุรกิจ
- สาขาวิชาการพัฒนาชุมชน
- สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์
- สาขาวิชาดนตรีไทย
- สาขาวิชาดนตรีสากล
- สาขาวิชานาฏศิลป์และศิลปะการแสดง
- สาขาวิชาสารสนเทศศาสตร์
- สาขาวิชาวัฒนธรรมศึกษา
- สาขาวิชาภูมิศาสตร์และประวัติศาสตร์เชิงท่องเที่ยว
- สาขาวิชาศิลปกรรม (แขนงออกแบบนิเทศศิลป์ และแขนงออกแบบประยุกต์ศิลป์)
- สาขาวิชานิติศาสตร์
- สาขาการบริการการบิน
คณะเกษตรและชีวภาพ
แก้- สาขาวิชาวิทยาการผลิตและสุขภาพสัตว์ปีการศึกษา
- สาขาวิชาส่งเสริมและธุรกิจเกษตร
- สาขาวิชาเกษตรศาสตร์
- สาขาวิชาการผลิตและการจัดการพืชเพื่อชุมชนเมือง
- สาขาวิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการอาหาร
วิทยาลัยการแพทย์ทางเลือก
แก้- สาขาวิชาการแพทย์แผนจีน
บัณฑิตวิทยาลัย
แก้โรงเรียน/ศูนย์การศึกษา
แก้บุคคลที่มีชื่อเสียง
แก้การจัดอันดับมหาวิทยาลัย
แก้การจัดอันดับโดย เว็บโอเมตริกซ์ (Webometrics) ซึ่งจัดทำขึ้นเพื่อแสดงความตั้งใจของสถาบันต่าง ๆ ในการเผยแพร่ความรู้สู่เว็บไซต์ และเป็นความริเริ่มเพื่อส่งเสริมการเข้าถึงความรู้อย่างเปิดกว้าง (Open Access) ทั่วโลก โดยบ่งบอกถึงปริมาณและคุณภาพของสิ่งตีพิมพ์อิเล็กทรอนิกส์ของสถาบัน เพื่อใช้ร่วมกับตัวชี้วัดอื่น ๆ ในการประเมินผลงานวิจัยของสถาบัน ซึ่งทางเว็บโอเมตริกซ์ได้จัดอันดับปีละ 2 ครั้งในเดือนมกราคม และกรกฎาคม ล่าสุดเดือนมกราคม พ.ศ. 2559 ได้รับการจัดอันดับสารานุกรมไทย ฉบับ มหาลัยโลกจัดอันดับมหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม สาขาดนตรีสากลเป็นอันดับที่ 96 ของเอเชีย[3]
พิธีอัญเชิญตราพระราชลัญจกร
แก้- พิธีอัญเชิญตราพระราชลัญจกรในพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช รัชกาลที่ 9 ของมหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม จัดขึ้นเป็นครั้งแรก เมื่อวันที่ 16 ตุลาคม 2557 โดยองค์การนักศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม ด้วยสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ที่ทรงพระเมตตาพระราชทานนาม “ราชภัฎ” อันหมายความว่า คนของพระราชา แก่วิทยาลัยครูทั่วราชอาณาจักร ในวันที่ 14 กุมภาพันธ์ 2535 และทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานพระราชลัญจกร ประจำพระองค์ ให้เป็นตราสัญลักษณ์สถาบันราชภัฏทั่วประเทศ ตามหนังสือสำนักราชเลขาธิการ ลงวันที่ 6 มีนาคม 2538 นับเป็นสิริมงคลและความภาคภูมิใจแก่ชาวราชภัฏทั้งมวล
- โดยพิธีเริ่มด้วยขบวนเกียรติยศอัญเชิญตราพระราชลัญจกร ขึ้นประดิษฐานเป็นประธาน ณ มนฑลพิธี จากนั้น ประธานสโมสรนักศึกษา นายกองค์การนักศึกษา ประธานสภานักศึกษา และอธิการบดี ถวายพุ่มราชสักการะ และกล่าวสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณ จากนั้น อธิการบดี นำนักศึกษา คณาจารย์ บุคลากร ถวายบังคม และทำพิธีมอบตรามหาวิทยาลัย ประจำรุ่น แก่นักศึกษาที่ร่วมพิธี
ทำเนียบผู้บริหาร
แก้ทำเนียบผู้บริหาร อดีต - ปัจจุบัน | ||
รายนามผู้บริหาร | สถานะสถานศึกษา | วาระการดำรงตำแหน่ง |
---|---|---|
ตำแหน่งอาจารย์ใหญ่ | ||
1. หม่อมหลวงมานิจ ชุมสาย | โรงเรียนฝึกหัดครูมัธยม | (พ.ศ. 2483) |
2. ดร.กมล เภาพิจิตร | โรงเรียนฝึกหัดครูมัธยม | (พ.ศ. 2491) |
3. อาจารย์โชค สุคันธวณิช | โรงเรียนฝึกหัดครูมัธยม | (พ.ศ. 2497) |
4. อาจารย์ประยุทธ สวัสดิสิงห์ | โรงเรียนฝึกหัดครูมัธยม | (พ.ศ. 2501) |
5. อาจารย์สนอง สิงหะพันธุ์ | วิทยาลัยครูจันทรเกษม | (พ.ศ. 2503) |
ตำแหน่งผู้อำนวยการ | ||
6. อาจารย์พงศ์อินทร์ ศุขขจร | วิทยาลัยครูจันทรเกษม | (พ.ศ. 2508) |
7. คุณหญิงบุญฉวี พรหมโมปกรณ์กิจ | วิทยาลัยครูจันทรเกษม | (พ.ศ. 2515) |
8. อาจารย์สนอง สิงหะพันธุ์ | วิทยาลัยครูจันทรเกษม | (ดำรงตำแหน่ง ผู้อำนวยการเป็นวาระที่สอง) |
ตำแหน่งอธิการ | ||
9. ดร.วิศิษฏ์ ชุมวรฐายี | วิทยาลัยครูจันทรเกษม | (พ.ศ. 2519) |
10. รศ.ดร.อินทร์ ศรีคุณ | วิทยาลัยครูจันทรเกษม | (พ.ศ. 2528) |
11. รศ.ดร.ทองคูณ หงส์พันธุ์ | วิทยาลัยครูจันทรเกษม | (พ.ศ. 2532) |
ตำแหน่งอธิการบดี | ||
12. ผศ.ปรีชา เศรษฐีธร | สถาบันราชภัฏจันทรเกษม | (วันที่ 22 ธันวาคม พ.ศ. 2537) |
13. รศ.สุวรรณี ศรีคุณ | สถาบันราชภัฏจันทรเกษม | (วันที่ 12 ธันวาคม พ.ศ. 2540) |
14. รศ.เทื้อน ทองแก้ว | สถาบันราชภัฏจันทรเกษม | (วันที่ 9 พฤศจิกายน พ.ศ. 2545) |
15. รศ.มานพ พราหมณโชติ | มหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม | (วันที่ 1 พฤศจิกายน พ.ศ. 2547) |
16. ดร.สุชาติ เมืองแก้ว | มหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม | (วันที่ 28 ธันวาคม พ.ศ. 2552) |
17. รศ.ดร.สุมาลี ไชยศุภรากุล | มหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม | (วันที่ 22 ตุลาคม พ.ศ. 2555 - ปัจจุบัน) |
ที่ตั้งและการเดินทาง
แก้ตั้งอยู่เลขที่ 39/1 ถนนรัชดาภิเษก แขวงจันทรเกษม เขตจตุจักร กรุงเทพมหานคร 10900
รถปรับอากาศ : ปอ.206, 28
รถโดยสารธรรมดา : สาย 126, 136, 178, 179, 185, 191, 206
รถไฟฟ้าใต้ดิน สายเฉลิมรัชมงคล : สถานีลาดพร้าว ทางออกประตูที่ 4
รถไฟฟ้าบีทีเอส สายสุขุมวิท : สถานีพหลโยธิน 24 ทางออกประตูที่ 1
รถไฟฟ้าสายสีเหลือง : สถานีลาดพร้าว ทางออกประตูที่ 5
อ้างอิง
แก้- ↑ https://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2538/A/004/1.PDF
- ↑ พระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยราชภัฏ พ.ศ. 2547
- ↑ Ranking Web of World Universities เก็บถาวร 2009-07-05 ที่ เวย์แบ็กแมชชีนTop South East Asia
แหล่งข้อมูลอื่น
แก้- มหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม
- แนะนำมหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม
- Chandrakasem Rajabhat University facebook
- แผนที่และภาพถ่ายทางอากาศของ มหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม
- ภาพถ่ายดาวเทียมจากวิกิแมเปีย หรือกูเกิลแมปส์
- แผนที่จากลองดูแมป หรือเฮียวีโก
- ภาพถ่ายทางอากาศจากเทอร์ราเซิร์ฟเวอร์